พืชพรรณดี ตรา ตะวันต้นกล้า มืออาชีพพัฒนาสายพันธุ์แตงโม

ในงานเกษตรมหัศจรรย์ 2560 พืชกินได้ ไม้ขายดี 30 ปี เทคโนโลยีชาวบ้าน ที่จัดขึ้นเมื่อ วันที่ 7-10 กันยายน 2560 ที่ผ่านมา ณ สกายฮอลล์ ชั้น 3 เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว มีของขายมากมาย ทั้งต้นไม้ ผลไม้แปลกๆ หายาก ไม้ดอก ไม้ประดับ ขนม ของกินให้เลือกชมเลือกซื้อ

แต่มางานเกษตรแบบนี้แล้ว เราก็ต้องไปเดินดูของเกี่ยวกับการเกษตรที่น่าสนใจ เพื่อมาแนะนำให้คนที่สนใจอยากจะปลูก ทำสวน ทำเกษตร ที่กำลังหาเมล็ดพันธุ์ไว้สำหรับปลูกเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริม

ขอแนะนำเมล็ดพันธุ์ ตรา ตะวันต้นกล้า ที่มาจาก บริษัท แอ๊ดว้านซ์ซีดส์ จำกัด เริ่มก่อตั้งมาเป็นเวลา 25 ปี เติบโตมาจากสายพันธุ์แตงโม สายพันธุ์ที่สร้างชื่อให้กับบริษัทคือ พันธุ์กินรี และได้มีการพัฒนาสายพันธุ์เพิ่มขึ้นเป็นพันธุ์คิงส์ออร์เร้นจ์ ตอนนี้เป็นที่รู้จักกันในตลาด โดยทั่วไปเนื้อของแตงโมที่เราเคยเห็นจะมีสีเหลืองกับสีแดง แต่พันธุ์คิงส์ออร์เร้นจ์ มีจุดเด่นอยู่ที่เนื้อสีส้ม รสชาติหวาน เนื้อที่เป็นสีส้มไม่เพียงแต่น่าสนใจ แถมยังมีประโยชน์ช่วยในการต้านอนุมูลอิสระ ปัจจุบัน เทรนด์คนรักสุขภาพกำลังมาแรง จึงเป็นที่น่าสนใจสำหรับหนุ่มสาวที่มองหาผลไม้ที่มีประโยชน์

ในการปลูกแตงโมพันธุ์คิงส์ออร์เร้นจ์ ของ ตรา ตะวันต้นกล้า ผลผลิตที่ได้ต่อไร่ ก็ตกที่ 3-4 ตัน ปลูกง่าย แถมยังได้ผลผลิตดี ราคาขายอยู่ที่ ลูกละ 250 บาท

นอกจากแตงโมพันธุ์แปลกที่มาแนะนำ ยังมีแคนตาลูปและเมล่อนที่น่าสนใจมาฝาก แคนตาลูปพันธุ์จักรพรรดิ มีลักษณะผลกลมรี ผิวสีเหลืองทอง เนื้อสีส้ม จุดเด่นพิเศษที่มีกลิ่นหอม รสชาติหวาน กรอบ ดูแลรักษาง่าย แข็งแรง สามารถปลูกนอกโรงเรือนได้ มีน้ำหนักต่อผล 1.5-2.0 กิโลกรัม ปลูกได้ตลอดปี อายุการเก็บเกี่ยว 60-65 วัน หลังหยอดเมล็ด ราคาขาย ลูกละ 100 บาท

ส่วนเมล่อนหิมาลัย 99 มีความแตกต่างจากตระกูลแตงทิเบตคือ ลูกจะมีลักษณะวงรี จะไม่ใหญ่มาก หนัก 1.5 กิโลกรัม ถึง 2 กิโลกรัม ทำการตลาดง่าย ผลผลิตต่อไร่ก็ค่อนข้างดี การปลูกการดูแลง่าย ปลูกได้ทุกภาค ให้ผลผลิต 1.5-2 ตัน ต่อไร่ ราคาขาย ลูกละ 150 บาท

ตรา ตะวันต้นกล้า ไม่เพียงแค่ขายเมล็ดพันธุ์แตงอย่างเดียว แต่ยังมีทั้ง แตงกวา พริก ดาวเรือง ไม้ดอกไม้ประดับ ผักสวนครัว และอื่นๆ อีกมากมาย สำหรับผู้ที่สนใจเมล็ดพันธุ์ สอบถามข้อมูลได้ที่ บริษัท แอ๊ดว้านซ์ซีดส์ จำกัด หมายเลขโทรศัพท์ (02) 958-8476-8 หรือ www.advanceseeds.com

