ฝ้ายพันธุ์ตากฟ้า 8 จัดเป็นฝ้ายน้อยหรือฝ้ายพันธุ์พื้นเมืองที่มีศักย

ในการให้ผลผลิตสูง และมีลักษณะดีเด่นคือ ต้านทานต่อโรคใบหงิก และจากการที่เป็นพันธุ์ฝ้ายที่มีลักษณะใบขนทำให้ทนทานต่อการเข้าทำลายของเพลี้ยจักจั่นฝ้าย เนื่องจากเพลี้ยจักจั่นฝ้ายมักชอบเข้าทำลายฝ้ายที่มีใบเรียบมากกว่าฝ้ายใบขน จึงสามารถลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูฝ้ายลงได้

ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการใส่ปุ๋ยยิ่งใส่เยอะ “ไม่เท่ากับ” สวย แต่เท่ากับต้นไม้จะตายเร็ว!!!
คนทั่วไปที่เป็นมือใหญ่ในการเลี้ยงต้นไม้ หรือเกษตรกรรุ่นใหม่บางคนมีกรอบความคิดเดิมที่ว่ายิ่งเราใส่ปุ๋ยเยอะต้นไม้ของเราจะยิ่งออกใบดก ผลสวย แต่แท้จริงแล้วมันเป็นความคิดที่ผิดถนัด เพราะนอกจากจะไม่ทำให้สวยแล้วยังทำให้ต้นไม้ตายเร็วอีก

โดยเฉพาะจำพวกปุ๋ยเคมี ที่เป็นประหนึ่งอาหารเสริมเพิ่มสารอาหารให้กับต้นไม้ หากให้เห็นภาพชัดๆ การทำงานของปุ๋ยเคมีก็ไม่ได้ต่างจากการฉีด “วิตามิน” ให้กับต้นไม้เพื่อช่วยบำรุงเร่งการเติบโตและเพิ่มความแข็งแรง แต่หากเราใส่ในปริมาณมากเกินความพอดี ก็ไม่ต่างกับการที่ร่างกายของเรารับยามาหลายแขนงจนตับไม่สามารถกรองสารอาหารได้จนพังหรือตายไปนั่นเอง

แล้วเราจะสังเกตยังไงว่าต้นไม้เราได้รับสารอาหารมากเกินไป?
1. ให้ดูว่าต้นไม้ “น็อกปุ๋ย” หรือไม่ สังเกตจากต้นไม้มีใบเหลือง ใบร่วง ซึ่งนั้นมาจากสารเคมีที่อยู่ในปุ๋ย วิธีแก้คือหากเราจะใส่ปุ๋ยเคมีให้ใส่ทีละน้อย รวมถึงควรรดน้ำต้นไม้ทุกครั้งหลังใส่ปุ๋ย เพื่อให้ต้นไม้ปรับสภาพได้

2. สังเกตต้นไม้โดยเฉพาะส่วนของใบว่า “ใบไหม้” หรือไม่ อาการนี้จะเกิดจากสารอาหารที่มากเกินไป ทำให้เร่งการเติบโต นอกจากนี้ ยังมีเชื้อราสุดอี๋ที่อาจเกิดขึ้นได้และส่งผลให้ต้นไม้ของเราไม่น่ามองนั่นเองค่ะ

3. เริ่มสำรวจสภาพดินบริเวณที่ใส่ปุ๋ยว่า “อ่อนแอ” หรือไม่ เพราะปุ๋ยเคมีหากเราใส่มากไปก็ทำให้ต้นไม้ได้รับสารเคมีเกินความจำเป็น และส่งผลให้จุลินทรีย์ในดินตาย หากดินอ่อนแอต้นไม้ที่ปลูกจะมีสภาพไม่สมบูรณ์ ต้องเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับสภาพและบำรุงหน้าดิน

ซึ่งอย่างที่บอกไปในขั้นต้นว่าวิธีแก้ง่ายมากๆ หากใส่ปุ๋ยมากเกินไป ให้ทำการรดน้ำและนำต้นไม้ออกไปโดนแดด เพื่อชำระล้างสารเคมีในดิน รวมถึงปรับสภาพดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์เป็นการนำธรรมชาติเข้ามาเยียวยา

