พันธุ์ข้าว ยุคแรกๆ ในประเทศไทยมาจากข้าวป่า มีขึ้นทั่วไป

แต่เมล็ดมีลักษณะอ้วน ป้อม จัดอยู่ในตระกูลข้าวเหนียว ถือเป็นต้นตระกูลแห่งข้าวเหนียวของภูมิภาคนี้ และอาจเกี่ยวข้องกับตระกูลข้าวญี่ปุ่นด้วย

ยุคแรกเริ่มของภูมิภาคอุษาคเนย์ คนทุกเผ่าพันธุ์กินข้าวป่ามาก่อน ซึ่งเป็นตระกูลข้าวเหนียว พบแกลบข้าวเหนียวอยู่ในแผ่นอิฐตามศาสนสถานยุคทวารวดีทั่วทั้งประเทศไทย รวมทั้งที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่สุโขทัย นครปฐม ลงไปถึงนครศรีธรรมราช แสดงว่าคนกินข้าวเหนียวเป็นอาหารหลักตั้งแต่เหนือจรดใต้

นักโบราณคดีไทยขุดพบเมล็ดข้าวเหนียวที่หุงหรือนึ่งแล้ว ตกอยู่ในดินบริเวณศาลาโถงวัดมหาธาตุเมืองสุโขทัยด้วย แสดงว่าคนทั่วไปและพระสงฆ์ยุคนั้นกินและฉันข้าวเหนียวในชีวิตประจำวันเป็นอาหารหลัก
ราว พ.ศ. 1500 มีพันธุ์ข้าวเมล็ดเรียวยาวจากอินเดียในตระกูลอินดิกา (Indica) แพร่เข้ามาพร้อมกับพระสงฆ์ พราหมณ์ และพ่อค้าจากชมพูทวีป แล้วเป็นที่นิยมก่อนในกลุ่มชนชั้นสูงของรัฐลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา จึงเรียกข้าวเจ้า หมายถึงข้าวที่เจ้าเสวย หลังจากนั้น พันธุ์ข้าวชนิดนี้จึงแพร่กระจายทั่วไปในชุมชนหมู่บ้าน บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา สืบมาจนถึงข้าวหอมมะลิยุคปัจจุบัน

ชุมชนหมู่บ้านเก่าที่สุดในประเทศไทยพบที่ภาคอีสาน มีอายุราว 5,000 ปีมาแล้ว เช่น ชุมชนที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ฯลฯ คนในชุมชนปลูกข้าวอยู่ริมหนองน้ำธรรมชาติ นับเป็นชาวนาชาวไร่ยุคแรก พบเครื่องมือเครื่องใช้หลายอย่างทำด้วยสัมฤทธิ์และเหล็กใช้ทำนาทำไร่และล่าสัตว์ รวมทั้งทำเครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสี มีแกลบหรือข้าวเปลือกเป็นส่วนผสม และรู้จักทอผ้าด้วย”

ข้าวในเมืองไทยมาจากไหน?
ในเรื่องที่มาของข้าวเมืองไทยนี้ พี่เดชาให้ความรู้กับดิฉันว่า

“วัฒนธรรมเกี่ยวกับข้าวในประเทศไทยใกล้ชิดอย่างยิ่งกับวัฒนธรรมข้าวของคนจ้วง มณฑลกวางสี ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นไปได้อย่างมากที่เมื่อพันกว่าปีที่แล้ว วัฒนธรรมไทยใต้กับจ้วง น่าจะใกล้ชิดเป็นหนึ่งเดียวกันมาก่อน

เมื่อต้นปี พ.ศ. 2557 ผมได้ไปที่พิพิธภัณฑ์ชนชาติกวางสี ไปดูห้องของแต่ละชนเผ่า มีห้องจ้วง เขาทำบ้านจ้วงแบบโบราณ เป็นเรือนใต้ถุนสูงเหมือนเรือนชาวบ้านไทย ที่เด่นชัดของจ้วงคือเสาเรือนวางบนก้อนหิน ไม่ได้ฝังลงในดิน หากพัฒนาขึ้นมาหน่อยก็ใช้หินสกัดเป็นรูปเสา รองไว้เป็นฐาน

ฐานเสาเรือนจ้วงโบราณจะเป็นหินทั้งนั้น ไม่มีไม้เสาฝังลงดิน เหมือนกับเรือนไม้ใต้ถุนสูงที่ผมเห็นอยู่แถบตอนใต้ของกวางสี เวียดนามเหนือ พื้นที่นั้นเป็นถิ่นอาศัยของคนไทดำหลายล้านคน แถบเมืองแถง ซอนลา นาน้อยอ้อยหนู ชาวบ้านไทดำปลูกเรือนไม้ใต้ถุนสูง เสาวางบนก้อนหินทั้งนั้น ไทดำน่าจะได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมการปลูกเรือนมาจากจ้วง เพราะมีพื้นที่ติดกัน

