ฝึกเด็กช่างยุคใหม่เรียนรู้เกษตรยั่งยืน เพิ่มมูลค่าผลผลิต

สร้างรายได้พัฒนาศก.ชุมชน นายอนุพงค์ มกรานุรักษ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีอีสานเหนือ จังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า นโยบายการจัดการศึกษาของวิทยาลัยเทคโนโลยีอีสานเหนือ คือการมุ่งเน้นการสร้างอาชีพการเกษตรให้กับนักศึกษาทุกสาขาวิชา ทั้งนี้เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และปูพื้นฐานให้นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาออกไปสามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างยั่งยืน และสามารถนำความรู้ที่เรียนมายึดเป็นอาชีพหลักได้ในอนาคต

สำหรับสาขาวิชาเทคนิคยานยนต์ จะเน้นการฝึกให้นักศึกษามีการออกแบบวิธีทำงานจริง สร้างอุปกรณ์การเกษตรจากภูมิปัญญาท้องถิ่น คิดค้นวิธีการลดต้นทุนการทำเกษตรจากวิถีท้องถิ่น ประสานความร่วมมือระหว่างคณะอุตสาหกรรม-พาณิชยกรรม ในการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิตผ่านการแปรรูป สร้างช่องทางการตลาด เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มอันเป็นการสร้างรายได้

เมื่อเร็วๆ นี้ นักศึกษาสาขาวิชาเทคนิคยานยนต์ ได้ร่วมโครงการอีสานเหนือเกษตรพลัส ด้วยการปลูกข่า-ตะไคร้ ทฤษฎีใหม่ซึ่งเป็นการปลูกลงในกระสอบปุ๋ย แทนการปลูกแบบปักลงดิน ซึ่งจะช่วยในการบำรุงดูแลรักษาได้ง่าย

สำหรับโครงการดังกล่าวเป็นการเรียนรู้สู่วิถีเกษตรอย่างยั่งยืน ผ่านกระบวนการเรียนรู้งานด้านการเกษตรผสมผสานการปลูกพืชสมุนไพร เรียนรู้การทำเกษตรยั่งยืน ผ่านองค์ความรู้ตามหลักสูตรที่เรียนมา โดยวิทยาลัยจะสนับสนุนที่ดินให้แต่ละสาขาวิชา 6-10 ไร่ พร้อมเงินทุน 200,000 บาท เพื่อให้แต่ละสาขาวิชาสร้างผลผลิต ตลอดจนสรุปงบฯ กำไรขาดทุนสิ้นปีของโครงการ เพื่อหาทีมสุดยอด และจะได้นำปัญหา-อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น ถอดรหัสการเรียนรู้ให้แก่ชุมชนและท้องถิ่นต่อไป

“น้ำแวน”นัดชาวสวนหยุดเก็บ “ลำไย” หลังราคาดิ่งเหว เร่งประชุมหารือสางปัญหาราคาตกต่ำยื่น “บิ๊กตู่” เชิญ “อำเภอ-ทหาร” รับฟังเป็นพยาน

วันที่ 23 กรกฎาคม 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สืบเนื่องจากสถานการณ์ราคาลำไยตกต่ำร่วงกราวรูดในวันนี้ (23 ก.ค. 60) โดยราคาบิ๊กไซส์หรือ AA อยู่ที่ กก.ละ 12-13 บาท เท่านั้น ขณะที่จุดรับซื้อที่ปิดราคา AA กก.ละ 15-16 บาท นั้น ไม่รับซื้อหรือรับซื้อน้อยมาก ขณะเดียวกันราคาลำไยรายวันวันนี้ประกาศล่าช้ามาก ประมาณ 14.00 น.-16.00 น. เพราะจุดรับซื้อแต่ละแห่งจะต้องรอขายจากผู้ประกอบการโรงอบลำไยเป็นผู้แจ้งราคา ทำให้เกษตรกรชาวสวนลำไยได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักเพราะราคาลำไยตกต่ำต่อเนื่องไม่หยุด โดยเฉพาะพื้นที่ อ.เชียงคำ เป็นพื้นที่มีสวนลำไยสูงที่สุดในจังหวัดพะเยา เกษตรกรจำนวน 4,066 ราย พื้นที่ 23,909 ไร่ ผลผลิตลำไยประมาณ 1.2 หมื่นตัน

