พญ. รัชฎาพรเป็นผู้เข้าใจหลักการสุขภาพของคนสัตว์ และสิ่งแวดล้อม

ไม่ได้ตั้งรับในโรงพยาบาลเท่านั้นยังออกไปดูแลสิ่งมีชีวิตที่อุทยานแห่งชาติ เพราะมีผลกระทบต่อสุขภาพของชุมชน รวมถึงยังเข้าใจบริบทของความเป็นแพทย์ และบริบทการบริหารจัดการ เพราะสุขภาพไม่สามารถดูโดยใครคนหนึ่งหรือสายวิชาชีพเดียว จำเป็นต้องประสานงานทุกภาคส่วน โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับจากการดูแลสุขภาพ คือ ชุมชน พญ. รัชฎาพรสามารถดึงชุมชนเข้ามาร่วมสร้างเครือข่ายของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ และสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ให้บริการ โดยไม่สามารถค้นหาแพทย์เช่นนี้ได้ง่ายในพื้นที่ชนบท ศ.นพ. ประสิทธิ์ กล่าว

พญ. รัชฎาพร กล่าวว่า ภูมิใจและตื่นเต้นที่ได้รับรางวัลนี้และว่าคณะกรรมการได้เดินทางไปยังพื้นที่ปฏิบัติงาน เพื่อสัมภาษณ์และเยี่ยมชมผลงาน 2 ครั้ง นับเป็นขวัญกำลังใจในการทำงาน

“การดูแลสุขภาพต้องใช้งบประมาณ แต่เนื่องจากท้องถิ่นมีเงินน้อย ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของการคิดค้นและมองหาตัวขับเคลื่อนการทำงาน หลังจบการศึกษาที่แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในโครงการให้ทุนแพทย์ชนบทคืนถิ่น เริ่มบรรจุรับราชการใช้ทุนครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2534 ที่ รพ.ขุนหาญ ซึ่งเป็นภูมิลำเนา ขณะนั้นเป็นพื้นที่สีแดง แต่ไม่รู้จัก เมื่อได้สัมผัสกับความสุขและบรรยากาศของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลที่มีความตั้งใจทำงาน ทำให้เกิดแรงบันดาลใจ แม้ครอบครัวเป็นห่วง แต่ยังให้แนวคิดให้ตั้งใจทำงาน เป็นข้าราชการที่ดี อย่าโกงเวลาและเงินหลวง ให้มีความซื่อสัตย์และให้ดูแลประชาชนอย่างเต็มที่ กลัวการเป็นหมอ แต่ได้มาเป็นหมอ ทุกวันนี้จึงตั้งใจทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ซึ่งทำมา 27 ปีแล้ว” พญ. รัชฎาพร กล่าว

“เตาเศรษฐกิจชีวมวล” ขยายตัว หันมานิยมใช้ครัวเรือน สถานประกอบการ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ลดการใช้ LPG ได้ กว่า70%

นายอรุณ อินทสะระ พลังงานจังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงาน ได้เร่งขับเคลื่อนการใช้เตาเศรษฐกิจเตาฟืนชีวมวล หรือเตาฟืน แบบร่วมใจอุตสาหกรรมขนาดย่อม ทั้งนี้เพื่อเป็นการใช้ฟืนทดแทนแก๊ส LPG

โดยเป็นเตาที่ได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจากเตาฟืนนาชุมเห็ด ที่พัฒนาจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ต.นาชุมเห็ด อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง ซึ่งเป็นการผสมผสาน การจัดทำห้องเผาไหม้ และปล่องควันแบบเตามณฑล จ.นครศรีธรรมราช มีการพัฒนาช่องอุโมงค์ควัน เพื่อป้องกันปัญหาควันย้อนออก หรือช่องใส่ฟืน

ทั้งนี้มีการเลือกใช้วัสดุในการจัดทำเป็นปูนซีเมนต์แบบทนไฟ โดยเป็นเตาที่ถูกออกแบบให้เกิดการเผาไหม้ 2 ครั้ง การเผาไหม้ จะใช้หลักการของกระแสลมธรรมชาติ

ส่วนปล่องครัว จะถูกออกแบบให้สามารถดูดควันที่เกิดจากการเผาไหม้ให้ลอยตัวสูงขึ้น ภายในเตาเป็นสุญญากาศ ซึ่งอากาศภายนอกเตาจะไหลเข้ามาแทนที่ทำให้เกิดการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง

สำหรับส่วนประกอบและโครงสร้างเตาร่วมใจ ประกอบด้วย ช่องใส่ฟืน และเขี่ยขี้เถ้า ด้านในเตา ปากเตา และปล่องควัน

การดำเนินงานเตาเศรษฐกิจ เตาฟืนชีวมวล หรือเตาฟืนแบบร่วมใจ ในปี 2560 ได้มีการส่งเสริมเทคโนโลยีเตาเผาให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรบ้านทุ่งยาว ต.โคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง โดยกลุ่มดังกล่าวได้หันมาใช้ฟืนทดแทนแก๊ส LPG ใน กระบวนการผลิตจนสามารถลดค่าใช้จ่ายแก๊ส LPG ลงได้ร้อยละ 74.72 ทำให้สามารถนำเตาดังกล่าว ไปใช้ใน อุตสาหกรรมขนาดย่อม ในครัวเรือน เพิ่มมากขึ้นทั้งยังได้มีการขยายผลไปยังจังหวัดต่าง ๆ เช่น จ.นราธิวาส จ.ปราจีนบุรี ฯลฯ.

สำนักงานพลังงานจังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า วัตถุดิบที่นำมาเป็นพลังงานเชื้อเพลิง เช่น ไม้ฟืน เศษไม้ ปีกไม้ ทางมะพร้าว สิ่งที่เป็นวัสุดเชื้อเพลิง เป็นต้น โดยได้ลดต้นทุนการผลิตไปได้เป็นจำนวนมาก

เตาเศรษฐกิจชีวมวล สามารถนำไปใช้กับกลุ่มงานต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ตอนนี้ที่ได้ดำเนินการใช้งานแล้ว มีกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ต้มสุราพื้นบ้าน กลุ่มผลิตเครื่องแกง กลุ่มผลิตขนม กล้วยผลิตกล้วยฉาบ กลุ่มผลิตเพาะเห็ด ฯลฯ

“เตาเศรษฐกิจชีวมวล ลงทุนต้นทุนการผลิต เตาละ 25,000 บาท ขนาด 2 กะทะ และ ขนาด 20,000 บาท เป็นต้น” บมจ. บี.กริม เพาเวอร์ (BGRIM) เดินหน้าขยายธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดมีความคืบหน้าของโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ใหญ่ที่สุดในเวียดนามและในอาเซียนขนาด 420 เมกะวัตต์ ร่วมกับบริษัท Xuan Cau Co., Ltd. โดยจะสรุปลงนามสัญญาร่วมทุนภายในปลายเดือนเมษายนนี้ ซึ่งขณะนี้ได้มีการพิจารณาคัดเลือกผู้รับเหมาและหารือร่วมกับสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ โครงการดังกล่าวจะเริ่มเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์และรับรู้รายได้ภายในเดือนมิถุนายน 2562 มั่นใจดันสัดส่วนพลังงานทดแทนและการลงทุนในต่างประเทศตามเป้า 30% ใน 5 ปี

นางปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM เปิดเผยเพิ่มเติมกรณี รมว.พลังงานส่งสัญญาณไม่รับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในช่วง 5 ปี ไม่ได้มีผลต่อบริษัทเนื่องจากโครงสร้างรายได้หลักมาจาก โครงการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติประเภท SPP กว่า 2,200 เมกะวัตต์ จากโครงการทั้งหมดที่มีสัญญาแล้วทั้งสิ้น 2,518 เมกะวัตต์ และบริษัทมีโอกาสในการขยายธุรกิจไปต่างประเทศ เช่นโครงการพลังงานน้ำในสปป. ลาว โครงการสายส่งในกัมพูชาและเวียดนาม และโครงการพลังงานทดแทนในฟิลิปปินส์ และเวียดนาม

