พร้อมพันธมิตรจากหลายภาคส่วน ได้แก่ สภาสังคมสงเคราะห์

แห่งประเทศไทย พันเอก กฤตพันธ์ รักใคร่ ที่ปรึกษาศูนย์ “หนึ่งใจ…ช่วยเหลือเกษตรกร” มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ฯ และ รองผู้อำนวยการ สำนักงานสนับสนุน หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย โดย พลเอก ธงชัย สาระสุข ผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กรมพัฒนาที่ดิน

กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สถานีวิทยุ ม.ก. ธนาคารออมสิน มากกว่าการธนาคาร ธนาคารเพื่อสังคม บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด บริษัท อาร์เอ็กซ์ แมนูแฟคเจอร์ริ่ง จำกัด บริษัท ยูอาร์ซี (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท สตาร์เวลล์ บิซิเนส (1998) จำกัด และกลุ่มบริษัทในเครือสตาร์เวลล์ และกรุงเทพมหานคร ซึ่งต่างเป็นพันธมิตรผู้ให้การสนับสนุนกิจกรรมของ ศูนย์ “หนึ่งใจ…ช่วยเหลือเกษตรกร” มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ฯ อย่างต่อเนื่องด้วยดีตลอดมา

ร้อยตำรวจโท ดร.มนัส กล่าวว่า ภายใต้ร่มพระบารมี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 ด้วยทรงห่วงใยและทรงคำนึงถึงความอยู่ดีมีสุขของประชาชนเป็นสำคัญ พระองค์มีพระราชปณิธานแน่วแน่ที่จะทำให้ประเทศชาติมั่นคงและประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ด้วยมีพระราชประสงค์ที่จะสืบสาน รักษา และต่อยอดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และแนวพระราชดำริต่างๆ ในการบำบัดทุกข์และบำรุงสุขให้ประชาชนและพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงมีพระเมตตา พระราชทานโครงการจิตอาสา “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” ให้ประชาชนชาวไทย

โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ หน่วยราชการในพระองค์ ร่วมกับหน่วยราชการต่างๆ และประชาชน ทุกหมู่เหล่าที่มีจิตอาสา บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในพื้นที่ต่างๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ แก่พสกนิกรชาวไทยทุกภาคส่วน ซึ่งมูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ฯ ได้น้อมนำแนวทางการทำงานพระราชทานนี้ เป็นปณิธานในการปฏิบัติงานเพื่อพี่น้องประชาชนสืบไป ในโอกาสที่วันที่ 26 ธันวาคม 2560 เป็นโอกาสครบรอบ 13 ปี การถึงแก่อนิจกรรม ของ ร้อยตำรวจตรี คุณพุ่ม เจนเซน เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ด้วยเหตุสึนามิ มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ฯ จึงได้น้อมนำพระราชดำริ จัดโครงการ “มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ฯ รำลึก 13 ปี ร้อยตำรวจตรี คุณพุ่ม เจนเซน” โดยปฏิบัติตามแนวทางพระราชทานโครงการจิตอาสา “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” คือการจัดกิจกรรมจิตอาสาเพื่อสาธารณประโยชน์ ณ สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) ซึ่งเป็นที่ตั้งของมูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ฯ

สวนวชิรเบญจทัศ หรือที่ประชาชนรู้จักทั่วไปว่า สวนรถไฟ เดิมเป็นสนามกอล์ฟรถไฟ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) สร้างขึ้นตามมติของคณะรัฐมนตรีสมัย พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีมติให้สร้างสวนสาธารณะขึ้นในส่วนของพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อให้เป็นสาธารณประโยชน์แก่ประชาชนทั่วไป เป็นศูนย์กลางในการพักผ่อนหย่อนใจ เป็นสถานที่ออกกำลังกายของประชาชนทั่วไปและประชาชนในบริเวณใกล้เคียง โดย “สวนวชิรเบญจทัศ” เป็นชื่อพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพ พระชนมายุครบ 50 พรรษา ถือว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้

