พิษณุโลกรับลูกกรมปศุสัตว์! เซ็นสั่งปิดสนามชนไก่-ห้ามย้าย

สัตว์ปีกสกัดหวัดนกระบาดวันที่ 2 มีนาคม นายธัชชัย ศรีสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เปิดเผยว่า ตามที่มีรายงานขององค์การสุขภาพสัตว์โลก ตั้งแต่ต้นปี 2560 จนถึงขณะนี้ มีการพบการระบาดของโรคไข้หวัดนกชนิดรุนแรงในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ และล่าสุดเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้พบการระบาดของโรคไข้หวัดนกชนิดรุนแรง H5N6 ที่ประเทศเมียนมา โดยพบในตลาดค้าสัตว์ปีก สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ประเทศไทยมีความเสี่ยง และจากสภาพอากาศที่แปรปรวนในขณะนี้ที่มีอุณหภูมิลดต่ำลงในหลายพื้นที่ ทำให้มีโอกาสทำให้สัตว์อ่อนแอและป่วยเป็นโรคได้ง่าย เอื้อต่อการเกิดโรคระบาดในสัตว์ปีก อีกทั้ง ทางกรมปศุสัตว์ได้ส่งหนังสือด่วนขอความร่วมมือให้จังหวัดที่มีสนามชนไก่ งดการชนไก่ และให้ปิดสนามชนไก่ไปก่อนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก

“จังหวัดพิษณุโลกจึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่แจ้งไปยังเจ้าของสนามชนไก่ให้ปิดสนามชนไก่ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม – 30 เมษายน 2560 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกชนิดรุนแรง H5N6 ที่กำลังเป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ รวมทั้งห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกเข้าออกพื้นที่ และห้ามเกษตรกรนำเป็ดไปเลี้ยงไล่ทุ่งด้วย” นายธัชชัยกล่าว

รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับในเดือนที่ผ่านมาพื้นที่จังหวัดพิจิตรซึ่งอยู่ติดกับจังหวัดพิษณุโลก พบมีสัตว์ปีกป่วยล้มตายเป็นจำนวนมากแต่ยังหาสาเหตุไม่พบ ส่วนสถานการณ์ของโรคไข้หวัดนกในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก ขณะนี้อยู่ในภาวะที่ควบคุมได้ ยังไม่มีรายงานว่ามีไก่ตายโดยไม่ทราบสาเหตุแต่อย่างใด

วันที่ 2 มีนาคม ภายหลังจากที่รัฐบาลได้อนุมัติสินเชื่อรายย่อย เพื่อใช้จ่ายฉุกเฉิน ในวงเงินสินเชื่อรวม 10,000 ล้านบาท โดยให้ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. เป็นผู้ดำเนินการปล่อยสินเชื่อ แห่งละ 5,000 ล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ซึ่งได้มีการเปิดโครงการวันที่ 1 มีนาคม 2560 เป็นวันแรกนั้น โดยล่าสุด บรรยากาศในธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขานครราชสีมา เริ่มมีประชาชนทยอยเดินทางมาขอสินเชื่อกันบ้างแล้ว

นายกฤษณ์ จันทร์หอม ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า โครงการสินเชื่อรายย่อยเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉินของรัฐบาล ได้เริ่มดำเนินการแล้ว เมื่อวาน (1 มี.ค. 60) เป็นวันแรก โดยในส่วนของ ธ.ก.ส.จังหวัดนครราชสีมา จะรับผิดชอบปล่อยสินเชื่อรายย่อยเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉินให้กับผู้ที่ขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรกร ผ่าน ธ.ก.ส.ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดทั้งหมด จำนวน 37 สาขา ครอบคลุมทั้ง 32 อำเภอของจังหวัดนครราชสีมา โดยวันนี้ก็มีเกษตรกรที่ได้รับข่าวสาร เริ่มมายื่นเอกสารและหลักฐานขอกู้สินเชื่อดังกล่าวบ้างแล้ว