รายงานข่าวจาก ต.น้ำแวน อ.เชียงคำ จ.พะเยา เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ราคาลำไยที่ตกต่ำต่อเนื่องขณะนี้ ทางชาวสวนลำไย ต.น้ำแวน ไม่น้อยกว่า 300 ราย ได้ประกาศหยุดเก็บลำไยในวันอังคาร ที่ 25 กรกฎาคม 2560 เพื่อประชุมหารือกันหาข้อสรุปเป็นแนวทางออกและเป็นข้อเสนอไปยังรัฐบาลเพื่อให้เข้ามาช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนลำไยต่อไป เบื้องต้นจะขอให้มีแนวทางกำหนดราคาลำไยขนาด AA อยู่ที่ กก.ละ 25 บาท ขึ้นไป หากต่ำเช่นขณะนี้เกษตรกรขาดทุนอย่างรุนแรง และไม่มีเงินพอใช้หนี้ ธ.ก.ส. หนี้ กองทุนหมู่บ้าน รวมทั้งค่าจ้างแรงงานในการเก็บลำไยด้วย โดยในการประชุมดังกล่าวทางเกษตรกรได้เชิญนายอำเภอเชียงคำ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารจาก มทบ.34 พะเยา มาเข้าร่วมรับฟังเป็นพยานและรับทราบแนวทางความต้องการของเกษตรกรด้วย

สำหรับปัจจัยเหตุที่ทำให้ราคาลำไยตกต่ำ มีรายงานจากสำนักงานพาณิชย์จังหวัดพะเยา แจ้งในไลน์กลุ่มสถานการณ์ลำไย จ.พะเยา ว่าเนื่องจากฝนตกทำให้ผลผลิตลำไยประสบปัญหาเรื่องคุณภาพ รวมทั้งเป็นผลมาจากผู้ซื้อจากจีนชะลอคำสั่งซื้อเพื่อรอราคา ประกอบกับตลาดอินโดนีเซียชะลอการนำเข้า ส่วนราคา ณ จุดรับซื้อจะปิดป้ายแสดงราคารับซื้อสินค้าในช่วงเวลาประมาณ 14.00-16.00 น. เนื่องจากต้องรอราคาจากตลาดปลายทาง

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า ระบบตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม หรือ PGS (Participatory Guarantee System) เป็นงานตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์ในระดับแนวราบของเกษตรกรเอง โดยมีองค์กรที่ทำหน้าที่นี้ก็คือมูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทยดำเนินงานมานานจนเป็นที่ยอมรับในตลาดระดับบน ซึ่งองค์ประกอบสำคัญของระบบ PGS นั้นคือ การมีวิสัยทัศน์ร่วม การมีส่วนร่วม ความโปร่งใส ความเชื่อมั่นต่อกัน กระบวนการเรียนรู้ ความเชื่อมโยงในแนวราบ เกษตรกรรายย่อยเข้าถึงได้ ระบบการทำงานไม่ยุ่งยากซ้ำซ้อน และเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันกับระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ได้ สภาเกษตรกรแห่งชาติได้มีการระดมความคิดเห็นจากองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานขับเคลื่อนเรื่องระบบ PGS ทุกองค์กร อาทิ มูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย , กรีนเนท , มูลนิธิเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน(ประเทศไทย) เป็นต้น ให้ความเห็นตรงกันว่าควรขยายผล

