พี่ชายเจ้าของนาเล่าให้ฟังว่า นาเกลือบ้านดุงของพวกเขานี้

จะเริ่มทำได้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนเมษายน คือช่วงแล้งฝนจนฝนมาอีกครั้ง ถ้าโชคดี อากาศแห้งจริงๆ ก็จำทำซ้ำได้ 7-10 ครั้ง ให้ผลผลิตต่อไร่ถึงกว่า 100 ตัน นั่นหมายถึงทำรายได้สูงถึงแสนกว่าบาทต่อไร่เลยทีเดียว ทั้งยังมีขั้นตอนการจ้างงานแรงงานในหมู่บ้าน คิดราคาเก็บเกลือใส่กระสอบ เป็นเงิน 6 บาท ต่อกระสอบ ด้วย

พี่เขาเล่าว่า เลยมีเด็กนักเรียนชั้นมัธยมปลายในอำเภอบ้านดุงมารับจ้างเก็บ บรรทุก ย้ายกระสอบเกลือฝนช่วงเกลือแห้ง ได้รายได้เสริมวันละไม่น้อยกว่า 1,000 บาททีเดียว

“สามสิบปีที่แล้วไม่มีหรอกครับแบบนี้ จะเป็นแบบเกลือต้ม ใช้บ่อโยก แบบทำกันในครอบครัวน่ะ บ้านละเตาสองเตา แต่ก่อนใช้ไม้ฟืน พอพวกป่าไม้มาจับ ก็เปลี่ยนไปใช้แกลบ ไปเอาจากโรงสีมาฟรีๆ เลยนะ ต่อมาเขาขายกิโลละบาทกว่าๆ หลังมีโรงไฟฟ้า ของก็เริ่มขาดแคลน เราต้องเปลี่ยนมาใช้ไม้ยูคา หรือยางพาราที่หมดอายุแทน” พี่ชายเจ้าของนาเล่า

ผมลองถามเรื่องดินยุบ เพราะได้ข่าวลือๆ มาก่อนบ้าง พี่เขาก็ว่า

“ก็มีนะ สูบๆ ไปนี่มียุบ บางทีลึกตั้ง 3 เมตรแน่ะ เสียงดังน่ากลัวเลย แถวบ้านม่วงนั่นยุบลงไปเป็นไร่ๆ ก็มี มันเป็นเพราะไม่มีแหล่งน้ำแทนที่คอยหนุนน้ำเกลือที่ถูกสูบขึ้นมาไง ถามว่าจะมียุบอีกมั้ย มันก็มีแนวโน้มนะว่าจะเกิดอีกในอนาคตน่ะ”

จากนั้น พี่เขาบอกให้พวกเราลองปั่นเข้าไปดูหมู่บ้านด้านใน ซึ่งมีต้มเกลือกันด้วย ปรากฏว่ามีต้มกันจริงๆ แบบที่ผมเคยเห็นที่บ้านทุ่ง คือตั้งเตาในโรงเรือนหลังคาสูง ใช้ระบบสูบน้ำขึ้นมาพักให้เข้มข้น ต้มจนแห้งในกระทะเหล็กต่อเชื่อมเป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ แต่สังเกตดูจำนวนเตาที่ทำกันก็ไม่หนาแน่นเท่าที่บ้านทุ่งนะครับ

วิธีทำเกลือสินเธาว์อีสานแบบโบราณ คือต้มน้ำละลายดินเอียด (ดินเกลือสีขาวที่ขูดจากหน้าดินเค็ม) กรองด้วยฟางและหญ้าจนใสสะอาด กระทั่งแห้งระเหิดเป็นเกลือบริสุทธิ์รสชาติดีมากๆ นั้น ปัจจุบันเหลือน้อยเต็มที คงเพราะเนื่องจากแรงงานและเวลาที่ใช้ไปไม่คุ้มกับปริมาณเกลือที่ได้มา ไหนยังจะเรื่องคุณภาพลิ้นของผู้บริโภค ซึ่งทุกวันนี้คนกินต่างมีลิ้นชาด้านจนแทบแยกแยะรสเกลือดีเกลือเลวไม่ออกกันอยู่แล้ว