“ส่วนในต่างอำเภอก็คาดว่าจะเริ่มตื่นตัวหลังจากทราบข่าวการอนุมัติจากรัฐบาล ส่วนประชาชนที่ยังไม่ทราบข่าว ทาง ธ.ก.ส.ทั้ง 37 สาขา ก็จะเร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ทราบอย่างทั่วถึง ซึ่งคาดว่าจะมีเกษตรกรให้ความสนใจมายื่นความประสงค์ขอสินเชื่อกันเป็นจำนวนมาก โดยผู้ที่จะมากู้สินเชื่อนี้ต้องมีคุณสมบัติเบื้องต้นคือเป็นเกษตรกรตัวจริง เป็นผู้มีรายได้ทางการเกษตรหรือรายได้อื่นที่เพียงพอต่อการชำระหนี้ และต้องมีบุคคลค้ำประกัน 1 คน โดยสามารถกู้สินเชื่อได้ไม่เกินรายละ 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.85 บาทต่อเดือน กำหนดระยะเวลาคืนเงินกู้ 5 ปี เพื่อนำเงินไปใช้จ่ายที่จำเป็นและฉุกเฉิน เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเรียนบุตร หรือค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอื่นๆ ดังนั้นหากเกษตรกรที่สนใจ สามารถนำเอกสารและหลักฐาน พร้อมบุคคลค้ำประกัน มาแจ้งความประสงค์กู้สินเชื่อได้ที่ ธ.ก.ส.ทั้ง 37 สาขา ทั่วจังหวัดนครราชสีมา” นายกฤษณ์กล่าว

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม นายสมศักดิ์ เจริญไพฑูรย์ นายอำเภอพระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังเร่งแก้ไขปัญหาหมูป่าจำนวนมากกว่า 300 ตัว ซึ่งไม่มีเจ้าของ อาศัยอยู่ในป่าสะแกและที่ดินสาธารณะรอบชุมชน รวมถึงในวัดกลางคลองสระบัว โรงเรียน โดยในบางครั้งออกมาเดินเต็มท้องถนนทั้งกลางวันและกลางคืนเสี่ยงอันตรายที่จะถูกรถชน หรือเสี่ยงที่หมูป่าจะเข้าทำร้ายคน นอกจากนี้ยังมีปัญหาหมูป่าบุกเข้าไปกัดกินพืชผักตามบ้านเรือนและสวนของชาวบ้านจนเกิดความเสียหาย สร้างความน่ารำคาญและเดือดร้อนไปทั้งชุมชน

โดยประชาคมทั้งตำบลลงมติไม่ต้องการหมูป่า แต่ไม่ต้องการฆ่า เพียงต้องการหาที่อยู่ใหม่ที่เหมาะสมให้ หรือทำโครงการลดจำนวนประชากรอีกครั้ง โดยทางอำเภอเสนอให้ 1.จับหมูป่าทำหมันทั้งตัวผู้และตัวเมีย 2.แจกจ่ายแก่เกษตรกรในถิ่นอื่นเพื่อนำไปเลี้ยง 3.หาพื้นที่เหมาะสมเพื่อโยกย้ายหมูป่าออกไปจากชุมชน

อย่างไรก็ตามมีรายงานด้วยว่าเดิมหมู่ป่านี้มีเพียง 2 คู่เท่านั้น โดยมีคนนำมาถวายวัดกลางคลองสระบัว จากนั้นขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่น้ำท่วมใหญ่ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน แม้จะเคยมีการทำโครงการลดจำนวนไปแล้ว 1 ครั้งเมื่อ 2 ปีก่อน แต่วันนี้หมูป่ากลับเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว เพราะออกลูกครั้ง 8-10 ตัว อีกทั้งมีการผสมพันธุ์กันทั้งปี

