พันธุ์งาขี้ม้อนมีพันธุ์ใบสีเขียวและพันธุ์ใบสีม่วงใบสีเขียวเป็นพันธุ์

ที่พบมากในประเทศไทย จากการสำรวจการปลูกงาขี้ม้อนในภาคเหนือตอนบนพบว่า มีการปลูกกระจายทั่วไปบนพื้นที่ดอนตามไหล่เขาเชิงเขา จากแหล่งปลูกใน 10 พื้นที่ มีงาขี้ม้อนทั้งหมด 130 สายพันธุ์ และมีอยู่ 10 สายพันธุ์ ที่ทางศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัยคัดเลือกไว้ โดยแบ่งออกเป็น 3 พันธุ์ ได้แก่

ต้นงาขี้ม้อน ลำต้นตั้งตรง ความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร แตกกิ่งก้านสาขา ลำต้นสี่เหลี่ยมมน ต้นมีกลิ่นน้ำมัน มีขนยาวละเอียดสีขาว ระหว่างเหลี่ยมที่ต้นมีร่องตามยาว เมื่อโตเต็มที่ลำต้นเคยเป็นเหลี่ยมที่โคนต้นจะหาย แต่ละข้อตามลำต้นที่จะแตกเป็นใบห่างกัน 4-11 เซนติเมตร ส่วนโคนต้นและโคนกิ่งจะแข็ง รากแข็งเหนียว

ใบงาขี้ม้อน ใบใหญ่คล้ายกับใบยี่หร่าอย่างมาก แต่มีสีอ่อนกว่าใบยี่หร่า หรือคล้ายใบฤๅษีผสม ใบเป็นใบเดี่ยว ใบออกเป็นคู่อยู่ตรงข้าม คู่ใบในข้อถัดไปใบจะออกเป็นมุมฉากกับใบคู่ก่อนสลับกันตลอดทั้งต้น ลักษณะของใบคล้ายใบโพธิ์หรือรูปไข่กว้าง ปลายใบเรียวแหลมหรือเป็นติ่งยาว โคนใบกลมป้าน หรือโคนตัด ส่วนขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ความกว้างของใบประมาณ 3-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-14 เซนติเมตร ใบเป็นสีเขียวอ่อน ท้องใบมีสีอ่อนกว่าหลังใบ แผ่นใบมีขนสั้นๆ นุ่มสีขาวทั้งสองด้าน เมื่อไปสัมผัสจะไม่รู้สึกระคายเคืองหรือคัน ตามเส้นใบมีขน ท้องใบมีต่อมน้ำมัน ส่วนก้านใบยาวประมาณ 1-6 เซนติเมตร และมีขนยาวขึ้นแน่น เส้นใบ 7-8 คู่ แตกเป็นคู่ตรงข้ามกันจากเส้นกลางใบ ใบเหี่ยวเร็วมากเมื่อเด็ดจากต้น และไม่ควรนำใบให้วัวควายกินจะเกิดพิษได้

ดอกงาขี้ม้อน ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามง่ามใบแต่ละข้อและที่ยอด ช่อดอกมีดอกย่อยเต็มก้านดอก ดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมากเป็นกลุ่ม ช่อดอกตั้งเป็นช่อรูปสี่เหลี่ยม ดอกย่อยเชื่อมติดกันรอบก้านดอกไม่เป็นระเบียบชูช่อดอกขึ้นไป ช่อดอกยาว 1.5-15 เซนติเมตร ช่อดอกคล้ายช่อดอกโหระพา ช่อดอกแมงลัก ดอกย่อยคล้ายรูปไข่เล็กๆ ไม่มีก้าน ดอกย่อยมีริ้วใบประดับอยู่ แต่ละดอกย่อยมีกลีบดอก 5 กลีบ ดอกมีสีขาว สีขาวอมม่วงถึงสีม่วง มีขนสีขาวขึ้นปกคลุม

ผลงาขี้ม้อน ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่กลมขนาดเล็ก ผลอ่อนสีขาวหรือเขียวอ่อน ผลแก่เป็นสีน้ำตาลหรือสีเทาเมล็ดงาขี้ม้อนในดอกย่อยแต่ละดอกมีเมล็ดอยู่ 1-4 เมล็ด เมล็ดมีขนาดเล็กลักษณะกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 มิลลิเมตร มีสีที่ต่างกัน เป็นลายตั้งแต่สีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม สีน้ำตาลอ่อน สีน้ำตาลไหม้ สีเทาเข้ม สีเทาอ่อนไปจนถึงสีขาว และมีลายเป็นรูปตาข่าย น้ำหนักเมล็ดประมาณ 4 กรัม ต่อ 1,000 เมล็ด

