พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ให้กำเนิดพระพุทธศาสนามีประวัติเกี่ยวข้อง

กับป่าตั้งแต่วาระแรก จนถึงวาระสุดท้าย ทั้งๆ ที่พระชนก พระชนนี เป็นกษัตริย์อยู่ในพระราชวังอันมโหฬาร แต่เหตุการณ์ก็ชักนำให้พระชนนีไปประสูติในป่า ภายใต้ต้นสาละใหญ่ในสวนลุมพินี พระพุทธเจ้าทรงประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ในป่า แม้แต่กิจกรรมการบำเพ็ญเพียรและการเผยแพร่พระพุทธศาสนามักจะเกิดในป่าแทบทั้งสิ้น พุทธศาสนิกชนรักป่า ป่าคือที่สงบจิตใจ ร่างกายผ่อนคลาย สถานที่เอาชนะตัณหา เมื่อพระอาศัยอยู่ในป่าท่านจะสอนคนให้เข้าใจ รู้คุณค่าของป่า ช่วยดูแลรักษาป่า ทำให้ปรากฏเป็นป่าชุมชน ป่าสาธารณะ ป่าวัฒนธรรม

พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญการปฏิบัติธรรมอันสงบในป่า ส่งเสริมการปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์ พระสงฆ์ดูแลรักษาป่า ความใกล้ชิดสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์กับธรรมชาติ ป่าเป็นที่อยู่ตามธรรมชาติที่บริสุทธิ์ และสงบ เหมาะแก่ผู้แสวงหาความวิเวก พระพุทธองค์ทรงใช้พระชนม์ชีพส่วนใหญ่กับธรรมชาติในป่าแสวงหาโมกขธรรม แม้วัดในพระพุทธศาสนาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ถึงปัจจุบัน นิยมใช้คำว่า “อาราม” ต่อท้าย เช่น เวฬุวนาราม (เวฬุวน+อาราม) เชตวนาราม (เชตวน+อาราม) นิโครธาราม (นิโครธ+อาราม) ปทุมวนาราม (ปทุมวน+อาราม) คำว่า “อาราม” แปลว่า เป็นที่รื่นรมย์ หรือสวนเป็นที่รื่นรมย์ ปัจจุบัน หมายถึง “วัด” ดังนั้น การตัดไม้ทำลายป่าอันเป็นที่รักของพระพุทธองค์นั้น ท่านพุทธทาสภิกขุเคยกล่าวว่ามิใช่การกระทำของชาวพุทธ ท่านได้ชี้ให้เห็นว่า เมื่อมนุษย์ทำลายชาติ ในที่สุดธรรมชาติก็จะทำลายมนุษย์

มีสารจากรองผู้อำนวยการสำนักสวัสดิการสังคม เรืออากาศตรี รักษา โภคาสถิตย์ เขียนไว้ในหนังสือ วันต้นไม้ประจำปีแห่งชาติ ตั้งแต่ พ.ศ. 2534 เป็นข้อชวนคิดไว้ว่า

วิสาขบูชาวันรวมศรัทธาชาวโลก วันดับทุกข์โศกสิ้นทุกข์พระชินสีห์ วันประสูติ ตรัสรู้ นิพพานพระมุนี พระผู้ทำดีสร้างโลกสงบสดใส

วันอาสาฬหะกำเนิดพระสงฆ์ พระพุทธองค์รู้ธรรม ตรัสธรรมด้วยใจ เราชาวพุทธ หยุดชั่ว ทำดีสืบไป พระสงฆ์ท่านให้หลักชัยนำทาง

มาถึงวันนี้เป็นวันที่รู้ทั่วกัน เป็นวันสำคัญ ที่ท่านสอนธรรมเป็นกลาง วันนี้มาฆะละชั่วปล่อยวาง เป็นวันนำทาง สร้างชีวิตให้มั่นคง

วิสาขบูชาคือวันพระพุทธ อาสาฬหะพิสุทธิ์ คือวันพระสงฆ์ มาฆบูชานำพาปฏิบัติมั่นคง อัฐมีพระองค์ดับขันธ์สลาย

ขอเชิญทุกท่านเวียนเทียนนมัสการ น้อมก้มกราบกรานพระปฏิมาด้วยตั้งใจกาย ทำบุญตักบาตรชำระใจให้สบาย ฟังธรรมผ่อนคลายทำลายทุกข์ สุขร่มเย็น