คนไทดำกับคนจ้วงใต้สามารถพูดคุยสื่อสารกันรู้เรื่อง แล้วไทดำยังรักษาวัฒนธรรมปลูกเรือนไม้บนเสาหินไว้ได้ แต่คนไทย-ไท ในลาว อีสาน เหนือ กลางของเมืองไทย ไม่ได้ปลูกบ้านวางเสาไว้บนหินอีกแล้ว เห็นมีแต่เรือนไทยภาคใต้ที่ยังวางเสาบนหินกันไว้อยู่

อีกอย่างของคนจ้วงที่เหมือนกับคนไทยใต้คือเครื่องมือในการเกี่ยวข้าวชนเผ่าจ้วงดั้งเดิมในกวางสีเขาใช้ “แกระ” เกี่ยวข้าวเหมือนกับชาวบ้านไทยภาคใต้ ซึ่งมีแต่คนไทยใต้เท่านั้นที่ใช้แกระ คนไทยภาคอื่นใช้แต่เคียวเกี่ยวข้าว ไม่มีใครเขาใช้แกระแบบคนไทยใต้ แต่คนจ้วงยุคปัจจุบันนี้คงไม่ใช้แกระแล้ว เพราะวิถีชีวิตเปลี่ยนไปมาก

คนไทยภาคใต้ยังใช้แกระเกี่ยวข้าวอยู่ ผมคิดว่าน่าจะเป็นวัฒนธรรมเดียวกับจ้วง รับจากจ้วงโดยตรง เหมือนที่คนไทยใต้ปลูกเรือนใต้ถุนสูง วางเสาบนหิน นี่ก็คงรับมาจากจ้วงโดยตรงเช่นกัน ไทยภาคอื่นจึงไม่มีแบบนี้ เป็นไปได้ว่าคนไทยภาคใต้น่าจะอพยพทางเรือจากกวางสีมาขึ้นฝั่งภาคใต้ โดยไม่ได้ผ่านวัฒนธรรมอื่น จึงไม่มีวัฒนธรรมอื่นมาเจือปน ทำให้หลายสิ่งยังคงรักษาลักษณะแบบจ้วงไว้ได้โดยไม่เปลี่ยนแปลง

ดังนั้น ผมเห็นว่าน่าจะได้เข้าไปตรวจสอบศึกษาพันธุ์ข้าวดั้งเดิมของชาวบ้านภาคใต้ เปรียบเทียบกับพันธุ์ข้าวที่อยู่ในมณฑลกวางสีของจ้วงด้วย ควรจะมีการตรวจดู DNA ของข้าวทั้ง 2 พื้นที่ ผลที่ได้น่าจะบ่งชี้ว่าพันธุ์ข้าวจ้วงและพันธุ์ข้าวไทยใต้มีแหล่งกำเนิดเดียวกัน มีความใกล้เคียงกันมากกว่าพันธุ์ข้าวจ้วงกับพันธุ์ข้าวในภาคอื่นๆ ของไทย

หากมีการศึกษาเช่นนี้อาจได้เห็นความใกล้ชิดระหว่างคนไทยใต้กับจ้วงอยู่มาก ที่ผ่านมาเราศึกษากันแต่ว่า คนไทยภาคใต้ได้รับวัฒนธรรมต่างๆ ค่อนข้างมากจากอินเดีย อย่างเช่น เรื่องของพันธุ์ข้าว เราพบว่าข้าวบางพันธุ์ของภาคใต้ได้รับมาจากอินเดียโดยตรง เช่น “ข้าวช่อใบไผ่” ที่ขั้วหนึ่งจะมี 2-3 เมล็ด ลักษณะแบบนี้พบแต่ในอินเดียกับในไทยภาคใต้ ไทยภาคอื่นไม่มีแบบนี้ ข้าวไทยภาคอื่นๆ ขั้วหนึ่งจะมีเพียง 1 เมล็ด ลักษณะเด่นแบบนี้ทำให้รู้ว่าข้าวช่อใบไผ่ต้องรับมาจากอินเดียผ่านทางทะเลมาอย่างแน่นอน เพราะมีลักษณะเฉพาะชัดเจนจนไม่จำเป็นต้องตรวจ DNA ก็สามารถรู้ได้

แต่ข้าวจ้วงไม่มีลักษณะเด่นเช่นนี้ ดูจากภายนอกไม่รู้ จำเป็นต้องตรวจ DNA เปรียบเทียบกับข้าวพื้นบ้านดั้งเดิมของภาคใต้ คงจะพบได้ว่าบางพันธุ์มีต้นกำเนิดมาจากจ้วง เพราะข้าวคือสิ่งจำเป็นของชีวิต ขนาดแกระเกี่ยวข้าวยังเอามา ทำไมจะไม่เอาเมล็ดพันธุ์ข้าวมาด้วย แต่เรื่องนี้ต้องศึกษาอย่างละเอียด อย่างเช่น เรื่องของภาษาก็ต้องเอาคนชำนาญภาษาถิ่นใต้มาตรวจเลยว่า ศัพท์แต่ละคำเกี่ยวข้องกับภาษาจ้วงอย่างไร มากแค่ไหน