การเก็บเกี่ยว เมื่องาขี้ม้อนมีอายุได้ 4-5 เดือน งาจะเริ่มแก่ สังเกตช่อดอกส่วนล่างเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลบ้างจึงเก็บเกี่ยวได้ เกี่ยวด้วยเคียวขณะที่ต้นยังเขียว ลำต้นที่ยังอ่อนซึ่งทำให้ง่ายต่อการเกี่ยว วางต้นงาที่เกี่ยวแล้วเพื่อตากแดดทิ้งไว้บนตอซังที่เกี่ยวหรือวางบนร้านไม้ไผ่ ตากแดด 3-4 วัน ต้นงาที่แห้งแล้วนำมาตีด้วยไม้ให้เมล็ดหลุดออกลงในภาชนะรองรับ ฝัดทำความสะอาดตากแดดอีกครั้งแล้วเก็บใส่กระสอบ เพื่อรอการจำหน่ายหรือเก็บไว้บริโภคเอง

พบการระบาดของโรคและแมลงในงาขี้ม้อนมีน้อย ไม่ถึงกับทำความเสียหายเป็นวงกว้าง พบหนอนห่อใบโหระพากัดกิน มีเพลี้ยอ่อน และเพลี้ยแป้งรบกวนบ้าง

ประโยชน์ของงาขี้ม้อนเมล็ดและใบงาขี้ม้อนใช้เป็นอาหารได้หลายอย่าง คนภาคเหนือใช้ประโยชน์จากเมล็ดงาขี้ม้อนมาช้านาน โดยนำเมล็ดมาบริโภคทำเป็นอาหารว่างหรือของหวานชนิดหนึ่งที่ทำได้อย่างง่ายๆ ใช้เมล็ดงาตำกับเกลือคลุกกับข้าวเหนียวขณะที่ยังร้อนๆ ตำให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันกับงา หรือคั่วงาให้สุกแล้วตำงากับเกลือในครกจนเข้ากันดีและคลุกกับข้าวเหนียวร้อนๆ จะได้กลิ่นหอมของข้าวสุกใหม่และกลิ่นของงา หากต้องการขบเมล็ดปนอยู่บ้างก็ไม่ต้องตำจนละเอียด แต่ถ้าไม่ชอบให้เป็นเมล็ดก็ตำให้ละเอียดได้ ใส่ข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ๆ ลงตำคลุกเคล้ากับงาในครก ถ้าทำครั้งละมากๆ จะตำในครกกระเดื่อง หรือจะคลุกเคล้าข้าวเหนียวอุ่นๆ กับงาให้เข้ากันดีก่อนแล้วเติมเกลือและตำให้เข้ากันอีกทีก็ได้

อาหารชนิดนี้คนภาคเหนือเรียกว่า ข้าวหนุกงา หรือ ข้าวนุกงา รับประทานเป็นอาหารว่างหรือของหวาน บางคนจะเติมหัวกะทิลงไปด้วย เพิ่มความมันจากกะทิรสชาติต่างออกไป ข้าวหนุกงาที่เติมกะทิจะเก็บไว้ไม่ได้นาน จะบูดง่ายควรรีบรับประทานขณะยังอุ่นๆ เชียงใหม่เรียก ข้าวหนุกงา คำว่า “หนุก” หมายถึง คลุกหรือนวด ลำปางบางพื้นที่เรียกว่า “ข้าวนึกงา หรือ ข้าวหนึกงา คำว่า “หนึก” หมายถึง การคลุกเคล้าให้เข้ากัน ยังมีชื่อเรียกอาหารชนิดนี้แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น ข้าวงา, ข้าวคลุกงา, ข้าวแดกงา ข้าวหนุกงา จะได้รสชาติดีถ้าใช้งาที่เก็บมาใหม่ๆ ถ้าใช้ข้าวเหนียวดำมาตำผสมกับงาขี้ม่อนให้เหนียวและทับรีดเป็นแผ่นบนใบตอง รับประทานขณะอุ่นๆ หรือนำไปย่างไฟใส่น้ำตาลอ้อยลงไปก่อนรับประทาน เรียกว่า “ข้าวปุกงา” หรือ “ข้าวปุ๊กงา”

