พร้อมจัดเวทีเสวนาอนาคตทิศทาง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

สวนยางพาราจังหวัดบึงกาฬ เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นและสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยดำเนินงานตั้งแต่ปีงบประมาณ 2560 ที่ผ่านมา หวังให้เกษตรกรร้อยละ 10 ของครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราทั้งหมดหันมาผลิตน้ำยางสด และจำหน่ายผ่านกระบวนการของสหกรณ์ เพื่อรองรับโรงงานแปรรูปยางพาราที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ จ.บึงกาฬประมาณกลางปี 2561

สอดรับกับ นายนิพนธ์ คนขยัน นายก อบจ.บึงกาฬ และที่ปรึกษาชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดบึงกาฬ ที่กล่าวว่า สิ่งสำคัญของน้ำยางสดคือ ปลอดสารพิษ ลดอุบัติเหตุบนท้องถนน มลภาวะเป็นพิษน้อยลง และไม่มีสารพิษตกค้าง

ด้านผลิตภัณฑ์หมอนยางพาราของชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางพาราจังหวัดบึงกาฬนั้น เมื่อวันที่ 17 มกราคมที่ผ่านมา ถือเป็นวันแรกที่จัดจำหน่าย ซึ่งนำมาขายใน “งานวันยางพาราและกาชาดบึงกาฬ 2561” จำนวนกว่า 10,000 ใบ ในราคา 360 บาทเท่านั้น ส่วนเรื่องการวิจัยกว่าจะได้ “หมอนยางพารา” มาใช้นั้น นายนิพนธ์กล่าวว่า มี อ.นพรัตน์ วิชิตชลชัย เป็นผู้จัดทำอยู่แล้ว เพียงแต่ติดขัดเรื่อง “เงิน” สำหรับใช้หมุนเวียน ตลอดจนการดำเนินการด้วย

“ผลิตภัณฑ์ตอนนี้มีแค่หมอน ในอนาคตถ้ารัฐบาลจัดสรรงบประมาณลงมา เราจะมีที่นอนด้วย ซึ่งเรื่องเงินเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะถ้าไม่มีทุนก็เดินไม่ได้ การแก้ปัญหาที่ยั่งยืน คือต้องแก้ตรงนี้ รัฐบาลต้องให้เงินสนับสนุนเกษตรกร โดยการนำยางไปแปรรูปเพิ่มมูลค่า หากชดเชยไร่ละ 10,00 บาท อย่างที่รัฐบาลในอดีตเคยทำ วันนี้ก็ยังเหมือนเดิม เพราะเงินที่ให้ไปไม่นานก็หมดแล้ว” นายนิพนธ์กล่าว

นายนิพนธ์กล่าวทิ้งท้ายว่า ขอฝากถึงรัฐบาลว่าต้องทำทุกอย่างเพื่อระบายยางออกไปให้มากที่สุด ส่วนที่ท่านสุธี มากบุญ รมช.มหาดไทย เสนอแนะเรื่องงบประมาณสนับสนุน โดยให้ทุกภาคส่วน ตั้งแต่รัฐบาลไปจนถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

“ผมเข้าใจ แต่วันนี้เรื่องปัญหายางพาราก็ต้องแก้ไขเช่นกัน” แหล่งข่าวจากธุรกิจไม้ยางพารา เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ธุรกิจไม้ยางพาราราคาได้ขยับลงจาก 2.30-2.40 บาท/กิโลกรัม ในช่วงเดือนตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม 2560 มาอยู่ที่ 1.70-1.80 บาท/กิโลกรัม ในช่วงเดือนมกราคม 2561 ทำให้ผู้ซื้อไม้ยางพารา ที่ก่อนหน้านี้ได้มาแข่งขันกันซื้อไม้ยางพาราในราคาสูง ก็ต้องถอนตัวโดยปล่อยให้เจ้าของสวนยางพาราริบมัดจำที่วางไว้ เพราะหากโค่นไปก็จะประสบกับภาวะขาดทุนมาก