กิจกรรมจิตอาสาเพื่อสาธารณประโยชน์ ณ สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) ในโครงการ “มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ฯ รำลึก 13 ปี ร้อยตำรวจตรี คุณพุ่ม เจนเซน” นั้นจะเป็นการช่วยกันปลูกต้นไม้เพิ่มเติม การบำรุงดูแลต้นไม้ที่มีอยู่เดิมด้วยปุ๋ยหมักจากผักตบชวา ซึ่งศูนย์ “หนึ่งใจ…ช่วยเหลือเกษตรกร” มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ฯ ร่วมกับกรมพัฒนาที่ดิน กรมชลประทาน และหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา นำผักตบชวาที่เป็นวัชพืชมาผลิตปุ๋ยคุณภาพดี เพื่อใช้บำรุงต้นไม้ ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ย และช่วยกำจัดผักตบชวาอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งการดำเนินงานที่คณะทำงานของ ศูนย์ “หนึ่งใจ…ช่วยเหลือเกษตรกร” ได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ทุกภาคส่วนร่วมแรงร่วมใจกันจัดกิจกรรมครั้งนี้นั้น เป็นไปด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะทำความดีเพื่อสังคม เพื่อมอบสาธารณกุศลครั้งนี้ แด่ร้อยตำรวจตรี คุณพุ่ม เจนเซน ที่แม้จะจากไปนานถึง 13 ปีแล้ว แต่ร้อยตำรวจตรี คุณพุ่ม เจนเซน ยังเป็นที่ระลึกถึงและอยู่ในความทรงจำของประชาชนชาวไทยตลอดไป

ติดต่อประสานงาน รศ.ดร.จุรีย์รัตน์ ลีสมิทธิ์ (อาจารย์แมว) รักษาการ ผู้อำนวยการ ศูนย์ “หนึ่งใจ…ช่วยเหลือเกษตรกร” มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ฯ สำนักงาน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140 อีเมล molku@ku.ac.th

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ ที่จ.มหาสารคาม สภาพอากาศขมุกขมัว ท้องฟ้ายังคงไม่มีแสงแดด ประกอบกับมีลมหนาวพัดมา ทำให้อุณหภูมิยังคงหนาวเย็นอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อเวลา 07.00 น. วันนี้ อุณหภูมิอยู่ที่ 13.5 องศาเซลเซียส ซึ่งนอกจากคนจะต้องประสบกับภัยหนาวแล้ว สัตว์เลี้ยงอย่างแมว ก็ประสบกับภัยหนาวด้วยเช่นกันโดยแมวจำนวนกว่า 10 ตัว ต้องมานอนรวมกันภายในกระบะ เพื่อสร้างความอบอุ่นให้กับร่างกาย ซึ่งโดยปกติแล้วแมวจะรักสันโดษ แต่จากสภาพอากาศที่หนาวเย็น ทำให้เจ้าของต้องหาตะกร้าแมวมาปูรองพื้นกระเบื้อง และนำที่นอนแมวมาวาง จากนั้นบรรดาเจ้าแมว ก็จะมานอนรวมกัน เพื่อสร้างความอบอุ่น คลายความหนาวเย็น แมวบางตัวที่เบียดตัวเข้ามานอนกับเพื่อน ๆ ไม่ได้ ก็ต้องนอนนอกที่นอน บางตัวก็ขึ้นไปนอนบนกระติกน้ำร้อน เพื่อรับไออุ่นแทน

