ฝนชุก ให้ระวัง หนอนเจาะผลส้มโอในระยะที่สภาพอากาศมีเมฆมาก

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรสวนส้มโอให้เฝ้าระวังหนอนเจาะผลส้มโอในระยะที่ต้นส้มโอติดผล จะพบตัวเต็มวัย เพศเมียวางไข่บนผลส้มโออายุประมาณ 2 สัปดาห์ จนถึงระยะเก็บเกี่ยว โดยวางไข่เป็นฟองเดี่ยวหรือเป็นกลุ่ม ประมาณ 2-29 ฟอง เมื่อหนอนฟักจะกัดกินเข้าไปในผลส้มโอ ซึ่งรอยเจาะทำลายของหนอนจะมีมูลที่ถ่ายออกมา และมียางไหลเยิ้ม ทำให้ผลเน่าและร่วงก่อนการเก็บเกี่ยว

แนวทางในการป้องกันและแก้ไขการเข้าทำลายของหนอนเจาะผลส้มโอ เกษตรกรควรควบคุมบังคับให้ต้นส้มโอแตกยอด ออกดอก และติดผลในระยะเดียวกัน เพื่อง่ายต่อการป้องกันกำจัด สะดวกในการดูแลรักษา และช่วยลดปริมาณหนอนเจาะผลส้มโอ จากนั้น ให้เกษตรกรเก็บหรือเด็ดผลอ่อนที่ถูกหนอนเจาะผลส้มโอเข้าทำลายนำไปฝังหรือเผาไฟทิ้งนอกแปลงปลูก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดต่อไป

สำหรับแหล่งปลูกที่พบการระบาดเป็นประจำ เกษตรกรควรหมั่นสำรวจตรวจดูหนอนเจาะผลส้มโอในแปลงปลูกช่วงที่ต้นส้มโอติดผลอ่อน เมื่อผลส้มโออายุประมาณ 2 สัปดาห์ เกษตรกรควรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงอีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร

หรือสารโพรฟีโนฟอส 50% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารแลมบ์ดาไซฮาโลทริน 2.5% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่น 4 ครั้ง และพ่นห่างกันทุก 7 วัน จากนั้น เมื่อผลส้มโออายุประมาณ 1 เดือนครึ่ง เกษตรกรควรห่อผลส้มโอด้วยถุงกระดาษห่อผลสีขาว เพื่อป้องกันการเข้าทำลายของหนอนเจาะผลส้มโอ

มะพร้าว เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญ ปลูกง่าย แต่การปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายด้วย โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน ลมพัดแรง ฝนตกหนัก หรือหนาวในเวลากลางคืน ด้วงแรดมะพร้าวมันมักจะเข้ามาทำลายความเสียหายให้กับการปลูกและผลิตมะพร้าว วันนี้จึงมาบอกเตือนผู้ปลูกมะพร้าวให้ระวัง และ “ป้องกันกำจัดด้วงแรดมะพร้าวศัตรูร้ายออกไป…เพื่อให้ได้ผลผลิตมะพร้าวคุณภาพ” ตามที่ตลาดต้องการ

อาจารย์ประสงค์ ทองยงค์ เกษตรกรทำสวนมะพร้าว เล่าให้ฟังว่า ได้ช่วยครอบครัวทำงานในสวนมะพร้าวมาตั้งแต่วัยเด็ก พร้อมกับเรียนหนังสือไปด้วย เมื่อเรียนจบได้เป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เมื่อเกษียณอายุราชการก็ได้มาปลูกสร้างสวนมะพร้าวเพื่อต่อยอดกิจกรรมของครอบครัวมาถึงวันนี้ก็มากกว่า 50 ปี

มะพร้าว เป็นพืชผสมข้ามพันธุ์ แต่ละต้นจึงไม่เป็นพันธุ์แท้ มะพร้าวมี 2 ประเภท คือ มะพร้าวต้นเตี้ย และต้นสูง

มะพร้าวต้นเตี้ย มีการผสมตัวเองค่อนข้างสูง จึงมักให้ผลดกและไม่ค่อยกลายพันธุ์ ส่วนใหญ่ปลูกรับประทานผลอ่อน เนื้ออ่อนนุ่ม น้ำมีรสหวาน กลิ่นหอม ลักษณะ ต้นสูงเต็มที่ 12 เมตร ลำต้นเล็ก โคนต้นไม่มีสะโพก ทางใบสั้น การปฏิบัติดูแลรักษาที่ดี หลังจากปลูกได้ 3-4 ปี ก็จะเริ่มให้ผลผลิต และให้ผลผลิตนาน 35-40 ปี นิยมนำไปเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม

มะพร้าวต้นสูง มักผสมข้ามพันธุ์ ในแต่ละช่อดอกหรือจั่นหนึ่งๆ ดอกตัวผู้จะค่อยๆ ทยอยบานและร่วงไปหมดก่อนที่ดอกตัวเมียในช่อดอกหรือจั่นจะเริ่มบาน