โดยย้ำชัดหากบริษัทจะลงทุนโครงการพลังงานทดแทนในประเทศต้องเป็นโครงการที่มีผลตอบแทนที่เหมาะสม เช่นโครงการโซลาร์ราชการ 31 เมกะวัตต์ที่จะเปิดดำเนินการในปีนี้ โครงการขยะอุตสาหกรรม 5 เมกะวัตต์ที่จะเปิดดำเนินการในปี 2562 หรือโครงการโซลาร์รูฟท็อป ในประเทศจำนวนประมาณ 40-70 เมกะวัตต์ ในรูปแบบการร่วมทุนกับผู้ให้บริการซึ่งดูแลกลุ่มลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมชั้นนำของประเทศ และทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับกลุ่มลูกค้าเหล่านี้ที่ระยะเวลา 15-20 ปี นอกจากนี้เพื่อให้โครงการโซลาร์ รูฟท็อป ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มความมั่นคงของกระแสไฟฟ้า BGRIM ได้ร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลก เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการกักเก็บพลังงาน Energy Storage และระบบ Smart Grid

นี่เป็นเพียงตัวอย่างของทิศทางการเติบโตของ BGRIM ที่เราสื่อสารมาตลอดว่าการเติบโตต้องเป็นการเติบโตที่มีคุณภาพ โดยหากรัฐบาลยังไม่พร้อมที่จะเปิดรับซื้อพลังงานทดแทน BGRIM ยังสามารถเติบโตได้ในต่างประเทศที่ยังมีความต้องการไฟฟ้าอีกมาก และต้องการความเชี่ยวชาญจากผู้พัฒนาตัวจริงอย่าง BGRIM เข้าไปมีส่วนร่วม

ขณะเดียวกันโครงการ SPP ที่บริษัทมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟผ. และมีสัญญาซื้อขายกับภาคอุตสาหกรรมในประเทศ ยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก เนื่องจาก SPP สามารถขายตรงให้กับลูกค้าที่อยู่ในพื้นที่โดยรอบในรูปแบบของ Distributed Generation Unit ซึ่งจะสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่จะเปิดให้มีการรับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินในรูปแบบของ SPP Power Pool เพื่อรองรับการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ในโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าที่มีคุณภาพและมีเสถียรภาพด้วย ปัจจุบันลูกค้าของบริษัทตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมสำคัญ เช่น อมตะนคร อมตะซิตี้ระยอง บางกะดีและเหมราช

ในส่วนแผนงานของบริษัทในปี 2561 บี.กริม เพาเวอร์ มีโรงไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้างและมีแผนเปิดดำเนินงานเชิงพาณิชย์ 11 โครงการ รวมกำลังผลิต 445 เมกะวัตต์ คิดเป็นการเติบโตกว่า 27% โดยโครงการ SPP ที่นิคมอมตะ ซิตี้ได้ประเดิมเปิดดำเนินการเป็นโครงการแรกไปแล้วเมื่อ 1 ก.พ. 2561 และโครงการอื่นๆก็ยังเป็นไปตามแผนที่บริษัทวางไว้

ดร.สุภัทร จำปาทอง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (เลขาธิการ กกอ.) กล่าวในการเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการครั้งที่ 13 ประจำปี 2561 โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ร่วมกับสมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท) เรื่อง กลยุทธ์ดิจิตอลสำหรับอุดมศึกษา : การเสริมสร้างการเรียนการสอนและการประเมินผล ว่า ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเดินหน้ามุ่งสู่ยุคดิจิตอลเพื่อการพัฒนาประเทศเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการปรับใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่สถาบันอุดมศึกษา ซึ่งเป็นแหล่งผลิตบุคลากรที่ทรงคุณค่า ทั้งความรู้ ความเชี่ยวชาญและทักษะต่างๆ โดยเฉพาะทักษะทางดิจิตอลที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดงาน สถาบันอุดมศึกษาต้องพัฒนาศักยภาพ ในการผลิตกำลังคนและทักษะทางด้านดิจิตอลที่คนไทยควรจะมี เพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ

เลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อไปว่า การนำเทคโนโลยีและสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน โดยเฉพาะกับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และในยุคไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งเป็นยุคที่ผู้เรียนสามารถค้นคว้าหาความรู้จากสารสนเทศบนโลกอินเตอร์เน็ต โดยมีเครื่องมือในการศึกษาเรียนรู้ คือ โซเชียล มีเดีย หรือสื่อสังคมออนไลน์ ทั้งบนเว็บไซต์และสมาร์ตโฟน คณาจารย์หรือผู้สอนจึงต้องให้ความสำคัญต่อการออกแบบการเรียนการสอนให้สอดรับกับสังคมปัจจุบันและทักษะทางด้านดิจิตอล การเรียนการสอนแบบใหม่จะต้องให้ผู้เรียนและผู้สอนมีทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลที่ถูกต้อง

