พันธุ์อื่นๆ เหลืองไพรินทร์ กินดิบด่านเกวียน แชมป์ภาคตะวันตก

เพชรเขาเขียว ปีเดียวทะวาย (แปดเดือน, โชควัฒนา) แดงแสงจันทร์ แม่น้อยทะวาย ทองสมบัติ ขาวสมบัติ เหลืองเขาน้อย เพชรดำรง อุดม 1 แดงสุริยา ทองอินโคแคระ ทองสิน เพชรเนื้อทอง

ที่แนะนำมากว่า 80 สายพันธุ์ มีส่วนน้อยที่ยังปลูกกันอยู่ แต่ส่วนมากสูญพันธุ์ไปแล้ว เหมือนอย่างมะม่วง

ก่อนปี 2531 เพื่อนบ้าน คุณยงยุทธ วงษ์จิราษฎร์ ไปธุระที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เขาได้ขนุนมาผลหนึ่ง นำมาผ่ากินที่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง จากนั้นจึงนำเมล็ดเพาะเพื่อปลูก ด้วยเห็นว่าขนุนอร่อยดี ไม่นานขนุนเริ่มให้ผลผลิต จำนวนหลายต้นด้วยกัน แต่โดดเด่นเพียงต้นเดียว

คุณยงยุทธ ซึ่งอยู่บ้านเลขที่ 23/1 ถนนสุนทรโวหาร 2 ตำบลทางเกวียน จังหวัดระยอง ไปเห็นเข้า จึงขอขยายมาปลูก เพราะเห็นว่ามีคุณสมบัติที่ดีมาก

คุณยงยุทธ เห็นว่า ขนุนที่ขยายพันธุ์มาดีกว่าพันธุ์อื่นๆ จึงเพิ่มพื้นที่ปลูกเป็นการค้า

เมื่อปี 2538 คุณทวีศักดิ์ ด้วงทอง นักวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ปัจจุบันเกษียณแล้ว ได้พยายามสืบหาข้อมูลว่ามีขนุนดี นามว่า “ทองประเสริฐ” อยู่ตรงไหน

คุณทวีศักดิ์ อยากเห็นกับตาว่าดีอย่างไร จึงมาชวนเทคโนโลยีชาวบ้านไปดู ไปครั้งแรกคว้าน้ำเหลว ครั้งที่สองจึงพบและได้พูดคุยกับเจ้าของ คุณทวีศักดิ์ ได้ตรวจสอบคุณสมบัติขนุนสายพันธุ์นี้ พบว่า เปอร์เซ็นต์เนื้อที่กินได้ 51.2 เปอร์เซ็นต์ ความหวาน 17 องศาบริกซ์

หลังจากเทคโนโลยีชาวบ้านนำเสนอเรื่องขนุนทองประเสริฐ สื่ออื่นๆ ก็เสนอตาม ทำให้ทองประเสริฐได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง สอบถามคุณยงยุทธถึงที่มาของชื่อขนุนสายพันธุ์นี้ คุณยงยุทธ บอกไม่แน่ใจ คำว่า “ทอง” นั้นคือ สีเนื้อขนุนอย่างแน่นอน ส่วน “ประเสริฐ” เข้าใจว่าชื่อของคนที่อยู่ทางเบตง เพราะคนที่อยู่ระยองซึ่งนำมาไม่ได้ชื่อประเสริฐ

ปัจจุบันนี้ ถือได้ว่า ขนุนทองประเสริฐ มีพื้นที่ปลูกมากที่สุด มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ มีเกษตรกรส่วนหนึ่งปลูกจริงจังเพื่อส่งออก อยู่ที่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

ในวงการขนุน ครบเครื่องจริงๆ ต้อง ทองประเสริฐ ปลูกกินผลสด ปลูกเพื่อรองรับอุตสาหกรรมแปรรูป และปลูกเพื่อส่งออก

ขนุนปีเดียวทะวาย ปลูกแล้วออกผลเร็ว 8 เดือน ก็มีดอกแล้ว รสชาติดีมาก แต่ไม่เหมาะต่อการปลูกในระดับอุตสาหกรรม ขนุนที่ผลใหญ่สุดในประเทศ ต้องยกให้ ทองนาทวี เคยมีผลผลิตใหญ่สุด 80 กิโลกรัม ต่อผล

ยุคนี้ (2538-2557) ขนุนที่ปลุกและขายมากที่สุด ต้องยกให้ ทองประเสริฐ หากจะมีพันธุ์อื่นมาแทนที่ คุณสมบัติต้องเด่นกว่า สำคัญสุดคือเปอร์เซ็นต์เนื้อในผลที่กินได้

คุณยงยุทธ ขายผลขนุนได้กิโลกรัมละ 25 บาท เมื่อปี 2538 ขนุนผลหนึ่งหนัก 15 กิโลกรัม จำหน่ายได้ 375 บาท แต่ช่วงต่อมา ขายได้ 4 บาท ต่อกิโลกรัม เท่ากับผลละ 60 บาท แต่เขาก็ยืนหยัดผลิตอย่างต่อเนื่อง

หลังปี 2550 เป็นต้นมา ขนุนขยับขายได้ กิโลกรัมละ 20-30 บาท บางครั้งอาจจะสูงกว่านี้ หากมีคุณภาพดี เพราะเขาคัดส่งไปสาธารณะรัฐประชาชนจีน และเวียดนาม