ติดต่อสอบถาม วิธีการปลูกพืชตระกูลแตง เพิ่มเติมได้ที่ คุณวีรชัย โพธิ์ศรี โทร. (080) 118-7970 ยินดีให้คำปรึกษา ปิดทริปด้วยร้อยยิ้มแห่งความประทับใจให้จดจำ ทั้งคนกินและคนปลูก สำหรับกิจกรรม “พาคนกินคนปลูก” ที่โครงการปฐม เชื่อมโยงอาหารอินทรีย์สู่ผู้บริโภค ขับเคลื่อนโดยร้าน ปฐม ออร์แกนิก ลิฟวิ่ง ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดขึ้นเมื่อช่วงต้นเดือน พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยนำผู้โชคดีจากการร่วมกิจกรรมกับโครงการฯ จำนวน 36 ชีวิต ลงพื้นที่ จ.นครปฐม เยี่ยมชมฟาร์มเกษตรอินทรีย์ พบปะเกษตรกรต้นแบบ ในพื้นที่เครือข่ายโครงการสามพรานโมเดล เพื่อให้ผู้บริโภคได้สัมผัสวิถีชีวิตเกษตรกร และศึกษากระบวนการผลิตที่ปลอดภัย อีกทั้งเชื่อมสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนกินกับคนผู้ปลูก ผ่านฐานกิจกรรมต่างๆ ให้ได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน

นายอนัฆ นวราช ผู้บริหาร ร้านปฐม ออร์แกนิก ลิฟวิ่ง ในฐานะผู้จัดการ โครงการปฐม เชื่อมโยงอาหารอินทรีย์สู่ผู้บริโภค เล่าว่า ปฐมฯ ตระหนักและให้ความสำคัญกับสุขภาพของผู้บริโภคในทุกขั้นตอนการผลิต โดยเฉพาะวัตถุดิบที่เลือกใช้ จะต้องผ่านกระบวนการผลิตระบบเกษตรอินทรีย์ที่ได้คุณภาพมาตรฐาน ขณะเดียวกัน ได้จัดกิจกรรมให้ความรู้ผู้บริโภคเกี่ยวกับการบริโภคอาหารอย่างปลอดภัยผ่านกิจกรรมต่างๆ ควบคู่ไปด้วย ล่าสุด เพิ่งพาผู้โชคดีที่เข้าร่วมกิจกรรมกับโครงการ ลงพื้นที่ไปสัมผัสวิถีชีวิตเกษตรกร เยี่ยมชมฟาร์มเกษตรอินทรีย์ ในพื้นที่โครงการสามพรานโมเดล ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำสำคัญที่ส่งวัตถุดิบให้กับ ปฐม ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคเห็นความสำคัญของอาหารปลอดภัย และตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากระบบอาหารที่ไม่สมดุล

“แม้มีเวลาไม่มากนัก แต่การได้มาสัมผัสพื้นที่จริงด้วยตัวเอง ได้พบปะพูดคุยกับเกษตรกร ได้เห็นวิถีชีวิต ได้ทดลองปลูก แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรียนรู้ร่วมกัน สิ่งเหล่านี้แหละจะนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพอีกมากมาย และเชื่อว่า ผู้บริโภคเองได้มองเห็นถึงความเชื่อมโยงกันทั้งระบบของเกษตรอินทรีย์ บนความเกื้อกูลกันระหว่างคนปลูกคนกินรวมถึงสิ่งแวดล้อมด้วย”

สำหรับปฏิบัติการตะลุยสวนครั้งนี้ เริ่มอุ่นเครื่องกิจกรรมวันแรกด้วยพูดคุยแลกเปลี่ยนความเป็นมาของ 2 โครงการสำคัญเพื่อเชื่อมโยงห่วงโซ่อาหารอินทรีย์ทั้งระบบ ได้แก่ โครงการสามพรานโมเดลที่เข้าไปแก้ปัญหาที่ต้นน้ำชวนเกษตรกรรวมกลุ่มกันเป็นเครือข่ายสร้างสังคมเกษตรอินทรีย์ และมีการเชื่อมโยงผลผลิตสู่ผู้บริโภคปลายทางในราคาที่เป็นธรรมผ่านร้านปฐม ออร์แกนิก ลิฟวิ่ง ในกรุงเทพฯ

หลังจากได้รับทราบถึงที่มาที่ไปกันเรียบร้อยแล้วก็ได้เวลาสนุกกับกิจกรรมแรก “สนุกรู้ สนุกเล่น” แบ่งเป็นฐานต่างๆ บริเวณศาลาสามภาคในพื้นที่ของโรงแรมสาม ริเวอร์ไซด์ ที่นี่ได้เรียนรู้ปัจจัยการผลิต รวมถึงการทำชีวภัณฑ์ชนิดต่างๆ เช่น การทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง เรียนรู้เรื่องดิน การทำปุ๋ยจากมูลไส้เดือน การทำสมุนไพรไล่แมลง การทำน้ำยาล้างจานจากน้ำหมักเปลือกมะนาว เหล่านี้เป็นต้น

