พักทำนา!! ปลูกกะเพรา โหระพา แมงลัก พื้นที่ 1 ไร่ สร้างรายได้

หลายคนคงคุ้นเคยและรู้จักผักสวนครัวรั้วกินได้ที่เป็นผักกินใบต่างๆ อาทิ กะเพรา โหระพา ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นพืชทางเลือกสำหรับเกษตรกรที่ต้องการอาชีพเสริม โดยเกษตรกรหลายคนพลิกวิกฤตเป็นโอกาส เลิกทำนาหันมาปลูกพืชผักเหล่านี้ รับทรัพย์เข้ากระเป๋ากันทุกวัน

สำหรับผักสวนครัวตระกูลกะเพรา โหระพา และใบแมงลัก เป็นพืชล้มลุก ใบเป็นรูปไข่ บางและนุ่ม ลำต้นและใบมีขนปกคลุม มีรสเผ็ดร้อน ช่อดอกตั้งตรง มีดอกติดรอบแกนช่อเป็นชั้นๆ จัดเป็นเครื่องเทศที่ยอดนิยม ถือว่าเป็นราชาแห่งเครื่องเทศเลยก็ว่าได้ โดยในปัจจุบันนิยมนำมาใช้ปรุงอาหารและนำมารับประทานเป็นผักเคียงกับอาหารชนิดต่างๆ

มณี วงศ์มหิง เกษตรกรผู้ปลูกใบกะเพรา โหระพา และใบแมงลัก จำหน่ายที่ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี เล่าให้ฟังว่า ก่อนหน้านี้เคยทำนา แต่สู้กับภาวะแล้งไม่ไหว เลยหันมาปลูกผักสวนครัว ซึ่งทำรายได้ทุกวัน ตกวันละ 500 บาท โดยบอกว่า แค่ 1 ไร่ ก็ตัดขายไม่ทันแล้ว

“อย่าง กะเพรา เป็นผักสวนครัวที่ปลูกง่าย ชอบดินร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี ส่วนการปลูกก็ง่ายมาก ขุดหลุมตื้นๆ ปลูก รดน้ำ แล้วใส่ปุ๋ยคอก จากนั้น รดน้ำวันละครั้ง”

สำหรับ กะเพรา ที่ปลูกกันทั่วไปมีอยู่ 2 ชนิด คือ กะเพราขาว และกะเพราแดง สามารถขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด แต่จะชอบดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ร่วนซุย ระบายน้ำดี โดยแต่ละพันธุ์จะมีอายุเฉลี่ย 1-2 ปี

“พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ถึง 15,000 ต้น หลังจากปลูกแล้ว 30 วัน ก็เก็บขายได้ และเก็บขายได้นาน 6-7 เดือน เก็บเกี่ยวได้ 10-15 ครั้ง แต่หลังจากนั้นผลผลิตจะลดลง กิ่งก้านแข็ง แตกยอดน้อย ต้องรื้อและปลูกใหม่”

และหลังจากเก็บมาแล้ว จะนำไปล้างน้ำเปล่า ผึ่งลมให้แห้ง ตัดแต่งใบออกบางส่วน และนำมามัดเป็นกำ กำละ 1.5 ขีด หลายปีก่อนหน้านี้มีน้อยคนที่รู้จักพืชอย่าง “อินทผลัม” หลายคนอาจจะคิดว่ามันเป็นแค่เพียงผลไม้ตากแห้งธรรมดาที่ส่งมาขายจากดินแดนอาหรับซึ่งไม่มีความพิเศษอะไร แต่ที่จริงแล้วเจ้าอินทผลัมนี้ นอกจากจะเป็นผลไม้ต่างถิ่นที่มีราคาค่อนข้างสูงแล้ว ยังคุณประโยชน์มากมายต่อสุขภาพอีกด้วย

อินทผลัม มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Date Palm และมีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Phoenix dactylifera เป็นพืชในตระกูลปาล์มชนิดหนึ่ง มีหลากหลายพันธุ์ มีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันออกกลาง สามารถเจริญเติบโตได้ดีในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้งแบบทะเลทราย โดยผู้ผลิตอินทผลัมรายใหญ่ ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย แอลจีเรีย และประเทศในแถบอาหรับ ความสำคัญของอินทผลัมมักใช้บริโภคในเทศกาลสำคัญของชาวมุสลิม แต่ในระยะหลังพบว่าไม้ผลชนิดนี้มีประโยชน์ต่อสุขภาพจึงทำให้ตลาดผู้บริโภคเพิ่มกว้างมากขึ้นมาทันที

ที่ผ่านมาการบริโภคอินทผลัมของคนไทยมักอยู่ในรูปผลแห้งที่นำเข้ามาจากทางตะวันออกกลางซึ่งมีราคาสูงมาก โดยคนไทยพยายามปลูกอินทผลัมแบบผลแห้งแต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากประสบปัญหาลักษณะภูมิอากาศต่างจากทางตะวันออกกลาง ดังนั้น การปลูกในเชิงพาณิชย์ที่ดีสำหรับประเทศไทยคือแบบกินผลสดเท่านั้น

แต่ปรากฏว่าข้อมูลในเชิงลึกของอินทผลัมน้อยมาก คนไทยที่สนใจส่วนมากมักปลูกตามกัน หรือบางคนค้นคว้าข้อมูลจากประเทศต้นทางเสียมากกว่า จึงทำให้การปลูกอินทผลัมของคนไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีลักษณะกระจัดกระจาย ได้บ้าง ล้มเหลวบ้าง

จนในท้ายสุดกลับพบว่าตอนนี้มีหลายสวนค้นหาความจริงของอินทผลัมอย่างแท้จริงได้สำเร็จ เป็นอินทผลัมรับประทานผลสดแบบไทยๆ จนบางรายก้าวหน้าไปถึงขั้นแปรรูปส่งออกมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ จนเกิดเป็นความสนใจของผู้ปลูกรายใหม่ที่ต้องการเข้ามาแบ่งปันรายได้จากการจำหน่ายอินทผลัม

เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านได้จัดสัมมนาอินทผลัมขึ้น ซึ่งในฐานะไม้ผลที่คนไทยยังรู้จักกันน้อยมาก จึงทำให้มีผู้สนใจเข้ารับฟังข้อมูลกันเป็นจำนวนมากเพราะเป็นการให้ข้อมูลในเชิงลึกทั้งการปลูก การแปรรูป รวมถึงการตลาด