ในพิพิธภัณฑ์ชนชาติกวางสี ในห้องของคนจ้วงมีข้อมูลบ่งบอกไว้ เขาเชื่อกันว่าข้าวป่าได้กลายมาเป็นข้าวบ้านที่คนปลูก เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่กวางสี โดยพวกจ้วงนี้แหละเป็นคนกลุ่มแรกที่ปลูกข้าว ทั้งยังเป็นคนที่พัฒนาให้เกิดวิธีปลูกข้าวในนา นาคือพื้นที่ที่ยกด้านรอบทั้ง 4 ด้านเพื่อให้กักน้ำได้ การยกคันนาทั้ง 4 ด้านเพื่อกักน้ำไว้ภายในจะทำให้ไม่มีวัชพืชขึ้นรบกวนกอข้าว และจะทำให้มีน้ำหล่อเลี้ยงต้นข้าวไว้ตลอดเวลา
จะเห็นได้ว่า พื้นที่ที่จ้วงอยู่แม้จะเป็นพื้นที่ภูเขา คนจ้วงก็ยังทำนาขั้นบันไดทั้งหมด จ้วงไม่ปลูกข้าวไร่ ซึ่งอันนี้คนพูดภาษาไท-ลาว จะไปอยู่ที่ใดก็จะยังมีวัฒนธรรมปลูกข้าวในนา ไม่ปลูกข้าวไร่ เชื่อว่าคนพูดภาษาไท-ลาวมีจุดเริ่มมาจากจ้วง และคนปลูกข้าวกลุ่มแรกก็คือจ้วง คนที่พัฒนาการปลูกข้าวในน้ำ โดยยกคันนาขังน้ำไว้ก็คือจ้วง

ดังนั้น คนพูดไท-ลาวจะไปอยู่ที่ใดก็เอาวัฒนธรรมปลูกข้าวในน้ำไปด้วย เพราะเป็นวัฒนธรรมของคนกลุ่มนี้ ภาษาก็เป็นวัฒนธรรม การปลูกข้าวในน้ำก็เป็นวัฒนธรรมเช่นกัน แต่เรื่องนี้ต้องมีการศึกษาต่อ เพราะนี่เป็นเพียงการสันนิษฐานจากการเห็นข้อมูลจากห้องจ้วงในพิพิธภัณฑ์ชนชาติกวางสี ในนั้นมีหลักฐานว่าจ้วงอาศัยอยู่ที่กวางสีตั้งแต่ยุคหินเก่า ยุคหินใหม่ ยุคเหล็ก ยุคสำริด มาถึงปัจจุบันโดยไม่ได้ย้ายไปไหน

ข้าวที่เรากินกันอยู่ทุกวันนี้ เกิดจากข้าวป่ามากลายเป็นข้าวบ้านโดยคนไปคัดเลือก คนกลุ่มแรกที่พัฒนาข้าวป่าให้เป็นข้าวบ้านก็คือคนจ้วงกวางสี จากนั้นจึงกระจายไปทั่ว แต่เดิมเคยมีนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นเข้าไปสำรวจทำวิจัยเรื่องข้าว แล้วคิดว่าข้าวเกิดที่ยูนนาน เพราะที่ยูนนานมีข้าวหลากหลายสายพันธุ์มาก

แหล่งกำเนิดข้าว พิจารณาจากเหตุ-ผล เช่นใด
การจะสรุปว่าที่ใดเป็นแหล่งกำเนิดข้าว เราจะดูว่า พื้นที่นั้นมีข้าว 3 กลุ่ม ครบทุกประเภทหรือไม่ ซึ่งข้าว 3 กลุ่มนั้นก็คือ

1. ข้าวอินดิกา (Indica) เป็นข้าวเมล็ดยาวรี ลำต้นสูง ตั้งชื่อตามแหล่งที่ค้นพบครั้งแรกในประเทศอินเดีย นิยมเพาะปลูกในทวีปเอเชียเขตมรสุม ตั้งแต่ จีน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ไทย อินโดนีเซีย ไปจนถึงอินเดียและศรีลังกา

2. ข้าวจาปอนิกา (Japonica) เป็นข้าวเมล็ดสั้นป้อม เนื้อเหนียว พบมากในจีน ญี่ปุ่น เกาหลี

3. ข้าวจาวานิกา (Javanica) เป็นข้าวลักษณะเมล็ดป้อมใหญ่ พบที่เกาะชวา เกาะไต้หวัน เป็นข้าวดั้งเดิมในท้องถิ่นนั้น