จากนั้นแวะไปเยี่ยมชมวิถีชีวิตพ่อค้าแม่ค้าที่เป็นเกษตรกรตัวจริง ปลูกเองขายเอง ในตลาดสุขใจ พร้อม ช้อป ชิม สินค้าเกษตรอินทรีย์ มีทั้งข้าว ผัก ผลไม้ อาหารแปรรูปชนิดต่างๆ มากมายให้เลือก ตลาดแห่งนี้ถือเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบเกษตรอินทรีย์คุณภาพที่ส่งตรงสู่ร้านปฐม ออร์แกนิก ลิฟวิ่ง เพื่อนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ แบรนด์ Patom ชนิดต่างๆ

บ่ายคล้อย ได้เวลาไปสนุกต่อที่ สุขใจออร์แกนิกฟาร์ม สวนเกษตรอินทรีย์มาตรฐานสากลพื้นที่กว่า 40 ไร่ แหล่งเรียนเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ของโรงแรมสามพราน ริเวอร์ไซด์ นั่งเรือแจวข้ามฝากไปขึ้นฝั่งท่าน้ำตรงข้ามโรงแรม แล้วเดินลัดเลาะไปตามสะพานไม้เข้าสู่พื้นที่สวนออร์แกนิก เจ้าหน้าคอยต้อนรับและแนะนำพื้นที่โซนต่างๆ ก่อนพาทุกคนไปตะลุยแปลงปลูก เก็บผัก เก็บไข่ไปปรุงอาหารมื้อเย็นรับประทานร่วมกันที่ศาลาโรงนา ท่ามกลางธรรมชาติห้อมล้อมด้วยนาข้าวเขียวขจีที่กำลังออกรวงส่งกลิ่นหอมไปทั่วท้องทุ่ง พร้อมกันนี้ยังได้ชมโชว์การปีนหมากจากคุณลุงวัย 60 ปี ที่โชว์ได้อย่างคล่องแคล่วชวนให้ผู้ชมลุ้นตลอดเวลา ก่อนกลับที่พัก ณ โรงแรมสามพราน ริเวอร์ไซด์ ตอนพลบค่ำ

ปิดท้ายทริปนี้กับอีกหนึ่งกิจกรรมไฮไลต์ คือ เยี่ยมชมสวนเกษตรอินทรีย์ และเรียนรู้การทำฟาร์มแบบอิสระอย่างพอเพียง กับคุณอรุณี พุทธรักษา หัวหน้ากลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรทฤษฎีใหม่หัวใจอินทรีย์ เกษตรกรต้นแบบเครือข่ายสามพรานโมเดล ได้บอกเล่าแรงบัลดาลใจ แชร์ความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ พร้อมทั้งพาชมพื้นที่โซนต่างๆ มีทั้งเลี้ยงไก่ ปลูกผัก ทำนา นอกจากนี้ยังสอนวิธีเพาะต้นอ่อนผักบุ้งแบบง่ายที่สามารถนำกลับไปทำเองได้ที่บ้าน สาธิตการทำน้ำตาลอ้อยอินทรีย์ รวมถึงน้ำยาบ้วนปากสมุนไพร แถมด้วยอาหารมื้อเที่ยงแสนอร่อยด้วยเมนูก๋วยเตี๋ยวเห็ดต้มยำรสแซบให้ได้อิ่มท้องกันทั่วหน้า

แม้เป็นช่วงเวลาสั้นๆ 2 วันกับ 1 คืน ที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน แต่เชื่อว่าสิ่งที่ผู้ร่วม ทริปได้รับมากกว่าความสนุกสนาน ก็คือ ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ ที่ได้รับ สามารถนำกลับไปปรับใช้ให้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ขณะเดียวกันยังเพิ่มความเชื่อมั่นวิถีอินทรีย์ มากยิ่งขึ้น

มะพร้าว เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในแหล่งที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ โดยสังเกตเห็นว่าต้นมะพร้าวขึ้นอยู่หนาแน่นตามหมู่เกาะ หรือชายทะเล ดังนั้น ให้ตระหนักอยู่เสมอว่า ถ้าท่านต้องการปลูกมะพร้าวให้ได้ผลดี ทั้งติดผลดกและคุณภาพของเนื้อผลดี ต้องเลือกแหล่งปลูกที่มีระดับน้ำใต้ดิน ลึกไม่เกิน 1 เมตร จากผิวดิน ทั้งนี้ ที่จังหวัดกาญจนบุรีมีเขตอบฝนอยู่หลายแห่ง อีกทั้งระดับน้ำใต้ดินอยู่ลึกเกิน 1 เมตร อีกด้วย

