พลพัฒน์ กล่าวว่า ผลสืบเนื่องจากการเดินทางไปปฏิบัติราชการครั้งนี้

ก่อให้เกิดกิจกรรมความร่วมมือด้านวิชาการระหว่าง มรภ.สงขลากับฝรั่งเศส ใน 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมที่ 1 โปรแกรมวิชาเทคโนโลยียางและโพลิเมอร์ ได้เชิญ ศาสตราจารย์กีย์ ลูออง บรรยายพิเศษเรื่อง Long Term Mechanical Properties of Virgin and Recycled Polyolefins: A case study Applied to Water Pipe Systems

ในงานสัมมนาความร่วมมือด้านวิจัยและวิชาการทางเทคโนโลยียางและโพลิเมอร์ โดยมีผู้สนใจเป็นอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาของ มรภ.สงขลา และมหาวิทยาลัยทักษิณซึ่งถือเป็นการแลกเปลี่ยนอาจารย์ผู้สอนภายใต้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศครั้งแรกอย่างเป็นรูปธรรม แตกต่างจากครั้งก่อนๆ ที่เป็นการเชิญวิทยากรจากต่างประเทศมาบรรยายเพียงอย่างเดียว

“กิจกรรมที่ 2 มีการประชุมหารือความร่วมมือระหว่างโปรแกรมวิชาเทคโนโลยียางและโพลิเมอร์กับ Ecole Polytechnique de l’Universite de Nantes เรื่องความร่วมมือด้านการเรียนการสอน คาดว่าจะแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษาฝึกงานระหว่างกันเป็นกิจกรรมแรกที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ และกิจกรรมที่ 3 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านงานวิจัยกับอาจารย์ของ มรภ.สงขลา โดยเฉพาะด้านโพลิเมอร์ และฟิสิกส์ประยุกต์ ถือเป็นการดำเนินงานที่ตอบสนองยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยที่ให้มีการแลกเปลี่ยนผู้สอนและนักวิจัยกับต่างประเทศ” ผศ.ดร. พลพัฒน์ กล่าว

“ชุติมา” นำทีมกระทรวงเกษตรฯ-สาธารณสุข บินร่วมเวทีประชาพิจารณ์ที่สหรัฐ ก.ค.นี้ หลังสภา ผู้ผลิตหมูมะกันร้องสำนักผู้แทนการค้าสหรัฐ ให้ตัดจีเอสพีสินค้าเกษตรของไทยกว่า 56 รายการ มูลค่า 17,172 ล้านบาท กรณีไทยไม่ยอมนำเข้าหมูที่มีการใช้สารเร่งเนื้อแดงแรคโตพามีน

แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เปิดเผยว่า เดือนกรกฎาคมนี้ นางสาวชุติมา บุณยประภัศร รมช.พาณิชย์ จะเป็นหัวหน้าทีมนำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงสาธารณสุข เดินทางไปสหรัฐอเมริกา ร่วมฟังการทำประชาพิจารณ์หรือรับฟังความคิดเห็นในการแสดงข้อเท็จจริงต่อสาธารณชนในสหรัฐ หลังสำนักผู้แทน การค้าสหรัฐอเมริกาประกาศยอมรับคำร้องของสภาผู้ผลิตหมูของสหรัฐ ที่เสนอให้ทบทวนการให้ภาครัฐตัดสิทธิประโยชน์ทางภาษี (จีเอสพี) กรณีไม่ให้มีการนำเข้าหมูสหรัฐมาไทย ด้วยเหตุผลที่ระบุว่า หมูสหรัฐมีการใช้สารเร่งเนื้อแดงแรคโตพามีนในการเลี้ยง

ทั้งนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ผลกระทบหากไทยถูกตัดจีเอสพีของสหรัฐอเมริกา จะกระทบสินค้าเกษตรบางรายการ แต่สินค้าเกษตรที่ได้รับจีเอสพีขณะนี้มีจำนวน 56 รายการ มูลค่า 17,172 ล้านบาท หรือคิดเป็น 14.9% ของสินค้าไทยจำนวน 4,600 รายการ ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ด้าน จีเอสพี มูลค่า 114,905 ล้านบาท

