ฝากไว้ให้คิด ก่อนลาออกจากงานประจำมาทำเกษตร ต้องเตรียม

ตัวอย่างไรบ้าง ก่อนลาออกจากงานประจำมาทำเกษตร ผมเชื่อว่าหลายๆ คนคงอยากมีอิสรภาพทางการเงินและเวลา โดยเฉพาะคนต่างจังหวัดที่ไปทำงานโรงงาน งานบริษัทในเมืองใหญ่ หลายคนอยากมีกิจการเป็นของตัวเอง และหลายคนอยากกลับบ้านมาอยู่กับครอบครัว แต่ด้วยภาระและหน้าที่ และไม่รู้จะเริ่มทำอะไรดี ถึงยังกลับมาอยู่บ้านไม่ได้

และช่วงนี้ที่เห็นเป็นกระแสคือ การออกจากงานมาทำเกษตร ซึ่งผมจะบอกว่า การทำเกษตรมันไม่ยากหรอก ถ้าคุณไม่ทำขาย แต่จะเริ่มยากตรงที่คุณอยากได้เงินจากการทำเกษตร เพราะผมเห็นหลายคนที่ลาออกจากงานมาทำเกษตรแล้วไปไม่รอด ต้องซมซานกลับไปหางานทำในเมืองอีก ซึ่งถือว่าไม่ค่อยดีนัก

ผมมีหลักการบางสิ่งจะบอกกล่าวให้คนที่อยากออกงานมาทำเกษตรให้เป็นแนวทางไว้ได้คิดกันเล่นๆ คนที่ทำงานประจำแล้วอยากออกงานมาทำสวน ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่ จะเบื่องาน เบื่อคน เบื่อเวลา อยากกลับบ้าน ข้อควรคิดคำนึงก่อนออกมาทำสวนคือ

1. ต้องปลอดหนี้ คือต้องไม่มีหนี้สิน เพราะถ้าออกงานมาทำสวนแล้วยังมีหนี้สินอยู่ งานเข้าแน่ เพราะจะเป็นอุปสรรคบั่นทอนและเป็นแรงกดดันมหาศาลให้กับเราแน่ๆ

2. เตรียมความพร้อมก่อนออกงาน คือในช่วงขณะที่เราทำงานอยู่ เราก็เจียดเงินในแต่ละเดือนมาซื้อต้นไม้และอุปกรณ์ที่ใช้ในภาคเกษตรไปลงในสวนก่อน โดยเฉพาะต้นไม้ ควรปลูกไว้ให้เกือบได้ผลผลิตหรือได้ผลผลิตค่อยออกงานมาทำ จะลดความเสี่ยงลงได้เยอะมากๆ

3. วางแผน…ต้องกำหนดเป้าหมาย ว่าเราจะทำสวนแนวไหน วางแผนเงินทุน วางแผนเวลา วางแผนการตลาดและการผลิต วางแผนเจาะกลุ่มเป้าหมาย (ถ้าคิดจะทำผลผลิตขาย)

4. โมเดล หรือรูปแบบการทำสวน ควรเขียนโมเดลสวนออกมาก่อนจะปลูกหรือลงทุนลงแรง เพราะจะได้เป็นระบบและลงทุนได้ถูก ไม่เสียเวลาทำ วาดเขียนออกมาหลายๆ โมเดล โดยดูจากพื้นที่เราเป็นองค์ประกอบหลัก…

5. ความรู้…ความรู้เป็นสิ่งสำคัญในระดับต้นๆ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ด้านการตลาด การขาย ความรู้ด้านต้นไม้ ด้านพืช เพื่อเตรียมพร้อมสู้กับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในแต่ละวัน…ถ้าเรามีความรู้เราจะสามารถผ่านทุกปัญหาไปได้

6. เงินทุน…แน่นอนล่ะ เงินทุนก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมี จะมีมากมีน้อยก็ต้องมีสำรองไว้ยามฉุกเฉิน

