พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ถูกบุกรุกเป็นแสนไร่การปลูกข้าวโพด

เลี้ยงสัตว์ลง 9 แสนไร่ ใน 5 ปี ส่วนผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไม่เพียงพอ จะให้ปลูกข้าวโพดหลังนาประชารัฐ และได้กำชับให้กรมวิชาการเกษตร ควบคุมเมล็ดพันธุ์แต่ละพื้นที่อย่างเคร่งครัด ต้องลดพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง และลดการใช้สารเคมี ช่วงปี 2555-60 มีการบุกรุก 7 หมื่นกว่าไร่ ตอนนี้เหลือไม่ถึง 1,000 ไร่ต่อปี หรือหยุดยั้งเท่ากับศูนย์ได้แล้ว โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าวโพดบนเขาหัวโล้นลดลงไป 4 หมื่นไร่ ระยะต่อไปคือ แผนส่งเสริมอาชีพระยะ 5 ปี โดยอีก 2 สัปดาห์จะเชิญรัฐมนตรีทั้ง 5 กระทรวงมาร่วมรับฟังความก้าวหน้าอีกครั้ง

วันนี้แผน 5 ปี เพื่อฟื้นฟูผืนป่าจังหวัดน่าน เริ่มได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ล่าสุดสามารถหยุดการทำลายป่าและลดพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้แล้วประมาณ 11,990 ไร่ ด้วยการหาพื้นที่ทดแทน และชักจูงให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชเศรษฐกิจอื่น

ดังจะเห็นได้จากพื้นที่ในความรับผิดชอบของกรมป่าไม้ 2 ส่วน สามารถลดพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้รวม 22,110 ไร่ แบ่งเป็น 1.พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1, 2 สามารถลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้18,860 ไร่

และ 2.พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 3, 4, 5 สามารถลดพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ 3,250 ไร่ ขณะเดียวกันลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ประมาณ 34,100 ไร่

หลังจากแผนการนำร่องในจังหวัดน่านได้ผล ในอนาคตทั้ง 4 กระทรวง คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงมหาดไทย จะนำโมเดลความร่วมมือนี้ไปขยายผลในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะการลดพื้นที่ปลูกยางพารา

นายจงคล้าย วรพงศธร รองอธิบดีกรมป่าไม้ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ความคืบหน้ามาตรการทวงคืนผืนป่าของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่วนที่เป็นพื้นที่บนเขาล่อแหลมต่อภัยพิบัติสามารถเจรจาได้ 1,110 ไร่ จากบนลงล่าง โดยมีเงื่อนไขการส่งเสริมอาชีพควบคู่ ในปีนี้พบการบุกรุกพื้นที่ป่าและถูกจับกุมดำเนินคดีเหลือเพียง 80 ไร่ สิ่งที่เห็นเป็นรูปธรรมมากที่สุดคือ การส่งเสริมอาชีพและการจัดตั้ง “ศูนย์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ” โดยมีผู้นำชุมชนทำงานร่วมกับภาครัฐ เพื่อให้เกิดการรับรู้และประชาชนมีส่วนร่วมการหวงแหนป่า ที่เป็นของทุกคน ไม่ใช่ของรัฐหรือคนใดคนหนึ่ง

“ต้องยอมรับว่าการดำเนินการต้องใช้เวลา เพราะมีปัญหาสะสมมานาน เมื่อเขาเห็นอาชีพก็ลงมาข้างล่าง ทำให้เกิดแนวทาง ปัจจุบันถือว่าหยุดการบุกรุกป่าได้โดยสิ้นเชิง 3 ปีที่ผ่านมาปีละพันกว่าไร่ ซึ่งปี 2560 มีการดำเนินคดีน้อยลงมาก ตอนนี้เราไปตั้ง “ศูนย์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ” เป็นนโยบายของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ซึ่งได้ผลมาก เมื่อก่อนไม่มีศูนย์นี้ เวลายึดพื้นที่คืนมาได้เขาก็กลับไปบุกรุกใหม่ พอตั้งศูนย์นี้ เราสามารถฟื้นฟูให้ชาวบ้านรู้สึกมีส่วนร่วมป่าชุมชน ไม่ใช่เพียงของรัฐ โดยใช้รูปแบบเปลี่ยนไป ทำให้แนวทางทำงานชัด โดยมีเจ้าหน้าที่ป่าไม้เป็นแกนนำหลักสู่กระบวนการทำความเข้าใจชาวบ้านร่วมกับนายอำเภอและผู้ว่าฯ ใช้วิธีการเจรจาส่งเสริมอาชีพจากบนสู่ล่าง”