กล้วยน้ำว้าในประเทศไทย พบว่ามีอยู่ประมาณ 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มกล้วยน้ำว้าไส้ขาว, กลุ่มกล้วยน้ำว้าไส้เหลือง และกลุ่มกล้วยน้ำว้าไส้แดง โดยกล้วยน้ำว้าในแต่ละกลุ่มก็มีลักษณะการใช้งานที่เหมาะสมที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ประโยชน์ เช่น กล้วยน้ำว้าไส้ขาว ที่รู้จักกันดีคือ “กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง” เป็นกล้วยน้ำว้าไส้ขาว เมื่อนำไปทำ “กล้วยตาก” จะได้กล้วยตากที่สีเหลืองสวย ไม่ดำคล้ำ หรือ เอาไปทำกล้วยแผ่นอบ ก็จะมีสีเหลืองสวยพอดี ไม่เหลืองมาก เหมือนกลุ่มกล้วยน้ำว้าเหลือง

ส่วนกล้วยน้ำว้ากลุ่มไส้เหลือง เหมาะสำหรับการกินผลสด ทำกล้วยเชื่อม กล้วยทอด กล้วยบวชชี เป็นกล้วยที่เหมาะสำหรับการแปรรูป ทำขนม ใช้งานได้หลากหลายที่สุด สุดท้ายคือ กล้วยน้ำว้ากลุ่มไส้แดง เป็นกล้วยที่ติดผลค่อนข้างดก ไส้กลางค่อนข้างแข็ง มีความฝาด จะเหมาะนำไปทำกล้วยเชื่อม หรือทำไส้ข้าวต้มมัด เพราะไส้กล้วยมีความแข็งไม่เละ กล้วยน้ำว้ากลุ่มไส้แดงนั้น ไม่เหมาะที่จะนำไปทำกล้วยตาก เพราะกล้วยตากที่มีสีคล้ำดำ สีไม่สวย ดูเหมือนกล้วยตากเก่า

ในกรณีดังกล่าวก็เคยเกิดขึ้นกับผู้ปลูกหลายรายที่ส่งกล้วยน้ำว้าไส้แดงขายกับผู้ผลิตกล้วยตาก พบว่ากล้วยตากที่ได้มีสีคล้ำดำ หรือ ถ้าเอาไปทำกล้วยบวชชีก็ไม่สู้อร่อยนัก เพราะมีรสฝาด ในการเลือกปลูกกล้วยน้ำว้านั้นหลายท่านก็ต้องพิจารณาตลาดที่จะรับซื้อเป็นอย่างไร ขายให้กับใคร แล้วเขาเอาไปทำอะไร

กล้วยน้ำว้านวลจันทร์ กล้วยดีที่เริ่มมีการขยายพื้นที่ปลูกกันมากขึ้น ที่แผนกฟาร์ม ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรได้หน่อกล้วยน้ำว้านวลจันทร์บางคนเรียกกล้วยน้ำว้าเงิน หรือ กล้วยน้ำว้าหนัง เริ่มแรกนำมาปลูกแซมเพื่อเป็นร่มเงาให้ไม้ประธาน เมื่อออกเครือปรากฏว่า ลักษณะของผลขนาดใหญ่ ใกล้เคียงกับกล้วยน้ำว้าชนิดอื่น ผลป้อม ทรงกระบอก ปลายค่อนข้างแหลม ผลดิบมีสีเขียวขาวนวล ผิวผลมีสีขาวกว่ากล้วยน้ำว้าพันธุ์อื่น ผลเมื่อสุกมีสีเหลืองนวล เนื้อผลสีขาวอมชมพู รสชาติหวานจัด เนื้อแน่น มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ปัจจุบันทางแผนกฟาร์ม ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร ได้นำกล้วยน้ำว้านวลจันทร์มาแปรรูปเป็นกล้วยอบลมร้อน มีรสชาติอร่อยมากและกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และรสชาติอร่อยมาก

การปลูกกล้วยน้ำว้า กล้วยน้ำว้านั้นสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ต้องมีน้ำให้ไม่ขาดแคลน แต่ในบางพื้นที่ที่แหล่งน้ำไม่สมบูรณ์ ก็จะเลือกที่จะปลูกกล้วยในช่วงต้นฤดูฝน ราวปลายเดือนเมษายน-พฤษภาคม เพื่อลดภาระในการให้น้ำ และที่สำคัญต้นกล้วยจะตั้งตัวได้เร็ว โดยหลังจากปลูกได้เพียง 1 เดือน ต้นกล้วยก็จะมียอดใหม่โผล่เหนือพื้นดิน

ส่วนขยายพันธุ์ของกล้วยสามารถใช้ได้หลายแบบ เช่น “หน่อกล้วย” ที่ใช้ได้ทั้งหน่ออ่อน คือ เป็นหน่อขนาดเล็ก เพิ่งแทงออกมาจากต้นแม่ ยังไม่มีใบให้เห็น หน่อใบแคบเป็นหน่อที่พอจะมีใบบ้าง แต่ใบจะมีลักษณะเรียวเล็ก ชาวสวนมักเรียกหน่อชนิดดังกล่าวว่า “หน่อดาบ” หน่อใบกว้าง เป็นหน่อที่มีใบโตกว้าง คล้ายกับใบจริง ส่วนของ “เหง้า” เป็นเหง้าหน่อกล้วยที่ต้นโตแล้ว แต่ยังไม่ตกผล เมื่อปลูกเราจะตัดยอดหรือลำต้นออก ส่วนของ “ตา” เหง้าหรือหน่อที่ตกผลแล้วหรือยังไม่ตกผล