สินค้าเกษตรที่ได้รับสิทธิประโยชน์ภายใต้โครงการ จีเอสพี ของสหรัฐอเมริกา มี เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ผลไม้ปรุงแต่ง ซอส และเครื่องปรุง ถั่วปรุงแต่ง พาสตา ปูปรุงแต่ง น้ำตาลดิบ มังคุด มะม่วง ฯลฯ ส่วนสินค้ายางธรรมชาติที่ส่งออกไปสหรัฐอเมริกาไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ ตามโครงการจีเอสพี เนื่องจากอัตรานำเข้าของภาษีอยู่ที่พิกัด 0% อยู่แล้ว

สำหรับการพิจารณาจีเอสพีไทยยอมรับมีความกังวลในเรื่องนี้ โดยปกติสหรัฐอเมริกาจะมีการทบทวนการให้จีเอสพีเป็นประจำทุกปี เพื่อปรับปรุง แก้ไข และเพิ่มเติมรายการสินค้าที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี หรือ จีเอสพี หรือเพิกถอนให้สิทธิ เมื่อพิจารณาเฉพาะสินค้า เกษตรที่สำคัญพบว่าหากไทยถูกสหรัฐอเมริกาตัดสิทธิประโยชน์ทางภาษีผ่านโครงการจีเอสพี จะส่งผลให้การนำเข้าสินค้าที่ต้องเสียภาษี 0% มาอยู่ในอัตราภาษีระดับ 1-17.9% แตกต่างตามชนิดสินค้า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของประเทศไทย

สระแก้ว – นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรฯ เปิดโครงการนำร่อง “การแปรรูปผลสับปะรดสดเป็นอาหารสัตว์ เพื่อแก้ปัญหาสับปะรดล้นตลาดในภาคตะวันออก” สหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น เนื่องจากราคาสับปะรดตกต่ำผลผลิตล้นตลาด บางส่วนไม่ผ่านเกณฑ์โรงงานแปรรูป กรม ปศุสัตว์ ร่วมกับสหกรณ์การเกษตรนิคมระยอง จำกัด และสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำกัด ร่วมกันแก้ไขปัญหาสับปะรด ล้นตลาด ดำเนินการไปแล้วใน 4 จังหวัด นำสับปะรดที่ ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของ โรงงานมาผลิตเป็นอาหารสำหรับโคนม สั่งซื้อไปแล้วถึง 1,115 ตัน โครงการ “การแปรรูปผลสับปะรดสดเป็นอาหารสัตว์ เพื่อแก้ปัญหาสับปะรดล้นตลาดในภาคตะวันออก” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดในพื้นที่ที่ประสบปัญหา อีกทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดต้นทุนการผลิตน้ำนมของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม

การเลี้ยงโคนมของเกษตรกรด้วยสับปะรดกับฟางข้าวเสริมด้วยอาหารข้นนั้น จะมีต้นทุนค่าอาหารเฉลี่ยตัวละ 102.50 บาท ให้น้ำนมวันละ 12 กิโลกรัม คิดเป็นต้นทุนค่าอาหาร 8.54 บาท ต่อน้ำนม 1 กิโลกรัม ถ้าเลี้ยงด้วยอาหารทีเอ็มอาร์ที่มีสับปะรดเป็นส่วนประกอบ มีต้นทุนค่าอาหารเฉลี่ยตัวละ 117.00 บาท แต่ให้น้ำนมเพิ่มเป็นวันละ 14 กิโลกรัม ทำให้มีต้นทุนค่าอาหารเหลือเพียง 8.36 บาท ต่อน้ำนม 1 กิโลกรัม ทำให้ลดต้นทุนค่าอาหารได้ 0.20 บาท ต่อน้ำนม 1 กิโลกรัม ซึ่งการผลิตอาหาร ทีเอ็มอาร์สำหรับโคนม (โปรตีน 16 เปอร์เซ็นต์) จำนวน 1 ตัน นั้น ประกอบด้วยผลสับปะรดสด 630 กิโลกรัม หญ้าแพงโกล่าแห้ง 142 กิโลกรัม กากถั่วเหลือง 133 กิโลกรัม กากเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมัน 44 กิโลกรัม และมันเส้น 51 กิโลกรัม ใส่เครื่องผสมอาหาร TMR เพื่อคลุกเคล้าวัตถุดิบทั้งหมดให้เข้ากัน จากนั้นบรรจุถุง และมัดปากถุงให้แน่น หมักไว้ 7 วัน จึงนำไปใช้เลี้ยงโคนม

เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่ามีแมงกะพรุนถ้วยจำนวนมากลอยเข้ามาเต็มทะเล บริเวณ ท่าเทียบเรือเขาแหลมหญ้า อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด ตำบลเพ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง เมื่อเดินทางเข้าไปตรวจสอบ พบแมงกะพรุนถ้วยสีขาว สีน้ำตาล และสีส้ม จำนวนนับพันตัว ลอยกระจายอยู่กับเกลียวคลื่น จนทำให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาชมต่างแห่ถ่ายรูปคู่กับฝูงแมงกะพรุนถ้วยหลากสี

นายประยูร พงศ์พันธ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด กล่าวว่า สำหรับการปรากฏตัวของแมงกะพรุนจำนวนมากรวมตัวกันเพื่อหาอาหาร ซึ่งไม่ได้เกิดทุกปี เคยปรากฏครั้งสุดท้าย เมื่อปีพ.ศ. 2557 ในระยองเวลาใกล้เคียงกัน ในครั้งนั้นมีจำนวนนับแสนตัวทยอยลอยเข้ามา ครั้งนี้ฝูงแมงกะพรุนเพิ่งเข้ามาเมื่อช่วงเย็นวันที่ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา พบในช่วงเช้าเริ่มทยอยไหลมากับกระแสน้ำขึ้น เริ่มเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ

คาดว่าคงจะเข้ามาตลอดทั้งวัน เพื่อมาหาอาหารและผสมพันธุ์ตามธรรมชาติของแมงกะพรุนที่จะเลือกสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม กับอุณหภูมิพอเหมาะ และธรรมชาติของทะเลที่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สวยงามแปลกตากับฝูงแมงกะพรุนจำนวนมากลอยเต็มผืนทะเล ส่วนนักท่องเที่ยวที่ต้องการมาชมฝูงแมงกะพรุน สามารถเข้ามาชมได้ที่ท่าเรือเขาแหลมหญ้าทุกวัน แต่ขอเตือนว่าไม่ควรสัมผัส เพราะจะเกิดอันตรายทั้งคนจับและแมงกะพรุน ให้ชมความงามเก็บภาพเท่านั้น ซึ่งการปรากฏตัวของฝูง แมงกะพรุนถ้วย จะอยู่ประมาณ 10 วัน ก็จะเริ่มทยอยหายออกไป

นางสมร เทิดธรรมพิบูล กก.ผจก.ใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย (ปณท) เปิดเผยว่า ไปรษณีย์ไทยจะปรับอัตราค่าบริการพัสดุไปรษณีย์ด่วนพิเศษ อีเอ็มเอส (EMS) ในประเทศแบบถาวร เริ่มตั้งแต่การสั่งที่มีพิกัดน้ำหนัก 3-20 กิโลกรัม ราคารที่ปรับลดเริ่มต้นที่ 5 บาท และลดสูงสุดที่ 115 บาท หรือปรับลดลงจากเดิม 4-24% มีผล 1 กรกฎาคม นี้ เนื่องจากปัจจุบันลูกค้าที่เป็นกลุ่มอีคอมเมิร์ซ ผู้ที่ซื้อขายสินค้าออนไลน์มีการส่งสินค้าชิ้นใหญ่มากขึ้น