ผู้สื่อข่าวจังหวัดสกลนคร รายงานว่า กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 หรือ “กลุ่มสนุก” ประกอบด้วย จังหวัดสกลนคร มุกดาหาร และนครพนม ร่วมกันจัดสัมมนาทิศทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวในตลาดอาเซียนและจีนตอนใต้ แนวทางการพัฒนาพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 ที่ห้องประชุมโรงแรมเอ็มเจเดอะมาเจสติก จังหวัดสกลนคร โดยมี Mr. Li Ming Gang กงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำจังหวัดขอนแก่น เข้ามาชี้แจงนโยบายภาคเศรษฐกิจของจีนที่มีต่อประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนและการท่องเที่ยวในภาคอีสาน โดยจังหวัดสกลนครพบว่า มีแร่ธาตุทางเศรษฐกิจจำนวนมาก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ และทางจีนพร้อมจะนำเม็ดเงินเข้ามาลงทุนทางอุตสาหกรรมให้มากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้

ขณะที่ฝ่ายไทย มี นายนิยม ไวยรัชพานิช รองประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย นายศารุมภ์ โหม่สูงเนิน พาณิชย์จังหวัดสกลนคร นายมงคล ตันสุวรรณ ประธานสภาหอการค้า “กลุ่มสนุก” ดร. สุริยะ วิริยะสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร เข้าร่วมเสวนาบนเวที โดยมีส่วนราชการ พ่อค้า และนักธุรกิจจาก 3 จังหวัด เข้ารับฟังกว่า 200 คน

ด้าน นายชัยมงคล ไชยรบ นายก อบจ. สกลนคร กล่าวว่า เราเคยหารือแนวทางการค้าการลงทุนกับจีนมาแล้วครั้งหนึ่ง ที่จะดึงนักลงทุนจากจีนมาตั้งโรงงานผลิตยางรถยนต์ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร เพื่อแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ แต่ด้วยปัจจัยหลายอย่างจึงต้องพักเรื่องดังกล่าวไว้ก่อน จนขณะนี้กลุ่มอาเซียนได้เปิดการค้าการลงทุนเสรีมากยิ่งขึ้น ไม่แน่โรงงานยางอาจมีการนำมาปัดฝุ่นอีกครั้ง

“ทุกวันนี้ประเทศไทยเป็นประเทศที่จะต้องรีบตั้งหลักให้ทัน โดยการออกจากกรอบเดิมๆ แล้วไปแข่งกับเพื่อนบ้านให้ได้ ส่วนสกลนครอยู่ในพื้นที่การค้าการลงทุนเกี่ยวกับชายแดน ตอนนี้กำลังคุยกับผู้บริหาร อบจ. เกี่ยวกับช่องทางการค้าการลงทุน ว่าจะขับเคลื่อนให้ไปในทิศทางใด และจะจับเอาเรื่องไหนมาเป็นประเด็นที่จะเดินต่อในการดึงเม็ดเงินเข้าประเทศ ยอมรับว่าไทยมีศักยภาพด้านวัตถุดิบทรัพยากรสูง แต่เรามักปล่อยโอกาสผ่านไป และชอบนั่งรอโอกาส บางครั้งเราต้องรู้จักการแสวงหาเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนกินดีอยู่ดีกว่าที่เป็นอยู่” นายชัยมงคล กล่าว

สศค. เผยภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือน ม.ค. ขยายตัวในเกณฑ์ดี นำโดยภาคกลาง ใต้ และตะวันออก ชี้การท่องเที่ยว-ภาคเกษตรปัจจัยสนับสนุนฟื้นตัวแข็งแกร่ง ขณะที่การลงทุนเอกชนเริ่มปรับตัวดีขึ้นหลายภูมิภาค ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภาคอยู่ในเกณฑ์ดี

นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนมกราคม ปี 2560 ขยายตัวในเกณฑ์ดี นำโดยภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออก โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของภาคการท่องเที่ยวและการขยายตัวของภาคเกษตรสอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนที่เริ่มมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นในหลายภูมิภาค สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี

นายกฤษฎา กล่าวว่า ทั้งนี้ในส่วนของภาคกลาง เศรษฐกิจขยายตัวในเกณฑ์ดี จากการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาครัฐและการท่องเที่ยวเป็นหลักสะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่าย ขยายตัวในอัตราเร่งที่ 6.6% ต่อปี โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในภูมิภาคสอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 61.0