ถ้ามีขนาดใหญ่พอจะมีตาอยู่หลายตา ซึ่งเราสามารถตัดเหง้าของหน่อ แล้วใช้มีดแบ่งออกเป็นชิ้นๆ เอาไปปลูกในแปลงหรือชำลงกระบะหรือในถุงดำที่บรรจุขี้เถ้าแกลบ ไม่นานตาเหล่านั้นจะกลายเป็นต้นกล้วยขนาดเล็กให้เราได้แยกปลูกลงแปลงต่อไป แต่วิธีดังกล่าวไม่เป็นที่นิยมมากนัก เพราะขั้นตอนยุ่งยากเหมาะกับการขยายพันธุ์กล้วยที่มีจำนวนน้อย หรือมีราคาแพง

การขุดแยกหน่อจากต้นแม่นั้น ต้องควรทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้หน่อช้ำมากนัก ควรใช้เสียมที่มีความคมแทงให้ขาดเพียง 1-2 ครั้ง เมื่อขุดขึ้นมาแล้วก็ใช้มีดปาดเอาส่วนของรากออกให้หมด เมื่อเวลาเรานำไปปลูกกล้วยจะสร้างรากใหม่ขึ้นมา ส่วนหน่อที่มีใบมากจนเกินไปก็ให้ริดตัดใบออกบ้าง หรือหน่อมีความสูงหรือมีขนาดใหญ่จนเกินไปก็ให้ตัดเฉือนลำต้นให้สั้นลง แต่ถ้าเป็นไปได้การตัดทอนยอดหรือต้นกล้วยควรตัดก่อนที่จะทำการแยกออกจากต้นแม่ ซึ่งการตัดยอดหรือลำต้นของกล้วยไม่ส่งผลเสียแต่อย่างใด

แต่ในทางกลับกัน กลับทำให้ลำของหน่อกล้วยมีโคนที่ใหญ่อวบอ้วนขึ้น เนื่องจากอาหารจากเหง้าไม่ต้องเลี้ยงยอดและใบ อาหารจึงไปสะสมและสร้างโคนให้ขึ้นนั่นเอง โดยหน่อที่แยกไปจากต้นแม่สามารถนำไปปลูกได้ทันที หรือ ถ้ายังไม่พร้อมก็สามารถเก็บรักษาไว้ในที่ร่มได้ก่อนนานนับสัปดาห์

การปลูก ในพื้นที่รกควรทำการดายหญ้า หรือไถพรวนเสียก่อน ก่อนการปลูก 7-10 วัน เพื่อปราบวัชพืชและทำให้ดินร่วนโปร่ง สำหรับพื้นที่น้ำท่วมจำเป็นต้องยกร่องเสียก่อน ระยะปลูกกล้วยนั้นมีความสำคัญมาก ถ้าปลูกชิดกันมากเกินไปก็จะทำให้เกิดร่มเงา ทำให้หน่อที่งอกขึ้นมาใหม่จะไม่ค่อยแข็งแรง ลำต้นเรียวเล็ก เพราะได้รับแสงไม่เพียงพอนั่นเอง ฉะนั้นการเลือกระยะปลูกต้องคำนึงถึงแสงแดด ความสมบูรณ์ของดินและชนิดของพันธุ์กล้วยประกอบกัน

สำหรับการปลูกกล้วยบนพื้นที่ราบ หลังจากกำจัดวัชพืชขุดดินหรือไถพรวนเรียบร้อยแล้ว ตากดินราว 7-10 วัน ก็จะขุดหลุมขนาด 50×50 ซ.ม. กองดินชั้นบน (หน้าดิน)ไว้ด้านหนึ่ง ส่วนดินชั้นล่างก็จะกองไปอีกด้านหนึ่งของหลุม จากนั้นให้ใส่ดินชั้นบนลงก้นหลุมพร้อมกับใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไปด้วยเพื่อเป็นปุ๋ยรองก้นหลุม คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำหน่อกล้วยที่เตรียมไว้ วางหน่อกล้วยลงกลางหลุม

ถ้าต้องการให้กล้วยออกปลีในทิศทางเดียวกันทุกหลุม โดยกล้วยจะแทงปลีออกมาในทิศทางตรงกันข้ามกับรอยแผลนั่นเอง เมื่อวางหน่อเรียบร้อยก็จะนำดินส่วนที่เหลือกลบหลุมให้แน่น ถ้าเป็นการปลูกกล้วยในช่วงฤดูฝนก็ควรพูนดินให้สูง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำขัง แต่ถ้าปลูกในช่วงฤดูอื่นก็ไม่จำเป็นต้องพูนดินสูง เพราะเวลาให้น้ำ น้ำที่ให้จะได้ไม่ไหลออกไป ส่วนการปลูกกล้วยแบบยกร่อง มักจะพบเห็นในพื้นที่ในเขตภาคกลาง

โดยเฉพาะกล้วยหอมที่มักจะนิยมปลูกกล้วยริมสันร่องทั้ง 2 ข้าง โดยตรงกลางจะเว้นเป็นทางเดิน โดยจะใช้ระยะปลูกถี่เพียง 3 เมตร เพราะเกษตรกรมักจะทำการปลูกกล้วยใหม่ทุกปี และการวางหน่อปลูกก็จะนิยมหันรอยแผลที่เกิดจากการแยกหน่อไปทางร่องน้ำ เพื่อให้กล้วยตกเครือมาในทิศทางร่องทางเดิน เพื่อจะสะดวกในการเก็บเกี่ยวนั่นเอง