ลักษณะ ต้นสูงเต็มที่ 18 เมตร ลำต้นใหญ่ โคนต้นสะโพกใหญ่ หลังจากปลูกได้ 5-6 ปี จะเริ่มให้ผลผลิต และให้ผลผลิตนานถึง 80 ปี ขนาดผลโต เนื้อมะพร้าวหนาหรือมีปริมาณเนื้อมาก ผลกลมและกลมรี ผลที่ยังไม่แก่เปลือกที่บริเวณส่วนหัวมีรสหวานกินได้ มีชื่อเรียกต่างกัน เช่น มะแพร้ว มะพร้าวกะโหลก ใหญ่ กลาง หรือปากจก

มะพร้าว เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญ ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพแวดล้อม ให้ผลผลิตยาวนาน ในช่วงอากาศร้อนหรือฤดูร้อน ลมพัดแรง ฝนตกหนัก มีอากาศหนาวในเวลากลางคืน มักพบมี “ด้วงแรดมะพร้าว” ศัตรูร้ายสำคัญเข้าทำลายต้นมะพร้าวในทุกช่วงระยะการเจริญเติบโต ถ้ามันเข้าระบาดทำลายมากอาจทำให้ต้นมะพร้าวตายไม่ได้รับผลผลิต เกษตรกรหรือผู้ปลูกมะพร้าวต้องระมัดระวังและป้องกันกำจัดให้สิ้นซากไปโดยไว

ลักษณะด้วงแรดมะพร้าว หรือ ด้วงมะพร้าว เป็นกว่างชนิดหนึ่ง ตัวสีน้ำตาลเกือบดำ ที่ด้านข้างของส่วนหัว ตา ขา และด้านล่างของลำตัวจะมีขนสีน้ำตาลอ่อน ที่บริเวณส่วนหัวตัวผู้จะมีเขาคล้ายนอแรดค่อนข้างยาว ตัวเมียมีเขาที่สั้นกว่าและที่ส่วนปลายของท้องด้านล่างมีขนมากกว่าตัวผู้ และตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย

การสังเกต อาการหรือลักษณะของต้นมะพร้าวถูกด้วงแรดมะพร้าวเข้าทำลายคือ ด้วงแรด ตัวเต็มวัยจะบินขึ้นไปที่ยอดมะพร้าวและกัดเจาะโคนทางใบหรือยอดอ่อนของต้นมะพร้าว มันจะเจาะทำลายยอดอ่อนที่ใบยังไม่คลี่ออก ทำให้ใบไหม้ไม่เจริญเติบโต มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้วคล้ายรูปหางปลาหรือพัด ในกรณีที่ต้นมะพร้าวถูกทำลายมาก ใบจะแคะแกร็น รอยแผลถูกกัดเป็นช่องทางให้ด้วงมะพร้าวเข้าไปวางไข่ หรือในที่สุดก็เกิดยอดเน่าและตายได้

ระยะตัวหนอน เราจะพบมันได้ตามพื้นดิน บริเวณกองปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ตัวหนอนจะเจาะชอนไชเข้าไปกัดกินทำลายระบบรากต้นมะพร้าวที่ปลูกใหม่ ทำให้ยอดมะพร้าวเหี่ยว แห้งเป็นสีน้ำตาล ต้นแคระแกร็น ไม่เติบโต

อาจารย์ประสงค์ ทองยงค์ เกษตรกรทำสวนมะพร้าว เล่าให้ฟังอีกว่า เมื่อตรวจพบว่ามีด้วงแรดมะพร้าวเริ่มเข้าทำลายที่ต้นมะพร้าว เราจะป้องกันและกำจัดด้วยวิธีผสมผสานคือ วิธีเขตกรรม ชีววิธี และการใช้สารเคมี ดังนี้

วิธีเขตกรรม เกษตรกรหรือผู้ปลูก ต้องหมั่นออกตรวจแปลง รักษาความสะอาดและกำจัดเศษวัสดุบริเวณสวนมะพร้าวอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกำจัดแหล่งขยายพันธุ์ของด้วงแรดมะพร้าว โดยเฉพาะบริเวณที่กองปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก กองขยะ กองขี้เลื่อย หรือกองแกลบ ควรจัดการกำจัดออกไปจากบริเวณพื้นที่สวนมะพร้าว ส่วนกองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ที่อยู่นอกเขตพื้นที่สวนมะพร้าวให้หมั่นกลับกองเพื่อตรวจดูหนอนด้วงแรดมะพร้าว หากพบว่า มี ให้จับออกไปทำลาย หรือเผากองนั้นทิ้งไปทันที ส่วนลำต้นและตอมะพร้าวที่โค่นทิ้งไว้ หรือมะพร้าวยืนต้นตาย ควรจัดการตัดเป็นท่อนกองรวมกันแล้วเผาทำลายในทันที
ต้นมะพร้าวที่ถูกตัดโค่นลงมาที่ยังสดอยู่ให้นำไปทำเป็นกับดักเพื่อล่อด้วงแรดให้มาวางไข่ ด้วยการตัดให้เป็นท่อนสั้นๆ วางเรียงรวมกันไว้ ให้เปลือกต้นมะพร้าวติดกับพื้นดิน เพราะด้วงจะวางไข่บริเวณที่มีความชุ่มชื้นสูงและผุเร็ว จากนั้นให้เผาทำลายกับดักเพื่อกำจัดทั้งไข่ หนอน และดักแด้ของด้วงแรดมะพร้าว ส่วนตอมะพร้าวที่เหลือให้ใช้น้ำมันเครื่องเก่าเทราดให้ทั่วแล้วจุดไฟเผาทำลายให้หมด