7. คอนเน็กชั่น…เราควรมีคอนเน็กชั่นดีๆ ไว้ให้เยอะที่สุดเท่าที่จะหาได้…คอนเน็กชั่นคือ การมีเพื่อนหรือเครือข่ายผู้คน ถ้าคุณมีเครือข่ายเยอะๆ คุณจะผ่านได้เกือบทุกปัญหา…เเละบางทีคุณอาจจะไม่ต้องลงทุนหรือใช้เงินในการทำเกษตรเยอะก็ได้ …

8. ตลาด…ถ้าคิดอยากมีรายได้จากภาคเกษตร เราก็ต้องรู้จักหาตลาดให้เป็น ติดต่อคนให้ได้ ประสานงานให้เป็น ไม่ว่าจะตลาดออนไลน์ หรือตลาดในพื้นที่ มะม่วงหาวมะนาวโห่ เป็นพืชสมุนไพรไทยชื่อแปลกที่มีประโยชน์และสรรพคุณที่หลากหลาย มะม่วงหาวมะนาวโห่ จัดเป็นผลไม้ประเภทรับประทานผลสุก มีรสชาติเปรี้ยวเฉพาะตัว ผลสุกสีแดงขนาดเล็ก เป็นแหล่งสำคัญของธาตุเหล็ก วิตามินซี และยังมีปริมาณ เพคติน ซึ่งเป็นใยอาหารที่ละลายน้ำได้ในปริมาณสูง (Pal et al,19751) พบว่าผลของพืชสกุล Carissa caradas มีสารกลุ่มฟินอลิกปริมาณมาก

โดยสารประกอบฟินอลิกได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นสารแอนติออกซิแดนท์ สารฆ่าเชื้อ และสารต่อต้านมะเร็ง มะนาวโห่จะอุดมไปด้วยสารแอนโทไซยานิน เป็นสารสีม่วงแดงซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระได้สูงกว่าวิตามินซีหลายพันเท่า ซึ่งมีประโยชน์ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคหัวใจ ลดโอกาสเป็นโรคมะเร็ง ช่วยเสริมให้ร่างกายต้านเชื้อโรค สมานแผล ส่งเสริมการทำงานของเม็ดเลือดแดง

ขั้นตอนการปลูกแบบไม่ยุ่งยาก ปลูกแบบเดียวกับมะนาว ขุดหลุมลึก ประมาณ 50 เซนติเมตร ระยะห่าง 3 x 3 เมตร ทำไมต้องขุดห่างขนาดนั้น ต้นมะม่วงหาวมะนาวโห่เป็นทรงพุ่มใหญ่ มีหนาม เมื่อต้นโตออกผลผลิต เราต้องเก็บเพราะฉะนั้นถ้าปลูกถี่ และปล่อยให้ต้นสูงมากจะเก็บลำบาก ต้องหมั่นที่จะตัดแต่งกิ่งเพื่อให้สวยและแตกยอด

2. นำดิน แกลบดำ ไบโอชาร์คลุกใส่ที่ก้นหลุม หลังจากนั้นลงต้นมะม่วงหาวมะนาวโห่ หรือถ้าอยากปลูกมะม่วงหาวมะนาวโห่นอกฤดูคุณปุ๊แนะนำให้ใส่ไบโอชาร์ ไบโอชาร์จะเปรียบเสมือนผงชูรสของพืช ไม่ใช่ปุ๋ยแต่คือสารปรับปรุงดิน คือสิ่งที่จะทำให้พืชเจริญเติบโตได้เร็ว และอยู่กับเราได้นานกว่าการใส่ปุ๋ย คือไบโอชาใส่แล้วต้นไม้อยู่กับเราได้เกือบ10ปี แต่ถ้าใส่ปุ๋ยอยู่ได้ 1-2 ปี ก็หมดแล้วต้องเพิ่ม แต่ไบโอชาร์ใส่ทีเดียวจบ