โดยเริ่มจากจังหวัดที่มีความพร้อม คือ จันทบุรี นำร่องขับเคลื่อนจนมีการรับรองสินค้าของตนเอง หลากหลายและกว้างขวาง เป้าหมายต่อไปคือจังหวัดภูเก็ต อย่างไรก็ตาม การประสานเชื่อมโยงระหว่างองค์กรต่างๆ ยังไม่มีหน่วยงานใดทำหน้าที่นี้ สภาเกษตรกรฯจึงได้เข้ามาเป็นแกนกลางประสานความร่วมมือให้เกิดการคุยกัน ปรึกษา สร้างความเข้าใจ กำหนดแนวทางทำงานร่วมกัน ลดความเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของเกษตรกร ทำให้ระบบมีความน่าเชื่อถือ ในอนาคตจะผลักดันเรื่องนี้ให้เป็นระบบการตรวจรับรองของประเทศไทยต่อไป

วันที่ 24 กรกฎาคม 2560 กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนภัยลักษณะอากาศ ฉบับที่ 3 เรื่อง“พายุโซนร้อน “เซินกา” (SONCA) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน”

ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันนี้ (24 ก.ค. 60) พายุโซนร้อน “เซินกา” (SONCA) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 500 กิโลเมตรทางทิศตะวันออกของเมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม หรือที่ละติจูด 17.2 องศาเหนือ ลองจิจูด 111.3 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง ประมาณ 35 นอต หรือ 65 กม./ชม. พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวอย่างช้าๆ คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในวันที่ 25 ก.ค. 60 และจะเคลื่อนผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือในระยะต่อไป ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ โดยมีผลกระทบตามภาคต่างๆดังนี้

ในช่วงวันที่ 24-25 กรกฎาคม 2560 มีฝนตกหนักบางพื้นที่

ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อำนาญเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคตะวันออก: จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ในช่วงวันที่ 26-28 กรกฎาคม 2560 มีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร และตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี บึงกาฬ กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม และนครราชสีมา

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี รวมทั้ง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักถึงหนักมากและฝนตกสะสม ที่ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่งไว้ด้วย

สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้คลื่นลมบริเวณอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 25-28 ก.ค. 60ไว้ด้วย

ขอให้ประชาชนติดตามข่าวพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด

ประกาศ ณ วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เวลา 05.00 น.

กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไป ในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เวลา 11.00 น.

(ลงชื่อ) วันชัย ศักดิ์อุดมไชย

(นายวันชัย ศักดิ์อุดมไชย)

อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา จังหวัดกาญจนบุรี เป็นจังหวัดในภาคกลาง ที่สภาพภูมิอากาศและสภาพภูมิประเทศในแต่ละอำเภอมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก แต่จัดว่าเป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ในเนื้อดินและมีแหล่งน้ำธรรมชาติค่อนข้างมากพอกับการทำเกษตรกรรมในพื้นที่

กลางฤดูฝนในเดือนกรกฎาคมของอำเภอบ่อพลอย สภาพอากาศยังคงร้อนมากพอเรียกเหงื่อเต็มหลัง ยิ่งเดินอยู่กลางไร่อินทผลัมด้วยแล้ว คิดจะอาศัยใบหลบร้อนคงไม่ได้ เดินในไร่อินทผลัมอยู่พักใหญ่ นั่งรถไฟฟ้าก็แล้ว วนอยู่หลายรอบก็มองไม่เห็นเขตสุดขอบของไร่อินทผลัมแห่งนี้

คุณประวิทย์ เชาวน์วาณิชย์กุล ประธานกลุ่มอินทผลัมภาคตะวันตก หรือ WDP เปิดไร่อินทผลัมเกือบ 140 ไร่ ในตำบลช่องด่าน อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี ให้ได้ชม ภาพที่เห็นคือ ต้นอินทผลัมอายุ 2.7-3 ปี 800 ต้น หรือประมาณ 40 ไร่ ให้ผลผลิตแล้วทั้งหมด นอกจากนั้นเป็นต้นอินทผลัมอายุน้อยกว่า ซึ่งคาดว่าจะให้ผลผลิตได้ในอีกไม่ช้า แต่หากนับรวมในจำนวนเกือบ 140 ไร่แล้ว มีต้นอินทผลัมราว 2,700 ต้น