ศ.ดร.สัมพันธ์ ฤทธิเดช อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส) เปิดเผยถึงการอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “วัสดุแม่เหล็กและการประยุกต์ใช้” ที่บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (เทพารักษ์) จ.สมุทรปราการ ว่า การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้สืบเนื่องมาจาก อ.พรรณวดี จุรีมาศ และ อ.เจษฎา จุรีมาศ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มมส ได้รับทุนสนับสนุนโครงการวิจัยในโปรแกรม Industry-Academia Partnership Programme (IAPP) ภายใต้กองทุนนิวตัน ประจำปีงบประมาณ 2559 ในหัวข้อ “แบบจำลองขั้นสูงของหัวอ่านข้อมูลในการบันทึกเชิงแม่เหล็กด้วยวิธีมัลติสเกล ซึ่งเป็นโครงการวิจัยร่วมระหว่าง ภาควิชาฟิสิกส์ มมส กับ University of York – The Seagate technology (Thailand, UK) จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และ The Royal Academy of Engineering (RAEng) สหราชอาณาจักร

ศ.ดร.สัมพันธ์ เปิดเผยว่า โครงการความร่วมมือทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีวัตถุประสงค์ที่จะสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างสถาบันการศึกษาในประเทศไทยและประเทศสหราชอาณาจักร เพื่อนำไปสู่การถ่ายทอดเทคโนโลยีและแก้ปัญหาจริงที่เกิดขึ้นในโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ยังมีแนวทางส่งเสริมและพัฒนาความรู้ทางด้านวัสดุแม่เหล็กเพื่อการประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีบันทึกข้อมูลให้แก่นิสิตระดับบัณฑิตศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาฟิสิกส์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและสร้างบุคลากรภายในประเทศที่สามารถรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ในอนาคต

ดังนั้น มมส จึงส่งเสริมและพัฒนานิสิตในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ที่ศึกษาในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ให้เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ วัสดุแม่เหล็กและการประยุกต์ใช้ ที่บริษัท ซีเกท (เทพารักษ์) ในวันที่ 5-8 ก.พ. โดยนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาที่เข้าร่วมอบรมจะได้รับฟังการบรรยายจากนักวิจัยชั้นนำของโลก และยังได้รับเกียรติจาก IEEE magnetic distinguished lecturers 2018 คือ ศ.มิตสึเทรุ อิโนะอุเอะ จาก TOYOHASHI UNIVERSITY OF TECHNOLOGY JAPAN และ ศ.โยชิจิกะ โอตานิ จาก UNIVERSITY OF TOKYO JAPAN มาร่วมบรรยายในครั้งนี้ด้วย

น.ส.สุทัศนีย์ ราชเรืองระบิน รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 14-17 กุมภาพันธ์นี้ กระทรวงพาณิชย์ จะนำคณะผู้ประกอบการ 22 บริษัทที่เป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ไปเข้าร่วมงานแสดงสินค้า BIOFACH 2018 ครั้งที่ 29 ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกที่สำคัญและใหญ่สุดในโลก ที่เมืองเนิร์นแบร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ส่วนใหญ่เป็นสินค้าสินค้าอาหาร เครื่องดื่มอินทรีย์และผลิตภัณฑ์อินทรีย์ เช่น ข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าว ผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลัง ผักและผลไม้ ชา กาแฟ น้ำตาลมะพร้าว เส้นก๋วยเตี๋ยวจากข้าว เป็นต้น

ทั้งนี้ งาน BIOFACH 2018 เป็นงานแสดงสินค้าและเจรจาธุรกิจอินทรีย์ใหญ่สุดในโลก ภายในงานจะมีการเจรจาธุรกิจ ถือเป็นโอกาสดีของไทยที่จะเปิดตัวสินค้าอินทรีย์ของไทยออกสู่สายตาชาวโลก ตามนโยบายรัฐต้องการผลักดันการส่งออกสินค้าอินทรีย์ และสินค้าที่ใช้นวัตกรรม โดยเฉพาะข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าว ที่จะสามารถเพิ่มมูลค่าจากเดิมได้อีกมาก