ฤดูที่เหมาะในการปลูกคือฤดูฝน ไม่ต้องรดน้ำมาก ถ้าปลูกหน้าแล้งมีปัญหาเรื่องน้ำจะทำอย่างไร ต้องปลูกหน้าฝนให้น้ำลงหาต้น ให้ต้นเก็บน้ำ หลังจากนั้นต้นจะค่อยๆ โต พอช่วงหน้าร้อนให้สังเกตุว่าต้นโต หรือไม่โต ถ้าไม่โตให้พิจารณาว่าต้องใส่ปุ๋ยคอกไหม ถ้าไม่ใส่เรื่องของการแตกยอดจะลำบากหน่อย

ระยะเวลาในการปลูก ถ้าเป็นเบี้ยเล็กใช้ระยะเวลา3ปี ถึงจะโตมีลูก แต่ถ้าในกรณีที่ใส่ใบโอชาเข้าไปผลผลิตจะออกเร็ว 2 ปีกว่าก็ให้ลูกแล้ว การดูแลรักษา
คุณภัทรฤทัย พรมนิล (ปุ๊) สาวชาวอำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม อดีตครีเอทีฟรายการทีวีชื่อดังที่ผันตัวเองเป็นเกษตรกร โดยสวนคุณปุ๊นั้นปลูกมะม่วงหาวมะนาวโห่ไว้ประมาณ 1 ไร่ครึ่ง คิดเป็นจำนวนต้น คือปลูกได้ 300 ต้น ให้คำแนะนำว่า

“ต้นมะม่วงหาวมะนาวโห่ เป็นต้นไม้ที่ไม่ชอบความแฉะถ้าแฉะแล้วตาย ให้รดน้ำแบบวันเว้นวัน หรือชื้นหน่อยก็ได้ แต่อย่าเปียกจนทำให้รากเปื่อยไม่งั้นจะดูแลยาก ส่วนเรื่องแมลงจริงๆ มีปัญหาคือเรื่องหนอน หนอนอย่างเดียวเท่านั้น หนอนที่เป็นปัญหาคือหนอนผีเสื้อ หนอนตัวใหญ่ๆ หนอนจะมาทำร้ายต้นมะม่วงหาว กินใบซะเรียบ”

แต่ที่สวนคุณปุ๊ไม่ได้กำจัดหนอนด้วยยาฆ่าแมลง หรือวิธีที่พิสดารอะไร แต่ใช้วิธีการไปจับออก เพราะว่าอยากทำเป็นเกษตรอินทรีย์ อีกอย่างสรรพคุณของมะม่วงหาวมะนาวโห่มีเยอะ เพราะฉะนั้นการเอาสารเคมีเข้าไปใส่ไม่ใช่เรื่องดี

นายสมจิตร ช่างทอง อายุ 68 ปี อาศัยอยู่ที่ บ้านฝ่ายท่า ม.1 ต.ถ้ำน้ำผุด อ.เมืองพังงา เกษตรกรวัยเกษียณชาวตลาดพังงา ได้ใช้พื้นที่ 1 ไร่เศษ ปลูกต้นกาหยี หรือต้นมะม่วงหิมพานต์ และต้นจิกนา ซึ่งเป็นไม้ยืนต้น ตัดแต่งกิ่ง เพื่อเก็บใบอ่อนขาย สามารถสร้างรายได้ วันละ 500-2,000 บาท ซึ่งปัจจุบันผลผลิตยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดในพื้นที่ โดยเฉพาะพ่อค้าคนกลางที่มารับไปขายต่ออีกทอดหนึ่ง