ผู้ส่งออกมะพร้าวขาวรายใหญ่สุดในประเทศยันใช้สารเบนโซเอทปราบหนอนหัวดำได้ผลดี ไม่มีสารตกค้าง แถมราคาถูกว่าสารเคมีที่ทางราชการจัดซื้อ 3 เท่า

วันที่ 9 กรกฎาคม นายสายชล จ้อยร่อย เจ้าของ บริษัท นิลทองแท้ จำกัด ผู้ส่งออกมะพร้าวขาวมากที่สุดในประเทศ หมู่ 3 ต.อ่างทอง อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้วัตถุดิบมะพร้าวผลในพื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ สำหรับนำไปผลิตน้ำกะทิเพื่อการส่งออกยังประสบภาวะวิกฤต เนื่องจากผลผลิตมีน้อยและมีราคาสูง หลังจากมีการระบาดของแมลงดำหนามมานานหลายปี แต่ล่าสุดยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหาของทางราชการ

ทั้งนี้ มะพร้าวเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดในประเทศกว่า 5 แสนไร่ ทำไห้มีผลกระทบกับเกษตรกรจำนวนมาก จากปัญหาดังกล่าวทำให้บริษัทฯต้องสั่งนำเข้ามะพร้าวผลจากประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อนำมาผลิตให้เพียงพอกับโควต้าการส่งออกที่มีการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

“ สำหรับการแก้ปัญหาภายในสวนมะพร้าวกว่า 2,000 ไร่ รวมทั้งชาวสวนที่นำมาผลผลิตมาจำหน่ายอีกกว่า 1 แสนไร่ ขณะนี้ใช้สารเบนโซเอทฉีดเข้าลำต้นมะพร้าวที่มีความสูงกว่า 12 เมตร ส่วนต้นที่ต่ำกว่า 12 เมตร จะใช้ปริมาณยาน้อยกว่า 20 ซีซี เพื่อกำจัดหนอนหัวดำ 3 เดือนต่อ 1 ครั้ง ล่าสุดยืนยันว่ามะพร้าวขาวจากบริษัทที่ส่งออกไปทำน้ำกะทิทั่วโลกยังไม่มีปัญหาสารตกค้าง ยกเว้นผู้ที่ส่งออกมะพร้าวน้ำหอมในบางจังหวัดสินค้าถูกต่างประเทศตีกลับ สำหรับสารเบนโซเอทที่บริษัทนำมาใช้ในสวนจะมีราคาถูกกว่า 3 เท่าเมือเทียบปริมาณและ ขนาดเดียวกันกับราคาสารเคมีที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะจัดซื้อจากงบ 287 ล้านบาท แต่ทราบว่าขณะนี้เกษตรกรชาวสวนมะพร้าวทั้ง 29 จังหวัดทั่วประเทศยังไม่ได้รับการสนับสนุนยาดังกล่าว ขณะที่แมลงดำหนามยังระบาดขยายพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

นายมงคล สุขเจริญคณา ประธานหอการค้าจังหวัดสมุทรสงคราม กล่าวว่า จากกรณีที่ชาวสวนมะพร้าวประสบปัญหาการแพร่ระบาดของหนอนหัวดำทำให้ผลผลิตเสียหายในพื้นที่หลายตำบลของจังหวัดสมุทรสงคราม และภาครัฐได้มีการแนะนำให้ชาวสวนแก้ปัญหาด้วยการใช้สว่านเจาะลำต้นแล้วฉีดสารเคมีบางชนิดเข้าไปเพื่อทำลายหนอนหัวดำที่กัดกินยอดมะพร้าวจนยืนต้นตาย ซึ่งก็ยอมรับว่าได้ผลดี แต่การใช้สารเคมีดังกล่าวทางวิชาการให้ฉีดกับต้นมะพร้าวที่มีความสูงเกิน 12 เมตรเท่านั้น เพราะหากสูงไม่ถึง 12 เมตร สารเคมีจะถูกดูดซึมขึ้นไปตกค้างที่เนื้อและน้ำมะพร้าวได้

