พืชมันไม่ได้กินแร่ธาตุละลายน้ำนะครับ ดังนั้นก็ไม่ต้องสงสัยว่า

ผักไฮโดรโปนิกส์จะเป็นผักที่อ่อนแอที่สุด การที่ต้องกินแต่น้ำมากๆ นอกจากทำให้ผักอ่อนแอแล้ว มันยังไม่มีรสชาติเลยด้วย ผมคิดว่าบางทีเราต้องกลับมาคิดทบทวนเรื่องอาหารของพืช รวมทั้งการดูแลในขั้นตอนต่างๆ ระหว่างที่มันเติบโตขึ้นกันใหม่ทั้งหมด

ผมฟังแล้วก็ชักอยากไปทำบ้าง เพราะมันดูง่ายดีจริงๆ ทำใส่กระบะไม้ หรือกระถางใหญ่ๆ สักใบก็คงเข้าที แต่แล้วผมเกิดสงสัยขึ้นมา เลยถามปริ๊นซ์ ว่า นอกจากวิธีปลูกพืช – เตรียมดินอันแสนธรรมดาสามัญแบบนี้ ยังมีแบบอื่นที่ “ล้ำๆ” ทำนองเดียวกันนี้ไหม

“มีครับ อีกแบบหนึ่งนี่ยิ่งแล้วเลย คือเขาใช้วิธีตัดต้นไม้ ถางวัชพืชจนเตียนโล่ง แล้วขุดหลุมหรือหว่านปลูกลงไปดื้อๆ ทีเดียว ปล่อยให้พืชเติบโตแข่งกับหญ้าและวัชพืชเอาเอง อาศัยหลักการคล้ายๆ กัน คือสมมุติปลูกข้าว ถ้าข้าวของเราโตชนะหญ้าได้ มันจะแข็งแรงมาก เคยมีการทดลองปลูก 3 แปลง คือแบบที่ว่านี้แปลงหนึ่ง ส่วนอีก 2 แปลงก็มีการคลุมดิน ถอนวัชพืช ฯลฯ คล้ายๆ กัน ปรากฏว่า 2 แปลงที่ว่านั้นได้ผลผลิตพอๆ กัน แต่แปลงที่ปล่อยให้ข้าวสู้กับหญ้า จะได้เมล็ดข้าวเต็มสมบูรณ์ดีทุกเมล็ดจริงๆ ซึ่งมันก็แปลกดี”

ในโลกของการทดลองใหม่ๆ เกษตรกรที่ไม่หยุดนิ่งคงค้นพบวิถี แนวทางที่จะบรรลุสัมฤทธิ์ผลของการปลูกพืชที่สอดคล้องกับสภาวะปัญหาทางสังคมของพื้นที่ วัฒนธรรม ตลอดจนระบบนิเวศ แบบที่เบียดเบียนสภาพแวดล้อมในปัจจุบันน้อยที่สุด เนื่องจากเราต่างก็คงตระหนักถึงปัญหาที่ปรากฏเป็นข่าวให้เห็นได้ทุกเมื่อเชื่อวัน โดยเฉพาะประเด็นอ่อนไหวที่สัมพันธ์กับมลภาวะด้านสุขภาพของเกษตรกรผู้ใช้ อย่างเรื่องการแบนสารพิษเคมีเกษตร ที่ยังคงมีการต่อสู้กันอย่างเข้มข้น เพื่อสร้างระบบ และมาตรการที่ควรจะเป็นในอนาคตข้างหน้า

ทางเลือกในวันนี้ คงมีมากที่สุดกว่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ อยู่ที่ว่าใครจะเลือกอะไร แบบไหน เพื่ออะไร เท่านั้นเองล่ะครับ “อาจารย์ศิลป์ชัย ตระกูลทิพย์ ประธานชมรมผู้ปลูกมะม่วงอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ได้บอกเล่าเทคนิค “การอุ้มบุญมะม่วง” หรือที่หลายคนเรียกว่า “การฝากท้องมะม่วง” ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่เกษตรกรนิยมนำมาใช้ เมื่อต้นมะม่วงที่ปลูก เช่น มะม่วงพันธุ์เขียวเสวย หรือ เพชรบ้านลาด ไม่ให้ผลผลิต หรือให้ผลผลิตน้อยไม้คุ้มค่ากับการลงทุน