ชีววิธี คือ การใช้เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม ใส่ตามกองขยะ ปุ๋ยคอก หรือกับดักท่อนมะพร้าวในบริเวณที่พบว่ามีหนอนด้วงแรดอาศัยอยู่ เกลี่ยเชื้อรากระจายทั่วกองเพื่อให้สัมผัสกับตัวหนอนได้มากที่สุด รดน้ำเพื่อเพิ่มความชื้น หาใบมะพร้าวหรือวัสดุเก่ามาคลุมกองไว้เพื่อรักษาความชื้น ป้องกันแสงแดด จะทำให้เชื้อราเขียวเมตาไรเซียมเข้าไปทำลายด้วงแรดมะพร้าวได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของมัน การป้องกันกำจัดทางชีววิธีที่ได้ผลในระยะยาว ไม่มีพิษตกค้าง มีความปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อมและเกษตรกรหรือผู้ปลูก

การใช้สารเคมี ต้นมะพร้าวอายุ 3-5 ปี ที่ยังไม่สูงมากนัก ให้ใช้ลูกเหม็นใส่บริเวณคอมะพร้าวที่โคนทางใบรอบๆ ยอดอ่อน ทางละ 2 ลูก ต้นละ 6-8 ลูก กลิ่นของลูกเหม็นจะไล่ตัวด้วงแรดไม่ให้บินเข้าไปทำลายที่คอมะพร้าว
เมื่อจำเป็นต้องใช้สารเคมี ถ้าพบว่ามีด้วงแรดมะพร้าวระบาดมาก ให้เลือกใช้สารฆ่าแมลงคลอร์ไพร์ฟอส 40% อีซี หรือสารไดอะซินอน 60% อีซีชนิดใดชนิดหนึ่ง ใช้ในอัตรา 80 มิลลิลิตร ผสมกับน้ำ 20 ลิตร นำไปเทราดบริเวณคอมะพร้าวให้เปียกตั้งแต่โคนยอดอ่อนลงมา ใช้ทุก 15-20 วัน และใช้เพียง 1-2 ครั้ง ในช่วงที่พบว่ามีการระบาดมากๆ ข้อแนะนำ การใช้สารเคมีเกษตรกรหรือผู้ปลูกต้องปฏิบัติตามคำแนะนำที่ข้างภาชนะบรรจุภัณฑ์อย่างเคร่งครัด

เตือนภัย “ด้วงแรดมะพร้าว” มันจะเข้าทำลายต้นมะพร้าวให้เสียหายไม่ได้รับผลผลิต ในช่วงอากาศร้อนหรือฤดูร้อน ลมพัดแรง ฝนตกหนัก หรือมีอากาศหนาวเวลากลางคืน ควรป้องกันกำจัดด้วยวิธีเขตกรรม ชีววิธี หรือใช้สารเคมี เมื่อจำเป็น ก็จะทำให้ได้รับผลผลิตมะพร้าวคุณภาพ และทำให้มีรายได้พอเพียงเพื่อการยังชีพ

เห็ดแครง หรือ เห็ดตีนตุ๊กแก มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Schizophyllum commune โดยแต่ละท้องถิ่นจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป ภาคเหนือ เรียก เห็ดแก้น เห็ดตามด ภาคใต้ เรียก เห็ดยาง เพราะพื้นที่ทางภาคใต้นั้นสามารถพบเห็ดชนิดนี้ได้บนไม้ยางพารา ส่วนภาคกลางนั้นเรียกว่า เห็ดมะม่วง เนื่องจากขึ้นอยู่บนไม้มะม่วง นอกจากนี้ เห็ดแครง ยังพบเห็นขึ้นบนไม้ชนิดอื่นๆ ได้ด้วย เช่น ไม้ยูคาลิปตัส ไม้สน ฯลฯ

เห็ดแครง เป็นเห็ดที่ขึ้นอยู่ได้ทั่วไปและสามารถงอกได้ตลอดทั้งปี พบว่า ขึ้นอยู่กับวัสดุหลายชนิด เช่น ท่อนไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ใบหญ้า กระดาษ แต่ที่พบปริมาณมากสามารถเก็บรวบรวมเห็ดชนิดนี้มารับประทานได้คือ บนท่อนไม้และกิ่งไม้ในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศ พบมากบนท่อนไม้ยางพารา ต้นยางพาราที่ตัดโค่นไว้เมื่อท่อนไม้ตายและมีฝนตกก็จะพบเห็นเห็ดแครงเป็นจำนวนมาก