คุณเมธี และ คุณดวงกมล ยี่หวา เกษตรกรจังหวัดตราด เจ้าของ “ตราดบ้านผักฟาร์ม” บ้านเลขที่ 85/1 หมู่ที่ 6 ตำบลเนินทราย อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด มีอาชีพปลูก “ผักปลอดภัย” ในพื้นที่ 1 ไร่ สร้างรายได้หลักเลี้ยงครอบครัวได้มากว่า 20 ปี โดยการปลูกผักหลายๆ ชนิดเพื่อให้ได้ผลผลิตหมุนเวียนกันได้ตลอดปี

มีมะเขือเทศเชอร์รี่เป็นไฮไลต์สร้างรายได้หลัก และเมล่อนเป็นตัวชูโรงตามมา และมีผักอื่นๆ ที่ปลูกสลับหมุนเวียนไป เช่น ผักคะน้า กวางตุ้ง ถั่วฝักยาว บวบ จัดจำหน่ายด้วยตัวเองในจังหวัดที่ตลาดเกษตรกรจังหวัดตราดเป็นประจำอาทิตย์ละ 2-3 วัน และส่งตามออร์เดอร์ตามบ้านในบริเวณใกล้เคียง และขายทางออนไลน์ใช้บริการขนส่งโดยมีลูกค้าทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด

จากแตงร้านสู่นวัตกรรมโรงเรือน เพิ่มผลผลิต ปลูกผักปลอดภัย
คุณเมธี เล่าว่า เดิมไม่คิดทำอาชีพเกษตรกรรมเพราะเห็นว่าไม่ใช่อาชีพที่สร้างรายได้ เลือกทำมัคคุเทศก์เป็นอาชีพแรกเพราะอยากเที่ยว ลงหุ้นกับเพื่อน 3 คนทำทัวร์ เข้าอบรมได้บัตรมัคคุเทศก์ เป็นไกด์นำเที่ยวจังหวัดชายฝั่งทะเล ตอนทำงานส่วนใหญ่รับผิดชอบอยู่บนฝั่ง จำเป็นต้องหาความรู้ ประสบการณ์เชิงลึกด้านเกษตรกรรมนำเสนอนักท่องเที่ยว ทำอยู่พักหนึ่งเจอกับคุณดวงกมล และแต่งงานเป็นครอบครัวปี 2544 จึงตัดสินใจเปลี่ยนอาชีพมาทำสวนผัก เริ่มจากปลูกแตงร้าน โดยหาความรู้จากบริษัทเจียไต๋ที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ ทำแล้วได้ผลผลิตมากกว่า 10 ตันต่อไร่ ที่เป็นแปลงทดลองของบริษัท และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากปีที่ 1 คิดว่าฟลุก พอปีที่ 2 เพิ่มเป็น 2 เท่าตัว ปีที่ 4-6 เพิ่มขึ้น 50-60 ตันต่อไร่ ซึ่งตอนนั้นได้คิดค้นสูตรสารแคลเซียมโบรอนมาใช้เองกับแตงร้าน ฉีดพ่นเพื่อการผสมเกสรติดลูกดีและมีขนาดใหญ่ทั้ง 2 ผลในขั้วเดียวกัน

ปี 2553-2554 เริ่มปลูกผักในโรงเรือนอย่างจริงจัง ตอนนั้นโรงเรือนยังไม่แพร่หลาย เป็นนวัตกรรรมใหม่ ต้องสั่งทำพิเศษ และราคาค่อนข้างสูง ขนาด 11×17 เมตร ราคาประมาณ 100,000 บาทเศษ เริ่มแรกสร้าง 1 หลังก่อน ใช้ปลูกมะเขือเทศเชอร์รี่เป็นหลัก และหมุนเวียนปลูกผักคะน้า กวางตุ้ง ถั่วฝักยาว บวบ ปลูกได้ปีละ 1 รอบเท่านั้น ต่อมาขยายเพิ่มโรงเรือนให้มากขึ้นเพื่อให้การปลูกมะเขือเทศได้รอบมากขึ้น 3 รอบในระยะเวลา 2 ปี และได้ปลูกเมล่อนเพิ่มขึ้นได้ด้วย

ถึงตอนนี้มี 7 โรงเรือนขนาดเล็กใหญ่ต่างกันในพื้นที่ 1 ไร่ การปลูกจะแบ่งเป็นรอบๆ เพราะแต่ละรอบธาตุอาหารในดินที่สำคัญบางอย่างถูกใช้ไปเกือบหมดต้องฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ เช่น รอบ 1 เริ่มปลูกมะเขือเทศปลายฤดูฝนใช้เวลา 4-5 เดือน สิ้นสุดประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ธาตุโพแทสเซียมจะถูกนำไปใช้มาก รอบ 2 หันมาปลูกผักใบต่างๆ หมุนต่อ 3-4 เดือน และรอบที่ 3 ปลูกเมล่อนอีก 4-5 เดือน การปลูกใช้วิธีลงกระถางดินเพื่อจะได้เปลี่ยนดินทำรอบได้เร็วขึ้น