นายมงคล กล่าวว่าขณะนี้เริ่มมีชาวสวนบางรายที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ฉีดสารเคมีเข้าต้นมะพร้าวกันเอง และฉีดหมดทั้งสวนไม่เลือกต้นเตี้ยต้นสูง ที่น่าเป็นห่วงคือมะพร้าวน้ำหอมซึ่งปกติสูงไม่ถึง 12 เมตร นอกจากนี้บางพื้นที่ไม่มีหนอนหัวดำระบาดแต่ชาวสวนบางรายก็ยังฉีดสารดังกล่าวอ้างว่าเพื่อป้องกัน และมีการส่งผลผลิตไปจำหน่ายในหลายประเทศ ปัจจุบันราคาดีอยู่ที่ลูกละ 15-30 บาท หากมีการตรวจพบสารเคมีตกค้างก็อาจถูกส่งกลับคืนได้

อย่างไรก็ตามล่าสุดขณะนี้มีมะพร้าวน้ำหอมถูกตีกลับคืนจากต่างประเทศแล้ว เพราะตรวจพบสารตกค้าง จึงขอเตือนชาวสวนให้ระวังเรื่องนี้ให้มาก เพราะไม่เฉพาะกับต่างประเทศเท่านั้นที่เข้มงวดเรื่องนี้ ในประเทศไทยก็เช่นกันหากมีการตรวจเจอสารตกค้างผู้บริโภคก็อาจจะไม่กล้าซื้อรับประทาน ก็จะทำให้รายได้จากมะพร้าวซึ่งมีเม็ดเงินเข้าสู่จังหวัดสมุทรสงครามปีละหลายร้อยล้านบาทต้องเสียหายด้วย

ดังนั้นเกษตรกรจึงต้องช่วยกันระมัดระวังและขอให้ป้องกันหนอนหัวดำด้วยระบบธรรมชาติคือปล่อยแตนเบียนให้กินตัวอ่อนหนอนหัวดำเพื่อตัดวงจร แม้จะใช้เวลาบ้างแต่ก็ได้ผลดี จึงขอให้ชาวสวนงดใช้สารเคมีฉีดเข้าต้นมะพร้าวที่มีความสูงไม่เกิน 12 เมตรทันที เพื่อรักษามาตรฐานผลผลิต ส่วนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะสำนักงานเกษตรจังหวัด เจ้าหน้าที่ก็ต้องออกไปให้ความรู้แก่ชาวสวนเรื่องการฉีดสารดังกล่าวที่ถูกวิธีด้วย

นพ.สุขุม กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากหม่อนแบบครบวงจร ตั้งแต่การปลูกจนถึงการวิจัยทางคลินิก โดยพัฒนาแหล่งเพาะปลูกหม่อนที่สวนสมุนไพรกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จังหวัดระยอง ซึ่งได้รับการรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (Good Agricultural Practice; GAP) จากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 จนถึงปัจจุบัน และทำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สารสกัดหม่อนแคปซูล และ ได้รับสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เรื่อง “ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพที่มีสารสกัดจากใบหม่อนเป็นส่วนประกอบ”

จากการวิจัยพบว่า ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพนี้มีผลต่อการเพิ่มคุณภาพชีวิตของอาสาสมัครวัยกลางคนและผู้สูงอายุ โดยเพิ่มสมรรถภาพทางกาย ทำให้กล้ามเนื้อแขน และกล้ามเนื้อต้นขามีความแข็งแรงมากขึ้น ช่วยให้การทรงตัวดีขึ้น เพิ่มสมรรถภาพทางจิต ทำให้มีความสงบมากขึ้น ลดกลุ่มอาการซึมเศร้าและวิตกกังวล และเพิ่มการเรียนรู้และความจำ ทำให้เพิ่มความจำได้ดี และหลังจากนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์พร้อมที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ประกอบการที่สนใจ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสมุนไพรไทยตามนโยบายของรัฐบาล

“สำหรับแนวทางการยกระดับศักยภาพสมุนไพรสู่นวัตกรรม จำเป็นต้องมีองค์ความรู้ที่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์แบบสหสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทั้งหมด ตั้งแต่การคัดเลือกชนิดสมุนไพร การจัดหา สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตดี มีสารสำคัญสูง ทนทานต่อโรคและสิ่งแวดล้อม การปลูกและเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม การ แปรรูป การควบคุมคุณภาพเพื่อให้ได้วัตถุดิบหรือสารสกัดสมุนไพรที่ดี เพื่อนำไปศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและด้านความปลอดภัยทั้งหลอดทดลองและสัตว์ทดลอง รวมถึงการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของตลาด ตลอดจนการบรรจุและเก็บรักษาให้มีคุณภาพดี และมีความคงสภาพตลอดอายุที่ระบุในฉลาก ซึ่งสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีโครงการ”คุณภาพสมุนไพรไทย” เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สมุนไพรในประเทศให้มีมาตรฐานสากล สามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและตอบสนองนโยบาย ประเทศไทย 4.0 ได้”นพ.สุขุม กล่าว