เกษตรกร นิยมนำเทคนิคอุ้มบุญมาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิต ในช่วงต้นหรือกลางฤดูฝน โดยไม่เพิ่มพื้นที่ปลูกและใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือนก็ให้ผลผลิตแล้ว ส่วนใหญ่นิยมใช้ มะม่วงพันธุ์เขียวเสวย หรือ เพชรบ้านลาด เป็นต้น แม่พันธุ์ และลูก (ยอดที่มาฝาก) ได้แก่ น้ำดอกไม้สีทอง น้ำดอกไม้เบอร์ 4 หรืออกร่องพิกุลทอง เป็นต้น

เทคนิคอุ้มบุญทำได้ง่าย เริ่มจากคัดเลือกต้นแม่ที่มีสภาพสมบูรณ์ ใบแก่ เขียว เข้ม ลูก (ยอด) ที่นำมาฝากท้อง ต้องเป็นพันธุ์ดี มีสภาพแข็งแรงสมบูรณ์พร้อมที่จะแตกใบอ่อนภายใน 5-7 วัน ที่สำคัญเป็นสายพันธุ์มะม่วงที่ตลาดต้องการ หลังจากคัดเลือกต้นแม่และกิ่งพันธุ์ที่ต้องการได้แล้ว จะกำหนดบริเวณฝากท้องให้สูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร อยู่ห่างจากง่ามของกิ่ง เพื่อใช้ง่ามสำหรับให้ช่อพาด เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหรือปริ

เมื่อคัดเลือกต้นแม่และลูกได้ตามที่ต้องการได้แล้ว เกษตรกรจะนำกรรไกรมาตัดยอดที่สมบูรณ์ ที่ขนาดความยาว 3 นิ้ว ตัดใบทิ้งและใช้ใบมีดเฉือนโคนยอดให้เป็นรูปลิ่ม ความยาวจากปลายยอดถึงโคนยอด ประมาณ 1.5 นิ้ว และใช้มีดกรีดเปลือกของต้นแม่เป็นรูปตัว T ให้มีความกว้างประมาณ ครึ่งนิ้ว ยาว 1 – 1.5 นิ้ว ลอกเปลือกมะม่วงจากบนลงล่าง พยายามอย่าให้เปลือกขาด นำยอดมะม่วงพันธุ์ดีที่ได้ทำเป็นรูปลิ่มแล้วเสียบเข้าไปบริเวณแผลตัว T และใช้พลาสติกใสที่เตรียมไว้พันพอแน่นจากล่างขึ้นบน

หลังจากฝากท้องไปได้ 5 – 10 วัน ยอดจะเริ่มโผล่ ปล่อยให้ยอดเติบโต จนมีความยาวครึ่งนิ้ว ให้เจาะรูด้านบนเพื่อระบายอากาศ คอยดูแลโดยการฉีดพ่นยาฆ่าแมลง ป้องกันหนอน และเพลี้ยไฟไม่ให้เข้ามารบกวน ภายในเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน ก็สามารถดึงดอกได้ ข้อดีของการอุ้มบุญคือ ดูแลง่ายให้ผลผลิตที่คุ้มค่ากับการลงทุน หากใครมีข้อสงสัยประการใด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับ อาจารย์ศิลป์ชัย ตระกูลทิพย์ ได้ที่เบอร์โทร. 08-1886-9656

คุณสุทัศน์ ตันมงคลกาญจน เกษตรกรไร่อ้อย อยู่บ้านเลขที่ 65/2 หมู่ที่ 5 ตำบลอุโลกสี่หมื่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี เป็นเกษตรกรไร่อ้อย ปลูกอ้อยมาแล้ว 50 ปี มีไร่อ้อย 100 ไร่ ซึ่งยังไม่รวมกับลูกไร่ จุดเริ่มต้นของการปลูกอ้อย คุณสุทัศน์เล่าว่า ก่อนที่ตนเองจะมาทำไร่อ้อย ได้ยึดการทำไร่ยาสูบยาเส้นมาก่อน ซึ่งมีประมาณ 50 ไร่ แต่ตอนนี้ไม่ได้ทำ เพราะพื้นที่ปลูกสภาพดินไม่มีความสมบูรณ์ ไม่สามารถปลูกได้ ปลูกไปก็ได้ผลผลิตไม่สวย จึงหันมาปลูกอ้อยแทน

พันธุ์อ้อยให้ผลผลิตดี

สำหรับพันธุ์อ้อยที่เลือกปลูก คุณสุทัศน์ ตันมงคลกาญจน บอกว่า เลือกเป็นพันธุ์อ้อยขอนแก่น 3 ตอนนี้มีอ้อยพันธุ์ใหม่ แต่ยังไม่ได้ทดลองปลูก เพราะฉะนั้นที่ปลูกตอนนี้ มีพันธุ์ขอนแก่น 3 เพียงอย่างเดียว