เลือกปลูกมะเขือเทศเชอร์รี่ เมล่อน เพราะมองว่ายังไม่มีคนปลูก คู่แข่งไม่มี ได้ราคาดี และเกษตรกรทั่วๆ ไปมองเป็นพืชที่ปลูกยาก ตลาดผู้บริโภคต้องการสูง และเมล่อนยังได้ราคาดีคงที่ทั้งปี แรกๆ ปลูกมะเขือเทศเชอร์รี่ปลูกพันธุ์ทรอปปิคอล ให้ผลดก 1 ช่อ ช่อละ 25-35 ลูก แต่มีรสเปรี้ยวตลาดไม่นิยม จึงค่อยๆ ปรับเปลี่ยนพันธุ์บริษัทเอกชนต่างๆ มาเรื่อยๆ ถึงปัจจุบันเปลี่ยนมาแล้ว 35 สายพันธุ์ ปัจจุบันปลูกสายพันธุ์ใหม่ PC3 และ PC11 ของ ผศ.ถาวร โกวิทยากร ที่ร่วมทำวิจัยกับ สวทช. ได้รสชาติหวาน กรอบ สีสวย ไม่มีเมล็ด ผลใหญ่ มีความต้นทานโรคได้ดี แต่อนาคตในส่วนตัวควรมีการพัฒนาได้มาตรฐานเพิ่มขึ้น

“จังหวัดตราดเป็นจังหวัดที่มีฝนตกยาวนานถึง 8 เดือน เป็นปัญหาโรคแมลงในพืชผัก จึงเห็นว่าถ้าปลูกผักในโรงเรือนจะช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืชโดยธรรมชาติ ไม่ต้องพึ่งสารเคมีมากนัก ปี 2553 เริ่มสร้างโรงเรือน 1 หลังปลูกมะเขือเทศเชอร์รี่ และหมุนเวียนปลูกพืชผักอื่นๆ เช่น คะน้า กวางตุ้ง ถั่วฝักยาว บวบ เมื่อได้ผลจึงขยายโรงเรือนเพิ่มขึ้นในขนาดพื้นที่เดิม 1 ไร่ แบบค่อยเป็นค่อยไปเพราะราคาโรงเรือนแต่ละหลังปัจจุบันราคาสูงถึง 300,000-400,000 บาท จาก 1 หลังเป็น 2-3 หลัง ตอนนี้มี 7 หลัง เพราะมะเขือเทศให้ผลผลิตดีมีตลาดตอบรับมาก และปลูกเมล่อนด้วย จากการปลูกผักในโรงเรือน ได้ข้อสรุปว่าเป็นการผลิตผักปลอดภัยจริงๆ ซึ่งการทำเกษตรกรรมต้องใช้ปุ๋ย สารเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์ไปด้วยกันจะทำให้ผลผลิตสูง แต่ต้องใช้องค์ความรู้บริหารจัดการให้พอดีไม่ให้มีอันตราย ถ้าเราปลูกผักปลอดภัย จะทำให้ดีต่อผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมปลอดภัยไปด้วยกัน” คุณเมธี กล่าว

ปั้นแบรนด์ “ตราดบ้านผัก”
คุณเมธีเล่าถึงความคิดการทำแบรนด์ของตัวเอง “ตราดบ้านผัก” เพราะไม่อยากขายผ่านคนกลาง และต้องการทำให้ได้มาตรฐาน GAP เพื่อให้ได้ราคาสูงกว่าปกติ เมื่อ 20 ปีก่อน ตราดบ้านผักฟาร์มเป็นแปลงผักแห่งแรกที่ขอและได้ใบรับรอง GAP แต่กว่าจะพัฒนาได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับใช้เวลาร่วม 10 ปี กว่าผู้บริโภคจะให้ความเชื่อมั่น ตราสัญลักษณ์ สติ๊กเกอร์ที่ติดกับผลผลิตทุกชนิดจากฟาร์ม คุณเมธีและคุณดวงกมลจะนำมาขายเองที่ตลาดเกษตรกรจังหวัดตราดของสำนักงานเกษตรจังหวัดตราด ที่มีเกษตรกรปลูกผักนำมาขายกันหลากหลาย

