ผู้ได้รับโล่เชิดชูเกียรติเกษตรศาสตร์ปราดเปรื่องผู้ดำรงตำแหน่ง

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานแสดงสินค้าหอการค้าแฟร์ (TCC FAIR) 2018 พร้อมเยี่ยมชมบู๊ธผลิตภัณฑ์อาหารของซีพีเอฟ ในฐานะผู้สนับสนุนการจัดงาน โดยมี นายสุรชัย ศิริจรรยา รองกรรมการผู้จัดการ ซีพีเอฟ ให้การต้อนรับและนำชมบู๊ธจัดแสดงอาหารคุณภาพมาตรฐานสากล ที่จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในราคาพิเศษสุดแก่ผู้ร่วมงาน สำหรับงาน TCC Fair จัดโดยหอการค้าไทยและสภาการหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อผนึกกำลังผู้ประกอบการชั้นนำของไทยและท้องถิ่นภาคเหนือหวังกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมีประชาชนชาวเชียงใหม่และจัดหวัดใกล้เคียงร่วมงานอย่างคับคั่ง ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ เฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่

คุณสมบูรณ์ ศรีสุบัติ หรือ ลุงนิล อายุ 67 ปี เป็นเกษตรกรต้นแบบ อยู่ที่ตำบลช่องไม้แก้ว อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร ซึ่งพืชผลทางการเกษตรที่ปลูกส่วนใหญ่จะเป็นทุเรียน มีมากกว่า 700 ต้น อยู่ในสวนลุงนิล เป็นที่รู้จักของคนในจังหวัดชุมพรค่อนข้างมาก

โดยการปลูกพืชผักสวนครัวต่างๆ และพืชแซม พร้อมกับการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจไปในตัว และนอกจากจุดเด่นของลุงนิลจะอยู่ที่การทำสวนแล้ว ลุงนิลยังเป็นหนึ่งในผู้ที่ดูแลโครงการธนาคารต้นไม้ของจังหวัดชุมพรอีกด้วย

เศรษฐกิจพอเพียง กู้วิกฤตชีวิตลุงนิล

ลุงนิล เผยถึงแนวคิดการทำเกษตรแบบผสมผสาน 9 ชั้น ว่า ในอดีตลุงนิลเคยทำอาชีพค้าขายมาเป็นเวลานาน แล้วก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แต่ด้วยความที่ลุงนิลในตอนนั้น ต้องการที่จะมีรายได้ให้มากกว่าที่เป็นอยู่ ด้วยความอยากรวย จึงมีความคิดที่สร้างรายได้เพิ่มด้วยการปลูกทุเรียน เนื่องจากคิดว่าทุเรียนน่าจะเป็นพืชที่ปลูกแล้วสร้างรายได้ให้กับลุงนิลเป็นกอบเป็นกำ ช่วงแรกที่เริ่มปลูก ลุงนิลลงทุนปลูกทุเรียน ประมาณ 700 ต้น แต่ด้วยความที่ลุงนิลในช่วงนั้นยังขาดประสบการณ์ทางด้านการจัดสรรพื้นที่ในการทำสวนทุเรียน จึงเป็นต้นเหตุที่ทำให้การปลูกสวนทุเรียนเกิดสภาวะขาดทุน และลุงนิลก็เกิดมีหนี้สินติดตัวในขณะนั้นอีกร่วม 2 ล้านบาท เลยทีเดียว และเหตุการณ์ในวันนั้นได้ทำให้ลุงนิลท้อแท้ จนถึงขั้นคิดสั้นฆ่าตัวตายเลยทีเดียว แต่นั่นเป็นเพียงแค่อารมณ์และความรู้สึกชั่ววูบเท่านั้น