เหมาะสมกับการทำไร่อ้อย

ดินที่เหมาะต่อการปลูกอ้อย คือ ดินปนทราย เพราะหากเป็นดินที่เหนียวเกินไปอาจทำให้ได้ผลผลิตที่ไม่ดีนัก ดินปนทรายเมื่อปลูกแล้วอ้อยจะแตกกอได้ง่าย หากเป็นดินเหนียวเมื่อเนื้อดินแห้งไวอ้อยจะขึ้นยาก

“สภาพดินตอนนี้ถือว่าดีทีเดียว แต่ต้องใส่ปุ๋ยมากหน่อย ปุ๋ยอินทรีย์บ้าง ปุ๋ยเคมีบ้าง ผสมกันไป ต้องรออากาศด้วย ฝนดีอ้อยก็จะดี ถ้าหากฝนไม่ดี อ้อยจะไม่ยาวไม่งาม การดูแล พอเราตัดเสร็จ หากเราตัดสด เราต้องเผาใบ เราต้องเผาก่อนถึงจะทำงานได้ พอเผาเสร็จแล้ว ปลูกปีแรกใช้น้ำหยด ปีต่อไปจะใช้น้ำราดพื้น เพราะน้ำหยดอ้อยจะขึ้นเสมอกัน”

โรคที่มักเกิดขึ้นในอ้อย

“อ้อยในสวนส่วนใหญ่ไม่ค่อยเกิดโรค แต่มีหนอนด้วง หากเจาะถึงโคนก็จะเสียหาย เราก็ต้องปลูกใหม่ ซึ่งโรคหากเกิดขึ้นจะมาจากดิน หากดินดี แมลงอาจจะน้อย แต่หากดินที่เราใช้ปลูกไม่ดี เราต้องดูแลอ้อยของเราให้รอด ซึ่งเป็นบางแปลงเท่านั้น แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว โรคที่เกิดขึ้นจากอ้อยไม่ค่อยพบ ส่วนมากแมลงในอ้อยไม่มี หากมีไม่มากก็จะปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ เพราะมันไม่ได้เสียหายมากมาย เพราะไม่มีตั๊กแตน” คุณสุทัศน์ กล่าว

วิธีการดูแลอ้อย ให้ได้ผลผลิตงาม

“ส่วนการดูแล ก็คือ ถางหญ้า ใส่ปุ๋ย ส่วนใหญ่หากเจอหญ้าในไร่อ้อย เราจะไม่ฉีดยา เพราะก่อนจะปลูกอ้อยเราจะฉีดยาคุมกันไว้แล้ว ถ้ามันเยอะมาก เราจะเจาะเป็นเลน ส่วนมากที่ไร่จะไม่ได้ฉีดยาฆ่าหญ้า จะใช้วิธีการฉีดยาคุมมากกว่า แต่ถ้าฉีดยา จะฉีดแค่รอบๆ ไร่เท่านั้น สำหรับน้ำมีน้ำให้ตลอด โดยจะใช้น้ำในแม่น้ำ แต่ถ้าอยากได้ผลผลิตที่ดีกว่านี้ แนะนำรอน้ำฝน จะให้ผลผลิตที่งามกว่าน้ำจากคลอง เพราะฝนเวลาตกลงมาจะโดนยอดอ้อย ซึ่งจะทำให้ยอดสวยงาม” คุณสุทัศน์ กล่าว

ส่งผลต่อรายได้

คุณสุทัศน์ เล่าต่อว่า ผลผลิตถ้าเป็นอ้อยที่ปลูกใหม่ จะให้ผลผลิตอยู่ที่ประมาณ 1 ไร่ ต่อ 20 ตัน หากเป็นอ้อยตอ ได้อยู่ที่ 15 ตัน หากช่วงไหนที่มีสภาพอากาศดี ผลผลิตอาจได้ถึง 18 ตัน ต่อไร่ ถ้าปลูกในปีที่ 2 มีการบำรุงต้นที่ดีๆ อาจได้ผลผลิตถึง 20 ตัน ต่อไร่ อ้อยตอแรกจะได้ผลผลิตที่ดีกว่า เพราะลำต้นยาว อ้อยตอต้องรักษาให้ดี ใส่ปุ๋ยให้ถึง ซึ่งคุณสุทัศน์ จะใส่ทั้งหมด 3 รอบ หากมีทุนมากพอเกษตรกรบางราย อาจใส่ปุ๋ยถึง 4 รอบ หรือมีทุนน้อยก็ใส่เพียง 2 รอบก็ได้