ยังให้ส่วนลดค่าบริการ 20% สำหรับลูกค้าที่ใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ ยอมรับว่าการแข่งขันในธุรกิจขนส่งสิ่งของพัสดุขณะนี้มีสูงขึ้น เพียงปรับค่าบริการลง ก็ยังทำให้ค่าบริการของไปรษณีย์สูงกว่าคู่แข่ง แต่การให้โปรโมชั่นส่วนลด จะทำให้ใกล้เคียงกับคู่แข่ง

“ทดลองปรับลดค่าบรการ EMS ตั้งแต่ 17 เมษายน ที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีจำนวนชิ้นพัสดุส่งด่วนเพิ่มขึ้นถึง 21% จากเดิมตั้งเป้า 15% ทำให้ทดแทนค่าบริการที่ปรับลดลงได้ และจะไม่กระทบกับผลกำไรของไปรษณีย์ไทยแน่นอน จากผลประกอบการ 5 เดือนปีนี้ มีกำไร 1,621 ล้านบาท ปีนี้คาดรายได้ตามเป้า 30,000 กำไร 4,500 ล้านบาท”

ในการประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2561 เมื่อ วันที่ 25 มิถุนายน 2561 ผู้แทนสหกรณ์โคนมทั่วประเทศ ขอเข้าพบ นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อนำเสนอปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม จากกรณีการออกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 629) พ.ศ. 2560 ที่กำหนดให้เงินได้เกษตรกรหักค่าใช้จ่ายเหมาได้ไม่เกินอัตรา ร้อยละ 60 ซึ่งประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้ให้ผู้แทนสหกรณ์โคนมจากอำเภอไชยปราการ อำเภอแม่วาง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่,

สหกรณ์โคนมจากอำเภอสีคิ้ว อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา, สหกรณ์โคนมจากลำพญากลาง จังหวัดสระบุรี, จังหวัดลพบุรี, จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เสนอเรื่องนี้เข้าพิจารณาในการประชุม โดย นายสมพงษ์ ภูพานเพชร ตัวแทนสหกรณ์โคนม เข้าชี้แจงว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมเดือดร้อนมากจากเรื่องภาษีที่กรมสรรพากรกำหนดให้หักค่าใช้จ่าย ร้อยละ 60 ในส่วน 40 นำไปคำนวณภาษี พอเงินค่าน้ำนมออกเกษตรกรถูกหักค่าอาหารรวมกับค่าใช้จ่ายอื่นๆ บางคนไม่เหลือเงินเลย จึงต้องติดหนี้ภาษีที่ถูกจัดเก็บ

ซึ่งสะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริงมากกว่าที่กรมสรรพากรกำหนด โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเคยสำรวจข้อมูลที่พบว่า นมผง 1 กิโลกรัม ต้นทุนประมาณ 15 บาท ในขณะที่ราคาขายอยู่ที่ กิโลกรัมละ 18 บาท คิดเป็น ร้อยละ 83 มากกว่าที่กรมสรรพากรกำหนด เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมต้องมีต้นทุนโรงเรือน ต้นทุนค่าซื้อโคนม ซึ่งแต่เดิมคำนวณที่ ร้อยละ 85 เกษตรกรพอรับได้ แต่ขณะนี้เดือดร้อนมาก การกำหนดให้นำหลักฐานมาประกอบการหักค่าใช้จ่ายในปัจจุบันยังเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากการซื้อฟาง, ข้าวโพด, มันสำปะหลัง จากเกษตรกรไม่มีบิล