“ในตอนนั้นทุกอย่างมันเหมือนจะไม่เหลืออะไรแล้ว และด้วยอารมณ์ชั่ววูบในตอนนั้น มันทำให้ผมเคยคิดที่จะทำสิ่งที่เลวร้ายที่สุดในชีวิต นั่นก็คือ การฆ่าตัวตาย ในขณะที่กำลังใช้ปืนจ่อหัว ผมก็เห็นลูกชายของผมที่เดินมาและนั่นเลยทำให้ผมเลือกที่จะสู้กับปัญหาต่อไป และในตอนเย็น วันที่ 4 ธันวาคมปีนั้นเอง ผมได้ยินพระราชดำรัสของพระองค์ท่านเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงในโทรทัศน์ เท่านั้นเอง ผมนี่ถึงกับน้ำตานองหน้า ก้มลงกราบกับพื้น และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านเป็นล้นพ้น” ลุงนิล กล่าว

ลุงนิลจึงเริ่มทำการเกษตรแบบผสมผสาน ดำเนินรอยตามพ่อของแผ่นดินตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาเกษตรคอนโดฯ 9 ชั้น

บนพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 17 ไร่ ลุงนิลทำเกษตรแบบผสมผสาน โดยการเลี้ยงปลา เลี้ยงหมู และปลูกพืชคอนโดฯ 9 ชั้น ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

ชั้นที่ 1 ใช้พื้นที่ส่วนล่างสุดของพื้นดิน เพื่อทำบ่อน้ำเลี้ยงปลา รวมถึงพืชผักต่างๆ ที่สามารถอาศัยอยู่ในน้ำได้ เช่น ผักกระเฉด ผักบุ้ง บัว ฯลฯ

ชั้นที่ 2 จะเป็นการปลูกพืชคลุมดินจำพวกกลอย มันหอม หรือจะเป็นพืชตระกูลหัวต่างๆ เช่น ขมิ้น กระชาย ฯลฯ

ชั้นที่ 3 ปลูกพืชบนหน้าดิน เพื่อใช้ในการประกอบอาหารในครัวเรือนแทนการใช้เงินซื้อได้ โดยพืชผักประเภทนี้จะได้แก่ พริกขี้หนู ผักเหลียง มะเขือ ฯลฯ

ชั้นที่ 4 จะเน้นการปลูกส้มจี๊ด ที่มีประมาณ 1,000 ต้น สามารถเก็บได้ประมาณ 70 กิโลกรัม ต่อวัน ขายได้ประมาณ กิโลกรัมละ 20-60 บาท ซึ่งราคาก็ขึ้นอยู่กับท้องตลาดเช่นกับผลผลิตอื่นๆ บางครั้งลุงนิลสามารถสร้างรายได้ ได้ประมาณ 2,000 บาท ต่อวัน เลยทีเดียว

ชั้นที่ 5 ปลูกกล้วยเล็บมือนาง 1,000 กอ เก็บรายได้ต่อสัปดาห์ ขายได้ประมาณ 5,000 บาท ต่อสัปดาห์

ชั้นที่ 6 ปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ประมาณ 700 ต้น ซึ่งจะคอยเก็บผลผลิตที่ได้ตามฤดูกาล ปีละครั้ง ส่วนรายได้จะขึ้นอยู่กับท้องตลาด ที่คอยกำหนดราคาตลอดเวลา

ชั้นที่ 7 ปลูกพริกไทย ซึ่งเป็นพืชเกาะเกี่ยว กระท้อน ขนุน ซึ่งมีการเก็บผลผลิตหมุนเวียนไปทั้งปี รวมรายได้ ประมาณ 300,000 บาท ต่อปี

ชั้นที่ 8 เป็นส่วนของธนาคารต้นไม้ ประเภทไม้ยืนต้น ประมาณ 1,300 ต้น ซึ่งเพิ่งจะปลูกได้ 1 ปี มีต้นมะฮอกกานี ต้นตะเคียนทอง ต้นจำปาทอง เป็นต้น ซึ่งไม้เศรษฐกิจเหล่านี้ หากมีอายุครบ 20 ปี จะมีมูลค่า ประมาณ 100,000 บาท ต่อต้น ซึ่งต้นไม้เหล่านี้ ลุงนิล กล่าวว่า ตนปลูกไว้ให้เทวดาเลี้ยง หมายความว่า ปลูกไว้แล้วต้นไม้จะโตเองโดยธรรมชาติ