โดยในรอบแรก ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 รอบที่ 2 จะใช้เป็นปุ๋ยยูเรีย และรอบที่ 3 ใช้ปุ๋ยเค็ม เป็นปุ๋ยน้ำหมัก แต่ละรอบ ระยะเวลาห่างกัน 3 เดือน เมื่อครบ 8 เดือน จึงเริ่มตัดในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายน แต่ถ้าฝนตกจะตัดช้าแล้วแต่สภาพอากาศ

รายได้จากการทำอ้อย คุณสุทัศน์ บอกว่า ใช้ไป ทำไป พออยู่พอกิน เพราะอ้อยต้นหนึ่งมีน้ำหนักประมาณ 2 กิโลกรัม 1 กิโลกรัม ขายได้ราคา 70 สตางค์ ตอนนี้โรงงานรับซื้อตันละ 700 บาท หากเผาอ้อยไป โรงงานจะหัก CCS หนึ่ง ต่อ 45 บาท ถ้า CCS ไม่ถึง จะหัก 45 บาท แต่ถ้าเพิ่มขึ้น จะได้ราคาที่ดีตามไปด้วย (CCS คือ ปริมาณของน้ำตาลที่มีอยู่ในอ้อย ซึ่งสามารถหีบสกัดออกมาได้เป็นน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์หนึ่ง)

หากเป็นอ้อยที่ปลูกใหม่ ความหวานจะยังไม่มี ค่าความหวานของอ้อยไม่ถึง 10 บริกซ์ ทางโรงงานจะช่วย หากยังไม่ถึงเดือนมกราคม แต่ถ้าผ่านเดือนมกราคมไปแล้ว โรงงานจะหักตามปริมาณที่กำหนดไว้ เมื่อความหวานไม่ถึง โดยจะเริ่มวัดความหวานเต็มที่ นอกจากส่งโรงงานแล้ว ไม่ได้นำอ้อยไปทำอะไรต่อจากนั้น

บอกคุณภาพชีวิตได้

นอกจากการปลูกอ้อยที่เป็นรายได้หลักเลี้ยงครอบครัวแล้ว คุณสุทัศน์ บอกว่า ยังสามารถนำเงินไปส่งให้ลูกได้เรียนหนังสือ ยังมีรายได้เสริมจากการทำสวนเล็กๆ คือ ปลูกถั่ว แตง และพืชผักอื่นๆ อีกหลายชนิด พอเลี้ยงคนงาน และสร้างรายได้บ้างเล็กน้อย

นอกจากนี้ ยังมีบ่อปลาที่ขุดเอง เพื่อให้คนงานมีแหล่งของอาหาร คือ ปลาที่เลี้ยงไว้ ซึ่งภายในบ่อมีการเลี้ยงปลาหลายสายพันธุ์

คุณสุทัศน์ ทิ้งท้ายว่า ราคาอ้อยปัจจุบันกับอดีตไม่ต่างกันเท่าไร แต่ที่ต่างกัน คือ ต้นทุนในปัจจุบันอาจจะสูงกว่าต้นทุนการผลิตเมื่อเทียบกับอดีต เพราะมีปัจจัยหลายๆ อย่าง ในการทำเกษตร เพราะเศรษฐกิจประเทศไทยในช่วงนี้ไม่ดีนัก ดังนั้น เกษตรกรต้องมีการปรับตัวไปพร้อมกับสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ก็จะช่วยให้การทำไร่อ้อยมีผลกำไรมากขึ้นและเป็นอาชีพที่ยั่งยืนต่อไป

สวัสดีรับศักราชใหม่กันอีกครั้งครับท่านผู้อ่านที่รักและคิดถึงทุกท่าน เป็นอย่างไรกันบ้างครับในขวบปีที่เพิ่งผ่านไป เป็นปีหนูทองที่ผ่องใสกันไหมครับ ไม่น่าเชื่อเลยว่าในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา พี่น้องหลายๆ พื้นที่ประสบภาวะน้ำท่วมกันจนนาข้าวและพื้นที่ทำกินเสียหายจนหมด มาถึงวันนี้กลับมีคนเอ่ยถึงภัยแล้งตั้งแต่ต้นปีเสียแล้ว แปลกใจนะ กี่ปีมาแล้วที่เราเจอปัญหาเช่นนี้ หน้าฝนก็น้ำท่วม หมดหน้าฝนก็เจอภัยแล้ง เมื่อไหร่เราจะบริหารจัดการน้ำที่ได้มาอย่างมีประโยชน์ มากกว่าปล่อยให้ไหลทิ้งไปหนอ

