พืชผักไทใหญ่อายุกว่าร้อยปี ที่ใกล้สูญพันธุ์ หมากซู่ลูดเป็นผักสวน

ครัวพื้นบ้านไทใหญ่ เป็นมรดกแห่งแผ่นดิน ที่บรรพบุรุษชาวไทใหญ่ปลูกติดต่อกันมานานกว่าร้อยปี กินได้ทั้งผลดิบและผลสุก ชาวบ้านนิยมเก็บหมากซู่ลูดไปสับให้เป็นเส้นยาว และนำไปตำส้มตำแทนเนื้อมะละกอ ปรากฎว่า มีรสชาติอร่อยกว่า ส้มตำจากเนื้อมะละกอเสียอีก

ต้นหมากซู่ลูด สามารถเจริญเติบโตได้ข้ามปี อยู่ในกลุ่มไม้เถาเลื้อยตระกูลแตง ลักษณะลำต้น ใบ และยอด คล้ายกับแตงกวา ผสมกับฟักเขียว มีระบบราก ที่มีการสะสมขนาดใหญ่ ใบมีสีเขียวเป็นหยักใบหยาบ ดอกสมบูรณ์เพศ มีชั้นของเกสรตัวผู้ เกสรตัวเมียครบถ้วน และมีกลีบดอกสีม่วงเข้ม

ผลเป็นรูปกลมยาวขนาดปานกลาง เปลือกสีเขียว ผลดิบ เนื้อในจะมีสีขาว เนื้อแน่น ฉ่ำน้ำ ตรงกลางมีเมล็ด ผลสุก จะมีเนื้อสีเหลือง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ปลูกได้ในดินร่วนปนทรายระบายน้ำได้ดี หมากซู่ลูด เป็นผักสวนครัวชนิดหนึ่งที่ปลูกง่าย และลงทุนน้อยโดยไม่พึ่งปุ๋ยหรือสารเคมี

โดยทั่วไป ชาวไทใหญ่นิยมนำผลดิบของหมากซู่ลูด ที่มีลักษณะคล้ายเนื้อฟัก ไปปรุงอาหารหลากหลายเมนู เช่น ผัดใส่ไข่ ต้มจืด แกงเลียง หรือนำไปลวกจิ้มกับน้ำพริก เมื่อนำผลดิบของหมากซู่ลูดไปผ่า ภายในผลจะมีเมล็ดสีดำ ที่ถูกหุ้มด้วยรกสีขาว มีรสเปรี้ยวเช่นเดียวกับเสาวรส

ชาวบ้านนิยมนำเมล็ดหมากซู่ลูดไปคลุกกับเกลือก่อนรับประทาน เพื่อเพิ่มรสชาติ เชื่อว่า หมากซู่ลูดน่าจะมีคุณประโยชน์ทางโภชนาการสูง มีวิตามินเอช่วยบำรุงสายตาปรับสมดุลในร่างกาย ให้สดชื่นเช่นเดียวกับเสาวรส

นอกจากนี้ ชาวบ้านนิยมปล่อยให้ผลหมากซู่ลูดสุกเหลืองคาต้น จึงค่อยเก็บมากินแทนผลไม้ โดยผ่าผลแล้วใช้ช้อนตักเมล็ดภายใน เมล็ดสีดำ ที่มีเยื่อใสหุ้มเช่นเดียวกับเสาวรส มารับประทาน จะได้รสชาติหวาน ชื่นใจ และอร่อยมาก ส่วนผลสุกที่มีเนื้อเหลืองเละ ชาวบ้านจะไม่นำมารับประทาน

สำหรับเมล็ดที่ได้จากผลสุกนั้น ชาวบ้านนิยมเก็บใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ เพื่อปลูกขยายพันธุ์ โดยใช้เวลาเพาะเมล็ดประมาณ 2-3 เดือน จึงได้ต้นกล้าสำหรับเพาะปลูกต่อไป ต้นหมากซู่ลูดปลูกและดูแลง่าย เพียงสร้างค้างให้ต้นหมากซู่ลูดเลื้อยเกาะ และดูแลให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ก็จะมีผลผลิตให้เก็บได้ตลอดทั้งปี

หมากซู่ลูด นอกจากเป็นอาหารที่มีรสชาติอร่อยแล้ว ยังมีสรรพคุณทางยา ช่วยบำรุงร่างกายได้หลายขนาน เช่น เป็นยาฟอกเลือด ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยรักษาโรคเบาหวาน และล้างพิษในตับ ในสมัยโบราณปู่ย่าตายายนิยมปลูกหมากซู่ลูดเป็นผักสวนครัว เพื่อนำผลมาทำเป็นอาหารประจำบ้านสำหรับบำรุงร่างกายให้มีสุขภาพแข็งแรง

หมากซู่ลูด ใกล้สูญพันธุ์เต็มที่แล้ว ทุกวันนี้ คนรุ่นใหม่ที่เป็นลูกหลานชาวไทใหญ่ไม่รู้จักพืชชนิดนี้ ป้าแหลง – คุณอาภรณ์ แสงโชติ ” ประธานเครือข่ายคณะทำงานเสริมสร้างความเข้มแข็งองค์กรชุมชน อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน จึงนำมาปลูกเพื่ออนุรักษ์ต้นหมากซู่ลูดไม่ให้สูญหายจากแผ่นดิน และเป็นมรดกสำหรับลูกหลานไทยในอนาคต