เกลือสินเธาว์ที่ขายกันในท้องตลาดปัจจุบันมาจากทั้งของโรงงานใหญ่ๆ อย่างโรงเกลือพิมาย นครราชสีมา ซึ่งใช้วิธีอัดน้ำด้วยแรงดันสูงลงไปละลายโดมเกลือใต้ดินลึก ร่วม 100 เมตร แล้วจึงสูบขึ้นมาตากแบบนาเกลือทะเล ทั้งจากโรงเรือนย่อยๆ ที่สูบน้ำเกลือขึ้นมาต้มหรือตาก แบบที่บ้านดุง ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อทำในพื้นที่กว้าง ก็มีความสุ่มเสี่ยงต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อม ดังที่เคยเกิดปัญหาที่อำเภอบรบือ มหาสารคาม มาตั้งแต่ พ.ศ. 2514 ทำให้พื้นที่ต้นลำน้ำเสียวต่อลำน้ำมูลในเวลานั้นเกิดมลภาวะอย่างหนัก เกิดการลุกฮือประท้วงของกลุ่มชาวบ้านในหลายพื้นที่ จนรัฐบาลต้องสั่งปิดกิจการทั้งหมดในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2523 มันเลยส่งผลให้การผลิตเกลือสินเธาว์แบบสูบน้ำนี้เริ่มกระจายตัวออกไปทำลายสภาพแวดล้อม ณ แหล่งอื่นๆ อีก เช่น ที่อำเภอกันทรวิชัย มหาสารคาม, อำเภอจัตุรัส ชัยภูมิ, อำเภอบ้านม่วง – วานรนิวาส สกลนคร และที่บ้านดุงแห่งนี้

การต่อรอง ปรับตัว พัฒนาวิธีการผลิต ตลอดจนการเข้ามีส่วนร่วมของท้องถิ่นต่อกิจกรรมที่ทั้งส่งผลกระทบและทั้งเพิ่มสัดส่วนการจ้างงานอย่างนาเกลือสินเธาว์อีสานนี้ คงเป็นเรื่องยาวซึ่งยังต้องดำเนินการแก้ไขกันต่อไป ตราบใดที่ความเค็มของเกลือเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ในโลกอุตสาหกรรมสมัยใหม่

และแน่นอนว่า ควรเป็นไปด้วยความยุติธรรมต่อทุกภาคส่วนเสมอกันครับ นายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ รักษาการผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า 4 พ.ค. 2561 กยท. จะเชิญกระทรวงพาณิชย์ และกรมส่งเสริมสหกรณ์ เข้ามาร่วมประชุมหารือแนวทางในการดำเนินการอีกครั้งว่าจะจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทร่วมค้าร่วมกับเกษตรกรชาวสวนยาง โดยอย่างเร็วที่สุดจะผลักดันให้มีการจัดตั้งบริษัทนิติบุคคลภายใน 1 เดือน สำหรับบริษัทนี้ฯ จะรวบรวมยางเพื่อนำไปแปรรูปเป็นไว้ 3 ชนิด ได้แก่ ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และยางคอมปาวด์ จากสถาบันเกษตร เพื่อนำไปจำหน่ายให้กับผู้ค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง

ทั้งนี้ กยท. จะต้องทำตัวเป็นตัวแทนมาร์เก็ตเก็ตติ้ง หาลูกค้า สถาบันเกษตกรหรือสหกรณ์จะเป็นผู้ผลิต กยท. จะต้องหาออร์เดอร์เพื่อส่งต่อให้สหกรณ์ ราคากันโดยอิงกับต้นทุนการผลิตของเกษตรกร ไม่อิงกับราคาตลาดล่วงหน้า ชาวสวนยางก็จะไม่มีความเสี่ยงเรื่องราคา อย่างไรก็ตาม หลังจากตกลงกันได้จะต้องทำสัญญากับผู้ซื้อ เพื่อนำเงินรายได้มาจัดสรรให้กับสมาชิกที่ส่งยางไปขาย ทั้งนี้ ถ้าการขายยางแปรรรูปประสบความสำเร็จ ก็จะทำให้มีลูกค้าประจำมากขึ้น

ส่วนเงินลงทุนยังไม่กำหนด เพราะประชุมกับชาวสวนยางและสหกรณ์ก่อนว่าปัจจุบันมีกำลังผลิตยางพาราอยู่ที่เท่าไหร่ ต้องปรึกษาก่อนว่าจะจัดตั้งบริษัทที่เป็นนิติบุคคล ผลประโยชน์จะแบ่งให้เกษตรกรมากกว่าแบ่งให้ทาง กยท. ซึ่งหลังจากจดทะเบียนตั้งบริษัท จะเข้าไปคุยกับอาลีบาบา และทำแฟลตฟอร์มกับยางพารา ให้เป็นการซื้อขายผ่านระบบออนไลน์