กลุ่มอินทผลัมตะวันตก หรือ WDP เป็นการรวมกลุ่มของเกษตรกรผู้ปลูกอินทผลัมในหลายจังหวัด ทั้งภาคกลางและภาคตะวันตก อาทิ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี อุทัยธานี ราชบุรี เป็นต้น แต่เป็นการรวมกลุ่มเฉพาะแปลงที่ปลูกอินทผลัมแบบเพาะเนื้อเยื่อ เพื่อต้องการให้รักษามาตรฐานของผลผลิตให้ได้ในระดับเดียวกัน ไม่แย่งกันขายและส่งเสริมการปลูกอินทผลัมในประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักในระดับประเทศ

จำนวนสมาชิกในปัจจุบันมีประมาณ 30 ราย พื้นที่ปลูกอินทผลัมรวม 600 ไร่ จำนวนกว่า 50,000 ต้น เริ่มทยอยให้ผลผลิตแล้วราว 17,000 ต้น

ต้นอินทผลัมเพาะเนื้อเยื่อ สั่งมาจากประเทศอังกฤษ เป็นสายพันธุ์บาฮี ในราคา ต้นละ 1,200 บาท และเป็นอินทผลัมเพาะเนื้อเยื่อตัวเมียทั้งหมด ในพื้นที่เกือบ 140 ไร่นี้ มีพื้นที่เพียง 15 ไร่ ที่ปลูกด้วยการเพาะเมล็ด เพื่อเป็นแปลงสำหรับเก็บเกสรตัวผู้ใช้ผสม และหากเมล็ดที่ปลูกเป็นอินทผลัมต้นตัวเมียก็เก็บไว้เพื่อเป็นตัวอย่างและเปรียบเทียบ

“การผสมเกสรให้กับอินทผลัม ต้นอินทผลัมตัวเมียสำคัญที่สุด การเลือกต้นเพาะเนื้อเยื่อตัวเมียมาปลูก เพราะต้องการให้ผลผลิตที่ได้เป็นสายพันธุ์บาฮีแท้ ส่วนการผสมเกสรตัวผู้ เราใช้จากต้นเพาะเมล็ดได้ ซึ่งการเลือกสายพันธุ์บาฮีมาปลูกในพื้นที่ประเทศไทย เพราะพันธุ์บาฮีเป็นพันธุ์กินสด ให้ผลดก รสชาติดีไม่ติดฝาดและเนื้อเยอะ ทั้งยังเหมาะสำหรับปลูกในสภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศของไทย ซึ่งการสั่งตรงจากประเทศอังกฤษ เพราะเป็นห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่มีมานานกว่า 30 ปี มีความน่าเชื่อถือ”

ต้นอินทผลัมเพาะเนื้อเยื่อ มีความสูงราว 30 เซนติเมตร

ปลูกโดยขุดหลุม ขนาด 1×1 เมตร ระยะห่างระหว่างต้นและแถว 8×8 เมตร ปลูกได้จำนวน 25 ต้น ต่อไร่

ในการลงทุนครั้งแรกของการปลูกอินทผลัมเพาะเนื้อเยื่อ ลงทุนราว 30,000 บาท ต่อไร่ “อินทผลัม เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย การดูแลเช่นเดียวกับพืชชนิดอื่น ให้ปุ๋ยบ้าง หากพบแมลงศัตรูพืช คือ ด้วงแรด และด้วงไฟ ก็ให้กำจัดทิ้ง อาจใช้เคมีบ้างถ้าจำเป็น ส่วนใหญ่ใช้สารชีวภาพฉีดรอบโคนต้น วัชพืชในแปลงก็ต้องกำจัดไม่ควรปล่อยให้รก ปลิดใบออกเฉพาะใบเหลือง หากยังเขียวอยู่ให้ปล่อยทิ้งไว้กับต้น เพราะใบจะช่วยในการสะสมอาหาร ส่วนการรดน้ำสำหรับอินทผลัมเป็นเรื่องจำเป็น ในฤดูร้อนเว้นระยะเวลา 4 วัน ให้น้ำ 1 ครั้ง แต่ละครั้งให้ปริมาณ 200 ลิตร ต่อต้น”