โดยการจัดงานปีนี้ มีผู้เข้าร่วมงานแสดงสินค้า 2,535 บริษัท จาก 80 ประเทศทั่วโลก คาดมีผู้เข้าชมงาน 51,453 คน จาก 129 ประเทศทั่วโลก มีพื้นที่จัดแสดงสินค้า 71,400 ตารางเมตร ในส่วนคูหาประเทศไทย ตั้งอยู่ที่อาคาร 1 หมายเลข 1-505 และ 1-611 รวมขนาดพื้นที่ 191.93 ตารางเมตร กิจกรรมพิเศษการสาธิตการทำอาหารเพื่อประชาสัมพันธ์อาหารไทย และดึงดูดความสนใจของผู้นำเข้า และผู้ชมงาน รวมถึงมีพื้นที่ส่วนกลางสำหรับการเจรจาการค้าภายในคูหาด้วย และได้คัดเลือกผู้ประกอบการไทยและผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเข้าร่วมงานนี้ด้วย

“ปีนี้ กระทรวงฯร่วมมือกับบริษัท NrnbergMesse จำกัด (NM) ซึ่งเป็นผู้จัดงาน BIOFACH จัดงานแสดงและจำหน่ายสินค้าอินทรีย์และสินค้าธรรมชาติใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้ชื่องาน Organic Expo – BIOFACH Southeast Asia และ NATURAL EXPO Southeast Asia ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงและพัฒนาเกษตรอินทรีย์ในอาเซียน” น.ส.สุทัศนีย์ กล่าว

คณะกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมกุ้งไทยไฟเขียวให้สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทยนำเข้ากุ้งขาวจากอินเดีย 5 หมื่นตันใน 1 ปี วางเงื่อนไขห้ามนำเข้าช่วงผลผลิตออก และราคาต้องไม่ต่ำกว่า กก.ละ 120 บาท ดีเดย์เริ่มช่วงครึ่งปีหลังนี้

รายงานข่าวจากกรมประมง เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ตัวแทนสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทยได้เสนอเรื่องขอนำเข้ากุ้งขาวแวนนาไมจากประเทศอินเดีย 5 หมื่นตัน เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมกุ้งไทย ที่มีนายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง เป็นประธาน

เนื่องจากผลผลิตกุ้งขาวภายในประเทศไม่เพียงพอต่อออร์เดอร์ที่สั่งเข้ามาจำนวนมาก ซึ่งปี 2560 ที่ผ่านมา ผลผลิตกุ้งเลี้ยงภายในประเทศมีประมาณ 4 แสนตันเท่านั้นเนื่องจากประสบกับภัยธรรมชาติน้ำท่วมใหญ่ในภาคใต้ช่วงต้นปีทำให้ผลผลิตเสียหายกว่า 1,000 ล้านบาท เมื่อหักการบริโภคภายในประเทศ 1 แสนตัน เหลือแปรรูปเพื่อการส่งออกเพียง 3 แสนตัน อาจประสบปัญหาไม่มีกุ้งเพียงพอที่จะแปรรูปส่งออก อย่างไรก็ตาม คาดว่าปีนี้ผลผลิตกุ้งเลี้ยงของไทยจะเพิ่มขึ้นไม่มาก โดยสมาคมกุ้งไทยคาดการณ์ว่าผลผลิตปี 2561 จะมีประมาณ3.3 แสนตัน เพิ่มขึ้นเพียง 10%

รายงานข่าวกล่าวว่า ที่ประชุมที่มีนายบรรจง นิสภวาณิชย์ ประธานสมาพันธ์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทย เป็นตัวแทนเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจากทุกภาคของไทยยินยอมให้มีการนำเข้ากุ้งเลี้ยงจากประเทศอินเดียได้ แต่มีเงื่อนไขว่าต้องนำเข้าภายใน 1 ปี มีการตรวจคุณภาพสารตกค้างและโรคระบาด ในช่วงที่มีการแปรรูปกุ้งต้องมีการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อป้องกันโรคระบาดจากกุ้งที่นำเข้าออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ

“คาดว่ากรมประมงจะประกาศรายละเอียดในการนำเข้ากุ้งขาวจากอินเดียในช่วงครึ่งปีหลังนี้ เพราะกรมต้องส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจโรคระบาด โดยเฉพาะโรค IMNV จากไวรัสอันตรายที่บ่อเลี้ยงโดยตรง รวมทั้งสารตกค้าง ยาปฏิชีวนะตกค้างต่าง ๆ ที่อินเดีย ซึ่งต้องใช้เวลาตรวจนาน 4-5 เดือน ดังนั้น การนำเข้าอาจยืดเยื้อไปจนถึงกลางปี 2562”

นอกจากนี้ ผู้เลี้ยงกุ้งในไทยยังมีเงื่อนไขว่า ในช่วงที่ผลผลิตกุ้งไทยออกสู่ตลาด 3 หมื่นตัน/เดือนขึ้นไป ห้ามมีการนำเข้า การนำเข้าต้องไม่กระทบต่อราคากุ้งขาวขนาด 100 ตัว/กก. ห้ามต่ำกว่า กก.ละ 120 บาทที่ตลาดกลางมหาชัยหรือสมุทรสาคร เพื่อไม่ให้ผู้เลี้ยงของไทยต้องขาดทุนในการเลี้ยง นายบรรจงกล่าว

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า ในเดือนเมษายน 2558 ห้องเย็นและผู้ส่งออกกุ้งไทยได้เสนอต่อกรมประมงขอนำเข้ากุ้งขาวหลายแสนตัน เพื่อแก้เกมอินโดนีเซียและอินเดียดัมพ์ราคากุ้งขาวขายให้ผู้ซื้อประเทศต่างๆ ต่ำกว่ากุ้งขาวของไทย เนื่องจาก 2 ประเทศมีสาธารณูปโภครองรับไม่เพียงพอ โดยเฉพาะห้องเย็นที่จะเก็บสต๊อกกุ้งไว้มีน้อยมาก เมื่อจับจากบ่อต้องรีบขาย ทำให้ราคากุ้งในตลาดโลกดิ่งลงทุกวัน ในขณะที่ผลผลิตกุ้งขาวของไทยมีไม่เพียงพอต่อความต้องการจากปัญหาโรคกุ้งตายด่วน (อีเอ็มเอส) ที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ มีผลผลิตกุ้งเลี้ยงเพียง 2 แสนตัน ในขณะที่ห้องเย็นในไทยมีกำลังการเก็บสูงถึง 1 ล้านตันต่อปี ทั้งนี้ ผู้ส่งออกและห้องเย็นของไทยพร้อมจะรับซื้อผลผลิตกุ้งจากเกษตรกรในไทยทั้งหมดแลกกับการนำเข้ากุ้ง

“ผู้ส่งออกกุ้งของไทยมองว่า การแก้ปัญหาต้องแก้แบบเป็นภาพรวมทั้งระบบ ไม่ใช่มองเฉพาะประเทศไทย ที่ผ่านมาผู้ส่งออกพยายามเสนอแนวคิดนี้ แต่ถูกผู้เลี้ยงโวยวาย กลัวว่าราคาจะตก ขณะที่กรมประมงพอคนเลี้ยงโวยก็ถอยแล้ว แต่ถ้าไม่ทำวิธีนี้ต่อไป อินโดนีเซียและอินเดียที่ตอนนี้ไม่มีห้องเย็น โรงงานแปรรูปเองจับได้เท่าไรต้องรีบเทขายหมด หาก 2 ประเทศสร้างห้องเย็นและโรงงานแปรรูปขึ้นมาได้ เราจะตายกันหมด ผู้ส่งออกตาย คนเลี้ยงก็ตาย เรียกว่าตายกันทั้งระบบ” แหล่งข่าวผู้ส่งออกกุ้งกล่าว