ในช่วงที่น้ำท่วมไร่นา โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิแถบทุ่งกุลาร้องไห้ ผมเองก็คาดว่าราคาข้าวปีนี้คงเด้งขึ้นมาบ้าง ที่ไหนได้ พอถึงหน้าเกี่ยว ก็ได้ยินว่าราคาข้าวก็เป็นเหมือนเช่นทุกปี ยังเป็นวงจรข้าวเปลือกถูกข้าวสารแพงเช่นเดิม ไม่รู้ว่าจะมีใครมาแก้วงจรนี้ได้ ไม่ใช่เฉพาะราคาข้าวเท่านั้น พืชผลเกษตรที่ราคาต่ำเรี่ยดินมีให้เห็นทุกปี ช่วงไหนหนักๆ ก็จะเห็นมีการประท้วงก็เท่านั้น

ฉบับนี้จะมาชวนคิดชวนคุยเบาๆ ครับ เราลองมาดูราคาพืชผลเกษตรหลักๆ ครับ ข้าวเปลือกราคาไม่ต่างจากทุกปี ยางพารายังราคาไม่กระเตื้อง อ้อยตันละต่ำกว่า 800 บาทให้เห็น มันสำปะหลังยังคงเดิม ข้าวโพดก็ยังไม่ต่าง จะมียิ้มกันได้บ้างก็คงเป็นปาล์มน้ำมัน พอภาครัฐเริ่มงาน โดยใช้มาตรฐานดีเซล B10 เท่านั้น ก็ฉุดราคาผลปาล์มสดขึ้นมาได้ไม่น้อย มารอลุ้นนโยบายหมอนยางพาราอีกครั้งว่าจะอย่างไร และอีกหนึ่งความหวังจากเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าว นั่นคือการนำเข้ามาในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด แต่ยังดีว่า ยังมีตลาดมะพร้าวน้ำหอม ที่นักธุรกิจไทยของเรานำไปเปิดตลาดในจีนได้อย่างสวยงาม

หันไปมองพืชผัก ภาพแรกที่เห็นคือ หอม กระเทียม ที่มองอย่างไรก็ไม่น่าใช่จากแปลงของเกษตรกรไทย ขนาดและราคาที่แตกต่าง ทำเอาเกษตรกรที่ปลูกหอม กระเทียมของไทยต้องขออำลาไปทำอาชีพอื่น ไม่นับสารพัดผักที่เดินทางมาจากประเทศข้างเคียงในละแวกไม่ไกลกัน เกิดคำถามขึ้นมาทันทีว่า เราจะดูแลพี่น้องเกษตรกรไทยกันอย่างไร จึงจะทำให้ผลผลิตที่ออกมาสู้กับราคาพืชผักที่นำเข้ามาได้

ผลไม้ ก็ได้รับผลกระทบไม่น้อย เราได้เห็นผลไม้หลายๆ ชนิดจากต่างประเทศพาเหรดเข้ามาในไทย ด้วยรูปทรงที่สวยงามและราคาไม่แพง อาทิ ส้มหลากหลายสายพันธุ์ เมล่อน ทับทิม พลับ แก้วมังกร มันเทศ เป็นต้น ไม่นับผลไม้ราคาสูงที่วางจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ ภาพเหล่านี้ทำให้เรามองเห็นความเสี่ยงของพี่น้องเกษตรกรไทยได้ไม่น้อย ด้วยต้นทุนที่สูงกว่า ผลผลิตออกมาพร้อมๆ กัน ทำให้ราคาขายต่ำทรุดจนแทบไม่อยากขาย แถมบางปียังมีเจอภัยธรรมชาติอีกต่างหาก

แต่จะว่าเพียงภาพลบก็กระไรอยู่ ในส่วนของผลไม้ ไทยเราก็ยังมีทุเรียนที่ยังพอเชิดหน้าชูตาได้ไม่น้อย มังคุด ส้มโอ ลำไย เดินหน้าไปสร้างชื่อในต่างประเทศได้ไม่น้อย แม้ว่าปีต่อๆ ไปก็มีความสุ่มเสี่ยงที่จะมีคู่แข่ง เพราะประเทศเพื่อนบ้านของเรานำไปปลูกกันไม่น้อยแล้ว จากนี้ไปเราคงต้องมาดูเรื่องคุณภาพผลผลิตเข้าสู้เท่านั้น เพราะประเทศเพื่อนบ้านเขามีต้นทุนที่ถูกกว่า ระยะทางใกล้กว่า ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยถูกกว่าเรา เท่านี้ก็ยากที่จะนำไปแข่งขันแล้ว ยกเว้นคุณภาพสินค้าของเราดีจริงๆ เท่านั้น จึงจะอยู่ได้