เพราะไม่เคยได้ใช้ แล้วจะมีหลักฐานได้อย่างไร อีกเรื่องที่น่ากังวลคือ การเข้าสู่เขตการค้าเสรี หรือ FTA โดยใน ปี 2568 นมผงนำเข้าไม่ต้องเสียภาษี แต่เกษตรกรไทยต้องเสียภาษี แน่นอนว่าจะส่งผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมไปไม่รอด เกษตรกรไม่ได้รับความเป็นธรรมในเรื่องนี้ จึงมาร้องเรียนให้สภาเกษตรกรฯ ช่วยเหลือ

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้กล่าวว่า เรื่องนี้สภาเกษตรกรแห่งชาติได้เคยทำหนังสือเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อขอให้ภาครัฐยังคงกำหนดค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่ายของเกษตรกรที่ ร้อยละ 85 ก่อนนำไปคำนวณภาษี โดยนายกรัฐมนตรีมอบให้กระทรวงการคลังพิจารณาและกรมสรรพากรได้ชี้แจงการคงหลักเกณฑ์ว่า เกษตรกรสามารถนำหลักฐานมาประกอบการหักค่าใช้จ่ายจริงได้ แต่ประเด็นคือ เกษตรกรจะนำหลักฐานเอกสารมาจากไหน ตามที่ตัวแทนสหกรณ์โคนมได้ชี้แจง

ซึ่งในที่ประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติได้สรุปว่า ยืนยันจะดำเนินการช่วยเหลือความเดือดร้อนของเกษตรกรในครั้งนี้ตามบทบาทหน้าที่ของสภาเกษตรกรแห่งชาติด้วยขั้นตอนการทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, ประธานคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติอีกครั้ง นัดเครือข่ายเกษตรกรมาหารือถึงแนวทางการหาทางออกภายในเดือนกรกฎาคมนี้ ผลการหารือจะนำสู่การขับเคลื่อนพร้อมกันทั่วประเทศและจัดแถลงข่าวเพื่อให้เกษตรกรได้รับรู้ทั่วกัน

จากกรณีที่เมื่อช่วงวันศุกร์ที่ 29-30 มิถุนายน 2561 ครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร พระเกจิชื่อดังของรัฐฉาน ได้เข้าไปทำพิธีที่ถ้ำหลวงถึง 2 ครั้งนั้น และหลังทำพิธีเสร็จก็บอกกล่าวกับลูกศิษย์ และบอกกล่าวกับพ่อแม่ผู้ปกครองของ 13 ชีวิต ว่า ทั้ง 13 ชีวิต ปลอดภัยดี และอีก 1-2 วัน จะออกมาได้แล้ว

ซึ่งผลปรากฏว่า ผ่านไป 1-2 วัน (ครบกำหนดวันนี้พอดี) หลังทำพิธีก็ปรากฏว่า ได้รับข่าวดีตามที่ครูบาบุญชุ่มระบุไว้ เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายออกมาแถลงข่าวยืนยันว่า เจอทั้ง 13 คนแล้ว โดยทุกคนปลอดภัยดี แต่ยังไม่สามารถนำออกมาภายนอกได้ เนื่องจากต้องรอฟื้นฟูร่างกายของทั้ง 13 คน ก่อน

วันนี้ (๒ ก.ค.) ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศ ประกาศกระทรวงคมนาคม โดย นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ลงนาม ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การงดจดทะเบียนเรือประมงเป็นการชั่วคราว พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยที่ปัจจุบัน มีเรือประมงไทยที่ปรากฏรายชื่ออยู่ในฐานข้อมูลทะเบียนเรือเป็นจํานวนมาก และจากการสํารวจเรือที่มีขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไปที่มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนเรือ ปรากฏว่าไม่พบเรือ หรือเจ้าของเรือเป็นจํานวนมาก ซึ่ง กรมเจ้าท่า