จวบถึงวันนี้อินทผลัมนับเป็นพืชไม้ผลที่คุ้นชื่อของคนไทยอยู่ไม่น้อย มีผลผลิตที่เป็นผลสดออกวางจำหน่ายหลายแห่ง หลายคนได้ชิมรสชาติแล้วต่างบอกตรงกันว่าอร่อย หวาน กรอบ มีประโยชน์ทางโภชนาการด้านสุขภาพ แม้ราคาขายผลสดยังสูง แต่สำหรับผู้ที่รู้จักอินทผลัมเป็นอย่างดีก็ยินดียอมจ่ายเพราะรู้ว่ามีให้รับประทานเพียงปีละครั้ง

นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านยังคงให้ความสำคัญกับอินทผลัมอยู่เหมือนเดิม แล้วมองว่าเมื่อคนไทยให้ความนิยมบริโภคอินทผลัมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่หลายคนคิดว่าการปลูกอินทผลัมซึ่งขึ้นชื่อว่าต้นไม้ทะเลทรายจะเจริญเติบโตได้เฉพาะในพื้นที่ตามจังหวัดที่มีความเหมาะสม โดยไม่คิดว่าในพื้นที่เขตจังหวัดนนทบุรี รอยต่อกับมหานครอย่างกรุงเทพฯ ที่ถูกโอบล้อมรอบด้วยถนนตัดใหม่หลายเส้น พร้อมกับหมู่บ้านจัดสรร หลายโครงการจะมีสวนอินทผลัมขนาดใหญ่จำนวนหลายร้อยไร่ผุดขึ้นมาได้

ดังนั้น ในปีนี้ (2561) นิตยสารเกษตรรายปักษ์ที่มียอดจำหน่ายสูงสุดจึงจัดทริปสัมมนาเชิงปฏิบัติการในรูปแบบเสวนาสัญจรขึ้นที่ “สวนอินทผลัมปรีชา” ของ คุณปรีชา ธรรมชูเชาวรัตน์ ที่จังหวัดนนทบุรี โดยชวนสมาชิกผู้อ่านจำนวนเกือบร้อยท่านไปบุกสวนพร้อมฟังข้อมูลการปลูก การดูแล ปัญหาที่ต้องรับมือ รวมถึงยังได้เข้าไปชิมผลอินทผลัมสดจากต้นชนิดบิดใส่ปากแล้วทุกคนต่างยอมรับว่ากรอบ อร่อย ไม่ฝาด อย่างที่คาด

ความจริงคุณปรีชาไม่ได้เติบโตมาในสายเกษตร แต่ด้วยบุคลิกและความเชื่อมั่นภายใต้หลักคิดตัวเองว่า “ทำอะไรก็ได้ถ้าตั้งใจทำแล้วจะประสบความสำเร็จ” จึงทำให้ชายวัย 80 ท่านนี้ล้วนแต่ประสบความสำเร็จในทุกอย่างที่ลงมือทำ

สมัยหนุ่มคุณปรีชาเป็นช่างตัดเสื้อ แล้วเปลี่ยนมาขายปุ๋ยและเคมีทางการเกษตร ต่อมาหันมาทำฟาร์มเลี้ยงเป็ด จากนั้นมาค้าขายที่ดินอยู่หลายปี แล้วมาจับที่ดินบริเวณที่เป็นสวนในปัจจุบันจำนวนกว่า 500 ไร่ กระทั่งหยุดทุกอย่างแล้วเบนเข็มมาด้านไม้ดอกไม้ไม้ประดับเพราะมีความชอบ ด้วยการสะสมต้นโป๊ยเซียน เฟื่องฟ้า แล้วยังเข้าไปคลุกคลีกับวงการ โดยรับตำแหน่งเป็นประธานชมรมโป๊ยเซียนแห่งประเทศไทย

จากนั้นเปลี่ยนมาเล่นชวนชมซึ่งเริ่มจากจำนวนน้อยก่อน ขณะเดียวกัน ค่อยเรียนรู้และทำความเข้าใจพันธุ์ไม้นี้อย่างดีจึงได้เพิ่มจำนวนพร้อมกับสร้างจุดเด่นความน่าสนใจของชวนชมให้มีหลายรูปแบบ ทำให้เป็นที่ต้องการของตลาด

บนเส้นทางไม้ดอกไม้ประดับ คุณปรีชายังมองเห็นช่องทางทำเงินอีกหลายชนิด และสิ่งที่เขามองต่อไปคือการเปลี่ยนชื่อของต้นลั่นทมมาเป็นลีลาวดี พร้อมไปกับการผลักดันไม้ชนิดนี้ให้เป็นไม้ประดับจึงทำให้คุณปรีชามาจับลีลาวดี โดยได้สร้างจุดเด่นและความน่าสนใจตรงที่ทำให้มีสีดอกจำนวนหลายสีเพื่อเป็นการสร้างมูลค่า ซึ่งได้ทำกว่าร้อยสี จนมีชื่อเสียงโด่งดังได้รับความนิยมจากบรรดาคนรักต้นไม้มาก และถือว่าเป็นสวนลีลาวดีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ

คุณปรีชานับเป็นรายแรกและรายใหญ่ของจังหวัดนนทบุรีที่ปลูกอินทผลัมขายผลสดและต้นพันธุ์ เขาชี้ว่าไม้พันธุ์นี้ปลูกไม่ยาก แต่คนปลูกควรเข้าใจให้ลึกซึ้งแล้วทุ่มเทเท่านั้น ทั้งนี้ รุ่นแรกที่ปลูกผ่านไปนับว่าประสบความสำเร็จดีแม้จะเป็นมือใหม่ แล้วย้ำว่าผู้ที่สนใจปลูกควรศึกษาหาข้อมูลในลึกซึ้งเสียก่อนลงมือปลูก เพราะไม่ต้องการให้ล้มเหลวอย่างหลายคนที่ผ่านมา