การทำข้าวหนุกงาของชาวลัวะในภาคเหนือ นำงาไปคั่วกับเกลือและตำให้แตกน้ำมันและใส่ข้าวเหนียวสุกใหม่ตำไปพร้อมกัน จะใส่น้ำอ้อยเพิ่มความหวานก็ได้ หรือนำเมล็ดงามาคั่วใส่ในน้ำพริก การทำข้าวหนุกงาของชาวไทยใหญ่ที่แม่ฮ่องสอนจะตำจนข้าวเหนียวและงาเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วตัดแบ่งเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมหรือวงกลม ถ้าชอบหวานจะจิ้มกับน้ำอ้อยหรือน้ำผึ้งก็ได้เช่นกัน ข้าวหนุกงา หรือข้าวหนึกงามีรสมันและเค็มควรรับประทานขณะข้าวยังอุ่น เมื่อก่อนคนเมืองเหนือนิยมบริโภคข้าวหนุกงากันในช่วงฤดูหนาวตรงกับช่วงเก็บเกี่ยวข้าวใหม่พอดี และจะได้รับประทานกันปีละครั้ง เดี๋ยวนี้ข้าวหนุกงาพบว่ามีขายตามตลาดสดตอนเช้าในภาคเหนือ ขายเป็นห่อ ห่อด้วยใบตองเป็นห่อใหญ่ มีให้รับประทานได้ตลอดปี ไม่ต้องรอถึงฤดูหนาว

การใช้ประโยชน์จากเมล็ดงาขี้ม้อนยังใช้แปรรูปหรือเป็นส่วนผสมในอาหารได้หลายอย่าง เช่น ผสมในข้าวหลาม ใส่ในขนมรังผึ้ง ใส่ในข้าวต้มมัด ใส่ในขนมเทียน ขนมงา งาคั่ว งาแผ่นคล้ายขนมถั่วตัด คุกกี้งา น้ำมันงาอัดเม็ด น้ำมันงาสกัดเย็น ใช้น้ำมันมาทำเนยเทียมงาขี้ม้อน ชางาขี้ม้อนป่น ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางบำรุงผิว เป็นต้น

คนเอเชียรู้จักใช้ใบงาขี้ม้อนมานานหลายร้อยปี โดยเฉพาะคนจีนจะใช้ใบและยอดอ่อนเพื่อแต่งรสชาติและแต่งกลิ่นอาหาร ใบงาขี้ม้อนใช้รับประทานสดได้ ใบมีกลิ่นหอม ใช้แทนผักสด ใช้ใบห่อข้าว ใช้ห่อขนมเทียน ชุบแป้งทอด ใส่กับสลัด เนื้อย่าง หมูย่าง ห่ออาหารประเภทเมี่ยงปลา หรือใช้เป็นผักแนม รับประทานร่วมกับอาหารรสจัดประเภทยำต่างๆ ชาวญี่ปุ่นและชาวเกาหลีนิยมรับประทานใบงาขี้ม้อนเป็นผักเคียงคู่กับซาซิมิหรือเนื้อปลาดิบ เนื่องจากใบงาขี้ม้อนมีสรรพคุณดับกลิ่นคาวและต้านการแพ้อาหารทะเลได้ ดังนั้น ใบงาขี้ม้อน จึงมีราคาสูงในญี่ปุ่น เกาหลี ใบงาขี้ม้อนพบว่ามีสารที่ช่วยลดอาการซึมเศร้าได้

น้ำมันงาขี้ม้อน

น้ำมันสกัดจากเมล็ดงาขี้ม้อนเริ่มได้รับความสนใจเมื่อไม่นานมานี้ ในเมล็ดมีน้ำมันสูง ประมาณ 31-51% เป็นแหล่งของกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (PUFA) พบว่า น้ำมันจากเมล็ดงาขี้ม้อนมีประโยชน์หลายอย่าง งาขี้ม้อนเป็นพืชน้ำมันชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติที่ดีเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย มีคุณค่าทางโภชนาการสูง น้ำมันสกัดจากเมล็ดงาขี้ม้อนนำมาใช้เป็นอาหารและใช้ทำยาได้ ช่วยป้องกันโรคได้หลายโรค เมล็ดงาขี้ม้อนมีโปรตีน 18-25 เปอร์เซ็นต์ วิตามินบีและแคลเซียมสูงกว่าพืชผัก 40 เท่า โดยมีปริมาณแคลเซียมประมาณ 410-485 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม และฟอสฟอรัสมากกว่าพืชผักทั่วไป 20 เท่า งาขี้ม้อนเป็นพืชชนิดเดียวที่มีโอเมก้า 3, 6 และ 9 ซึ่งมีมากกว่าน้ำมันปลา 2 เท่า เนยเทียมที่ผลิตจากน้ำมันงาขี้ม้อนเป็นผลิตภัณฑ์อาหารใหม่สุดที่มีความปลอดภัยสูง เพราะปราศจากไขมันทรานส์

ปัจจุบัน ได้มีการนำเมล็ดงาขี้ม้อนมาสกัดน้ำมันในรูปแบบของน้ำมันบริสุทธิ์ (virgin oil) และใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพป้องกันโรคหลายโรค ส่วนใบของงาขี้ม้อนมีปริมาณน้ำมันค่อนข้างต่ำ ประมาณ 0.2% ใบสดงาขี้ม้อนสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย (Volatile Oil) ได้ มีราคาถูกกว่าน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากดอกไม้หอมชนิดอื่น จึงนำมาใช้แทนในอุตสาหกรรมเครื่องหอมได้