วิธีแก้ไขมีทางเดียวคือ ต้องให้น้ำช่วย แต่ทั้งนี้ เมื่อคำนวณค่าบริหารจัดการน้ำแล้วต้องคุ้มค่ากับการลงทุน สำหรับเกลือนั้นเป็นของคู่กันกับต้นมะพร้าว ในเกลือทะเล หรือโซเดียมคลอไรด์ เมื่อแตกตัวออกมาจะได้โซเดียม ที่ทำหน้าที่คล้ายกับโพแทสเซียม ที่ช่วยในขบวนการนำแป้งและน้ำตาลจากใบที่ได้จากการสังเคราะห์แสงส่งไปยังผล หัว หรือลำต้น ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช อีกบทบาทหนึ่งเกลืออาจจะช่วยระบบรากมะพร้าวให้ดูดน้ำขึ้นสู่ลำต้น ผ่านไปยังผลได้ดียิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม น้ำ เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่มีผลต่อการติดผลมะพร้าว ส่วนธาตุอาหารและแสงแดดเป็นปัจจัยรองลงไปตามลำดับ ขอให้โชคดีครับ คุณเอกนรินทร์ คงแท่น อยู่บ้านเลขที่ 143 หมู่ที่ 6 ตำบลแม่รำพึง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนทำงานอยู่ที่บริษัทเอกชนเกี่ยวกับอาชีพช่าง ต่อมามีเหตุให้ต้องกลับมาอยู่บ้านเกิดที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยในช่วงนั้นก็ได้มีสวนยางพาราเป็นสิ่งที่ครอบครัวทำเป็นอาชีพกันมาอย่างยาวนาน เมื่อประสบปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของราคา เขาถึงได้คิดหาพืชชนิดใหม่มาปลูกเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ให้มีใช้ในพืชระยะสั้น

“พอเริ่มที่จะปลูกพืชชนิดอื่น ก็เลยมีความคิดที่อยากจะปลูกพืชล้มลุก เพราะสมัยที่เด็กๆ ก็เคยเห็นแม่ปลูกไว้กินในครัวเรือน ไม่ได้ทำจริงจังอะไร เราก็คิดว่าพืชชนิดนี้น่าจะใช้เวลาสั้นกว่าทำอย่างอื่น ก็เลยเริ่มที่จะมาปลูกแบบนี้ให้มากขึ้น ก็จะมีแตงโม ฟักทอง แตงร้าน พอปลูกมาได้สักระยะ แตงร้านตลาดมีความต้องการ ก็เลยปลูกแตงร้านตั้งแต่นั้นมา” คุณเอกนรินทร์ กล่าว

ในขั้นตอนของการเตรียมแปลงนั้น คุณเอกนรินทร์ บอกว่า จะใช้รถไถพรวนหน้าดินก่อน โดยยกหน้าดินให้เป็นสันแปลงสูงขึ้นจากหน้าดินเล็กน้อย เพื่อที่เวลาฝนตกมากๆ น้ำก็จะไม่ท่วมบริเวณแปลงที่ปลูก จากนั้นนำต้นกล้าของแตงร้านที่เพาะลงในถาดไว้ มาปลูกลงในแปลงที่เตรียมไว้ ซึ่งต้นกล้าที่ที่ปลูกจะมีอายุประมาณ 5-7 วัน

ปลูกกล้าแตงร้านให้มีระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 80-100 เซนติเมตร จากนั้นรดน้ำดูแลตามปกติเมื่อแตงร้านเริ่มมีอายุประมาณ 10 วัน ก็จะทำการใส่ปุ๋ยและฉีดฮอร์โมนเสริมเข้าไปให้ต้นมีความแข็งแรง

“พอได้อายุที่กำหนดก็ใส่ปุ๋ยสูตร 21-0-0 เพื่อบำรุงใบ จากนั้นนับไปอีก15 วันก็จะเปลี่ยนเป็นใส่ปุ๋ยสูตร 14-14-21 เพื่อเตรียมพร้อมให้พืชแทงตาดอก จากนั้นก็รอเก็บผลผลิต เพราะแตงร้านจะใช้เวลาประมาณ 35-40 วันก็จะมีผลแตงชุดแรกออกมาให้เก็บขายได้ โดยหลังจากที่เก็บชุดแรกไปแล้ว ก็จะใส่ปุ๋ยบำรุงเข้าไปทุก 7 วันครั้ง ซึ่งแตงร้านที่ปลูกจะเก็บขายได้ประมาณ 30 ครั้ง จากนั้นก็จะถอนทิ้งแล้วเริ่มปลูกใหม่ตั้งหมด” คุณเอกนรินทร์ บอก

ซึ่งการการส่งจำหน่ายนั้น คุณเอกนรินทร์ บอกว่า จะส่งให้กับแม่ค้าที่อยู่ตามตลาดแถวบ้านก่อน ต่อมาเมื่อเป็นที่รู้จักของลูกค้ามากขึ้น ก็จะเริ่มมีลูกค้ามารับซื้อถึงที่หน้าสวนโดยให้ราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 10-18 บาท โดยราคาสามารถขึ้นลดได้ตามกลไกตลาด

สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะปลูกแตงร้านเป็นอาชีพ คุณเอกนรินทร์ บอกว่า สิ่งแรกที่ต้องมีคือเรื่องของการมีใจรัก เพราะถ้ามีใจรักในด้านการทำเกษตรแล้ว ไม่ว่าจะปลูกพืชผักชนิดไหนก็สามารถประสบผลสำเร็จได้แน่นอน และที่สำคัญหมั่นเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ ผลผลิตทางด้านการเกษตรก็จะให้ผลกำไรตอบแทนกลับมาได้อย่างแน่นอน

เกษตรจังหวัดนครสวรรค์ ให้สำนักงานเกษตรอำเภอทุกแห่งเปิดรับสมัครชาวนาที่จะเข้าร่วมโครงการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และช้าวฟ่าง ถั่วลิสง ถั่วเขียวหรือพืชไร่อื่นแทนการทำนาปรัง โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนการไร่ละ 2,000 บาท เพื่อลดพื้นที่การทำนาปรังในฤดูแล้งและบริษัทเอกชนได้เปิดสถานที่รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กก.ละ 7 บาท ความชื้นไม่เกิน 15% ด้วย

เมื่อวันที่ 8 พ.ย. นายณัฎฐกิตติ์ ของทิพย์ เกษตรจังหวัดนครสวรรค์ กล่าวว่า เวลานี้จังหวัดนครสวรรค์ให้สำนักงานเกษตรอำเภอทั้ง 15 อำเภอ เปิดรับสมัครชาวนาทั้ง 15 อำเภอ สมัครเข้าโครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และปลูกข้าวฟ่าง ถั่วเขียว ถั่วลิสงหรือพืชตระกูลถั่วแทนการทำนาปรัง เพื่อรับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลแทนการทำนาปรังในฤดูแล้ง ในฤดูการผลิต 2560/2561

โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนไร่ละ 2,000 บาท สำหรับชาวนาที่งดทำนาปรังมาปลูกข้าวฟ่าง ถั่วลิสง ถั่วเขียวหรือพืชตระกูลถั่วรายละไม่เกิน 10 ไร่ ส่วนชาวนาที่เปลี่ยนการทำนาปรังมาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แทน จะได้เงินสนับสนุนไร่ละ 2,000 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ต่อ 1 รายเช่นกันทั้งหมดเป็นไปตามมติการประชุมครม.เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2560

สำหรับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากโครงการนี้ บริษัท เบทาโกร จำกัด ได้เปิดรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในโครงการในราคาประกัน กก.ละ 7 บาท ความชื้น 15% ด้วย ปัจจุบันหลายประเทศได้นำ “มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ( SPS)” มาใช้เป็นเครื่องมือกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าเกษตรไทยไปจำหน่ายในตลาดโลก ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้สนับสนุนและขับเคลื่อน “ยุทธศาสตร์ความปลอดภัยทางอาหาร” (Food Safety) มาใช้อย่างต่อเนื่อง โดยส่งเสริมให้เกษตรกรพัฒนาแหล่งผลิตพืชผักและผลไม้เข้าสู่มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีหรือจีเอพี (GAP) โดยมีการตรวจสอบและรับรองแปลูกพืชตามมาตรฐาน GAP ทั่วประเทศอย่างกว้างขวาง

“ลุงปลึ้ม จันทุง” เกษตรกรเจ้าของสวนผลไม้ในพื้นที่ตำบลเกาะเต่า อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง ประสบความสำเร็จในการพัฒนาสวนผลไม้เข้าสู่ระบบมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีหรือจีเอพี (GAP) จนได้รับรางวัล เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาการใช้วิชาการเกษตรดีที่เหมาะสม ประจำปี 2558

ลุงปลื้ม จันทุง เริ่มทำสวนบนเนื้อที่ 14 ไร่มาตั้งแต่ปี 2520 โดยแรกเริ่มปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทอง แต่พอทุเรียนจะให้ผลผลิตก็ประสบปัญหาโรครากเน่า-โคนเน่า ทำให้ต้นทุเรียนตายเกือบทั้งสวน เหลือเพียง 3 ต้น จึงเปลี่ยนมาปลูกมังคุดแทน จำนวน 265 ต้น ลองกอง 120 ต้น และปลูกพืชแซมอีกหลายชนิด อาทิ สะตอ มะพร้าว จำปาดะ ส้มแขก เงาะ และสละ เป็นต้น ขณะที่มังคุดยังไม่ให้ผลผลิตได้ทำธุรกิจยางแผ่นรมควัน แต่ต้องต่อสู้กับความผันผวนของราคายางพารา ทนแบกรับภาระค่าใช้จ่ายไม่ไหวจึงต้องขายอุปกรณ์ทั้งหมด กลับมาทุ่มเทเวลาให้กับการปรับปรุงสวนใหม่ในปี 2545 กระทั่งยืนหยัดได้อีกครั้ง