นายกฤษฎา กล่าวว่า ภาคใต้ เศรษฐกิจขยายตัวในเกณฑ์ดี จากการลงทุนและการท่องเที่ยวเป็นหลักสะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือ เครื่องจักร สะท้อนจากยอดรถปิกอัพจดทะเบียนใหม่กลับมาขยายตัวที่ 0.7% ต่อปี ตามการขยายตัวในเกือบทุกจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตรัง และยะลา สอดคล้องกับเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมที่ขยายตัวในอัตราถึง 226.7% ต่อปี จากการลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดสงขลาเป็นสำคัญ นอกจากนี้ การลงทุนภาครัฐยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวในภูมิภาค สะท้อนจากรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาค การท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี ภาคเกษตรที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ภาคตะวันออก เศรษฐกิจขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยมีภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวเป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญสะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์โดยเฉพาะการลงทุนภาครัฐยังขยายตัวในเกณฑ์ดี จากรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคที่ขยายตัว 11.0% ต่อปี โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวยังเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยสนับสนุนการขยายตัวภายในภูมิภาค สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนที่ขยายตัวได้ดี 15.1% ต่อปี

นยกฤษฎา กล่าวว่า กทม. และปริมณฑลเศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่อง จากการลงทุนและภาคการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรขนาดใหญ่ สะท้อนจากเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมขยายตัว รายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคขยายตัว ส่วนภาคอื่น ประกอบด้วย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่อง จากการลงทุนภาครัฐและเอกชน และการท่องเที่ยว

นายวิโรจ อิ่มพิทักษ์ นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) กล่าวเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการโรงเรียนเกษตรทางอากาศ หลักสูตรการเลี้ยงโคเนื้อคุณภาพ ร่วมกับนายโกเมนทร์ โคตรศรีวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จ.ขอนแก่น ที่ห้องประชุม ธ.ก.ส.จังหวัดขอนแก่นเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ธ.ก.ส.ขอนแก่นร่วมกับ มก.ดำเนินโครงการโรงเรียนเกษตรทางอากาศ ตามการลงนามความร่วมมือทางวิชาการ โดยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ 40 คน

นายวิโรจกล่าวต่อว่า ปัจจุบันความต้องการโคเนื้อยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งจากข้อมูลการสำรวจของ มก.พบว่าไทยยังคงมีความต้องการในขั้นตอนของการผลิตเพื่อการบริโภคอยู่ที่ 1,260,000 ตัวต่อปี แต่กลับผลิตได้ที่ 970,000 ตัวต่อปี ขณะที่จังหวัดที่เลี้ยงโคเนื้อมากกว่า 100,000 ตัว 5 อันดับแรกของประเทศ ประกอบด้วย นครราชสีมา 226,610 ตัว รองลงมาคือ สุรินทร์ 217,192 ตัว ศรีสะเกษ 206,028 ตัว อุบลราชธานี 202,431 ตัว และกาญจนบุรี 199,079 ตัว ขณะที่ขอนแก่นอยู่ในอันดับที่ 13 มีกำลังการผลิตที่ 120,861 ตัวต่อปี

“เรื่องความต้องการของตลาดในประเทศและส่งออกปี 2559-2560 นั้น คาดการณ์ว่าไทยจะต้องนำเข้าโคเนื้อมากกว่า 300,000 ตัว ถึงจะเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคในประเทศ ดังนั้น การปรับกลยุทธ์ในกระบวนการผลิตด้วยการส่งเสริมให้เกษตรกรของไทยนำร่องในพื้นที่ภาคอีสานตอนบนได้ดำเนินการต้นแบบโรงเรียนเกษตรทางอากาศ จะเป็นการพัฒนาระบบและวิธีการเลี้ยงโคเนื้อรูปแบบใหม่ เพื่อให้เกษตรกรได้รับความรู้ตามความต้องการของตลาดและยังคงสามารถนำไปประกอบอาชีพได้จริง โดยโรงเรียนเกษตรทางอากาศนั้นจะเป็นการให้ความรู้ที่ผสมผสานวิธีการฝึกอบรมในรูปแบบการใช้สื่อผสม เน้นหนักในพื้นที่ชานเมืองและชนบท ได้เข้าถึงการเรียนรู้ด้านการเลี้ยงโคเนื้อที่ถูกหลักวิชาการและการรับทราบถึงสภาวะหรือเหตุการณ์ต่างๆ ของการเลี้ยงโคเนื้อที่เท่าทันต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในภาพรวม” นายวิโรจกล่าว