หากใครสนใจชมแปลงปลูกต้นหมากซู่ลูด สามารถแวะชมได้ที่บ้าน“ ป้าแหลง – คุณอาภรณ์ แสงโชติ ” ประธานเครือข่ายคณะทำงานเสริมสร้างความเข้มแข็งองค์กรชุมชน อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 212 หมู่ที่ 2 ตำบลเวียงใต้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58130 โทรศัพท์

ปัจจุบัน ผู้ที่เริ่มต้นเป็นเกษตรกรรายใหม่ ได้มีการปรับตัวของการทำเกษตรให้สอดคล้องกับการตลาดมากขึ้น โดยเน้นทำสวนแบบผสมผสานที่ไม่เน้นพืชเชิงเดี่ยวมากเกินไป เพราะการทำพืชเชิงเดี่ยวมีผลในเรื่องของราคา เมื่อพืชที่ปลูกอยู่นั้นมีกลไกของราคาลดลง ก็จะยิ่งทำให้เกษตรกรมีรายได้ลดน้อยลงตามไปด้วย จนเกิดเป็นภาระหนี้สินทำให้การทำเกษตรไม่ยั่งยืน อันเนื่องมาจากผลกำไรน้อยหรือได้เงินไม่เพียงพอกับต้นทุนการผลิตนั้นเอง

คุณไกรจักร เผ่าพันธ์ ทำสวนผสมผสานอยู่ที่ ตำบลนางบวช อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เขาได้ศึกษาและปลูกไม้ผลแบบผสมผสาน มีการจัดโซนการผลิตภายในสวนให้ลงตัว ทำให้สามารถมีผลผลิตออกขายสู่ตลาดได้หลากหลาย เมื่อพืชผลบางชนิดราคาตกต่ำ ก็ยังมีผลผลิตชนิดอื่นช่วยประคับประครอง ทำให้มีเงินจากการขายผลผลิตพอมีกำไรเป็นเงินเก็บได้

คุณไกรจักร เล่าให้ฟังว่า เมื่อครั้งที่ยังเป็นเด็ก ครอบครัวของเขามีอาชีพทำการเกษตรเป็นหลัก จึงทำให้เขาได้ซึมซับและเรียนรู้เรื่องของการทำเกษตรมาโดยเสมอ เมื่อมีโอกาสได้มาลงมือทำสวนเป็นของเขาเอง ทำให้เกิดแนวความคิดที่อยากทำเป็นสวนผสมผสาน โดยไม่ยึดการทำพืชเชิงเดี่ยวเหมือนครอบครัว มีพืชหลากหลายชนิดจัดสรรลงตัวในแบบที่เขาใฝ่ฝันไว้

“เราโตมากับครอบครัวที่ทำเกษตร ทุกอย่างที่เราเห็นก็เหมือนอยู่ในสายเลือด ซึ่งเราเองก็มีความชอบในเรื่องของการเกษตรอยู่แล้ว พอมีครอบครัว ก็เลยมองไปถึงว่าอยากจะปลูกไม้ผลหลายๆ ชนิด ไว้ให้ลูกได้มีสวนที่ผมทำไว้ จึงได้มาบุกเบินจากพื้นที่นา มาทำสวนไม้ผลแบบผสมผสาน ช่วงแรกๆ คนแถวนี้ก็มองผมว่าบ้ารึเปล่า เพราะพื้นที่รอบๆ นี่ทำนากันหมด มีเราที่มาปลูกไม้ผล แต่พอผลผลิตออกมา ก็มองว่าสิ่งที่เราทำตอบโจทย์ในเรื่องการตลาด เพราะสามารถมีสินค้าหลากหลายขายทำราคาได้” คุณไกรจักร เล่าถึงที่มา

พื้นที่ภายในสวนไม้ผลก่อนที่จะเริ่มนำไม้ยืนต้นต่างๆ มาปลูกนั้น คุณไกรจักร บอกว่า แหล่งน้ำถือว่าสำคัญในการทำเกษตร ขุดบ่อน้ำเป็นร่องสวนให้กับต้นไม้ พร้อมทั้งนำไม้หลายชนิดเข้ามาปลูก เช่น ไผ่ มะม่วง ขนุน มะนาว กล้วยหอม ส้มโอ ชะอม และอื่นๆ อีกหลายชนิด โดยจัดให้ไม้แต่ละชนิดอยู่ในโซนที่ต้องการ แต่ไผ่จะปลูกให้อยู่รอบนอกของสวนเพื่อเป็นแนวกำบังลมให้กับสวน

ในช่วงแรกที่ไม้ผลภายในสวนยังไม่เจริญเติบโตให้ผลผลิต คุณไกรจักร บอกว่า จะใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์ด้วยการหาพืชผักสวนครัวมาปลูก โดยในช่วงนั้นจะมีรายได้จากการขายผักสวนครัว ทำให้เกิดรายได้ใช้จ่ายหมุนเวียน เมื่อไม้ผลเริ่มเจริญเติบโตพร้อมที่จะให้ผลผลิตได้ จะดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพพร้อมขายออกสู่ตลาด