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาตลาดล่วงหน้า และตลาดซื้อขายจริงจะมีช่องว่างระหว่างราคาซื้อต่างกันประมาณ 15 บาท แต่ขณะนี้ตลาดล่วงหน้าราคาสูงกว่าตลาดซื้อขายจริงไม่เกิน 5 บาทสะท้อนให้เห็นว่า ตลาดล่วงหน้าสะท้อนปัจจัยพื้นฐาน ไทยผลิตยางได้ประมาณ 4.5 ล้านตัน หากเทียบความต้องการของผู้ใช้ยางรายใหญ่คือจีน ผลผลิตไทยมีเพียง 33% ของความต้องการใช้ในจีนที่มี 13 ล้านตัน ดังนั้นทั่วโลกยังมีความต้องการยางพาราอยู่อีกมาก

“เราต้องหาลูกค้า หาตลาดใหม่ เป้าหมายบริษัท ผลิตล้อรถรถยนต์ทุกประเภท ทั้งในและต่างประเทศ ต้องหาช่องทางสำหรับระบายสินค้าใหม่ๆทั้งการจับคู่ธุรกิจ ผู้ซื้อพบผู้ขาย บราเตอร์เทรด นำยางไปแลกเปลี่ยนสินคื่นๆที่ไทยต้องการ หรือ ทำการค้าระหว่างรัฐต่อรัฐ รวมไปถึงเรื่องของหการตั้งหน่วยงานตัวแทนขายในต่างประเทศ โดยอาจต้องนำร่องที่ประเทศจีน ที่ชิงเต่า เพราะการขับเคลื่อนราคาจะทำได้ต้องหาลูกค้าให้ได้ก่อน แล้วค่อยผลิต”

นายเยี่ยม กล่าวว่า จากนี้จะไม่มีการแทรกแซงราคาอีกต่อไป เพราะเชื่อว่าไม่ได้ผล แต่หากวิธีการดำเนินธุรกิจแบบการตลาดนำการผลิต เดินหน้าได้ ราคายางพาราจะไม่ต่ำกว่าราคาต้นทุนแน่นอน และนอกจากนี้ ในวันที่ 2 พ.ค.นี้ จะหารือกับกรมวิชาการเกษตร เพื่อขอร่วมออบใบกำกับดูแลการตรวจสต๊อกยางแต่ละเดือนด้วย โดยจะเสนอให้กรมวิชาการเกษตรเสนอเรื่องมายังกระทรวงเกษตรฯ เพื่อบรรจุเจ้าหน้าที่ของกยท. ให้เป็นหนึ่งในพนักงานตรวจสอบสต๊อกยางที่ออกสุ่มตรวจในแต่ละเดือนตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ควบคุมยางปี 2542 เพื่อนำตัวเลขสต๊อกยางมากำหนดปริมาณผลผลิตภายในประเทศ

กรมอุตุนิยมวิทยา ลักษณะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองต่อเนื่องหลายพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน มีแนวโน้มเคลื่อนเข้าใกล้อ่าวมะตะบัน ประเทศเมียนมา ในช่วงวันนี้ 30 เมษายน – 2 พฤษภาคม 2561 ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นต่อเนื่องหลายพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 12:00 วันนี้ ถึง 12:00 วันพรุ่งนี้
ภาคเหนือ มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร และพิษณุโลก อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดอุดรธานี หนองคาย สกลนคร ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์บุรีรัมย์ นครราชสีมา และชัยภูมิ อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-30 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคกลาง มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-31 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออก มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 28-30 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน) นำเอกชนจีนซึ่งเป็นผู้ซื้อยางพาราประมาณปีละ 1 ล้านตัน เพื่อขายให้รัฐวิสาหกิจของจีน และเป็นนักลงทุนที่ซื้อ-ขายในตลาดล่วงหน้าเข้าพบ เนื่องจากสนใจลงทุนในเมืองไทย โดยอยากตั้งโรงงาน หรือโกดังสต๊อกยางพาราในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เพื่อเป็นสต๊อกส่งมอบหากซื้อ-ขายในตลาดล่วงหน้าแล้ว