โดยทั่วไปในแต่ละพื้นที่จะมีข้าวอยู่ชนิดเดียว แต่นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นพบว่า ที่ยูนนานมีข้าว 3 ชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกัน จึงเชื่อว่ายูนนานเป็นแหล่งกำเนิดข้าวป่า แล้วพัฒนามาเป็นข้าวบ้าน จึงได้มีข้าวหลากหลายชนิด แต่ล่าสุดคนจีนพบว่าที่กวางสีน่าจะเป็นแหล่งกำเนิดข้าวดั้งเดิมมากกว่ายูนนาน เพราะมีพันธุ์ข้าวนานาชนิดหลากหลายกว่ายูนนาน จึงเชื่อว่าข้าวเกิดที่กวางสีก่อน จากนั้นจึงแพร่ไปที่ยูนนาน
หากเป็นเช่นนี้ก็ทำให้สันนิษฐานได้ว่า คนพูดภาษาไท-ลาว เมื่ออพยพไปที่ใดก็จะพาข้าวไปด้วย ภาษาไทกับเมล็ดข้าวไปไหนไปด้วยกัน เกิดที่เดียวกันกระจายไปด้วยกัน เหมือนดังเช่นคนจากยูนนานก็ไปจากกวางสี ข้อสันนิษฐานมีมาเช่นนี้ และยังรอการพิสูจน์อยู่

การพิสูจน์ทำได้ไม่ยาก เพราะเราสามารถตรวจ DNA ข้าวได้ ว่าแต่ละสายพันธุ์มีความผูกพันใกล้ชิดกันแค่ไหน เรื่องนี้ตรวจไม่ยาก เหมือนอย่างที่เราตรวจ DNA มนุษย์จนรู้ว่าแหล่งกำเนิดมนุษย์อยู่ที่แอฟริกา แล้วอพยพกระจายไปทั่วโลก ข้าวก็เช่นกัน เมื่อเราตรวจ DNA ก็สามารถรู้ได้ไม่ยากว่ามีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมที่ไหน ตอนนี้เรารู้แล้วว่าภาษาไทที่หลากหลายและเก่าแก่มากที่สุด ดั้งเดิมสุดอยู่ที่กวางสี ข้าวก็อยู่กับคนพูดภาษาไท คนพูดภาษาไทกับเมล็ดข้าวมาจากแหล่งกำเนิดเดียวกัน”

ข้อคิดเห็นเรื่องข้าวบ้านกับคนจ้วงของพี่เดชาที่อธิบายให้ฟังนี้ กระจ่างชัด และยังรอการพิสูจน์ได้โดยไม่ยาก ด้วยการตรวจ DNA ของข้าวกวางสีและการศึกษาทางภาษาศาสตร์ ส่วนในเรื่องของแกระเก็บข้าวนั้น ดิฉันได้สอบถามไปทาง น้องเฝิง เชี่ยวลี่ ล่ามภาษาไทย-จีน ที่สนิทสนมกันครั้งที่ดิฉันไปเยือนกวางสี และน้องสาวชาวจ้วงคนนี้ยังได้เดินทางมาสำรวจชุมชนลาวโซ่งเมืองเพชร เขียนวิทยานิพนธ์จบปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยชนชาติกวางสีไปหลายปีแล้ว

ที่มาของแกระเก็บข้าว
น้องเฝิง เชียวลี่ เป็นหญิงจีนเชื้อสายจ้วง เกิดที่กวางสี เมื่อปี พ.ศ. 2530 เรียนจบปริญญาตรี สาขาวิชาการบริหารการท่องเที่ยว จากมหาวิทยาลัยชนชาติกวางสีในปี พ.ศ. 2551 ระหว่างนั้นในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 เธอมาอยู่เมืองไทย 10 เดือน เพื่อเข้าเรียนทางด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา หลังจากนั้น เธอได้ศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาภาษาและวรรณกรรมไทย ที่มหาวิทยาลัยชนชาติกวางสี และเรียนจบในปี พ.ศ. 2554 ด้วยวิทยานิพนธ์หัวข้อการเปรียบเทียบพิธีการเรียกขวัญระหว่างชนเผ่าจ้วงกับชนชาติไทย

น้องเฝิง เชียวลี่ ได้ตอบอีเมลให้ความรู้กับดิฉันมาว่า ปัจจุบันนี้คนจ้วงในพื้นที่ชนบทยังใช้แกระอยู่เป็นปกติ แต่ไม่ได้ใช้เก็บข้าวแล้ว โดยในภาษาจ้วงใต้ บริเวณอำเภอเทียนเติ่ง บ้านเกิดของคุณเฝิง เชียวลี่ เรียก “แกระ” ว่า “แถบ” (แต่ต้องออกเสียงเป็นเสียงจัตวาของภาษาไทย)

จากข้อมูลต่างๆ ที่ อาจารย์เดชา ศิริภัทร ประธานมูลนิธิข้าวขวัญและคุณเฝิง เชี่ยวลี่ นักวิชาการชาวจ้วงจากมหาวิทยาลัยชนชาติกวางสี ให้ความรู้มานี้ จึงพอเป็นต้นเค้าให้เห็นได้ว่า ข้าวมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมที่แผ่นดินมณฑลกวางสี ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน อันเป็นถิ่นฐานเก่าแก่ของคนจ้วงผู้พูดภาษาตระกูลไท-ลาว แล้วแพร่กระจายไปกับคนจ้วงที่อพยพโยกย้ายขยายชุมชนไปในพื้นที่ต่างๆ คนจ้วงได้นำพันธุ์ข้าว-เครื่องมือเก็บข้าวติดตัวมาด้วย จนได้เข้ามาสู่แผ่นดินอุษาคเนย์และผืนแผ่นดินไทย
จึงมิเพียงแต่เรื่องกัญชา ที่พี่เดชาได้ให้ความรู้กับสังคมและชุมชนคนเพชรบุรีเท่านั้น ในเรื่องที่มาของข้าว อาหารหลักของคนไทย และคนพูดภาษาไต-ไท อันเป็นข้อมูลที่ดิฉันสืบค้นมาจากพี่เดชานี้ ก็มีคุณค่าอย่างยิ่งๆ ด้วยเช่นกัน