นายกสภา มก.กล่าวต่อว่า กระบวนการจัดการเรียนการสอนนั้น เกษตรกรจะสามารถศึกษาข้อมูลโดยตรงกับนักวิชาการของ มก.ผ่านทาง www.radio.ku.ac.th ตลอดจนมีแอพพลิเคชั่น KURADIO ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคสามารถรับฟังการสอนของบุคลากร มก.ได้ สำหรับเกษตรกรที่ไม่มีโทรศัพท์สมาร์ทโฟน มก.และ ธ.ก.ส.ได้แจกวิทยุทรานซิสเตอร์ให้เกษตรกรเพื่อรับฟังการเรียนการสอนผ่านสถานีวิทยุ มก.เครือข่ายทั่วประเทศ คลื่นความถี่ AM 1314 kHz. ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 16.30 น.-17.00 น. ทั้งนี้ โครงการโรงเรียนเกษตรทางอากาศ ครั้งนี้ถือเป็นรุ่นแรก จะเปิดสอน 1 เดือน ระหว่างวันที่ 1-31 มีนาคม รวม 23 หลักสูตร โดยเกษตรกรจะต้องรับฟังอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งหลักสูตร ก่อนสำเร็จการศึกษาทุกคนต้องสอบเพื่อจบหลักสูตร หากสอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรจาก มก.

วันที่ 3 มีนาคม 2560 ลำคลองสาธารณะในพื้นที่ ต.สุขเดือนห้า อ.เนินขาม จ.ชัยนาท เริ่มแห้งขอดลงอย่างรวดเร็วนับจากกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทำให้สัตว์น้ำนานาชนิดเริ่มแห้งตาย ดินริมตลิ่งที่เคยมีน้ำหล่อเลี้ยงเริ่มแห้งแตกระแหงตลอดความยาวกว่า 10 กิโลเมตรของลำคลองสายนี้ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำหลักที่เกษตรกรใน ต.สุขเดือนห้า ใช้ในการเพาะปลูก ส่งผลให้เกษตรกรหลายรายต้องเริ่มสูบน้ำที่เหลือเพียงก้นคลองเข้ารดพืชผักที่ปลูกไว้เพื่อไม่ให้ได้รับความเสียหายจากความแห้งแล้ง แต่อีกหลายๆ รายจำเป็นต้องปล่อยพื้นที่ให้รกร้าง เนื่องจากน้ำที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่เพียงพอที่จะเริ่มทำการเพาะปลูกได้

ชาวบ้านบอกว่า ในปีนี้อากาศร้อนจัดและความแห้งแล้งเกิดขึ้นเร็ว ทำให้เริ่มกังวลว่าในช่วงเดือนเมษายนที่เป็นหน้าร้อนเต็มตัวชาวบ้านอาจจะต้องประสบภาวะขาดแคลนน้ำอุปโภคและบริโภค ซึ่งคงต้องขอความช่วยเหลือจากภาครัฐในการจัดหาน้ำให้คนในพื้นที่แล้งได้กินและใช้