“การขับเคลื่อนอุดมศึกษานั้นจะไม่สามารถแสดงซึ่งศักยภาพของบัณฑิตได้เลยหากไม่ได้รับการขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพจากคณาจารย์ สกอ.และสถาบันอุดมศึกษาคงต้องปรับเปลี่ยนและเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานไปพร้อมๆ กัน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี แนวโน้ม วิธีการ ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้เรียนรุ่นใหม่ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา” เลขาธิการ กกอ.กล่าว

นายประชาคม จันทรชิต รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ร่วมกับ บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) จัดโครงการ Chef Academy รุ่นที่ 1 เพื่อผลิตผู้เรียนอาชีวศึกษาให้กลายเป็นเชฟมืออาชีพ ตามมาตรฐานหลักสูตร The Explorer ของประเทศออสเตรเลีย โดย สอศ.ได้มอบหมายให้สถานศึกษาในกลุ่มวิทยาลัยอาชีวศึกษา (วอศ.) ที่จัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคี ประเภทวิชาคหกรรม สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ สาขางานเชฟอาหารนานาชาติ จำนวน 9 แห่ง ประกอบด้วย วอศ.เพชรบุรี วอศ.เลย วอศ.เสาวภา วอศ.ขอนแก่น วอศ.ฉะเชิงเทรา วอศ.ร้อยเอ็ด วอศ.สุราษฎร์ธานี วอศ.อุดรธานี และ วอศ.อุบลราชธานี คัดเลือกนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 46 คน เข้าร่วมโครงการเพื่อฝึกฝนทักษะ และประสบการณ์อาชีพเชฟอาหารนานาชาติ รองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในอนาคต

บมจ.ไมเนอร์ฯ ภายใต้แบรนด์ The Coffee Club ได้นำหลักสูตร The Explorer มาปรับให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2557 ของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ซึ่งระหว่างวันที่ 2-4 เม.ย.ที่ผ่านมา นักศึกษารุ่นที่ 1 ได้เข้ารับการฝึกอบรมสมรรถนะทั้งด้านทฤษฎี และปฏิบัติในเรื่อง Prerequisite for cooking, Basic Food Safety, Product Knowledge of The Coffee Club จากนั้นจะเข้าฝึกงานอีก 1 ปี ภายในครัวของร้านเครือไมเนอร์ สาขากรุงเทพฯ และสาขาภูเก็ต จนถึงวันที่ 31 มี.ค. 2562 และมีโอกาสได้รับการคัดเลือกเป็นพนักงานเมื่อผ่านการฝึกอบรม

ภารกิจหนึ่งของอาชีวะคือการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีร่วมกับสถานประกอบการอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการผลิต และพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพ มีสมรรถนะในการทำงานสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจระดับสากลในยุคไทยแลนด์ 4.0 ดังนั้นโครงการนี้จึงตอบโจทย์การผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพได้อย่างแท้จริง

พิษณุโลก – นายฐานุพงศ์ เจริญสุรภิรมย์ รอง ผวจ. จ.พิษณุโลก กล่าวตอนหนึ่งในการเป็นประธานเปิดงาน ยุทธการ “3 เกาะติด 3 ปฏิบัติ รักษาป่า” ที่ สน.บริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 อ.เมือง จ.พิษณุโลก ว่า ยุทธการนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เป็นการสนองนโยบาย รมว.กระทรวงทรัพยากรฯ ที่ได้ให้นโยบายไว้ในช่วงหยุดยาวเดือน เม.ย. เพื่อจะป้องกันและปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย ทั้งเป็นกลุ่มทำลายป่าและล่าสัตว์ป่า รวมทั้งป้องกันไฟป่าอีกด้วย

ยุทธการวันนี้เจ้าหน้าที่จะเข้าไปในเขตพื้นที่ป่าทันที เพื่อเฝ้าระวังลาดตระเวนเข้มข้น เจ้าหน้าที่ป่าไม้มีความมุ่งมั่นตั้งใจทำงานเพื่อประเทศชาติ ถ้ามีการจับกุมผู้กระทำผิดได้ จะมีสวัสดิการมอบให้ 5,000 บาทต่อ 1 คดี