“9 วัน สู่วันมหามงคล 65 วันสืบสานพระราชปณิธาน” กระทรวงเกษตรฯ บูรณาการ 7 หน่วยงาน และภาคประชาชน ร่วมมือปฏิบัติภารกิจเพิ่มผืนป่าทั่วประเทศไทย สานต่อพระราชปณิธานรัชกาลที่ 9 และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าจากพระบรมราโชวาทรัชกาลที่ 10 ที่กล่าวว่า “…ขอยึดพระราชดำริ รัชกาลที่ 9 ทำงานเพื่อชาติและประชาชน” และจากพระราชเสาวนีย์ ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 “พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ พระเจ้าอยู่หัว สร้างอ่างเก็บน้ำ ฉันก็จะสร้างป่า” แสดงให้เห็นถึงความห่วงใยประชาชนและปัญหาวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ที่ถูกทำลาย ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น สาเหตุส่วนใหญ่มาจากความต้องการใช้ที่ดินทำกินและควา มรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของราษฎร ที่เข้าไปบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าไม้เพื่อทำการเกษตร ตลอดจนการล่าสัตว์ป่าเพื่อนำมาเป็นอาหาร

ทำให้ปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทยถูกทำลายมากขึ้นทุกปี ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ในธรรมชาติและความแปรปรวนของสภาพอากาศ เช่น ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศลดลง กระบวนการเกิดฝนและปริมาณน้ำฝนตามธรรมชาติมีค่าผิดปกติตามมา การแสวงหาวิธีการและความร่วมมือร่วมใจของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ในการอนุรักษ์ป่าไม้ไม่ให้ถูกทำลายเพิ่มขึ้น และการฟื้นฟูสภาพผืนป่าที่ถูกทำลายให้กลับคืนสู่สภาพเดิม ในบางครั้งไม่สามารถดำเนินการเข้าถึงพื้นที่ป่าทางภาคพื้นได้ จึงจำเป็นจะต้องมีการบูรณาการจากหน้าที่ความรับผิดชอบหลักของแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้การฟื้นฟูผืนป่าเกิดประสิทธิภาพและเป็นไปตามวัตถุประสงค์พระบรมราโชวาทรัชกาลที่10 และตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9

นายเลิศวิโรจน์ กล่าวว่า “ในปี 2559 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ดำเนินโครงการโปรยเมล็ดพันธุ์พืชทางอากาศ หลังการปฏิบัติการฝนหลวงประจำวันในพื้นที่แหล่งต้นน้ำภายใต้แนวคิด“9 สัปดาห์ สู่วันมหามงคล” ซึ่งถือได้ว่าเป็นการทำงานเชิงบูรณการที่มีผลดี ต่อระบบนิเวศและการทำฝนหลวง เนื่องจากพื้นที่ป่าเป็นพื้นที่ต้นทุนในการให้กำเนิดความชื้นที่จะก่อตัว เป็นเมฆและตกเป็นฝนกลับสู่พื้นที่ป่าที่เป็นต้นน้ำ ไหลลงสู่พื้นที่การเกษตรและแหล่งกักเก็บน้ำตามธรรมชาติหรืออ่างเก็บน้ำไว้ใช้ต่อไปและเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร 28 กรกฎาคม 2560 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้จัดทำโครงการโปรยเมล็ดพันธุ์พืชทางอากาศในพื้นที่แหล่งต้นน้ำ ภายใต้แนวคิด “9 วัน สู่วันมหามงคล 65 วันสืบสานพระราชปณิธาน”เป็นการคืนผืนป่าเพื่อสานต่อพระราชปณิธาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เพื่อเพิ่มความชื้นให้กับพื้นที่ป่าไม้ ถือได้ว่าเป็นโครงการหนึ่งในการสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งทุกฝ่ายตระหนักในคุณค่าของป่าต้นน้ำและน้อมนำแนวพระราชดำริศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ไปเป็นแนวทางในการสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อรักษาระบบนิเวศป่าไม้และสิ่งแวดล้อม ทำให้พื้นที่ป่าไม้ ต้นน้ำสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเอื้อประโยชน์ต่อพื้นที่ชุมชนได้อย่างยั่งยืนรวมถึงเป็นการเร่งขยายพันธุ์กล้าไม้กลายเป็นสภาพป่าธรรมชาติต่อไป”