วันที่ 3 มีนาคม 2560 เกษตรกรชาว อ.เมือง จ.นครราชสีมา ต่างพากันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกข้าวนาปรัง แล้วหันมาปลูกพืชใช้น้ำน้อยกันอย่างคึกคัก ภายหลังจากที่ทางชลประทานงดปล่อยน้ำเพื่อการเกษตร เนื่องจากน้ำในเขื่อนต่างๆ อยู่ในช่วงวิกฤต มีระดับน้ำเหลือน้อยกว่าทุกปี โดยเฉพาะนางพรพิมล แซ่พลกรัง อายุ 53 ปี ชาวบ้าน ต.สีมุม อ.เมือง จ.นครราชสีมา ได้ปรับพื้นที่นาจำนวน 10 ไร่ ให้กลายเป็นแปลงปลูกหอมแบ่ง ซึ่งวันนี้อยู่ระหว่างการนำพันธุ์หอมแบ่งลงปลูกใหม่ๆ จึงต้องมาดูแลตลอดทั้งวัน

นางพรพิมล แซ่พลกรัง เกษตรกรผู้ปลูกหอมแบ่ง เปิดเผยว่า ปกติแล้วบริเวณนี้จะอยู่ใกล้กับลำคลองธรรมชาติ ซึ่งจะสามารถปลูกข้าวนาปรังได้บางส่วน แต่ปีนี้น้ำในคลองเหลือน้อย จึงได้พากันปรับพื้นที่นาให้เป็นแปลงผักเพื่อปลูกหอมแบ่งซึ่งเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย โดยปลูกทั้งหมด 10 ไร่ ใช้เงินลงทุน ค่าต้นพันธุ์ ค่าจ้างคนงาน ค่ารดน้ำ ค่าไฟ และค่าปุ๋ย รวมประมาณ 200,000 บาท ระยะเวลาปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 50 วัน ซึ่งหากถึงเวลาเก็บเกี่ยวก็คาดว่าจะได้ต้นหอมแบ่งประมาณ 35 ตัน โดยจะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อถึงที่ ส่วนราคาของต้นหอมแบ่งนั้นก็ขึ้นๆ ลงๆ ตอนนี้อยู่ที่กิโลกรัมละ 25-30 บาท แต่ถ้าเป็นช่วงที่ขึ้นสูงสุดเมื่อปีที่แล้วถึงกิโลกรัมละ 100 บาท ดังนั้นก็ต้องรอลุ้นกันอีกทีว่าช่วงเก็บเกี่ยวจะได้ราคาดีมากน้อยเพียงใด

สำหรับสถานการณ์น้ำในเขื่อนหลัก 5 แห่งของจังหวัดนครราชสีมา ขณะนี้เหลือปริมาณน้ำเพียง 39% ของความจุกักเก็บ ประกอบไปด้วย เขื่อนลำตะคอง อ.สีคิ้ว มีระดับน้ำกักเก็บเหลืออยู่ 94 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 30% ของความจุกักเก็บทั้งหมด 314 ล้านลูกบาศก์เมตร, เขื่อนมูลบน อ.ครบุรี มีระดับน้ำกักเก็บเหลืออยู่ 63 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 45% ของความจุกักเก็บทั้งหมด 141 ล้านลูกบาศก์เมตร, เขื่อนลำแชะ อ.ครบุรี มีระดับน้ำกักเก็บเหลืออยู่ 107 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 39% ของความจุกักเก็บทั้งหมด 275 ล้านลูกบาศก์เมตร, เขื่อนลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย มีระดับน้ำกักเก็บเหลืออยู่ 66 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 42% ของความจุกักเก็บทั้งหมด 155 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนลำปลายมาศ อ.เสิงสาง มีระดับน้ำกักเก็บเหลืออยู่ 50 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 51% ของความจุกักเก็บทั้งหมด 98 ล้านลูกบาศก์เมตร

จากวิกฤตความแห้งแล้งเมื่อสองปีที่ผ่านมาส่งผลให้ไม้ผลอย่างกล้วยน้ำว้า-กล้วยหอมทองขาดแคลน สร้างปัญหาต่อตลาดภายในและต่างประเทศ