นายนิพนธ์ จำนงสิริศักดิ์ ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 กล่าวถึงการเปิดยุทธการ “3 เกาะติด 3 ปฏิบัติ รักษาป่า” ว่า สถิติที่ผ่านมาในช่วง เม.ย. ที่มีวันหยุดยาวหลายวัน ผู้กระทำผิดอาจอาศัยโอกาสช่วงนี้ ลักลอบเข้าไปทำไม้ หรือล่าสัตว์ป่า ดังนั้นเพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในการป้องปราม ป้องกัน และปราบปรามไม่ให้มีการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้ จึงดำเนินการยุทธการ 3 เกาะติด คือ เกาะติดพื้นที่ รู้จักสถานภาพในพื้นที่รับผิดชอบอย่างละเอียด การถูกบุกรุก ตัดไม้ และการออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบ

2. เกาะติดประชาชน ต้องรู้จักชุมชนรอบพื้นที่รู้พฤติกรรม ทัศนคติ ผู้นำชุมชน 3. เกาะติดขบวนการต้องรู้ความเคลื่อนไหวของขบวนการบุกรุก ตัดไม้ทำลายป่าและเครือข่ายที่เข้ามาบุกรุกในพื้นที่รับผิดชอบ ส่วน 3 ปฏิบัติ คือ 1. ปฏิบัติทันที เมื่อเห็นว่ามีขีดความสามารถในการจับกุมดำเนินคดีได้ 2. ปฏิบัติการร่วมการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และ 3. ปฏิบัติโดยใช้เครือข่ายภาคประชาชนการเสริมสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังประชาชนในพื้นที่ป่าและบริเวณใกล้เคียง ให้สามารถเป็นกำลังภาคประชาชนในการร่วมดูแลรักษาป่าได้

ซีพี ออลล์ ร่วมกับ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ หอการค้าจังหวัดนครพนม และสมาคมการค้าปลีกและ เอสเอ็มอี ทุนไทย จัดงานสัมมนาพิเศษถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี ปีที่ 11 “สร้างธุรกิจ SME ให้โตอย่างยั่งยืน” มีผู้สนใจเข้าร่วมฟังกว่า 200 คน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

คุณสุวิทย์ กิ่งแก้ว นายกสมาคมการค้าปลีก และ เอสเอ็มอี ทุนไทย และรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บมจ. ซีพี ออลล์ ผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย กล่าวว่า ซีพี ออลล์ ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการศึกษา พัฒนาองค์ความรู้สู่ผู้ประกอบการธุรกิจ เอสเอ็มอี และร้านโชห่วย ร่วมกับ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ และสมาคมการค้าปลีก และ เอสเอ็มอี ทุนไทย ด้วยการจัดงานสัมมนาให้ความรู้ในการดำเนินธุรกิจยุคใหม่มาอย่างต่อเนื่องทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ตั้งแต่ ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน รวมเป็นเวลา 11 ปี

โดยได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี เจ้าของร้านโชห่วย และประชาชนที่สนใจ เข้าร่วมสัมมนาแล้วกว่า 8,000 คน ทั่วประเทศ เพื่อให้สอดคล้องสถานการณ์ปัจจุบันและนโยบายภาครัฐที่ให้ความสำคัญในการส่งเสริมธุรกิจรายย่อย (SME) ทางสมาคมได้จัดงานสัมมนาพิเศษ ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี ปีที่ 11 “สร้างธุรกิจ SME ให้โตอย่างยั่งยืน” โดยล่าสุด จัดขึ้น ณ จังหวัดนครพนม

ภายในงานมีการเสวนาพิเศษ หัวข้อ “เทคนิคการสร้างธุรกิจ SME 4.0 อย่างมืออาชีพ” โดยมี คุณสุรนาม พานิชการ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โทฟุซัง จำกัด เจ้าของธุรกิจน้ำเต้าหู้ แบรนด์ “โทฟุซัง” และ ภญ. เกดกานต์ นิละทัต กรรมการผู้จัดการ บริษัท เค แอนด์ บี คอสเมติก จำกัด เจ้าของธุรกิจเครื่องสำอาง แบรนด์ “นามิ” พร้อมการบรรยายพิเศษ “ถอดรหัสค้าปลีก ยุค 4.0” โดย ดร. นริศ ธรรมเกื้อกูล ประธานผู้บริหารทรัพยากรบุคคล เครือเจริญโภคภัณฑ์ และรองกรรมการผู้จัดการ บมจ. ซีพี ออลล์