ลักษณะของเห็ดแครง เป็นเห็ดขนาดเล็ก มีลักษณะคล้ายพัด (fan-shaped) ด้านฐานมีก้านขนาดสั้นๆ ยาวประมาณ 0.1-0.5 เซนติเมตร หรือไม่มีก้านแต่จะติดอยู่กับวัสดุที่ขึ้นด้านข้าง ดอกเห็ดมีขนาดความกว้าง ประมาณ 1-3 เซนติเมตร ผิวด้านบนมีสีขาวปนเทาปกคลุมทั่วไป ลักษณะของดอกเหนียวและแข็งแรง เมื่อแห้งด้านใต้ของดอกเห็ดมีครีบ มีลักษณะแตกเป็นร่อง (spilt-gill) พิมพ์สปอร์มีสีขาว สปอร์มีสีใสรูปร่างเป็นทรงกระบอกหรือคล้ายเมล็ดข้าว ขนาด 3-4×1-1.5 ไมครอน เนื่องจากเห็ดแครงมีขึ้นทั่วไปในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน จึงทำให้ลักษณะดอกเห็ดอาจแตกต่างกันในแต่ละท้องที่

คุณกมลวิศว์ แก้วแฝก ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ให้ข้อมูลว่า นับเป็นความสำเร็จจากการที่ได้มีการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ในเรื่องของการเพาะเห็ดแครง ทำให้เวลานี้เห็ดแครงเป็นสินค้าที่กำลังเป็นที่นิยมตลาดมีความต้องการสูง สามารถผลิตเห็ดแครงเป็นสินค้าที่ครบวงจร มีทั้งแบบเห็ดแครงสดและการนำเห็ดแครงเป็นสินค้าแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ซึ่งผลสำเร็จเหล่านี้เกิดจากการส่งเสริมการเพาะเห็ดแครงในหลายจังหวัดทางภาคใต้ ทำให้มีผู้สนใจเข้ามาเรียนรู้เป็นจำนวนมาก และสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้เพาะได้เป็นอย่างดี

“ในเรื่องของการฝึกอบรมนั้น สำหรับผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมแล้ว เมื่อกลับไปที่บ้านสามารถทำผลผลิตเห็ดแครงออกมาได้ ทางเราก็มีการรับซื้อผลผลิตกลับคืนมา ซึ่งทางเราเองก็ได้มีการไปติดตามว่า ฟาร์มที่เขาทำเป็นอย่างไร ผลผลิตที่ออกมามีคุณภาพมากน้อยแค่ไหน ผลก็ปรากฏออกมาว่า ทุกคนที่ดำเนินการเปิดฟาร์มเพาะเห็ดแครง สามารถดำเนินการได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญยังสามารถทำเป็นศูนย์เรียนรู้ได้อีกด้วย จึงนับว่าการอบรมเพาะเห็ดแครงมีความสำเร็จ เพราะทุกคนมีรายได้ที่เกิดจากการเพาะเห็ดแครง” คุณกมลวิศว์ กล่าว

ซึ่งในอนาคต คุณกมลวิศว์ ยังบอกอีกด้วยว่า ทางจังหวัดสงขลาจะได้มีการเพาะเห็ดแครงเพื่อเป็นอุตสาหกรรมมากขึ้น เพื่อเป็นสินค้าที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสงขลา เพราะอนาคตเห็ดแครงจะต้องเป็นพืชเศรษฐกิจที่จะนำมาทำเป็นอาหาร เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญให้กับผู้ที่รักสุขภาพที่กำลังมีจำนวนมากขึ้น โดยการแปรรูปที่เกิดขึ้นก็มีด้วยกันหลายอย่าง เช่น นมเห็ดแครง และต่อไปจะมีการนำเสนอสินค้าที่เป็นโปรตีนผงจากเห็ดแครง เพื่อให้เป็นสินค้าสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการบริโภคเนื้อสัตว์และส่งจำหน่ายตามความต้องการของตลาดโลกอีกด้วย

องค์ความรู้สู่การสร้างคุณภาพชีวิต

คุณจิตสุภา ยวงใย อ.ต.ก. จังหวัดสงขลา ให้ข้อมมูลว่า องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร จังหวัดสงขลา ตั้งอยู่ เลขที่ 424 หมู่ที่ 2 ตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ได้มีการจัดฝึกอบรมให้ความรู้กับผู้ที่สนใจอยากจะเพาะเลี้ยงเห็ดแครง โดยทางผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) คือ คุณกมลวิศว์ แก้วแฝก ได้จัดทำเป็นโครงการศูนย์การเรียนรู้การเพาะเห็ดแครงอินทรีย์ขึ้นมา จากเมื่อปี 2560 มีผู้สนใจเข้ามาเรียนรู้การเพาะเห็ดแครงอยู่ที่ 368 ราย โดยผู้ที่มารับการอบรมบางรายก็สามารถนำความรู้จากการอบรมไปพัฒนาเป็นอาชีพ มีผลผลิตที่ได้สามารถทำตลาดออกจำหน่ายได้เอง จึงนับได้ว่าการเพาะเห็ดแครงเป็นที่สนใจทำเป็นอาชีพสร้างรายได้ไปทดแทนสินค้าเกษตรอื่นๆ ที่มีราคาตกต่ำ

