พืชเศรษฐกิจทำเงินการผลิตเครื่องสำอางและการทำมะพร้าวสกัด

เย็นแบบภูมิปัญญาไทย คราวที่แล้วเป็นตอนจบของการบรรยายในช่วงแรกที่ว่าด้วยเรื่องการปลูก การดูแล การเก็บผลผลิต สำหรับเล่มนี้จะเริ่มต้นประเด็น “การแปรรูป และการตลาดมะพร้าวยุคใหม่” ในรูปแบบต่างๆ ทั้งความสำคัญของมะพร้าวในครัวเรือน การสร้างนวัตกรรมจากมะพร้าวที่เป็นขนม เครื่องดื่ม ฯลฯ ด้วยการส่งขายทั้งในและต่างประเทศ จนเป็นที่ยอมรับจากหลายประเทศว่ามะพร้าวไทยสุดยอดจริง

ในการบรรยายช่วงที่สองนี้ได้รับเกียรติจากวิทยากรหลากหลายสาขาที่มีประสบการณ์ด้านการบริหารธุรกิจในวงการมะพร้าวและมีชื่อสินค้าที่หลายท่านต้องรู้จัก ไม่ว่าจะเป็นกะทิชาวเกาะ หรือแม้แต่แบรนด์มะพร้าวสดอย่าง all coco

เพราะฉะนั้น อย่าเสียเวลาเลย ไปพบกับวิทยากรท่านแรก ซึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจจำหน่ายมะพร้าวน้ำหอมสดส่งขายในรูป “ตลาดผลสดและการแปรรูป” โดย คุณวราภรณ์ มนัสรังสี ประธาน บริษัท ออล โคโค กรู๊ป จำกัด ทั้งนี้ คุณวราภรณ์ เป็นธุรกิจที่ผลิตและแปรรูปมะพร้าวครบวงจร มีพื้นที่ปลูกมะพร้าวทั้งของตัวเองและในกลุ่มสมาชิกรวมแล้วกว่าหมื่นไร่ สามารถผลิตมะพร้าวได้กว่าแสนลูกต่อวันเพื่อส่งขายทั้งตลาดไทย/ต่างประเทศมานานกว่า 10 ปี ในจำนวน 30 กว่าประเทศ

คุณวราภรณ์ กล่าวว่า การเก็บมะพร้าวสด เมื่อตัดแล้วจะส่งเข้าโรงงานทันที สำหรับโรงงานแห่งแรกซึ่งเป็นธุรกิจหลักคือชื่อแบรนด์ “K FRESH” ที่ส่งออกมะพร้าวน้ำหอมผลสดไปตลาดต่างประเทศ ทั้งนี้ อาชีพจะมีลักษณะตั้งรับเสียมากกว่า ไม่ว่าจะต้องปรับขนาดผลให้เท่ากัน ลักษณะผลต้องมีความสมบูรณ์ จะเบี้ยวหรือผิดรูปไม่ได้ หรือมีตำหนิก็ไม่ได้

ฉะนั้น จึงไม่สามารถรองรับผลมะพร้าวจากเกษตรกรทุกกลุ่มและทุกฤดูกาลด้วย จึงหาวิธีการด้วยการแปรรูปผลิตภัณฑ์มะพร้าวน้ำหอมในชื่อแบรนด์ all coco โดยเป็นการนำมะพร้าวผลสดเข้าสู่กระบวนการเป็นมะพร้าวบรรจุขวด เป็นการผลิตด้วยการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่ไม่ต้องผ่านความร้อน จึงทำให้เป็นน้ำมะพร้าวแท้ 100 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้น ยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่นำมะพร้าวน้ำหอมมาสร้างมูลค่าโดยยังคงอัตตลักษณ์ในความหอม หวาน ตามธรรมชาติอยู่เหมือนเดิม

สำหรับผลิตภัณฑ์แบรนด์ all coco จะเน้นการแปรรูปแบบแช่เย็น ถือว่าเป็นบริษัทน้องใหม่ในเวลาเพียง 3 ปี แต่กล้าที่จะบุกตลาดทั้งในและต่างประเทศเพราะต้องการสร้างมูลค่าและชื่อเสียงมะพร้าวน้ำหอมของไทยให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก

“ขณะเดียวกัน การประกอบธุรกิจที่ผ่านมาได้รับการยินยอมในเรื่องมาตรฐาน ตั้งแต่การปลูก การดูแล การเก็บผลผลิต รวมไปถึงการขนส่ง อีกทั้ง all coco ยังได้เป็น Coconut café ที่มีอยู่จำนวน 15 สาขา เพื่อเป็นหน้าต่างบานใหญ่ที่แสดงให้ชาวต่างชาติได้รู้ ได้เห็น ว่าผลิตภัณฑ์ all coco สามารถจำหน่ายได้ในตลาดโลก นอกจากนั้น ยังมีงานบริการ ตลอดจนผลิตภัณฑ์ใหม่ของมะพร้าวน้ำหอมที่ต้องการจะเพิ่มมูลค่าให้แก่เกษตรกร”