งาขี้ม้อน พืชเก่าแก่มีมาแต่ดั้งเดิม ได้รับความสนใจในสถานะพืชน้ำมันชนิดใหม่น.สพ.ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านธุรกิจสุกร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า บริษัทตระหนักดีถึงอันตรายของโรค ASF ในสุกร ที่มีต่อเกษตรกร ต่อภาคอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร และต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ จึงวางมาตรการป้องกันโรคดังกล่าวอย่างเข้มงวด แม้จะมีระบบ Biosecurity ที่สามารถป้องกันโรคต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ตาม

“แม้โดยปกติหมูที่อยู่ในฟาร์มระบบปิดและมีระบบการป้องกันโรคอย่างเข้มงวด จะไม่พบการระบาดของ ASF แต่บริษัทก็ไม่ประมาทที่จะยกระดับการป้องกันฟาร์มของบริษัทให้เข้มข้นยิ่งขึ้น รวมถึงฟาร์มของเกษตรกรคอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่ง ที่ขณะนี้สัตวแพทย์ของบริษัทได้ออกให้ความรู้ในการป้องกัน ASF ครบถ้วนแล้ว 100% นอกจากนี้ ยังเพิ่มการซ้อมแผนฉุกเฉินในฟาร์มที่มีฟาร์มอื่นๆ อยู่ในรัศมีใกล้เคียง เพื่อเตรียมความพร้อมหากพบการระบาด”

ทั้งนี้ ซีพีเอฟมีการแบ่งฟาร์มมาตรฐานของบริษัทและเกษตรกรออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ 1. กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ หรือฟาร์มที่ไม่มีฟาร์มอื่นอยู่ใกล้เคียงในรัศมี 5 กิโลเมตร 2. กลุ่มที่มีความเสี่ยงปานกลาง หรือฟาร์มที่มีฟาร์มอื่นอยู่ใกล้เคียงในรัศมี 1-5 กิโลเมตร 3. กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ฟาร์มของบริษัทที่มีฟาร์มอื่นอยู่ใกล้เคียงในรัศมีน้อยกว่า 1 กิโลเมตร

การซักซ้อมแผนฉุกเฉินดังกล่าวทำในกลุ่มฟาร์มที่มีความเสี่ยงสูง โดยจำลองสถานการณ์การเกิดโรคภายในฟาร์ม ฝึกซ้อมขั้นตอนการจัดการโรค ASF อย่างละเอียดทุกขั้นตอน เช่น การสวมชุดของเจ้าหน้าที่ที่รัดกุม การเคลื่อนย้ายสุกรที่เป็นโรคโดยป้องกันสารคัดแหล่งจากตัวสุกรไม่ให้ตกตามรายทางภายในฟาร์ม การจัดการเส้นทางขนย้ายสัตว์ไปยังบ่อฝัง การเผาทำลายเสื้อผ้าของเจ้าหน้าที่หลังเสร็จสิ้นภารกิจ รวมถึงการจัดเตรียมที่พักสำรองสำหรับเจ้าหน้าที่ฉุกเฉิน ทั้งนี้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายได้เห็นภาพจริงในการปฏิบัติ อันจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการรับมือ ASF ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ

ขณะเดียวกัน ซีพีเอฟยังส่งทีมสัตวแพทย์ลงพื้นที่ให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูในระบบคอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่งของบริษัททั่วทุกภูมิภาคครบทั้ง 100% สร้างความมั่นใจในกลุ่มเกษตรกรของบริษัทอย่างเต็มที่ โดยเน้นย้ำในการปฏิบัติตามหลักปฏิบัติทั้ง 10 ข้อของกรมปศุสัตว์อย่างเคร่งครัด รวมถึงการส่งทีมงานร่วมให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูรายย่อยอื่นๆ ทั่วประเทศ ผ่านการสัมมนา “เกาะติดสถานการณ์ ASF” เพื่อช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรค ASF ที่ถูกต้อง ตลอดจนให้ความรู้ด้านมาตรการเฝ้าระวังและการป้องกันโรค เพื่อให้ทุกภาคส่วนร่วมกันสกัดกั้นโรคนี้ไม่ให้เข้ามากระทบอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรของไทย

นอกเหนือจากการป้องกัน ASF ในระดับฟาร์มแล้ว ซีพีเอฟยังวางมาตรการเข้มที่โรงงานอาหารสัตว์ ซึ่งเป็นต้นน้ำของห่วงโซ่การผลิต และที่โรงงานชำแหละมาตรฐานซึ่งเป็นปลายน้ำด้วย โดยที่โรงงานอาหารสัตว์ จะลงรายละเอียดการป้องกัน ตั้งแต่ด้านวัตถุดิบอาหารสัตว์ รถขนส่ง ระบบฆ่าเชื้อรถและบุคลากรก่อนเข้าโรงงาน การแยกพื้นที่จัดเก็บวัตถุดิบออกจากส่วนผลิตและส่วนคลังสินค้า มีโปรแกรมทำความสะอาดและพ่นยาฆ่าเชื้อทุกสัปดาห์ รวมถึงการจัดการสัตว์พาหะและป้องกันการปนเปื้อนจากสัตว์พาหะ ซึ่งมีการตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ในโรงชำแหละมาตรฐานที่บริษัทดำเนินการ 100% จะวางมาตรการเพื่อป้องกันการติดเชื้อย้อนกลับไปที่ฟาร์ม และป้องกันเนื้อสุกรไม่ให้มีการปนเปื้อนเชื้อ ASF มีการตรวจโรคก่อนเข้าโรงชำแหละ รถขนส่งที่มาส่งสุกรจะมีระบบล้างฆ่าเชื้อและพักโรคก่อนนำกลับไปใช้ มีพนักงานตรวจโรคที่ตรวจสอบทั้งสุกรมีชีวิตก่อนชำแหละและรอยโรคสุกรหลังชำแหละอย่างละเอียด เป็นต้น

นายวุฒิชัย ชิณวงศ์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดการพื้นที่และวิศวกรรมเกษตร ปฏิบัติหน้าที่ หัวหน้าศูนย์เฉพาะกิจติดตามสถานการณ์แล้งฝนทิ้งช่วง ปี 2562 กรมส่งเสริมการเกษตร แจ้งเตือนเกษตรกรที่ทำนาเพาะปลูกข้าว โดยเฉพาะในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของประเทศ โดยบางส่วนได้หันมาปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกข้าวจากวิธีการทำนาดำเป็นนาหว่านข้าวแห้งมากขึ้น เนื่องจากขาดแรงงานในการปักดำ อีกทั้งยังประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย แต่จากสถานการณ์ที่มีปริมาณฝนตกน้อยหลายพื้นที่ในระยะนี้

ปัญหาที่จะตามมาจากวิธีการหว่านข้าวแห้งคือ จะทำให้การกระจายและความลึกของเมล็ดข้าวที่ถูกฝังกลบลงดินไม่สม่ำเสมอ ส่งผลต่อเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดข้าวและอาจมีวัชพืชขึ้นแซมในนาข้าวด้วย ทำให้ผลผลิตและคุณภาพข้าวต่ำ หรือหากฝนทิ้งช่วงนานเกินไปจะทำให้เมล็ดข้าวที่หว่านไม่งอกเลย ซึ่งการเกิดความเสียหายในกรณีนี้จะไม่ได้รับการช่วยเหลือภัยพิบัติด้านพืช ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562

สำหรับข้อแนะนำการปลูกข้าวในช่วงแล้งหรือฝนทิ้งช่วง เกษตรกรควรวางแผนช่วงเวลาการเพาะปลูกข้าวให้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำและสภาพอากาศในปัจจุบัน โตยติดตามสถานการณ์น้ำและสภาพอากาศจากหน่วยงานราชการ กรมอุตุนิยมวิทยา หรือศูนย์เฉพาะกิจติดตามสถานการณ์แล้งฝนทิ้งช่วง ปี 2562 กรมส่งเสริมการเกษตร หรือปรับเปลี่ยนไปเพาะปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้งเพื่อเป็นการประหยัดน้ำ การปลูกพืชอายุสั้นใช้น้ำน้อย การทำไร่นาสวนผสม หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นต้น นอกจากนี้ ให้สำรวจแหล่งน้ำในพื้นที่ เพื่อประเมินน้ำที่จะใช้ในพื้นที่ไร่นาของตนเอง การเก็บกักน้ำไว้ในไร่นา และหาแหล่งน้ำสำรอง โดยประสานกับหน่วยงานด้านแหล่งน้ำเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย

ส่วนการขึ้นทะเบียนหรือปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร เพื่อแจ้งข้อมูลการเพาะปลูกข้าวในแต่ละรอบการผลิตกับกรมส่งเสริมการเกษตร สามารถแจ้งข้อมูลได้ ณ สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือปรับปรุงผ่าน Mobile Application Farmbook เพื่อให้ภาครัฐทราบข้อมูลสถานการณ์การผลิตและเกษตรกรจะได้รับความช่วยเหลือเมื่อเกิดความเสียหาย หากมีข้อสงสัยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดในพื้นที่