“ทาง อ.ต.ก. จังหวัดสงขลา จะมีการจัดอบรมเกี่ยวกับเห็ดแครงทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งเราก็จะมีการแจ้งและประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่างๆ จากที่ผ่านมาก็ประจักษ์ชัดว่า คนที่มาอบรมก็เริ่มรู้จักเห็ดแครงมากขึ้น มีผู้สนใจจากทั่วประเทศมาลงฝึกอบรม เพราะการสอนของเราจะเน้นส่งเสริมให้ผู้เพาะเห็ดแครงได้เรียนรู้การทำเห็ดแครงเป็นสินค้าเกษตรแบบปลอดภัยและสินค้าเกษตรอินทรีย์ จึงทำให้ผลผลิตที่ได้สามารถสร้างมูลค่า มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค จึงเกิดเป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้เสริมให้กับผู้ที่เพาะเห็ดแครงได้” คุณจิตสุภา กล่าว

ซึ่งผลผลิตเห็ดแครงที่ผลิตออกมานั้น คุณจิตสุภา บอกว่า ปัจจุบัน สามารถเก็บรักษาผลผลิตได้นานขึ้นหากยังไม่ได้นำไปประกอบอาหาร อย่างเช่น ทางหน่วยงานเองได้มีการบรรจุผลิตภัณฑ์ให้เป็นแบบสุญญากาศ ทำให้เห็ดแครงสามารถมีอายุการเก็บรักษาได้ถึง 1 เดือน ดังนั้น หากมีการทำการตลาดในอนาคตที่กว้างขึ้น เห็ดแครงสามารถวางแผนการผลิตได้อย่างชัดเจนในการกำหนดปริมาณสินค้าที่จะออกสู่ท้องตลาดแต่ละครั้ง จึงทำให้ไม่มีเรื่องของการล้นตลาดอย่างแน่นอน

ให้ผลผลิต 100-150 กรัม

อาจารย์บรรลุ บุญรอด ผู้เชี่ยวชาญการเพาะเห็ดแครง ให้ข้อมูลว่า เห็ดแครง มีวิธีการเพาะเหมือนเห็ดทั่วไป เพียงแต่มีการปรับสูตรในการเพาะที่แตกต่างออกไป เมื่อทำก้อนเชื้อเห็ดเสร็จแล้วเห็นเชื้อเดินเต็มถุง ในระยะเวลาไม่กี่วันก็จะมีดอกเห็ดออกมาให้เห็น จนสามารถเก็บจำหน่ายได้ ซึ่งอายุการเก็บเกี่ยวของเห็ดแครงมีอายุที่สั้นเมื่อเทียบกับเห็ดอื่นๆ และที่สำคัญเห็ดแครงยังมีการใช้ต้นทุนต่ำ ทำให้เมื่อจำหน่ายสามารถมีรายได้กลับคืนมาได้อย่างแน่นอน

“ปัจจุบัน การจำหน่ายสมัยนี้ เมื่อเทียบกับสมัยก่อนแล้ว ผมว่าสมัยนี้ง่ายกว่ามาก เพราะผลผลิตที่เรามีเท่าไรสามารถนำมาทำการตลาดแบบออนไลน์ได้ ดังนั้น เมื่อสนใจที่อยากจะเพาะ ผมเชื่อว่าการทำในแต่ละวิธีไม่มีอะไรยุ่งยาก เพราะถ้าประสบผลสำเร็จแล้ว สามารถนำเห็ดตัวนี้ไปต่อยอดแปรรูปเพิ่มมูลค่าได้อีกหลากหลาย ซึ่งการทำหัวเชื้อของเห็ดแครง ก็มีหลักการทำทั่วไปเหมือนกับเห็ดนางฟ้า ก็จะมีการทำหัวเชื้อในวุ้น เสร็จแล้วก็เอามาทำในเมล็ดธัญพืช พอหัวเชื้อเราเสร็จเรียบร้อย เราก็จะนำหัวเชื้อมาใส่ลงในก้อนที่มีไว้ให้เชื้อเดิน โดยมีสูตรที่ทางศูนย์กำหนดไว้แล้ว สำหรับผู้ที่มาฝึกอบรมสามารถนำไปใช้ทำได้” อาจารย์บรรลุ กล่าว

โดยสูตรอาหารทำก้อนเชื้อเห็ดแครง มีดังนี้

ขี้เลื่อย 100 กิโลกรัม
รำละเอียด 50 กิโลกรัม
ภูไมท์ 2 กิโลกรัม
ดีเกลือ 200 กรัม
น้ำสะอาด ใช้ปรับความชื้น 70-75 เปอร์เซ็นต์