ด้านนายวาฮับ ช่วยพริก ทำธุรกิจไม้ยางพารา อ.ตะโหมด จ.พัทลุง กล่าวว่า จากราคาไม้ยางที่ปรับลงในช่วงต้นปี ทำให้พ่อค้าไม้ยางในกลุ่มตนต้องยอมทิ้งเงินมัดจำไปหลายราย โดยและแต่ละรายมัดจำเอาไว้ประมาณ 5,000 บาท และ 10,000 บาท / แปลง ขณะที่ตนเองนั้น ได้ซื้อไม้ยางพาราเมื่อปลายปี 2560 หากโค่นก็จะได้ราคา แต่ไม่สามารถโค่นได้เนื่องจากฝนตกหนัก และ น้ำท่วมหลายครั้ง จึงคาดว่าต้นปี 2561 ราคาจะขยับขึ้นอีก เพราะราคาจะขยับสูงขึ้นทุกปี แต่ปี 2561 กลับสวนทาง ราคาขยับลง ทำให้ผู้ค้าไม้ยางพาราประสบกับภาวะขาดทุน โดยขาดทุน 60 สตางค์/กิโลกรัม จึงยอมให้ริบมัดจำไปหลายรายทั้งภาคใต้

นายกฤษฎา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้เรียกนายวิวัฒน์ ศัลยกำธร และนายลักษณ์ วจนานวัช รมช.เกษตรและสหกรณ์ ทั้ง 2 คน เข้าหารือเพื่อติดตามงานในช่วง 2 เดือนหลังเข้ารับตำแหน่ง และได้สอบถามถึงการติดตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี และได้สั่งการงานที่จะเดินหน้าจากนี้ต่อไปว่า ต้องดำเนินการในเรื่องที่กระทบปากท้องชาวบ้าน ทั้งเรื่องของราคาหมู ไข่ไก่ ยางพารา เป็นต้น เพราะเรื่องปากท้องชาวบ้านเป็นเรื่องเร่งด่วนที่กระทรวงเกษตรฯต้องเร่งจัดการ

ส่วนงบประมาณรายจ่ายกลางปีจำนวน 150,000 ล้านบาท กระทรวงเกษตรฯ ได้งบประมาณ 30,000 ล้านบาท แต่นายกฯ ได้ออกหลัก 9 ประการ และระบุว่าให้กระทรวงมหาดไทยเป็นคนรับผิดชอบประสานงานกับเจ้าหน้าที่จากทุกกระทรวง โดยมีการสำรวจความต้องการของประชาชน ในส่วนของเกษตรฯ รับผิดชอบดูว่าเงิน 30,000 ล้านบาท ทำแผนอะไรบ้าง แต่ยืนยันไม่มีการแบ่งเงินจำนวน 15,000 ล้านบาท ไปดูแลชาวสวนหรือมุ่งไปดูแลราคายางพาราแต่อย่างใด เพราะรายละเอียด กระทรวงฯ ยังต้องหารือกันก่อน

สำหรับเรื่องยางพาราที่ครม. มีมมีติแก้ไขปัญหายางพาราตกต่ำแล้ว ก็ให้ติดตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ดำเนินการรอะไรไปแล้วบ้าง ถึงไหนแล้ว อาทิ มาตราการหยุดกรีดยางของรัฐ หน่วยไหนแจ้งปริมาณการใช้ยางมาแล้วบ้าง ซึ่งปัจจุบันมีหน่วยงานที่แจ้งความต้องการมาแล้ว ได้แก่ กรมทางหลวง กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงเกษตรฯ โดยข้อมูลแจ้งมาในขั้นต้น มีความต้องการน้ำยางข้น 38,000 ตัน และน้ำยางสด 70,000 ตัน