คุณปรีชา บอกว่า การปลูกอินทผลัมควรเริ่มจากหาพื้นที่เหมาะสมทั้งคุณภาพดินและแหล่งน้ำ จากนั้นต้องหาพันธุ์ที่ดีมีคุณภาพด้วย เนื่องจากที่ผ่านมาตัวเขาเองเคยผิดพลาดมาแล้ว ทั้งการเลือกพันธุ์และวิธีปลูกที่ดูในยูทูป ทั้งนี้ เดือนที่ปลูกไม่มีการระบุชี้ชัดคุณจะปลูกเดือนไหนสะดวกก็ได้ ส่วนเรื่องดินนั้นอินทผลัมชอบดินปนทราย ลูกรังปนทราย หรือดินเหนียวปนทรายก็ได้ สำหรับปริมาณการให้น้ำต่อต้นจะต้องดูจากเนื้อดินในแต่ละแปลงเป็นหลักเพราะไม่เหมือนกัน อย่างที่สวนจะให้น้ำครั้งละประมาณ 15 นาที

“ช่วงเริ่มปลูกให้ใช้ปุ๋ยตัวหน้าสูงอย่าง 25-7-7 หรือสูตรเสมออย่าง 16-16-16 ให้ใส่ทุก 15 วัน ครั้งละกำมือต่อต้น พอต้นมีขนาดใหญ่พร้อมจะให้ผลผลิตจะต้องปรับเป็นจำนวน 1 กิโลกรัมทุก 15 วัน แล้วจะใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมด้วยก็ได้

ในกรณีที่เป็นดินปนทรายให้ขุดหลุมลึกไม่ควรเกินศอก ก้นหลุมจะใส่ปุ๋ยสูตรเสมอหรือไม่ก็ได้ แต่ควรรอให้รากเจริญเติบโตก่อนแล้วค่อยใส่ตาม แล้วไม่แนะนำให้ใส่ปุ๋ยคอกชนิดใดเลยเพราะเสี่ยงต่อด้วงที่จะลงไปวางไข่ แล้วก่อนมีดอกในราวเดือนธันวาคมและเดือนมกราคมจะใส่ปุ๋ย 8-24-24 ทั้งนี้ ต้นที่ปลูกและดูแลอย่างดีจะให้ดอกเมื่อประมาณ 2 ปี”

คุณปรีชา บอกว่า การปลูกอินทผลัมในแต่ละพื้นที่มีคุณภาพดินต่างกัน อย่าไปนำความสำเร็จของสวนคนอื่นมาเป็นบรรทัดฐาน เนื่องจากสภาพกายภาพของแต่ละพื้นที่มีความต่างกัน ดังนั้น ลักษณะการปลูกถ้าพื้นที่เป็นดินเหนียวควรปลูกแบบกระทะคว่ำหรือยกโศก แต่ถ้าเป็นดินทรายควรทำเป็นแอ่ง

“สำหรับพื้นที่ปลูกที่คาดว่าน้ำจะท่วมแน่ควรจะปรับให้มีขอบคันดินกั้นสูงขึ้นมาในลักษณะรูปโดนัท ขณะเดียวกัน แนวทางนี้จะช่วยเก็บกักปุ๋ยให้อยู่ในบริเวณจำกัด อีกทั้งพื้นที่ปลูกต่างกันจะให้ผลผลิตไม่ตรงกัน อย่างถ้าปลูกภาคเหนือและภาคกลางจะพบว่าทางภาคกลางจะให้ผลผลิตก่อน เพราะทางเหนือเจอหนาวเลยทำให้สุกช้า”

สำหรับการดูแลผลผลิตคุณปรีชาบอกว่าควรห่อผล ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ละเลยไม่ได้ อีกทั้งผลที่ห่อยังต้องคอยหมั่นตรวจสอบดูข้างในทุก 10 วัน เพราะบางผลอาจเน่าต้องดึงออก การห่อผลจะเริ่มหลังผสมเกสรแล้วประมาณ 2 เดือน โดยจะห่อถึง 2 ชั้น ให้ชั้นในเป็นกระดาษ ส่วนชั้นนอกเป็นถุงเขียว แต่สบายใจได้อย่างหนึ่งเนื่องจากอินทผลัมเป็นไม้ผลที่แมลงวันทองไม่เจาะผล เพราะเปลือกแข็ง ที่ผ่านมาไม่เคยเจอเลย ส่วนผลที่เสียหายจะนำไปแปรรูป

“ทางด้านการผสมเกสรสมัยนี้ง่าย สะดวกมาก ไม่ว่าจะปลูกพื้นที่มาก-น้อยก็มีอุปกรณ์ไว้ช่วย อย่างที่สวนของผมก็ใช้ที่ผสมเกสรแบบชนิดหลอด แต่ถ้าเป็นสวนขนาดใหญ่มากอาจต้องใช้เป็นเครื่อง ต้องบอกว่าการผสมเกสรของอินทผลัมมีโอกาสติดง่าย ถ้าช่วงไหนมีลมแรงอาจต้องใช้ถุงมาบังลมเพื่อช่วยให้การผสมเกสรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แล้วการผสมเกสรสามารถทำได้ตลอดทั้งวันตามความเหมาะสม

ทั้งนี้ เหตุผลที่ต้องผสมเกสรเพราะอินทผลัมเป็นพืชที่มีทั้งต้นตัวผู้และตัวเมีย สำหรับท่านที่ปลูกจำนวนมากกว่า 50 ต้นควรเก็บเกสรตัวผู้ไว้ ขณะที่ต้นตัวผู้จากเนื้อเยื่อก็มี ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์จาวีช บาฮี ฯลฯ”

เจ้าของสวนอินทผลัมชี้ว่า ในกรณีที่ต้นตัวเมียมีเกสรออกก่อนตัวผู้ จะต้องไปหาซื้อเกสรตัวผู้มาผสม โดยใช้เกสรตัวผู้สัก 1 ช้อน ก็สามารถใช้กับต้นตัวเมียได้จำนวนมาก ซึ่งวิธีใช้เกสรตัวผู้จะต้องใช้เกสรตัวผู้ 1 ช้อน ผสมกับแป้งทานคั่มหรือแป้งเด็กจำนวน 5 ช้อน

“ที่สวนของผมผสมเกสรติดทุกต้นเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ ต้นเนื้อเยื่อก็จะได้เท่านี้ เคยได้ยินพูดว่าสามารถผสมติดถึง 100 เปอร์เซ็นต์นั้นคงเป็นไปไม่ได้ ส่วนเวลาผสมเกสรที่เหมาะที่สุดคือช่วงเช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้นหรือหลังน้ำค้างแห้งแล้ว”

