พื้นที่สวนมีทั้งหมด 12 ไร่ จะแบ่งพื้นที่ปลูกกล้วยไว้ครึ่งหนึ่ง 6 ไร่

มี 4 ร่อง ปลูกเฉพาะแต่ละสายพันธุ์ ปลูกครั้งละ 2-3 ร่อง เพื่อที่ทุกๆ 2-3 ปี จะต้องสลับพื้นที่ปลูก เพราะว่ากล้วยเป็นพืชที่อายุไม่ยืน จึงจำเป็นต้องย้ายแปลงปลูกและต้องมีการเตรียมดินเอาไว้สลับพื้นที่ปลูก ถ้าปลูกซ้ำที่เดิมผลผลิตจะออกได้ไม่ดีเท่าที่ควร ยกตัวอย่างก่อนหน้าไม่นานมานี้ที่แปลงเพิ่งจะโดนพายุ ทำให้สายพันธุ์ที่สะสมไว้ได้รับความเสียหายไปมากกว่าสิบสายพันธุ์ เพราะเตรียมแปลงปลูกใหม่ไม่ทัน ทำให้จากเดิมมี 187 สายพันธุ์ ลดเหลือ 170 กว่าสายพันธุ์

การแบ่งพื้นที่ปลูก…เลือกปลูกสายพันธุ์ละ 2-3 ต้น แต่ถ้าสายพันธุ์ใดลูกค้านิยมก็จะปลูกให้เพียงพอต่อความต้องการ 10-20 ต้น ซึ่งสายพันธุ์หลักที่สร้างรายได้จะมี พันธุ์น้ำว้าดำ พันธุ์เทพนม พันธุ์สาวกระทืบหอ พันธุ์เทพรส และอื่นๆ อีกนับแล้วประมาณ 10 สายพันธุ์ ส่วนสายพันธุ์ที่ขายได้บ่อยๆ ก็มีประมาณ 50 กว่าสายพันธุ์ โดยกลุ่มลูกค้าที่เข้ามา จะมีอยู่ 4 ประเภท

1. ลูกค้าที่มีความทรงจำในวัยเด็กว่าเคยกินกล้วยสายพันธุ์นี้แล้วอร่อยมาก แต่ตอนโตหาซื้อกินไม่ได้ แล้วเขามาเห็นเขาก็ดีใจซื้อไปปลูกไว้กินเอง
2. ซื้อไปเป็นไม้ประดับ เลือกสายพันธุ์ที่ใบลายๆ หรือมีดอกสีสันสวยงาม
3. พ่อค้านักเก็งกำไร ซื้อแล้วนำไปขายต่อ
4. ลูกค้าที่ซื้อพันธุ์ทั่วไป อย่างกล้วยน้ำว้า และกล้วยหอม อันนี้ซื้อไปเพื่อนำไปปลูกขายผล กลุ่มนี้จะซื้อจำนวนมาก
ผลผลิต …เกือบทุกสายพันธุ์จะมีผลออกมาให้เห็น แต่ผลที่ออกมานั้นส่วนใหญ่ลักษณะจะไม่เหมาะกับการนำมากิน บางพันธุ์มีผลเล็กเท่านิ้วก้อย หรือบางพันธุ์เป็นกล้วยป่า ข้างในจะมีเมล็ด และอีกพันธุ์ที่มีผลใหญ่ 1 ลูก น้ำหนักหลายขีด ประเภทนี้แป้งจะมากกัดกินเข้าไปจะรู้สึกเหมือนเคี้ยวมันสำปะหลัง

ยกตัวอย่าง การปลูกกล้วย
สายพันธุ์แปลก
ขอยกตัวอย่างการปลูกกล้วยเทพนม เจ้าของบอกว่า คล้ายกับการปลูกกล้วยน้ำว้า ขุดหลุม ลึกxกว้าง 50×50 เซนติเมตร สำหรับที่จะใส่วัสดุรองก้นหลุม แต่ถ้าไม่ใส่ ให้ขุดตื้นขึ้นมาเหลือ 30 เซนติเมตร แต่ต้องดูขนาดเหง้าด้วย ถ้าเหง้ามีขนาดใหญ่ก็ขุดลึกหน่อย

การดูแล… เมื่อขุดหลุมลงปลูกเสร็จที่สำคัญคือ ต้องเหยียบดินให้แน่นแล้วรดน้ำ เพราะถ้าไม่เหยียบดินให้แน่นจะเกิดช่องว่างในดินเวลารดน้ำ น้ำจะขังเยอะทำให้รากเน่า เพราะกล้วยเป็นพืชที่ชอบชุ่ม แต่ไม่ชอบแฉะ ช่วงเดือนแรกต้องดูต้นดีๆ เพื่อให้ต้นสร้างราก เมื่อสร้างรากออกมาแล้วเริ่มแตกใบที่ยอดประมาณเดือนครึ่งก็ถือว่ารอดแล้ว

ผลผลิต… ถ้าปลูกเพื่อตัดหน่อขาย ระยะเพียง 6-7 เดือน ก็สามารถขุดขายได้แล้ว 1 ต้น ให้ผลผลิตประมาณ 5-8 หน่อ ขึ้นอยู่ที่ความสมบูรณ์ของหน่อและสายพันธุ์ด้วย เช่น กล้วยงาช้าง จะมีหน่อออกมาเยอะมาก ออกรอบต้น 2 รอบ ประมาณ 20 กว่าหน่อ แต่ก็ไม่ได้สมบูรณ์ทุกหน่อ ถ้าดูแล้วหน่อไหนไม่สมบูรณ์ก็ปาดทิ้ง เพื่อจะได้เก็บหน่อที่สมบูรณ์แข็งแรงไว้