นายเลิศวิโรจน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “การโปรยเมล็ดพันธุ์พืชทางอากาศในพื้นที่แหล่งต้นน้ำบริเวณพื้นที่เดินเท้าเข้าถึงยากหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติการฝนหลวงในแต่ละวัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ทรัพยากรป่าไม้ได้ ทั้งนี้ มีหน่วยงานร่วมรับผิดชอบดำเนินการ 7 หน่วยงาน และภาคประชาชน ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย กรมฝนหลวงและการบินเกษตร และกรมชลประทาน กองทัพบก โดยกองทัพภาคที่ 2 จังหวัดนครราชสีมา มณฑลทหารบกที่ 15 จังหวัดเพชรบุรี และมณฑลทหารบกที่ 31 จังหวัดนครสวรรค์ กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมการปกครอง และกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงเกษตรกร อาสาสมัครฝนหลวง และประชาชนทั่วไปด้วย เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าต้นน้ำ และแหล่งอาหารสัตว์ป่า ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและพื้นที่ผืนป่าทั่วประเทศอย่างยั่งยืนเป็นการสร้างความสมบูรณ์และกำหนดพื้นที่ยู่อาศัยของสัตว์ป่าไม่ให้อพยพออกจากป่ามาสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่การเกษตร เพิ่มพื้นที่ผืนป่าในแหล่งต้นน้ำของเขื่อนต่างๆ เป็นการทำงานเชิงบูรณาการระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐ และประชาชนทั่วไป ทำให้เกิดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน”

นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวว่า “โครงการโปรยเมล็ดพันธุ์พืชเพื่อสร้างความชุ่มชื้นและเพิ่มผืนป่าทั่วประเทศไทย สานต่อพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่ป่าต้นน้ำและเป็นแหล่งอาหารให้สัตว์ป่า โดยได้มีการเตรียมความพร้อมการปั้น เมล็ดพันธุ์พืช ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกรมฝนหลวงและการบินเกษตรกับกองทัพบก โดยกองทัพภาคที่ 2 จังหวัดนครราชสีมา มณฑลทหารบกที่ 31 จังหวัดนครสวรรค์ และมณฑลทหารบกที่ 15 จังหวัดเพชรบุรี เพื่อเตรียมเมล็ดพันธุ์พืชสำหรับใช้โปรยในโครงการดังกล่าว ซึ่งมีชนิดเมล็ดพันธุ์พืชที่ใช้ในโครงการและพื้นที่เป้าหมายการโปรยทางภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ดังนี้

– ภาคกลาง โปรยเมล็ดพันธุ์พืชจำนวน 10 ชนิด ได้แก่ กัลปพฤกษ์ กาฬพฤกษ์ ขี้เหล็ก แดง พฤกษ์ มะค่าแต้ ราชพฤกษ์ (คูน) สาธร (กระเจาะ) สีเสียด (สีเสียดแก่น) และอะราง (นนทรีป่า) โดยความรับผิดชอบของศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคกลาง ในพื้นที่เป้าหมายบริเวณอุทยานแห่งชาติน้ำหนาวและอุทยานแห่งชาติเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์

– ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โปรยเมล็ดพันธุ์พืชจำนวน 2 ชนิด ได้แก่ ไผ่รวกและพะยูง โดยความรับผิดชอบของศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในพื้นที่เป้าหมายบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

– ภาคใต้ โปรยเมล็ดพันธุ์พืชจำนวน 2 ชนิด ได้แก่ ประดู่ (ตีปีก) และมะค่าโมง โดยความรับผิดชอบของศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ ในพื้นที่เป้าหมายบริเวณอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดนครราชสีมา

นายสุรสีห์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “โครงการโปรยเมล็ดพันธุ์พืชเพื่อสร้างความชุ่มชื้นและเพิ่มผืนป่าทั่วประเทศไทย ฯ ในปีนี้ได้เริ่มดำเนินการระยะที่ 1เมื่อเดือนเมษายน ถึงกรกฎาคม 2560 ในการเตรียมเมล็ดพันธุ์ จากนั้นระยะที่ 2 ปฏิบัติการโปรยเมล็ดพันธุ์ กรกฎาคม -กันยายน 2560 สำหรับระยะที่ 3 สุดท้าย จะเป็นการประเมินผล ในเดือนสิงหาคม – กันยายน 2560 และจะมีพิธีเปิดโครงการในวันที่ 13 กรกฎาคม 2560 ณ เขื่อนลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งได้รับเกียรติจาก พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดด้วย”

ปัญหาของเกษตรกร นอกจากเรื่องดินฟ้า อากาศที่ยากจะควบคุมแล้ว ยังมีเรื่องของราคาผลผลิตที่ผันผวนพอๆ กับภูมิอากาศ ทำให้ลูกหลานเกษตรกรต้องคิดแล้ว คิดอีกว่า การกลับไปสู่วิถีเกษตรที่สืบทอดกันมาจะไปได้ตลอดรอดฝั่งแน่หรือ?

แต่ครั้นจะให้เกษตรกรเปลี่ยนวิถีมาทำอาชีพอื่นก็เป็นเรื่องยาก ทั้งเรื่องของการเรียนรู้ใหม่ เริ่มต้นจากศูนย์อีกครั้ง และความไม่เชื่อมั่นในเรื่องของตลาด ว่าทำแล้วจะขายที่ไหน ? จะขายได้จริงหรือ?

ทุกศึกย่อมต้องมีผู้กล้า เช่นเดียวกับการแก้ปัญหายางพาราในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ที่ต้องการบุคคลต้นแบบ คนลองผิดลองถูกให้เห็นชัดก่อน

ชาย คงแก้ว ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพัทลุง และผู้ก่อตั้งวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพสหกรณ์บ้านพังดาน ตำบลนาขยาด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ซึ่งริเริ่มแปรรูปหมอนยางพาราเพื่อสุขภาพ สร้างมูลค่าเพิ่มจากผลผลิตยางพารา นับเป็นเจ้าแรกที่ริเริ่มการผลิตหมอนยางพาราในระดับชุมชนโดยคนท้องถิ่น

“ชาย” เล่าว่า ในช่วงปี 2556 ราคายางพาราตกต่ำถึงขีดสุด จากราคา 180 บาท/กิโลกรัม เหลือ 30 บาท/กิโลกรัม ชาวบ้านเดือดร้อนอย่างหนัก เขาเองในฐานะเจ้าหน้าที่จึงไม่ได้วางเฉย ส่งเสริมเกษตรกรให้ปลูกผักเสริม เช่น ผักเหลียง สะละ โดยลดพื้นที่ปลูกยางลง หันมาปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นควบคู่กัน

แต่ก็ไม่ได้ผล เนื่องจากพืชเสริมนั้นไม่สามารถสร้างรายได้ที่ยั่งยืน ส่วนพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น ชาวบ้านขาดทั้งประสบการณ์และความมั่นใจเรื่อง
การตลาด นอกจากนี้ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกปาล์มน้ำมันก็ประสบปัญหาเรื่องราคาซ้ำซาก

บวกกับวิถีชีวิตของคนในภาคใต้ผูกพัน คุ้นเคยการทำสวนยางพารา สืบทอดกันมานานกว่า 100 ปี จึงยากที่จะเปลี่ยนแปลง เมื่อเปลี่ยนไม่ได้ เขาจึงมองว่า “การปรับ” น่าจะเป็นทางออก โดยได้ไปศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่า จากน้ำยางดิบสู่โรงงานผลิตน้ำยางข้น แปรสภาพสู่ผลิตภัณฑ์ยางในรูปแบบต่างๆ

เมื่อได้งบประมาณยุทธศาสตร์ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย จึงลงทุนโรงงานทำน้ำยางข้นในพื้นที่ ตำบลพนมวังก์ เพื่อรองรับผลผลิตในพื้นที่ก่อน แต่เมื่อลงพื้นที่พบว่ามีคนบางกลุ่มไม่ต้องการให้เกิดโรงงานขึ้นในชุมชนของตน เพราะกังวลปัญหาเรื่องมลพิษและสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันไม่ว่าจะย้ายพื้นที่ไปที่ไหนก็จะมีข้อขัดแย้งระหว่างกลุ่มที่ต้องการโรงงานแปรรูป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรและกลุ่มที่ต่อต้าน

ในวันนั้น “ชาย” ถูกชี้หน้า พร้อมคำถามว่า “ถ้าหากดีจริง ทำไมไม่ไปทำที่บ้านของตนเอง” จึงเข้าใจและตระหนักได้ว่า ก่อนจะเกิดงานใหญ่ต้องเริ่มจากงานเล็กก่อน

ในเมื่อโรงงานสร้างความขัดแย้ง หน้าที่ของเขาทั้งหน้าที่ของข้าราชการและผู้ริเริ่ม คือการสร้างความเข้าใจ และทำให้เห็นเป็นตัวอย่างก่อน ค่อยๆ สร้างความเชื่อมั่นให้แก่คนในพื้นที่ เมื่อชาวบ้านเห็นว่าเป็นไปได้ เห็นว่าสามารถแก้ปัญหาได้ สุดท้ายก็จะเริ่มทำเอง “ชาย” ใช้เงินส่วนตัว 3 แสนบาท ตั้งโรงงานขนาดเล็ก โดยไปศึกษาเครื่องจักรจากสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร แล้วนำมาลดสเกลลงจากเครื่องปั่นน้ำยาง 100 ลิตร สู่เครื่องปั่นน้ำยางขนาด 30 ลิตร และเครื่องมือขึ้นรูปอื่นๆ

เริ่มจำหน่ายในชุมชนใช้กันเองในหมู่ญาติ จากนั้นมีการบอกต่อ แนะนำกันปากต่อปากอย่างต่อเนื่อง

“แรกเริ่มเดิมทีที่มีคนมาซื้อเพราะเขาสงสัย ว่ามันจะเป็นไปได้อย่างไร สงสัยว่ามันจะดีจริงหรือ เมื่อสงสัยเขาก็อยากรู้ และเมื่อเริ่มมีคนนำไปใช้ แล้วแนะนำปากต่อปาก ทำให้ชุมชนอื่นมาดูงาน ซึ่งเรายินดีมากที่เขาจะเข้ามาศึกษาดูงาน และยินดียิ่งขึ้นหากเขาต้องการนำโมเดลนี้ไปทำที่ชุมชนของเขา เราเปิดกว้างให้เขาเข้ามาดูทุกกระบวนการโดยไม่มีค่าใช้จ่าย คุณจะเอาช่างกลึง ช่างเหล็กมาถอดแบบไปทำเพื่อลดค่าใช้จ่ายก็ได้ หรือหากคุณอยู่ไกลก็สามารถศึกษาได้จากสถาบันวิจัยยาง เพราะตอนนี้เครื่องจักรขนาดเล็กแบบที่เรามี ทางสถาบันวิจัยยางก็เริ่มทำไว้แล้ว คุณทำแล้วไม่มีที่ขาย เราขายให้ได้”

“เราไม่เก่ง แต่ไม่ปิดตัวเองที่จะได้เรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้สนใจ จากวันนั้นมาเรามีผู้มาเยือนมากกว่า 20,000 คน/เดือน จากทั่วสารทิศ เกิดโรงงานที่นำโมเดลเราไปใช้กว่า 7 จังหวัดในภาคใต้ ไม่ต่ำกว่า 20 โรงงาน”

หลายครั้งมีกลุ่มผู้มาเยือนที่ไม่คิดว่าจะเกี่ยวกับการทำงาน แต่ได้แลกเปลี่ยน ได้พัฒนาสินค้า เช่น คณะจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มนี้ชี้ให้เราเห็นถึงตลาดมุสลิม จนทำให้เราพัฒนาผ้ารองละหมาด ที่นอนพกพาสำหรับผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ ชมรมปั่นจักรยาน ทำให้เราพัฒนาเบาะอานจักรยานจากยางพารา ช่วยลดแรงกระแทก กลุ่มบิ๊กไบก์ ทำให้เราพัฒนาชุดกันกระแทก ทุกอย่างค่อยๆ เกิดขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเราเปิดรับ จากขายในชุมชน เราก็ขยายกลุ่มลูกค้าออกไปได้เรื่อยๆ

“แม้เป็นเพียงปรากฏการณ์เล็กๆ festivaladventures.com ไม่ได้ทำให้กลไกการตลาดเปลี่ยนแปลง แต่เราต้องการสร้างตัวอย่างให้เห็นว่า จะมัวรอให้รัฐบาลมาอุดหนุนอุ้มชูตลอดไปไม่ได้ พื้นที่ปลูกยางพาราทั่วประเทศมีมากถึง 22 ล้านไร่ ต่อให้รัฐบาลอุดหนุนกิโลกรัมละ 10 บาท ในอัตราสวนละ 2 กิโลกรัม ต่อวัน รัฐต้องจ่าย 440 ล้านบาท/วัน ไม่มีทางยั่งยืน และไม่มีทางที่จะทำได้ตลอดไป เราต้องหาทางออก ต้องสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบสู่ผลิตภัณฑ์”

ปัจจุบัน วิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพสหกรณ์บ้านพังดาน สามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนได้ไม่น้อยกว่า 50 คน ทำงานในโรงงานฝ่ายผลิต 6 คน ตัดแต่งบรรจุภัณฑ์ 6 คน ตัดเย็บปลอกหมอน 17 คน และทำการตลาด รับหมอนไปขายต่ออีก 20 คน ส่งผลให้คนในชุมชนมีรายได้เพิ่ม ชดเชยการขาดรายได้จากราคายางพาราตกต่ำ ได้ไม่น้อยกว่า 10,000 บาท/คน/เดือน นอกจากจะเป็นทางเลือกสำหรับชาวสวนแล้ว ยังเป็นแนวทางสร้างความเชื่อมั่นในอาชีพทำสวนยางต่อไปด้วย

ช่วงฤดูแล้งของทุกปี พื้นที่ภาคเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงราย ประสบปัญหาไฟป่าและหมอกควันเกิดขึ้นเป็นประจำ ส่งผลกระทบต่อชีวิตประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ

ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ และประชาชนที่ต้องทำงานกลางแจ้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้หน่วยงานทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ท้องถิ่น และประชาชนมีความตื่นตัว ร่วมกันวางแนวทางป้องกัน และแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง โดยทำกิจกรรมป้องกัน ตลอดจนรณรงค์ลดการเผา ซึ่งเป็นวิถีของชาวบ้านที่เชื่อกันว่า “การเผา” ทำให้ขี้เถ้ากลายเป็นปุ๋ยและป่าใหม่ ทำให้พืชพันธุ์อุดมสมบูรณ์ แต่ผลที่เกิดขึ้นในทางตรงกันข้าม คือการทำลายป่าไม้และผืนดินให้เสื่อมโทรม

จากแนวทางป้องกันและรณรงค์กันในทุกหมู่บ้าน ทำให้ปีนี้ประสบความสำเร็จ สามารถลดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศต่ำกว่า 10 ไมครอน ไม่ให้เกินค่ามาตรฐานที่ 120 ไมโครกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ได้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ทำให้สถิติมีฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน 3 วันเพียงครั้งเดียว โดยเฉพาะพื้นที่ อำเภอแม่สรวย ที่ไม่พบจุดฮอตสปอตแม้แต่ครั้งเดียว จากเดิมทุกปีค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐานมากกว่า 10 ครั้ง แต่ละครั้งนานเกินสัปดาห์

“บ้านหัวดอย” หมู่ที่ 6 ตำบลท่าสาย อำเภอเมืองเชียงราย เป็นอีกหนึ่งหมู่บ้านที่ประสบความสำเร็จในการป้องกันและดูแลรักษาป่า ลดปัญหาควัน

ประสิทธิ์ เทพศิลป์ ผู้ใหญ่บ้านบ้านหัวดอย บอกว่า ชาวบ้านร่วมกันรณรงค์หยุดเผาป่า ล่าสัตว์และตัดไม้ รวมทั้งสร้างกฎของหมู่บ้านเพื่อป้องปรามการรุกล้ำทำลายป่า หลังดำเนินการมาต่อเนื่องกว่า 3 ปี ทำให้ป่ามีความอุดมสมบูรณ์ ส่งผลให้ชาวบ้านสามารถหาเห็ดและของป่าได้จำนวนมาก ช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชน การดำเนินการของหมู่บ้านได้รับการสนับสนุนจากสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 เข้ามาให้ความรู้ประชาชน จัดหาพันธุ์ไม้มาปลูกเพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้ผืนป่ากว่า 2,500 ไร่

“ก่อนหน้านี้ พื้นที่ป่าของหมู่บ้านเป็นป่าเสื่อมโทรมและเกิดไฟป่าทุกปี เกิดจากฝีมือมนุษย์แทบจะ 100% ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้เห็ดเผาะ หรือเห็ดถอบออกมาให้เก็บขายได้ ทำให้เกิดการลักลอบเผาป่า หลังได้รับตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ได้ร่วมกับชาวบ้านและได้รับการสนับสนุนวิทยาการและงบประมาณป้องกันไฟป่าและปลูกป่า เมื่อชาวบ้านเริ่มเข้าใจปัญหาและผลกระทบ ก็หันมาให้ความร่วมมือมากขึ้น นอกจากนี้ได้ออก “กฎของหมู่บ้าน” เพื่อรักษาป่า โดยห้ามตัดทำลายต้นไม้ กำหนดมีค่าปรับตามขนาดของต้นไม้ที่ตัด หากใครเผาป่าจะถูกจับปรับนำเงินเข้าหมู่บ้าน รวมทั้งส่งตัวดำเนินคดีตามกฎหมาย