การให้น้ำแก่ต้นกล้วย แม้ว่าต้นกล้วยเป็นพืชที่ค่อนข้างทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี แต่ถ้าปลูกกล้วยเป็นการค้า การให้น้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งกล้วยมีความต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอ เนื่องด้วยกล้วยเป็นพืชใบใหญ่ ลำต้นอวบน้ำและน้ำจะช่วยส่งเสริมเรื่องของการเจริญเติบโต ยกตัวอย่าง เช่น ในช่วงหน้าแล้งจึงไม่ควรให้ต้นกล้วยขาดน้ำ หน้าดินควรมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ เพราะรากกล้วยส่วนใหญ่จะเจริญและแผ่กระจายเป็นจำนวนมากบริเวณผิวดิน วิธีการให้น้ำแก่ต้นกล้วยมีหลายวิธี เช่น ใช้สายยางเดินรด, ติดตั้งระบบน้ำแบบสปริงเกอร์ ปล่อยน้ำเข้าร่องปลูก ฯลฯ

การใส่ปุ๋ยแก่ต้นกล้วย ค่อนข้างมีความสำคัญส่งผลถึงการเจริญเติบโต และผลผลิตที่จะออกมาก โดยเกษตรกรมักจะเน้นการใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น สูตร 16-16-16 อัตราการให้ประมาณ 200-300 กรัม หรือเฉลี่ย 1 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี โดยจะแบ่งใส่ 4 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 จะใส่หลังปลูกหน่อกล้วยไปแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ ต่อจากนั้นทุกๆ 3 เดือน ก็จะมีการให้ปุ๋ยครั้งที่ 2, 3 และ 4 ซึ่งการใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 4 เกษตรกรหลายรายที่ใส่ใจในเรื่องของรสชาติ ก็มักจะเปลี่ยนจากสูตร 16-16-16 มาใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 ก่อนการเก็บเกี่ยว

การตัดแต่งหน่อกล้วย หลังจากปลูกกล้วยได้ประมาณ 5-6 เดือน หน่อใหม่จะเกิดขึ้นมาก่อนที่กล้วยจะตกเครือเล็กน้อย ซึ่งเราควรเลือกไว้หน่อเพียง 2 หน่อแรกก็เพียงพอ เพื่อเตรียมไว้ทดแทนต้นแม่เดิมที่จะต้องถูกตัดทิ้งในอนาคต หน่อใหม่ที่เลือกควรอยู่ตรงกันข้ามกันของลำต้นเดิม

โดยหน่อแรกๆ นั้นจะมีรากลึกและแข็งแรงถือว่าดีที่สุด ส่วนหน่อที่เกิดมาทีหลัง ชาวสวนมักเรียกว่า “หน่อตาม” ไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้นมา จะทำให้กล้วยเครือเล็กลง จึงทำลายทิ้งเสียโดยการทำลายหน่อกล้วย ก็อาจจะวิธีการขุดหน่อออก แต่ต้องกระทำเฉพาะตอนที่กล้วยยังไม่ตกเครือเท่านั้น เพื่อไม่ให้ต้นกล้วยชะงักทำให้ผลกล้วยเล็กลงได้

การตัดแต่งใบกล้วย เนื่องจากใบกล้วยมีใบเจริญเติบโตออกมาเรื่อยๆ เมื่อใบใหม่ออกมา ใบเก่าก็จะแก่ และแห้งติดลำต้น ชาวสวนต้องหมั่นลอกกาบ ใช้ขอเกี่ยวสางตัดใบกล้วยออก โดยจะสางใบกล้วยที่แห้งและเป็นโรคออกอยู่เสมอ โดยถือหลักว่าถ้าใบแห้งและแก่มีสีเหลืองเกินกว่าครึ่งหนึ่ง หรือ 50% ของใบกล้วยก็ควรตัดทิ้งเพราะถือว่าไม่มีประโยชน์ในการสังเคราะห์แสงแต่อย่างใด โดยมักจะเลี้ยงใบไม่น้อยกว่า 7-8 ใบ และเมื่อเครือจวนแก่ก็แต่งใบให้เหลือ 4-5 ใบก็เพียงพอ

การค้ำต้นกล้วย เมื่อเครือกล้วยใกล้แก่ มีน้ำหนักค่อนข้างมาก จะทำให้ต้นโค่นล้มได้ง่าย หรือมีลมพัดแรงๆ ชาวสวนต้องมีไม้ไผ่หรือไม้เนื้ออ่อนที่มีง่ามไว้ค้ำยันเครือกล้วย

เมื่อกล้วยมีอายุได้ประมาณ 8-12 เดือน นับตั้งแต่วันปลูกกล้วยน้ำว้า(รวมถึงกล้วยไข่, กล้วยหอม) จะออกปลีในระยะใกล้เคียงกัน ก่อนที่กล้วยจะแทงปลีจะสังเกตได้ว่ากล้วยจะแทง “ใบธง” คือ ใบจะมีลักษณะไม่เหมือนใบทั่วไป เป็นใบขนาดเล็ก ใบชี้ตรงขึ้นท้องฟ้า เมื่อเห็นใบธง เป็นสัญญาณให้เราทราบว่า กล้วยของเรากำลังจะออกปลี ซึ่งปลีกล้วยจะโผล่พ้นตายอดแล้วจะเริ่มทยอยบานให้เห็นดอกกล้วย(หวีกล้วย) ดอกจะบานไล่เวียนลงมา ซึ่งจะเจริญเป็นหวีกล้วยต่อไป ไม่นานปลีจะบานถึงดอกกล้วย หรือ หวีกล้วย ซึ่งมีขนาดเล็กไม่สมบูรณ์อยู่ส่วนปลายของปลี