ชั้นที่ 9 ปลูกต้นไม้ยางนา เพื่อถวายแด่ในหลวงเป็นพิเศษ ต้นสูงเต็มที่จะมีขนาดประมาณ 40-50 เมตร ในสวนของลุงนิลไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมีมาเป็นเวลานาน นับตั้งแต่เริ่มต้นทำเกษตรแบบผสมผสาน และได้รับแนวคิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง

“ในสวนนี้ไม่มีสารเคมี ไม่มีปุ๋ยแม้แต่เม็ดเดียวเลย มา 12 ปีแล้ว และยาฆ่าหญ้าก็ไม่มีครับ”

การไม่ใช้ปุ๋ยและสารเคมีใดๆ ในสวนมาเป็นเวลานาน กลับพบว่า สภาพดินยิ่งมีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าในอดีตที่เคยใช้ปุ๋ยเคมี เพราะการใช้ปุ๋ยเคมีอาจทำให้ได้ผลผลิตมากเป็นที่น่าพอใจ

พืชทั้ง 9 ชั้นนี้ จะอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลกัน บ้างก็ให้ความร่มเงาแก่กัน บ้างก็เก็บน้ำและความชื้นให้กัน อยู่และเติบโตไปพร้อมๆ กัน โดยการปลูกใช้แนวคิดนี้ รวมทั้งการจัดการในเรื่องน้ำ เรื่องของแดด และยังรวมถึงการดูแลดินให้สมดุลนั้น จึงทำให้เกิดความหลากหลายและทำให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดและได้ผลผลิตตรงตามที่ต้องการ

อีกทั้งในแปลงเกษตรของลุงนิล มีการเลี้ยงปลา เลี้ยงหมู และเลี้ยงไก่ ซึ่งมูลหมูสามารถนำมาใช้เป็นอาหารปลาได้ ส่วนมูลหมูและมูลไก่ใช้ทำเป็นปุ๋ยให้กับพืชผักสวนครัวต่างๆ ที่ลุงนิลได้ปลูกไว้ในสวน นอกเหนือจากนี้ ยังมีการขุดสระน้ำเพื่อเป็นแหล่งน้ำไว้ใช้ในการเกษตร แต่ไม่มีการทำนาในพื้นที่แห่งนี้ เนื่องจากสภาพที่ดินและปัญหาทางแรงงานนั้นไม่มีความเอื้ออำนวย

หลงเสน่ห์ถิ่นสาวงาม สัมผัสประเพณีชวนหลงใหล ณ เมืองแห่งความสุข “เรณูนคร” ดินแดนอีสานอันมากไปด้วยเอกลักษณ์แห่งวิถีชีวิต วัฒนธรรม หัตถกรรม และอาหารพื้นบ้าน เรียกได้ว่าขโมยหัวใจฝรั่งยิ้มกว้าง “แดเนียล เฟรเซอร์” ไปเต็มๆ

ลิ้มรสชาติอาหารอีสานขนานแท้ อย่าง อ่อมกบ เอาฤกษ์เอาชัยก่อนจะไปสัมผัสวิถีชุมชนแบบลึกซึ้ง โดยฝรั่งยิ้มกว้าง “แดเนียล” เดินทางมาท่องเที่ยวชุมชนหนองลาดควาย อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม เพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมชาวภูไท ผู้ไท หรือ ปู่ไท กลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นรากเหง้าของชาวเรณูนคร มีความสามารถด้านการทอผ้ามาตั้งแต่อดีต เพราะทำเครื่องนุ่งห่มใช้เอง และยังสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน มีการจัดตั้งศูนย์โอท็อปบ้านหนองลาดควาย จำหน่ายสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้าน อาทิ ผ้าขาวม้า เสื้อพื้นเมืองลายปัก เป็นต้น จากนั้นไปสัมผัสวิถีชีวิตริมฝั่งโขง ที่มีการเลี้ยงปลาในกระชัง ซึ่งสร้างรายได้เลี้ยงปากท้องให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2561 ที่ผ่านมา นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยด้านอุตสาหกรรมยางและการผลิตยาง เป็นผู้แทน การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ร่วมงานการประชุมวิชาการนานาชาติของสหพันธ์สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งอาเซียน ครั้งที่ 23 (23rd ASEAN Federation of Cardiology Congress) ณ ห้องบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์

ในงานมีการสาธิตการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ หรือ CPR โดยใช้นวัตกรรมหุ่นยางพาราสอนช่วยชีวิต ของเครือข่ายนวัตกรรมยางพารา ภายใต้ความร่วมมือของ 4 หน่วยงาน ได้แก่ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) สภาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (ส.อ.ท.) และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (ศว.พว.) นอกจากนั้น มีการสาธิตการออกกำลังกายด้วยการกระโดดเชือก โดยนักเรียนโรงเรียนราชินีบน และการจัดแสดงโปสเตอร์บทคัดย่อทางวิชาการเกี่ยวกับโรคหัวใจ ของผู้ที่ได้รับรางวัล Young Investigator Award กับ รางวัล Best Poster Presentation Awards ซึ่งมีแพทย์ชาวไทยจากโรงพยาบาลศิริราช และ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ได้รับรางวัลดังกล่าวด้วย

เพราะเมื่อก่อน มีการขยายพันธุ์ขนุนด้วยเมล็ด จึงกลายพันธุ์ได้ลักษณะที่แปลกใหม่ เจ้าของจึงตั้งชื่อ แล้วเผยแพร่

ขนุนยุคแรกๆ ที่รู้จักกันดีคือ ขนุนตาบ๊วย จากนั้นจึงเป็นยุคของ ฟ้าถล่ม ทองสุดใจ และจำปากรอบ ของจังหวัดปราจีนบุรี

เวลาผ่านไป มีขนุนออกมาอวดโฉมในวงการเกษตรมากขึ้น ทำให้ผู้ปลูกและผู้บริโภค เป็นตัวชี้วัด ว่าขนุนพันธุ์ไหนควรจะปลูกและสืบหน่อต่อแนว

ทำให้พันธุ์ขนุนส่วนใหญ่หายไป นับว่าเป็นที่น่าเสียดาย เพราะไม่มีการอนุรักษ์ไว้เหมือนไม้ผลชนิดอื่น เท่าที่เห็นอยู่ในขณะนี้ในตลาดมี ขนุนทองประเสริฐ ปีเดียวทะวาย มาเลเซีย และเหลืองบางเตย

สำหรับ ขนุนพันธุ์ไพศาลทักษิณ ขนุนพันธุ์มหามงคล มีปลูกไว้ที่ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรเลย ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรระยอง และเกษตรกรในภูมิภาคต่างๆ พันธุ์ขนุนของไทยนั้นมีเสน่ห์ อย่าง ขนุนอีถ่อ ผลยาวที่สุด ขนุนทองนาทวี น้ำหนักมากสุด เคยชั่งได้ 80 กิโลกรัม ต่อผล ขนุนปีเดียวทะวาย ปลูกแล้วให้ผลผลิตเร็วที่สุด เพียง 8 เดือน ก็ให้ผลผลิตแล้ว จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า “8 เดือนทะวาย”

ต่อไปนี้คือ ชื่อพันธุ์ขนุนที่มีอยู่ในบ้านเรา สถานะนั้นมีอยู่น้อย มีอยู่มาก และสูญพันธุ์ไปแล้ว