นายสมจิตร ช่างทอง เปิดเผยว่า รู้สึกมีความสุขกับการทำการเกษตรแบบนี้ เพราะไม่ต้องดูแลวุ่นวายมาก แต่เดิมนั้นตนเองปลูกพืชผักล้มลุกแบบทั่วๆ ไปขาย ซึ่งรู้สึกเหน็ดเหนื่อยและไม่ค่อยคุ้มค่ากับการลงทุน มีความยุ่งยากในการดูแล จึงเริ่มคิดปลูกพืชยืนต้นเก็บใบอ่อนขายเมื่อประมาณ 12 ปีที่แล้ว พร้อมกับเริ่มลงมือทำ โดยการรวบรวมพันธุ์ต้นกาหยี หรือมะม่วงหิมพานต์และต้นจิกนา ลงปลูกในพื้นที่ คอยตัดแต่งกิ่งและตัดใบอ่อนออกขาย ซึ่งสามารถตัดใบอ่อนขายได้ทุกวัน โดยนำมาขายเป็นมัด มัดละ 5 บาท บางช่วงสามารถตัดขายได้ถึง 400 มัด ซึ่งรายได้สามารถเลี้ยงชีพได้เป็นอย่างดี นับเป็นการเกษตรแบบทางรอดอีกประเภทหนึ่ง

เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ

ผมปลูกส้มเขียวหวานไว้ในวงบ่อซีเมนต์ ที่สวนหลังบ้าน เพื่อบริโภคในครอบครัว ระยะแรกก็เติบโตดีเป็นปกติ แต่พออายุมากขึ้น ปีที่ 2-3 เกิดอาการใบเหลืองซีด ต้นทรุดโทรม ผลร่วงก่อนเวลา ไม่ทราบว่าเกิดจากอะไร และมีวิธีแก้ไขอย่างไร ขอคำแนะนำด้วยครับ อาการที่คุณอนุสรณ์ เล่ามา เป็นอาการของโรคกรีนนิ่ง เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมีอาการคล้ายกับโรคทริสเตซ่า ที่เกิดจาเชื้อไวรัส เพื่อป้องกันการสับสนมาดูรายละเอียดกันต่อไปนี้

โรคกรีนนิ่ง เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปอาศัยดูดกินน้ำเลี้ยง และทำลายท่อน้ำ ท่ออาหาร ของต้นส้มที่คุณปลูกไว้ เมื่อท่อน้ำ ท่ออาหาร ถูกทำลาย การลำเลียงอาหารจึงเกิดขึ้นไม่ได้ ต่อมาแสดงอาการที่ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองซีด คล้ายอาการขาดธาตุสังกะสี แต่เส้นใบยังคงมีสีเขียวเป็นปกติ บางครั้งเส้นใบอาจปริแตก ระบบรากฝอยถูกทำลาย ต่อมาผลหลุดร่วงก่อนเวลา ทั้งนี้ การแพร่กระจายของโรคเกิดจากเพลี้ยไก่แจ้ เป็นแมลงพาหะนำโรค หรือเชื้อโรคติดมากับกิ่งพันธุ์ การระบาดรุนแรง เกิดขึ้นในระยะแตกใบอ่อน

วิธีป้องกันกำจัด ให้เลือกกิ่งพันธุ์ที่แข็งแรง นำมาจากแหล่งไม่มีโรคนี้ระบาด ปลูกต้นไม้บังลมรอบสวน หมั่นดูแลและบำรุงต้นให้สมบูรณ์อยู่เสมอ ที่สำคัญต้องควบคุมและกำจัดเพลี้ยไก่แจ้ที่เป็นแมลงขนาดเล็กสีขาว รูปร่างคล้ายไก่แจ้ เมื่อพบแมลงชนิดนี้ให้ใช้สารอิมิดาโคลพริด 10 เปอร์เซ็นต์ เอสแอล อัตรา 8 ซีซี ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม 2 ครั้ง สัปดาห์เว้นสัปดาห์

โรคทริสเตซ่า เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งมีเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะนำโรค อาการของโรคที่ปรากฏให้เห็นคือ ต้นส้มแคระแกร็น ทรุดโทรม ใบมีขนาดเล็กลง อาการคล้ายการขาดธาตุเหล็กและธาตุสังกะสี ต่อมาใบม้วนงอ เส้นใบแตก เมื่อลอกเปลือกต้นส้มเมื่อมีอายุหลายปี จะพบว่ามีหนามขนาดเล็กปรากฏให้เห็นที่บริเวณโคนต้นส้ม