ซึ่งชาวสวนกล้วยเรียก “หวีตีนเต่า” โดยช่องระยะเวลาการบานของดอกกล้วยจะใช้เวลาประมาณ 10-17 วัน หลังจากตกปลี เมื่อเห็นว่าดอกกล้วยบานเกือบสุดแล้ว ก็ต้องตัดปลีออก เพื่อช่วยให้ผลกล้วยมีการเติบโตได้เต็มที่ กล้วยจะใช้ระยะเวลาประมาณ 100-110 วัน หลังจากปลีโผล่พ้นยอดออกมาหรือสังเกตที่ผลกล้วยในส่วนรวมของเครือว่าจะมีลักษณะผลค่อนข้างกลมไม่เป็นเหลี่ยม

การเก็บเกี่ยวกล้วยเมื่อเห็นว่าผลแก่ ก็ให้เก็บเอาไม้ค้ำเครือกล้วยออก การตัดเครือกล้วยก็ต้องทำด้วยความระมัดระวัง แนะนำให้ใช้มีดฟันที่กลางลำต้นกล้วยให้ลึก พอที่จะทำให้ลำต้นกล้วยจะค่อยเอนโน้มมาในทิศทางของผู้รับยืนอยู่ หากไม่มีความชำนาญก็ต้องช่วยกันตัดกล้วยสัก 2 คนโดยคนหนึ่งตัด อีกคนคอยรับเครือกล้วย เมื่อตัดเครือกล้วยลงมาได้แล้ว ให้นำเครือกล้วยให้ตั้งปลายเครือกล้วยขึ้นข้างบน ให้รอยตัดอยู่ข้างล่าง ตั้งกับพื้น เพื่อไม่ให้ยางกล้วยไหลย้อนลงมาเปื้อนหวีกล้วย กัดผิวกล้วย

ในอดีต คนญี่ปุ่นทางตอนเหนือของประเทศ เคยอดข้าวตายมาแล้ว เนื่องจากอากาศหนาวจัดทำนาไม่ได้ผล ต่อมาเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง ญี่ปุ่นภายใต้การสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ลงมือปฏิรูปด้านการเกษตรเป็นการใหญ่ โดยเฉพาะการผลิตข้าวเพื่อให้เพียงพอบริโภคภายในประเทศ ด้วยให้นโยบายว่า “ข้าวเป็นพืชเพื่อความมั่นคงของชาติ” เน้นการปรับปรุงพันธุ์ข้าวอย่างจริงจัง พร้อมๆ กับการปฏิรูปที่ดิน

มีการจัดรูปที่ดินอย่างเป็นระบบและเป็นระเบียบให้มีขนาดมาตรฐาน ขนาด 10×100 เมตร หรือเท่ากับ 0.1 เฮกแตร์ มีหน่วยเรียกว่า 10a ออกเสียงว่า จูอาร์ และจัดสรรที่ให้ครอบครัวละ 1 เฮกแตร์ หรือเท่ากับ 6.25 ไร่ เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นมีอากาศหนาวเย็น ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมไปจนถึงต้นเดือนเมษายน ญี่ปุ่นจึงมีอากาศอบอุ่นเพียง 6 เดือน เท่านั้น เดือนสิงหาคมเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนที่สุด อุณหภูมิขึ้นสูงถึง 40 องศาเซลเซียส พอย่างเข้าเดือนเมษายนอากาศเริ่มอบอุ่นขึ้น

ชาวนาญี่ปุ่นเริ่มเพาะกล้าในถาดพลาสติก ก้นฉลุเป็นตาข่าย ขนาด 30×60 เซนติเมตร สูง 3 เซนติเมตร ใช้ดินร่วนสะอาดเป็นวัสดุเพาะ ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ 270 กรัม ต่อถาด รดน้ำด้วยฝักบัวพอชุ่ม แล้วนำเข้าตู้อบ วางซ้อนกันชั้นๆ รูปทรงคล้ายตู้เก็บเสื้อผ้าทำจากพลาสติกที่เคยนิยมกัน รักษาอุณหภูมิในตู้อบ ที่ 32-35 องศาเซลเซียส ด้านล่างสุดมีถาดหล่อน้ำไว้ตลอดเวลา อบไว้เป็นเวลา 25 วัน ต้นกล้าจะมี 3 ใบ แข็งแรงพร้อมนำไปปักดำได้ เมื่อเตรียมดินเรียบร้อยแล้ว จึงยกต้นกล้าขึ้นจากถาดเหมือนเสื่อสีเขียวผืนเล็กๆ ใส่ลงในเครื่องปักดำชนิดเดินตามจนแล้วเสร็จ วันไหนฝนตก หรืออากาศแปรปรวน เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจะนำเครื่องบินขนาดเล็กออกประกาศ พร้อมโปรยแผ่นปลิวให้ชาวนาฉีดสารเคมีควบคุมโรคอย่างถูกต้องตามที่ทางการแนะนำ ตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นไป

ชาวนาญี่ปุ่นจะระบายน้ำออกและสูบน้ำเข้าแปลงนาสลับกัน 4-5 ครั้ง ไปจนถึงก่อนการเก็บเกี่ยวข้าวในนา การระบายน้ำออกแต่ละครั้งเกษตรกรทิ้งระยะไว้จนดินแตกระแหง หรือประมาณ 1 สัปดาห์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือก๊าซไข่เน่า และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นพิษกับรากต้นข้าว ก๊าซดังกล่าวเกิดขึ้นจากขบวนการย่อยสลายของเศษฟางข้าวและหญ้าที่ไถกลบลงดินก่อนการปักดำ ในขณะเดียวกัน ชาวนาจะหว่านปุ๋ยให้ตกลงตามรอยแยกของดินเข้าใกล้รากข้าวมากที่สุด แล้วสูบน้ำเข้าแปลงนา ดินจะปิดทับเก็บปุ๋ยไว้ในดิน ละลายออกมาให้รากข้าวนำไปใช้ได้อย่างช้าๆ วิธีการดังกล่าวสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้ 7-10 เปอร์เซ็นต์ ย่างเข้าเดือนตุลาคม เป็นฤดูกาลของการเก็บเกี่ยว