ดังต่อไปนี้ เรียงตามลำดับตัวอักษร จากตัว ก–ฮ

เกร็ดแก้ว ก้านเขียวทะวาย กินดิบด่านเกวียน แกงเมืองลับแล กิมเพียว

เขียวข้างคด ขาวสมบัติ คุณหญิง คุณวิชาญ คอกเก้ง

เจ๊กโต๊ะ จำปากรอบ จำปาศรีราชา จำปาดะขนุน จำปาระยอง

โชควัฒนาเมล็ดลีบ แชมป์ภาคตะวันตก

แดงจำปา แดงรัศมี แดงรังสี แดงแสงจันทร์ แดงสุริยา

ตาบ๊วย ตะเภาแก้ว ตะเภาทอง ตาเล้ง

ทองไพโรจน์ ทองสุดใจ ทองสัมฤทธิ์ ทองส้ม ทองหอม ทองนาทวี ทางควาย 1 ทางควาย2 ทองประเสริฐ เทพประทาน ทองสมบัติ ทองอินโดแคระ ทองสิน ทองอดุลย์ ทะวายนายพล

นาเสน น้ำขังยวง หนึ่งในพัน

บ๊วยฉิมพลี เบาเปลือกหวาน บ้านกล่ำ

ป้าเนียม ป้าจื๊อ ปีเดียวทะวาย

ผู้พัน

ไพศาลทักษิณ พระพิราพ เพชรราชา เพชรเขาเขียว เพชรดำรง เพชรเนื้อทอง

ฟ้าถล่ม ฟ้าสีทอง

มาเลเซีย แม่ไม้เมืองนนท์ แม่กิมไน้ แม่เนื้อหอม มะหวด แม่ทอม แม่น้อยทะวาย หมาร้องไห้

หยก ยวงทอง โยธิน

รุ่งทวี 70 รวงทอง เหรียญบาท เหรียญชัย เหรียญทอง เหลืองระยอง เหลืองไพรินทร์ เหลืองเขาน้อย เหลืองจีนแดง เหลืองตานาค เหลืองเรวดี เหลืองบางเตย เหลืองศรีชล เหลืองประไพร เหลืองพิชัย

ข้อเขียนนี้ ไม่ได้เขียนขึ้นเพื่อจะโปรโมทพันธุ์ หรือเพื่อขายต้นพันธุ์ แต่อยากให้ทราบว่า วงการขนุนเคยมีความหลากหลายทางด้านพันธุ์ ผู้สนใจ ซื้อหาได้ตามสะดวก เช่น ที่บ้านหนองเต่า อำเภอเมืองปราจีนบุรี หรือร้านขายพันธุ์ไม้ทั่วไป งานขยายพันธุ์ทุกวันนี้ ทำได้เร็ว การปลอมปนจึงแทบไม่พบเห็นในปัจจุบัน

ใครก็ทำได้! เปิดใจสาวสู้ชีวิต ขายหมูปิ้ง-หาสูตรจากกูเกิล ปลดหนี้ 4 ล้าน ใน 7 เดือน!!
เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวสร้างแรงบันดาลใจในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ โดยรายการ แฉ ทางช่อง GMM25 ได้นำเสนอเรื่องราวของสาวสู้ชีวิต จากพนักงานโรงงานเปลี่ยนอาชีพมาขายหมูปิ้ง ปลดหนี้ 4 ล้านบาท จนเกือบหมด ได้ในเวลา 7 เดือน เท่านั้น

โดย คุณอาย เบญจา สุขบัณฑิต เจ้าของกิจการ หมูปลาร้าผับ บางแสน หมูย่างจิ้มน้ำจิ้มปลาร้าสูตรเด็ด เล่าเรื่องราวให้ฟังว่า ก่อนหน้าที่จะมาทำหมูปลาร้า ก็เริ่มจากการเป็นพนักงานโรงงานเหล็ก ที่ จ.ชลบุรี ได้ค่าจ้าง วันละ 300 บาท เท่านั้น แต่เงินเพียง 300 บาท/วัน ไม่เพียงพอ เพราะต้องรับผิดชอบหนี้หลายล้านบาทของทางบ้าน ไม่อย่างนั้นบ้านก็อาจถูกยึด ทำอยู่ 8-9 เดือน จึงหันออกมาทำกิจการของตัวเอง โดยเริ่มจากการขายข้าวแกงและข้าวต้ม ซึ่งทำรายได้ไม่ดีนัก ก่อนเปลี่ยนมาขายเฟรนช์ฟรายและไก่ทอด ริมชายหาด ขายได้ประมาณ วันละ 3,000 บาท