“ตอนนี้ภาครัฐมีมาตราการชะลอการส่งออก 3 เดือน และหยุดกรีดยาง เพื่อทำให้ปริมาณยางพาราในตลาดลดลง ไทยเป็นประเทศที่ส่งออกและผลิตยางพารามากที่สุด เมื่อไทยตัดสินใจลดการส่งออกยาง อีก 2 ประเทศ คือ ประเทศ มาเลเซีย ประเทศอินโดนีเซีย ก็ลดตามด้วย ปัจจุบันไทยส่งยางออกน้อยในช่วง 3 เดือนนี้ ซึ่งทำให้เมื่อส่งขายได้ราคาดีมากเพราะปริมาณยางในตลาดโลกลดลง หากการลดปริมาณการส่งออกยางพาราของไทย ส่งผลให้ผู้ส่งออกได้รับผลกระทบ ไม่มียางส่งมอบ ต้องไปซื้อยางในต่างประเทศ เรื่องนี้ยืนยันชาวสวนไม่เสียประโยชน์ เพราะราคายางปรับเพิ่มขึ้นในตลาดโลก ก็จะดันราคายางพาราให้ประเทศไทยให้สูงขึ้นได้

สำหรับข้อสั่งการนายกฯ เพื่อให้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ ไปสู่การปฎิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน เพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศไทยสู่ความยั่งยืน ทั้งหมด 9 ประการ ได้แก่ 1.คนไทยรักกัน ด้วยการสร้างความสามัคคีกัน โดยจัดให้มีการทำสัญญาประชาคมหรือหลักเกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายเพื่อรับรู้และปฎิบัติตามร่วมกัน 2.คนไทยไม่ทิ้งกัน ด้วยการดูแลผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะผู้ที่ลงทะเบียนโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ 3.เมืองไทยน่าอยู่ ด้านการพัฒนาความเป็นอยู่ อาชีพ และรายได้ให้แก่ประชาชน

4.วิถีไทยพอเพียง ด้วยการส่งเสริมให้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน รวมทั้งเสริมสร้างวินัยการออมในทุกช่วงวัย 5.รู้สิทธิ รู้หน้าที่ ด้วยการให้ความรแก่ประชาชนในเรื่องสิทธิ หน้าที่ และการเป็นพลเมืองที่ดี 6.รู้กลไกการบริหารข้าราชการ ด้วยการให้ความรู้แก่ประชาชน ทั้งเรื่องกลไกการบริหารราชการแผ่นดินแต่ละระดับ และการบริหารงบประมาณที่ให้ประโยชน์แก่ประชาชน 7.รู้จักประชาธิปไตย ด้วยการให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาล 8.รู้เท่าทันเทคโนโลยี ด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี ให้ความสำคัญต่อการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องผ่านโครงการสำคัญ อาทิ เน็ตหมู่บ้าน เป็นต้น และ 9. บูรณาการการดำเนินงานของทุกภาคส่วนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างครบวงจร

เมื่อพูดกันถึงเรื่องผักปลอดสารพิษ ผมก็นึกถึงเรื่องเมื่อเกือบสิบปีก่อน ที่ผมเคยไปนอนค้างบ้านอา น้องชายของพ่อ ที่จังหวัดภูเก็ต มาหนึ่งคืน

บ้านอาผู้ชายอยู่บนเนินเขานอกเมือง อากาศดีมากครับ มีเนื้อที่หลายไร่ อาผู้หญิงปลูกต้นไม้ไว้เต็มพื้นที่ไปหมด พอรุ่งเช้า ผมเห็นอาผู้หญิงไปเก็บยอดผักสารพัดชนิดจากในไร่มาคัดแยก เตรียมส่งฝากแม่ค้าขายในตลาดสด มีทั้งใบเหมียง ยอดหมุยอวบๆ งามๆ ชนิดที่ถ้าผมไปเห็นโดยบังเอิญที่ตลาด ผมต้องคิดว่าเป็น “ผักฉีดยา” แน่ๆ แต่ในความเป็นจริงก็คือไร่เนินเขาแห่งนั้นไม่เคยใช้ยาฉีดพ่นใดๆ เลย