บทเพลงกล่าวถึง “วันวิสาขบูชา” มีมากมาย และแต่ละเพลง เนื้อหา และท่วงทำนองแตกต่างกันออกไป ตามแต่พรรณนา แต่ทุกบทเพลงก็มีจิตน้อมนำเจริญธรรมในพระพุทธศาสนา เจริญสติศรัทธาบูชาในธรรมะแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

มีตัวอย่างชื่อบทเพลงวันวิสาขบูชา ซึ่งสามารถรับฟังได้จากสื่อออนไลน์ หรือสถานีวิทยุเทศกาลธรรม จากชื่อเพลง ผู้ขับร้อง ผู้ประพันธ์ ได้แก่

เพลง วิสาขบูชา คำร้อง ชาลี อินทรวิจิตร ทำนอง สมาน กาญจนผลิน ขับร้อง ชรินทร์ นันทนาคร

เพลง วิสาขบูชา คำร้อง-ทำนอง โดย ธำรง สมบูรณ์ศิลป์ ขับร้องโดยนักร้องกรมประชาสัมพันธ์ นำหมู่โดย โฉมฉาย อรุณฉาน

เพลง วิสาขบูชา เนื้อร้อง-ทำนอง ขับร้องโดยบุคลากร บริษัท ชัวร์ออดิโอ จำกัด และใน Youtube อีกมาก ได้แก่ กุ๊กกิ๊ก ประกายฟ้า, มีโชค ชมภู 2557, มือพิณฮ้างๆ, รวมทั้ง กีรนันต์ จำเริญ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2555 เป็นต้น

เชื่อว่าบทเพลงต่างๆ ก็คงจะได้ร่วมอนุโมทนาจิต สรรเสริญคุณพระศาสนา ธำรงเรื่องราวพุทธประวัติ จะได้เป็นอานิสงส์ทั้งผู้ขับร้อง ผู้รับฟัง รวมทั้งผู้อ่านทุกท่านได้เกิดกุศลจิต นำสู่ความสงบ สุข สว่าง ดังเดือนเพ็ญโดยสาธุบุญ

การทำไข่เค็ม เป็นการถนอมอาหารไว้รับประทานนานๆ โดยไม่เน่าเสีย และยังเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตรอีกทางหนึ่ง และหากเกษตรกรได้ใช้ภูมิปัญญาในการคิดค้นสูตรได้รสชาติที่เอร็ดอร่อยจนได้รับความนิยมจากผู้บริโภค ก็ยิ่งสร้างรายได้แก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง อย่างเช่น กลุ่มผู้ผลิตไข่เค็มสมุนไพรใบเตยบ้านมะค่า หมู่ที่ 1 ตำบลมะค่า อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

คุณทัศกานต์ แฝงสาเคน อายุ 46 ปี ประธานกลุ่มผู้ผลิตไข่เค็มสมุนไพรใบเตยบ้านมะค่า และเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมะค่า (ส.อบต.) โทร. (097) 170-8621, คุณนิรันด์ สอนเสนา กรรมการกลุ่ม โทร. (061) 063-8136 หมู่ที่ 1 ตำบลมะค่า อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม และสมาชิกร่วมกันให้ข้อมูลว่า กลุ่มผู้ผลิตไข่เค็มสมุนไพรใบเตยบ้านมะค่า เกิดจากการที่เกษตรกรในชุมชนได้ประสบอุทกภัยท่วมพื้นที่การเกษตรปี 2560 ต่อมารัฐบาลได้มีโครงการ ๙๑๐๑ ตามรอยเท้าพ่อภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อฟื้นฟูอาชีพด้านการเกษตรแก่ผู้ประสบอุทกภัย ดำเนินการผ่านสำนักงานเกษตรอำเภอกันทรวิชัย

โดยสนับสนุนครัวเรือนละวงเงิน 5,000 บาท สมาชิก 40 คน ดำเนินการในรูปกลุ่ม เป็นเงิน 200,000 บาท ได้จัดเวทีประชาคมและมีมติเลี้ยงเป็ดไข่ (พันธุ์กากีแคมเบล) ได้ซื้อเป็ดสาวพร้อมที่จะออกไข่จำนวน 1,000 ตัว เป็นเงิน 150,000 บาท ที่เหลืออีก 50,000 บาท เป็นค่าวัสดุและอาหาร เช่น แผงไข่ มุ้งเขียว ข้าวเปลือก อาหารสำเร็จรูป