หลังต้นอินทผลัมให้เกสรตัวผู้ ราวเดือนกุมภาพันธ์ ให้เก็บเกสรตัวผู้ใส่ถุงแล้วนำไปเก็บยังช่องฟรีซ สามารถนำออกมาใช้ได้เรื่อยๆ เกสรตัวผู้ 1 ต้น นำไปผสมกับเกสรตัวเมียได้มากถึง 15 ต้น

คุณประวิทย์ แนะนำว่า หากพบเกสรตัวเมีย (ออกจั่น) ในครั้งแรก ควรตัดทิ้ง เพื่อรอเกสรที่สมบูรณ์ถัดไป จากนั้นจึงผสม

หลังการผสมเกสร อีกราว 120 วัน เก็บผลผลิตนำไปจำหน่ายได้

ผลผลิตต่อต้นในปีแรก ราว 20-30 กิโลกรัม และจะเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆ ในปีถัดไป

ระหว่างที่ติดผล ควรห่อด้วยตาข่ายถี่ในชั้นแรก และถุงคาร์บอนอีกชั้น เพื่อป้องกันแมลงเล็กๆ ทำลายผิวของผลอินทผลัม จะช่วยให้ผลสวย มีคุณภาพ ขายได้ราคา

จริงๆ แล้ว ผลสดพันธุ์บาฮี นำมารับประทานได้ตั้งแต่เริ่มสุกเพียง 60 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าจะให้รสชาติดี หวาน กรอบ ควรรอให้ผลสุก 90 เปอร์เซ็นต์” หลังลงปลูกถึงวันเก็บผลผลิตครั้งแรก คิดเป็นเงินลงทุนทั้งสิ้น 50,000 บาท ต่อไร่ แต่หลังจากเก็บผลผลิตในครั้งแรกแล้ว ค่าใช้จ่ายจะลดน้อยลง เหลือเพียงค่าปุ๋ย ค่าน้ำ และการจัดการภายในไร่อีกไม่มากนัก

ซึ่งทุกปี อินทผลัมจะเริ่มให้ผลผลิตเก็บจำหน่ายได้ราวปลายเดือนมิถุนายน ได้ผลผลิตสูงสุดในช่วงเดือนกรกฎาคมตลอดเดือน และหมดลงในเดือนสิงหาคม

ปีนี้เป็นปีแรกที่อินทผลัมให้ผลผลิต คุณประวิทย์ คาดว่าจะสามารถเก็บผลผลิตออกจำหน่ายได้ครั้งแรก จำนวน 20 ตัน และปริมาณจะเพิ่มขึ้นอีก 3-4 เท่า ในปีถัดไป โดยมีการทำสัญญาส่งผลผลิตให้กับห้างสรรพสินค้าโลตัสล็อตแรก จำนวน 1 ตัน และเพิ่มจำนวนขึ้นตามปริมาณผลผลิตที่ได้ ราคาซื้อขายอินทผลัมในปีนี้ ราคาส่งหน้าสวน อยู่ที่กิโลกรัมละ 700 บาท และพร้อมเปิดตลาดไปยังประเทศลาว และประเทศอินโดนีเซียเร็วๆ นี้

คุณอนุรักษ์ บุญลือ หนึ่งในเกษตรกรผู้ปลูกอินทผลัมในยุคแรกๆ ปัจจุบัน มีพื้นที่ปลูกอินทผลัมทั้งหมด 60 ไร่ เป็นการปลูกแบบเพาะเนื้อเยื่อทั้งหมด ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าม่วง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี และเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มอินทผลัมภาคตะวันตก หรือ WDP บอกว่า ในอดีตเขาเคยปลูกอินทผลัมด้วยการเพาะเมล็ดมาก่อน แต่ประสบการณ์ทำให้เข้าใจว่า ผลผลิตที่ได้จากการเพาะเมล็ดแตกต่างจากผลผลิตที่ได้จากต้นเพาะเนื้อเยื่อ โดยพื้นที่ 80 เปอร์เซ็นต์ ปลูกพันธุ์บาฮี และอีก 20 เปอร์เซ็นต์ ปลูกสายพันธุ์อื่น เช่น คาลาส (khalas) ฮายานี (hayanee) ซักการี (sukkari) อัจวา (ajwah) ไว้สำหรับศึกษา เป็นต้น