“การที่เราปลูกหลายๆ อย่าง ต้องบอกเลยว่ามันทำให้ผลผลิตเรามีหลากหลาย อย่างช่วงหน้าฝนที่ผ่านมา ไผ่ที่ปลูกมีหน่อออกมา สามารถตัดขายได้ ส่วนไม้ไผ่นำมาใช้ประโยชน์ด้วยการเป็นไม้ค้ำกล้วยหรือค้ำยันไม้ผลอื่นๆ อย่าง กล้วยหอม ลงทุนปลูกครั้งเดียว สามารถทำเงินได้ทั้งปี หลังการปลูกมีน้ำรดอย่างเพียงพอ ซึ่งสวนเรามีร่องน้ำใช้น้ำเพียงพอ กล้วยหอมเลยให้ผลตัดขายได้ตลอดทั้งปี” คุณไกรจักร บอก

ดังนั้น ในเรื่องของการทำการตลาดเพื่อขายผลผลิตภายในสวนนั้น คุณไกรจักร บอกว่า จะดูไม้ผลตามฤดูกาลแต่ละชนิดตามความเหมาะสมที่จะส่งขาย หากช่วงไหนที่พืชครบรอบให้ผลผลิตจะดูแลเป็นอย่างดีและนำผลผลิตขาย ส่วนในเรื่องของราคาขายขึ้นอยู่ตามกลไกตลาด ถ้าช่วงนั้นผลผลิตในสวนบางตัวได้ราคาดี ก็ทำให้ได้ผลกำไรมากขึ้น แต่โดยรวมเมื่อเทียบกับปลูกพืชเชิงเดี่ยวแล้ว การทำสวนแบบผสมผสานสามารถทำเงินได้หลากหลายสำหรับเขา

โดยผลผลิตบางส่วนมีแม่ค้าที่อยู่ในพื้นที่เข้ามารับซื้อถึงสวน และที่เป็นผลผลิตที่มีปริมาณมากจะส่งให้กับลูกค้าที่ติดต่อไว้ จึงทำให้มีรายได้หมุนเวียนอยู่เสมอ เรียกได้ง่ายๆ ว่า ทุกอย่างภายในสวนผสมผสานแห่งนี้สามารถเกิดรายได้ทุกช่วงเวลาทีเดียว

“สำหรับผมเวลานี้ สวนผสมผสานคือคำตอบ เพราะอย่างที่ได้สัมผัสมา ทุกอย่างขายได้จริง ช่วงไหนที่อีกอย่างราคาไม่ดี เรายังได้อีกอย่างที่มีราคา จึงทำให้เงินลงทุนที่ลงไปไม่เสียเปล่า มีผลกำไรมาชดเชยกัน ซึ่งผมมองว่าไม้ผลก็เหมือนน้ำซึมบ่อทราย หากดูแลรักษา ใส่ปุ๋ยบำรุงดินอยู่เสมอ ไม้ภายในสวนทั้งหมดสามารถให้ผลผลิตได้ทุกฤดูกาลและทุกปี จึงไม่ต้องกลัวในเรื่องของราคาตกต่ำของพืชตัวไหนเลย เพราะเรามีทุกอย่างที่ชดเชยในเรื่องของราคาซึ่งกันและกัน” คุณไกรจักร บอก

สำหรับท่านใดที่สนใจในเรื่องของการทำเกษตร แต่อยากจะลงมือทำเพราะความชื่นชอบ คุณไกรจักร แนะนำว่า อาจจะเริ่มจากการปลูกพืชเพียงไม่กี่ชนิดแบบที่ชอบรับประทานก่อนก็ได้ และเมื่อผลผลิตออกมาดีมีพื้นที่ว่างส่วนไหนของบ้าน ก็หาซื้อพืชหลายๆ ชนิดเข้ามาปลูก ช่วยทำให้ใช้พื้นที่ได้อย่างคุ้มค่า อย่างน้อยก็มีผลผลิตทางการเกษตรไว้รับประทานในครัวเรือน และเมื่อมีปริมาณที่มากขึ้น รายได้จากสิ่งที่ทำก็จะกลับคืนมาสู่ผู้ลงมือทำอย่างแน่นอน

คุณมณี สุรัตนะ อยู่บ้านเลขที่ 13/1 หมู่ที่ 3 ตำบลหนองปลิง อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี จากผู้ที่ปลูกมะขามด้วยเพราะมีความเชื่อว่าเป็นไม้มงคล ที่ควรมีไว้ภายในบ้านตามคติโบราณ แต่ใครจะคาดคิดว่ามะขามที่ปลูกไว้ด้วยสาเหตุนั้น กลายเป็นพรรณไม้ที่ทำเงินสร้างรายได้ให้กับเขาได้เป็นอย่างดี

คุณมณี เล่าให้ฟังว่า หลังจากจบการศึกษาได้เข้าทำงานในบริษัทเอกชน เมื่อทำไปได้สักระยะหนึ่งเขาเริ่มรู้สึกว่างานด้านนี้ ทำให้เขายังไม่มีความสุขกับการทำงานมากนัก

“ผมทำงานในบริษัทได้ประมาณ 9 ปี เราก็มามองว่ามันเหมือนมีแต่วัฏจักรชีวิตเดิมๆ วงจรหมุนเวียนซ้ำไปมา และช่วงที่ทำงานมันเริ่มเข้ายุคฟองสบู่แตก ปี 2540 ช่วงนั้นมีญาติที่ทำพันธุ์ขนุน เขาก็เลยนำมาให้ลองปลูก ผมก็เลยเริ่มคิดลาออกจากงาน แล้วก็มาทำงานเกี่ยวกับด้านเกษตรอย่างเดียว คือ การขยายพันธุ์” คุณมณี เล่าถึงจุดเปลี่ยนของชีวิต