ได้เริ่มเลี้ยงเมื่อเดือนธันวาคม 2560 ระยะแรกปล่อยเลี้ยงไล่ทุ่งให้หากินอาหารในทุ่งนา สลับกับการจำกัดบริเวณในคอก เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวแล้วจะนำไปเลี้ยงในทุ่งนา และให้อาหารเสริมบ้าง เช่น อาหารสำเร็จรูปผสมข้าวเปลือก หยวกกล้วย ฯลฯ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ส่วนผลผลิตไข่เริ่มให้ผลผลิตมากขึ้นเรื่อยๆ ระยะแรกวันละ 600 ฟอง ต่อมาเพิ่มเป็น 700 ฟอง ปัจจุบันวันละ 700-800 ฟอง หรือเดือนละประมาณ 20,000 ฟอง ราคาขายไข่สด แผงละ 100 บาท (30 ฟอง)

หลังจากได้ผลผลิตแล้ว ได้ปรึกษาหารือกันมาทำไข่เค็มเพื่อเพิ่มมูลค่า และนำเอาใบเตยมาเป็นส่วนผสมในการทำปรากฏว่า ได้กลิ่นหอม ดับกลิ่นคาวได้ดีมาก เมื่อนำออกจำหน่ายปรากฏว่าได้รับความสนใจจากลูกค้าเป็นอย่างมาก จากขายภายในชุมชน ปัจจุบันเริ่มมีลูกค้านอกชุมชนสั่งซื้อมากขึ้น จากขายไข่สด แผงละ 100 บาท เมื่อทำเป็นไข่เค็ม ขายแผงละ 200 บาท คือเพิ่มขึ้นถึงเท่าตัวเลยทีเดียว สำหรับส่วนผสมและวิธีทำมีดังนี้ ขั้นตอนการทำ

ล้างไข่เป็ดให้สะอาด นำไปผึ่งให้แห้ง
นำดินสอพอง เกลือ ใบเตยที่บดแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน
นำไข่เป็ดลงไปคลุกทั่วทั้งผิวของเปลือกไข่ นำไปผึ่งพอหมาด แล้วนำไปคลุกแกลบดำ (พอกทับอีกชั้นหนึ่ง)
นำไปวางไว้ในภาชนะ เช่น โอ่ง กะละมัง ฯลฯ แล้วคลุมด้วยพลาสติกให้มิดชิด ไม่ให้ความชื้นออกมาได้
ปล่อยทิ้งไว้ 7-10 วัน หากต้องการจะนำไปทอดเป็นไข่ดาว ก็ล้างให้สะอาด แล้วนำไปทอดเป็นไข่ดาว ไม่เค็มจัด รสชาติกำลังดี
จะเป็นไข่เค็มเมื่ออายุ 20 วัน นำไปล้างน้ำให้สะอาดต้มให้สุก เก็บในอุณหภูมิปกติได้นาน 1 เดือน หรือหากเก็บตู้เย็นจะได้นาน 2-3 เดือน
บรรจุหีบห่อ ส่งขายตามที่ต่างๆ เช่น ในชุมชน ออกขายตามงานต่างๆ

ปัจจุบันผลิตไข่เค็มเดือนละประมาณ 20,000 ฟอง ราคาขายไข่เค็มแผงละ 200 บาท, แพ็กถุง 4 ฟอง 35 บาท, ชะลอม 8 ฟอง 100 บาท สามารถทำรายได้เข้ากลุ่มเดือนละกว่า 100,000 บาท

คุณทัศกานต์ บอกอีกว่า ไข่เค็มสมุนไพรใบเตยสูตรนี้จะได้เปลือกไข่ออกสีเขียวนิดๆ ไม่ขาวเหมือนไข่เค็มทั่วไป เนื่องจากสีของใบเตยนั่นเอง ซึ่งจะได้ไข่เค็มที่กลิ่นหอม ไม่คาว และจากการเลี้ยงเป็ดและนำไข่เป็ดมาทำเป็นไข่เค็มนั้น ทำให้สมาชิกมีรายได้เสริมจากการทำนา ทำสวน วันละ 200-300 บาท ต่อคน (หลังหักค่าใช้จ่าย) ในอนาคตจะขอมาตรฐาน อย. และขยายการผลิตมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ

คุณสมใจ ผลประสาท เกษตรอำเภอกันทรวิชัย กล่าวว่า อำเภอกันทรวิชัย ได้ประสบอุทกภัยจากพายุเซินกา เมื่อปี 2560 ทำให้น้ำท่วมพื้นที่การเกษตรเสียหาย 42,095 ไร่ เกษตรกร 4,547 ครัวเรือน ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ดำเนินโครงการ ๙๑๐๑ ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการฟื้นฟูอาชีพด้านการเกษตรแก่เกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย โดยให้เกษตรกรที่ประสบอุทกภัยดังกล่าวเสนอความต้องการฟื้นฟูอาชีพประเภทใดประเภทหนึ่งจาก 4 ประเภท ได้แก่ 1. การปลูกพืชอายุสั้น 2. การเลี้ยงสัตว์ (สัตว์ปีก, แมลงเศรษฐกิจ) 3. การผลิตอาหารแปรรูปและผลิตภัณฑ์ 4. การประมง วงเงินไม่เกินคนละ 5,000 บาท และดำเนินการในรูปกลุ่มโดยมีเกษตรกรร่วมโครงการจำนวน 71 กลุ่ม (71 โครงการ) เป็นเงิน 22,725,450 บาท (มี 1 กลุ่มที่อนุมัติ 4,950 บาท ต่อคน) และขณะนี้ได้สร้างรายได้แก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง อย่างเช่น กลุ่มผู้ผลิตไข่เค็มสมุนไพรใบเตยบ้านมะค่า เป็นต้น

ท่านที่เคารพครับ จะเห็นว่าการผลิตไข่เค็มสมุนไพรใบเตยนั้นเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่นำมาใช้ดับกลิ่นคาว ทำให้น่ารับประทานมากขึ้น เป็นจุดขายสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่กลุ่ม จนได้รับความสนใจจากลูกค้าเป็นอย่างมาก นับว่าเป็นตัวอย่างที่ดี ดังนั้น หากท่านใดสนใจจะแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับกลุ่ม ติดต่อ คุณทัศกานต์ คุณนิรันด์ ได้ตามเบอร์โทรศัพท์ที่ให้ไว้

การยางแห่งประเทศไทย ดึง TH-TYRE รุกตลาดยางล้อ ร่วมดีล 2 บ. เอกชน ดีสโตน และ ไทร์พลัส ขยายช่องทางการจำหน่ายและติดตั้งกว่า 300 สาขาทั่วประเทศ พร้อมขยายโปรดัคส์เพิ่มขึ้นครอบคลุมการใช้งาน กระตุ้นปริมาณการใช้ยางในประเทศ ภายใต้คอนเซ็ป “ยางคนไทย บริษัทคนไทย เพื่อคนไทย”
นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยด้านอุตสาหกรรมยางและการผลิตยาง กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของโครงการยางล้อประชารัฐ เกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการผลิตยางล้อภายใต้แบรนด์ “TH-TYRE”

มีเป้าหมายในการส่งเสริมและเพิ่มปริมาณการใช้ยางในประเทศ โดยร่วมมือกับ บริษัท ดีสโตน จำกัด ผลิตยางล้อรถยนต์ที่มีมาตรฐานระดับสากล โดยใช้วัตถุดิบคุณภาพดีจากเกษตรกรชาวสวนยางในประเทศ ที่ผ่านมายาง TH-TYRE ได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้บริโภคมากขึ้น กยท. จึงร่วมมือกับ บริษัท TYREPLUS นำยางล้อ TH-TYRE วางจำหน่ายในสาขาต่างๆของ TYREPLUS กว่า 300 สาขาทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มช่องการจำหน่ายและติดตั้งให้สะดวกมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ กยท. ยังเพิ่มชนิดของยางล้อ TH-TYRE ให้มากขึ้นจากเดิม 5 ขนาด เป็น 15 ขนาด ครอบคลุมทั้งรถยนต์ 4 ที่นั่ง รถกระบะ และรถเอนกประสงค์ (SUV) เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคที่มีความหลากหลาย