สำหรับตลาดมะพร้าวน้ำหอมจะปลูกเท่าไรก็ขายได้ แต่ต้องบอกก่อนว่าเฉพาะมะพร้าวที่มีคุณภาพเท่านั้น ไม่ใช่ทุกผลจะขายได้ สำหรับเกษตรกรที่ปลูกอย่างมีคุณภาพก็สามารถขายได้ราคาดีเพราะเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งใน/ต่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นที่น่าภาคภูมิใจเพราะเป็นไม้ผลที่สามารถปลูกได้อร่อยเพียงแห่งเดียวในโลก

ในส่วนธุรกิจที่ทำอยู่มี 2 แบบ คือผลสดกับแปรรูป แล้วอย่างที่บอกไปในเบื้องต้นว่าผลสดเป็นงานตั้งรับมากกว่าการแปรรูปที่ต้องใส่ใจในเรื่องขนาดผล ลักษณะรูปร่างผล รสชาติความหวาน อายุการเก็บเกี่ยว รวมถึงปริมาณผลผลิตที่สวนทางกับความต้องการของตลาดอีกด้วย ตัวอย่างเช่น ในช่วงประมาณเดือนมีนาคม-พฤษภาคม เป็นช่วงเวลาที่ตลาดต่างประเทศมีอุณหภูมิสูงจึงต้องการดื่มน้ำมะพร้าวกันมาก แต่ทางบ้านเรากลับเป็นจังหวะที่มะพร้าวขาดและมีราคาแพง

ดังนั้น สรุปได้ว่าถ้าเป็นเรื่องผลสดจะเป็นงานที่ตั้งรับ ส่วนงานแปรรูปจะเป็นงานเชิงรุกเพราะสามารถรองรับมะพร้าวของชาวสวนได้ในทุกสภาพหรือทุกฤดูกาล แม้แต่ในช่วงที่มะพร้าวล้นตลาดก็ตาม ทั้งนี้ เพราะคนทั่วโลกรับรู้ถึงประโยชน์ของมะพร้าวว่าดีอย่างไร เพราะฉะนั้น ธุรกิจมะพร้าวจะเป็นเรื่องการจำหน่ายในประเทศและการส่งออก

การปลูกมะพร้าวเพื่อขายผลผลิตอาจไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่มากมายเช่นเดียวกับการทำเชิงพาณิชย์ เพราะชาวบ้านทั่วไปก็สามารถหาประโยชน์จากการปลูกมะพร้าวขายได้ ในกรณีที่ชาวสวนมีที่ดินเล็กๆ อยู่แปลงหนึ่งเมื่อปลูกมะพร้าวแล้วบริหารจัดการให้ดีก็สามารถเป็นเจ้าของธุรกิจได้ เพราะเมื่อมีผลผลิตเก็บใส่รถนำไปขายตามสถานที่ต่างๆ เพื่อหารายได้เป็นของตัวเอง

“หรือบางรายถ้ามีที่ดินมากก็สามารถปลูกแล้วเก็บผลผลิตเองนำไปส่งขายที่ตลาดผลไม้ขนาดใหญ่ อย่างตลาดไทหรือสี่มุมเมือง โดยไม่จำเป็นต้องขายผ่านคนกลาง เพราะยังไงมะพร้าวก็ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคอยู่แล้ว เพียงแต่ขอให้ปลูกอย่างใส่ใจเท่านั้น”

สำหรับ K FRESH เองยินดีรับผลมะพร้าวสดจากชาวสวนทุกท่าน เพียงแต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขข้อตกลงการปลูกที่มีคุณภาพ จากนโยบายของบริษัทที่ตั้งใจจะดูแลชาวสวนทุกราย จะใช้มะพร้าวทุกลูก ดังนั้น ทาง K FRESH จะทำการวิจัยและพัฒนาเพื่อแปรรูปมะพร้าวน้ำหอม ซึ่งขณะนี้จำนวนยอดที่ส่งออกขายในรูปแบบต่างๆ ตามความต้องการและแผนการตลาดต่างประเทศ อีกทั้งทาง all coco Shop ยังมีสินค้าที่พยายามเพิ่มมูลค่าของมะพร้าวที่ไม่เพียงแค่น้ำมะพร้าว แต่ต้องการนำเนื้อมะพร้าวมาใช้ประโยชน์ให้ได้อย่างเต็มที่ด้วย

ได้มีการพยากรณ์คาดการณ์ว่าในอีกสองปีข้างหน้าตลาดมะพร้าวจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างมาก แล้วหากเป็นเช่นนั้นการเจริญเติบโตในตลาดโลกย่อมมีแน่นอน หรือหากมองย้อนหลังไปเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาอัตราการบริโภคน้ำมะพร้าวในตลาดโลกยังสูงถึง 88 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งน้ำมะพร้าวที่บริโภคในอังกฤษมาจากไทย ทั้งนี้ เพราะไทยถือเป็น 1 ใน 5 ประเทศที่สามารถผลิตมะพร้าวส่งออกติดตลาดโลก

“จึงหมดห่วงเรื่องตลาดในต่างประเทศเพราะผลิตเท่าไรก็ไม่พอ ยิ่งถ้าคาดการณ์ล่วงหน้าอีก 3 ปีแล้วก็จะมีความต้องการเท่าทวีคูณเลย แต่ประเด็นปัญหากลับอยู่ที่ต้นน้ำคือผู้ปลูก เพราะถ้ากำหนดราคาสูงมากเกินไปก็จะกระทบกับผู้แปรรูปที่เป็นกลางน้ำ แล้วยังไปกระทบกับการตลาดที่เป็นปลายน้ำอีกด้วย”