มันทำให้ผมนึกถึงความสำคัญของการพูดคุยถามไถ่แม่ค้า พ่อค้า ถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่เห็นอยู่ต่อหน้า เพราะหากว่าความไว้วางใจ ความเชื่อถือ และความจริงใจระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เมื่อสถาปนาขึ้นได้ที่ไหน เมื่อใด โอกาสที่จะได้สานต่อเครือข่ายผักปลอดภัยก็นับว่าเริ่มต้นนับหนึ่งขึ้นแล้ว ณ ที่นั้น

ผมคิดว่าเรายิ่งต้องคิดถึงเรื่องประเด็นนี้ ในฐานะทางเลือกของผู้บริโภคมากขึ้นอีก หลังจากมีรายงานการตรวจพบสารพิษตกค้างในผัก ผลไม้ ปี 2560 โดยเครือข่าย Thai – PAN ที่ได้สรุปรายงานมาให้เห็นคร่าวๆ ในคราวก่อนนะครับ ว่าได้พบสารพิษปนเปื้อนในผักตลาดสูงเกินมาตรฐานถึง 64% ในผักพื้นบ้านยอดนิยม 43% และในผลไม้ 33% ชนิดที่มีความเสี่ยงสูง คือถั่วฝักยาว คะน้า กะเพรา ใบบัวบก พริกแดง องุ่น และแก้วมังกร

ความน่ากลัวของข้อมูลในปี 2560 นี้ก็คือ พบสารพิษตกค้างทั้งหมด 76 ชนิด และยังมีสารพิษต้องห้าม (ซึ่งตามหลัก “จะต้องไม่พบ”) ถึง 2 ชนิด ใน 10 ตัวอย่าง ที่สุ่มตรวจทีเดียว โดยเฉพาะการพบคาร์โบฟูแรนถึง 8 ตัวอย่าง นั้น นับว่าเป็นอัตราเสี่ยงที่ค่อนข้างอันตรายมาก

ส่วนสารไซเปอร์เมตริน พบกระจายอยู่ในหลายตัวอย่าง ดังนั้น เมื่อมีคำถามในช่วงท้ายของการแถลงผลตรวจ ที่มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค กรุงเทพฯ เมื่อวันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา หนึ่งในผู้ประสานงาน Thai – PAN จึงตอบได้ทันทีว่า ความเชื่อเก่าที่ว่า การกินผักให้หลากหลายเพื่อหลีกเลี่ยงสารพิษนั้น แน่ชัดว่าไม่ใช่ทางออกที่ปลอดภัยเสียแล้ว คือถึงจะกินหลากหลายยังไงก็เลี่ยงไม่พ้นอยู่ดี

“ที่สำคัญคือพบสารพิษถึง 17 ชนิด ที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน ส่วนใหญ่เป็นสารประเภทที่พืชดูดซึมเข้าไป เพราะฉะนั้นการล้างผักจึงแทบไม่ช่วยอะไรเรื่องนี้เลย” กิ่งกร กล่าวสรุป

ดังนั้น นอกจากผู้บริโภคจะตระหนักในข้อมูลว่า ควรเน้นกินผัก ผลไม้ ซึ่งไม่พบสารตกค้าง อันได้แก่ กะหล่ำปลี กระชาย สายบัว ใบเหลียง ผักหวานป่า สับปะรด มะพร้าวน้ำหอม แล้ว ยังจะต้องเร่งสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการเลือกซื้อ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่ร่างกายจะได้รับสารพิษตกค้างให้มากที่สุด นั่นก็คือพยายามเลือกซื้อเลือกกินสิ่งที่ “รู้ที่มาที่ไป” อย่างเช่นที่ผมยกตัวอย่างผักปลูกจากไร่อาผู้หญิงของผมที่ภูเก็ตนั่นแหละครับ