ปัจจุบันสวนผลไม้ของลุงปลื้ม ปลูกมังคุดเป็นพืชหลัก และปลูกผักเหลียงใบใหญ่หรือผักเหนียงเป็นพืชร่วม ประมาณ 2,500 ต้น โดยใช้หลักการเกื้อกูลกัน ส่วนลองกองได้ทยอยตัดโค่นออกไปเหลือไม่กี่ต้น เนื่องจากต้องใช้เวลาและแรงงานในการดูแลมากกว่าพืชอื่น แต่ได้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่า

เกษตรกรรายนี้เน้นผลิตมังคุดและผักเหลียงที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยป้อนตลาด โดยเลิกใช้ปุ๋ยเคมีภายในแปลง เน้นใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงในการปรับปรุงบำรุงดิน ทั้งยัง ไม่ใช้สารกำจัดวัชพืชและสารกำจัดศัตรูพืช และมีการผลิตน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้เองด้วย สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ค่อนข้างมาก ที่สำคัญยังได้ผลผลิตที่ปลอดภัย 100 % และทำให้ได้รับการรับรองแหล่งผลิตพืช GAP ตามโครงการความปลอดภัยอาหารด้านพืช

สวนมังคุด GAP แห่งนี้ มีการผลิตมังคุดในฤดูและนอกฤดู โดยยึดหลัก “ดินดี น้ำดี คุณภาพดี ภูมิปัญญาดี ตลาดดี” ส่วนใหญ่เป็นมังคุดนอกฤดูซึ่งผลผลิตจะออกสู่ตลาดในช่วงเทศกาลปีใหม่ ทำให้ขายได้ราคาดี ซึ่งมีพ่อค้ามารับซื้อถึงที่ กิโลกรัมละกว่า 100 บาท ขณะที่ผลผลิตมังคุดในฤดูราคาอยู่ที่ ประมาณ 20-30 บาท/กิโลกรัม ที่ผ่านมา ลุงปลื้มมีกำไรจากการจำหน่ายมังคุดคุณภาพรวมไม่ต่ำกว่าปีละ 700,000 บาท

นอกจากนี้ ลุงปลื้มยังมีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตผักเหลียงทุกสัปดาห์ โดยจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 70 บาท สร้างรายได้จากการจำหน่ายผักเหลียงไม่ต่ำกว่าเดือนละ 6,000-7,000 บาท ตอนกิ่งพันธุ์ผักเหมียงจำหน่าย กิ่งละ 100 บาทสร้างรายได้กว่าเดือนละ 4,000 บาท เฉพาะรายได้จากการขายผักเหมียงเพียงอย่างเดียว มีรายเดือนละกว่า 10,000 บาท เพราะ ผักเหมียงหรือผักเหลียง เป็นผักใบเขียว กินใบ มีรสชาติดี มีรสอร่อยโดยนิยมบริโภคใบที่ไม่อ่อน หรือแก่จนเกินไป สามารถนำไปปรุงอาหารได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นผัด ต้มหรือกินสดๆ ร่วมกับน้ำพริกต่างๆ ขนมจีน และอาหารอื่นๆ

ลุงปลื้มบอกว่า ขั้นตอนสำคัญของการผลิตมังคุดนอกฤดูเริ่มในช่วงเดือนมีนาคมต้องทำการตัดแต่งกิ่งมังคุด ใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงบำรุงต้นให้สมบูรณ์ที่สุด และให้น้ำอย่างสม่ำเสมอไปจนถึงปลายเดือนเมษายน พอถึงเดือนพฤษภาคมก็หยุดให้น้ำ เดือนมิถุนายนปล่อยให้กระทบแล้ง ช่วงเดือนกรกฎาคมมังคุดจะออกดอก ต้องทำการตัดแต่งดอก เดือนกันยายนทำการตัดแต่งผล และใส่ปุ๋ยเพื่อบำรุงผล

เดือนตุลาคม-พฤศจิกายนดูแลเรื่องแมลงศัตรูพืชที่เข้ามารบกวน และต้องจัดการเพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพดี ช่วงปลายเดือนธันวาคมก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตจำหน่ายได้ไปจนถึงเดือนมกราคม ที่ผ่านมาได้ผลผลิตมังคุดนอกฤดูไม่น้อยกว่า 10 ตัน และผลผลิตมังคุดในฤดู ประมาณ 2 ตัน