โดยผลผลิตของเกษตรกรจะมีการสุ่มตรวจหาสารเคมีตกค้าง เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจผักปลอดภัย การมีแบรนด์ตราดบ้านผักการันตีจะช่วยให้กลุ่มลูกค้าที่รักสุขภาพเชื่อมั่น และเป็นลูกค้าประจำและบอกต่อ กลุ่มลูกค้ามี 2 ประเภท คือ ภายในจังหวัดที่มาซื้อที่ตลาดเกษตรกรเป็นประจำและสั่งซื้อให้นำมาส่งบ้าน และลูกค้าต่างจังหวัดดูเฟซบุ๊ก สั่งออนไลน์ แบรนด์ตราดบ้านผัก จะมีความสำคัญมาก เพราะการสั่งซื้อครั้งแรกไม่ได้ทดสอบหรือเห็นสินค้า ต้องรักษาคุณภาพมาตรฐานใหม่ สด ไม่มีความเสียหาย

เคล็ดลับ เทคนิคการปลูกมะเขือเทศเชอร์รี่
คุณดวงกมลพูดถึงความอร่อยของมะเขือเทศ ตราดบ้านผักฟาร์ม คือ “สดทุกลูกอร่อยทุกเม็ด และปลอดภัยจากสารพิษ 100 เปอร์เซ็นต์” ดังนั้น ในกระบวนการผลิตของตราดบ้านผักจะพิถีพิถัน ดูแลให้สะอาด ปลอดภัยจากการใช้สารเคมี 100 เปอร์เซ็นต์

คุณเมธี เผยเคล็ดลับความสำคัญ การผลิตมะเขือเทศเชอร์รี่ว่า

1. การคัดเลือกพันธุ์ที่ตลาดต้องการ

2. การรู้จักธาตุอาหารในดินและปริมาณที่พืชต้องการ ซึ่งเกษตรกรมักจะมองผ่าน ลักษณะดินที่ใช้ปลูกมีความชื้นโปร่งใช้ปลูกได้

3. การสร้างโรงเรือน ทั่วไปๆ อาจจะไม่จำเป็นนัก แต่พื้นที่จังหวัดตราดฝนตกหนักยาวนาน 8 เดือนมีความจำเป็นจะช่วยในเรื่องของการป้องกันแมลงได้ แต่ทางกลับกันถ้ามีแมลงหลุดเข้าไปในโรงเรือนจะแพร่ระบาดเป็นอันตรายมากเช่นกัน ตัวหลังคาใช้พลาสติกคัดกรองแสงเพื่อลดอุณหภูมิให้พอเหมาะกับการปัดดอกผสมเกสร

4. การปัดดอกมีความสำคัญมาก ช่วยให้การผสมเกสรให้ติดดอกติดผลได้ดี การผสมเกสรทำในช่วงเช้าหลังมีแดดออก แต่อุณหภูมิต้องพอเหมาะ ไม่ร้อนหรือชื้นเกินไป ประมาณ 20-25 องศาเซลเซียส

5. ระยะผลอ่อนเติบโตใช้เวลา 30 วัน จากนั้นดูแลให้น้ำหยดอย่างสม่ำเสมอทุกชั่วโมง ครั้งละ 1-2 นาที และการเก็บผล เมื่อผลมีสีออกแดงจัด ลองชิมรสชาติให้หวาน เลือกเก็บเป็นลูกๆ บางช่อมี 10 ผล ต้องใช้เวลาเวียนเก็บถึง 4 วัน หลังจากลูกแรกสุกแล้วรอให้ลูกสุดท้ายสุกประมาณ 1 สัปดาห์

“การเคาะเกสรตัวผู้ลงในอับเรณูเกสรตัวเมีย ต้องสังเกต ดูอุณหภูมิ แสง ความชื้นที่พอเหมาะ ต้องเคาะเกสรตัวผู้ลงในอับเกสรตัวเมียทุกดอก เพื่อให้เติบโตเป็นให้เต็มช่อ ปกติ 1 ช่อมี 12 ลูก ต้องใช้ระยะเวลาเคาะ 4-5 วัน ในแปลงจะทำราวแขวนยาวตลอดเป็นแถวๆ เพื่อให้เคาะแต่ละครั้งได้เป็นแถวๆ หลังจากเคาะ 10 วัน เกสรจะผสมกันเห็นผลอ่อนๆ”