บ่ายวันหนึ่งที่อากาศภายนอกอาคารร้อนจัด แดดจ้า ไม่เหมือนกับหลายๆ วันที่ผ่านมา ที่แทบทุกภูมิภาคของประเทศถูกพายุฝนโหมกระหน่ำ พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางส่วนประสบปัญหาน้ำท่วม ผู้เขียนมีนัดหมายพูดคุยกับ รองศาสตราจารย์ ดร. เอกรัฐ บุญภูงา ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ หลังจากไปร่วมงานแถลงข่าวการจัดงานประชุมวิชาการ สวก. 2562 จุดเปลี่ยนอนาคตไทย ด้วยงานวิจัยเกษตร Beyond Disruptive Technology และได้เห็นเครื่องต้นแบบจากโครงการการพัฒนาระบบเรดาร์เพื่อการจัดทำแผนที่ใต้ดินสำหรับการเกษตร

รองศาสตราจารย์ ดร. เอกรัฐ บุญภูงา เริ่มต้นเล่าถึงที่มาที่ไปของงานวิจัยอย่างน่าสนใจ ดังนี้ ต้นเรื่องไม่ใช่งานการเกษตร แต่สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การวางระเบิดจะใช้วิธีขุดจากด้านข้างถนนเข้าไปเพื่อฝังวัตถุระเบิด ปรกติทหารจะใช้วิธีลาดตระเวน ซึ่งเป็นความเสี่ยง จึงมีแนวคิดใช้เทคโนโลยีเรดาร์เพื่อช่วยค้นหาวัตถุระเบิดใต้ดิน เป็นการสร้างภาพมุมมองด้านบน (top view) และภาพแนวตัดขวางตามความลึกในระดับพอจะประเมินได้ว่ามีวัตถุระเบิดซุกซ่อนอยู่หรือไม่ โดยทดสอบที่ความลึก 1 เมตร ตามโจทย์ที่ได้รับมาว่า ส่วนใหญ่วัตถุระเบิดจะถูกฝังไว้ที่ความลึกประมาณ 50 เซนติเมตร แต่โดยศักยภาพของตัวเครื่องจะตรวจได้ลึกมากกว่านั้น เครื่องนี้จึงถูกพัฒนาเพื่อนำไปใช้งานจริงในพื้นที่เสี่ยง

ผู้เขียนฟังแล้วรู้สึกชื่นชมกับคณะทำงานที่ได้นำความรู้ ความสามารถ มาพัฒนาเป็นอุปกรณ์ได้อย่างสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ

Ground Penetrating Radar (GPR) หรือที่ รองศาสตราจารย์ ดร. เอกรัฐ เรียกชื่อภาษาไทยว่า “เทคโนโลยีเรดาร์ทะลุพื้นดิน” เทคโนโลยีเรดาร์ไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่แต่อย่างใด ในต่างประเทศเป็นเทคโนโลยีที่มีวัตถุประสงค์การใช้งานหลากหลายประเภท เช่น การค้นหาโบราณสถาน โบราณวัตถุ หรือการก่อสร้างถนน

จากแนวคิดข้างต้น ทำให้กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประเมินว่า น่าจะนำไปช่วยในการเกษตรได้ โดยเอาเทคโนโลยีเรดาร์ทะลุพื้นดินมาสร้างเป็นแผนที่ใต้พื้นดินของการเพาะปลูกมันสำปะหลัง เพื่อหาดินดาน ทุนสำหรับงานวิจัยนี้ได้มาจาก สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) ครั้งนี้นับว่าเป็นครั้งแรกที่มีนักวิจัยไทยนำเทคโนโลยีเรดาร์มาประยุกต์ใช้ในงานเกษตรเพื่อตรวจสภาพดิน