เมื่อปลูกและขยายพันธุ์ขนุนประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ ประมาณ ปี 2553 คุณมณี เล่าว่า ได้เริ่มมาขยายพันธุ์มะขาม ซึ่งต้นมะขามนี้เกิดจากการเพาะเมล็ดโดยบังเอิญ

“ช่วงนั้น ผมซื้อที่ดินใหม่ ก็อยากจะได้ไม้ที่เป็นมงคลไว้บริเวณบ้าน ซึ่งขนุนเราก็มีอยู่แล้ว มันก็มีมะขามด้วยที่เราปลูกไว้จากการเพาะเมล็ด คราวนี้ก็โตขึ้นมาเรื่อยๆ พอดีช่วงนั้นมีลูกค้ามาซื้อไม้ผลพันธุ์อื่น เขาเห็นมะขามต้นนี้ก็เกิดสนใจขึ้นมา ผมก็เลยบอกว่าเป็นมะขามยักษ์ ที่กลายพันธุ์มาจากมะขามเปรี้ยว เขาสนใจก็อยากได้ต้นพันธุ์ ก็เลยสั่งให้ผมขยายพันธุ์ให้ ผมก็เลยได้ความคิดว่าน่าจะทำออกจำหน่ายได้” คุณมณี เล่าถึงที่มาของการขยายพันธุ์มะขาม

ตั้งแต่นั้นมาการขยายพันธุ์มะขามของคุณมณีจึงดำเนินการมาเรื่อยๆ และผลตอบรับของลูกค้ามีความต้องการมากขึ้นตามไปด้วย

คุณมณี บอกว่า วิธีการขยายพันธุ์มะขามของที่นี่ใช้วิธีการทาบกิ่ง โดยนำต้นตอของมะขามอื่นมาทาบกับกิ่งพันธุ์ดีที่มีอยู่ของเขา “ขั้นตอนแรกก่อนที่เราจะทาบกิ่ง เราต้องมีต้นตอเสียก่อน ต้นตอที่ใช้เพาะจากเมล็ดของมะขามเปรี้ยวทั่วๆ ไป นำมาเพาะลงในถุงดำ ขนาดเบอร์ 3 หรือ 6 ก็ได้ วัสดุที่ใช้ก็มีขี้เถ้า แกลบ ดิน ในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 เพาะจนกว่าเมล็ดจะงอก รดน้ำเช้าเย็น ไว้ในที่ร่มรำไร ดูแลให้ขนาดของลำต้นของต้นตอมีขนาดเท่าดินสอ หรืออายุประมาณ 6-7 เดือนขึ้นไป ก็สามารถนำมาทาบกิ่งได้แล้ว” คุณมณี อธิบายถึงขั้นตอนการเตรียมต้นตอ

เมื่อต้นตอมะขามที่เตรียมไว้มีอายุเหมาะสม จึงนำมาทาบกับกิ่งพันธุ์ดี โดยเลือกกิ่งแม่พันธุ์ที่มีลักษณะดี คือ ตรงสวยกิ่งแตกแขนงเป็นทรง นำต้นตอที่เตรียมไว้มาแขวนให้อยู่ในระดับที่พอดีกับยอดกิ่งพันธุ์ดีที่ต้องการจะทาบ ใช้มีดกรีดต้นตอและยอดกิ่งพันธุ์ดีให้มีลักษณะคล้ายปากฉลาม จากนั้นนำมาประกบกันให้สนิท พันด้วยพลาสติกใสให้แน่น เมื่อทาบเสร็จแล้วให้รดน้ำที่ต้นตอทันที หลังจากนั้นรดน้ำต้นตอวันละ 1 ครั้ง

เมื่อผ่านไปประมาณ 45-60 วัน แผลที่ทาบกิ่งจะติดสนิท คุณมณี บอกว่า ยังไม่ตัดกิ่งลงมาทันที แต่จะปล่อยให้ผ่านไปอีกสักระยะหนึ่ง

“เมื่อแผลมันติดสนิทดีแล้ว ผมก็จะยังไม่ตัดลงมาทันที จะเอาค้างไว้อย่างนั้น ประมาณ 3 เดือน ก่อนที่จะตัดลงมา ผมก็จะควั่นกิ่งก่อน ให้ต่ำลงมาจากรอยแผลของกิ่งพันธุ์ดี มันจะทำให้เรารู้เลยว่าติดสนิทดีไหม เพราะถ้าติดไม่ดีเท่าที่ควร กิ่งพันธุ์ดีมันก็จะแห้งตาย มันทำให้เราสังเกตได้จากตรงนี้” คุณมณี กล่าวถึงการตรวจสอบคุณภาพของกิ่งพันธุ์

ปัญหาของการขยายพันธุ์มะขามนั้น คุณมณี บอกว่า อุปสรรคที่เจอจะเป็นเรื่องของการผลิตต้นตอ เพราะต้นตอของมะขามใช้เวลานานกว่าพรรณไม้อื่นๆ คุณมณี บอกว่า เรื่องการจำหน่ายกิ่งพันธุ์มะขามไม่เป็นอุปสรรคมากนัก เนื่องจากฐานลูกค้าเดิมของเขาได้จากการจำหน่ายกิ่งขนุน และพันธุ์ไม้อื่นๆ