รายได้สุทธิ 30 เปอร์เซ็นต์ ตลาดภายใน-ต่างจังหวัด 70 : 30
คุณดวงกมล พูดถึงกลุ่มลูกค้าว่า มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มลูกค้าภายในจังหวัด มี 70 เปอร์เซ็นต์ จะเป็นลูกค้าที่ที่ตลาดเกษตรกรจังหวัดตราดที่มาจำหน่ายสัปดาห์ละ 2-3 วัน 60 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นเป็นออร์เดอร์ที่นำส่งตามบ้านในเส้นทางที่ใกล้เคียง 40 เปอร์เซ็นต์ และลูกค้าต่างจังหวัด ภาคเหนือ ภาคใต้ และจังหวัดใกล้เคียงจันทบุรี ระยอง อีก 30 เปอร์เซ็นต์ ที่ขายออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊ก “ตราดบ้านผักฟาร์ม” และการบอกต่อ จะใช้บริการส่งทางไปรษณีย์ไทย โดยลูกค้าเสียค่าขนส่งเองตามจริง เราต้องการมีตลาดที่มั่นคง อย่างภาคตะวันออกที่อยู่ใกล้เคียง จันทบุรี ระยอง ชลบุรี เพราะถ้าส่งขายห้างรอบเงินชำระนานถึง 1 เดือนนานเกินไป

“ราคาที่ขายมะเขือเทศเชอร์รี่ กิโลกรัมละ 240 บาท เราตั้งตามราคาต้นทุนการผลิต มีรายได้สุทธิประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ลูกค้าต่างจังหวัดขยายตัวดีแต่ไม่ได้ก้าวกระโดด ตลาดปี 2564 ค่อนข้างฝืดและปีนี้คงที่ อาจจะเป็นเพราะเศรษฐกิจไม่ดีนัก อนาคตเตรียมขยายโรงเรือนเพิ่มขึ้นอีก 2 โรงเรือน เพื่อให้ผลผลิตหมุนเวียนกันเพียงพอกับความต้องการของตลาดที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้นจากผู้บริโภคคำนึงถึงสุขภาพ เพียงแต่เกษตรกรต้องรักษามาตรฐานไว้ ซึ่งมะเขือเทศเชอร์รี่ผลสดจะเก็บไว้ได้นาน 2 สัปดาห์ ในอุณหภูมิปกติ และ 1 เดือนในตู้เย็น” คุณดวงกมล กล่าว

อาชีพเกษตรกรรมต้องทำจริง
ครอบครัวคุณเมธีและคุณดวงกมลทำอาชีพเกษตรกรรมในพื้นที่ 1 ไร่ มีรายได้หลักเลี้ยงครอบครัว มีเงินเก็บออม และส่งให้ลูกชายเรียนระดับมหาวิทยาลัยโดยไม่เดือดร้อน

คุณเมธี ทิ้งท้ายว่า “หลักของการทำอาชีพเกษตรกรรมต้องทำจริง และดูตัวอย่างจากคนที่ไม่เป็นหนี้” ทั้งนี้ ด้วยประสบการณ์การสร้างองค์ความรู้ช่วยเหลือเพื่อนเกษตรกร และการประสบความสำเร็จโดยใช้ภูมิปัญญาและนำนวัตกรรมมาใช้ ทำให้คุณเมธีได้รับรางวัล “เพชรวัฒนธรรมถิ่นบูรพา ปี 2564” สาขาภูมิปัญญาชาวบ้าน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพรรณี จันทบุรี อันเป็นเกียรติและความภูมิใจ

มีการใช้ใบจามจุรี หรือ ฉำฉา สำหรับปลูกพืชมานานแล้ว ยุคก่อนโน้นที่โป๊ยเซียนได้รับความนิยม ใบจามจุรีมีราคาสูง บางช่วงถึงกับขาดตลาด

ใบจามจุรี มีคุณค่าทางอาหารสำหรับพืชสูง โดยเฉพาะไนโตรเจน เพราะเป็นพืชตระกูลถั่ว การใช้ก็ไม่ยุ่งยาก นำมาผสมวัสดุปลูก หรือจะใส่ต้นไม้ทั่วไปก็ได้ อย่าง มะม่วง ขนุน นำใบเทกองไว้โคนต้น เวลาผ่านไป ใบค่อยๆ ย่อยสลาย ต้นไม้โตเร็วกว่าปกติ โดยทั่วไปแล้ว จามจุรีขึ้นตามที่รกร้าง ที่สาธารณะ เมื่อใบร่วงหล่น คนก็ไปกวาดใส่ถุงปุ๋ย นำออกมาจำหน่าย แหล่งใหญ่ของใบจามจุรี พบอยู่ที่จังหวัดสระบุรี ลพบุรี