หากทุกฝ่ายมองว่าต้องการให้อุตสาหกรรมมะพร้าวน้ำหอมยังคงอยู่ต่อไปนานๆ แล้วควรจะมาหารือร่วมกันเพื่อจะทำให้ทุกฝ่ายมีความสมดุล สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างถ้อยที ถ้อยอาศัย เพราะมิเช่นนั้นผู้ประกอบการอาจย้ายฐานการผลิตไปตั้งที่ประเทศอื่น ถ้าเป็นเช่นนั้นจะทำให้พวกเราเดือดร้อนอย่างหนักแน่

ความจริงแล้วเกษตรกรชาวสวนมะพร้าวไทยเก่งมาก มีทักษะและความชำนาญต่อการปลูกมะพร้าวเป็นอย่างดี ทางบริษัทมีหน้าที่เข้าไปส่งเสริมแล้วสร้างมาตรฐานให้มีคุณภาพเพื่อจะได้ส่งออกไปขายได้อย่างราบรื่น แต่สิ่งที่กังวลมากคือทำอย่างไรให้ผลผลิตมีต่อเนื่องโดยไม่ขาดระยะ เพราะถ้าทำได้จริงพี่น้องจะมีรายได้อย่างต่อเนื่องด้วย

รวมถึงงานวิจัยหลายชิ้นที่น่าสนใจแต่กลับนำไปเก็บไว้โดยไม่นำมาใช้ประโยชน์ จึงฝากผ่านทางภาครัฐตลอดรวมถึงองค์กรต่างๆ ร่วมมือกันเข้ามาช่วยเกษตรกรชาวสวนมะพร้าว เพื่อสร้างคุณภาพมาตรฐานมะพร้าวไทยให้ไปยืนบนเวทีโลกได้อย่างยั่งยืน แล้วเมื่อนั้นปลูกมะพร้าวเท่าไรก็ไม่พอ

“สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจมาร่วมงานสัมมนามะพร้าวในคราวนี้ หวังว่าข้อมูลที่ทางบริษัทได้นำเสนอออกไปน่าจะบอกเล่าแล้วเกิดประโยชน์ต่ออาชีพของท่านด้วย” คุณวราภรณ์ กล่าว

ความสำคัญของมะพร้าวไม่เพียงแค่การบริโภคที่สร้างความสดชื่น แถมยังมีคุณค่าทางโภชนาการต่อร่างกาย แต่ด้วยคุณสมบัติพิเศษที่มีเฉพาะของมะพร้าวยังนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางใช้ประทินผิว ช่วยถนอมผิวให้มีความเปล่งปลั่ง สดชื่น ดังนั้น ถ้าท่านใช้มะพร้าวบริโภคด้วย ใช้เป็นเครื่องสำอางด้วย คงทำให้สุขภาพมีแต่ความสมบูรณ์

สำหรับ คุณบุปผา ไวยเจริญ ได้คลุกคลีกับผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะพร้าวในลักษณะเครื่องสำอางในนาม กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะพร้าวในลักษณะเครื่องสำอาง น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น แล้วใช้เวลาเพียง 2 ปีกว่าก็สามารถสร้างกลุ่มวิสาหกิจได้อย่างเข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ แล้วสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน “การผลิตเครื่องสำอาง และการทำมะพร้าวสกัดเย็นแบบภูมิปัญญาไทย”

คุณบุปผา รับหน้าที่เป็นประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรสวนนอก จังหวัดสมุทรสงคราม ได้กล่าวว่า เมื่อปี 2555 เกิดสภาวะราคามะพร้าวตกต่ำแล้วเป็นช่วงเดียวกันกับที่ตัวเองได้เดินทางกลับมาภูมิลำเนาเดิม ภายหลังจากก่อนหน้านี้เคยทำงานเป็นพนักงานประจำมากกว่า 10 ปี ซึ่งในช่วงที่มะพร้าวราคาตกต่ำก็เลยหาทางคิดแก้ไข แต่ได้มีโอกาสได้เดินทางไปที่สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม ได้ไปดูงานที่ชลบุรี ได้ไปดูการแปรรูปมะพร้าวในรูปแบบต่างๆ จนไปสนใจเรื่องการทำมะพร้าวสกัดเย็น แล้วจึงไปอบรมจนกลับมาลองทำที่บ้านก็ไม่สำเร็จ แล้วยังมีกลิ่นอยู่ ได้ลองอยู่หลายครั้งก็ไม่ประสบผล

จนกระทั่งไปเจอผู้สูงอายุท่านหนึ่งในพื้นที่ที่มีภูมิปัญญาการผลิตน้ำมะพร้าวสกัดเย็นแบบดั้งเดิม จึงไปขอถ่ายทอดองค์ความรู้แล้วประสบความสำเร็จในที่สุด สามารถแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง น้ำมะพร้าวที่สกัดแล้วมีกลิ่นหอม จึงถือว่าหมดปัญหาไป