พร้อมสอบถามว่า หากตั้งโรงงานผลผลิตจะมีเพียงพอหรือไม่ จะมียางพาราจำนวนเท่าไรป้อนให้ ผลผลิตยางพาราไทยมีสม่ำเสมอหรือไม่ จึงเตรียมนำเอกชนจีนลงพื้นที่ อีอีซี เพื่อขอข้อมูล ที่ผ่านมามีเอกชนจีนจำนวนไม่น้อยสนใจเข้าลงทุนในพื้นที่อีอีซี จึงอยากขอรายละเอียดเรื่องของการลงทุน รวมถึงกฎหมาย

นอกจากนี้ ยังมอบให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ ดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์ปฏิรูปโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร สนับสนุนเงินจ่ายขาดวงเงิน 340.42 ล้านบาท เพื่อเพิ่มศักยภาพและการแปรรูปยางพาราในสถาบันเกษตรกรเป้าหมาย 24 จังหวัด 62 สหกรณ์ เพื่อชะลอการแปรรูปผลผลิต เพื่อยกระดับราคายางพาราให้สูงขึ้น

สงขลา – นายครรชิต เหมะรักษ์ ประธานชมรมกุ้งสงขลา-นครศรีธรรมราช เผยว่า สถานการณ์ราคากุ้งในขณะนี้ตกต่ำอย่างรุนแรง ส่งผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทั่วประเทศได้รับความเดือดร้อน ทางกลุ่มผู้ร้องต้องการให้คณะรัฐมนตรี หรือคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) พิจารณาอนุมัติโครงการแทรกแซงราคากุ้งตกต่ำในครั้งนี้ รับจำนำกุ้งขาวแวนาไมจำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 ตัน เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือน หรือพิจารณาอนุมัติโครงการรักษาเสถียรภาพราคากุ้งอีกครั้ง หรือมาตรการที่เหมาะสมอื่นๆ สำหรับมาตรการลดต้นทุนการผลิต เสนอให้มีการลดราคาปัจจัยการผลิต อาทิ อาหารกุ้ง เคมีภัณฑ์ เวชภัณฑ์ กระแสไฟฟ้า เป็นต้น จัดหาหรือสนับสนุนแหล่งเงินทุนปลอดดอกเบี้ยหรือดอกเบี้ยต่ำให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการห้องเย็น ขณะนี้ต้นทุนการผลิตอยู่กิโลกรัมละ 120 บาท สำหรับกุ้งขนาด 100 ตัว ต่อกิโลกรัม

ราคาที่ควรแทรกแซง เช่น กุ้งขนาด 100 ตัว ต่อกิโลกรัม ราคาควรจะอยู่ที่ 130 บาท สุโขทัย – จากกระแสลูกผาด้ามที่มีสรรพคุณเพิ่มประสิทธิภาพทางเพศและหาได้ยากนั้น นายสิทธิยา หล่ำเพชร ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติรามคำแหง เผยว่า ต้นผาด้ามจะมีผลเป็นรูปทรงรีเป็นสีเขียวเข้มภายในผลมีเนื้อและเมล็ดจำนวนมาก แก่นนำไปใช้ปรุงเป็นยารักษาโรคเบาหวาน แก้บิดและถ่ายเป็นมูกเลือด เมล็ดเคี่ยวกับน้ำใช้เป็นยาฆ่าเหา ส่วนยางเหนียวจากยอดที่หุ้มนำมาขยี้จนเป็นก้อนๆ แล้วนำไปใส่ในร่องระหว่างโคนมีดกับด้ามทำให้มีดติดกับด้ามมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดไม่น่ามีส่วนในการเพิ่มประสิทธิภาพทางเพศ

ด้าน นายนวกร พลบุญ พนักงานราชการเชี่ยวชาญด้านสมุนไพรอุทยานแห่งชาติรามคำแหง กล่าวเพิ่มเติมว่า หากเข้าไปในพื้นที่ของอุทยานฯ ที่มีชื่อเรียกขานกันว่า “เขาสรรพยา” จะเห็นสมุนไพรมากมาย ที่ทางอุทยานฯ รวบรวมไว้เพื่อทำวิจัยมากกว่า 265 ชนิด หากสนใจเรื่องของสมุนไพร ที่อุทยานแห่งชาติรามคำแหงนี้ เป็นแหล่งสมุนไพรชั้นดี มีพันธุ์ไม้สมุนไพร ที่น่าสนใจศึกษาหาความรู้มากมาย

ที่ศาลเจ้าปู่บ้านนาซ่าว ตำบลนาซ่าว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย นายโสภณ สุวรรณรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย และ นายแดนชัย ดีแก้ว นายก อบต.นาซ่าว ร่วมแถลงจัดงานการละเล่นผีขนน้ำ และบุญเดือนหก ในวันที่ 30 เมษายน ถึงวันที่ 2 พฤษภาคม นี้ ที่วัดโพธิ์ศรี และสนามกีฬา อบต.นาซ่าว