คุณอาย เล่าต่อว่า จากการขายเฟรนช์ฟราย จึงเริ่มหากิจการใหม่ โดยตอนแรกเห็นในอินเตอร์เน็ต มีคนขายหมูปลาร้า เห็นว่าน่าสนใจ ประกอบกับแม่ขายปลาร้าด้วย จึงลองทำบ้าง โดยตนเองนั้นมีสูตรหมูย่างอยู่แล้ว ส่วนสูตรน้ำจิ้มปลาร้านั้นหาเอาจากกูเกิล ลองผิดลองถูกอยู่ 2 เดือน จึงได้สูตรที่อร่อยแล้วเอามาทำ จึงทำออกขาย ซึ่งปรากฏว่าขายดิบขายดี จนตอนนี้เปิดกิจการมาแล้ว 7 เดือน ใกล้จะปลดหนี้ 4 ล้านบาทได้แล้ว โดยวันที่ขายได้มากที่สุดได้ถึง 40,000 บาท

สำหรับ ร้านหมูปลาร้าผับ บางแสน นอกจากขายหมูย่างจิ้มน้ำจิ้มปลาร้าแล้ว ยังมีน้ำจิ้มแจ่ว รวมถึงไส้ย่าง คอหมูย่าง ปีกไก่ย่าง เสือร้องไห้ย่าง ฯลฯ ด้วย

“วิกฤตโรคใบด่าง” ลามหนักข้ามประเทศจาก กัมพูชา-เวียดนาม เข้าไทยแล้ว “เอกชน” ชี้ออเดอร์พุ่ง แต่หวั่นชอร์ตซัพพลายมันสำปะหลัง ดันราคาหัวมันสดดีดทะลุ กก.ละ 3 บาท ด้าน ก.เกษตรฯร่อนหนังสือเตือนผู้ว่าฯ คุมเข้ม 12 จังหวัดชายแดน ไทย-กัมพูชา เสี่ยง

แหล่งข่าวจากวงการค้ามันสำปะหลัง เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ปัญหาโรคใบด่างในมันสำปะหลังจากเชื้อไวรัส หรือ Cassava Mosaic Virus ได้แพร่เข้าสู่ประเทศไทยแล้ว โดยพบเชื้อนี้ในมันสำปะหลังที่ปลูกบริเวณ จ.ปราจีนบุรี ในพื้นที่ 18 ไร่ ซึ่งขณะนี้ได้รับการตรวจสอบจากห้องปฏิบัติการโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้ว ส่งผลให้มีการเร่งออกหนังสือเตือนเกษตรกรให้ระมัดระวัง เพราะโรคนี้มีแมลงหวี่เป็นพาหะนำโรค ทำให้เกิดการแพร่เชื้อได้รวดเร็ว และไม่สามารถรักษาได้ จะต้องขุดและเผาทำลายเท่านั้น โดยใน วันที่ 4 ตุลาคมนี้ ทางกรมวิชาการเกษตรจะจัดประชุมเรื่องเฝ้าระวังโรคนี้

ด้าน นายธำรงค์เดช อินทนิเวศน์ อนุกรรมการแป้งมันสำปะหลัง สมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย กล่าวว่า ขณะนี้โรคใบด่างยังไม่ได้ระบาดเข้าประเทศไทย แต่มีการระบาดในประเทศเวียดนามตอนใต้ 12 จังหวัด และประเทศกัมพูชาเกือบทั้งหมด ยกเว้น จ.อุดรมีชัย ที่มีพรมแดนติดกับไทย อย่างไรก็ตาม มั่นใจว่าไทยจะสามารถป้องกันการระบาดได้ เพราะขณะนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการออกหนังสือแจ้งเตือนไปยังจังหวัดตามแนวชายแดน ห้ามไม่ให้มีการนำเข้าท่อนพันธุ์มันจากประเทศเพื่อนบ้าน และเฝ้าระวังการขนย้ายมันสำปะหลังข้ามแดน เพราะอาจมีเชื้อปนมาในเหง้ามันได้