“ยาง TH-TYRE เป็นสินค้าที่เกิดจากการบูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วน ทั้งในส่วนของภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันเกษตรกร ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา เพิ่มปริมาณการใช้ยางในประเทศให้มากขึ้น ภายใต้คอนเซ็ป ยางคนไทย บริษัทคนไทย เพื่อคนไทย” นายณกรณ์กล่าวทิ้งท้าย

กรมส่งเสริมสหกรณ์ร่วมมือสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระฯ และนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำผลจากการวิจัยเพื่อศึกษาแนวทางการรวมกลุ่มอย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริ ลงพื้นที่ถ่ายทอดความรู้ขั้นตอนการสร้างความเข้มแข็งให้กับสหกรณ์ในพื้นที่ต่างๆ เริ่มจากสหกรณ์ในพื้นที่โครงการพระราชดำริเป็นอันดับแรก หวังยกระดับสหกรณ์ให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ทำการวิจัยเพื่อศึกษาแนวทางการรวมกลุ่มอย่างยั่งยืน ตามแนวพระราชดำริ ซึ่งผลของงานวิจัยดังกล่าวได้ชี้ให้เห็นว่า กระบวนการพัฒนากลุ่มชุมชนให้ประสบความสำเร็จ ต้องพัฒนาใน 3 ขั้นตอน คือจากระดับครัวเรือน สู่ชุมชน และสู่สังคมภายนอก ซึ่งการพัฒนาจากระดับครัวเรือนเข้าสู่ชุมชนเป็นก้าวที่สำคัญ เพราะหากครัวเรือนมีความเข้มแข็งแล้วรวมกลุ่มกันได้สำเร็จ

สังคมชนบท จะมั่นคงขึ้นได้อย่างรวดเร็ว จึงนำมาสู่งานวิจัยในขั้นถัดไป คือ เรื่องของการรวมกลุ่มในชุมชนให้เข้มแข็งยั่งยืน โดยสรุปเป็นผลการศึกษาสรุปเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนากลุ่มอย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริ ด้วยบันไดความสำเร็จ 7 ขั้น และกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้รับความร่วมมือจากสถาบันฯปิดทองหลังพระ นำงานวิจัยดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสหกรณ์ที่อยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ โดยจะเริ่มจากสหกรณ์ 126 แห่งในโครงการพระราชดำริต่าง ๆ เป็นกลุ่มแรก เพื่อให้สหกรณ์เป้าหมายได้ศึกษากระบวนการในการสร้างกลุ่มให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน พร้อมทั้งได้นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสหกรณ์ของตนเอง

ปัจจุบันสหกรณ์การเกษตรทั่วประเทศมีจำนวน 4,409 แห่ง จากจำนวนสหกรณ์ทั้งสิ้น 8,171 แห่ง และยังมีกลุ่มเกษตรกรอีก 4,924 แห่ง ซึ่งสหกรณ์การเกษตรที่อยู่ในระดับเข้มแข็งและมีความมั่นคงในการดำเนินงานมีประมาณ 24.57% สหกรณ์ที่อยู่ในระดับพอใช้มีประมาณ 55.19% ซึ่งยังต้องใช้องค์ความรู้ต่าง ๆ เข้าไปพัฒนาให้ก้าวหนาและเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น เนื่องจากสหกรณ์มีความเกี่ยวข้องกับสมาชิกถึง 12 ล้านคน มีปริมาณธุรกิจรวมแล้วมากกว่า 2.2 ล้านล้านบาท เชื่อมั่นว่าหากสหกรณ์มีความเข้มแข็งมากขึ้นเท่าไหร่ ระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศก็จะเข้มแข็งตามไปด้วย

นายประสิทธิ โอสถานนท์ ที่ปรึกษาสถาบันปิดทองหลังพระ ฯ เปิดเผยว่า ความร่วมมือนี้จะช่วยในการยกระดับสหกรณ์ นอกจากนี้ทางกรม ฯก็จะเข้ามาร่วมพัฒนาการร่วมกลุ่มในพื้นที่ปิดทองหลังพระฯ ลักษณะงานจะดำเนินอย่างเป็นขั้นตอน ได้แก่ การประเมินความเข้มแข็ง การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม การอบรม และการร่วมพัฒนา “ความร่วมมือกับกรมส่งเสริมสหกรณ์จะเป็นอีกก้าวหนึ่งของหน่วยงานรัฐที่นำแนวพระราชดำริเข้าไปใช้ในระบบ ตรงตามพระราชประสงค์ให้ประชาชนมีความก้าวหน้า มั่นคง”