ด้วยเหตุนี้กองบรรณาธิการเทคโนโลยีชาวบ้าน จึงได้จัดสัมมนา “กล้วยหอมทอง-กล้วยน้ำว้า ปลูกกินเองได้ ปลูกขายทำเงิน” ขึ้น เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2560 ณ ห้องประชุมหนังสือพิมพ์ข่าวสด ประชานิเวศน์ การสัมมนาครั้งนี้ได้รับความสนใจจากผู้มาร่วมงานที่เป็นทั้งผู้ปลูกรายเดิม รายใหม่ ผู้ค้ากล้วย ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป จำนวนเกือบ 300 ท่านจนเต็มห้องประชุม

นอกจากสาระความรู้จากวิทยากรบนเวทีแล้ว ภายนอกห้องประชุมยังมีการนำผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยน้ำว้า-หอมทอง รวมถึงผลกล้วยที่ปลูกอย่างมีคุณภาพ หรือหน่อพันธุ์มาจำหน่าย พร้อมไปกับการนำพันธุ์

กล้วยชนิดต่างๆที่น่าสนใจมาแสดงให้ชม

สำหรับเนื้อหาการบรรยายทั้งหมดทางกองบก.เทคโนฯ ได้รวบรวมนำเสนอลงในนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านเป็นตอนอีกครั้งในโอกาสต่อไป คุณพานิชย์ ยศปัญญา -บรรณาธิการกล่าวรายงานการจัดงานในครั้งนี้ว่านิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านก่อตั้งมาถึงวันนี้เข้าย่างปีที่30 ตลอดเวลานำเสนอสาระเนื้อหาครอบคลุมการเกษตรทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านพืช ปศุสัตว์ ประมง รวมถึงเครื่องจักรกลด้านการเกษตร นอกจากนั้นยังจัดกิจกรรมทัวร์เกษตร อีกทั้งยังได้จัดงานเกษตรใหญ่อย่าง ” เกษตรมหัศจรรย์”เป็นประจำทุกปี หรือแม้แต่งานสัมมนาในประเด็นที่สนใจอยู่เป็นประจำทุกปี

จากสภาวะวิกฤตความแห้งแล้งที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรอย่างมาก รวมถึงกล้วยที่ได้รับความเสียหายมาก เกิดการขาดแคลนอย่างหนักในภาคการตลาดจนในบางช่วงต้องสั่งนำเข้ามาจากประเทศลาว

ขณะเดียวกันความต้องการจากต่างประเทศยังมีอย่างต่อเนื่องจนทำให้ราคาขยับสูงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ด้วยเหตุผลเช่นนี้จึงทำให้นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน จัดสัมมนา “กล้วยหอมทอง-กล้วยน้ำว้า ปลูกกินเองได้ ปลูกขายทำเงิน” ขึ้นในครั้งนี้ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า การวิเคราะห์พื้นที่ปฏิบัติการในการทำฝนหลวงปี 2560 แบ่งเป็น 2 ส่วนสำคัญ คือ 1. พื้นที่ที่มีความแห้งแล้ง ซึ่งได้หารือกับส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว พิจารณาจากทั้งน้ำอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศน์ พื้นที่การเกษตร โดยพื้นที่ในเขตชลประทานจะเน้นให้มีปริมาณน้ำต้นทุนเพียงพอ ขณะที่พื้นที่นอกเขตชลประทาน มี 105 อำเภอ ที่น้ำต้นทุนอาจจะไม่เพียงพอ ซึ่งกระทรวงฯ มี 6 มาตรการ 29 โครงการ พร้อมแผนเผชิญเหตุ เตรียมแก้ปัญหาในทันที

2.พื้นที่ที่เกิดปัญหาหมอกควัน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นเจ้าภาพหลัก ก็จะขึ้นปฏิบัติการฝนหลวงในทันทีที่อากาศเอื้ออำนวย และ ไม่กระทบพื้นที่เกษตรกรรมที่กำลังเก็บเกี่ยวอยู่ โดยมีปริมาณหมอกควันที่เฝ้าระวังในพื้นที่ภาคเหนือ 9 จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน น่าน แพร่ พะเยา และ ตาก