“ผลจากปัญหาดังกล่าว ทำให้ผลผลิตมันเวียดนามลดลงเหลือ 7-8 ล้านตัน จากเดิม 12 ล้านตัน ส่วนกัมพูชา คาดว่าจะมีไม่ถึง 10 ล้านตัน จากเดิม 13 ล้านตัน ทำให้ผู้ส่งออกจากเวียดนามหันมาซื้อไทย เพื่อนำไปส่งออกกระทบเป็นลูกโซ่ เพราะไทยเองถึงจะได้รับออเดอร์แต่อาจชอร์ตซัพพลายมันสำปะหลังได้ เพราะปัจจุบันไทยผลิตได้ 29.9 ล้านตัน แต่ต้องการใช้ 40 ล้านตัน แต่ละปีจึงต้องนำเข้าหัวมันจากประเทศเพื่อนบ้าน หากชอร์ตซัพพลายโรงแป้งจะได้รับผลกระทบสูงสุด เพราะปัจจุบันโรงแป้งใช้ผลผลิตปีละ 26-27 ล้านตัน มากกว่าอุตสาหกรรมอื่น ทั้งอาหารสัตว์ เอทานอล มันเส้นรวมกัน ทำให้ปีนี้การส่งออกในส่วนของแป้งมันอาจจะลดลงเหลือ 3.5-3.6 ล้านตัน จากปีก่อน 4.2 ล้านตัน”

อย่างไรก็ตาม จากปรากฏการณ์นี้ส่งผลให้ราคามันสำปะหลังสดปรับขึ้นไปเป็น กก.ละ 3 บาท จากปีก่อน 2.50 บาท ราคาแป้งมันในประเทศ กก.ละ 15 บาท จากปีก่อน 11-13 บาท และราคาส่งออกปรับขึ้นไปเป็น 510 เหรียญสหรัฐ จากปีก่อน 400 เหรียญสหรัฐ

“ขณะนี้เมื่อเกษตรกรเห็นราคาดีมาก ก็จะเร่งขุดหัวมันอ่อนอายุ 6-7 เดือน มาขาย จากปกติต้องขุดหลัง 8 เดือนไป (เชื้อแป้งน้อย) แต่เกรงว่ารายใดพบเชื้อก็อาจไม่แจ้งภาครัฐ แต่ขุดมาขายให้โรงงาน เพราะราคาดี ซึ่งเสี่ยงที่จะทำให้โรคนี้แพร่ลุกลามไป ดังนั้น ภาครัฐโดยกระทรวงเกษตรฯ จะต้องลงไปดูอย่างเข้มงวด เพราะโรคนี้จะต้องเผาทำลายทิ้งเท่านั้น”

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า ล่าสุด เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2561 นางสาวดุจเดือน ศศะนาวิน รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รักษาการแทนปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีหนังสือด่วนไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ประสานงานกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด ด่านศุลกากร ด่านตรวจพืช คณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนงานนโยบายและการแก้ไขปัญหาภาคการเกษตรระดับจังหวัด คณะกรรมการทำงานปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและแก้ไขปัญหาการเกษตรระดับอำเภอ เฝ้าระวังตรวจสอบปราบปรามการลักลอบนำเข้าท่อนพันธุ์และส่วนใดส่วนหนึ่งของมันสำปะหลังในช่องทางแนวชายแดนตามอำนาจหน้าที่และกฎหมาย โดยเน้นพื้นที่เป้าหมายเป็นจังหวัดตามแนวชายแดนติดต่อกับกัมพูชา โดยโฟกัสไปยัง 12 จังหวัด คือ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี ตราด เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร และอำนาจเจริญ