ได้ดําเนินการเพิกถอนทะเบียนเรือไปแล้ว และมีเรือบางส่วนที่พบ เจ้าของเรือและได้มีการแจ้งว่าเรือจม ชํารุด หรือขายไปต่างประเทศ แต่ไม่มีเอกสารหรือหลักฐานยืนยันที่ชัดเจน ซึ่งมีความเสี่ยงว่าจะมีการนําเรือประมงดังกล่าวไปทําการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยนําเรือไปสวมทะเบียนเรือประมงของเรือลําอื่น หรือจดทะเบียนเป็นเรือประมงใหม่ ประกอบกับกรมเจ้าท่าอยู่ใน ระหว่างการดําเนินการสํารวจเรือที่มีขนาดต่ำกว่าสิบตันกรอส เพื่อให้ทราบจํานวนเรือประมงทั้งหมดที่มีอยู่

ในปัจจุบัน ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการสํารวจและจัดทําฐานข้อมูลเรือประมงให้มีความถูกต้องและเป็น
ปัจจุบัน อันเป็นการป้องกันและปราบปรามการทําการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงมีความจําเป็นต้องควบคุมจํานวนเรือสําหรับการทําประมงเป็นการชั่วคราว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๕๔/๔ แห่งพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช ๒๔๘๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช ๒๔๘๑ พ.ศ. ๒๕๖๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้นายทะเบียนเรืองดจดทะเบียนเรือประมงเป็นระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ ใช้บังคับ เว้นแต่เรือที่ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทําการประมงผิดกฎหมายประกาศกําหนดให้มีการจด ทะเบียนเพิ่มเติม ตามข้อ ๑ ของคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๔/๒๕๕๘ เรื่อง การแก้ไข ปัญหาการทําการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม เพิ่มเติม ลงวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๘

ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม นายสุขชัย เจรียงประเสริฐ เกษตรจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่สำรวจพื้นที่ใน อ.แม่สาย จ.เชียงราย พบว่า มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 3 ตำบล ได้แก่ ต.ศรีเมืองชุม ต.โป่งผา และ ต.บ้านด้าย มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากปริมาณน้ำฝนที่ตกสะสม และปริมาณน้ำที่สูบออกลงลำรางสาธารณะ จำนวน 1,397 ไร่ เกษตรกร 101 ราย คิดเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบประมาณร้อยละ 8.39 เมื่อเทียบกับเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรในฤดูกาลผลิต ปี 2560-2561 ในพื้นที่ 3 ตำบล 16,646 ไร่ 907 ครัวเรือน

สำหรับการช่วยเหลือจะลงพื้นที่สำรวจความเสียหายอีกครั้ง ซึ่งข้าวสามารถทนน้ำท่วมสูงได้ ประมาณ 10-15 วัน หากพบต้นข้าวเสียหาย นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย จะประกาศเขตภัยพิบัติ และเกษตรกรจะได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยา ไร่ละ 1,113 บาท รวมไม่เกินรายละ 30 ไร่ ตามระเบียบกระทรวงการคลัง

อย่างไรก็ตาม เกษตรกรทั้งหมดที่ได้รับผลกระทบ ยินดีเป็นพื้นที่รับน้ำ ขอเพียงให้สามารถช่วยเหลือน้องๆ ทีมหมูป่าอะคาเดมี ทั้ง 13 ชีวิต ได้โดยเร็ว นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำออกจากถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ว่า ได้รับรายงานจากผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย ว่ามีน้ำท่วมนาข้าว 3 ตำบล เสียหาย 1,600 กว่าไร่ คิดเป็น 8 เปอร์เซ็นต์ และจะมีการสำรวจเพิ่มเติมอีก เพราะจะมีการระบายน้ำออกมาจำนวนมาก

และยังจะระบายออกมาอีกอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ จะช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกร ไร่ละ 1,100 บาท โดยใช้งบประมาณของจังหวัด ซึ่งมีวงเงินอยู่ 50 ล้านบาท และจะเยียวยาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกจากนี้ ยังได้เตรียมพันธุ์ข้าวไว้แจกจ่ายแก่เกษตรกร พร้อมมอบหมายให้อธิบดีกรมชลประทาน ไปดูเส้นทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตร เช่น ระบายลงแม่น้ำม่อนแจ่ม แม่น้ำแม่สาย เป็นต้น

นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พลังงาน กล่าวในโอกาสเป็นประธานเปิดโครงการส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี 20 ว่า เบื้องต้นยืนยันกรณีที่ บริษัท โกลบอล กรีน เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ จีจีซี (GGC) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ ปตท. เกิดปัญหาวัตถุดิบคงคลังหรือน้ำมันปาล์มดิบ (ซีพีโอ) มูลค่า 2,000 ล้านบาท หายไปจากคลังสินค้านั้น ไม่ส่งผลกระทบต่อโครงการส่งเสริมให้รถบรรทุกขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ใช้บี 20 เพื่อดูดซับปริมาณ ซีพีโอ ได้ 5-6 แสนตัน ต่อปี เพิ่มเติมจากปัจจุบันที่ใช้ ประมาณ 1.3 ล้านตัน ต่อปี จาก ซีพีโอ ทั้งระบบที่มี ประมาณ 2 ล้านตัน ต่อปี ช่วยบรรเทาปัญหาผลผลิตน้ำมันปาล์มล้นตลาดและกดดันราคาตกต่ำ ซึ่งคงต้องรอผลการตรวจสอบที่คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 1-2 วันนี้

ทั้งนี้ เบื้องต้นมีผู้ค้าน้ำมัน ตามมาตรา 7 จำนวน 5 ราย ได้แก่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด หรือ พีทีทีโออาร์, บมจ. บางจาก คอร์ปอเรชั่น, บมจ.ไออาร์พีซี, บมจ.ซัสโก้ และ บริษัท ซัสโก้ ดีลเลอร์ส จำกัด เข้าร่วมโครงการจำหน่ายน้ำมัน บี 20 ให้ผู้ประกอบการรถโดยสาร รถบรรทุกขนาดใหญ่ 24 ราย และเรือด่วนเจ้าพระยา 1 ราย ในราคาที่ต่ำกว่าดีเซลปกติ (บี 7) 3 บาท ต่อลิตร เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อค่าโดยสารและค่าขนส่งต้องปรับขึ้นจากราคาน้ำมันดีเซลที่สูงขึ้น

“น้ำมันดีเซล บี 20 อยู่ในช่วงนำร่องใช้ได้เฉพาะกลุ่ม ยังไม่แนะนำให้ประชาชนใช้ในรถยนต์นั่งเป็นการทั่วไป จึงไม่ได้จำหน่ายในปั๊มทั่วประเทศแต่อย่างใด ดังนั้น จึงควรดู หากดีเซลปกติ หรือ บี 7 ที่ขายตามปั๊มจะมีสีเขียว แต่ บี 20 เติมมาร์กเกอร์เป็นสีแดง ให้สังเกตจุดนี้ และการที่ ฮีโน่ ทำหนังสือแจ้งใช้ บี 20 ไม่ได้นั้น ไม่อยากให้มองรายใดรายหนึ่ง เพราะสมัยก่อนเราเพิ่ม บี 5 เป็น บี 7 สมาคมผู้ผลิตยานยนต์ญี่ปุ่นก็ออกเอกสารแสดงจุดยืนว่าไม่แนะนำให้ใช้เกิน บี 5 แต่เราก็ใช้ บี 7 มา 3 ปีแล้ว ไม่เห็นมีปัญหาอะไร”นายศิริ กล่าว

นายทองอยู่ คงขันธ์ ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เบื้องต้นตั้งเป้าหมายมีรถโดยสาร รถขนส่งและรถบรรทุก ใช้น้ำมัน บี 20 จำนวน 4 แสนคัน ทั่วประเทศ ซึ่งจะสามารถใช้ได้ในรถบรรทุกที่มีเครื่องยนต์ประเภทยูโร 1-2 เพราะขณะนี้อยู่ในช่วงเริ่มต้นต้องสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ใช้ก่อน เพราะยังไม่เกิดผลในทางปฏิบัติ