สำหรับจุดเริ่มต้น สถาบันปิดทองหลังพระ ฯ กรมส่งเสริมสหกรณ์และวิทยาลัยนวัตกรรม ได้ร่วมกันจัดทำสื่อการเรียนรู้ขึ้น ประกอบด้วยคู่มือการรวมกลุ่ม โปสเตอร์ชุด และแอนิเมชั่นที่จะรับชมได้ที่

ผลงานวิจัยของนักวิจัยไทยอีกเรื่องหนึ่งที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ทั้งเกษตรกรรวมทั้งบุคคลทั่วไป ได้แก่ ผลงานวิจัยชื่อ “การสำรวจพรรณไม้ในวัดในกรุงเทพมหานคร” ซึ่งทำการสำรวจตั้งแต่ปี 2551-2552 และ “พรรณไม้เด่นในวัดในกรุงเทพมหานคร” ซึ่งทำการสำรวจระหว่างปี 2553-2555 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิชัย ปทุมชาติพัฒน์ หรือ อาจารย์วิชัย ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งท่านยังเป็นอาจารย์ประจำอยู่ที่สถาบันดังกล่าวด้วย ในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

นอกจากนี้ อาจารย์วิชัยได้จัดทำงานวิจัยขึ้นโดยได้รับการพระบรมราชานุเคราะห์จัดพิมพ์งานวิจัยขึ้น เพื่อสนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้ อาจารย์วิชัยได้ทำการสำรวจพรรณไม้ในวัดในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 238 วัด โดยใช้ชื่อเอกสารเผยแพร่ว่า “หลากหลายพรรณไม้ในวัดในกรุงเทพมหานคร”

ผู้เขียนได้มีโอกาสไปพบปะพูดคุยขอความรู้กับอาจารย์วิชัย ซึ่งก็ได้รับความเมตตาจากท่านเล่าให้ฟังว่า ด้วยความที่ท่านชอบศึกษาเรื่องต้นไม้มาตั้งแต่เด็ก ทำให้ท่านมีข้อมูลเรื่องพันธุ์ไม้ต่างๆ และเมื่อเห็นก็บอกได้ทันทีว่า ต้นไม้ต้นนี้คือต้นอะไร ซึ่งแรงบันดาลใจที่ผลิตงานวิจัยชิ้นนี้ขึ้นมาก็เพราะความชอบส่วนตัว ประกอบกับมองว่า ต้นไม้ในวัดต่างๆ ยังไม่เคยมีใครรวบรวมว่ามีพันธุ์ไม้อะไรบ้าง

“วันหนึ่งผมได้มีโอกาสไปร่วมปฏิบัติธรรมที่วัดปัญญานันทาราม ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ก็พบหลวงพี่ซึ่งมีหน้าที่วิทยากรนำชมบริเวณวัดเพื่อศึกษาคำคม คำพังเพย และ สุภาษิตต่างๆ ที่ทางวัดและหน่วยงานนำมาติดไว้ เห็นว่าผมทราบเรื่องต้นไม้ในวัด คือมองไปทางไหนผมก็บอกได้ว่าต้นอะไร และมีสมาชิกสูงวัยท่านหนึ่งแนะนำว่า ให้รวบรวมชื่อต้นไม้ถวายวัด เพื่อใช้ตอบผู้เข้าเยี่ยมชม จึงเป็นคำพูดที่จุดประกายให้ทำงานวิจัยสำรวจพรรณไม้ในวัดขึ้นมา” อาจารย์วิชัย เล่าให้ฟัง

นับเป็นความสามารถบวกกับพรสวรรค์ของอาจารย์วิชัยที่มีมาตั้งแต่เยาว์วัย และนับเป็นบุคลากรที่หายากในประเทศไทยที่จะทราบเรื่องต้นไม้เกือบทุกสายพันธุ์ด้วยการดูด้วยตาเปล่า