“ตอนแรกที่ผมทำกิ่งขนุนจำหน่ายแรกๆ นี่ คนยังไม่รู้จัก จริงๆ ตลาดขนุนมันก็พอกว้างอยู่ แต่ผมเหมือนเป็นมือใหม่คนยังไม่มั่นใจในต้นพันธุ์ แต่พอคนรู้จักผมมากขึ้น กิ่งพันธุ์ต่างๆก็จำหน่ายได้ดี พอผมมาทำกิ่งมะขามจำหน่าย เรื่องการตลาดเลยไม่น่าเป็นห่วง เพราะคนที่สนใจก็ตอบสนองเราเรื่อยๆ ถือว่าเป็นที่น่าพอใจ” คุณมณี เล่าถึงปัญหาและอุปสรรคการจำหน่ายกิ่งพันธุ์ในสมัยก่อน

กิ่งมะขามของคุณมณี จำหน่ายอยู่ที่ราคา 150-200 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดของไซซ์ว่าใหญ่หรือเล็กกว่ากันเท่าใด สิ่งที่เขาเน้นเสมอคือ กิ่งพันธุ์ในแต่ละรุ่นต้องได้มาตรฐานเดียวกัน

คุณมณี บอกว่า กิ่งมะขามที่ลูกค้าซื้อไปปลูก ใช้เวลาประมาณ 2 ปี ต้นจะมีความสูงประมาณ 2 เมตร ก็สามารถเริ่มให้ผลผลิตได้แล้ว ซึ่งผลผลิตที่ได้ก็นำไปแปรรูปในกระบวนการที่แตกต่างกันไป

“มะขามปรี้ยวพวกนี้ที่เขาเอาไปปลูก พอได้ผลผลิต ส่วนใหญ่ก็จะเอาไปแช่อิ่ม ส่วนฝักอ่อนก็จะเข้าโรงงานน้ำพริก แต่การแช่อิ่มบางทีจะเอาไปแช่ทุกฝักมันไม่ได้ ต้องคัดไซซ์ขนาด ฝักที่ใช้ไม่ได้ก็จะปล่อยให้แก่ แล้วก็เอาไปทำมะขามเปียกเพื่อประกอบอาหาร”

“ในอนาคต จากที่ผมได้คุยกับอาจารย์หลายๆ ท่าน มองกันว่า มะขาม อาจจะเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ เพราะทุกส่วนของต้นมะขามใช้งานได้หมดแทบทุกส่วน ใบยอด ดอก ฝักดิบ ฝักสุก ซึ่งปัจจุบันนี้ไทยเราเองก็ทำการแช่อิ่ม และก็มีมะขามเปียกที่ส่งออกต่างประเทศ” คุณมณี เล่าถึงความต้องการของตลาด

เมื่อเอ่ยถามคุณมณีว่า อะไรเป็นสาเหตุ ที่ทำให้การขยายพันธุ์กิ่งไม้ผลต่างๆ ประสบผลสำเร็จมามากกว่า 10 ปี ถือได้ว่ากิ่งพันธุ์ที่ผลิตยังเป็นที่ต้องการของตลาดมาจนทุกวันนี้

“ผมจะเน้นเรื่องคุณภาพการทำกิ่งพันธุ์ เป็นสิ่งที่ผมเน้นมากเลย ลูกค้าส่วนใหญ่ที่เห็นว่าเป็นไม้ที่มาจากสวนผม เขาก็จะมั่นใจ ว่ากิ่งพันธุ์ที่ผมจำหน่าย บอกเขาว่า 2 ปี ได้ผลผลิต ก็ต้อง 2 ปีจริงๆ มันต้องเป็นพันธุ์แท้ๆ ที่เหมือนต้นแม่ ไม่มีการหลอกลวงกัน พร้อมทั้งแนะนำลูกค้าเสมอ ในเรื่องการปลูกการดูแล”

“ส่วนคนที่กำลังหาไม้ผล หรืออยากทำการเกษตร ผมก็อยากแนะนำว่า มะขาม เป็นไม้ผลที่สามารถปลูกในสภาพดินที่เสื่อมโทรมได้ อาจเรียกได้ว่าสภาพแวดล้อมไหนมันก็โตได้ดี ใช้น้ำน้อย อย่างเราปลูกใหม่ๆ รดน้ำไม่บ่อยก็ได้ วันเว้นวันก็ยังไม่ตาย โดยเฉพาะคนที่พอมีที่เหลืออยู่ ไม่ควรที่จะทิ้งเรื่องมะขาม เพราะอนาคตจะเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ ที่มีเรื่องของตลาดรองรับอยู่ อาจไม่ต้องส่งจำหน่ายถึงต่างประเทศ ในประเทศไทยเราเองก็ยังใช้มะขามอยู่ดี” คุณมณี กล่าว

ทีมงานได้ลงพื้นที่ปลูกกล้วยไข่ของสมาชิกกลุ่ม อย่าง คุณป้าพิมพ์ และ คุณลุงไพริน คำพวงวิจิตร เป็นเจ้าของสวน อยู่บ้านเลขที่ 22 หมู่ที่ 1 ตำบลสระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร โทรศัพท์ (063) 750-9275 ปลูกกล้วยไข่มานานกว่า 30 ปี ใช้เนื้อที่ปลูก 12 ไร่ จำนวน 2,000 กว่าต้น เป็นพันธุ์กล้วยไข่ดั้งเดิมของกำแพงเพชร