สำหรับการละเล่นผีขนน้ำหรือแมงหน้างาม เป็นการละเล่นตามประเพณีท้องถิ่นของบ้านนาซ่าว ตำบล นาซ่าว เป็นการละเล่นสืบต่อกันมานมนาน การจะเล่นผีขนน้ำจะมีได้ต่อเมื่อวัดใหญ่ หรือวัดมหาธาตุ อำเภอเชียงคาน จัดงานวิสาขบูชาเพ็ญเดือน 6 ผ่านพ้นไปแล้ว ต่อจากนั้นชาวบ้านนาซ่าวจึงกำหนดเอา วันแรก 1-3 ค่ำ ต่อจากวันวิสาขบูชา จัดงานบุญประเพณีผีขนน้ำ เพื่อแสดงความเคารพและตอบแทน บุญคุณที่ผีเจ้าปู่ให้ความคุ้มครองให้ชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุข ฝนตกต้องตามฤดูกาลทำให้มีพืชผลดี

นายแดนชัย นายก อบต.นาซ่าว งานละเล่นผีขนน้ำ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า แมงหน้างาม ปีนี้จะมีขบวนผีขนน้ำจากหมู่บ้านต่างๆ ของอบต.นาซ่าว 15 หมู่บ้าน มาร่วม พร้อมขบวนฟ้อนรำมาร่วม โดยจะแห่จากสนามกีฬาไปที่วัดโพธิ์ศรี เป็นสถานที่จัดงานบุญเดือน 6 มีมหรสพสมโภช โดยเฉพาะการจุดบั้งไฟขอฟ้าขอฝน การละเล่นผีขนน้ำเป็นประเพณีศักดิ์สิทธิ์ และเป็นพิธีกรรมอุทิศส่วนกุศลให้ควาย สัตว์เลี้ยงที่ให้กำหนดชีวิตผู้คนที่นี่มานานนม ชาวบ้านนาซ่าวจึงรวมตัวในวันสำคัญทำบุญอุทิศส่วนกุศลตอบแทนควายที่ให้ชีวิตและให้ความยั่งยืนกับพวกเขา

ที่อ่างเก็บน้ำห้วยบ้านยาง ตำบลสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค และสถานที่พักผ่อนแห่งใหม่ พล.ท. สนธยา ศรีเจริญ แม่ทัพน้อยที่ 2 พร้อมด้วย ดร. เศรษฐวิทย์ ภูฉายา ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี นายสมยศ รัตนปรียานุช นายกเทศบาลตำบล สุรนารี ร่วมกับนักศึกษาภาคีเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา และประชาชนในพื้นที่ ร่วมจัดโครงการจิตอาสามหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน ปรับพื้นที่โดยรอบอ่างห้วยยาง กว่า 10 ไร่ มีความสะอาด ร่มรื่น สวยงาม พื้นที่สาธารณะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจของชาวจังหวัดนครราชสีมา อย่างเต็ม รูปแบบต่อไป

ดร. เศรษฐวิทย์ กล่าวว่า เป็นนิมิตหมายอันดีที่สถาบันอุดมศึกษาร่วมมือกันและเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ซึ่งถือเป็นอีกบทบาทหนึ่งของมหาวิทยาลัยในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อรวมพลังขับเคลื่อนการทำความดีด้วยหัวใจ เป็นจุดเริ่มต้นสร้างพันธสัญญาที่ดีต่อชุมชน พร้อมกับสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ ทั่วประเทศ

ปัจจุบัน อุบัติการณ์การเกิดโรคไตวายเรื้อรังของคนไทยมีมากกว่า ร้อยละ 17.5 หรือกว่า 10 ล้านคน โดยมีความชุกของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนด้วยการฟอกเลือด ล้างไตทางช่องท้อง หรือการปลูกถ่ายไต เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 30 ต่อล้านประชากร ในปี 2540 เป็นกว่า 900 ต่อล้านประชากร ในปี 2555 ซึ่งมีโรคเบาหวานเป็นสาเหตุสำคัญอันดับต้น (ร้อยละ 37.5) และโรค ความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 25.6) เพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดร่วมด้วย