ในเขตภาคเหนือ จริงๆ แล้วเมื่อก่อนพบจามจุรีอยู่หนาแน่น แต่เพราะเขานิยมตัดโค่นไปแกะสลัก ประชากรของจามจุรีจึงลดลง

คุณลุงชิน หรือ จ้อย และ คุณป้าวันทอง ศรีเนตร เป็นชาวตำบลหนองหว้า อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ประกอบอาชีพขยายพันธุ์ไม้ขายมานาน 30 ปีแล้ว เมื่อสมัยเป็นวัยรุ่นลุงจ้อยไปทำงานรับจ้างในค่ายทหารที่อู่ตะเภา จังหวัดชลบุรี วิชาที่ได้ติดตัวมาคือการทำอาหารฝรั่ง รวมทั้งอาหารสากลอื่นๆ จากนั้นลุงไปทำงานตะวันออกกลาง อยู่หลายประเทศ ทำหน้าที่เป็นพ่อครัวให้กับคนสำคัญของประเทศนั้นๆ

เมื่อมีสงครามอ่าวเปอร์เซีย ลุงกลับบ้าน ลุยงานเกษตรอย่างจริงจัง โดยขยายพันธุ์ไม้ขาย ซึ่งพันธุ์ไม้ที่ขายมีมะม่วงหลากหลายสายพันธุ์ นอกจากนี้ ยังมีไม้ไทยกลิ่นหอม ไม้ด่าง รวมทั้งไม้กระถาง ขณะที่ปลูกไม้กระถาง ลุงและป้าต้องซื้อใบก้ามปูจากคนที่ลพบุรี ปีหนึ่งหลายร้อยถุงปุ๋ย ซึ่งบางครั้งอาจจะมีใบอย่างอื่นปลอมปน รวมทั้งมีหนามผสมมาด้วย

เมื่อ ปี 2552 ป้าวันทอง ถามคนที่มาส่งใบก้ามปู ว่าปลูกยากไหม คนมาส่งบอกว่า ใบก้ามปูขึ้นตามหัวไร่ปลายนา ที่ลพบุรีส่วนหนึ่งไปกวาดตามค่ายทหาร บางแห่งที่ต้นจามจุรีขึ้นอยู่หน้าฝนน้ำท่วมขัง แต่ต้นจามจุรีไม่ตาย

เมื่อได้รับคำตอบ ลุงและป้า จ้างเด็กไปเก็บฝักก้ามปูมาเพาะ แต่เปอร์เซ็นต์ความงอกไม่มากนัก ต่อมา ทดลองแช่น้ำ แล้วห่อผ้าไว้ราว 2 คืน จนเมล็ดบวมแล้วนำไปเพาะ ปรากฏว่างอกดีมาก จึงนำลงปลูกในที่ดินของตนเอง ซึ่งเป็นที่ลุ่ม แต่เดิมจะใช้ทำนากัน

ปลูกช่วงแรกนั้น ต้นจามจุรีโตดี แต่ช่วงปลายฝน น้ำท่วมขัง ลุงและป้าคิดว่าจามจุรีไม่รอดแน่ แต่เมื่อน้ำแห้ง ต้นตายไปเพียง 4-5 ต้น เท่านั้น

แต่ระยะแรก เจ้าของต้องกำจัดวัชพืชให้กับต้นจามจุรี เพราะพุ่มใบยังไม่แผ่กว้าง แสงส่องลงพื้นได้ เข้าปี ที่ 4 ขนาดของต้นและทรงพุ่มใหญ่ เจ้าของไม่ต้องช่วยกำจัดวัชพืชแต่อย่างใด

ปีที่ 4 เจ้าของกวาดใบมาใช้ประโยชน์ได้ รวมทั้งจำหน่ายให้กับผู้สนใจซื้อไปใช้

ลุงจ้อย และ ป้าวันทอง ปลูกจามจุรีพื้นที่ 22 ไร่ ใช้ระยะปลูก 4 คูณ 4 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 100 ต้น