คุณป้าพิมพ์ บอกว่า การปลูกกล้วยไข่ที่กำแพงเพชรนับเป็นเรื่องยาก ต้องดูแลเอาใจใส่ในเรื่องความสะอาดในแปลงปลูก อย่าให้รก ปุ๋ยที่ใช้ในตอนเริ่มปลูกใช้สูตรเสมอ 15-15-15 พอตกเครือจะใช้ปุ๋ยน้ำตาลสูตร 21-0-0 ใส่เพื่อเร่งผล

ส่วนปัญหาที่เกิดเป็นประจำคือ โรคใบไหม้ แล้วยังต้องเผชิญกับภัยจากพายุลมแรงที่พัดจนต้นกล้วยหักโค่นเสียหาย ซึ่งลมพายุดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงที่กำลังมีผลผลิต แล้วสังเกตทุกปีมักเกิดขึ้นหลังจากเข้าหน้าฝน ทั้งนี้ ถ้าตกเครือก็ยังช่วยให้ปลอดภัย แต่ถ้าเกิดในช่วงต้นขนาดเล็กตายอย่างเดียว ฉะนั้น เพียงแก้ไขในเรื่องโรคใบไหม้ได้ ก็จะทำให้กล้วยมีคุณภาพดีกว่าเดิม แล้วมีผลผลิตเพิ่มขึ้นด้วย

ผลที่เกิดขึ้นจากปัญหา คุณลุงไพริน ชี้ว่า จากที่สมัยก่อนเคยเก็บหน่อไว้ถึงตอที่ 2-3 ได้ แต่ภายหลังทำเช่นนั้นไม่ได้เพราะคอยจะขึ้นเหง้า ดังนั้น ในทุกปีจะต้องมีการขุดออกแล้วปลูกเป็นกล้วยรุ่นใหม่

คุณลุงไพรินเผยตัวเลขผลผลิตที่เกิดจากการปลูกกล้วยไข่ที่กำแพงเพชรในแต่ละปีคงไม่มีความแน่นอน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศเป็นตัวแปรสำคัญ แต่ภายหลังที่มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มจึงตกลงมีการซื้อ-ขายผลผลิตกันเป็นกิโลกรัม แต่พื้นที่แถวสามเงาจะมีราคาขายกิโลกรัมละ 25 บาท สูงกว่าที่กำแพงเพชรที่มีราคาขายประมาณกิโลกรัมละ 18 บาท

การสะสมประสบการณ์ที่ยาวนานของคุณป้าพิมพ์และคุณลุงไพริน จนเกิดทักษะความชำนาญการปลูกกล้วยไข่ จึงทำให้สวนของพวกเขาได้ผลผลิตประมาณ 2 ตัน ต่อไร่ และถือเป็นจำนวนผลผลิตที่สูงได้มาตรฐานอย่างมีคุณภาพ อีกทั้งยังเป็นเช่นนี้ทุกปี

ความจริงแล้วกล้วยไข่กำแพงเพชรมีรสชาติอร่อยกว่าที่อื่น มีชาวบ้านหลายรายพยายามนำหน่อกล้วยในพื้นที่ออกไปปลูกยังแหล่งอื่นที่ใกล้เคียงจังหวัดกำแพงเพชร แต่พบว่ารสชาติอร่อยน้อยกว่า แม้จะใช้หน่อเดิม ทั้งนี้ คุณลุงไพริน ชี้ว่า น่าจะเกิดจากคุณภาพดินของจังหวัดกำแพงเพชร โดยเฉพาะในเขตเมือง ซึ่งถ้าพ้นออกไปแล้ว รสชาติตลอดจนลักษณะผลมักเปลี่ยน

ติดทำเนียบผักขายดี ร้านก๋วยเตี๋ยวทุกร้านจำเป็นต้องใช้ทุกวัน สำหรับ “ถั่วงอก” พืชราคาไม่สูงมากแต่อุดมด้วยไปคุณค่าทางโภชนาการ แถมปลูกง่าย โตไวทำเงินดี ไม่ต้องเป็นเกษตรกรก็สามารถปลูกได้

เฮียเอี่ยม หรือคุณวันทัสน์ รติขจรพันธุ์ ยึดอาชีพเพาะถั่วงอกขายมาตลอดทั้งชีวิตปัจจุบันเพาะถั่วงอกปลอดสารบนเนื้อที่ 400 ตารางวา ย่านคลอง 13 หนองจอก กรุงเทพมหานคร เก็บผลผลิตส่งขายตลาดทุกวันราว 2 – 3 ตัน มีรายได้วันละ 20, 000 บาท โดยเฉลี่ยยังไม่หักต้นทุน จะมีรายได้เดือนละ 1 ล้านบาท

เฮียเอี่ยม เท้าความกับเส้นทางเศรษฐีออนไลน์ว่า เกิดและเติบโตมาในครอบครัวคนจีนที่มีอาชีพเพาะถั่วงอกขาย เดิมรุ่นพ่อแม่เพาะถั่วงอกอยู่ที่ย่านดินแดงนาน 20 ปี จนกระทั่งกรมทรัพยากรน้ำสั่งห้ามใช้น้ำบาดาลเลยย้ายมาอยู่ย่านคลอง 13 หนองจอก เนื่องจากมีน้ำให้ใช้ตลอดทั้งปี