“แต่คราวนี้ปัญหาใหม่เข้ามาอีกคือถ้าผลิตแล้วจะไปขายให้ใคร ก็เลยต้องไปรบกวนทางเกษตรจังหวัดอีกรอบ จึงได้ทางออกด้วยการตั้งเป็นกลุ่มขึ้นมาแล้วนำไปขายตามหน่วยงานต่างๆ หรือนำสินค้าไปออกร้านก็ได้รับความสนใจ แต่คำถามจากลูกค้าบ่อยที่สุดคือไม่มีสินค้าชนิดอื่นมาขายด้วยหรือ?? จากนั้นจึงพยายามหาวิธีคิดค้นเพื่อผลิตสินค้าชนิดอื่นด้วย”

ขณะเดียวกัน ได้ทราบข่าวแล้วเข้าไปอบรมหลักสูตรเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่สาขาธุรกิจความงามและสุขภาพ ภายใต้โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (New Entrepreneurs Creation : NEC) ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกระทรวงอุตสาหกรรม และได้ไปเรียนรู้หลักสูตรเกี่ยวกับการแปรรูปผลผลิตจากน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นเป็นเครื่องสำอางผสมสมุนไพรอีกหลายหลักสูตรและหลายสถานที่ เช่น มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน ฯลฯ

จากนั้นจึงเริ่มผลิตน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นเป็นอันดับแรก โดยใช้เองในครัวเรือนและแจกจ่ายให้เพื่อนบ้านกับคนรู้จักทดลองใช้ พบว่าเป็นที่ประทับใจของทุกคน จึงได้ดำเนินการตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรสวนนอก ขึ้นมา โดยให้คนในชุมชนที่สนใจมารวมกลุ่มเป็นสมาชิก และเริ่มผลิตออกจำหน่าย

แต่เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตรายใหญ่ได้ ทางกลุ่มจึงใช้วิธีการนำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นมาแปรรูปในรูปแบบของเครื่องสำอาง เช่น โลชั่นบำรุงผิว ลิปบาล์ม สบู่สมุนไพร สครับขัดผิว ฯลฯ อีกช่องทางหนึ่ง

วิธีการทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นของกลุ่มจะใช้รูปแบบของการอิงราคามะพร้าวในตลาดเป็นหลักคือ หากช่วงใดมะพร้าวราคาถูก กลุ่มจะผลิตน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นเก็บไว้จำนวนมาก และหากช่วงใดมะพร้าวราคาแพง กลุ่มจะลดจำนวนการผลิตลงและเน้นการขายผลมะพร้าวมากกว่า

โดยผลกำไรที่ได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ส่วนหนึ่งจะนำมาขยายพื้นที่การผลิตจัดซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นในการผลิต และขยายกิจการโดยไม่มีการกู้เงินจากแหล่งเงินทุนใดๆ

นอกจากนี้ กลุ่มยังเปิดให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ และเปิดอบรมสอนวิธีการผลิตน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพื่อเผยแพร่ความรู้ในการผลิตน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นให้เป็นที่แพร่หลาย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในครัวเรือนของประชาชนทั่วไป และเพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ในครัวเรือนอีกช่องทางหนึ่ง

“เมื่ออบรมอย่างเข้มข้นจนจบแล้วจึงนำมาถ่ายทอดให้แก่สมาชิกแล้วขอความร่วมมือไปยังหน่วยงานราชการให้ช่วยดูแลเรื่องการตลาด จนมีโอกาสเข้าไปแข่งขันโอท็อปเพื่อจะช่วยเรื่องการยกระดับมาตรฐานสินค้า จนได้เริ่มลงทำกันอย่างจริงจังเมื่อปี 2557 แล้วไปลงทะเบียนคัดสรรเป็นโอท็อปเมื่อปี 2558 จนเมื่อเข้าปี 2559 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโอท็อประดับ 5 ดาว ในส่วนการผลิตโลชั่นบำรุงผิว”

ต้องบอกว่าการจะทำผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้นั้นจะต้องเริ่มต้นที่มะพร้าวสกัดเย็นก่อน แล้วที่ประสบความสำเร็จได้ก็เป็นเพราะเกิดจากภูมิปัญญาของผู้สูงอายุที่สืบทอดกันมายาวนาน ดังนั้น จึงถือเป็นความสำเร็จบนฐานของแนวคิดแบบวิถีชาวบ้าน

จึงขอแนะนำวิธีและขั้นตอนคร่าวๆ สำหรับการผลิตน้ำมะพร้าวสกัดเย็น ซึ่งทุกท่านสามารถทำเข้าความเข้าใจพร้อมกับทดลองทำไว้ใช้เองในครัวเรือน แล้วหากทำไปนานๆ จนเกิดความชำนาญก็สามารถต่อยอดนำไปประกอบเป็นอาชีพเสริมได้

อย่างแรกคือการหาอุปกรณ์สำหรับขูดมะพร้าวก่อน จะใช้กระต่ายแบบดั้งเดิม หรืออุปกรณ์ขูดสมัยใหม่ก็ได้ตามความถนัด เพียงแต่ต้องบอกก่อนว่าระหว่างขูดมะพร้าวอย่าให้กะลาสีดำติดมา ควรให้เป็นเนื้อมะพร้าวสีขาวล้วน มิเช่นนั้นเมื่อนำไปสกัดแล้วสีจะไม่ใส แลดูไม่สวย

“มะพร้าวที่ใช้ในอัตรา 1 ต่อ 1 คือถ้าต้องการใช้มะพร้าว 1 กิโลกรัม ก็ให้ผสมน้ำ 1 กิโลกรัมเช่นกัน แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะเริ่มต้นที่มะพร้าวจำนวน 3 กิโลกรัมเป็นขั้นต่ำ ทั้งนี้ ต้องเป็นน้ำต้มสุกเท่านั้น”

จากนั้นให้คั้นจนความมันของกะทิหมด (เหมือนคั้นน้ำกะทิทำอาหาร/ขนม) แล้วให้กรองด้วยผ้าขาวบาง 1 ครั้ง จากนั้นนำน้ำกะทิใส่ถุงพลาสติกมัดให้แน่นนำไปใส่ตู้เย็นในช่องธรรมดา ให้แช่ทิ้งไว้เป็นเวลา 3 วัน เมื่อครบกำหนดนำออกมาจะสังเกตได้ว่ามีการแยกชั้นของกะทิและน้ำเป็นชั้น

เจาะน้ำออกให้หมดจนเหลือเพียงหัวกะทิแล้วนำไปใส่ภาชนะตั้งไว้ในอุณหภูมิปกติราว 4-5 ชั่วโมง จากนั้นค่อยๆ ช้อนส่วนที่เป็นน้ำมันออกมา โดยต้องระวังอย่าให้น้ำติดมาเพราะมิเช่นนั้นจะเหม็นหืน

สำหรับมะพร้าวที่นำมาสกัดเย็นควรเป็นมะพร้าวที่แก่จัด ห้ามใช้มะพร้าวที่มีจาวอยู่ด้านใน ควรสังเกตผิวมะพร้าวให้เป็นสีก้ามปูเพราะมีความหอมมาก อีกทั้งควรเป็นมะพร้าวที่เก็บมาใหม่ๆ แล้วอย่าปล่อยทิ้งไว้นานเพราะจะสูญเสียความหอม

จากกระบวนการผลิตน้ำมะพร้าวสกัดเย็นจะเห็นว่าเป็นขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากนัก เป็นวิธีแบบชาวบ้าน โดยอาจจะมีเพียงขั้นตอนการตักมะพร้าวแยกออกจากน้ำที่ต้องใช้ความระมัดระวัง อีกอย่างหนึ่งเมื่อตักน้ำมันออกจากน้ำแล้วควรจะรีบนำใส่ภาชนะทันที ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน

“อย่างไรก็ตาม ที่กลุ่มยังเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ด้วย ฉะนั้น หากคราวนี้ที่มาพูดยังมีข้อมูลไม่ชัดเจน หรือต้องการรู้ลึกและรู้ละเอียด ขอเชิญไปอบรมที่กลุ่มได้ เพราะมีหลายหลักสูตรที่ท่านต้องชื่นชอบ และการอบรมอาจมีค่าใช้จ่ายบ้างเล็กน้อย สุดท้ายนี้ขอขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมสัมมนาในครั้งนี้” คุณบุปผา กล่าว

ผู้ใช้เส้นทาง หมายเลข นม.3052 ที่เชื่อมต่อระหว่างวังน้ำเขียวกับเขาใหญ่ จะคุ้นตากับ ร้านอาหาร Hills Country Steak & bbq ร้านนี้อยู่ใกล้กับที่พักรถ อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า อ่างเก็บน้ำบ้านสันกำแพง

เจ้าของร้านคือ คุณพิศักดิ์ หรือ คุณนิด ขำแก้ว บริเวณนั้นเรียกว่าบ้านบุเจ้าคุณ ตำบลวังหมี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา เมื่อสมัยยังเป็นหนุ่มน้อย หลังเรียนจบมัธยมต้นจากจังหวัดราชบุรี คุณนิดไปเรียนต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ที่เกษตรจันทบุรี จากนั้นมาจบระดับปริญญาตรีที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ทางด้านบริหารธุรกิจเกษตร

เก็บเกี่ยวประสบการณ์ มาลงตัวที่ ร้านอาหาร

หลังเรียนจบ คุณนิดทำงานเกี่ยวกับการเกษตรอยู่ 5-6 เดือน จากนั้นเข้าสู่บริษัทอุตสาหกรรม ทำเกี่ยวกับซับพลายเชน ตามที่ได้เล่าเรียนมา เขาเปลี่ยนที่ทำงาน 4-5 บริษัท ด้วยกัน ซึ่งเป็นบริษัทข้ามชาติ ด้วยเหตุนี้ บริษัทแม่ ได้ส่งเขาไปประจำในต่างประเทศ เช่น ที่สิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกา ครั้งหนึ่ง 6 เดือน ถึง 1 ปี

เมื่อปี 2550 เขาลาออกจากงาน แต่ก็ยังรับเป็นที่ปรึกษาอยู่บ้าง สาเหตุที่ลาออกเขาอยากหางานอิสระทำ จึงมาตั้งหลักปักฐานอยู่ที่วังน้ำเขียว เริ่มต้นเมื่อ 8 ปีที่แล้ว