ป้าเล่าว่า ช่วงปลายฝน น้ำที่แปลงจามุรีมักท่วมขัง ทำกิจกรรมอะไรลำบาก จนผ่านเดือนตุลาคมไปแล้ว ก็จะเริ่มกวาดใบจามจุรี กวาดไปจนฝนลงจึงหยุด

สนนราคาจำหน่าย กระสอบปุ๋ยละ 25 บาท แรกๆ เจ้าของต้องกำจัดวัชพืชให้กับแปลงจามจุรี ต่อมาเมื่อต้นโตไม่ต้อง

ระหว่างปี ป้าบอกว่าไม่ต้องใส่ปุ๋ย ไม่ต้องพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรู

“มีคนมาซื้อกันมาก บางคนรับไป 1,000 กระสอบปุ๋ย นำไปขายต่อ นำไปทำดินผสม คนถมที่…ดินไม่ดีนิยมนำไปรองก้นหลุมปลูกต้นไม้ ใช้กับต้นไม้ทุกชนิด ของเราใบล้วนๆ ไม่มีใบอื่นปน เมื่อปลูกใหม่ๆ มีคนแนะนำให้เราใช้ปุ๋ยบำรุงต้น เราไม่มีเวลาดูแล ดังนั้น จึงไม่ได้ใส่ปุ๋ยเลย” ป้าวันทอง อธิบาย และยังบอกอีกว่า

“รายได้หลักที่ผ่านมา จำหน่ายกิ่งมะม่วง ทำต่อเนื่องมา 30 ปีแล้ว คนมาซื้อที่บ้าน ไม่ได้นำออกไปขายที่ไหน อย่างอื่นมีไม้ผลปลูกไว้กิน อย่าง ลองกอง ทุเรียน เงาะ ไม้ไทย ไม้ดอกไม้ประดับสวยๆ ก็ปลูกไว้ ใบก้ามปูจำนวนคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นอกจากขายแล้ว เราก็ใช้เองปีหนึ่งไม่ใช่น้อยๆ”

ในแต่ละบ้านก็จะมีสวนหรือต้นไม้ที่ปลูกเพื่อสร้างร่มเงา จะช่วยเพิ่มความสวยและน่าอยู่ให้กับบ้านได้มากทีเดียว ให้บรรยากาศดูธรรมชาติ นั่งจิบกาแฟยามเช้า เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจนอกบ้าน บางคนการจัดสวนอาจกลายเป็นงานอดิเรกอย่างหนึ่งไปแล้ว

วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านจะพามารู้จักวิธีการ “เนรมิตรสวนสวยแบบง่ายๆ ด้วย 6 เครื่องมือการเกษตร ใช้งานง่าย ราคาไม่แพง” เพื่อความสะดวกสบายและไม่สิ้นเปลืองจ้างคนมาดูแล ทำได้ด้วยตัวเอง

อุปกรณ์และเครื่องมือในการทำสวนแต่ละชนิด มีการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนั้น ก่อนการทำสวนควรเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือให้ตรงกับจุดประสงค์และการใช้งานด้วย

การเลือกซื้ออุปกรณ์นั้นไม่ควรเลือกซื้อของราคาถูกเพียงอย่างเดียว เพราะของราคาถูกอาจจะใช้งานได้ดีแค่ในช่วงแรกๆ ควรพิจารณาเครื่องมือที่มีราคาเหมาะสมกับคุณภาพมากกว่า จะทำให้ใช้งานได้ยาวๆ ไม่เสียเงินซ้ำซ้อน

ถ้าต้องการให้สวนสวย ก็ต้องหมั่นดูแล เอาใจใส่ ซึ่งสามารถลงมือทำด้วยตัวเองได้ง่ายๆ เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจที่ให้ความร่มรื่น ร่มเย็นให้กับคนในครอบครัวได้อีกด้วย 1.ถุงมือทำสวน
ผิวหนังของมนุษย์ค่อนข้างบอบบาง การบาดธรรมดาทำให้เลือดไหลออกมา และจุลินทรีย์เช่นไวรัสหรือเชื้อราสามารถเข้าทางบาดแผลนี้ได้ ปกป้องมือจากสิ่งสกปรกและระบายอากาศได้ดี ราคาประหยัด