ส่วนโรคที่พบคุณปรีชาชี้ว่ามักเจอในช่วงรอยต่อฤดูอย่างปลายฝนต้นหนาว หรือปลายหนาวต่อร้อน มักพบโรคราสนิม ซึ่งถ้าพบแล้วต้องรีบฉีด แต่ถ้าไม่พบไม่จำเป็นต้องฉีดเพราะต้องการให้ต้นอินทผลัมมีความสมบูรณ์ และการทำให้มีความสมบูรณ์จะต้องเริ่มต้นจากการดูแลให้ดีทั้งเรื่องดิน ปุ๋ย และน้ำในทุกระยะการปลูก แต่ในกรณีที่พบว่ามีศัตรูพืชมาเจาะต้นควรใช้สบู่ซันไลต์ฟลาวเวอร์มาราดต้นให้ไหลลงดิน

สำหรับเรื่องที่หลายคนกังวลใจว่าจะไปขายให้ใคร ที่ไหน ขอบอกว่าอย่าไปกังวลเพราะอินทผลัมยังเป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งในและต่างประเทศ อย่างที่สวนของผมผลิตไม่พอขาย แถมยังมีออเดอร์ล่วงหน้าด้วย สิ่งที่พวกท่านควรกังวลมากที่สุดคือทำอย่างไรให้ผลผลิตมีคุณภาพสมบูรณ์เต็มที่

ขณะนี้ที่สวนมีต้นพันธุ์จำหน่าย เป็นต้นที่มีขนาดนำไปปลูกได้ทันทีในราคาตั้งแต่ 2,000-3,500 และ 5,000 บาท ส่วนราคาจำหน่ายผลผลิตที่สวนกิโลกรัมละ 500-600 บาท

“การปลูกอินทผลัมไม่ได้ยากอย่างที่คิด อีกทั้งเป็นพันธุ์ไม้ที่ดูแลง่าย ทนทาน แข็งแรง ขอเพียงให้ผู้ปลูกใส่ใจอย่างใกล้ชิดเท่านั้น ปลูกได้นานหลายสิบปี ใครที่คิดจะเริ่มปลูกบอกได้เลยว่าเป็นพืชที่น่าสนใจ ตลาดยังรองรับได้มาก การลงทุน อาจสูงในช่วงแรกเพราะต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์ปลูก แต่หลังจากนั้นใช้เงินน้อยลง จนได้ผลผลิตแล้วจึงเริ่มคืนทุน” คุณปรีชา กล่าวในตอนท้าย

สำหรับท่านที่พลาดโอกาส ยังสามารถเดินทางไปชมสวนอินทผลัมปรีชาได้เอง แล้วยังมีอินทผลัมสดไว้จำหน่ายหลายรูปแบบทั้งซื้อเป็นกิโลหรือแบ่งใส่ถุง รวมถึงยังมีแบบแปรรูปเป็นอินทผลัมแห้งและน้ำอินทผลัมด้วย

สวนอินทผลัมปรีชา อยู่ไม่ไกลแค่นนทบุรีใกล้กรุงเทพฯ สอบถามรายละเอียดเส้นทางเพิ่มเติมได้ที่ ผักหวานป่าจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 5-10 เมตร ต้นที่โตเต็มที่สูงถึง 13 เมตร ที่พบ ทั่วไปมักมีลักษณะเป็นไม้พุ่มใหญ่อายุหลายปี เนื่องจากมีการตัดแต่งกิ่งการหักกิ่งเด็ดยอด เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อน ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค ใบผักหวานป่า มีสีเขียวเข้ม เนื้อใบกรอบ เนื้อมาก ขอบใบเรียบ ปลายใบป้าน ฐานใบเรียว สอบถึงแหลม ขนาดของใบประมาณ 2.5-5 x 6-12 เซนติเมตร ในยอดและใบสดที่รับประทานได้ 100 กรัม ประกอบด้วย น้ำ 76.6 กรัม โปรตีน 8.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 10 กรัม เยื่อใย 3.4 กรัม เถ้า 1.8 กรัม แคโรทีน 1.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 115 มิลลิกรัม และพลังงาน 300 กิโลจูล (KJ)

ผักหวานป่าในประเทศไทยสามารถปลูกและพบได้ทั่วไปแทบทุกภาคของประเทศ แต่ในธรรมชาติยังมีพืชอีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายผักหวานป่า พืชชนิดนี้มีเมล็ด 3-6 เมล็ด รับประทานยอดอ่อน และมีชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น มะยมป่า ผักหวานบ้าน ผักหวานใต้ใบ เป็นต้น มีลักษณะยอดอ่อนเหมือนผักหวานป่ามากจนมีการเก็บผิดอยู่เสมอและเมื่อกินผักชนิดนี้เข้าไปจะออกฤทธิ์กับระบบประสาททำให้เกิดอาการเมา พืชชนิดนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Urobotrya siamensis Hiepko คนลำปางเรียก แกก้อง หรือ นางแย้ม เชียงใหม่เรียก นางจุม จันทบุรี เรียก ผักหวานเขา กาญจนบุรี และชลบุรี เรียก ผักหวานดง สระบุรี เรียก ผักหวานเมา หรือ ซ้าผักหวาน ภาคอีสานเรียก เสน หรือ เสน ส่วนทางประจวบคีรีขันธ์ เรียก ดีหมี

อย่างไรก็ตาม หากสังเกตต้นและใบที่แก่จะมีลักษณะแตกต่างกันเห็นได้ชัดหลายอย่างเช่น เนื้อใบสดผักหวานป่ากรอบเปราะ เมื่อบีบด้วยอุ้งมือจะได้ยินเสียงดังกรอบแกรบ ส่วนผักหวานเมาเนื้อใบนุ่มเหนียวไม่หักง่าย ผิวใบด้านบนผักหวานป่ามีสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนผักหวานเมาผิวใบสีเขียวเข้มผิวด้าน ปลายใบผักหวานป่ามนหรือบุ๋มมีติ่งตรงปลาย แต่ผักหวานเมาแหลมถึงป้านเล็กน้อย ส่วนผลของผักหวานป่า เมื่อสุกมีสีเหลือง แต่ผลผักหวานเมา เมื่อสุกมีสีส้มถึงแดงจัด เลือกดูให้ดีก่อนนำมารับประทาน