ศ.พญ.ดร. นริสา ฟูตระกูล และ ศ. กิตติ คุณ นพ. ประสิทธิ์ ฟูตระกูล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากงานวิจัยในโครงการ “ทัศนคติการป้องกันภาวะไตวายเรื้อรังขั้นสุดท้ายในโรคไตจากเบาหวาน : ยุทธศาสตร์การรักษาแนวใหม่” ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากฝ่ายวิชาการ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ทำให้ค้นพบองค์ความรู้ในการคัดกรอง ผู้ป่วยไตจากเบาหวานแต่เนิ่นๆ และเป็นครั้งแรกที่พบว่าปริมาณเลือดหล่อเลี้ยงไตสามารถเพิ่มขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญ สามารถแก้ไขความผิดปกติและป้องกันการทำลายไต ความดันภายในไตลดลง อัตรากรองสารไตไม่ลดลงหรือเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ซึ่งยุทธศาสตร์การรักษาแนวใหม่นี้สามารถนำไปขยายผลอย่างกว้างขวาง และนำไปเป็นยุทธศาสตร์ชาติเพื่อลดอุบัติการณ์เกิดโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

ศ.พญ.ดร. นริสา กล่าวว่า ความแตกต่างที่สำคัญในผู้ป่วยไตจากเบาหวานระยะแรก (ระยะ 1,2) กับระยะหลัง (ระยะ 3,4,5) ภาวะธำรงดุลของหลอดเลือดค่อนข้างดีในระยะแรก โดยตัวหลอดเลือดสามารถสร้างสารซ่อมแซมหลอด เลือด และสารขยายหลอดเลือด เช่น ไนตริกออกไซด์ ได้พอเพียง ตอบสนองต่อยาออกฤทธิ์ขยายหลอดเลือดที่ใช้เพื่อเพิ่มปริมาณเลือดหล่อเลี้ยงไต และสามารถแก้ไขภาวะไตขาดเลือด สำหรับการศึกษาภาวะการธำรงดุลของหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานระยะหลัง พบความผิดปกติหลายอย่าง มีสารยับยั้งการซ่อม แซมหลอดเลือด และไม่สามารถสร้างไนตริกออกไซด์ได้เพียงพอ หลอดเลือดแข็งตีบตัน ทำให้ยาออกฤทธิ์ขยายหลอดเลือดที่ใช้รักษาไม่ได้ผล ไม่สามารถเพิ่มปริมาณเลือดหล่อเลี้ยงหรือแก้ไขภาวะไตขาดเลือดได้ เป็นเหตุให้เนื้อไตถูกทำลายอย่างต่อเนื่องและนำไปสู่การฟอกไต

เราสามารถฟื้นฟูการทำงานของไตให้ดีขึ้นหรือเป็นปกติได้หากเริ่มต้นคัดกรองผู้ป่วยไตจากเบาหวานในระยะเริ่มแรกในภาวะที่ธำรงดุล ของหลอดเลือดยังดีอยู่ โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์จากการศึกษา ในผู้ป่วยโรคไตในเบาหวานระยะ 1,2 จำนวน 100 ราย ด้วยการรักษาแบบองค์รวม ลดปัจจัยเสี่ยง บริโภคน้ำ ควบคุมระดับความดัน การทำงานของไต น้ำตาล ไขมัน พักผ่อน ลดเครียด ออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลเสียต่อไต ร่วมกับการให้ยาขยายหลอดเลือดอย่างระมัดระวัง ในรายที่มีระดับความดันโลหิตปกติที่มีภาวะ hyperfiltra tion พบว่าการติดตามการรักษาไปนานกว่า 10 ปี ไม่มีภาวะโปรตีนชนิด อัลบูมินรั่วออกมาในปัสสาวะ การทำงานของไตดีขึ้น

ศ.พญ.ดร. นริสา กล่าวว่า เชื่อมั่นว่าผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายจะลดลงอย่างมากภายใน 3-5 ปี สามารถประหยัดงบประมาณด้านสาธารณสุขอย่างมหาศาล พี่ตูนไม่ต้องมาวิ่ง ทั้งนี้ ปัจจุบันใช้ งบประมาณในการดูแลรักษาผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายมากกว่า 20,000 ล้านบาท ต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20 ต่อปี หากไม่มีการแก้ไขคาดว่าใน 5 ปีข้างหน้าจะมีผู้ป่วยไตวาย ระยะสุดท้ายเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 200,000 ราย และต้องใช้งบประมาณกว่า 40,000 ล้านบาท ตามข้อมูลของ นพ. โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข