พืชเศรษฐกิจใหม่มาแรง ปลูกพันธุ์ไหน ปลูกให้เป็นที่ตลาดต้องการ

หลังจากที่นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ฉบับ 753 ที่ผ่านมา ได้มีการกล่าวถึงกฎหมาย และทิศทางการสร้างรายได้ของพืชกระท่อมไปแล้วนั้น ในฉบับ 754 นี้ มาต่อกันในเรื่องของวิธีการปลูก และการเลือกสายพันธุ์มาปลูกให้เหมาะกับความต้องการของตลาด

นายสรรเพชญ์ ทันราย กำนันตำบลท้ายสำเภา​ อำเภอพระพรหม​ จังหวัดนครศรีธรรมราช กำนันนักพัฒนา​ผู้ริเริ่มแนวคิดเพาะกล้าพันธุ์ไม้ เพื่อกระจายรายได้ให้กับชุมชน ด้วยการจ้างงาน​ และรับซื้อต้นพันธุ์​ เมล็ดพันธุ์ จากเกษตรกรในพื้นที่​ รุกทำตลาดไม้ผลเสียบยอด จนกระทั่งได้มีกฎหมายปลดล็อกพืชกระท่อมขึ้น กำนันท่านนี้ก็ยังเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนคนในชุมชน หันมาสร้างรายได้จากพืชกระท่อม จากคนที่ไม่มีรายได้ ให้มีรายได้กว่าหลักพันบาทต่อวัน

กำนันสรรเพชญ์ เล่าถึงที่มาของการริเริ่มสร้างรายได้จากพืชกระท่อม ว่า สืบเนื่องจากวันที่ 24 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา ประเทศไทยเริ่มมีผลบังคับใช้ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ปลดล็อกพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติด ประเภทที่ 5 ส่งผลทำให้เกษตรกรในจังหวัดนครศรีธรรมราช รวมถึงตนได้มีความตื่นตัวกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก จนถึงขั้นได้มีการรวมกลุ่มในรูปแบบของวิสาหกิจชุมชนขึ้น เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับพี่น้องเกษตรกร ในยามที่เกิดโรคระบาดหลายคนขาดรายได้ ตกงาน ด้วยการรับซื้อต้นกระทุ่มนา ที่คนพื้นถิ่นภาคใต้จะเรียกว่ากระท่อมขี้หมู ในอดีตเคยเป็นวัชพืชที่ขึ้นตามหัวไร่ปลายนาไม่มีคุณค่า แต่วันนี้กลายมาเป็นพืชหายากและมีราคา ใช้เป็นต้นตอเสียบยอดกระท่อม และขยายผลต่อไปในเรื่องของการจ้างงาน ในส่วนต่างๆ ทั้งแรงงานเสียบยอด แรงงานการบรรจุภัณฑ์ ทำให้ขณะนี้ชาวบ้านมีรายได้เฉลี่ยจากการจ้างงานหลังมีการปลดล็อกพืชกระท่อมเฉลี่ยกว่าวันละ 1,000-2,000 บาท แล้วแต่หน้าที่และความขยัน

“ในวันนี้เราจะเห็นเมล็ดพันธุ์ของพืชกระท่อมที่มีราคาสูง และตอนนี้สายพันธุ์ของกระท่อม ถ้าเกิดจากการเพาะเมล็ดไม่ว่าจะเป็นกระท่อมสายพันธุ์ใดก็ตาม จะเกิดการกลายพันธุ์ได้ง่าย แต่สำหรับกระท่อมที่มีการเสียบยอดตรงส่วนนี้จะได้สายพันธุ์ที่ไม่ผิดเพี้ยน ได้สายพันธุ์ตรงต้นแม่ และตรงต่อความต้องการของตลาดในขณะนี้ โดยเฉพาะสายพันธุ์ก้านแดง และก้านแดงหางกั้ง ซึ่งเป็นตัวท็อป ตลาดโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปมีความต้องการสูง”

แนะสายพันธุ์ก้านแดง-ก้านแดงหางกั้ง
เหมาะสำหรับปลูกเชิงการค้า ส่งโรงงานอุตสาหกรรม
สำหรับสายพันธุ์กระท่อมที่พบในประเทศไทยมีอยู่ 3 สายพันธุ์ คือ 1. ก้านเขียว 2. ก้านแดงหางกั้ง และ 3. ก้านแดง มักพบมากในป่าธรรมชาติบริเวณภาคใต้ ซึ่งในแต่ละสายพันธุ์นั้น จะมีสารสำคัญที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงรสชาติของใบที่มีไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ประโยชน์ สำหรับท่านที่จะนำไปทำในเชิงอุตสาหกรรม แนะนำให้ปลูกสายพันธุ์ก้านแดง และก้านแดงหางกั้ง จะเป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมแปรรูป และในส่วนของสายพันธุ์ก้านเขียวนั้นเหมาะสำหรับการนำมาบริโภค หรือใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรคในครัวเรือน

กำนันสรรเพชญ์ อธิบายขั้นตอนวิธีการปลูกว่า การปลูกไม่ยุ่งยากมากเพราะกระท่อมเป็นพืชที่คงทนในด้านของศัตรูพืชไม่มี หรืออาจพบเจอได้น้อยมาก เนื่องจากพืชกระท่อมมีลักษณะทางยาค่อนข้างขม แมลงไม่ชอบ โดยแนะนำให้ใช้ต้นพันธุ์เสียบยอดสายพันธุ์จะนิ่ง ลักษณะการปลูกจะใช้ตอกระทุ่มนาเป็นต้นตอในการเสียบยอด

ปลูกในระยะ 4×4 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ประมาณ 100 ต้น จากนั้นใช้เวลาอีกประมาณ 3-5 เดือน ถ้าใช้ต้นพันธุ์จากการเสียบยอดก็จะสามารถเก็บผลผลิตขายได้ทุกๆ 15 วัน ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา ซึ่งตรงนี้จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับที่นา หรือพื้นที่น้ำท่วมขังที่ไม่สามารถปลูกพืชอย่างอื่นเป็นพืชเศรษฐกิจได้ วันนี้สามารถปลูกกระท่อมให้เป็นพืชเศรษฐกิจได้แล้ว

การเตรียมดิน สำหรับพืชกระท่อมเสียบยอด จะเหมาะกับการปลูกในพื้นที่นาที่ลุ่มมีน้ำทั่วถึง การเตรียมดินจึงไม่มีปัญหายุ่งยาก เพราะเหมาะกับปลูกในสภาพพื้นที่มีน้ำขังอยู่แล้ว หรืออาจจะมีการยกร่องเปิดทางน้ำให้ไหลสักเล็กน้อย สำหรับกระท่อมที่ขยายพันธุ์โดยการเสียบยอดจะชอบน้ำมากกว่าการปลูกกระท่อมด้วยเมล็ด

การดูแลรดน้ำ กระท่อมเป็นพืชที่ชอบน้ำ ถ้าปลูกในที่น้ำขัง ก็ไม่ต้องกังวลอะไรมาก แต่ถ้าหากเป็นพื้นที่มีการเตรียมดิน มีการปรับแต่งพื้นที่ให้ทำการรดน้ำโดยเฉลี่ย 1-2 วันครั้ง นานประมาณ 30 นาที ให้เกิดความชุ่มชื้น

การใส่ปุ๋ย เน้นใส่ปุ๋ยคอก ในทุกๆ 20-30 วัน ใส่ปุ๋ย 1 ครั้ง

การเก็บเกี่ยว สำหรับที่เป็นต้นพันธุ์เสียบยอดใช้ระยะเวลาการปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 3-5 เดือน จากนั้นสามารถเก็บผลผลิตได้ในทุกๆ 15 วัน ปลูกครั้งเดียวเก็บได้นานหลายสิบปี เมื่อต้นสูงเกินความจำเป็นต้องใช้วิธีการตัดยอดด้านบนเพื่อให้ต้นแผ่กิ่งข้างได้อย่างเต็มที่ ทำให้ง่ายต่อการเก็บเกี่ยว ส่วนปริมาณผลผลิตนั้นยังบอกไม่ได้แน่ชัด เนื่องจากตอนนี้ยังอยู่ในจุดเริ่มต้นขยายพันธุ์ แต่หากจะให้คาดการณ์ผลผลิตล่วงหน้า 1 ไร่ จะสามารถเก็บผลผลิตได้ ประมาณ 500 กิโลกรัม โดยเฉพาะหากเป็นต้นที่มีอายุเยอะปริมาณก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ราคา ราคาของใบกระท่อมตอนนี้เนื่องจากเป็นพืชที่กำลังอยู่ในกระแส เป็นที่ต้องการของตลาด แต่ต้นพันธุ์ยังหาได้ยากเพราะเพิ่งได้รับการปลดล็อก ส่งผลทำให้ต้นพันธุ์พืชกระท่อมมีราคาที่สูง ขายใบกิโลกรัมละ 350-500 บาท ส่วนต้นพันธุ์ของที่กลุ่มจะเริ่มตั้งแต่ราคา 80-250 บาท ตามขนาดของต้นและความนิยมตามสายพันธุ์ ซึ่งตอนนี้พันธุ์ที่นิยมคือพันธุ์ก้านแดงหางกั้ง ที่สามารถนำไปต่อยอดในเชิงอุตสาหกรรมได้หลากหลาย รวมถึงการใช้บำบัดผู้ติดยาเสพติดได้ด้วย

พืชกระแสมาแรง! อย่าประมาท
หัวใจสำคัญ ต้องใช้ตลาดนำการผลิต
กำนันสรรเพชญ์ บอกว่า ณ ขณะนี้พืชกระท่อมเป็นพืชยาเสพติดที่เพิ่งได้รับการปลดล็อก ส่งผลให้สถานการณ์การตลาดในช่วงนี้เป็นไปอย่างคึกคัก ผู้คนทุกกลุ่มต่างให้ความสนใจอยากที่จะได้ต้นพันธุ์กระท่อมมาไว้ในครอบครอง ทั้งในแง่ของการปลูกเชิงการค้า และปลูกไว้เพื่อบริโภคเป็นยาในครัวเรือน ส่งผลให้เกิดการสร้างรายได้ในชุมชนได้เป็นอย่างดี เพราะพืชกระท่อมถือเป็นพืชเฉพาะถิ่นของภาคใต้อยู่แล้ว ซึ่งจากการที่ได้พูดคุยกับทางผู้ใหญ่ และเพื่อนกำนันด้วยกัน ตอนนี้ในหลายพื้นที่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เข้ามาร่วมลงทุนหลายสิบล้าน เพื่อนำไปแปรรูปทำออกมาเป็นหลากหลายผลิตภัณฑ์ ทั้งเวชภัณฑ์ เครื่องสำอาง เครื่องดื่มชูกำลัง และเพื่อนำไปต่อยอดบำบัดผู้ป่วยติดยาเสพติด วันนี้ถือว่าตลาดยังไปได้ดี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากท่านใดสนใจอยากทำจำเป็นต้องใช้การตลาดนำการผลิต มีตลาดรองรับ และศึกษาทิศทางเศรษฐกิจควบคู่กันไป ถึงจะปลอดภัยที่สุด

สำหรับเกษตรกรมือใหม่ที่มีความสนใจปลูกพืชกระท่อมสร้างรายได้ ผมอยากจะแนะนำว่า ควรที่จะต้องใช้การตลาดนำการผลิตคือหัวใจสำคัญ คือต้องเลือกปลูกพันธุ์ที่ตรงต่อความต้องการของตลาดโรงงาน หรือกลุ่มผู้ผลิต กลุ่มทุนรายใหญ่ ซึ่งในตอนนี้ตลาดมีความต้องการสายพันธุ์ก้านแดง และก้านแดงหางกั้ง ในตอนนี้ทางวิสาหกิจชุมชนอยู่ในขั้นตอนของการขยายต้นพันธุ์สร้างรายได้ในระยะแรก คือ 1. มีการรับซื้อตอกระทุ่มนาจากชาวบ้าน จากพืชที่ไม่มีราคา แต่วันนี้กลายมาเป็นพืชสร้างรายได้ให้คนในชุมชนได้ตอละ 15-20 บาท โดยเฉลี่ยต่อวันต่อคนละ 200-300 ต้น สร้างรายได้วันละ 3,000-4,000 บาท 2. การจ้างงานคนมีฝีมือในการเสียบยอด อัตราเฉลี่ยวันละ 300-500 ต้น ต่อคน สร้างรายได้คนละประมาณ 2,500 บาท และ 3. แรงงานด้านการแพ็กเตรียมขนส่งขายทั่วประเทศ และในแง่ของการส่งออกระหว่างประเทศ จากการที่ได้ติดตามข่าวที่ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ว่า จะมีการแปรรูปเพื่อส่งออกตลาดยุโรป และในอีกหลายๆ ประเทศ เนื่องจากพื้นที่ที่มีอากาศหนาวจะไม่สามารถปลูกได้ ซึ่งในตอนนี้ทางกลุ่มของเราที่จดทะเบียนในนาม “นครศรีซุปเปอร์เฮิร์บ” เพื่อมารองรับในการต่อยอดผลผลิตที่เริ่มให้ชาวบ้านปลูกในพื้นที่ และขยายไปสู่กลุ่มทุนที่นำไปผลิตทำเครื่องดื่มชูกำลัง และผลิตภัณฑ์อื่นๆ

แนะนำเกษตรกรมือใหม่
ปลูก 1 ไร่ เพียงพอแล้ว
“วันนี้เงินลงทุนสำหรับเกษตรกรมือใหม่ ถ้าในพื้นที่ภาคใต้ก็ใช้เงินลงทุนไม่สูง ราคาต้นพันธุ์โดยเฉลี่ยที่มีการจำหน่ายออกไปให้กับลูกค้ามีตั้งแต่ราคา 80-250 บาท อยู่ที่สภาพของต้นตอที่นำมาเสียบและสายพันธุ์ ซึ่งวันนี้ถ้าบ้านนึงอยากจะมีสัก 2 ต้น ราคาต้นละ 150 บาท ก็เป็นเงิน 300 บาท แต่ถ้าอยากปลูกเชิงการค้า ระบบน้ำ วันนี้ในการปลูกพืชกระท่อมไม่ต้องใช้ถึงระบบสปริงเกลอร์ จะเป็นการเปลืองโดยใช่เหตุ แต่จะใช้ระบบทำแบบยกร่อง แล้วปล่อยระบบน้ำให้เข้ามาตามร่อง กระท่อมก็สามารถที่จะดูดน้ำเข้าไปเลี้ยงลำต้นได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้จำนวนเงินเยอะเพื่อทำระบบน้ำทุกจุดแล้ว” กำนันสรรเพชญ์ กล่าวทิ้งท้าย

สอบถามรายละเอียดวิธีการปลูกกระท่อมเพิ่มเติม หรือสนใจซื้อต้นพันธุ์กระท่อมไปทดลองปลูก สามารถติดต่อได้ที่เบอร์โทร. 093-746-3525, 094-941-4778 หรือติดต่อเฟซบุ๊ก : สรรเพชญ์พันธุ์ไม้ฯ

คุณธนายุทธ นิตมา กำนันตำบลละมอ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง เล่าว่า “เมื่อสมัยร้อยกว่าปีก่อนยังไม่มีความเจริญเรื่องการคมนาคม ไม่มีถนนสะดวกสบายเหมือนสมัยนี้ การเดินทางใช้วิธีการเดินเท้าตามเส้นทางสายน้ำ สายคลอง คนจากฝั่งจังหวัดสงขลา จังหวัดพัทลุง หากต้องการเดินทางมาจังหวัดตรัง ก็จะใช้เส้นทางสายน้ำที่ไหลผ่านเทือกเขาบรรทัดลงมาทางอำเภอนาโยง เพื่อเข้าเมืองตรัง เส้นทางหลักที่ใช้ ได้แก่ สายน้ำคลองตะเหมก ซึ่งไหลลงมาเชื่อมกับคลองวังหยี และคลองละมอ แต่ในการเดินทางต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร ทำให้ชาวบ้านมีการคดข้าวห่อมากินระหว่างทาง โดยส่วนใหญ่จะแวะกินแถวคลองตะเหมกและคลองวังหยี ปัจจุบันคือพื้นที่หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 9 ของตำบลละมอ อำเภอนาโยง ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่ชาวบ้านคดห่อมากินนั้นคือ “ทุเรียนบ้าน” ทำให้สองฝั่งคลองเต็มไปด้วยต้นทุเรียน และมีชาวบ้านในบริเวณนั้นนำไปขยายพันธุ์ปลูกในพื้นที่ของตนเอง จึงทำให้ทุเรียนบ้านยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน”

จุดเด่นของ “ทุเรียนบ้าน”

ทุเรียนบ้านเป็นไม้ขนาดใหญ่ที่สามารถปลูกร่วมกับไม้ยืนต้นอื่นได้แบบพึ่งพาอาศัยกัน ทนต่อโรค และมีอายุยืนยาว จากการเข้าไปสำรวจของสำนักงานเกษตรอำเภอนาโยงพบว่า ทุเรียนต้นดั้งเดิมที่มีอยู่นั้นมีอายุไม่น้อยกว่า 100 ปี เนื่องจากมีเจ้าของที่รับเป็นมรดกมาแล้วประมาณ 3 รุ่นด้วยกัน

ทุเรียนบ้านทุกต้นจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป สันนิษฐานว่าอาจมีการเรียกชื่อตามลักษณะหรือจุดเด่นของต้นนั้นๆ เพื่อเป็นการจดจำทุเรียนแต่ละต้น ผลของทุเรียนบ้านแต่ละต้นจะมีลักษณะไม่เหมือนกัน เช่น ลักษณะและขนาดของผล บางต้นจะมีผลกลม เนื้อเต็มทั้งลูก บางต้นจะมีผลเรียวๆ ตูดแหลม สีของเนื้อทุเรียน บางต้นมีสีเหลืองออกขาว บางต้นมีสีเหลืองทอง บางต้นมีสีเหลืองเข้ม และรสชาติของแต่ละต้นก็จะไม่เหมือนกัน ทำให้เจ้าของสวนทุเรียนสามารถแยกผลทุเรียนได้ว่ามาจากต้นไหน คุณวิไลพร เยาว์ดำ เจ้าของสวนทุเรียนบ้านในพื้นที่หมู่ที่ 9 ตำบลละมอ ได้ให้ข้อมูลว่า เมื่อก่อนในสวนของตนเองมีทุเรียนบ้านอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ละต้นมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ตั้งแต่จำความได้ทุเรียนแต่ละต้นก็มีชื่ออยู่แล้ว เช่น “ไอ้หว่าน” มีลักษณะประจำต้นคือ ผลมีขนาดใหญ่ตูดแหลม เนื้อหนา เมล็ดในเล็กหรือลีบ “ไอ้เตย” มีลักษณะประจำต้นคือ ผลมีขนาดเล็กกลม เนื้อหนา เต็มพู รสชาติหวาน “ไอ้พลัก” มีลักษณะประจำต้นคือ ผลมีขนาดใหญ่กลม มี 6 พู (โดยปกติทุเรียน 1 ลูก จะมี 5 พู) เนื้อมีสีเหลืองทอง รสชาติหวานมัน เป็นต้น

ผลผลิตและการตลาดของ “ทุเรียนบ้าน” ทุเรียนบ้านจะให้ผลผลิตในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมของทุกปี ในพื้นที่ตำบลละมอทุเรียนบ้าน 1 ต้น ให้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 1,000 ลูก เนื่องจากเป็นต้นที่มีอายุนับร้อยปี ต้นมีความสมบูรณ์มีขนาดใหญ่และสูงมาก ประกอบกับเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ความชื้นในดินดี เป็นพื้นที่เชิงเขา เหมาะในการปลูกทุเรียนบ้าน การปลูกจะเป็นแบบผสมผสานร่วมกับพืชชนิดอื่นที่เป็นไม้เศรษฐกิจ เช่น ยางพารา ไม้เนื้อแข็งต่างๆ เป็นต้น

การเก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นการเก็บแบบธรรมชาติ รอให้ผลสุกเต็มที่และร่วงลงมา เจ้าของสวนทุเรียนมักจะไปสร้างขนำไว้กลางสวน เพื่อไปเฝ้าเก็บผลผลิต เนื่องจากพื้นที่สวนทุเรียนส่วนใหญ่จะอยู่ไกลกับบ้านเรือน เป็นการป้องกันการลักขโมยทุเรียนในช่วงทุเรียนสุก

ทุเรียนบ้านนิยมกินแบบผลสุกเต็มที่ ไม่นิยมกินแบบห่ามๆ เพราะจะได้รสชาติของความหอมและหวานของทุเรียนได้เต็มที่ ลูกค้าที่เข้ามาซื้อส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าประจำที่เคยซื้อไปกินแล้วติดใจในรสชาติ และมักจะระบุว่าต้องการซื้อทุเรียนจากต้นไหน ซึ่งทุเรียน 1 ลูก จะมีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 1.5-2.5 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 20-30 บาท เจ้าของสวนนิยมขายทุเรียนที่เก็บได้ให้หมดในวันนั้นๆ เนื่องจากทุเรียนสุกเต็มที่แล้วถ้าเก็บไว้นานกลิ่นและรสชาติของทุเรียนจะเปลี่ยนไป ไม่อร่อยเหมือนลูกที่เก็บได้ใหม่ๆ

ทุเรียนที่เหลือจากขายและทุเรียนที่หนอนเจาะแต่เอาเนื้อทุเรียนได้บางส่วน เจ้าของสวนจะนำมาแปรรูปเป็นทุเรียนกวน ซึ่งในการกวนทุเรียนบ้านนั้นจะกวนทั้งเมล็ด ใช้เวลาในการกวนประมาณ 2 ชั่วโมง เมล็ดก็จะหลุดออกจากเนื้อและได้ทุเรียนกวนที่แห้งพอดี อัตราทุเรียนสุกเมื่อแปรรูปเป็นทุเรียนกวนประมาณ 10 กิโลกรัม (รวมเมล็ด) ต่อ 3 กิโลกรัม ขายในราคากิโลกรัมละ 250-300 บาท

พื้นที่ปลูกทุเรียนบ้านในปัจจุบันมีปริมาณลดน้อยลง เนื่องจากเจ้าของสวนหันมาให้ความสำคัญกับพืชเศรษฐกิจและมีการปลูกพืชเชิงเดี่ยวกันมากขึ้น ได้แก่ การปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน มีการตัดต้นทุเรียนเพื่อนำไม้มาใช้ประโยชน์ เนื่องจากต้นทุเรียนบ้านเป็นไม้ขนาดใหญ่สามารถนำเนื้อไม้มาประกอบบ้านเรือนหรือใช้ทำสิ่งก่อสร้างที่ใช้ไม้เป็นส่วนประกอบได้

จากสถานการณ์การลดลงของ “ทุเรียนบ้าน” ทำให้ผู้นำในท้องถิ่นและเจ้าของสวนทุเรียนบ้านที่มีอยู่ในชุมชนขณะนี้ ได้มีการส่งเสริมและขยายพันธุ์ทุเรียนบ้านที่มีลักษณะพันธุ์ที่ดีคือ มีเนื้อหนา ผลโต รสชาติหวานมัน ให้เกษตรกรที่สนใจนำไปปลูก เพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่ปลูกทุเรียนบ้านให้มากขึ้น มีการประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านในชุมชนเห็นความสำคัญของพืชชนิดนี้และอนุรักษ์ “ทุเรียนบ้าน” ให้คงอยู่คู่กับชาวละมอต่อไป

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณวิไลพร เยาว์ดำ บ้านเลขที่ 41 หมู่ที่ 9 ตำบลละมอ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง โทร. 064-404-1083 คุณธนายุทธ นิตมา กำนันประจำตำบลละมอ โทร. 095-971-9738 หรือติดต่อที่สำนักงานเกษตรอำเภอนาโยง จังหวัดตรัง โทร. 075-299-788

ไม่ได้ล้อเล่นนะ ที่จะเอ่ยว่า มีน้อยคนนักที่จะรู้จักผักชนิดนี้ หรืออาจจะเคยพบเห็นแต่ไม่รู้จัก หรือรู้จักแต่ไม่เคยกิน เคยสงสัยอยู่เหมือนกันว่า ทำไมมันถึงเหมือนพืชพวกลูกผสม หรือไม่ก็พวกที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม และบางทีดูเหมือนเป็นพืชโบราณ ส่งต่อภาพสัญลักษณ์ของการดิ้นรน ไขว่คว้า หาจุดหมายปลายทาง และมองเห็นเป็นศิลปะการดำเนินเดินเส้นสายลายศิลป์ที่งดงาม พบเห็นสีสันเด่นชัด สว่างข้างรั้วบ้าน ทางภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคอื่นๆ ก็มี บางทีเราอาจจะไม่รู้ถ่องแท้ชัดเจนนัก ว่ามันมีที่ไหน ประเทศไหน ขอบมุมโลกที่ใดมั่ง

“ผักฮาก” ชื่อนี้ตีความได้หลายทาง เป็นคำเรียกของคนภาคเหนือ “ฮาก” หมายถึง รากพืช หรืออาจจะแปลว่า อาเจียน หรืออาจจะเพี้ยนมาจากคำเรียกของคนภาคอีสาน ว่า “ผักขี้นาค” ทางภาคกลาง เรียก “ผักรด” กะเหรี่ยงเมืองกาญจนบุรี เรียก “ออซะนาดุ” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Erythropalum scandens Blume วงศ์ OLACACEAE เป็นไม้ประเภทเถาเลื้อย เกี่ยวเกาะขึ้นตามต้นไม้ กิ่งไม้ รั้ว ค้าง มีมือเกาะที่ยาว แข็งแรง ออกตามซอกก้านใบ ใบเป็นประเภทใบเดี่ยว คล้ายใบพลู หรือรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบเกลี้ยงไม่มีขน เห็นเส้นใบชัดเจน ออกเรียงตรงข้ามกัน มีกลิ่นคาวเฉพาะตัว ดอก เป็นดอกเดี่ยวสีขาวอมเหลือง ออกตามข้อ ส่วนผลดิบเป็นสีเขียว ผลเดี่ยวรูปกลมรี ผิวเกลี้ยงเป็นมัน สุกแก่สีส้มอมแดง มีเมล็ดรูปทรงรี สีขาว แต่เปลือกหุ้มเมล็ดสีดำ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด หรือปักชำกิ่ง หรือโน้มกิ่งลงหาดิน เมื่อออกราก จึงตัดหรือขุดแยกไปปลูกที่ใหม่

ด้วยกลิ่นของใบและยอดอ่อน ที่มีความเป็นส่วนเฉพาะตัว ทำให้มีเสน่ห์ดึงดูดสายตา ดูน่าทะนุถนอม และน่ากินมาก แต่ดูแล้วคงมีแต่คนเท่านั้นที่ชื่นชมชื่นชอบ พวกแมลงด้วงหนอนไม่ค่อยเห็นลงตอแย คนนิยมนำยอดอ่อน ใบอ่อน มาเป็นผักแกงเลียงใส่ปลาย่าง ผักลวกจิ้มน้ำพริกปลาร้า น้ำพริกปลาย่าง แจ่วหม้อ ยำผัก แกงแค แกงส้ม ต้มจืด ผัดน้ำมันหอย และที่นิยมมากคือ เป็นผักสด แกล้มลาบปลาเพี้ย ลาบไก่ ลาบหมู ลาบควาย พล่า ส้า แม้แต่ส้มตำ ผักฮากมีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะ มีเถ้า ถึง 3.76 กรัมใน 100 กรัม “เถ้า” ก็คือส่วนที่เป็นเกลือแร่ วิตามิน แร่ธาตุต่างๆ ที่ใช้ตรวจสอบถึงคุณค่าทางอาหารที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายที่มีอยู่ในพืชนั้น อีกส่วนเป็นน้ำหรือความชื้น ถึง 65.47 กรัม และที่สำคัญ มีส่วนที่เป็นกากเส้นใยอาหาร หรือไฟเบอร์ 9.34 กรัม คาร์โบไฮเดรต 12.36 กรัม โปรตีน 6.38 กรัม ไขมัน 2.69 กรัม

ประโยชน์ทางโภชนาการ และมีสรรพคุณ สล็อตออนไลน์ ออกฤทธิ์เป็นยารักษาโรค บำรุงส่วนต่างๆ ของร่างกาย เป็นที่ทราบกันดีว่า เส้นใยอาหาร แม้จะมีแร่ธาตุอยู่ไม่มากนัก แต่มีประโยชน์ในการดูแลระบบขับถ่าย การยืดขยายหดตัวของกล้ามเนื้อ ลำไส้ กระเพาะ ช่วยย่อยอาหาร ลดคอเลสเตอรอล ทำให้ลดน้ำหนัก ป้องกันโรคอ้วน การระบายของเสีย และช่วยป้องกันโรคยอดฮิตในวันนี้ คือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ส่วนไขมันดีที่มีอยู่ จะช่วยควบคุมการอักเสบ การแข็งตัวของเลือด ช่วยบำรุงให้มีพัฒนาการทางสมอง มีคาร์โบไฮเดรต ช่วยเป็นแหล่งพลังงาน รักษาโรคไขข้อ ลดความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ตัวโปรตีนช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย สร้างเนื้อเยื่อ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยลดและควบคุมความดันโลหิต ช่วยขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ รักษาอาการไข้หวัด ด้วยมีวิตามินซี และวิตามินอื่นๆ อีกหลายอย่าง

ผักฮากเป็นผักพื้นบ้านที่น่าจะเป็นผักปลอดภัยจากสารเคมีหรือสารพิษต่างๆ เป็นผักที่เจริญเติบโตได้กับดินแทบทุกชนิด ขอเพียงให้มีความชื้นที่พอเหมาะ และถ้าหากเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์จะโตเร็ว ให้ยอดอ่อนที่ขาวอวบอ้วน แพร่ขยายกิ่งเถาได้กว้างไกลเท่าที่มีที่อาศัยยึดเกาะให้ไปถึง ยอดอ่อนยิ่งเด็ดยิ่งแตกยอดใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ ถ้ามีการจัดการปลูกที่เป็นระบบ มีค้างถาวร จะได้แปลงผักฮากที่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่า สม่ำเสมอ ทำรายได้ให้ไม่แพ้พืชผักชนิดอื่น ขอเพียงแต่ในลำดับแรกนี้ ต้องสร้างการรับรู้ให้กับพี่น้องผองเพื่อนเรา ให้รู้จัก “ผักฮาก” ให้เป็นผักในดวงใจเสียก่อน แล้วการขยายผล จะค่อยๆ แพร่ขยายไปได้อีกไกล

ดังเช่นที่เกริ่นนำในตอนต้นเรื่องว่า จะเป็นการส่งต่อภาพสัญลักษณ์ของการดิ้นรน ไขว่คว้า หาจุดหมายปลายทาง ไปให้ไกล ไปตามฝัน ที่คงมีสักวันที่จะต้องถึงฝัน คุณสรายุทธ คูณสุข (คุณปุ๊ก) เกษตรกรรุ่นใหม่ สานต่องานปลูกสมุนไพรของพ่อ อยู่บ้านเลขที่ 34 หมู่ที่ 6 บ้านดงบัง ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี คุณปุ๊ก เล่าว่า ปัจจุบันตนมีอายุ 28 ปี กว่าจะมีทุกวันนี้ได้ก็ต้องผ่านอะไรมาเยอะ สมัยวัยรุ่นตนเป็นเด็กดื้อ พ่อให้เรียนก็ไม่อยากเรียน ติดเพื่อน จึงเรียนจบเพียงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตอนออกจากโรงเรียนก็ยังคิดไม่ได้ ติดเพื่อนเหมือนเดิม ใช้เวลาหมดไปกับสิ่งไร้สาระ มาคิดได้อีกทีก็ตอนที่ต้องไปเป็นทหารเกณฑ์ 2 ปี พอออกมาก็คิดได้ คิดอยากจะเริ่มสร้างครอบครัว เพราะมีแฟนและลูกอีก 2 คน ที่ต้องดูแล นี่จึงเป็นจุดเปลี่ยนชีวิตจากเด็กเกเรสู่เกษตรกรสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว

“ไม่มีอะไร ที่สายเกินแก้”
เริ่มต้นช้า ไม่ได้แปลว่า สำเร็จไม่ได้
คุณปุ๊ก บอกว่า ตนเริ่มคิดได้ช้าไปหน่อย แต่ก็ยังโชคดีที่มีคุณพ่อคอยเป็นแรงสนับสนุนที่ดีมาตลอด โดยคุณพ่อมีอาชีพเป็นเกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพรบ้านดงบังมานานกว่า 20 ปี ตนจึงพอมีความรู้เรื่องสมุนไพรมาอยู่บ้าง จึงไม่น่าจะใช่เรื่องยากหากจะมาเริ่มต้นชีวิตสร้างครอบครัวด้วยอาชีพเกษตรกรรมตามรอยพ่อ

ซึ่งปัจจุบันกลุ่มสมาชิกผู้ปลูกสมุนไพร มีพื้นที่ปลูกทั้งหมดประมาณ 70 กว่าไร่ มีสมาชิกทั้งหมด 12 คน สมาชิกส่วนใหญ่เป็นญาติพี่น้องของคุณปุ๊กทั้งหมด โดยที่บ้านของคุณปุ๊กมีพื้นที่ปลูกสมุนไพรประมาณ 10 กว่าไร่ ปลูกสมุนไพรมากกว่า 10 ชนิด เช่น หญ้าปักกิ่ง หญ้าหนวดแมว หญ้ารีแพร เพชรสังฆาต เสลดพังพอน รางจืด ไพล ขมิ้น และสมุนไพรอื่นๆ

ลักษณะการแบ่งพื้นที่ปลูกสมุนไพรของคุณปุ๊ก ไม่ได้มีการแบ่งชัดเจนว่าจะปลูกสมุนไพรชนิดใดกี่ไร่ แต่จะปลูกตามออเดอร์ที่ทางโรงพยาบาลอภัยภูเบศรมีออเดอร์สั่งมา โดยทางโรงพยาบาลจะมีออเดอร์การสั่งมาเป็นรายปี แล้วทางคุณปุ๊กและกลุ่มสมาชิกต้องมาวางแผนปลูกกันเอง

คุณปุ๊ก บอกต่อว่า การปลูกสมุนไพรสร้างรายได้เป็นอะไรที่ง่าย สมุนไพรเป็นอะไรที่ไม่ต้องการดูแลมากมาย แต่ค่อนข้างเป็นเรื่องที่จุกจิกมากกว่า เพราะสมุนไพรของตนเป็นสมุนไพรอินทรีย์ 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่ใช้ยาฆ่าหญ้า ไม่ใส่ปุ๋ยเคมี ต้องใช้ปุ๋ยคอก และถอนหญ้า รดน้ำ พรวนดินเอง จำเป็นจะต้องใช้แรงคนเยอะสักหน่อย