ดินดานคือ เนื้อดินที่มีโครงสร้างที่ถูกอัดแน่น ไม่มีช่องระบายอากาศและน้ำ เกิดจากการทำการเกษตรอย่างขาดความรู้ ความเข้าใจ การทำเกษตรกรรมที่ผิดวิธี การไถพรวนบ่อยครั้งที่ระดับความลึกเดียวกันหลายๆ ปี ไถพรวนในขณะที่ดินมีความชื้นไม่เหมาะสม การลดลงของปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ลดการกักเก็บน้ำและเพิ่มการชะล้างหน้าดิน ส่งผลให้ดินเกิดสภาวะเสื่อมโทรม เกิดการอัดแน่นของดินและเกิดเป็นชั้นดานขึ้น พื้นที่ที่เกิดปัญหาดินดานมักจะเกิดน้ำท่วมขัง เนื่องจากน้ำไม่สามารถซึมผ่านชั้นดินดานลงไปได้ และในฤดูแล้งมันสำปะหลังไม่สามารถดึงน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ ส่งผลให้ผลมันสำปะหลังแคระแกร็นหรือยืนต้นตายได้ ชั้นดินดานที่อยู่ตื้นกว่า 50 เซนติเมตร จะมีผลกระทบต่อการปลูกมันสำปะหลังมาก (สมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย, 2556)

รองศาสตราจารย์ ดร. เอกรัฐ อธิบายเพิ่มเติมว่า ดินดานในพื้นที่ปลูกพืชประเภทมันสำปะหลัง จะอยู่ที่ความลึกระดับ 30-50 เซนติเมตร เกิดจากการใช้ดินและเครื่องมือเครื่องจักรกลบ่อยๆ นานๆ ก็จะอัดตัวแน่น หรือเกิดโดยธรรมชาติอยู่แล้ว ดินดานจะทำให้รากหรือหัวของมันสำปะหลังไม่สามารถทะลุทะลวงลงไปได้ ฝนตกลงมาน้ำจะขัง หัวมันสำปะหลังจะเกิดการเน่า

ปรกติวิธีการแก้ไขที่ง่ายที่สุด คือ การไถ ซึ่งการแก้ไขดังกล่าวถือว่าเป็นการเพิ่มภาระและค่าใช้จ่ายของเกษตรกร ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เกษตรกรจึงมักนิยมตั้งข้อสมมุติฐานว่า ตนเองไม่น่าจะมีปัญหานี้ เมื่อทำการเพาะปลูกและพบดินดาน จึงได้ผลผลิตต่ำ ดังนั้น มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องมือในการค้นหาดินดาน เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์นี้จะทำให้เกษตรกรเชื่อว่า พื้นที่ของตนเองมีดินดานจริงหรือไม่ หากมีจะได้แก้ปัญหาก่อนการเพาะปลูก เพื่อให้ได้ผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วย คุ้มค่าต่อการลงทุน

“เครื่องนี้คล้ายเครื่องเอกซเรย์หรืออัลตราซาวด์ เอกซเรย์ใช้รังสีเอกซ์ อัลตราซาวด์ใช้คลื่นเสียงความถี่สูง เครื่องนี้ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ดังนั้น ถ้าอัลตราซาวด์ เห็นตัวเด็กได้ เครื่องนี้ก็ทำนองเดียวกัน หลักการเดียวกัน”

เครื่องเรดาร์ทะลุพื้นดินมีหลักการทำงานทางวิศวกรรม เหมือนเครื่องเรดาร์ประเภทอื่นๆ ที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว เช่น เรดาร์ทางการทหาร เรดาร์งานด้านอากาศยาน กล่าวคือ เครื่องเรดาร์ทะลุพื้นดิน ใช้วิธีการส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าลงไปใต้พื้นดิน ส่งคลื่นไปและรอคลื่นที่สะท้อนกลับมา เมื่อคลื่นเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่ต่างกัน เช่น คลื่นผ่านอากาศ ผ่านพื้นดิน แล้วไปเจอดินดาน คลื่นส่วนหนึ่งจะสะท้อนกลับขึ้นมา ก็จะมีสายอากาศตัวรับคลื่น เอาคุณสมบัติของคลื่นที่สะท้อนกลับมา ตีความสร้างเป็นภาพเพื่ออธิบายถึงคุณสมบัติของดิน การสะท้อนของคลื่นที่มีตัวกลางต่างกันจะมีคุณสมบัติต่างกัน คล้ายกับการโยนลูกบอลลงไปที่พื้นปูนซีเมนต์ หรือลงไปที่พื้นไม้ จะกระเด้งกระดอนไม่เหมือนกัน ความเร็ว การดูดซับลูกบอล มีความแตกต่างกัน

เครื่องนี้มีส่วนประกอบหลักๆ 3 ส่วน คือ

ส่วนที่หนึ่ง ภาคส่ง-ภาครับ (transmitter-receiver) ของตัวคลื่น ทำหน้าที่อย่างแรก คือ สร้างสัญญาณขึ้นมา ส่งผ่านส่วนที่สอง เรียกว่า สายอากาศ (antenna) ทำหน้าที่ในการปล่อยคลื่นลงไปใต้พื้นดิน และก็รับสัญญาณสะท้อนกลับมาที่สายอากาศตัวรับ ส่วนสุดท้าย คือ คอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ประมวลผล เป็นตัวตีความว่าสัญญาณที่เข้ามา คือสัญญาณที่สะท้อนจากอะไร จากนั้นนำมาสร้างเป็นภาพ