จากการพูดคุยกับแม่ค้าที่ขายผักหวานป่าโดยตรง พบว่าราคาผักหวานป่าค่อนข้างดีมาตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยราคาผักหวานป่าจะแพงมากในช่วงเดือนพฤศจิกายนเรื่อยมาจนถึงเดือนมกราคม หลังจากนั้นราคาจะเริ่มตกลงเล็กน้อย และมีราคาทรงตัวจนไปถึงช่วงเดือนพฤษภาคมราคาจะลดลงไปอีก เพราะเข้าสู่ช่วงฤดูฝนที่มีผลผลิตผักหวานป่าออกมามาก และจากข้อมูลราคาผักหวานป่าของตลาด 4 มุมเมืองพบว่า ราคาโดยเฉลี่ยของผักหวานป่าในปี 2553 อยู่ที่ 120 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนในปี 2554 ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 123 บาทต่อกิโลกรัม ถือว่าราคาดีพอสมควรเลยนะคะ ส่วนต้นกล้าผักหวานป่าก็มีราคาดีไม่แพ้กัน ราคาต้นกล้าสูงประมาณ 10 เซนติเมตร ขายอยู่ที่ราคาต้นละ 15-20 บาท แล้วแต่ฤดูกาล

เมื่อมีราคาดีผักหวานป่าจึงเป็นพืชที่มีคนสนใจกันมากทำให้ต้นผักหวานป่ามีราคาสูง สิ่งหนึ่งที่ทำให้ต้นผักหวานป่าราคาสูงก็เพราะพืชชนิดนี้ขยายพันธุ์ได้ยากมากๆ ปกติแล้ววิธีการขยายพันธุ์ให้ได้ต้นผักหวานป่ามีหลายวิธี ซึ่งล้วนแต่มีปัญหาจุกจิกกวนใจและ

ให้ผลผลิตน้อย เช่น การตอนกิ่งผักหวานป่าต้องใช้เวลานานกว่าพืชชนิดอื่นคือต้องใช้เวลาประมาณ 3 เดือนขึ้นไป การออกรากก็จะไม่ออกมากเหมือนพืชชนิดอื่น ส่วนการตัดชำ มีเปอร์เซ็นต์การออกรากต่ำมาก นอกจากนั้นยังมีวิธีขยายพันธุ์ผักหวานป่าแบบซาดิสม์ที่เรียกว่าวิธีการสกัดราก ซึ่งเป็นวิธีการเพิ่มจำนวนต้นผักหวานป่า ที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีต้นผักหวานป่าที่มีอายุหลายปีแล้ว และมีรากบางส่วนโผล่ขึ้นมาบนดินใช้สันมีดหรือจอบทุบลงไปบนรากที่โผล่ขึ้นมาให้เปลือกที่หุ้มรากแตก ประมาณ 1 เดือนต้นผักหวานป่าจะแตกขึ้นมาเป็นต้นใหม่ได้

ส่วนการชำรากเป็นวิธีที่เหมาะกับผักหวานป่าที่มีอายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไป โดยใช้วิธีการเปิดหน้าดินแล้วตัดรากขนาดใหญ่เป็นท่อนๆ นำไปเพาะในถุงดำ ประมาณ 1-2 เดือน รากจะแทงรากใหม่แล้วแทงยอดขึ้นมาเป็นต้นกล้า หรืออีกใช้การขยายพันธุ์แบบแยกหน่อ คือการตัดรากขนาดใหญ่ให้เป้นแผลแล้วทาแผลด้วยปูนกินหมากเมื่อปูนแห้งจึงกลบดินกลับเหมือนเดิม รดน้ำสม่ำเสมอ ประมาณ 1-2 เดือน ก็จะมีหน่อผักหวานแทงขึ้นมา เมื่อหน่อโตก็ให้ขุดย้ายมาชำในถุงต่ออีก แต่วิธีการขยายพันธุ์โดยใช้รากทั้งหลายที่บอกมาเกษตรกรจะต้องมีต้นแม่พันธุ์ในปริมาณมาก จึงจะขยายพันธุ์ได้มาก และการขยายพันธุ์ด้วยรากแบบนี้อาจทำได้ไม่มาก เนื่องจากจะทำให้ต้นแม่พันธุ์โทรมเร็วและเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค

การขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

การขยายพันธุ์ผักหวานป่าด้วยวิธีการเพาะเมล็ดเป็นอีกวิธีที่นิยมทำกัน ผลของผักหวานป่าเป็นผลเดี่ยวที่มีรูปไข่ ถึงค่อนข้างกลม ผลอ่อนสีเขียว มีนวลเคลือบโดยรอบต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองครีมหรือเหลืองอมส้มเมื่อแก่ เปลือกบาง เนื้อฉ่ำน้ำ มีเมล็ดเดี่ยว วิธีเพาะเมล็ดผักหวานป่าโดยทั่วไปคือ ใช้เมล็ดผักหวานป่าที่สุกแล้วเปลือกจะมีสีเหลืองสด นำมาเอาเนื้อของผลผักหวานป่าออก แล้วเพาะในภาชนะที่เตรียมไว้ประมาณ 2 เดือนจึงจะเริ่มงอก

ปัญหาจากการขยายพันธุ์ผักหวานป่าโดยการใช้เมล็ดก็คือ เปอร์เซ็นต์การงอกต่ำ นอกจากนั้นการที่รากผักหวานเจริญเติบโตได้เร็วจะทำให้รากผักหวานป่าโค้งงอภายในภาชนะที่ใช้เพาะชำ ซึ่งสิ่งนี้ส่งผลเสียอย่างมากเมื่อนำผักหวานป่าไปปลูกในสภาพแปลงเพราะจะทำให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโตเป็นเวลานาน

เพาะเมล็ดผักหวานป่าในขวดน้ำพลาสติคใสวิธีง่ายๆ แต่ได้ผล

ที่กาญจนบุรีมีนักวิชาการท่านหนึ่งคือ ว่าที่ร้อยตรีสมยศ นิลเขียว นักวิชาการเกษตรของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ประยุกต์ใช้วิธีง่ายๆ ในการเพาะขยายพันธุ์ผักหวานป่า

“ผมพบว่าการเพาะขยายพันธุ์ผักหวานป่าด้วยเมล็ดในขวดน้ำพลาสติกใสนอกจากจะเป็นการช่วยโลกนำพลาสติกกลับมาใช้ใหม่และช่วยให้เกษตรกรมีทางเลือกในการเพาะขยายพันธุ์พืชชนิดนี้ด้วย”

เทคนิคการเพาะเมล็ดผักหวานป่าของคุณสมยศ ทำได้ง่าย ๆ ดังนี้ อุปกรณ์

ชวดน้ำพลาสติกใสขนาด 1.5 ลิตร
เมล็ดผักหวานป่าเท่ากับจำนวนของขวด
ดินผสมที่ใช้ในการเพาะ(ดินร่วน 1 ส่วน ทราย 1 ส่วน ขี้เถ้าแกลบ 1 ส่วน)
มีดปอกผลไม้
ตะปูหรือเหล็กแหลมเพื่อใช้ในการเจาะรู
วิธีการเพาะ

นำผลสุกมาแช่น้ำไว้ 1-2 ชั่วโมงเพื่อที่จะทำให้เปลือกและเนื้อของเมล็ดผักหวานหลุดออกได้ง่าย
ล้างน้ำขยี้เปลือกและเนื้อของผลเททิ้งให้เหลือเฉพาะเมล็ดลักษณะคล้ายเมล็ดบัว
ล้างให้สะอาดอีกครั้งเพื่อความมั่นใจว่าเนื้อลอกออกไปหมดแล้วเพราะเนื้อผลผักหวานมีรสหวาน มดแมลงชอบเข้ามากัดกินทำให้เมล็ดไม่สมบูรณ์ อีกอย่างก็คือ เชื้อรา ถ้าเกิดเชื้อราแล้วเมล็ดจะไม่ค่อยงอกหรืออาจจะเสียได้
นำเมล็ดที่ล่อนแล้วไปผึ่งลมให้แห้ง สามารถเก็บไว้ได้ 15 วัน (ห้ามโดนแดด)
ผสมวัสดุปลูกให้เข้ากัน
ทำการเจาะรูที่บริเวณก้นขวดเพื่อให้มีการระบายน้ำและใช้มีดปาดที่คอขวดแต่ไม่ให้ขาดเพื่อจะได้ทำการใส่ดินให้สะดวกมากยิ่งขึ้น
นำดินที่ผสมดีแล้วใส่ลงไปในขวดจนถึงบริเวณคอขวดที่ตัดแล้วทำการรดน้ำให้ชุ่ม
นำเมล็ดลงปลูกลงในขวดฝังให้แค่พอมิดรดน้ำให้ชุ่มประมาณ 1 เดือนรากของเมล็ดผักหวานป่าจะงอก
เมื่อต้นผักหวานป่ามีอายุได้ประมาณ 2.5 -3 เดือน สามารถที่จะนำไปปลูกลงแปลงได้
ข้อได้เปรียบของการเพาะเมล็ดผักหวานป่าในขวดน้ำพลาสติกใส

คุณสมยศเล่าว่า ข้อดีของการเพาะเมล็ดผักหวานป่าในขวดพลาสติกมีหลายอย่าง นอกจากจะเป็นการรียูธ เอาขวดพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ช่วยลดขยะแล้วสิ่งสำคัญที่เกษตรกรจะได้ประโยชน์จากการขยายพันธุ์ผักหวานป่าวิธีนี้คือ การเพาะเมล็ดผักหวานป่าในขวดพลาสติกใสทำให้รากไม่งอ เพราะการเพาะเมล็กผักหวานป่าในถุงเพาะชำสีดำที่เราเคยชินนั้น เราจะมองไม่เห็นรากว่าเจริญเติบโตไปขนาดไหนแล้ว

ผักหวานป่าเป็นพืชป่าที่มีระบบรากแข็งแรงและลงรากลึกเมื่อเพาะเมล็ดจนงอกแล้วรากของผักหวานจะเจริญได้เร็วหากมีสิ่งกีดขวางจะทำให้รากคดงอทำให้เกิดปัญหาเมื่อนำไปปลูกลงดินในสภาพสวนเพราะจะเจริญเติบโตช้า แต่การเพาะเมล็ดผักหวานป่าในขวดน้ำพลาสติกใสจะมองเห็นการเจริญของรากซึ่งจะช่วยลดปัญหารากคดงอไปได้ระดับหนึ่ง นอกจากนั้นการที่มีคอขวดเป็นฝาปิดจะช่วยปกป้องต้นอ่อนผักหวานป่าไม่ให้โดนแมลงมารบกวนได้อีกทางหนึ่งด้วย

เจริญเติบโตได้ดีเมื่อปลูกในสภาพแปลง “ผมมีแปลงผักหวานป่าที่ปลูกไว้ในพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ เป็นต้นผักหวานป่าที่ได้จากการเพาะเมล็ดในขวดน้ำพลาสติกทั้งหมดซึ่งพบว่ามีการเจริญเติบโตดีในสภาพแปลงปลูกที่ปล่อยให้เป็นลักษณะธรรมชาติไม่ต้องมีการดูแลรักษามากนัก” คุณสมยศ ฝากบอกทิ้งท้ายว่า “ผมทดลองการเพาะเมล็ดผักหวานป่าในขวดน้ำพลาสติกมาหลายปีแล้วพอจะสรุปผลได้ว่าเป็นทางเลือกหนึ่งที่ใช้ได้ผลในเรื่องการแก้ปัญหางอกยาก รากงอ โตช้า ของผักหวานป่า ใครที่สนใจจะนำวิธีการนี้ไปใช้ก็ได้ไม่ว่ากัน”

หรือใครสนใจต้นกล้าผักหวานป่า หรือจะพูดคุยกับคุณสมยศติดต่อได้ที่โทร 08-7082-9088 เพราะทุกอาชีพมีทางเดินมากมายให้เลือกเสมอ ขอเพียงแค่เราสนใจ ใส่ใจ และ คิดอยู่เสมอก็มีช่องทางสร้างงาน สร้างเงินให้เราได้ ฉบับนี้สมควรกับพื้นที่ต้องขอลากันไปก่อนพบกันใหม่ฉบับต่อไป

“ดินแดนป่าสอนลอน สะออนสาวบ้านแต้ งามแท้แลคิ้งไกล น้ำพรมไหลผ่าน สงกรานต์ภูกุ้มข้าว นมัสการพระเจ้าองค์ตื้อ ลือพระไกรสิงหนาท พระธาตุกุดจอก นามบ่งบอกคือเกษตรสมบูรณ์”