การนำแปลงปลูกพืชเข้าสู่มาตรฐาน GAP ทำได้ไม่ยาก หากเกษตรกรมีความสนใจและตั้งใจจริง ทั้งการจัดการแปลงและการบันทึกข้อมูลฟาร์ม ซึ่งการผลิตพืช GAP สามารถช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้มาก ทำให้ต้นทุนลดต่ำลงและมีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังไม่เกิดปัญหาดินเสื่อม ที่สำคัญ คือ ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัย เป็นที่ต้องการของตลาด ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจ และขายได้ราคาสูงขึ้นด้วย จึงอยากให้เพื่อนเกษตรกรปรับปรุงการผลิตและนำแปลงปลูกพืชเข้าสู่มาตรฐาน GAP จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้

ด้วยผลการประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่มีความโดดเด่น ส่งผลให้ ลุงปลื้มได้รางวัลเชิดชูเกียรติยศมากมาย เช่น รางวัล “เกษตรกรดีเด่น สาขาทำสวน” ประจำปี 2556 ของจังหวัดพัทลุง และเป็น “เกษตรกรปราดเปรื่องต้นแบบ” (Smart Famer) ของอำเภอป่าพะยอม รวมทั้งได้รับรางวัล “คนดีแทนคุณแผ่นดิน” ประจำปี 2556 จากเครือเนชั่น และรางวัล “เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาการใช้วิชาการเกษตรดีที่เหมาะสม ประจำปี 2558” ซึ่งถือเป็นสุดยอดรางวัลแห่งชีวิต และสุดยอดรางวัลแห่งอาชีพเกษตรกรรมที่น้อยคนนักจะได้รับ

“ผมรักในอาชีพทำสวนและภูมิใจที่เป็นเกษตรกร และดีใจอย่างยิ่งที่ได้รับคัดเลือกเป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติปี 2558 หากมีโอกาส ผมยินดีถ่ายทอดความรู้ให้กับเพื่อนเกษตรกรและผู้สนใจเต็มที่ จนกว่าจะหมดแรง ” ลุงปลื้มกล่าวในที่สุด

ชาวบ้านพันดอน หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง มีที่ดินเป็นของตนเองน้อย รายได้ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับผู้จ้าง บางรายจึงเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย โดยใช้ที่ของเพื่อนบ้าน ย้ายที่เพาะไปเรื่อยๆ แต่เมื่อมีโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยการเปิดโอกาสให้ชุมชนเสนอโครงการตามความต้องการ ทำให้ชาวบ้านพันดอนแห่งนี้ได้มีอาชีพที่มั่นคง ทำรายได้ในระดับน่าพอใจ

คุณสมเดช ศิริวงศ์ (ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 9) โทร. (087) 214-6499 ประธานกลุ่มเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนบ้านพันดอน เล่าให้ฟังว่า ชาวบ้านพันดอน มีพื้นที่ทำการเกษตรเป็นของตนเอง ประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งประกอบอาชีพทำไร่อ้อยและนาข้าว อีกราว 65 เปอร์เซ็นต์ มีอาชีพรับจ้าง (ผู้สูงวัยเลี้ยงหลาน วัยแรงงานรับจ้างต่างจังหวัด บางส่วนรับจ้างในพื้นที่) ต่อมาเมื่อประมาณ 5 ปี ที่ผ่านมา ได้เริ่มนำเห็ดฟางแบบกองเตี้ยมาเพาะในหมู่บ้าน จึงมีชาวบ้านให้ความสนใจเพาะ เนื่องจากอายุสั้น ให้ผลผลิตเร็ว ประมาณ 2 สัปดาห์ ก็ทำเงินได้แล้ว แต่มีปัญหาคือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย ต้องย้ายที่ใหม่ไปเรื่อยๆ เนื่องจากหากใช้ที่เดิมจะเกิดโรค ผลผลิตไม่ดี ประกอบกับชาวบ้านในหมู่บ้านนี้ส่วนใหญ่ไม่มีพื้นที่ บางรายไปขอใช้ที่ของคนอื่นเพาะ

ดังนั้น เมื่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน จึงได้จัดประชาคมหมู่บ้านและได้เสนอโครงการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน โดยใช้ที่โรงเรียนเก่าของหมู่บ้านเป็นสถานที่ดำเนินการ สมาชิก 42 ราย โดยใช้พื้นที่จำกัดและที่สำคัญเพาะได้ตลอดปี โดยไม่ต้องย้ายที่ใหม่ไปเรื่อยๆ ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา งบประมาณ 500,000 บาท ค่าแรง 250,000 บาท (ไม่น้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์) ค่าวัสดุ 244,900 บาท