เกษตรกรจะใช้รถเกี่ยวนวดขนาดเล็ก พร้อมบรรจุกระสอบพลาสติก อาจซื้อเป็นของส่วนตัว หรือเช่าจากสหกรณ์ก็ได้ จากนั้นนำเข้าเครื่องอบไอร้อนไล่ความชื้นก่อนบรรจุกระสอบ ส่งขายให้สหกรณ์ต่อไป โดยสหกรณ์เป็นตัวแทนรัฐบาลรับซื้อในราคาที่แพง และรับซื้อจากเกษตรกรทั้งหมด หรือทุกเมล็ด แต่เมื่อนำไปแปรรูปเป็นข้าวสารแล้วจำหน่ายให้กับประชาชนในราคาที่ต่ำกว่าที่รัฐบาลรับซื้อ

จะเห็นว่ารัฐบาลญี่ปุ่นเขาโอบอุ้มชาวนาอย่างจริงจังแล้ว ยังเอาใจประชาชนของตนไปในโอกาสเดียวกัน รัฐบาลญี่ปุ่นนี่น่ารักจัง ย้อนไปในยุคเก่าก่อน ช่วงที่ตระเวนสอบเรียนต่อ และหางานทำ เดือนมีนาคม-เมษายน การเดินทางส่วนใหญ่มักได้นั่งรถแดง หมายถึงรถบัสสีแดง สีส้ม ไม่มีแอร์ อากาศร้อนอบอ้าว เหงื่อไหลไคลย้อย ดื่มน้ำเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักอิ่มจักเต็ม แต่มีอยู่ช่วงหนึ่ง ผ่านอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม นอกจากข้าวเหนียวและไก่ย่าง ที่แม่ค้ามานำเสนอให้ซื้อริมหน้าต่างรถแล้ว ยังมีมันแกว ลองซื้อชิม ปรากฏว่า อิ่มท้อง แถมความหิวกระหายเบาบางลง

เวลาผ่านไป พบว่า มันแกวบรบือยังมีขายอยู่ แต่เขานำมาขายตามแผง ริมถนนบ้านไผ่-บรบือ มีบางส่วนที่นำมาขายริมถนนขอนแก่น-นครราชสีมา ไม่ได้มีการบันทึกไว้ว่าใครคือคนแรกที่นำมันแกวเข้าไปปลูกในเขตบรบือ แต่คนเฒ่าคนแก่ ตำบลหนองสิม อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม บอกว่า มีการปลูกมันแกวมานานกว่า 40 ปีแล้ว เดิมทีเขาปลูกอยู่รอยต่อระหว่างอำเภอกุดรังกับอำเภอบรบือ แต่ทุกวันนี้ บรบือปลูกมากที่สุด รวมแล้วราว 2,500 ไร่

วิธีการปลูกมันแกวของชาวบ้านที่นี่ คล้ายกับการปลูกผัก คือยกร่อง แล้วนำเมล็ดมันแกว ปักหรือเหน็บลงไปที่ดิน ระหว่างแถว 15 เซนติเมตร ระหว่างต้น 5 เซนติเมตร พื้นที่ 1 ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ 14 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 200 บาท

พันธุ์มันแกวที่ปลูกอยู่ ซื้อเมล็ดพันธุ์มาจากจังหวัดจันทบุรี เป็น “พันธุ์เบา” นิยมปลูกกันมาก เพราะอายุการเก็บเกี่ยวหลังปลูกแค่ 130- 140 วัน มีอีกสายพันธุ์หนึ่ง หัวยาว เรียกว่า “พันธ์จันท์” ปัจจุบันไม่นิยมปลูกแล้ว เพราะอายุการเก็บเกี่ยวนาน

การดูแลรักษามันแกวของเกษตรกรที่นี่ เน้นภูมิปัญญาท้องถิ่น เริ่มจากใส่ปุ๋ยคอกบำรุงดิน ปุ๋ยวิทยาศาสตร์สูตร 15-15-15 ใช้เพียงน้อยนิด

ก่อนเก็บเกี่ยว 20 วันงดน้ำ ทำให้ได้รสชาติหวาน

ผลผลิตที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวได้ 3-5 ตันต่อไร่ หากนำตัวเลขกลางๆมาคำนวณ 4 ตันต่อไร่ เกษตรกรขายได้จากแปลง กิโลกรัมละ 8 บาท เท่ากับว่า 1 ไร่ ชาวบ้านมีรายได้จากการขายมันแกว 32,000 บาทต่อไร่

โดยภาพรวม มันแกวสร้างรายได้ให้กับผู้ปลูกในอำเภอบรบือไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาทต่อปี เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่ ปลูกมันแกวมากกว่า 2 ครั้งต่อปี เนื่องจากเป็นพืชอายุสั้น ดังนั้นหากคิดตัวเลขเกษตรกรปลูกอย่างน้อย 2 ครั้ง พื้นที่ปลูกจริง ต้องมากกว่า 2,500 ไร่ อย่างแน่นอน

พื้นที่ปลูกมันแกวของเกษตรกรที่นี่ หากเป็นช่วงแล้งเขาปลูกในที่ลุ่มใกล้น้ำ ครั้นเข้าสู่ฤดูฝน ก็ย้ายขึ้นไปปลูกบนโคก ป้องกันโรคเน่า อีกทั้งดินที่แห้ง ช่วยเพิ่มความหวานให้กับมันแกว โดยที่ไม่ต้องเติมปุ๋ย