เพชรสังฆาตเป็นสมุนไพรตัวหนึ่งที่ถูกถามเข้ามาบ่อย โดยเฉพาะประเด็นรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้รักษาริดสีดวงทวารหนัก ทางเราจึงได้เรียบเรียงข้อมูลทั้งหมดไว้ที่นี่แล้ว ในทุกปัญหาที่เคยถามเข้ามาเกี่ยวกับเพชรสังฆาต

1. สรรพคุณของเพชรสังฆาต รักษาอะไรได้บ้าง
รักษาริดสีดวง (วิจัยพบว่าประสิทธิภาพไม่ต่างกับยารักษาแผนปัจจุบัน (Daflon) แต่ราคาถูกกว่า) และยังดีในริดสีดวงที่มีการปวดและอักเสบ เพราะเพชรสังฆาตสามารถลดอักเสบ ลดปวดได้ และยังทำให้หลอดเลือดแข็งแรง จากสารฟลาโวนอยด์ที่พบในเพชรสังฆาต ปัจจุบันใช้เป็นยารักษาหลัก ในผู้ป่วยริดสีดวงทวารหนักที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

บำรุงกระดูก ใช้แพร่หลายในหมอพื้นบ้านและหมออายุรเวท
– เพิ่มมวลกระดูก
– สมานกระดูกที่หัก โดยกระตุ้นการสร้างเซลล์กระดูก และลดอาการบวมและอักเสบได้ ในระบบของกระดูก มีการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าเพชรสังฆาตช่วยเสริมสร้างมวลกระดูก จากการที่มีฤทธิ์กระตุ้นเซลล์สร้างกระดูกให้เพิ่มขึ้น และเพิ่มการสร้างคอลลาเจนในเซลล์สร้างกระดูก และยังป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกในหนูทดลองที่ถูกตัดรังไข่ เพื่อจำลองให้เกิดสภาวะเหมือนหญิงวัยทอง โดยมีผลเทียบเท่ากับยาแผนปัจจุบัน คือ raloxifene โดยน่าจะเป็นผลจากการที่ในเพชรสังฆาตพบสารกลุ่มไฟโตเอสโตรเจนมาก เนื่องจากในหนูที่ได้รับเพชรสังฆาต พบการเพิ่มขึ้นของระดับเอสโตรเจน และวิตามินดีในเลือด ข้อดีของเพชรสังฆาต เมื่อเปรียบเทียบกับการให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทน พบว่าเพชรสังฆาตให้ผลดีทั้งในเรื่องของความหนา ความแข็งแรง และความหนาแน่นมวลกระดูก ขณะที่เอสโตรเจนจะไม่มีผลในเรื่องความหนาแน่นของมวลกระดูก เพชรสังฆาตยังมีฤทธิ์ลดอาการปวดได้อีกด้วย

3. เหมือน “แคลเซียม” หรือไม่ กินแคลเซียมอยู่แล้ว
จากข้อสองจะเห็นได้ว่า เพชรสังฆาตไม่ได้ออกฤทธิ์เหมือนแคลเซียม ซึ่งแคลเซียมเป็นแร่ธาตุตัวหนึ่ง ดังนั้น สามารถกินเพชรสังฆาตร่วมกับแคลเซียมได้

4. ขนาดยา ใช้อย่างไร
– กินเพื่อรักษาริดสีดวงทวาร กินครั้งละ 3 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร หากขนาดที่แนะนำกินแล้วระบายมากเกิน ให้ลดขนาดการกินลงมาค่ะ เนื่องจากมีฤทธิ์ระบายอ่อนๆ

5. หากมีต้นสดปลูกอยู่ที่บ้านทำอย่างไร
– หั่นตากแห้ง บดเป็นผง คลุกน้ำมะขามเปียก ปั้นเป็นลูกกลอน กินครั้งละ 5 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร

– เถาแห้ง 1 กำมือ แช่น้ำมะขามเปียกเพื่อลดแคลเซียมออกซาเลตก่อนนำมาต้ม ต้มดื่มกับน้ำ 1 ลิตร ดื่มครั้งละ 1 แก้วกาแฟ เช้า เย็น

– ใช้เถาสด หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ จากนั้นยัดใส่ในกล้วยน้ำว้าสุก กลืนทั้งคำลงไปเลย ไม่ต้องเคี้ยว

– ใช้เถาเพชรสังฆาตโขลกจนแหลกและเนียน พอกกระดูกที่หัก

6. กินกี่เดือนเห็นผล กินได้นานเท่าไร
สามารถกินได้จนกว่าอาการจะดีขึ้น ส่วนใหญ่กินต่อเนื่องอย่างน้อย 1 เดือนสำหรับการรักษาริดสีดวงทวาร และกินต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือนสำหรับรักษาอาการกระดูกพรุน เสื่อม แตกหัก หากกินเพื่อบำรุงกระดูก อาจกิน 3 เดือน พัก 1 เดือน

7. ผลข้างเคียงจากการกินเพชรสังฆาต หรือข้อควรระวัง
– ไม่เคี้ยวสด เพราะจะระคายปาก คันคอ เนื่องจากมีผลึกแคลเซียมออกซาเลตเล็กๆ ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า

– ยังไม่มีข้อมูลการใช้ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ เพื่อความปลอดภัย

– ไม่กัดกระเพาะ (มีข้อมูลว่ารักษากระเพาะได้อีกด้วย โดยออกฤทธิ์ลดการหลั่งกรด และรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ ด้วยกลไกเดียวกันกับยา omeprazole) แต่อาจเกิดอาการไซ้ท้อง ไม่สบายท้องได้ หากกินตอนท้องว่าง จึงแนะนำให้กินหลังอาหาร

– อาจทำให้ช่วยระบายได้เล็กน้อย หากระบายมากไป ให้ลดขนาดการกินลง และฤทธิ์ระบายของเพชรสังฆาต เป็นฤทธิ์อ่อนๆ ไม่ได้ทำให้ติดยาระบาย หยุดกินแล้วไม่ได้ทำให้ท้องผูก

– บางรายกินแล้วแพ้ มีอาการคันยุบยิบๆ ทั้งตัว แต่ไม่มีผื่น ซึ่งพบคนแพ้น้อยมาก หากแพ้ควรหยุดกิน 8. เพชรสังฆาตลดน้ำหนัก ได้ด้วยหรือ?
ผลดีของเพชรสังฆาตในผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน มีการศึกษาหนึ่งทดลองในผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน โดยคัดคนที่มีดัชนีมวลกาย หรือ BMI มากกว่า 26 กิโลกรัม/ตารางเมตร ให้กินเพชรสังฆาตรมื้อละ 150 มิลลิกรัม ก่อนอาหาร วันละ 2 มื้อ เป็นเวลา 10 สัปดาห์ โดยไม่มีการปรับเปลี่ยนการกินและการออกกำลังกาย พบว่าน้ำหนักลดลง 8.8% (จากเดิมน้ำหนักเฉลี่ยของผู้ทดลองก่อนกินเพชรสังฆาต 98.92 กิโลกรัม ลดเหลือ 90.19 กิโลกรัม) ไขมันในร่างกายลด 14.6% เส้นรอบเอวลดลง 8.6% (จากเดิมเส้นรอบเอวเฉลี่ยของผู้ทดลองก่อนกินเพชรสังฆาต 40 นิ้ว ลดเหลือ 36 นิ้ว) และยังมีผลลดระดับคอเลสเตอรอล ไขมันตัวร้าย LDL และระดับน้ำตาลในเลือด ได้ 26.69%, 20.16% และ 14.85% ตามลำดับ

ซึ่งผลในการลดน้ำหนักของเพชรสังฆาต มาจากการที่เพชรสังฆาตมีเส้นใย ทำให้ลดเนื้อที่ของกระเพาะอาหาร ทำให้อิ่มเร็วขึ้น และมีผลยับยั้งเอนไซม์ที่ย่อยแป้ง น้ำตาล และไขมัน (alpha amylase, glucosidase and lipase) ทำให้ลดการดูดซึมอาหาร และยังมีผลเพิ่มระดับซีโรโทนนิน ทำให้ร่างกายรู้สึกอิ่ม ช่วยลดสารอักเสบ คือ C-reactive protein ที่พบในเลือดของผู้ที่มีภาวะ metabolic syndrome (กลุ่มความผิดปกติที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดซึ่งพบร่วมกันได้บ่อย ความผิดปกติดังกล่าว ได้แก่ ความผิดปกติของไขมันในเลือด ความดันโลหิต ระดับน้ำตาล) ซึ่งผลดีของเพชรสังฆาตดังกล่าว น่าจะมีประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้ในผู้ป่วยที่มีปัญหา metabolic syndrome

สำหรับผู้ที่อยากคุมน้ำหนัก ยังคงแนะนำว่าต้องคุมอาหารเป็นหลัก โดยอาจกินเพชรสังฆาตรวันละ 1-2 แคปซูล หลังอาหารเช้า ต่อเนื่องสัก 10 สัปดาห์ ร่วมกับการคุมอาหาร

ในงานวิจัยให้กินก่อนอาหาร แต่บางรายที่กินอาจเกิดอาการไม่สบายท้อง จึงแนะนำให้กินหลังอาหารค่ะ ทั้งนี้ แล้วแต่คนด้วยค่ะ ถ้ากินก่อนอาหารได้ ก็กินได้นะคะ ยาไม่ได้กัดกระเพาะ แต่อาจไซ้ท้อง ทำให้ไม่สบายท้อง