การสร้างโรงเรือน

ขนาด กว้าง 4 เมตร ยาว 8 เมตร สูง 4 เมตร หลังคาทรงหน้าจั่ว โครงหลังคาทำด้วยไม้ไผ่ มัดด้วยเศษผ้าเก่า (ไม่ใช้ตะปู)
ภายในโรงเรือนสร้างชั้นเพาะเห็ด ขนาด กว้าง 1.30-1.50 เมตร 3 ชั้น แต่ละชั้นห่างกัน 60-70 เซนติเมตร จำนวน 2 แถว(ซ้าย-ขวา) มีทางเดินตรงกลาง แต่ละชั้นปูด้วยไม้ไผ่ จากนั้นนำซาแรนหรือมุ้งเขียวมาปูทับอีกชั้นหนึ่ง (เพื่อไม่ให้วัสดุเพาะร่วงหล่น)
หลังคาและภายในโรงเรือนบุด้วยผ้าพลาสติก ด้านนอกล้อมด้วยซาแรน
ติดเครื่องวัดอุณหภูมิไว้ภายในโรงเรือน เพื่อควบคุมให้เหมาะสมต่อการออกดอก

ส่วนผสมและวัสดุเพาะ (ต่อ 1 โรงเรือน)

เปลือกมันสำปะหลัง 4 ตัน
ปุ๋ยคอก (มูลวัว มูลควาย) 12 กระสอบ (กระสอบละ 25-30 กิโลกรัม)
มูลหมู 2 กระสอบ
รำอ่อน 50 กิโลกรัม
หัวเชื้อเห็ดฟาง 36 ก้อน (36 กิโลกรัม)

ขั้นตอนการเพาะ

นำส่วนผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำไปวางบนชั้นในโรงเรือน ความหนา ประมาณ 8 เซนติเมตร
อบฆ่าเชื้อด้วยเตาอบไอน้ำ โดยจุดไฟที่เตา จะเกิดไอน้ำ ที่ต่อท่อไปยังโรงเรือน ที่อุณหภูมิ 65-70 องศาเซลเซียส เป็นเวลาประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง เพื่อฆ่าเชื้อที่อยู่ในโรงเรือนและวัสดุเพาะ ทิ้งไว้ 1 คืน
เปิดโรงเรือนระบายอากาศออก (เปิดประตูหน้า และประตูหลัง) ประมาณ 2 ชั่วโมง
เมื่อเย็นแล้ว นำเชื้อเห็ดมาขยำให้ละเอียด นำไปโรยบริเวณผิวหน้าของวัสดุเพาะให้กระจายสม่ำเสมอ (หัวเชื้อ 6 ก้อน/ชั้น)
รดน้ำให้เปียก โดยใช้ฝักบัว แล้วปิดโรงเรือน
ปล่อยทิ้งไว้ 2 วัน 2 คืน เชื้อจะเริ่มสร้างเส้นใย สมัคร Holiday Palace เมื่อเริ่มออกสีเหลืองเล็กน้อยให้รดน้ำจนเปียก หรือเรียกระยะนี้ว่า ระยะตัดเชื้อ แล้วปิดโรงเรือน
ปล่อยทิ้งไว้อีก 2 คืน จะเริ่มเห็นดอกเห็ด แต่ยังไม่โต รออีก 1-2 วัน จะเริ่มเก็บเห็ดได้ ทั้งนี้ จะต้องรักษาอุณหภูมิให้ได้ประมาณ 32 องศาเซลเซียส
จะเก็บดอกเห็ดได้หลังเพาะ 7 วัน และเก็บต่อเนื่องอีกประมาณ 7 วัน โดยใช้เวลาในการเพาะแต่ละรุ่น ประมาณ 15 วัน หรือเดือนละ 2 รุ่น เก็บผลผลิตช่วงเช้ามืด วันละ 50 กิโลกรัม/โรงเรือน โดยเฉลี่ย 1 โรงเรือน จะได้ผลผลิตรวมประมาณ 350 กิโลกรัม

ตลาดต้องการสูง

มีแม่ค้ามารับซื้อถึงที่ ในราคาขายส่ง กิโลกรัมละ 55 บาท รับจำนวนมาก ไม่เพียงพอกับความต้องการ โดยแม่ค้ารายนี้ยังกระจายให้แม่ค้ารายย่อยในจังหวัด ต่างจังหวัดหลายรายและบางส่วนส่งออกไป สปป. ลาว ด้วย มีรายได้ ประมาณ 19,000-20,000 บาท/โรงเรือน/รุ่น โดยกลุ่มมีโรงเรือน จำนวน 4 โรง หรือสามารถทำรายได้ประมาณ 160,000 บาท/เดือน

“ในด้านการผลิต กลุ่มได้ทดลองนำผักตบชวาซึ่งเป็นวัชพืชน้ำ มาเป็นส่วนผสมของวัสดุเพาะ ปรากฏว่า ทำให้ดอกเห็ดโตมาก ได้น้ำหนักมาก และยังลดต้นทุนอีกด้วย”