สำหรับเนื้อหาในงานวิจัยนั้นระบุว่า วัดในกรุงเทพมหานครมีจำนวนมากถึง 433 วัด ทุกวัดต่างก็ปลูกต้นไม้ไว้ในบริเวณวัดไม่มากก็น้อย ขึ้นอยู่กับพื้นที่และวัตถุประสงค์ในการเลือกปลูกพรรณไม้ที่คล้ายกัน เช่น พรรณไม้เกี่ยวกับพุทธประวัติ พรรณไม้สมุนไพร พรรณไม้มงคล พรรณไม้ในวรรณคดี พรรณไม้หอม พรรณไม้ให้ร่มเงา พรรณไม้ที่ให้ความสวยงาม และพรรณไม้ที่เป็นผักผลไม้ เป็นต้น

ส่วนพรรณไม้ที่นำมาปลูกในวัดก็แตกต่างกัน โดยอาจารย์วิชัยระบุว่า ความแตกต่างนี้ทำให้หลายๆ วัดเป็นแหล่งสะสมพรรณไม้หลากหลายชนิด ซึ่งพรรณไม้ที่ทางวัดดูแลเอาใจใส่ในการบำรุงรักษาเป็นอย่างดี ก็จะเจริญเติบโตได้ดีอยู่ในสภาพที่สวยงาม มีนกกาและสัตว์ต่างๆ มาอาศัยอยู่จำนวนมาก จนทำให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติได้

ขณะเดียวกัน ยังมีพรรณไม้ที่พบในวัดจำนวน 100 วัด ในกรุงเทพมหานครที่เป็นพรรณไม้ต้น (tree) จำนวนมากถึง 277 ชนิด จากทั้งหมด 64 วงศ์ พรรณไม้ที่สำรวจพบบางชนิดเป็นพืชหายากและพบเพียงต้นเดียวใน 100 วัด!

นับเป็นข้อมูลที่มีค่ามากสำหรับประเทศไทย ในฐานะที่เป็นเมืองแห่งพุทธศาสนาสืบทอดกันมาช้านาน ผลงานวิจัยของอาจารย์วิชัยจึงเป็นมรดกตกทอดให้รุ่นลูกรุ่นหลานสืบต่อไป

ข้อมูลจากงานวิจัยยังพบว่า ผลการสำรวจพรรณไม้เด่นในวัดในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 238 วัด แบ่งตามเขตการปกครองได้ 33 เขต พบพรรณไม้เด่น (outstanding plants) จำนวน 162 ชนิด โดยมีพืชหายาก (rare plant) ตามประกาศของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช 9 ชนิด ได้แก่ กฤษณา ขยัน (หญ้านางแดง) คำมอกหลวง จำปีสิรินธร ใบสีทอง มหาพรหม สะตือ อรพิม และอโศกศรียะลา

นอกจากนี้ ยังมีพรรณไม้เด่นหลายชนิด ที่แม้ไม่ได้เป็นพืชหายากแต่ก็หาดูได้ยาก และพบอยู่เพียงวัดเดียว ซึ่งมีมากถึง 49 ชนิด ได้แก่ กระบก, กระบาก, การบูร, กระท่อม, กล้วยเทพนมไข่ดาว, คนทีเขมา, เจ้าหญิงสีชมพู, แจง, แฉลบแดง, ชิงชี่, ช้าแป้น, ดอกคำใต้, ตีนเป็ด, ฝรั่ง, ตะคร้อหนาม, ตะคร้ำ, ถ่อน, น้อยโหน่ง, น้ำเต้าญี่ปุ่น, ผลมหัศจรรย์, ฝาง, ฝีหมอบ, พญามูลเหล็ก, พวงประดิษฐ์, พันจำ, มะกอกเกลื้อน, มะเกลือเลือด, มะค่าโมง, มะแพร้ว, มะริด, เม่าหลวง, ย่านาง, รามใหญ่, รักซ้อน, รัง, ลำพูป่า, เหรียง, อโศกระย้า, อโศกอินเดียใบเล็ก และเอกมหาชัย

ส่วนที่เหลือแม้จะเป็นพรรณไม้ที่พบในหลายวัดแต่ก็เป็นไม้เด่นที่มีค่าไม่น้อยไปกว่ากลุ่มแรกๆ ที่กล่าวมาแล้ว เช่น รวงผึ้ง จากวัดมกุฎกษัตริยาราม กับวัดวิมุตยาราม รัตนพฤกษ์ จากวัดนาคปรก และวัดบางปะกอก เป็นต้น