ขั้นตอนการผลิตก้อนเชื้อเห็ด

เตรียมส่วนผสม ในอัตราส่วนตามสูตรจนได้ปริมาณตามต้องการ จากนั้นใช้พลั่วหรือเครื่องผสมคลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากัน
เติมน้ำลงไปในขี้เลื่อย ผสมพร้อมกับคลุกเคล้าให้เข้ากันอีกครั้ง ผสมน้ำให้มีความชื้น ประมาณ 70-75 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นทดสอบความชื้นของสวนผสมดูว่า เหมาะสมหรือยัง โดยใช้มือกำแล้วบีบขี้เลื่อยผสม ถ้าหากมีน้ำไหลออกมาทางง่ามมือแสดงว่าส่วนผสมมีความชื้นมากเกินไป แต่ถ้าในขณะที่บีบไม่มีน้ำไหลออกมาทางง่ามมือ และเมื่อแบมือออกขี้เลื่อยผสมแตกออกเป็นชิ้นๆ แสดงว่าส่วนผสมแห้งเกินไป ซึ่งระดับความชื้นที่เหมาะสมคือ ในขณะที่ใช้มือกำและบีบส่วนผสมน้ำจะไม่ไหลออกมาทางง่ามมือ และเมื่อแบมือออกส่วนผสมจะยังจับกันเป็นก้อน
บรรจุขี้เลื่อยที่ผสมเสร็จแล้วใส่ถุงพลาสติก บรรจุให้มีน้ำหนัก ประมาณ 600 กรัม ถุงพลาสติกที่ใช้ทำก้อนเชื้อเห็ดนิยมให้ถุงพลาสติกทนร้อน ขนาด 6.5×10 นิ้ว
อัดขี้เลื้อยผสมให้แน่นพอสมควร จากนั้นดึงปากถุงพลาสติกให้ตึง รวบปากถุงไล่อากาศออก แล้วจึงใส่คอขวดพลาสติก แล้วพับปากถุงพาดคอขวดลงมารัดด้วยหนังยาง อุดด้วยจุกสำลีแล้วนำไปนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อต่อไป

หลังจากทำก้อนเชื้อเห็ดเรียบร้อยแล้ว ควรนึ่งก้อนเชื้อทันทีในวันเดียวกัน ซึ่งการเก็บเชื้อค้างคืนจะทำให้รำละเอียดในก้อนเชื้อบูด เพราะมีความชื้นและเกิดแก๊สขึ้นในก้อนเชื้อ การนึ่งฆ่าก้อนเชื้อเห็ดก็มีจุดประสงค์เพื่อกำจัดเชื้อรา แมลง และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นศัตรูเห็ด เป็นวิธีการฆ่าเชื้อแบบพาสเจอไรเซชั่น โดยนำไปนึ่งในหม้อแรงดันหรือหม้อลูกทุ่ง ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3-4 ชั่วโมง แล้วจึงพักให้เย็นลง นำเข้าห้องเขี่ยเชื้อโดยเร็ว ไม่ควรทิ้งไว้เกิน 24 ชั่วโมง เพราะจะเกิดการปนเปื้อนจากเชื้อราชนิดอื่นๆ

จากนั้น นำก้อนเชื้อที่เขี่ยเชื้อเห็ดแครงแล้ว เก็บในโรงเรือนสำหรับบ่มเชื้อทันที ซึ่งภายในโรงเรือนต้องมีความสะอาดไม่สะสมโรค สามารถป้องกันแดด ลม และฝน ได้เป็นอย่างดี สามารถเก็บรักษาความชื้นและถ่ายเทอากาศภายในโรงเรือนได้สะดวก และที่สำคัญต้องมืด มิเช่นนั้นแสงจะเป็นตัวกระตุ้นให้เส้นใยสร้างดอก อุณหภูมิที่เหมาะสมกับการบ่มเชื้อ ควรอยู่ที่ 28-32 องศาเซลเซียส หลังจากพักบ่มไว้ 15-20 วัน เส้นใยสีขาวจะเจริญเต็มถุง พร้อมให้นำไปเปิดดอกได้

การเปิดดอกเห็ดแครงนั้น จะนำก้อนเชื้อเห็ดมาไว้ภายในโรงเรือน ที่ควรมีขนาด 4 เมตร ยาว 8 เมตร และสูง 2.50 เมตร โดยวางก้อนเชื้อเห็ดบนชั้น โดยเปิดฝาจุกพลาสติกออก รัดปากถุงด้วยเชือกฟางให้แน่น พร้อมทั้งกรีดด้านข้างก้อนเชื้อเห็ดให้ทะลุตามแนวเอียง 45 องศา ถุงละ 4-6 รอบ ในช่วงนี้ให้รดน้ำสะอาดลงที่พื้นและผนัง เพื่อเพิ่มความชื้นภายในโรงเรือน และเมื่อมองเห็นว่าเส้นใยบริเวณรอยกรีดสมานกันดีจะใช้เวลาประมาณ 3 วัน แล้วจึงรดน้ำที่ก้อนเชื้อเห็ดโดยใช้หัวฉีดเจทสเปรย์ หากไม่สะดวกให้ใช้ถังฉีดพ่นปุ๋ยหรือสารเคมี (แต่ต้องล้างให้สะอาด) แทน

จากนั้นรักษาอุณหภูมิภายในโรงเรือนไว้ที่ 30-35 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ที่ 85 เปอร์เซ็นต์ เพราะจะทำให้ดอกเห็ดเจริญเติบโตได้ดี หลังจากที่ฉีดพ่นน้ำทุกวันจนครบ 7 วัน ดอกเห็ดแครงก็จะโตพอที่จะเก็บเกี่ยวได้ วิธีการตัดจะใช้มีดคมๆ เฉือนตรงโคนดอกเห็ดที่บานเต็มที่ ซึ่งการเก็บผลผลิตในรุ่นแรก จะให้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 80-120 กรัม ต่อเห็ด 1 ก้อน หลังจากเก็บผลผลิตรุ่นแรกแล้ว ประมาณ 6-7 วัน ก็จะสามารถเก็บ รุ่นที่ 2 มีผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 20-30 กรัม ตามลำดับ ดังนั้น เห็ดแครง 1 ก้อน (600 กรัม) จะให้ผลผลิตประมาณ 100-150 กรัม