เขามาทำร้านอาหาร Hills Country Steak & bbq “ผมชอบทานสเต๊ก ตอนไปอยู่เท็กซัส อเมริกา รวมทั้งรัฐอื่นๆ ก็ได้ไปชิมสเต๊กขึ้นชื่อ ที่สำคัญมากนั้นผมได้ไปเรียนการทำสเต๊กจากเพื่อนที่อเมริกา เขามีธุรกิจทางด้านนี้ จึงมาเปิดร้าน” คุณนิด เล่า

งานขายร้านคุณนิดได้อิงฤดูกาลท่องเที่ยว คือช่วงเดือนตุลาคม-มีนาคม ช่วงนี้ยอดขายดีมาก แต่ผ่านเดือนมีนาคม เข้าสู่เมษายน ฝนเริ่มลง คนลดน้อยลง ก็ต้องพักการขาย ก่อนหน้านี้ช่วงพัก คุณนิดพักจริงๆ มีขายกาแฟบ้าง ช่วงหลังจึงเริ่มคิดทำการเกษตร เพราะตนเองมีพื้นฐานทางด้านการเกษตร

ดูงานของเพื่อนมา 8 ปี มั่นใจจึงลงมือ

คุณนิด มองหางานเกษตรทำ แต่สุดท้ายมาลงเอยที่เมล่อน

เขาให้เหตุผลที่ปลูกเมล่อนว่า เป็นพืชใช้พื้นที่ปลูกน้อย ให้ผลตอบแทนสูง อายุสั้น แต่กว่าที่จะลงมือ เขาไปดูแปลงปลูกของเพื่อน คุณกิตติ แท่นเล็ก สวนไทยเมล่อน จังหวัดอ่างทอง ไปๆ มาๆ อยู่เป็นเวลา 8 ปี จึงเริ่มลงมือเมื่อเดือนตุลาคม 2559

อย่างที่บอกว่าเป็นพืชอายุสั้นนั่นแหละ เพียงปีเดียว เขาปลูกเมล่อนไป 3 รอบแล้ว “ผมมี 3 โรงเรือน ใช้พื้นที่ 2 งาน เหตุที่ทำ 3 โรงเรือน เพราะพลาสติกม้วนหนึ่งซื้อมา ใช้กับโรงเรือน 3 โรงพอดี ไม่ขาดไม่เกิน ขนาดของโรงเรือน กว้าง 6.20 เมตร ยาว 30 เมตร โครงเป็นเหล็กแป๊บชุบกาวาไนท์ อยู่ได้ 30 ปี แต่พลาสติกม้วนหนึ่ง 30,000 บาท (3 หมื่น) อายุการใช้งาน 5 ปี แรกๆ ไปดูโรงเรือน ราคาโรงละ 60,000 บาท (6 หมื่น) มาทำจริง 100,000 บาท (1 แสน) ระบบน้ำทำต่างหาก ที่แพงขึ้นเพราะวัสดุขึ้นราคา” คุณนิด อธิบายเรื่องโรงเรือน

ปลูกโรงเรือนละ 420 ต้น

เมล่อนในโรงเรือน คุณนิดยกแปลง ใช้พลาสติกคลุม แล้วก็ปลูก มีเกษตรกรบางรายปลูกในถุง โดยใช้วัสดุผสมขึ้นมาใหม่ ซึ่งทั้งสองอย่างมีข้อแตกต่างกัน

การยกแปลงปลูก ดีตรงที่ในดินมีธาตุอาหารรองที่พืชขาดไม่ได้

ขณะที่ปลูกในถุง ผลแตงเล็กกว่าปกติ 10-20 เปอร์เซ็นต์

พันธุ์ที่ปลูกชื่อ “เอมี่” เป็นลูกผสมของสวนไทยเมล่อน ผลมีขนาด 1.5-2.5 กิโลกรัม เนื้อสีส้ม ผิวผลเป็นตาข่าย รสหวาน เนื้อกรอบ ความหวานเฉลี่ย 14 บริกซ์ แต่เคยสูงถึง 16 บริกซ์

พันธุ์อื่นมีเนื้อสีเขียว และพันธุ์ผิวสีเหลือง ปลูกเมล่อนในโรงเรือนต้องช่วยผสมเกสร

“เมล่อนมีแขนงเยอะมาก ดอกตัวผู้กับดอกตัวเมียแยกกัน ซึ่งอยู่ตรงแขนง…ปลูกในโรงเรือนจำเป็นต้องช่วยผสมเกสร เราเลือกแขนงที่เป็นตัวเมีย แขนงที่ 8-12 รวมแล้ว 5 แขนงด้วยกัน ใช้เกสรตัวผู้มาผสม เมื่อติดแล้ว เลือกเอาแขนงเดียว เหลือไว้ลูกเดียวนั่นเอง เคยไว้ 2 มีค่าเท่ากับลูกเดียว เพราะลูกเล็ก”