สิ่งหนึ่งที่คุณอนุรักษ์ เป็นตัวหลักในการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มคือ การผลิตน้ำอินทผลัมสด

การทำน้ำอินทผลัมสด ทำโดยการนำผลสดอินทผลัม แกะเมล็ดออก จากนั้นนำไปปั่นให้ละเอียด กรองแยกกาก นำไปต้มให้เดือด ทิ้งไว้ให้เย็น นำไปดื่มได้ ซึ่งปัจจุบันทำด้วยวิธีพาสเจอไรซ์ ทำให้เก็บไว้ในที่เย็นได้นานถึง 35 วัน และหากเก็บไว้โดยไม่แช่เย็น ได้นาน 2 สัปดาห์

ผลสดอินทผลัม น้ำหนัก 1 กิโลกรัม ผลิตน้ำอินทผลัมสดได้ 35 ขวด ปริมาณขวดละ 250 มิลลิลิตร

สำหรับน้ำอินทผลัม ถือว่าเป็นการต่อยอดจากการจำหน่ายผลสดอินทผลัม แม้ว่าปริมาณผลผลิตผลสดที่ได้จะยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค แต่กลุ่ม WDP เชื่อว่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้บริโภคได้

“ที่ผ่านมา เราไม่ได้สต๊อกผลสดไว้สำหรับทำน้ำ เราจึงผลิตออกมาเพื่อทดลองตลาดก่อน แต่คาดว่าปีนี้ ผลสดอินทผลัมที่ได้จะมีจำนวนมากพอที่จะสต๊อกไว้สำหรับทำน้ำอินทผลัมได้ โดยเฉพาะหลังจากหมดฤดูกาลของผลสดในแต่ละปี”

อย่างไรก็ตาม สมาชิกในกลุ่มอินทผลัมภาคตะวันตก หรือ WDP มีสมาชิกราว 30 ราย แล้วก็ตาม ก็ยังคงเปิดรับสมัครสมาชิกที่มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน ในการรักษาตลาด รักษามาตรฐาน และต้องการจำหน่ายผลสดอินทผลัมโดยไม่ตัดราคาเกษตรกรด้วยกันเอง เพื่อช่วยผลักดันและเปิดตลาดการค้าอินทผลัมสดของประเทศไทยให้กว้างมากยิ่งขึ้น

กลุ่มอินทผลัมภาคตะวันตก stacyscreations.net ยินดีเป็นจุดศูนย์กลางของการถ่ายทอดและเรียนรู้การปลูกอินทผลัมกินผลสด สนใจสอบถามได้ที่ คุณประวิทย์ เชาวน์วาณิชย์กุล ประธานกลุ่มอินทผลัมภาคตะวันตก หรือ WDP โทรศัพท์ (081) 732-3681 หรือ คุณอนุรักษ์ บุญลือ สมาชิกกลุ่มอินทผลัมภาตตะวันตก หรือ WDP โทรศัพท์ (092) 681-1919 เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ที่ผ่านมา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยโครงการกิจกรรมการเชื่อมโยงงานวิจัยกับภาคนโยบาย จัดประชุมเวที TRF Forum เรื่อง “การแก้ปัญหาเรื่องข้าวอย่างยั่งยืน : สหกรณ์และนวัตกรรมคือทางออก” ณ โรงแรมแกรนด์ รอยัล พลาซ่า ฉะเชิงเทรา

เพื่อนำเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาเรื่องข้าวอย่างยั่งยืน ผ่านมุมมองประสบการณ์ตรงจากเกษตรกร นักธุรกิจและนักวิชาการ อันเป็นการถ่ายทอดความรู้จากงานวิจัยสู่ภาคนโยบาย จ.ฉะเชิงเทรา