วิธีป้องกันกำจัด ให้นำกิ่งพันธุ์จากแหล่งที่ไม่มีโรคดังกล่าวระบาดมาปลูก และปลูกไม้บังลมรอบสวน หมั่นบำรุงรักษาให้ต้นสมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ เมื่อพบการเข้ามาของเพลี้ยอ่อน ให้ใช้คาร์บาริล อัตรา 45 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม 2 ครั้ง สัปดาห์เว้นสัปดาห์

ตามที่เล่ามา ท่านพอจะมองเห็นความเหมือน และความต่างของโรคทั้งสองได้ชัดเจนขึ้น หากการปฏิบัติตามคำแนะนำแล้ว การระบาดของโรคทั้งสองจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน “มะม่วงพันธุ์เขียวเสวย” หนึ่งในไม้ผลรอบบ้าน ที่คนไทยนิยมปลูกเพื่อรับประทานผลสด เพราะเป็นมะม่วงที่มีรสอร่อย เนื้อกรอบ รสชาติหวาน กลมกล่อม

เคล็ดลับ “การช่วยผสมเกสร” ของชาวสวน
เคล็ดลับ “การช่วยผสมเกสร” ของเกษตรกรชาวสวนจังหวัดนครปฐมที่ใช้แล้วได้ผลดี ที่อยากนำมาบอกต่อ คือ เมื่อต้นมะม่วงออกดอก ในเวลายามเช้า เกษตรกรจะปีนขึ้นบนต้นมะม่วงไปเขย่าต้นและกิ่งเบาๆ เพื่อให้ละอองเกสรตัวผู้ปลิวฟุ้งกระจายจากส่วนยอดไปทั่วทรงพุ่ม เปิดโอกาสให้มีการผสมเกสรมากขึ้น ช่วงนี้ควรลดการใช้สารเคมีในสวนลง เพื่อเพิ่มจำนวนแมลงภู่ ผึ้ง มิ้ม ชันโรง ให้บินมากินน้ำหวานและช่วยผสมเกสรไปพร้อมกัน

“แมลงวันหัวเขียว” เป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่ช่วยผสมเกสรได้ อาศัยเทคนิคเพิ่มปริมาณแมลงวันหัวเขียว โดยนำเศษเนื้อหรือเศษปลาที่มีกลิ่นคาวจัดมาแขวนไว้ใต้ทรงพุ่มของต้นมะม่วง ใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงแมลงวันหัวเขียวจะยกขบวนมาตอมเศษเนื้อและเศษปลาดังกล่าว แมลงวันตอมจนพอใจแล้วจะบินไปกินน้ำหวานที่เกสรเพศเมีย จากดอกหนึ่งไปยังอีกดอกหนึ่ง เป็นการช่วยผสมเกสรให้ดอกมะม่วงเป็นอย่างดี น้ำหวานจากดอกมะม่วง หรือไม้ดอกชนิดต่างๆ จะทำหน้าที่ช่วยพัฒนารังไข่ของแมลงทุกชนิดให้แข็งแรงสมบูรณ์ ทำให้การผสมพันธุ์มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อต้องระวัง!
ช่วงที่ต้นมะม่วงติดดอก ต้องระวัง “โรคแอนแทรกโนส” เป็นกรณีพิเศษ โรคแอนแทรกโนส เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อราชนิดหนึ่ง หากเข้าทำลายในระยะออกดอก จะมีจุดสีแดงเกิดขึ้นที่ก้านดอกก่อนจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ทำให้ดอกหรือผลอ่อนฝ่อและร่วง ช่วงการระบาดมักเกิดขึ้นในฤดูฝนที่มีความชื้นสูง

วิธีป้องกัน “โรคแอนแทรกโนส” คือ ต้องตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง ลมพัดผ่าน แสงแดดส่องเข้าไปในทรงพุ่มได้ การระบาดรุนแรงให้ใช้แมนโคเซบ 80 เปอร์เซ็นต์ ดับบลิวพี อัตรา 40-50 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่น 2 ครั้ง ทุกสัปดาห์ และ งดใช้สารเคมีก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 7 วัน หรือใช้เบโนมิล 50 เปอร์เซ็นต์ ดับบลิวพี อัตรา 6-12 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่น 2 ครั้ง ทุกสัปดาห์ และต้องงดการใช้สารเคมีก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 14 วัน