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดโรงงานอาหารสำเร็จรูปหนองจอก โชว์นวัตกรรมการผลิตไส้กรอกที่ทันสมัย ปลอดจากสารทาร์ และสารอันตรายต่อสุขภาพ ยืนยันการใช้โซเดียมไนไตรต์ และส่วนผสมตามมาตรฐาน อย. ตรวจสอบย้อนกลับได้

นายเกริกพันธุ์ ดีประเสริฐ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ ยึดมั่นในการผลิตอาหาร ตามนโยบายคุณภาพและนโยบายความปลอดภัยอาหาร (CPF Quality Policy) ด้วยการพัฒนาอาหารที่มีคุณภาพ ปลอดภัย คำนึงถึงคุณค่าโภชนาการ และใส่ใจสุขอนามัยที่ดีของผู้บริโภค รวมถึง ไส้กรอก “CP” ที่วางจำหน่ายอยู่ในตลาด มาจากกระบวนการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย มีการตรวจวัดปริมาณส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ในห้องปฏิบัติการอย่างเข้มงวด และสร้างความมั่นในความปลอดภัย ทุกล็อตการผลิตสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้จนถึงแหล่งผลิตวัตถุดิบ

บริษัทฯ ได้นำเทคโนโลยีทันสมัยและนวัตกรรม มาใช้ในกระบวนการผลิตไส้กรอก CP ตั้งแต่ต้นทางจนถึงมือผู้บริโภค โดยเฉพาะ นวัตกรรม “ระบบรมควัน” ที่สามารถดักแยกสารทาร์ (TARS) ซึ่งมีองค์ประกอบของสารก่อมะเร็งออกจากไส้กรอก โดยระบบดังกล่าวมีกลไกควบคุมอุณหภูมิและระบบเผาไหม้ที่ดี ให้ควันคุณภาพที่ดี ส่งผลต่อกลิ่น สี และรสชาติของไส้กรอกน่ารับประทาน และสามารถยืนยันได้ว่า ไส้กรอก CP ไม่มีสารทาร์ และสารตกค้างอื่นๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

“ซีพีเอฟมุ่งมั่น นำนวัตกรรม และการวิจัยและสร้างสรรค์เมนูใหม่ๆ ภายใต้การควบคุมของนักวิทยาศาสตร์การอาหารที่คำนึงถึงทั้งคุณค่าทางโภชนาการ รสชาติและความปลอดภัยอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองแนวโน้มผู้บริโภคในปัจจุบันที่ใส่ใจที่มาของผลิตภัณฑ์มากขึ้น” นายเกริกพันธุ์ กล่าว

การผลิตไส้กรอกซีพีไม่ใช้ดินประสิว (โพแทสเซียมไนเตรต) ทั้งนี้ บริษัทใช้สารโซเดียมไนไตรต์ ซึ่งเป็นสารคนละตัวกับดินประสิว โซเดียมไนไตรต์มีประโยชน์ช่วยคงสภาพสีของเนื้อ และช่วยยับยั้งการเติบโตของจุลินทรีย์ในอาหารที่สร้างสารพิษที่เป็นอันตราย และไส้กรอก CP ทุกประเภทจะใช้โซเดียมไนไตรตในอัตราที่ต่ำกว่าสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนดให้ และมีการตรวจวัดปริมาณโซเดียมไนไตรท์ในห้องปฏิบัติการอย่างเข้มงวดก่อนส่งถึงมือผู้บริโภค

ซีพีเอฟ ผลิตไส้กรอกด้วยความใส่ใจ ใช้วัตถุดิบ และส่วนผสมที่ปลอดภัยจากแหล่งผลิตที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากอย. และมาตรฐานสากล สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตได้ ด้วยระบบ RFID (Radio – Frequency Identification) ผ่านการผลิตที่ใช้ระบบอัตโนมัติแบบต่อเนื่องในการผลิตไส้กรอกเป็นแห่งแรกในภูมิภาคเอเชีย ช่วยลดการการปนเปื้อน และโอกาสการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์

ที่สำคัญ มีการควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในระดับต่ำที่ 0-12 องศาเซลเซียส ตลอดกระบวนการผลิต และนอกเหนือจากคุณภาพและความปลอดภัยของไส้กรอก บริษัทฯ เลือกใช้บรรจุภัณฑ์ไส้กรอกชนิดเทอร์โมฟอร์มแบบฟิล์มหลายชั้น (Multi-layer thermoforming film) เพื่อช่วยรักษาความสดใหม่ของอาหาร ร่วมกับการบรรจุอัตโนมัติช่วยลดการปนเปื้อนระหว่างการบรรจุ ทำให้อายุการเก็บของผลิตภัณฑ์นานขึ้น ดังนั้น ไส้กรอกซีพีจึงมีคุณภาพตลอดอายุของสินค้า และใช้อุ่นกับไมโครเวฟได้ปลอดภัย