จากข้อความข้างต้นได้บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นผืนป่า ผืนน้ำ ความเจริญทางวัฒนธรรมประเพณีที่เก่าแก่สืบทอดกันมายาวนานของชาวเกษตรสมบูรณ์ เกษตรสมบูรณ์ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิในจำนวน 16 อำเภอ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดชัยภูมิ ตอนกลางของพื้นที่อำเภอ เป็นที่ราบลุ่ม สลับเนินมีลำน้ำสายสำคัญได้แก่ “ลำน้ำพรม” ไหลผ่าน ลำน้ำสายนี้ถือเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงชาวชัยภูมิตอนบนเกือบทุกอำเภอ และเป็นลำน้ำสาขาของน้ำพอง พื้นที่เป็นดินเหนียวปนทราย เหมาะแก่การปลูกข้าว

ตอนเหนือของพื้นที่อำเภอเป็นที่ราบสลับเนิน เหมาะแก่การปลูกพืชไร่และเลี้ยงสัตว์ ทิศใต้และทิศตะวันตก เป็นพื้นที่ป่าไม้และภูเขา มีภูเขาสูงสลับซับซ้อน โดยเฉพาะด้านทิศตะวันตก มีเทือกเขาภูเขียวซึ่งเป็นพื้นที่ป่าไม้ที่เป็นแหล่งต้นน้ำขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ปัจจุบันได้รับการประกาศเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำนานาชาติ (International Wetland)

ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้อำเภอเกษตรสมบูรณ์มีต้นทุนทางธรรมชาติที่ได้เปรียบในหลายพื้นที่ สามารถสร้างผลผลิตทางการเกษตรทั้งพืชที่เป็นผลผลิตหลัก ได้แก่ข้าว และ พืชอื่นที่เป็นพืชรองหลายชนิด เช่น พริก ยาสูบ ยางพารา ที่มีคุณภาพป้อนเข้าสู่ตลาดแข่งขัน สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านเป็นอย่างดี ที่สำคัญอย่างมากคือชาวบ้านที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่เกษตรสมบูรณ์ทุกคนทุกอาชีพต่างมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างเป็นระบบ มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนแม้จะไม่เป็นทางการ แต่พวกเขาสามารถสร้างความเข้มแข็งได้อย่างดีมีคุณภาพ

อำเภอเกษตรสมบูรณ์ มีเกษตรกรรมอะไรบ้าง

ก่อนที่จะไปรับทราบเรื่องราวของการประกอบอาชีพปลูกพริกที่ชาวเกษตรสมบูรณ์ทำเป็นรายได้เสริมหลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว คุณสาคร มะลิดา ตำแหน่งเกษตรอำเภอเกษตรสมบูรณ์มีข้อมูลตรงและสดจากพื้นที่เกษตรกรรมมาเปิดเผยว่า ที่อำเภอเกษตรสมบูรณ์ มีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 3 แสนกว่าไร่ เป็นพื้นที่ใช้ปลูกข้าวเกือบ 2 แสนไร่ ที่เหลือปลูกพืชรองและพืชเสริมได้แก่ อ้อย ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพด

เกษตรอำเภอ กล่าวต่อว่าพืชที่เป็นเอกลักษณ์ของเกษตรสมบูรณ์และเป็นพืชที่ปลูกไม่กี่แห่งในประเทศคือถั่วเหลือง ซึ่งมีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 3 หมื่นกว่าไร่ และเป็นการปลูกถั่วเหลืองที่ไม่มีการเตรียมดิน เป็นการหว่านบนดิน ทั้งที่ก่อนหน้าที่เคยมีการเผาฝางก่อน แต่ปัจจุบันไม่ทำเช่นนั้นแล้ว มีการพัฒนาวิธีการปลูกด้วยการล้มต้นฝาง เติมน้ำแล้วจึงหว่านถั่ว จากนั้นจึงระบายน้ำทิ้ง ต้นถั่วก็จะงอกขึ้นมา

“ถือว่าเป็นการใช้ความรู้ด้านเกษตรกรรมด้วยการคำนวณว่าควรเติมน้ำก่อนเพื่อแช่ไว้นานเท่าไร ถึงจะมีความเหมาะสมที่จะทำให้ถั่วเหลืองงอกได้อย่างสมบูรณ์ ก่อนหน้าปลูกถั่วเหลือง ชาวบ้านเคยปลูกถั่วเขียวในพื้นที่ดินแปลงเดียวกัน และให้ผลผลิตถั่วเขียวประมาณ 140-150 กิโลกรัมต่อไร่ แต่เมื่อถั่วเหลืองเป็นพืชแข่งขันที่ให้ผลผลิต 300-350 กิโลกรัมต่อไร่ แม้จะต้องใช้เวลาการปลูกถั่วเหลือถึง 100-110 วัน ส่วนถั่วเขียวใช้เวลาเพียง 60 วันก็ตาม แต่เกษตรกรเห็นว่าเป็นการปลูกที่ให้รายได้คุ้มค่ากว่า จึงได้ปลูกถั่วเหลืองแทนถั่วเขียว แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีเกษตรกรที่ยังปลูกถั่วเขียวอยู่บ้าง” คุณสาครกล่าว

“พริก” เป็นพืชอีกชนิดที่ทำรายได้ให้กับชาวเกษตรสมบูรณ์ มีผลผลิตเฉลี่ย 2,700 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งถือว่าเป็นผลผลิตที่สูง มีจำนวนพื้นที่ปลูกตั้งแต่ 3-8 พันไร่ คาดว่าปลูกมากที่สุดในประเทศไทยสำหรับการปลูกพริกในนาข้าว แต่ยังคงมีปัญหาด้านคุณภาพ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่เกษตรคอยให้ความช่วยเหลือที่จะพัฒนาทั้งคุณภาพและปริมาณให้ดีขึ้น

สภาพพื้นที่ของอำเภอเกษตรสมบูรณ์ โดยเฉพาะดินถือว่ามีคุณภาพมาก ไม่เปรี้ยว ไม่เค็ม ส่วนน้ำมีระบบชลประทานเกิน 60 เปอร์เซ็นต์ และที่พืชผลทางการเกษตรได้ผลผลิตดีเพราะทั้งหมดอยู่ในเขตชลประทาน อย่างไรก็ตามบางปีหากขาดน้ำจากระบบชลประทาน ยังพอมีน้ำจากใต้ดินดึงขึ้นมาใช้ได้ตลอด