ในช่วงปีหมูทองที่ผ่านมา มีเกษตรกรหัวก้าวหน้ากลุ่มหนึ่ง เริ่มนำผลไม้จากต่างประเทศมาทดลองปลูกในไทย และเริ่มมีผลผลิตที่มีรสชาติ ขนาดผล รวมถึงคุณภาพเทียบเท่ากับต้นตำรับ เริ่มมีการปลูกกันมากขึ้น บางแปลงก็มีหลายร้อยหลายพันต้น คาดว่าในปีนี้คงจะมีผลผลิตออกสู่ท้องตลาดไม่น้อย ใช่แล้วครับ ผมกำลังพูดถึงฝรั่ง เสาวรส แก้วมังกร น้อยหน่า พุทรา ส้มโอ ที่เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมาจากเวียดนามและไต้หวัน บางชนิดมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ และมีเติบโต ขยายพันธุ์ที่นี่

ฝรั่งสุ่ยมี่ เป็นสายพันธุ์แรกที่ น้าอ้วน บ้านเกษตรพอเพียง เริ่มนำเข้ามาปลูกและมีผลให้ได้ชิม จากนั้นก็มีสวนสาขาอื่นๆ เริ่มมีผลผลิตมากขึ้น จากนั้นก็ขยับมาเป็นฝรั่งแตงโม เปลือกเขียวเนื้อแดง มีกลิ่นหอม รสหวานอมเปรี้ยว คือเสน่ห์ของสายพันธุ์นี้ และที่ถือว่าบูมสุดๆ ก็คือ พันธุ์หงเป่าสือ ฝรั่งไส้แดงไต้หวันที่มีรสชาติอร่อย หวาน กรอบ หอม เนื้อในสีแดงเข้ม ยิ่งแก่จัดสีแดงแทบจะทะลุเปลือก

ก็มีหลายๆ สวนที่นำไปปลูกขยายพันธุ์กัน เริ่มจาก สวนลุงเล็ก สวนน้าอ้วน และเริ่มขยายไป สวนจ่ามด สวนโจฝรั่งโสด สวนครูโจ๊ก สวนสุชาติ สวนเสี่ยต้น สวนคำใบ สวนน้องหนึ่ง สวนป้าหน่อย สวนน้าเชน ฯลฯ ซึ่งสวนเหล่านี้ปลูกจนได้ผลผลิต ทดสอบและชิมจนแน่ใจแล้วก็เริ่มขยายพันธุ์ทั้งปลูกเองและแบ่งขาย เชื่อว่าปีนี้คงเป็นปีทองของเกษตรและผู้บริโภคฝรั่งแน่นอน

ในขณะที่หลายๆ สวนเริ่มปลูกสายพันธุ์จากไต้หวัน แต่ยังมีอีกหลายสวนยังปลูกฝรั่งกิมจูและฝรั่งไทยไส้แดง เช่น สวนวราภรณ์ ปลูกและดูแลจนผลผลิตมีคุณภาพพอจะส่งขึ้นไปขายบนห้างสรรพสินค้าได้ และยังมีสวนน้อยๆ ที่ปลูกหลากหลายสายพันธุ์ที่เป็นฝรั่งเพาะเมล็ด ทดสอบจนได้ต้นที่มีรสชาติอร่อย มีผลดก ติดผลง่าย ออกผลทั้งปี เช่น สวนเจ๊อ้วนอ่างทอง เริ่มจากได้รับเมล็ดพันธุ์จากพี่เพชร ที่ไต้หวัน และนำมาเพาะ ดูแลจนเห็นผลผลิต ต้นไหนไม่ผ่านก็ตัดทิ้ง คัดสายพันธุ์จนได้ดีก็ตอนกิ่งขยายสายพันธุ์ไป จนเรียกได้ว่า หากนึกถึงฝรั่ง เชื่อว่าในประเทศไทยเรามีฝรั่งหลากหลายสายพันธุ์ไม่น้อยหน้าชาติใดเลย อาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ

มีอยู่วันหนึ่ง ผมไปงานที่เมืองทอง เจอฝรั่งไทยวางขายพร้อมน้ำจิ้ม เฉาะโชว์ไส้แดงเห็นๆ เรียกน้ำย่อย ถามราคา

“ขีดละ 25 บาทจ้า เอากี่ขีดจ๊ะ แถมน้ำจิ้มให้ด้วยจ้า”

โอ้โห! เป็นอย่างไรครับท่านผู้อ่าน พอมองเห็นอะไรไหม ในขณะที่ผู้คนจำนวนมากหันไปปลูกฝรั่งสายพันธุ์ต่างประเทศ แต่ยังมีคนกลุ่มเล็กๆ ที่ยังมุ่งมั่นในสายพันธุ์ไทยที่เราเรียกกันว่า ฝรั่งขี้นก กันอยู่บ้างเหมือนกัน ที่สำคัญได้ราคาดี คนซื้อไม่มีต่อรองราคากันเลย

วันนี้ขออนุญาตเขียนถึงทิศทางในแวดวงเกษตร ที่ผมมองเห็นในปีที่ผ่านมาเท่านั้นนะครับ มิได้ให้มองว่าเป็นมาตรฐานใดๆ เพียงแต่อยากชี้ให้เห็นว่า ในสนามการแข่งขันที่รุนแรงนั้น หากเรามีกลยุทธ์ที่ดี มีอาวุธที่เหมาะสม มีความพร้อมในการลงสนาม เชื่อแน่เลยว่าเราจะไม่พ่ายในสนามนี้แน่นอน

และที่สำคัญ อยากให้แต่ละบ้านปลูกไม้ผล ปลูกผักไว้กินเองครับ พื้นที่มากน้อยมิใช่ประเด็น ขอเพียงจัดให้เหมาะสม มีแดด น้ำ ดิน ปุ๋ย และการใส่ใจ สิ่งที่ได้รับนอกจากจะได้บริโภคผัก ผลไม้ ที่ปลอดภัยแล้ว เรายังได้ความภาคภูมิใจในผลผลิตที่เราปลูกเอง กินเองได้แน่นอน สนใจเรื่องสายพันธุ์ หรือติดขัดตรงไหน โทร.มาสอบถามกันได้ครับ (099) 254-6542 ยินดีตอบทุกคำถามครับ ขอให้ทุกท่านมีความสุขในปีหนูทองนะครับ สวัสดีครับ

จากสภาพอากาศเย็น มีหมอกในตอนเช้า และมีความชื้นสูงระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศเฝ้าระวังโรคใบไหม้ ที่สามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของมะเขือเทศ เริ่มแรกจะพบอาการของโรคที่ใบล่างก่อน และด้านบนใบพบแผลฉ่ำน้ำสีเขียวหม่นคล้ายถูกน้ำร้อนลวก ต่อมาแผลจะขยายใหญ่ตรงกลางแผลแห้งเป็นสีน้ำตาล บริเวณขอบแผลฉ่ำน้ำมีสีดำ เมื่อพลิกดูด้านใต้ใบบริเวณตรงกันจะพบส่วนของเชื้อราสาเหตุโรคสีขาว และแผลจะลุกลามออกไปทำให้ใบไหม้แห้งเป็นสีน้ำตาลในที่สุด

หากสภาพแวดล้อมเหมาะสมมีความชื้นสูง หรือในสภาพที่มีหมอกลงจัด โรคจะลุกลามอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้จะพบอาการโรคที่ส่วนของลำต้น กิ่ง และผล หากเกิดแผลที่ลำต้นหรือโคนกิ่ง จะทำให้ส่วนยอดแสดงอาการเหี่ยวเฉา เนื่องจากพืชไม่สามารถลำเลียงน้ำและอาหารได้ ต่อมากิ่งหรือต้นจะแห้งตาย หากโรคเข้าทำลายที่ผลจะทำให้ผลเน่า

เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบโรคให้พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไดเมโทมอร์ฟ 50% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 20-30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไซมอกซานิล+แมนโคแซบ 8%+64% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50-60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารแมนโคเซบ+เมทาแลกซิล-เอ็ม 64%+4% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 30-40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

หรือสารไอโพรวาลิคาร์บ+โพรพิเนบ 5.5%+61.3% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 40-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นให้ทั่วทั้งบนใบและใต้ใบ ทุก 5-7 วัน และไม่ควรพ่นสารชนิดใดชนิดหนึ่งต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ควรใช้สลับชนิด เพื่อป้องกันการดื้อยาของเชื้อราสาเหตุโรค