สาเหตุที่บรบือปลูกและจำหน่ายมันแกวมายาวนาน เป็นเพราะแถบนี้เป็นดินทราย ปลูกมันแกวแล้วลงหัวเร็ว หัวมันแกวขยายได้ง่าย สำคัญที่สุดรสชาติดี

บางฤดูกาล มันแกวบรบืออร่อยมาก จนพูดกันว่า “แอปเปิ้ลดิน”

อาจจะมีคำถามว่า เมื่อมีรายได้ 2-3 หมื่นบาทต่อไร่ ทำไมไม่ขยายพื้นที่ปลูกให้มากๆ เกษตรกรเขามีประสบการณ์ ปลูกมากๆล้นตลาด ราคาเหลือกิโลกรัมละ 1-2 บาท ทุกวันนี้ เกษตรกรรายหนึ่งปลูก 1-2 ไร่

การซื้อการขายนั้น เกษตรกรขายจากแปลงได้ 7-8 บาทต่อกิโลกรัม แม่ค้าที่แผง นำไปมัดรวมกันน้ำหนัก 2.8-3 กิโลกรัม ขาย 40 บาท เฉลี่ยแล้ว กิโลกรัมละ 14 บาท มีกำไรเพิ่มขึ้นอีกนิดหน่อย ราคาที่แนะนำมา อาจจะมีขึ้นลงบ้าง

ริมถนนสายบ้านไผ่-บรบือ มีผู้ค้า ออกมาขายมันแกวมากกว่า 100 แผง แต่หากเป็นช่วงเทศกาล อย่างปีใหม่ สงกรานต์ ผู้ค้าอาจจะมีมากถึง 300 แผง

มันแกว ถือว่าเป็นผลิตผลทางการเกษตร ที่ซื้อหากันได้ทั่วไป สนนราคาไม่แพง จะซื้อกินเองหรือซื้อเป็นของฝากก็ได้ทั้งนั้น ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมานี้ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ได้จัด “งานมหกรรม ชิมทุเรียนพันธุ์ใหม่ จันทบุรี 1 จันทบุรี 2 จันทบุรี 3” แบบชิมฟรี ทุเรียนดังกล่าวเป็นผลพวงการวิจัยที่ได้ผลประสบความสำเร็จมาแล้ว

โดยใช้พันธุ์ลูกผสม ระหว่างทุเรียนพันธุ์หลักๆ ที่ได้รับความนิยมเข้าด้วยกัน เช่น ชะนี หมอนทอง ก้านยาว กับทุเรียนพันธุ์หลักกับพันธุ์พื้นเมืองโบราณ เช่น พวงมณี ผลงานวิจัยได้จดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่โดยกรมวิชาการเกษตร ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ทุเรียนพันธุ์จันทบุรี 1 – จันทบุรี 9 และมีการขยายพันธุ์จำหน่ายให้เกษตรกรที่สนใจนำไปปลูก ปีนี้มีผลผลิตส่งจำหน่ายตลาดจีนระดับพรีเมี่ยมแล้ว ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรีจึงเห็นว่าควรประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรทั่วไป ผู้บริโภคคนไทย ผู้ประกอบการค้าได้รู้จักและลิ้มลองรสชาติ ทุเรียนพันธุ์ลูกผสมต่างๆ ซึ่งเป็นทุเรียนต้นฤดู ผลผลิตที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ และรสชาติอร่อย เพื่อพัฒนาเป็นทางเลือกสำหรับตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ

ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี…

บุกเบิก ทุเรียนพันธุ์ลูกผสม 30 ปีเต็ม

ได้สายพันธุ์ใหม่เกือบ 10 สายพันธุ์

คุณวีรญา เต็มปีติกุล นักวิชาการเกษตร ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี เล่าว่า การวิจัยทุเรียนพันธุ์ลูกผสม ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ได้เริ่มทำมาร่วม 30 ปีเต็ม ตั้งแต่ ปี 2528-2529 โดย ดร. ทรงพล สมศรี ผู้เชี่ยวชาญ กรมวิชาการเกษตร เป็นผู้ริเริ่มทดลองไว้เป็นคนแรกและมีนักวิชาการทำมาอย่างต่อเนื่อง และตนเองได้มารับช่วง เมื่อ ปี 2551 ได้ทำการวิจัยทดลองต่อ เพื่อสร้างทุเรียนลูกผสมพันธุ์ใหม่ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น สามารถเก็บเกี่ยวได้ในช่วงต้นฤดู ซึ่งเป็นการกระจายช่วงการผลิตทุเรียนและเพื่อปรับปรุงคุณภาพทุเรียนลูกผสมให้ตรงกับความต้องการของตลาด ผลผลิต ในขณะนี้มีทุเรียนพันธุ์ลูกผสมอยู่ 7-9 สายพันธุ์ คือ จันทบุรี 1 จันทบุรี 2 จันทบุรี 3 จันทบุรี 4 จันทบุรี 5 จันทบุรี 6 และพันธุ์นวลทองจันท์ โดยจดทะเบียนได้รับการรับรองพันธุ์เรียบร้อยแล้ว และมี 3-4 สายพันธุ์ ที่กำลังดำเนินการวิจัยทดลองอยู่ เช่น เบอร์ 5 เบอร์ 15 และที่กำลังเริ่มทดลองวิจัยหมอนทองและกระดุมอยู่ ที่จดทะเบียนแล้วแนะนำเกษตรกรนำไปปลูกหลายสายพันธุ์ ตั้งแต่ ปี 2549 เป็นต้นมา และ ปี 2551 พันธุ์ลูกผสมจันทบุรี 1 จันทบุรี 2 จันทบุรี 3 เกษตรกรประมาณ 700 ราย ซื้อไปปลูกกระจายไปทั่วจังหวัดจันทบุรีเริ่มมีผลผลิตออกสู่ตลาด