คุณนิด อธิบายและบอกอีกว่า

“ตั้งแต่เพาะกล้าจนเก็บผลผลิตได้ ใช้เวลา 90 วัน ตั้งแต่เพาะกล้าจนนำลงปลูก ใช้เวลา 14 วัน ผมปลูกเมล่อนใช้ระยะระหว่างต้น 40 คูณ 40 เซนติเมตร โรงเรือนหนึ่งปลูกได้ 420 ต้น พื้นที่บางส่วนเป็นทางเดิน” การดูแลสำคัญมาก

คุณนิด บอกว่า หากอยากปลูกเมล่อนแล้วไม่มีเวลาดูแล ให้ลูกน้องดูแลแทนจะไม่ประสบผลสำเร็จ

เรื่องของปุ๋ยสำคัญไม่น้อย เจ้าของให้ทุกวัน โดยผสมน้ำแล้วปล่อยไปกับสายน้ำ

เมล่อนระยะเล็กๆ (ต้นกล้า) ให้ปุ๋ย 0.5 กรัม ต่อต้น ต่อวัน เป็นสูตร 20-20-20

ระยะผสมดอก ใช้สูตร 20-20-20 จำนวน 1 กรัม ต่อต้น ต่อวัน

ระยะคัดลูก ใช้สูตร 20-20-20 จำนวน 1.5 กรัม ต่อต้น ต่อวัน

วิธีการคำนวณก็ไม่ยุ่งยาก ใช้น้ำ 200 ลิตร ผสมกับปุ๋ย 420 กรัม เมื่อปล่อยปุ๋ยไปตามสายน้ำ ก็จะได้ ต้นละ 1 กรัม เพราะแตงมี 420 ต้น ต่อโรงเรือน เมื่อผลโต เปลี่ยนสูตรปุ๋ยบ้างคือ 13-0-46 บวกกับ 20-20-20 เพื่อขยายผล

ก่อนเก็บผลผลิต 2 สัปดาห์ ทำหวาน โดยใช้สูตร 0-0-50 จำนวน 150 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ให้ตามสายน้ำ

ปุ๋ยที่ใช้ น้ำหนักกระสอบละ 20 กิโลกรัม ราคา 1,800 บาท ถึงแม้ปลูกในโรงเรือน แต่หากมุ้งขาดก็มีพบศัตรูทำลาย ที่ผ่านมา ลูกน้องคุณนิดตัดหญ้า มุ้งขาด จึงมีการทำลาย แต่แก้ได้

“โรค มีพวกรา อย่าง ราแป้ง พบมากก็ใช้สารป้องกันกำจัดแบบอ่อนๆ ช่วงใดฝนเยอะโรคก็เยอะ ผมเคยผสมปุ๋ยและสารป้องกันกำจัดศัตรูเข้มเกินไป ในสภาพโรงเรือนแดดมีน้อย พออากาศเปลี่ยน แดดออก ใบเสียเลย เมล่อนใบเสียนี่หมดเลย ถึงมีลูกแล้ว ลูกไม่โต ไม่หวาน ผิวไม่สวย” เจ้าของเล่าเรื่องโรค

ผลิตตามออเดอร์

เนื่องจากคุณนิดมีคนรู้จักไม่น้อย ตั้งแต่ที่ทำงานเกี่ยวกับโรงงานอุตสาหกรรมมาแล้ว เมื่อมาผลิตเมล่อน ก็บอกกันปากต่อปาก ผลผลิตจึงจำหน่ายได้ดี ที่เห็นอยู่ในโรงเรือน จองกันหมดแล้ว สนนราคาที่จำหน่าย กิโลกรัมละ 120 บาท เจ้าของรับประกันให้ ไม่หวาน หรือเสียหายส่งให้ใหม่ “ผมทำงานเกี่ยวกับการวางแผนมาก่อน…ตรงนี้จึงทำให้มีหมุนเวียน โรงเรือนหนึ่งปลูกได้ปีละ 3-4 ครั้ง เต็มที่ แต่ต้องพักดิน

ปีหนึ่งจึงตก 3 ครั้ง หากปลูกได้ 3-4 ครั้ง ต่อปี สามารถคืนทุนโรงเรือนได้แล้ว จากนั้นก็กำไร…ในอนาคตยังน่าสนใจอยู่ เมล่อนคุณภาพในโรงเรือนยังมีความต้องการมาก…ผมทำงานทุกวันนี้มีลูกน้อง 1 คน ครอบครัวหนึ่งมีสามีและภรรยา ดูแลเมล่อนขนาดของผมได้ ต้องดูกันละเอียดมาก…สำหรับหน้าเทศกาล ผมก็ทำเพิ่มขึ้น เพื่อนำไปขายหน้าร้าน อย่างช่วงปีใหม่ คนมาเที่ยวที่วังน้ำเขียวเยอะ” คุณนิด บอกสำหรับผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือซื้อผลผลิต ติดต่อได้ตามที่อยู่