สำหรับในแปลงที่พบการระบาดของโรค สมัครเว็บจีคลับ หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ให้เกษตรกรเก็บซากพืชไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก จากนั้น ให้ไถพรวนดินและตากดินไว้นานกว่า 2 สัปดาห์ และใส่ปูนขาวเพื่อจะช่วยลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรคในดินลงได้มาก อีกทั้งควรปรับระยะปลูกไม่ให้แน่นเกินไป

กรณีปลูกมะเขือเทศแบบยกค้าง ควรตัดแต่งใบล่างให้โปร่ง เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค ส่วนต้นที่เป็นโรครุนแรง ควรถอนนำไปทำลายนอกแปลง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแพร่ระบาดของโรค หลีกเลี่ยง การปลูกมะเขือเทศในพื้นที่ที่เคยมีการระบาดของโรคนี้มาก่อน งดการให้น้ำ ในตอนเย็น และไม่ให้น้ำมากเกินไป ส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการเกษตรเมื่อใช้ในแปลงที่มีการระบาดแล้ว ควรนำมาทำความสะอาดด้วยการล้างและผึ่งแดดให้แห้งก่อนนำกลับไปใช้ในแปลงทุกครั้ง

“ละมุดท่าทอง” นับเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของชาวบ้านตำบลท่าทอง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย มาตั้งแต่สมัยอดีต ดั่งคำขวัญประจำตำบลท่าทอง ที่ว่า “ถิ่นละมุดสุดหวาน” ละมุดท่าทอง มีจุดเด่นในเรื่อง มีรสชาติหวานอร่อย มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของผู้บริโภค หากใครต้องการชิมละมุดรสอร่อยที่สุด ต้องรอผลผลิตในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ เพราะละมุดพันธุ์มะกอกรุ่นนี้จะมีรสหวานจัด หอม ผลสีแดง เนื้อกรอบ ถูกใจผู้บริโภค

ในอดีต ชาวบ้านในพื้นที่ตำบลท่าทองก็ทำนาปลูกข้าวเป็นอาชีพหลัก ต่อมามีเกษตรกรบางรายหันมาปลูกละมุดแล้วได้ผลผลิตที่ดี ต่อมา วัดหนองโว้ง ตำบลท่าทอง อำเภอสวรรคโลก ได้จัดประกวดผลผลิตละมุดเป็นประจำทุกปี ทำให้ชาวบ้านตื่นตัวหันมาปลูกละมุดกันมากขึ้น โดยเฉพาะละมุดพันธุ์มะกอก ที่มีลักษณะเด่นคือ ผลรูปร่างกลมใหญ่ ผลสุกมีสีน้ำตาลออกแดง รสหวาน เนื้อผลแข็งและกรอบ แต่ผลผลิตไม่ค่อยดกสักเท่าไร

ละมุดสามารถปลูกได้ทั่วไป การปลูกละมุดนั้นไม่ยุ่งยากเลย รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก เอากิ่งตอนปลูกในระยะห่างประมาณ 4 วา ปลูกได้เฉลี่ยไร่ละ 40 ต้น คอยดูแลให้น้ำสม่ำเสมอ ต้นละมุดจะออกดอกครั้งแรกเมื่อต้นอายุ 3 ปี หลังจากนั้น ก็เก็บผลผลิตออกขายได้เฉลี่ยปีละ 6 เดือน

ละมุดไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงจนถึง 20 เมตร เส้นรอบวงของลำต้น 105 เมตร กิ่งก้านเหนียว แข็งแรง ใบรูปหอก สีเขียว ขอบใบพลิ้ว หากดูแลตัดแต่งกิ่งหลังเก็บเกี่ยวอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ต้นละมุดติดดอกออกผลตลอดทั้งปี ราคาขายส่งหน้าสวน โดยเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 4-12 บาท แต่บางปีช่วงที่มีต้นละมุดมีผลผลิตออกสู่ตลาดไปชนกับผลไม้ชนิดอื่น ก็ทำให้ขายละมุดไม่ค่อยได้ราคา ดังนั้น ทางออกของชาวสวนละมุดหลายรายในวันนี้คือ ปลูกกล้วยหอม ไม้ผลอื่นๆ และนำเศษไม้ในสวนมาเผาถ่านและน้ำส้มควันไม้ ขายเพื่อเป็นรายได้เสริมเลี้ยงครอบครัวอีกทางหนึ่ง