นายกิตติพันธุ์ โรจนาชีวะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ประธานเปิดงาน กล่าวว่า ฉะเชิงเทรา เป็นจังหวัดที่มีการปลูกข้าวหอมมะลิในพื้นที่ประมาณ 78 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 51 ของพื้นที่เกษตรทั้งหมดในจังหวัดทั้งใน อ.ราชสาส์น และ อ.บางคล้า ขณะเดียวกันก็มีการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมจากการขยายเขตอุตสากรรมจากกรุงเทพมหานคร การผลิตข้าวใน จ.ฉะเชิงเทรา ปัจจุบันเกษตรกรในพื้นที่ประสบปัญหาต้นทุนการผลิตสูงขึ้น แบกรับภาระด้านหนี้สิน เกษตรจังหวัดและอำเภอจึงเร่งดำเนินงานตามมาตรการเร่งด่วนของรัฐบาล อาทิ การถ่ายทอดเทคโนโยลีเรื่องเมล็ดพันธุ์ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ส่งเสริมการทำเกษตรแปลงใหญ่ในพื้นที่ 4 อำเภอ 5,000 ไร่ ให้กับจำนวนเกษตรกรกว่า 600 ราย แต่ยังคงต้องดำเนินการพัฒนาและแก้ปัญหาของชาวนาให้เกิดอย่างยั่งยืน การจัดงานวันนี้นับเป็นโอกาสอันดีที่ชี้ให้เห็นว่า มีความพยายามในการขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยลงมาสู่พื้นที่ สู่ประชาชน ให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมนอกเหนือจากประโยชน์ในเชิงวิชาการ ให้กับภาคนโยบายทั้งระดับจังหวัดแลระดับท้องถิ่น

นายอดุลย์ โคลนพันธุ์ ผู้แทนจากเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวสัจธรรมอำนาจเจริญ กล่าวถึงการวิจัยในมุมมองของชาวนาอย่างตนว่า การวิจัยทำให้ปรับเปลี่ยนมุมมองการทำนา คือมอง “ปัญหา”เป็น “โอกาส” โจทย์สำคัญของการทำนามากกว่าการปลูกคือ ต้องมองเรื่องการตลาด คือปลูกข้าวแล้วเราจะขายให้ใคร? ทำอย่างไรจะมีคนซื้อข้าวเรา? โดยเราแบ่งกลุ่มลูกค้าข้าวในประเทศเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.ตลาดล่าง ลูกค้าที่เป็นกลุ่มแรงงาน สนใจสินค้าราคาถูก เน้นปริมาณ 2.ตลาดกลาง ลูกค้าคนทั่วไปที่สามารถซื้อข้าวได้ในราคาปานกลางและยอมรับในคุณภาพข้าวปานกลาง 3.ตลาดสูง ลูกค้าที่ต้องการบริโภคข้าวคุณภาพสูง เกรดพรีเมี่ยม ไม่เกี่ยงเรื่องราคา ปัจจุบันเครือข่าววิสาหกิจของเราประกอบด้วย 21 วิสาหกิจชุมชน มีสมาชิก 3,500 ราย ผลิตข้าวได้ประมาณ 1,500 ตัน/ปี บนพื้นที่ประมาณ 9,000 ไร่ เคล็ดลับในการพาวิสาหกิชุมชนให้อยู่รอดคือต้องรู้ว่าเราจะขายให้ใคร มีการกระจายความเสี่ยงโดยการหาลูกค้า หลายๆที่ ปัจจุบันข้าวสัจธรรมอำนาจเจริญ ส่งข้าว “ขายตรง” ไปในแหล่งที่รับซื้อประจำทั้งในส่วนของสถานที่จัดประชุม โรงแรม ร้านอาหาร และตลาดส่งออก ซึ่งสิ่งสำคัญที่จะไปถึงตลาดส่งออกได้คือการทำมาตรฐานทั้งในส่วนของ ตรามาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์ IFOAM และตรามาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์สหภาพยุโรป (EU)