“ตอนเพาะถั่วงอกอยู่ที่ดินแดงใช้น้ำบาดาล ประกอบกับท่อน้ำบาดาลแตก กรมทรัพยากรน้ำ สั่งห้ามใช้น้ำบาดาล เลยย้ายมาอยู่คลอง 13 ย่านหนองจอก เนื่องจากมีน้ำให้ใช้ตลอดทั้งปี เป็นน้ำคลองชลประทานที่ไหลมาจากเขื่อนจังหวัดชัยนาท ก่อนนำมาใช้รดถั่วงอกต้องสูบขึ้นมาพักในบ่อพักน้ำสูง 3 เมตร นาน 1 วัน เพื่อกรองตะกอนก่อน”

สำหรับจุดเด่นของถั่วงอกเฮียเอี่ยม เป็นถั่วงอกไฮโดรโปนิกส์ ลักษณะต้นเรียว ยาว ขนาดกำลังดี มีเปลือกติดที่หัว มี 2 ใบเลี้ยงงอกออกมา สีเหลืองธรรมชาติ หากถูกแดดจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อน ต่างจากถั่วงอกทั่วไปที่มีต้นขาว อวบ อ้วน ถูกแดดก็ยังเป็นสีขาวไม่เปลี่ยนสี การเพาะถั่วงอกของเฮียเอี่ยม เฮียบอกว่า ใช้ถั่วเขียวผิวดำ หรือถั่วแขก (ถั่วพม่า) เนื่องจากแข็งแรง ทนทาน ไม่ค่อยช้ำ แต่ข้อเสีย คือ โตช้า ปกติถั่วเขียวทั่วไปเพาะเป็นถั่วงอกใช้เวลา 72 ชั่วโมง แต่ถั่วแขกใช้เวลา 80 ชั่วโมงกว่าจะงอก ซึ่งถั่วแขก 1 กิโลกรัม จะเพาะถั่วงอกได้ราว 7 กิโลกรัม

ปัจจุบันเฮียเอี่ยมจะเพาะถั่วงอกทุกวัน เฉลี่ยวันละ 3,100 กิโลกรัม ส่งขายตลาดคลองเตย ตลาดห้วยขวาง พระขโนง ประตูน้ำ ตลาดวรจักร ตลาดย่านศรีนครินทร์ ราคากิโลกรัมละ 13 – 16 บาท

“ต้นทุนถั่วแขก กิโลกรัมละ 70 บาท เพาะเป็นถั่วงอกได้ 7 กิโลกรัม แต่ละวันผมใช้ถั่วแขก 500 กิโลกรัมเพาะถั่วงอกได้ 3,100 กิโลกรัม ขายกิโลกรัมละ 13 -16 บาท ส่งขายทุกวัน ตกแล้วมีรายได้วันละ 20,000 บาท”

1.นำถั่วเขียวผิวดำ ที่นำเข้าจากพม่า มาล้างทำความสะอาดให้เกลี้ยง ร่อนเพื่อนำวัตถุแปลกปลอมออกให้หมด หลังจากนั้นแช่น้ำทิ้งไว้ 2 ชั่วโมง

2.นำเม็ดถั่วที่ผ่านการร่อน และล้างสะอาดแล้ว เพาะลงถังที่เจาะร่องไว้เพื่อระบายน้ำ ใช้ถังขนาด 200 ลิตรตัดครึ่ง ใส่ถั่วเขียวผิวดำลงไปในถังประมาณ 7 กิโลกรัม นำตาข่ายมาบังไว้เพื่อไม่ให้น้ำกระแทกถูกเมล็ดแรงเกินไป

3.รดน้ำผ่านตาข่ายทุกวัน โดยใช้ฝักบัว เพื่อให้น้ำกระจายทั่วถึง รดน้ำเทุกๆ 2 ชั่วโมง เป็นเวลา 3 วัน (เฉลี่ยรดน้ำวันละ 12 ครั้ง) เมล็ดถั่วแขกจะงอกเป็นถั่วงอกสีขาว อวบอ้วน น่ารับประทาน นำไปขายส่งในตลาดสด

การเพาะถั่งงอกที่สำคัญคือใช้น้ำเยอะมากต้องรดน้ำทั้งวันทั้งคืน ถั่วงอกที่ดีต้องมีกลิ่นเหม็นเขียวเล็กน้อย เพราะแสดงถึงความสดใหม่ เวลาโดนลม โดนแสงแดดมีสีคล้ำบ้าง

“ถั่วงอก” นับเป็นพืชที่ปลูกง่าย และน่าอัศจรรย์ เพราะปราศจากดินและปุ๋ยใช้เพียงน้ำเท่านั้น ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คิดค้น “สารบีเทพ” BeThEPS ช่วยยืดอายุน้ำยางสดได้นาน 1-3 วัน จากเดิม 6-8 ชั่วโมง เพิ่มทางเลือกใหม่ให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง และทำให้ผู้ประกอบการสามารถผลิตยางแผ่นซึ่งมีคุณภาพดีเยี่ยม

ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ กล่าวถึงประเด็นปัญหาซึ่งเป็นที่มาของงานวิจัยและพัฒนา “สารบีเทพ” BeThEPS ว่า เนื่องจากที่ผ่านมาเกษตรกรชาวสวนยางต้องประสบกับปัญหาการยืดอายุน้ำยางพาราด้วยสารที่มีกลิ่นฉุนรุนแรงและเป็นอันตรายต่อร่างกายเป็นระยะเวลานาน และยังต้องประสบปัญหาด้านการขนส่ง สวนอยู่ไกลจากจุดรับซื้อน้ำยางสด ทำให้แทนที่จะขายเป็นน้ำยางพาราสดกลับต้องแปรสภาพเป็นยางก้อนถ้วยแทน

“จังหวัดน่าน haveyoursayonline.net นับเป็นพื้นที่นำร่องในการทดลองใช้สารบีเทพเพื่อยืดอายุน้ำยางสด พื้นที่ปลูกยางส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สูงลาดชันและอยู่ห่างไกลจากจุดรับซื้อ ทำให้การขนส่งน้ำยางมายังจุดรับซื้อล่าช้า ส่งผลทำให้เกษตรกรเสียประโยชน์ในหลายด้าน” ดร.จุลเทพ บอก

เนื่องจากน้ำยางสดที่กรีดจากต้นยางพาราจะคงสภาพเป็นน้ำยางอยู่ได้ในระยะเวลาอันสั้นเพียง 6-8 ชั่วโมงเท่านั้น โดยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี และปริมาณแบคทีเรียเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้อนุภาคยางจับตัวเป็นก้อนและมีกลิ่นเหม็น เกิดปัญหาน้ำยางสดเสียสภาพก่อนการแปรรูปเป็นยางแผ่น แต่กว่าชาวบ้านจะกรีดและเก็บน้ำยางมาส่งยังจุดรับซื้อได้ น้ำยางก็เสื่อมคุณภาพแล้ว

ดังนั้น ทีมวิจัยห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีน้ำยาง หน่วยวิจัยยาง เอ็มเทค สวทช. จึงได้คิดค้น “สารบีเทพ” BeThEPS ขึ้นมาเพื่อใช้ทดแทนแอมโมเนียและโซเดียมซัลไฟต์ พบว่า “สารบีเทพ” BeThEPS ช่วยยืดอายุน้ำยางได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยางแผ่นจับตัวเรียบรีดง่าย สร้างมูลค่าเพิ่มราว 900 บาท ต่อการผลิตยางแผ่น 1 ตัน

“สารบีเทพ” BeThEPS นวัตกรรมช่วยชีวิตชาวสวนยาง

คุณธนพร โตพัฒน์ หรือ พี่วัน หัวหน้ากลุ่มแปรรูปน้ำยางสด อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ในฐานะเกษตรกรผู้ได้รับถ่ายทอดเทคโนโลยี สารยืดอายุน้ำยางสดเพื่อการผลิตยางแผ่น หรือ สารบีเทพ กล่าวว่า เนื่องจากพื้นที่จังหวัดส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีหมอกลงเยอะเป็นอุปสรรค และอยู่ห่างไกลจากจุดรับซื้อน้ำยางหลายกิโลเมตร ทำให้น้ำยางสดเสื่อมสภาพก่อนถึงจุดรับซื้อ ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตของเกษตรกรชาวสวนยางเป็นอย่างมาก ที่ผ่านมาเกษตรกรชาวสวนยางจังหวัดน่านจะใช้แอมโมเนีย ซึ่งมีกลิ่นฉุนและเป็นพิษต่อร่างกาย ผสมในน้ำยางสดเพื่อยืดอายุน้ำยางก่อนนำไปขาย แต่ประสิทธิภาพก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร จะช่วยยืดอายุได้เป็นเวลาสั้นๆ ไม่ถึง 24 ชั่วโมง ทำให้ชาวสวนยางต้องเพิ่มความถี่ในการขนส่งน้ำยางสดวันละหลายรอบ ส่งผลให้ต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มขึ้น อีกทั้งเมื่อแปรรูปเป็นยางแผ่นรมควัน น้ำยางสดที่ผสมโซเดียมซัลไฟด์จะเกิดฟองในแผ่นยาง ทำให้ขาดง่าย ไม่มีความยืดหยุ่น และขายไม่ได้ราคา

พี่วัน เล่าต่อว่า กระทั่งเมื่อปีที่ผ่านมา ได้รู้จักกับทีมวิจัยของเอ็มเท็ค สวทช. และได้รับการถ่ายทอดการใช้ “สารบีเทพ” เพื่อยืดอายุน้ำยางสด โดยนำมาให้เกษตรกรได้ทดลองใช้ในหลายอำเภอ ได้แก่ อำเภอเวียงสา อำเภอท่าวังผา อำเภอเชียงกลาง อำเภอแม่จริม และอำเภอสันติสุข พบว่าผลที่ออกมาเป็นที่น่าพอใจ เกษตรกรใช้แล้วเห็นผล สามารถทดแทนแอมโมเนียได้ ช่วยยืดอายุน้ำยางสดได้นาน 1-3 วัน ช่วยลดความถี่ในการขนส่งน้ำยางสดและต้นทุนจากค่าขนส่งได้อย่างมาก เกษตรกรมีรายได้จากการกรีดยางมากขึ้น