“เป้าหมายการจัดงานสัมมนาในครั้งนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้จากผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจบอกเล่าประสบการณ์ตรง ตั้งแต่เริ่มทำธุรกิจ เอสเอ็มอี เล็กๆ จนสามารถก้าวมาเป็น เอสเอ็มอี ที่เติบโตอย่างมั่นคง มียอดจำหน่ายสินค้าผ่าน ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ทั่วประเทศ จะมาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี ในพื้นที่จังหวัดนครพนม และจังหวัดใกล้เคียงในภาคอีสาน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งเชื่อว่าผู้เข้าร่วมงานสัมมนาจะสามารถนำแนวคิดและวิธีการมาปรับใช้ในการทำธุรกิจของตนให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน” คุณสุวิทย์ กล่าวทิ้งท้าย

แบรนด์ “นามิ” (NAMI) นับเป็นหนึ่งในตัวอย่างธุรกิจ Startup ที่ประสบความสำเร็จในยุคนี้ โดย “เกดกานต์ นิละทัต” มีจุดเริ่มต้นจากอาชีพเภสัชกร ผู้เชี่ยวชาญด้านงานวิจัยและพัฒนา (R&D) เครื่องสำอางนำเข้าจากต่างประเทศ ให้กับบริษัทเอกชนรายหนึ่ง เธอเล็งเห็นโอกาสของสินค้ากลุ่มนี้ จึงร่วมหุ้นกับเพื่อนพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางภายใต้ชื่อบริษัท เค แอนด์ บี คอสเมติก จำกัด ผลิตสินค้าออกจำหน่าย ในชื่อ แบรนด์ “นามิ” นำสินค้าไปเสนอขายผ่านทางเซเว่นแค็ตตาล็อก (24 Shopping ในปัจจุบัน) ก่อนนำสินค้าวางขายในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น จนถึงทุกวันนี้

ส่วนผลิตภัณฑ์นมถั่วเหลืองผสมฟองเต้าหู้ แบรนด์ TOFUSAN (โทฟุซัง) เกิดจากแนวคิดของ คุณสุรนาม พานิชการ ซึ่งชอบดื่มน้ำเต้าหู้รถเข็นอยู่เป็นประจำ แต่น้ำเต้าหู้ทั่วไปมักมีรสชาติไม่ถูกปาก จึงเกิดความคิดอยากทำน้ำเต้าหู้คุณภาพดีที่ทำจากนมถั่วเหลืองคั้นสด โดยไม่ใช้ผงถั่วเหลืองผสม ไม่ใช้สารปรุงแต่ง คุณสุรนามได้ทำวิจัยเรื่องน้ำเต้าหู้ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และ Innovative House โดยใช้เวลา 9 เดือน และเงินทุนกว่า 600,000 บาท พัฒนาสินค้าตัวแรกคือ “นมถั่วเหลืองผสมฟองเต้าหู้” ออกขายได้ ในปี 2554 ปรากฏว่า ได้ผลตอบรับที่ดีมาก

แต่กว่าจะประสบความสำเร็จได้ไม่ง่ายเลย เจอปัญหาถั่วเหลืองมีราคาแพง เพราะซื้อผ่านพ่อค้าคนกลาง แถมโรงงานที่ว่าจ้างผลิต ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามกำหนด และเจอปัญหาการลอกเลียนแบบสินค้า คุณสุรนาม จึงตัดสินใจเปิดโรงงานของตัวเอง ที่จังหวัดสมุทรสาคร ทำให้ควบคุมต้นทุนและคุณภาพของสินค้าได้ในทุกขั้นตอน

นอกจากนี้ คุณสุรนาม พานิชการ ได้เปลี่ยนแพ็กเกจจิ้ง จากขวดแก้วเป็นขวดพลาสติก ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัย ใช้ขวดแบบเหลี่ยม ทำให้ลูกค้ารู้สึกได้สินค้าที่มีปริมาณมากกว่าเดิม และเปิดตัวสินค้าใหม่เข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง และนำสินค้าวางขายผ่าน ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ทำให้สินค้าขายดีติดลมบน ก้าวขึ้นมาเป็น เบอร์ 1 ผู้นำตลาดน้ำเต้าหู้พร้อมดื่มแบบขวด ภายในระยะเวลาไม่ถึง 5 ปี