พื้นที่ภาคตะวันออกถือเป็นแหล่งผลิตผลไม้สำคัญของไทย แต่มีอุปสรรคหลายอย่างส่งผลต่อการส่งออก นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ในพื้นที่ภาคตะวันออกครอบคลุม 7 จังหวัด ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี และสระแก้ว มีมูลค่าการค้าผลไม้สูงถึง 50,000 ล้านบาท แต่จากการหารือกับภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ พบว่ามีปัญหาติดกฎหมายกรมโยธาธิการและผังเมืองกำหนดเป็นพื้นที่สีเขียวไม่สามารถตั้งขยายห้องเย็นไว้เก็บวัตถุดิบ และไม่สามารถตั้งโรงงานแปรรูปผลไม้-อาหารได้ โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ที่มีผู้ประกอบการกว่า 200 ราย จึงต้องมีการบริหารจัดการทั้งระบบที่ครอบคลุมไปถึงการแปรรูป

ในการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2561 ณ จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ 5-6 ก.พ. 2561 ทางกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย จึงแก้แนบท้ายกฎกระทรวงโดยไม่ต้องแก้สีผังเมือง แต่กำหนดให้กิจการห้องเย็น โรงงานแปรรูปผลไม้-อาหาร เข้าไปอยู่ในบัญชีประเภทกิจการที่ 3 (50 แรงม้าขึ้นไป) สามารถตั้งในพื้นที่สีเขียวได้ จากเดิมอยู่ในบัญชีประเภทกิจการที่ 2 (ต่ำกว่า 50 แรงม้า)

นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ขั้นตอนการแก้บัญชีแนบท้ายผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อผังเมืองใหม่ประกาศใช้จะมีนักลงทุน 20 ราย พร้อมลงทุนสร้างห้องเย็น มูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาททันที และจะขยายไปสู่การตั้งโรงงานแปรรูปอาหารและผลไม้ตามมา

เพื่อให้กลไกราคามีเสถียรภาพ จึงจะใช้ โครงการระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก (EFC) ที่ตั้งในนิคม Smart Park จ.ระยอง พื้นที่ดูแลของการนิคมอุตสาหกรรมฯ (กนอ.) เป็นตลาดกลาง ซึ่งลงทุนถึง 1,580 ล้านบาท ให้มีกลไกการซื้อขายผ่านการประมูล บริหารโดยบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยการร่วมถือหุ้นของรัฐ เอกชน ประชาชน เกษตรกร (สหกรณ์)

“เอกชนต้องชะงักการลงทุน เพราะผังเมืองสีเขียวไม่สามารถตั้งโรงงานแปรรูปและห้องเย็นได้ ที่ผ่านมาผู้ประกอบการใช้วิธีการเช่าห้องเย็นเป็นรายเดือน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายประมาณเดือนละ 1 ล้านบาท และเดิมในพื้นที่ถูกมองเพียงการค้าขายผลไม้สด แต่เมื่อสังคมเศรษฐกิจเปลี่ยนไป ในพื้นที่ต้องการให้เกิดการแปรรูปผลไม้ ดังนั้น ผังเมืองต้องปรับให้สอดรับแนวทางความต้องการในพื้นที่”

นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า จากมาตรการหยุดกรีดยางในพื้นที่ของรัฐบาล 3 หน่วยงาน ได้แก่ การยางแห่งประเทศไทย กรมวิชาการเกษตร และองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จำนวนประมาณ 100,000 ไร่ ระหว่างเดือนม.ค.-มี.ค. 2561 ซึ่งเป็นอีกแนวทางเพื่อลดผลผลิตยางออกสู่ตลาด ช่วยกระตุ้นให้มีความต้องการใช้ยางเพิ่มขึ้น และจะทำให้ราคายางมีการขยับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ กยท. เดินหน้าสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในโครงการควบคุมปริมาณผลผลิต โดยหยุดกรีดยางในสวนยางของ กยท. ซึ่งมีพื้นที่อยู่ทั่วประเทศที่ประมาณ 28,000 ไร่ ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและตะวันออก รวมถึงภาคใต้ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ใน จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นพื้นที่ในความดูแลของการยางแห่งประเทศไทยเขตภาคใต้ตอนกลาง

“ประชุมคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 ประจำปี 2561 เมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2561 ได้อนุมัติงบประมาณเพื่อชดเชยรายได้ให้กับลูกจ้างกรีดยาง และลูกจ้างสำรองกรีดของ กยท. จำนวน 1,075 รายทั่วประเทศ ซึ่งเป็นผู้เสียโอกาสในการหยุดกรีดยางตั้งแต่เดือนม.ค.-ก.พ. 2561 เนื่องจากปกติ กยท. จะมีการจ้างกรีดยาง ปีละ 11 เดือน ยกเว้นเดือนมี.ค.ของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงปิดกรีดยางของ กยท. ดังนั้น กยท. จึงจ่ายเงินชดเชยให้แก่ลูกจ้างกรีดยาง ในส่วนของเดือนม.ค.และก.พ. 2561 โดยเห็นชอบให้ใช้เงินตามมาตรา 49 (1) เพื่อชดเชยรายได้ รวมงบประมาณทั้งสิ้นกว่า 28.8 ล้านบาท”

นายธีธัช กล่าวว่า สำหรับการจ่ายเงินค่าจ้างชดเชยการหยุดกรีดยางให้แก่ลูกจ้างกรีดยางของ กยท. ในเดือนม.ค.-ก.พ. 2561 กำหนดให้จ่ายเป็นงวดตามช่วงเวลา โดยค่าจ้างชดเชยของวันที่ 1-15 จะจ่ายในวันที่ 21-23 ของเดือนนั้น ส่วนค่าจ้างชดเชยของวันที่ 16-31 จะจ่ายในวันที่ 7-9 ของเดือนถัดไป ซึ่ง กยท. ได้เริ่มเบิกจ่ายและโอนเงินค่าจ้างชดเชยงวดวันที่ 1-15 ม.ค. ให้แก่ลูกจ้างกรีดยางในวันที่ 2 ก.พ. ที่ผ่านมา เรียบร้อยแล้ว

คณะวิจัยนำโดย ผศ.ดร.ชนะ รักษ์ศิริ นายเอกภพ เหล็กเพชร นายธนกร วัฒนาพร น.ส.นันท์นภัส ทิพส์แสง นายวัชรพงษ์ สุขศรีสว่างวงศ์ นายเจษฎา ศรีวิทิตกุล นายสิรวิชญ์ สุวัฒน์ธนากร

ทุกวันนี้ ประชากรโลกเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในทางเดียวกันความต้องการเครื่องอุปโภคบริโภคก็มากขึ้นด้วย สังเกตว่าในทุกๆ มื้ออาหารมักจะต้องมีไข่หรือเนื้อไก่เป็นมื้อประจำ และจากความต้องการบริโภคไก่ และไข่ที่มีมากทำให้อุตสาหกรรมไก่เติบโตขึ้นทุกปี ในทุกๆ วันมีการฟักไข่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งไม่ใช่ทุกฟองที่สามารถฟักออกเป็นตัวได้ ไข่บางฟองเชื้อตาย มีรอยร้าว หรืออื่นๆ หากเราปล่อยให้ไข่เหล่านี้เข้าไปในตู้เกิด ไข่เหล่านี้จะเน่าและทำให้เกิดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ส่งผลให้ไข่หรือลูกเจี๊ยบที่ออกมาเกิดความเสียหายได้ จึงเกิดแนวคิดออกแบบสร้างเครื่องตรวจสอบและคัดแยกไข่ที่มีโอกาสฟักอัตโนมัติขึ้นมา โดยใช้การประมวลภาพจากกล้องในการระบุไข่เสียและใช้ระบบแขนกลในการคัดแยกไข่เหล่านี้ออก