ส่วนแมลงที่ทำให้ผลมะม่วงร่วง ได้แก่ เพลี้ยจักจั่นมะม่วง แมลงชนิดนี้มีขนาดลำตัวยาว 1-2 มิลลิเมตร อาศัยอยู่บนต้นมะม่วงเป็นกลุ่ม ที่โคนก้านช่อดอกและก้านใบ ดูดกินน้ำเลี้ยงที่ก้านช่อดอก ทำให้ติดผลน้อย หรือไม่ติดผลเลยก็พบได้ ระบาดตั้งแต่ระยะแทงช่อจนกระทั่งติดผล มูลที่เพลี้ยขับถ่ายออกมามีรสหวาน กลายเป็นแหล่งอาหารของเชื้อราที่ปลิวอยู่ในอากาศ เกิดมีราสีดำขึ้นปกคลุมผิวใบ ทำให้ประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงด้อยลง วิธีลดความรุนแรงของราดำให้ฉีดพ่นน้ำสะอาดล้างในยามเช้า นับว่าได้ผลดี

หากต้นมะม่วงโชคร้าย เจอ “เพลี้ยจักจั่นมะม่วง” ควรแก้ไขโดยใช้วิธีสุมไฟรมควันไล่ วิธีนี้ต้องทำบ่อยๆ หากเจอการระบาดรุนแรง ควรใช้แลมป์ดาไซฮาโลทริน 2.5 เปอร์เซ็นต์ อีซี อัตรา 10 ซีซี ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นให้ทั่ว 1-2 ครั้ง ทุกสัปดาห์ การระบาดของเพลี้ยจักจั่นจะหมดไปและให้งดใช้สารเคมีก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างน้อยเป็นเวลา 8 วัน เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

เคล็ดลับเก็บผลมะม่วงให้รสชาติดี
ดร.สุขุม อัศน์เวศ อดีตคณบดี คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แนะนำเคล็ดลับ การเก็บผลมะม่วงให้มีรสหวานแหลมและไม่เฝื่อน โดยใช้กรรไกร ตัดขั้วให้มีความยาว 5-10 เซนติเมตร ป้องกันยางไหลเปื้อนผลมะม่วง อย่าให้ผลมีรอยตำหนิ นำผลวางลงในตะกร้าที่มีวัสดุรองพื้น รีบนำเข้าโรงเรือนที่มีร่มเงา จากนั้นตัดขั้วผลให้เหลือความยาวไม่เกิน 1 เซนติเมตร นำไปวางคว่ำลงบนตระกร้าเพื่อให้ยางไหลออกจากผลจนหมดใช้เวลาประมาณ 30 นาที หลังยางแห้งแล้วให้นำผลมะม่วงไปล้างน้ำให้สะอาด นำขึ้นผึ่งลมจนแห้ง ผลมะม่วงที่ได้จะมีรสหวานแหลม ทั้งชนิดรับประทานผลสดและชนิดรับประทานผลสุก ใครชิมรสชาติแล้วต้องติดใจทุกราย

ผมสนใจจะปลูกขนุน เพราะเห็นว่า ปัจจุบันตลาดมีความต้องการสูง มีผู้รู้บอกว่าส่งออกจีนอย่างเงียบๆ ขนุนพันธุ์ดีที่น่าปลูกมีพันธุ์อะไรบ้าง แต่ละพันธุ์นั้นมีลักษณะเด่นและด้อยอย่างใด ขอคำแนะนำด้วยครับ