ตัวเครื่องต้นแบบนี้ใช้ติดกับรถเข็นเพื่อทำการทดลอง แต่เป้าหมายจริงๆ สามารถนำไปติดที่รถแทรกเตอร์หรือรถไถ เพื่อให้วิ่งในไร่ในสวนได้ง่าย และยังเหมาะกับพื้นที่ขนาดใหญ่ด้วย

ระยะเวลาโครงการจนถึงขั้นตอนการทดสอบเบื้องต้น ได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ปี โดยกรมพัฒนาที่ดินจะขุดดินกว้าง ยาว ลึก 1 ลูกบาศก์เมตร เพื่อดูพื้นที่หน้าตัด และเก็บตัวอย่างดินไปเข้าห้องแล็บ เพื่อตรวจทานกับผลที่ได้รับจากเครื่อง เช่น เครื่องเจอดินดานที่ความลึก 30 เซนติเมตร ในห้องแล็บก็เจอที่ ความลึก 30 เซนติเมตร เช่นเดียวกัน ถือว่าเป็นการยืนยันผลการทดลอง พิสูจน์แล้วว่าสามารถใช้งานได้

ผู้เขียนทราบมาว่า โครงการนี้เป็นเพียงการสร้างเครื่องต้นแบบและกำลังดำเนินการจดสิทธิบัตร โดยทีมวิจัยหวังว่าจะมีโครงการต่อเนื่องเพื่อขยายศักยภาพของเครื่องนี้ต่อไป

การเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้ใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะที่ก้าวหน้าขึ้น จนอาจถึงขั้นไม่ต้องใช้แรงงานคน มักเป็นการเปลี่ยนอย่างทันทีทันใด จนทำให้รูปแบบการทำงานแบบเดิมต้องยุติลง เช่น การใช้หุ่นยนต์ทำงานซ้ำซากแทนแรงงานคน การถ่ายภาพที่ใช้ฟิลม์มาเป็นการใช้กล้องดิจิทัล ซึ่งบันทึกภาพเป็นข้อมูลทันที การทำให้อุปกรณ์ต่างๆ มีความสามารถในการตัดสินใจเองโดยใช้หลักการปัญญาประดิษฐ์

นักเขียน นักกวี และอดีตบรรณาธิการหนังสือหลายเล่ม ทิ้งชีวิตเมืองหลวงกลับสู่บ้านเกิดที่ต่างจังหวัด แต่ก็ยังมีเขียน งานกวีอยู่บ้างประปราย ทั้งยังรับจ้างเป็นบรรณาธิการหนังสือ คือหลังกลับไปอยู่บ้านต่างจังหวัด ก็ไม่ทิ้งงานหนังสือไปเสียเลยทีเดียว

ทุกวันนี้ รักษ์ มนัญญา สมเทพ หรือที่เรียกกันสนิทปากว่า พี่รักษ์ พี่รักษ์นอกจากจะรับทำงานหนังสือ ยังทำเกษตรแบบพอเพียงด้วย เมื่อกลับมาอยู่บ้านเกิดที่ต่างจังหวัดแล้ว วิถีเกษตรซึ่งทำมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย เขาก็ไม่อาจทิ้งหรือละเลยได้

ในตอนกลับมาใหม่ๆ ก็ทำนาปลูกข้าว ตอนนี้นาที่เคยทำก็ปล่อยให้เขาเช่า ซึ่งคิดค่าเช่าโดยแบ่งข้าวกับคนที่เช่า ก็พอจะได้มีข้าวกิน ไม่ต้องซื้อ พี่รักษ์ กล่าว

ชีวิตในตอนนี้ของ รักษ์ มนัญญา สมเทพ ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลร้านค้าชุมชน ให้บริการกับผู้ใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งเวลาในแต่ละวัน ส่วนใหญ่ก็หมดไปกับร้านค้าแห่งนี้ แต่ก็ยังมีเวลาพอให้กับตัวเอง ที่ทำแล้วก่อให้เกิดความสุข

อย่างเช่น ทำเกษตรอินทรีย์ แบบว่าปลูกง่ายๆ ปลูกอะไรก็ตามที่กินได้ ส่วนจะปลูกเพื่อขาย อีกสองถึงสามปีค่อยคิดอีกที พี่รักษ์บอก

ผักที่พี่รักษ์นำมาปลูกส่วนใหญ่จะเป็นพืชผักสวนครัว ไม่ว่าจะเป็นโหระพา ข่า ตะไคร้ ขึ้นฉ่าย หอม หรืออะไรก็แล้วแต่ ที่ซื้อมาทำกับข้าว แล้วมีหน่อ มีต้นตอ พี่รักษ์เอาลงดินหมด

โดยเฉพาะ หอม พี่รักษ์เขียนเป็นคำกลอนบอกมาว่า

ปลูกหอมลงถาดไข่หวังจะได้หอมไว้กินมิต้องปลูกลงดิน
ฝนรดรินหอมงดงาม พี่รักษ์บอกถึงวิธีการปลูกหอมในถาดไข่ ต้องเป็นถาดไข่ที่ทำมาจากกระดาษเท่านั้น ว่าถ้าเราจะปลูกหอมลงในถาดไข่ เราจะต้องเตรียมต้องทำอะไรบ้าง