ปีนี้มีบริษัทจีนส่งออกทุเรียนและผลไม้ไทยนครกวางโจวรายใหญ่ รับซื้อทุเรียนพันธุ์ลูกผสม จันทบุรี 1 จันทบุรี 2 จันทบุรี 3 และว่าที่จันทบุรี 10 (ชะนี+นกหยิบ) ส่งไปศูนย์กระจายสินค้าในจีน ที่มีลูกค้าสาขาย่อยกว่า 1,300 สาขา เพื่อทำตลาดพรีเมี่ยมเป็นปีแรก ตั้งราคาปานกลาง เพื่อให้สามารถอยู่ทำตลาดบริโภคได้ยาว ส่วนการจัดงานมหกรรมชิมฟรีทุเรียนพันธุ์ลูกผสม เพื่อต้องการประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภค เกษตรกร ผู้ประกอบการ และบุคคลทั่วๆ ไปภายในประเทศได้รู้จักและทดลองชิมรสชาติ เพื่อส่งเสริมการปลูก และส่งเสริมตลาดทั้งในและต่างประเทศ ไม่ใช่เฉพาะตลาดจีนอย่างเดียว

“ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี จัดงาน 7 วัน วันละ 2 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 10.00-12.00 น. มีคนสนใจมาชิมคึกคักมากเป็นปีแรก ก่อนหน้านี้เคยจัดชิมทุเรียนพันธุ์พื้นเมือง ตั้งเป้าไว้ วันละประมาณ 100 คน ชิมฟรี มีทุเรียนพันธุ์ลูกผสม 4-5 ชนิด คือ จันทบุรี 1 จันทบุรี 2 จันทบุรี 3 และ เบอร์ 5 เบอร์ 15 ที่ยังไม่มีชื่อ ให้เปรียบเทียบกับหมอนทองที่เป็นพันธุ์ยอดนิยม และมีตารางประเมินผลเป็นรายพันธุ์ตามรายละเอียด รสชาติ เนื้อ ความสุก ความหวาน สีสัน กลิ่น ได้รับความร่วมมืออย่างดี กลุ่มที่มาชิมหลากหลาย มีเกษตรกรประมาณ 50% ผู้บริโภค 30% และผู้ประกอบการ นักท่องเที่ยว และอื่นๆ 20% หากสนใจซื้อกิ่งพันธุ์ ซื้อได้ไม่เกินคนละ 25 กิ่ง กิ่งละ 25 บาท ตลอด 7 วัน มีผู้สั่งซื้อจำนวนมาก มีไม่พอ อย่างพันธุ์ จันทบุรี 1 จันทบุรี 4 จันทบุรี 6 จันทบุรี 8 จันทบุรี 9 หมด ต้องรอรับปีหน้า” คุณวีรญา กล่าว

ส่งเสริมตลาดในและต่างประเทศ

คุณวีรญา เล่าถึงทุเรียนพันธุ์ลูกผสมว่า สมัคร Royal Online เป็นการผสมข้ามพันธุ์ จะเลือกแม่พันธุ์คุณภาพดี ผลผลิตสูง พ่อพันธุ์มาผสมกัน โดยใช้วิธีเสียบยอดกับต้นตอ โดยเลือกลักษณะเด่นๆ มาทำเป็นพ่อแม่พันธุ์เพื่อให้ได้ทุเรียนตามที่เราต้องการ ที่เรียกว่า “ALL IN ONE” เช่น การให้ผลแก่สุกเร็ว รสชาติเข้มข้ม เนื้อละเอียด เมล็ดลีบ การเก็บเกี่ยวให้ผลระยะสั้นเป็นผลผลิตช่วงต้นฤดู เช่น แม่พันธุ์ชะนี เนื้อละเอียด สีสวย กลิ่นอ่อนมากผสมพ่อพันธุ์หมอนทอง ใช้เวลาเก็บเกี่ยว 120-135 วัน เนื้อหนา สีอ่อน เนื้อเหนียวน้อย แต่ได้ลูกผสมจันทบุรี 1 หรือลูกผสม จันทบุรี 5 ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 90-100 วัน หรือแม่พันธุ์ก้านยาวผสมพ่อพันธุ์แบบเปิด คือปล่อยให้ผสมตามธรรมชาติ ได้ลูกผสม เนื้อค่อนข้างหนา รสชาติดี หวาน มัน เนื้อสีเหลืองสวย แต่มีลักษณะด้อย เมล็ดค่อนข้างโต พบมีอาการแกนเต่าเผา ไส้ซึม

“ส่วนที่ยังไม่ได้ตั้งชื่อ คือ เบอร์ 5 และ เบอร์ 15 น่าจะสรุปผลจดทะเบียนได้เร็วๆ นี้ และมีพันธุ์ลูกผสมพันธุ์แม่หมอนทองกับพันธุ์พ่อกระดุมที่อยู่ในระหว่างวิจัยทดลองที่เริ่มทำไว้ ปี 2555 คาดว่าอีก 5-6 ปี เราจะได้ทุเรียนที่มีคุณภาพรสชาติอร่อย หากทำทุเรียนพันธุ์ลูกผสมหลายๆ พันธุ์ที่มีคุณภาพปริมาณมากๆ และเป็นทุเรียนต้นฤดูได้ราคาสูง ต่อไปเกษตรกรอาจจะไม่ต้องทำทุเรียนราดสารอีก” คุณวีรญา กล่าวทิ้งท้าย