สวัสดีค่ะ ทางวิชาการเขาบอกว่า ในโลกนี้มีพืชอยู่ประมาณ 350,000 ชนิด (สปีชีส์) คำถามคือ เรารู้จักพืชกันคนละกี่ชนิดคะ? อิอิ อาจจะเป็นคำถามที่ไม่ต้องการคำตอบ รันตีว่ายังมีพืชอีกมากมายที่เรายังไม่รู้จัก หรือรู้จักแล้วแต่อาจจะมองข้ามมันไป ไม่รู้ถึงคุณค่า สรรพคุณ และคุณประโยชน์ของพืชเหล่านั้น ฉบับนี้รันตีเตรียมพร้อม แต่งหน้าหนาทาปากแดง อาสาพาท่านเดินทางด้วยรถปิกอัพผ่านถนนลูกรัง เนินลูกแล้วลูกเล่าเส้นทางผ่านเขาอันคดเคี้ยว เพื่อพาท่านไปรู้จักกับพืชอีกชนิดหนึ่งที่คนไทยอาจจะรู้จัก ได้ยินชื่อมานาน แต่อาจจะยังไม่เห็นคุณค่าสักเท่าไร พืชชนิดนี้มีอะไรน่าสนใจขนาดไหน รันตีจึงต้องยอมทนไม่ห่วงสวยเข้าไปเยี่ยมถึงสวน ตามรันตีไปชมกันเลยค่ะ

เลม่อน มะนาวฝรั่ง

มาทำความรู้จักกับ เลม่อน กันก่อนนะคะ เลม่อน สมัครเว็บแทงบอล หรือที่เราเรียกว่า มะนาวเทศ มะนาวฝรั่ง มะนาวนมยาน (Citrus limon) เป็นพืชในสกุลส้ม เป็นไม้พุ่ม มีหนามเฉพาะปลายยอด ใบเดี่ยว เมื่อขยี้ใบจะได้กลิ่นหอมแรง ดอกสีขาว มีกลิ่นหอม ผลรูปกลมรี ปลายผลมีติ่งแหลม ผลอ่อนสีเขียว สุกแล้วเป็นสีเหลือง เนื้อในฉ่ำน้ำ มีหลายเมล็ด ผลส่วนใหญ่จะใช้สำหรับนำมาทำเป็นน้ำเลม่อน มีการใช้กากและเปลือกในการทำอาหารหรือของหวานใช้เป็นส่วนประกอบของขนมหวาน เช่น พายเลมอน เลม่อนมีส่วนประกอบของกรดซิตริก ประมาณ 5% ซึ่งทำให้เลม่อนมีรสชาติที่เปรี้ยว เลม่อนที่นำมาทำเป็นน้ำจะเรียกว่า เลม่อนเนด หรือน้ำเลม่อน

เลม่อน กับ มะนาว Lime ที่เราใช้กันอยู่ทั่วทุกบ้านนั้นแค่คล้าย แต่ไม่เหมือนนะคะ เป็นพืชตระกูลส้มแต่คนละชนิดกัน ประโยชน์ของเลม่อน เช่น น้ำเลม่อนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค ป้องกันหวัด ช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันได้ มีการนำเลม่อนมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย

ปัจจุบัน เครื่องดื่มที่ผลิตมาจากเลม่อนหรือใช้ในการแต่งกลิ่นก็มีอยู่มากมายหลายยี่ห้อพอสมควร ไม่ว่าจะเป็น น้ำเลม่อน น้ำอัดลม เครื่องดื่มค็อกเทล ลูกอม เป็นต้น

รันตีขอพาท่านมาพบกับ คุณอังคณา และ คุณเกียรติชัย โชสนับ สองแม่ลูกเกษตรกรคนเก่ง ที่บ้านเลขที่ 20 หมู่ที่ 5 ตำบลวังกระแจะ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี คุณอังคณา เป็นเกษตรกรที่ทำสวนผสมผสานแบบเกษตรอินทรีย์ อยู่ในพื้นที่ไทรโยค โดยปลูกทั้งส้มโอ กล้วย มะม่วง และส้มต่างๆ จนคุณอังคณามีโอกาสได้รู้จักกับเลม่อนและได้ต้นพันธุ์มาปลูกไว้ที่สวน “ปลูกเลม่อนเอาไว้ในพื้นที่สวน เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ ใช้ระยะปลูก 8×8 ศอก ใช้การให้น้ำแบบมินิสปริงเกลอร์ใต้ทรงพุ่ม ปลูกเลม่อนมาได้ประมาณ 2 ปี มีผลผลิตอยู่ตลอด เพราะสามารถบังคับให้ติดดอกออกผลได้” เลม่อนที่ปลูกไว้มีพันธุ์หลักอยู่ 2 พันธุ์ คือพันธุ์ลูกกลม ที่มีลักษณะผลสั้นกลม มีจุกที่ปลายผล เปลือก เมื่อสุกแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผลมีน้ำเยอะ เลม่อนพันธุ์นี้คนไทยส่วนใหญ่คงจะคุ้นตาจากสื่อต่างๆ อยู่แล้ว ส่วนเลม่อนอีกพันธุ์คือ เลม่อนพันธุ์ลูกยาว ผลใหญ่ เมื่อสุกแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง มีน้ำน้อย เราก็เรียกว่าพันธุ์ลูกเล็กกับพันธุ์ลูกใหญ่ตามขนาดผล ไม่รู้ว่าจริงๆ แล้ว เป็นสายพันธุ์อะไรแน่” คุณอังคณา เล่าให้ฟัง