เวลาซื้อผัก เดี๋ยวนี้ผมก็อดไม่ได้ที่จะลองถามว่า ผักบุ้งหน้าตาบ้านๆ ผักกาดขาวท่าทางแกร็นๆ กำนี้ กองนี้ มาจากไหน ยิ่งถ้าเป็นร้านผักเล็กๆ บางครั้งเราอาจทึ่งว่า เขาปลูกของเขาเอง ลองคุยกันไปเรื่อยๆ เถิดครับ สักพักก็จะพอรู้เลาๆ ว่า ไปตลาดคราวหน้า จะซื้อผักอะไรจากร้านไหนดี

และเรื่องสำคัญ ซึ่งคนมักไม่ตระหนัก เนื่องจากเราต่างเติบโตขึ้นมาในช่วงที่การปลูกผักแปลงขนาดใหญ่แพร่หลายแล้ว ก็คือ “ฤดูกาล” ของผักแต่ละชนิดนั้นมีความต่างกัน

แต่ก่อน พืชผักมีฤดูกาล คนรุ่นพ่อรุ่นแม่จะรู้ว่าหน้านี้มีผักชนิดนี้ให้กิน พอหมดหน้า ก็จะมีอีกชนิดแตกดอกออกใบให้กินทดแทนไปตามแต่ละช่วงของปี ต่างจากปัจจุบัน ซึ่งผักแทบทุกชนิดมีให้กินตลอดทั้งปี จากการแก้ไขปัญหาด้วยเทคนิคเกษตรอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่พึ่งพาปุ๋ยเคมีและสารกำจัดศัตรูพืชใน ปริมาณมาก

อย่างไรก็ดี ฤดูกาลของพืชผักแต่ละชนิดยังเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้อยู่นะครับ การที่ผักชนิดหนึ่งๆ ถูกบังคับให้เติบโตและให้ผลผลิตนอกช่วงชีวิตของมัน (หรือบางกรณีคือนอกภูมิประเทศที่มันคุ้นเคย) ผลก็คือความอ่อนแอต่อโรคพืช ซึ่งก็ทำให้ต้อง “อัด” ทั้งปุ๋ยและยา ฉีดหนักขึ้น เพื่อพยุงชีวิตนอกฤดูของมันไว้ ดังมีรายงานหลายชิ้นระบุถึงปริมาณสารเคมีที่ใช้กับผักที่มีชีวิตในฤดูหนาว ว่าพบน้อยกว่าฤดูอื่นๆ หรือกระทั่งผักนำเข้าจากจีน ที่ปัจจุบันพบเห็นมากขึ้นตามตลาดสดนั้น ก็พบว่ามีสารตกค้างไม่มาก เนื่องจากปลูกในสภาวะอากาศหนาวเย็นตามชีวิตปกติของผักนั้นๆ ทำให้มันมีความแข็งแรงอยู่แล้ว

การผลิตที่ไม่ตรงตามฤดูกาลจึงส่งผลในการเพิ่มความเสี่ยงต่อการกินอยู่อย่างมีคุณภาพของมนุษย์โดยตรง และเมื่อเรื่องนี้พูดกันไปไกลถึงประเด็นฤดูกาล ก็ย่อมโยงใยมาถึงการ “เก็บกิน” พืชผักตามป่าและพื้นที่รกร้างข้างทาง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ไม่ค่อยแพร่หลายนักในเมืองไทย แต่ผมก็คิดว่า ในอนาคตอันใกล้ ถ้าข้อมูลข่าวสารเรื่องสารพิษตกค้างจะสร้างความหวาดกลัวให้เกิดกับผู้บริโภคบ้าง มันก็คงจะส่องสะท้อนไปให้เห็นภาพทางออกทางเลือกชัดขึ้นกว่าแต่ก่อนนะครับ

ทั้งการเลือกซื้อ การกินตามฤดูกาล และกิจกรรมการเก็บกินอย่างเป็นระบบ มีคุณภาพ และปลอดภัย ส่วนข้อเสนอของ Thai – PAN ต่อกรณีเร่งด่วนเฉพาะหน้านี้ มีตั้งแต่เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกการใช้สารพาราควอต ตามมติของกระทรวงสาธารณสุข, ส่งเสริมความเป็นไปได้ในการสร้างระบบเฝ้าระวังที่เชื่อมกันเป็นเครือข่าย, กำหนดให้มีมาตรการจัดการทางกฎหมายกับสินค้าที่จงใจทำให้ไม่ได้มาตรฐาน, ทำวิจัยเพื่อประเมินตัวเลขความเสี่ยงของสารพิษแต่ละชนิด ที่จะส่งผลต่อสุขภาพของร่างกายอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน

รวมทั้งเสนอให้มีโครงการผลิต “ชุด Kit” สำหรับทดสอบสารพิษเบื้องต้นแบบง่ายๆ สำหรับใช้ในครัวเรือนทั่วไปโดยเร็ว เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถดำเนินการตรวจสอบได้ด้วยตนเอง

เรื่องนี้คงต้องรณรงค์กันต่อไป ส่วนเรา ในฐานะผู้บริโภค ก็คงต้องรอลุ้นกันว่า ผลตรวจผักปีหน้าของ Thai – PAN จะมีแนวโน้มออกมาอย่างไรนะครับ นายจอม ปัทมคันธิน ทายาทเจ้าของพิพิธภัณฑ์เปลือกหอย ที่หาดราไวย์ จังหวัดภูเก็ต เปิดเผยว่า เพื่อให้เยาวชนไทยได้มีโอกาสศึกษาเรียนรู้ และตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งมีชีวิตและความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้ร่วมมือกับภาคเอกชนและมหาวิทยาลัยเครือข่าย เปิดพื้นที่แหล่งเรียนรู้แก่เยาวชน โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีข้อจำกัดด้านภูมิศาสตร์ที่สามารถหาชมเปลือกหอยค่อนข้างยาก ภายใต้การจัดแสดงนิทรรศการ “เปลือกหอย” นับเป็นนิทรรศการการแสดงเปลือกหอยใหญ่ที่สุดในภาคอีสา จุดเด่นของนิทรรศการเปลือกหอย คือ ความสวยงามของเปลือกหอยทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น เปลือกหอยทะเล เปลือกหอยบก และเปลือกหอยน้ำจืด ซึ่งหอยในต่างประเทศไม่สวยงามเท่าบ้านเรา ด้วยเนื่องจากสภาพอากาศที่แตกต่าง จึงทำให้ชาวต่างชาติบินมาดูหอยที่ประเทศของเรา

ผศ.พงษ์รัตน์ ดำรงโรจน์วัฒนา ภาควิชาชีววิทยา เครือข่ายสถาบันการศึกษาจากมหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า หอยมีความเกี่ยวพันกับชีวิตมนุษย์มนุษย์ในหลายมิติ เช่น ด้านขนบธรรมเนียม ในพิธีมงคลสมรสมักมีการรดน้ำคู่บ่าวสาวด้วยหอยสังข์ ด้านประวัติศาสตร์สร้างผังเมืองโบราณด้วยเปลือกหอย ด้านภูมิศาสตร์ พยากรณ์การเปลี่ยนแปลงภาวะโลกร้อนด้วยหอย ด้านประชากรศาสตร์สามารถทราบถึงการเคลื่อนย้ายของถิ่นฐานมนุษย์ยุคก่อนตามบริเวณริมน้ำ ด้านเศรษฐศาสตร์ใช้เป็นเบี้ย แลกเปลี่ยนแทนเงินสมัยพ่อขุนรามคำแหง ด้านสาธารณสุข หอยบางชนิดเป็นยารักษาโรค และด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การวัดค่าน้ำเสีย ได้จากการดูจำนวนหอยบางชนิดในแม่น้ำนั้น นับว่าผูกพันกับชีวิตมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย

ดร.กรอร วงษ์กำแหง ภาควิชาสัตววิทยา เครือข่ายสถาบันการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึงสิ่งที่เกิดประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชนในการจัดแสดง การจัดนิทรรศการครั้งนี้ แสดงความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้เห็นว่าประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งไม่สามารถประเมินมูลค่าได้ แสดงถึงความมั่นคงและความอุดมสมบูรณ์ของชาติไทย นิทรรศการหอยจึงเปรียบเสมือนเครื่องมือในการเรียนรู้ที่ดีอย่างหนึ่ง ที่ช่วยให้เยาวชนเห็นคุณค่าเกิดการศึกษาสิ่งมีชีวิต เพื่อให้เข้าใจ เข้าใจ และพัฒนาทรัพยากรที่มีอยู่และใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า ทำให้ประเทศชาติ มีภาวะเข้มแข็ง ดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน

นิทรรศการเปลือกหอย สามารถรับชมได้แล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา” อาคารพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น เลขที่ 123 ริมบึงสีฐานฝั่งทิศตะวันตก ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002 หมายเลขติดต่อ 0-4300-9700 ต่อ 45596 หรือเว็บไซต์ http://rspg.kku.ac.th และ facebook: พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น สำหรับอัตราค่าเข้าชม เด็ก 10 บาท นักเรียน/นักศึกษา 20 บาทผู้ใหญ่ 40 บาท

ผู้สื่อข่าวพบว่า บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำลำพอก ต.ยาง อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ มีกลุ่มชาวบ้านประมาณ 10 คน เดินทางเหมารถกระบะ มาจากบ้านสำโรง ต.หนองเทพ อ.โนนนารายณ์ ระยะทางกว่า 30 กิโลเมตร เพื่อมาหาขุดหรือชาวอีสานเรียกว่า “มาหาขัวหอยขม” ที่มีอยู่เยอะตามทุ่งนาใกล้กับอ่างเก็บน้ำลำพอก ช่วงนี้น้ำกำลังลดลง เพราะใกล้หน้าแล้ง สร้างรายได้เสริมให้ชาวบ้านในช่วงนี้ได้เป็นอย่างดี

นาง จอม พรมอุ่น อายุ 39 ปี เลขที่ 48 บ้านสำโรง หมู่ 3 ต.หนองเทพ อ.โนนนารายณ์ เปิดเผยว่าว่า เดินทางมากับเพื่อนบ้านญาติพี่น้องกันนับสิบคน รวมเงินจ่ายค่าเหมารถกระบะคนละ 50 บาทรวมแล้วก็ 500 บาท เพื่อเดินทางมาขุดหอยขม หรือชาวบ้านเรียกว่า หาขัวหอยขม หรืองมหอยขม เมื่อได้แล้ว ก็จะนำไปขังไว้ในกะละมังหรือถัง เพื่อให้หอยขมคลายเศษสิ่งสกปรกออกจากตัว ก่อนจะนำไปล้าง และนำไปต้ม เพื่อใช้ประกอบอาหาร รับประทานในครัวเรือน ทั้งต้ม แกง อ่อม หรือผัด หากเหลือก็จะนำไปขาย

หอยขมช่วงนี้เป็นที่ต้องการของชาวบ้านมาก ช่วงนี้หาได้คนละ 20-30 กิโลกรัม นำมาใส่ถุง ถุงละหนึ่งกิโลกรัม ขาย 25 บาท ขายพอมีรายได้เสริม บางครั้งก็สร้างรายได้วันละ 200-400 บาท แล้วแต่จำนวนหอยที่หาได้ หอยขมหน้าแล้งจะมีแต่ตัวอ้วนๆ หอยขมที่ขัวได้จากใต้ดิน จะขังในถังหรือในกะละมังเก็บไว้ได้นาน

จากการเข้าร่วมงานมาตรการ เสริมแกร่ง เพิ่มทุน ครอบคลุมทุกกลุ่ม SMEs เมื่อวันที่ 22 ม.ค.2561 ณ อาคารสำนักงานใหญ่ SME Bank นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า สภาเกษตรกรฯ ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(SME Bank ) เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน รวมถึงเป็นตัวกลางประสานหน่วยงานต่างๆ ในการส่งเสริมเกษตรกรทั่วประเทศให้มีรายได้สูงขึ้น และเติบโตอย่างยั่งยืน

โดยพัฒนาเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ด้วยการยกระดับอาชีพจากการทำเกษตรแบบดั้งเดิมสู่การใช้ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อแปรรูปเพิ่มมูลค่าผลผลิต และตรงตามความต้องการของตลาด โดยกระทรวงอุตสาหกรรมสนับสนุนด้านความรู้ ขณะที่ SME Bank เติมเต็มด้านเงินทุน โดยนำร่องที่ อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง ซึ่งมีการส่งเสริมให้ปลูกไผ่ และต่อยอดด้วยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ถ่านเชื้อเพลิง ไผ่สำหรับใช้ในภาคอุตสาหกรรม เฟอร์นิเจอร์จากไม้ไผ่ และบ้านจากไม้ไผ่ เป็นต้น

ซึ่งแนวคิดดังกล่าวจะขยายผลไปทั่วประเทศ ตั้งเป้าว่าจะต้องเกิดผู้ประกอบการเอสเอ็มอีภาคเกษตรครอบคลุมอย่างน้อยทุกอำเภอทั่วประเทศ เกษตรกรนั้นมีแนวคิดเรื่องการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าตัวเองอยู่แล้ว แต่ส่วนใหญ่ติดขัดในเรื่องเงินทุน ซึ่งทาง SME Bank ยืนยันมีทุนเพียงพอและสามารถอุดหนุนได้ในวงเงิน 1 ล้านบาทต่อ 1 ผู้ประกอบการ โดยใช้ดอกเบี้ยเงินกู้เพียง 1% จัดเป็นสิทธิพิเศษมาก เบื้องต้นนั้นภายในปี 2561 คาดหวังจะผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนของเกษตรกรในแต่ละพื้นที่อย่างน้อยอำเภอละ 1 ผู้ประกอบการ 800 รายก่อน ปี 2562 ค่อยขยับขยายเป็นตำบลละ 1 ผู้ประกอบการ 8,000 รายต่อไป

เกษตรกรที่จะเข้าถึงแหล่งเงินทุนนั้นเป็นบุคคลธรรมดาหรือรวมกลุ่มกัน แต่ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทต่างๆก่อน เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัด , บริษัทจำกัด , กลุ่มเกษตรกร , สหกรณ์ ทาง SME Bank จะดูตัวโครงการ บุคลากร เงินทุน ผู้บริหารองค์กร ผู้บริหารโครงการเป็นหลัก หลักทรัพย์เป็นรอง เกษตรกรจึงโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากกว่า โดยเฉพาะภาวะแรกเริ่มธุรกิจ เพื่อนำสู่การส่งเสริมให้เกษตรกรเป็นเจ้าของบริษัทธุรกิจเกษตร

ทั้งนี้ สภาเกษตรกรแห่งชาติจะทำหนังสือถึงสภาเกษตรกรจังหวัดให้รับทราบเบื้องต้นก่อน จากนั้นจะลงพื้นที่ในจังหวัดเป้าหมาย เช่น ภาคเหนือจัดที่ จ.ลำปาง ภาคอีสาน จ.ขอนแก่นหรืออุดรธานี ภาคใต้ จ.นครศรีธรรมราช เป็นต้น เกษตรกรที่มีความพร้อมทำการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม มีนวัตกรรม พันธุกรรมท้องถิ่น ภูมิปัญญา แหล่งท่องเที่ยวสวยงาม ความรู้ต่างๆ ขอให้นำเรื่องเหล่านี้พูดคุยกับเครือข่ายของตนแล้วนำไปหารือกับสภาเกษตรกรจังหวัดได้ทุกจังหวัด เพื่อจะทำเป็นโครงการขึ้นมา เมื่อสภาเกษตรกรฯและเจ้าหน้าที่ SME Bank ลงพื้นที่สามารถนำเสนอโครงการ เมื่อผ่านทุกขั้นตอนก็จะสามารถอนุมัติวงเงินกู้ได้ทันที