ทางด้านข้าว ถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญมากสำหรับชาวเกษตรสมบูรณ์ คุณสาครกล่าวว่าได้ผลผลิตและมีความสมบูรณ์กว่าหลายอำเภอในชัยภูมิ อาจดูจากปุ๋ยที่ใช้เป็นตัวชี้วัดได้ว่าที่เกษตรสมบูรณ์ใช้ปุ๋ย 1 กระสอบต่อไร่ ขณะที่แห่งอื่นต้องใช้ถึง 4 กระสอบต่อไร่ แถมผลผลิตยังเทียบกันไม่ได้

“พอเสร็จปลูกข้าว ชาวบ้านไม่ยอมหยุด จัดการลงมือปลูกพืชอย่างอื่นต่อเพื่อเป็นรายได้ เช่นพริก ยาสูบ ถั่วเหลือง และอื่นๆ ในที่นาของพวกเขา เรียกว่าทั้งปีชาวบ้านมีกิจกรรมเพื่อหารายได้ตลอด ไม่ทิ้งผืนดินให้ว่างเปล่า พวกเขามีความสุข สนุกกับการทำงานกันเป็นครอบครัว ส่วนหน้าที่ของทีมงานเกษตรไม่เพียงแค่แนะนำการปลูกพืชให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพเท่านั้น ยังต้องเพิ่มในเรื่องของคุณธรรมเข้าไปด้วย มีการแนะนำให้ทุกคนปลูกพืชแบบปลอดสารเคมี เพราะแน่นอนการใช้สารเคมีย่อมทำให้คุณได้ประโยชน์ แต่ผู้บริโภคจะเสียประโยชน์ ดังนั้นหากทุกคนทำได้จริงก็แสดงว่าทุกคนมีคุณธรรมแล้ว”เกษตรอำเภอกล่าวทิ้งท้าย

เกษตรกรปลูกพริกได้ทั้งคุณภาพ และปริมาณ จากข้อมูลของเกษตรอำเภอที่ระบุว่าผลผลิตพริกของคุณบรรเย็นและกลุ่มมีคุณภาพและความสมบูรณ์ทั้งขนาดและรูปร่าง อันเป็นผลมาจากการเอาใจใส่แปลงปลูกอย่างจริงจังตามหลักวิธีการที่ถูกต้องจนนำไปสู่ปริมาณผลผลิตที่สูงถึง 2-3 ตันต่อไร่

คุณบรรเย็น คันภูเขียว kodiakcamera.com มีตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 ตำบลบ้านเป้า อยู่บ้านเลขที่ 19 หมู่ 4 ตำบลบ้านเป้า อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ โทรศัพท์ 085-2132969 ผู้ใหญ่บรรเย็น มีอาชีพเกษตรกรรมเหมือนเพื่อนบ้านคนอื่นด้วยการทำนาปลูกข้าว ครั้นพอหมดช่วงทำนา ได้หารายได้เสริมด้วยการปลูกพืชชนิดอื่นที่ใช้เวลาสั้น ให้ผลผลิตดี ที่สำคัญต้องมีรายได้ดีด้วย ดังนั้นพริกคือพืชอีกชนิดที่เลือกปลูกมาเป็นเวลากว่า 8 ปี

การลงพื้นที่ในครั้งนี้ทางผู้ใหญ่บรรเย็นได้พาคณะไปชมแปลงพริกบนเนื้อที่ดินกว่า 1 ไร่ จากอีกหลายแปลงที่เขามีอยู่ นอกจากคุณบรรเย็นที่ปลูกพริกแล้ว ยังมีเพื่อนบ้านอีก 3คนคือคุณกงหัน ศรีทน มีเนื้อที่ปลูกจำนวน 1 ไร่,คุณอรุณ เกื้อหนุน ตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน มีเนื้อที่ปลูกจำนวน 2 ไร่และคุณศาสตรา โพธิชาลี มีเนื้อที่ปลูกจำนวน 1 ไร่เศษ ทั้งสามคนอยู่ในหมู่บ้านเดียวกันคือบ้านหมู่ 4 และมีการวมตัวกันอย่างไม่เป็นทางการเพื่อช่วยเหลือร่วมมือกันแก้ปัญหาซึ่งกันและกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลในเรื่องการปลูกพริก ดังนั้นแนวทางการปลูกพริกของทั้งสี่คนจึงใช้วิธีเดียวกัน

คุณบรรเย็น เล่าถึงเหตุผลของการปลูกพริกว่าเพราะต้องการทำเป็นรายได้เสริมหลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปี และพริกจะเริ่มปลูกหลังเกี่ยวข้าวแล้ว เป็นการปลูกแบบสลับหมุนเวียน ในการปลูกแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือนจึงสามารถเก็บพริกได้ ต่อจากนั้นจะค่อยทยอยเก็บทุก 7 วัน

“จะเริ่มลงมือประมาณปลายเดือนธันวาคม โดยจะจัดการไถพื้นดินก่อนเป็นการเตรียมดิน ให้ใช้ปุ๋ยชีวภาพรองพื้น แล้วจัดการไถกลบ ทิ้งไว้ประมาณ 7 วันต่อจากนั้นจะยกร่องเตรียมแปลงหาวัสดุคือฟางที่เกี่ยวแล้วมาใช้คลุมดิน

จากนั้นจึงนำต้นกล้าพริกที่เพาะไว้ก่อนหน้านี้ประมาณ 1เดือน มาลงในแปลงที่เตรียมไว้ การกำหนดระยะห่างของต้นพริกต้องแล้วแต่ขนาดของพื้นที่แต่ละแห่ง แล้วแต่คุณภาพดิน ถ้าคุณภาพดินดี มีพื้นที่ใหญ่ระยะห่างประมาณ 80-100 เซนติเมตร” คุณบรรเย็นอธิบาย

ผู้ใหญ่ให้รายละเอียดต่ออีกว่าขณะต้นพริกเจริญเติบโต ต้องดูแลเอาใจใส่ ฉีดยา ดูใบว่ามีเพลี้ยหรือไม่ ถ้ามีต้องใช้สารเคมีที่ทางเกษตรอำเภอแนะนำ แต่หากมีไม่มาก จะใช้สารชีวภาพ