ขั้นตอนแรก เตรียมถาดไข่กระดาษ 5 ถาด วางซ้อนกัน เพื่อให้มันหนา เจาะรูที่ก้นบุ๋มของช่องวางไข่สักเล็กน้อย เพื่อวางหัวหอมให้ถนัดๆ และเพื่อให้รากหัวหอมมีที่ยึด หัวหอมซื้อมาจากตลาดหรือรถขายเร่นี่แล้วแต่จะปลูกน้อยหรือปลูกมาก ถาดไข่หนึ่งถาดจะมีหลุมสามสิบหลุม ตัดจุกหัวหอมเพื่อเปิดทางให้หน่อหอมแทงยอดได้ง่ายขึ้น วางหัวหอมลงในหลุม รดน้ำพอชื้น อย่าให้ถึงกับชุ่ม เก็บไว้ในที่ร่ม รอหอมแตกยอดจึงค่อยนำออกแดด ถ้านำออกแดดเลย จะทำให้หอมแตกยอดช้า

การเลือกหัวหอม ควรเลือกหัวที่โตเท่าๆ กัน เกมส์ยิงปลาออนไลน์ เพราะจะได้ต้นหอมที่มีความสวยงาม โตและความสูงที่ใกล้เคียงกัน หมั่นรดน้ำเช้า เย็น ให้ทั่วถาด ประมาณสิบวันหอมจะแตกหน่อ มีก้านอ่อนๆ ออกมาให้ชื่นใจ หลังจากนั้น จึงเอามาให้โดนแดดรำไร หากอยู่กลางแดดจ้าต้นหอมออกมาก็จะไม่สวย ให้ปุ๋ยด้วยการฉีดพ่น โดยเฉพาะปุ๋ยจุลินทรีย์ชีวภาพ เพื่อเพิ่มสารอาหารและเร่งการเจริญเติบโตของหอม ส่วนปุ๋ยเคมี พี่รักษ์บอกว่า ไม่ใช้เลย

หอมที่ปลูกในถาดไข่ แม้จะไม่อวบอ้วนเท่าปลูกลงดิน แต่ปลูกง่าย ดูแลง่าย

หากจะแขวนตามราวหรือระเบียง ก็จะดูสวยงามเป็นไม้ประดับไปในตัว แต่ถ้าจะแขวนก็ต้องใช้ถาดไข่ที่ทำจากพลาสติก หรือไม้อัดแผ่นบางๆ รองไว้ชั้นล่างสุด แล้วเจาะรูใช้ลวดแขวน

เมื่อต้นหอมโตเต็มที่ ก็เก็บมาหั่นซอย ปรุงเป็นอาหารได้อีกต่อไป

ใครจะเอาไอเดียนี้ไปต่อยอด ก็ได้ตามสบายเลยครับ ชาวสวนยางอำเภอหาดสำราญ เลิกให้ความหวังกับราคายางพารา หันมาปลูกพืชผักไฮโดรโปรนิกส์ ราคาแน่นอน ตลาดชัดเจน ส่งห้างดัง อีกทั้งช่วงหลังทุกหน่วยงานรณรงค์บริโภคผักปลอดสารพิษ ส่งผลให้ราคาพุ่งอย่างต่อเนื่อง เตรียมโค่นยางที่เหลือ สร้างเป็นแปลงผักปลอดสารพิษเพิ่มเติม

นางภัชรวดี เจริญฤทธิ์ อายุ 42 ปี เกษตรกร ต.ตะเสะ อ.หาดสำราญ จ.ตรัง เล่าว่า ตนเองนั้นให้สนใจการปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ ยึดอาชีพนี้มากว่า 10 ปีแล้ว โดยใช้เนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ หันมาทำโรงเรือนปลูกผักขึ้นฉ่าย จนประสบความสำเร็จผลผลิตไม่พอส่งต่อความต้องการของตลาด และเตรียมขยายพื้นที่อีก 2 ไร่ เพื่อเพิ่มผลผลิตและปลูกผักชนิดอื่น ๆ เช่น ผักชี ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกทั้งในต่างจังหวัด กระบี่ ตรัง เขาน้ำเต้า จ.สตูล

“ตนเองมีความสนใจการปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ จึงหันมาศึกษาข้อมูลจากกูเกิล และเพื่อนๆ ก่อนที่จะลงมือทำเริ่มจากการนำเมล็ดผักขึ้นฉ่ายมาลงแปลงเพาะปลูก ทดลองผิดทดลองถูกอยู่หลายครั้ง จนประสบความสำเร็จจากนั้นก็ทำต่อมาเรื่อยๆ ซึ่งการให้ปุ๋ย 6-7 วัน/ครั้ง ใช้ระยะเวลาเพียง 55-60 วัน ก็เก็บได้ ซึ่งจะเก็บไปส่งให้พ่อค้าแม่ค้าโดยตรง” นางภัชรวดี กล่าว