ประเภทของถุงมือ
– ถุงมือยาง : มีความยืดหยุ่นทำจากน้ำยางไนลอนและผ้าฝ้าย เหมาะสำหรับการปลูกถ่าย
– ถุงมือผ้าฝ้ายและหนัง : เหมาะสำหรับการใช้เครื่องมือและการเก็บใบไม้
– ถุงมืออเนกประสงค์ : ทำจากโพลีเอสเตอร์และผ้าฝ้าย ใช้ในการตัดแต่งกิ่งไม้ขนาดเล็กหรือปลูกถ่าย
– ถุงมือโพลีเอสเตอร์และโฟม : ใช้ปลูกต้นไม้ขนาดเล็ก
– ถุงมือโพลีเอสเตอร์และไนไตร : เหมาะสำหรับรดน้ำ

2.กรรไกรตัดแต่งกิ่ง
กรรไกรตัดแต่งกิ่ง assetlock.net นับเป็นอุปกรณ์คู่ใจสำหรับคนรักการทำสวน เพราะมีความสำคัญในการตัดแต่งกิ่งของต้นไม้ให้สวยงาม ดูเป็นระเบียบ อีกทั้งการหมั่นแต่งกิ่งบ่อยๆ ยังช่วยให้ต้นไม้ออกดอกหรือผลได้สวยงามยิ่งขึ้น

ประเภทของกรรไกรตัดแต่งกิ่ง
– กรรไกรตัดกิ่งปากตรง : เหมาะกับใช้ตัดกิ่งของไม้ดอก หรือไม้พุ่มที่มีกิ่งขึ้นหนาแน่น
– กรรไกรตัดกิ่งปากโค้ง : มักใช้ตัดแต่งกิ่งทรงพุ่ม หรือกิ่งชำ เช่น ต้นกุหลาบ ต้นมะเขือเทศ เป็นต้น
– กรรไกรตัดแต่งพุ่มไม้ : เหมาะกับการตัดพุ่มไม้หรือสนามหญ้าที่เน้นใช้ความรวดเร็ว
– กรรไกรตัดกิ่งไม้ใหญ่ : จะให้ความแม่นยำในการตัดแต่งกิ่งต่างๆ แต่ด้ามจับจะยาวเพื่อให้เหมาะกับการตัดกิ่งไม้ที่อยู่สูงขึ้นไปได้

3.คราด
ใช้สำหรับย่อยดินและเก็บเศษต้นหญ้า การใช้งานคล้ายกับไม้กวาดโดยการโกยวัสดุออกจากหน้าดิน เช่น ใบไม้ หญ้า เศษวัสดุต่างๆ และยังสามารถปรับพื้นดินให้สม่ำเสมอกัน

ประเภทของคราด
– คราดหัวคันธนู : ใช้สำหรับงานหนัก เช่น ตะกุยดิน หรือโกยก้อนหิน
– คราดใบไม้ : ใช้สำหรับงานเบา เช่น โกยใบไม้ หรือหญ้า

4.จอบ
เป็นเครื่องมือที่สำคัญมากในการเตรียมดิน จอบสำหรับการขุดดินและพรวนดิน ในเรื่องของการดูแลสวนแล้วนั้นจอบขุดดินก็ยังเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของปลูกต้นไม้หรือพรวนดินให้กับต้นไม้ หรือแม้กระทั่งการขุดดินเพื่อนำไปใช้

ประเภทของจอบ
– จอบขุด : ใช้สำหรับขุดดินที่ค่อนข้างแข็ง
– จอบถาก : ใช้สำหรับถากหรือเกลี่ยหน้าดินให้หน้าดินเรียบเสมอกัน หรือใช้ดายหญ้า

5.บุ้งกี๋
ใช้ขนดิน ปุ๋ย หรือเศษหญ้าเศษใบไม้

ประเภทของบุ้งกี๋
– บุ้งกี๋หวายไนลอน : ใช้สำหรับขนย้าย ดิน อิฐ หิน ปูน ทราย
– บุ้งกี๋ทึบไนลอน : ใช้สำหรับตักดิน ตักหิน ตักทราย ที่ใช้สำหรับงานก่อสร้าง

6.พลั่ว
ใช้ในการตักดิน ตักปุ๋ย หรือขุดหลุมขนาดเล็กๆ ไม่ลึก เมื่อใช้แล้วควรล้างทำความสะอาด เช็ดให้แห้งแล้วทาด้วยน้ำมันเพื่อกันสนิม

ประเภทของพลั่ว
– พลั่วขุด : ใช้ขุดหลุมหรือขุดดินเหมือนกับเสียม
– พลั่วตัก : ใช้ในการตักดิน ทราย ปุ๋ย หรือเศษวัสดุที่ชิ้นไม่ใหญ่มากนัก