ขอแสดงความนับถือ
ณรงค์ศักดิ์ เกิดพิภพ
ตำบลนาขุนไกร อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย 64120 พันธุ์ทองประเสริฐ มีทรงต้นสูง โปร่ง ใบกลมใหญ่ ปลายมน สีเขียวเข้ม ให้ผลทะวาย ติดผลเมื่ออายุ 2 ปี อายุเก็บเกี่ยวหลังออกดอกแล้ว 140-150 วัน ทรงผลค่อนข้างกลม เปลือกผลสีเขียวถึงเขียวอมน้ำตาล หนามใหญ่ เปลือกบางมาก น้ำหนักผล 12-15 กิโลกรัม ขั้วผลสั้น เนื้อหรือยางสีขาวอมเหลือง เนื้อแน่นและหนา 0.5-0.6 เซนติเมตร ความหวาน 20-27 บริกซ์ ให้เปอร์เซ็นต์เนื้อมาก ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักผล

พันธุ์ศรีบรรจง ทรงต้นทึบ ใบเล็ก ปลายใบแหลม เปลือกผลสีเขียวเข้ม ออกผลทะวาย เป็นพันธุ์หนัก ให้ผลเมื่ออายุ 5 ปี เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ภายใน 140-145 วัน หลังออกดอก ลักษณะผลกลม เปลือกสีเขียวเข้ม หนามใหญ่ เปลือกหนาปานกลาง น้ำหนักผล 10-15 กิโลกรัม เนื้อสีเหลืองทอง ซังมีน้อย เนื้อหนา กรอบ หนา 1 เซนติเมตร รสหวานจัด วัดได้ 28 บริกซ์ ให้เนื้อผล 40 เปอร์เซ็นต์

พันธุ์ทองสุดใจ ทรงพุ่มเป็นรูปปิระมิด ใบรี ขอบใบเรียบ ปลายใบมนบิดเล็กน้อย ติดผลดกมาก อายุเก็บเกี่ยว 120-150 วัน หลังออกดอก ผลยาวเรียว เปลือกสีเหลืองอมน้ำตาล หนามสั้นและถี่ ปลายแหลม เปลือกบาง น้ำหนักผล 10-12 กิโลกรัม ขั้วผลยาวปานกลาง ซังมีน้อย เนื้อผลสีเหลืองเข้ม ยวงใหญ่และหนา ความหวาน 18 บริกซ์ ให้เนื้อผล 35-40 เปอร์เซ็นต์

พันธุ์จำปากรอบ ทรงต้นเตี้ย รูปทรงปิระมิด ใบเล็ก ปลายใบมน เขียวเข้ม ขอบใบไม่บิด เป็นประเภทอายุเบา เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 120-150 วัน หลังออกดอก ผลรูปทรงเรียวยาว เปลือกสีเหลืองอมเขียว หนามสั้น ปลายแหลม น้ำหนักผล 10-25 กิโลกรัม เปลือกหนาปานกลาง มีซังน้อย เนื้อผลหรือยวงสีส้ม ไม่หนา ความหวาน 18 บริกซ์ และให้เนื้อ 30-35 เปอร์เซ็นต์

ตามที่ผมเล่ามา ขนุนทั้ง 4 พันธุ์ Genting Club มีลักษณะเด่นที่แตกต่างกันบ้าง แต่โดยรวมแล้วทุกพันธุ์เป็นพันธุ์ที่ตลาดต้องการ ในปี 2562 ประเทศไทยเผชิญปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูร้อน เนื่องจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 89 แห่ง จากจำนวนทั้งประเทศ 412 แห่ง มีปริมาณน้ำน้อยกว่า 30% ของความจุ โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ในระดับต่ำมาก นอกจากนี้ เขื่อนขนาดกลาง 13 แห่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ไม่เหลือน้ำสำหรับใช้งาน ประกอบกับกรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเตือนผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ จะทำให้อุณหภูมิปีนี้สูงกว่าปีที่ผ่านมา 1-2 องศาเซลเซียส ทำให้เมืองไทยเสี่ยงเผชิญภาวะร้อนแล้งยาวนานกว่าทุกปี

เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงในปีนี้ บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์คุณภาพ ตรา “ศรแดง” จึงเปิดตัว โครงการ “ศรแดงพืชน้ำน้อย ทางเลือกใหม่ช่วงภัยแล้ง” ได้แก่ แตงกวา ฟักทอง แตงโม ข้าวโพด แฟง ถั่วฝักยาว และผักใบ ซึ่งเป็นพืชที่ปลูกได้ง่าย ใช้น้ำน้อย เก็บเกี่ยวไว สร้างรายได้เร็ว พืชน้ำน้อยกลุ่มนี้จะใช้ปริมาณน้ำน้อยกว่าการทำนาถึง 2 เท่า แต่ให้รายได้มากกว่าการทำนานถึง 5 เท่าตัว

คุณวิชัย เหล่าเจริญพรกุล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด กล่าวว่า บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด เล็งเห็นถึงปัญหาใหญ่ของเกษตรกร จึงได้มี โครงการ “ศรแดงพืชน้ำน้อย ทางเลือกใหม่ช่วงภัยแล้ง” โครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่องจากปี พ.ศ. 2559 ที่บริษัทเคยมีโครงการ “ศรแดงพืชน้ำน้อย” มาแล้ว ซึ่งโครงการนี้ได้รับความสนใจอย่างมากจากหน่วยงานราชการต่างๆ รวมทั้งเกษตรกรผู้ประสบปัญหาภัยแล้ง

“บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด เห็นว่าพืชน้ำน้อยจะมีประโยชน์กับเกษตรกรอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นปริมาณน้ำที่ใช้น้อยกว่าการทำนาถึง 2 เท่า เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ไว ภายใน 2 เดือน ก็สามารถสร้างรายได้ได้แล้ว เทียบกับการทำนาที่ต้องใช้ระยะเวลา 3-4 เดือน และเกษตรกรไม่ต้องเสี่ยงกับการทำนาที่เราก็รู้อยู่แล้วว่า สถานการณ์น้ำในปีนี้น้อยขนาดไหน” คุณวิชัย กล่าว

สำหรับ โครงการ “ศรแดงพืชน้ำน้อย ทางเลือกใหม่ช่วงภัยแล้ง” นั้น ทางบริษัทแนะนำให้เกษตรกรปลูกพืชน้ำน้อยจำนวน 7 ชนิด ได้แก่

1. ข้าวโพด เช่น ข้าวโพดหวานลูกผสม พันธุ์จัมโบ้สวีท ระยะเวลาเริ่มเก็บเกี่ยว 70 วัน สร้างรายได้ 16,000 บาท ต่อไร่

2. แฟง เช่น แฟงไส้ตันลูกผสม พันธุ์ปิ่นแก้ว ระยะเวลาเริ่มเก็บเกี่ยว 60-65 วัน สร้างรายได้ 40,000 บาท ต่อไร่

3. แตงโม เช่น แตงโมลูกผสม พันธุ์จอมขวัญ ระยะเวลาเริ่มเก็บเกี่ยว 55-60 วัน สร้างรายได้ 35,000 บาท ต่อไร่

4. ฟักทอง เช่น ฟักทองลูกผสม พันธุ์ข้าวตอก 573 ระยะเวลาเริ่มเก็บเกี่ยว 75 วัน สร้างรายได้ 24,000 บาท ต่อไร่

5. แตงกวา แตงร้าน เช่น แตงกวาลูกผสม พันธุ์ธันเดอร์กรีน ระยะเวลาเริ่มเก็บเกี่ยว 30-32 วัน สร้างรายได้ 39,000 บาท ต่อไร่

6. ถั่วฝักยาว เช่น ถั่วฝักยาว พันธุ์ลำน้ำพอง ระยะเวลาเริ่มเก็บเกี่ยว 55-60 วัน สร้างรายได้ 60,000 บาท ต่อไร่

7. กลุ่มผักใบ เช่น ผักบุ้ง พันธุ์ยอดไผ่ 9 ระยะเวลาเริ่มเก็บเกี่ยว 20-21 วัน สร้างรายได้ 43,200 บาท ต่อไร่