เมื่อเก็บผลผลิตหมดแล้ว ให้นำก้อนเชื้อไปทิ้งหรือทำลาย ในกรณีที่ทิ้งควรนำไปทิ้งให้ไกลจากพื้นที่ เพราะจะทำให้ไม่เกิดการสะสมโรคภายในบริเวณที่เพาะเห็ดได้ สำหรับโรงเรือนหลังจากเปิดดอกและย้ายก้อนเชื้อออกไปแล้ว ควรทำความสะอาดไม่ให้มีโรคสะสม จากนั้นพักโรงเรือนให้แห้ง เป็นเวลา 2-3 วัน แล้วจึงนำก้อนเชื้อเห็ดรุ่นใหม่ไปเปิดต่อไปได้

เห็ดแครง เป็นแหล่งของโปรตีนปรุงอาหารมีรสชาติอร่อย

คุณจิตสุภา ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของการนำเห็ดแครงเพื่อนำไปประกอบอาหารว่า เห็ดแครง เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่นิยมรับประทานเนื้อสัตว์ ก็สามารถนำเห็ดแครงไปประกอบอาหารแทนการปรุงจากเนื้อสัตว์ได้ เพราะในเห็ดแครงมีโปรตีนสูง แถมเมื่อนำไปประกอบอาหารสามารถทำได้หลากหลายเมนู เช่น แกง ห่อหมก ตลอดไปจนถึงเมนูทอดมันเห็ดแครงโดยขึ้นอยู่กับท้องถิ่นนั้นๆ ว่าจะรังสรรค์เมนูในรูปแบบใด

“ราคาเห็ดแครงที่จำหน่ายตามท้องตลาด ก็สามารถทำตลาดได้หลากหลาย อย่างผู้ที่มาฝึกอบรมกับศูนย์ของเรา พอกลับไปทำเป็นอาชีพเอง เขาก็สามารถจำหน่ายได้ราคา ตั้งแต่ 200-400 บาท ต่อกิโลกรัม จากจำนวนการลงทุนและผลตอบแทนที่ได้ ก็ถือว่าเห็ดแครงเป็นอีกหนึ่งผลผลิตที่น่าสนใจ เพราะในอนาคตเราเองก็จะมีการต่อยอดมากขึ้น นำมาแปรรูปหลากหลาย ก็จะยิ่งช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับเห็ดแครงได้ดียิ่งขึ้น ทำให้เกิดรายได้กับเกษตรกรผู้เพาะได้อย่างยั่งยืน” คุณจิตสุภา บอกถึงเรื่องการทำตลาด

สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะฝึกการเพาะเห็ดแครง สามารถติดต่อขอฝึกอบรมได้ที่ ศูนย์การเรียนรู้การเพาะเห็ดแครง อ.ต.ก. จังหวัดสงขลา หรือติดต่อทางหมายเลขโทรศัพท์ (074) 330-241-3 โดยทางศูนย์จะมีการฝึกอบรมให้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น และท่านใดสนใจซื้อเห็ดแครงเพื่อนำไปประกอบอาหารเองที่บ้าน หรือจะเป็นสินค้ากับข้าวสำเร็จรูปที่พร้อมรับประทานได้ทันที ก็สามารถไป

กษ. รุกนโยบายผลิตสินค้าเกษตรให้สอดคล้องความต้องการของตลาด จัดทำโครงการปลูกพืชอื่นๆ หลังฤดูทำนาปี เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หวังช่วยลดปริมาณข้าวนาปรังส่วนเกิน และช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ไม่เพียงพอกับความต้องการ ในส่วนของมันสำปะหลังโรงงาน กษ. ไม่ได้มีนโยบายในส่งเสริมปลูกมันสำปะหลังโรงงานทดแทนการปลูกข้าว แต่จะเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเดิม

นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์ราคาข้าวปัจจุบัน พบว่า ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ราคาที่เกษตรกรขายได้ ณ ไร่นาทั้งประเทศ ระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2561 เฉลี่ยตันละ 7,835 บาท โดยภาคกลางราคาเฉลี่ยตันละ 7,804 บาท สำหรับข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิ 105 ปี 2561 (มกราคม-กรกฎาคม 2561) เฉลี่ยตันละ 13,529 บาท ซึ่งสถานการณ์การผลิตข้าว ปัจจุบันพบว่า ข้าวมีผลผลิตส่วนเกินจากความต้องการตลาด โดยไทยมีพื้นที่เพาะปลูกทั้งประเทศประมาณ 71.8 ล้านไร่ ปริมาณผลผลิตประมาณ 32.63 ล้านตัน ในขณะที่ความต้องการทั้งในและนอกประเทศเฉลี่ย 5 ปี ประมาณ 30.88 ล้านตัน ดังนั้น จึงเกิดผลผลิตส่วนเกิน 1.75 ล้านตัน เมื่อคำนวณกลับเป็นพื้นที่จะมีเนื้อที่ปลูกข้าวมากเกินความต้องการ 2.6 ล้านไร่