สำหรับแผนการปฏิบัติปี 2560 แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงมีนาคม – พฤษภาคม เน้นช่วยเหลือบรรเทาหมอกควัน และ ไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนือ การเพิ่มความชุ่มชื้นที่ประสบภัยแล้ง และเติมน้ำในเขื่อนโดยเฉพาะที่มีน้ำต้นทุนน้อย อาทิ เขื่อนลำตะคอง เขื่อนลำพระเพลิง และช่วงเดือนมิถุนายน -ตุลาคม เน้นเติมน้ำต้นทุนในเขื่อนที่มีน้ำน้อย และ พื้นที่ฝนทิ้งช่วง

น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ njcarpet-cleaning.com เปิดเผยว่า ในเดือนมีนาคมนี้ จะเสนอแผนยกระดับองค์การสะพานปลา(อสป.) ต่อพล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้พิจารณาก่อนเสนอต่อให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาเพื่อของบประมาณในการปรับปรุงท่าเรือและตลาดปลาของอสป.จำนวน 14 แห่งทั่วประเทศ ยกระดับเป็นตลาดสะพานปลากลางเมือง รูปแบบเหมือนตลาดปลาซึกิจิ ในประเทศญี่ปุ่น และเร่งพัฒนาท่าเทียบเรือประมงของจ.ภูเก็ต เป็นศูนย์กลางนำเข้า-ส่งออกทูน่า (ฮับทูน่า) ของอาเซียน เนื่องจากประเทศในอาเซียนมองว่าไทยมีศักยภาพมากที่สุด เนื่องจากมีการนำเข้าและส่งออกทูน่าอันดับ 1 ของโลก

“ ไทยถือว่ามีความเข้มแข็งเรื่องอุตสาหกรรมประมง โดยเป็นผู้ส่งออกสินค้าประมงอันดับ 1 ของโลก อาทิ การเป็นผู้นำส่งออกทูน่า อันดับหนึ่งของโลก มีสินค้าประมงสำหรับส่งออกมากกว่าแสนล้านบาทในแต่ละปี จึงจำเป็นต้องเร่งพัฒนาท่าเรือ และเชื่อมสัมพันธ์กับอาเซียน โดยยกระดับท่าเรือของ อสป.เป็นท่าเรือสำหรับการท่องเที่ยว ใช้โมเดลเดียวกับญี่ปุ่น และใช้อสป.เป็นกลไกสำคัญของพัฒนาห่วงโซ่การผลิตสินค้าประมง ถือเป็นกลไกสำคัญในการแก้ปัญหา การทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (ไอยูย) ซึ่งสหภาพยุโรป (อียู)ส่งหนังสือได้ทำหนังสือแจ้งไปยัง สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำสหภาพยุโรป และสำนักเกษตรต่างประเทศได้ส่งหนังสือให้กระทรวงเกษตรฯเร่งปรับปรุง อสป.ตั้งแต่ปี 2552เรื่อยมา ” น.ส.ชุติมา กล่าว

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 34 แห่ง มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ขณะที่ปริมาณน้ำใช้การได้ในปีนี้ 21,019 ล้านลูกบาศ์กเมตร (ลบ.ม.) มากกว่าปี 2559 รวม 7,984 ล้าน ลบ.ม. ส่วนสถานการณ์น้ำในเขื่อนขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560 มีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำรวม 47,483 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 63% ของความจุอ่างฯ รวมกันทั้งหมด และมีปริมาณน้ำใช้การได้ 23,663 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 46% ของความจุอ่างฯรวมกัน มากกว่าปี 2559 รวม 8,762 ล้าน ลบ.ม.

สำหรับในช่วงฤดูแล้งปี 2559/60 กรมชลประทาน ได้วางแผนจัดสรรน้ำเพื่อสนับสนุนการใช้น้ำในช่วงฤดูแล้งทั้งประเทศ จำนวน 17,661 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันใช้น้ำไปแล้ว 11,714 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 66% ของแผนจัดสรรน้ำฯ ที่วางไว้ ด้านการเพาะปลูกข้าวนาปรังทั้งประเทศ ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560 มีการทำนาปรังไปแล้ว 7.28 ล้านไร่ มากกว่าแผนที่วางไว้ 3.28 ล้านไร่