รัฐบาลจึงได้มีโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี เว็บเล่นพนันออนไลน์ ปีการผลิต 2561/62 เพื่อชะลอการขายข้าวเปลือกมิให้ออกสู่ตลาดในปริมาณมากเกินความต้องการของตลาด โดยให้เก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเพื่อรักษาระดับราคาข้าวเปลือกให้มีเสถียรภาพ ตลอดจนให้เกษตรกรขายข้าวเปลือกได้ในราคาที่สูงขึ้น ซึ่งดำเนินการทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจะต้องเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปี 2561/62 กับกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งหากเกษตรกรมียุ้งฉางของตัวเอง จะต้องเป็นยุ้งฉางที่มั่นคงแข็งแรงที่สามารถเก็บข้าวเปลือกไว้ได้ตลอดระยะเวลาที่กู้เงิน โดยไม่ทำให้ข้าวเกิดความเสียหายและเสื่อมคุณภาพ ส่วนเกษตรกรที่ไม่มียุ้งฉางเป็นของตัวเอง (เช่น เกษตรกรในภาคกลาง 22 จังหวัด) สามารถเข้าร่วมโครงการได้ โดยนำไปเข้าร่วมกับสถาบันเกษตรกรที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับส่วนงานราชการ ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน (รวมถึงศูนย์ข้าวชุมชน) ที่รวบรวมข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2561/62 จากสมาชิกสถาบันเกษตรกร

นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้องการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวไม่ให้ตกต่ำกว่าต้นทุนการผลิตของชาวนา รัฐบาลจึงได้มีนโยบายสนับสนุนให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนจากการปลูกข้าวนาปรังไปปลูกพืชอื่นๆ ที่ตลาดมีความต้องการ และให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า โดยคำนึงถึงสภาพพื้นที่เหมาะสมตาม Agri-Map ซึ่งในรายการพืชอื่นๆ นั้น มีข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นทางเลือกหนึ่งและมีพืชใช้น้ำน้อยอื่นๆ โดยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีเนื้อที่เพาะปลูกประมาณ 6.71 ล้านไร่ ปริมาณผลผลิต 5.03 ล้านตัน ในขณะที่ความต้องการตลาดเฉลี่ยปีละประมาณ 7.95 ล้านตัน ดังนั้น ตลาดต้องการเพิ่มอีกถึง 2.92 ล้านตัน โดยการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รุ่นที่ 2 ช่วงพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ จะตรงกับช่วงนาปรังพอดี และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีอายุเก็บเกี่ยว 120 วัน ซึ่งเกษตรกรจะสามารถทำข้าวนาปีต่อได้เลย

ทั้งนี้ โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้งหลังนา ปี 2560/61 มีเป้าหมาย 700,000 ไร่ โดยรัฐบาลช่วยเหลือเกษตรกรเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับเป็นต้นทุนการผลิตไร่ละ 2,000 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ ต่อราย ซึ่งมีเกษตรกรเข้าร่วม ทั้งหมด 67,000 ราย พื้นที่ 500,000 ไร่ โดยผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการเกิดประโยชน์ ช่วยให้เกษตรกรได้ผลผลิตโดยเฉลี่ย 1,000 กิโลกรัม/ไร่ สามารถขายได้ 7.3 บาท/กิโลกรัม ทำให้มีรายได้ 7,300 บาท/ไร่ กำไรประมาณ 3,300 บาท ซึ่งสูงกว่าการปลูกข้าวนาปรัง ซึ่งมีกำไรเพียงไร่ละ 560 บาท/ไร่ ทำให้มีข้าวโพดเลี้ยงสัตว์คุณภาพดีออกสู่ตลาดกว่า 500,000 ตัน โดยไม่ต้องนำเข้าข้าวสาลี สามารถปรับสมดุลการผลิตข้าวในฤดูกาลผลิต 2560/61 ทำให้ราคาข้าวดีขึ้น เนื่องจากลดปริมาณข้าวนาปรังส่วนเกิน และเป็นการปรับระบบการปลูกข้าว ไม่ให้มีการปลูกข้าวอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ซึ่งสามารถช่วยลดการระบาดของศัตรูพืชลงได้

สำหรับสินค้ามันสำปะหลัง ไม่ได้อยู่ในรายการพืชอื่นๆ หลังฤดูทำนาปี โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาว่าเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่มีอนาคต ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไม่ได้มีนโยบายในส่งเสริมปลูกมันสำปะหลังโรงงานทดแทนการปลูกข้าว แต่จะเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเดิม เนื่องจากมันสำปะหลังเป็นพืชที่ไม่เหมาะสมในพื้นที่ปลูกข้าว มีระยะเวลาเก็บเกี่ยวช่วง 8-12 เดือน อีกทั้งส่งผลให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ไม่เหมาะแก่การปลูกข้าว โดยปัจจุบัน มีเนื้อที่เพาะปลูกมันสำปะหลัง 8.29 ล้านไร่ ผลผลิตรวม 27.24 ล้านตัน ขณะที่ความต้องการอยู่ที่ 40.75 ล้านตัน จึงยังต้องการผลผลิตเพิ่มอีก 13.51 ล้านตัน ซึ่งไทยยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อแปรรูปและส่งออก