ข้อดีของการปลูกเพื่อขายต้นพันธุ์ …

1. ดูแลง่ายกว่า แต่ต้องรดน้ำใส่ปุ๋ยคล้ายกัน แต่ถ้าปลูกเพื่อขายหน่อจะต้องการน้ำมากหน่อย
2. ได้จำนวนผลผลิตมากกว่า ถ้าขายผล 1 ต้น ได้ 1 เครือ แต่ถ้าขายหน่อ 1 ต้นแม่ สามารถขายได้ 5-7 หน่อ
3. มีความเสี่ยงน้อยกว่า ถ้าต้นแม่พันธุ์หักก็ยังสามารถขายหน่อได้
4. ขายผลผลิตได้เร็วกว่า

ราคาขาย …ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์หายากง่าย ตอนนี้ที่สวนมีต้นพันธุ์ราคาตั้งแต่ 50-2,000 บาท ต้นพันธุ์ที่ราคาแพงที่สุดคือ กล้วยร้อยปลี ราคา 2,000 บาท มีลักษณะเป็นดอกห้อยลงมายาวประมาณ 60-130 เซนติเมตร ซึ่งเรียกว่า หัวปลี ส่วนสายพันธุ์ที่ราคารองลงมาคือ สายพันธุ์ฮัวเมา ราคาต้นละ 1,500 บาท มาจากฮาวาย ลักษณะผลจะกลมๆ ใหญ่ๆ เกือบเท่ากระป๋องเบียร์และเป็นเหลี่ยม 10-20 เหลี่ยม

รายได้ …การขุดต้นพันธุ์ขายเหมาะกับการทำเป็นรายได้เสริม เพราะมีรายได้ที่ไม่แน่นอน บางเดือนขายได้หลักร้อยถึงหลักพัน บางเดือนขายได้หลักหลายหมื่น ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าในช่วงนั้น หรือถ้าลูกค้าต้องการมาก แต่เรามีไม่พอกับที่ลูกค้าต้องการก็ขายไม่ได้ เพราะบางครั้งลูกค้าต้องการสายพันธุ์ซ้ำๆ กัน ก็ผลิตให้ไม่ทัน ถือว่าเป็นอาชีพเสริมที่พอสร้างรายได้ ซึ่งในอนาคตมองว่าอยากที่จะพัฒนาและสร้างรายได้จากกล้วยสายพันธุ์แปลกที่มีอยู่ให้เกิดมูลค่ามากกว่านี้ แต่อาจจะต้องร่วมกับผู้รู้เข้ามาทำการวิจัยหาจุดเด่นของกล้วยแต่ละสายพันธุ์ว่าสามารถนำไปแปรรูปหรือสร้างประโยชน์อะไรได้บ้าง คุณตั้ม กล่าวทิ้งท้าย

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม 2564 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกัญชงอินทรีย์ภาคเหนือ (Northern organic Hemp: NOH) ซึ่งประกอบไปด้วยวิสาหกิจชุมชนจากจังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา และลำพูน จำนวน 16 วิสาหกิจชุมชน ในโครงการปลูกกัญชงสายพันธุ์ที่ให้สารสำคัญสูง เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตในภาคเหนือของประเทศไทย ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพและจัดทำเป็นฐานข้อมูลสะดวกใช้ในระบบ Cloud โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ นายสุชาติ อินต๊ะเขียว ประธานเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกกัญชงอินทรีย์ภาคเหนือ เป็นผู้แทนลงนามทั้งสองฝ่าย โอกาสนี้ นายนเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี(ปฏิบัติงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) และ ดร.ธนสาร ธรรมสอน ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวแสดงความยินดีและให้กำลังใจ (ผ่านระบบออนไลน์) แก่เกษตรกรในเครือข่ายที่ได้ร่วมโครงการกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทั้งนี้ มีคณะผู้บริหารของทางสองหน่วยงานร่วมเป็นสักขีพยายาน ณ สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้

โครงการปลูกกัญชงสายพันธุ์ที่ให้สารสำคัญสูง เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตในภาคเหนือของประเทศไทย ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพและจัดทำเป็นฐานข้อมูลสะดวกใช้ในระบบ Cloud เป็นโครงการที่ทั้งสองฝ่ายมีเจตนารมณ์ร่วมกันในการขอรับอนุญาตผลิต (ปลูก)กัญชง ผลิตผลิตภัณฑ์จากพืชกัญชงและนำผลผลิตและผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ โดยร่วมกันสนับสนุนองค์ความรู้ และนวัตกรรมในเกษตรกรเพาะปลูกกัญชงระบบเกษตรอินทรีย์ ร่วมกันทดลองสายพันธุ์กัญชงที่มีเสถียรภาพ ผลผลิตต่อไร่สูง ให้สารสำคัญ CBD สูง มี THC ต่ำตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของภาคเหนือ และยังดำเนินการรวบรวมและพัฒนาข้อมูลการปลูกกัญชงอินทรีย์ทั้งกระบวนการ แล้วจัดเก็บฐานข้อมูลในระบบคลาวด์ เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งานและเป็นต้นแบบให้แก่เกษตรกร และประชาชนที่สนใจต่อไปในอนาคต ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันแต่งตั้งคณะทำงานและนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญมาร่วมพัฒนาและมอบหมายให้ผู้แทนของแต่ละฝ่ายได้ตกลงกันในรายละเอียดภายใต้วัตถุประสงค์และขอบเขตความร่วมมือ หน้าที่และความรับผิดชอบตามที่กำหนด โดยบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ มีกำหนดระยะเวลา 5 ปี

คุณอนันต์ อักษรศรี รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ในฐานะโฆษกกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากภารกิจที่ได้รับมอบหมายจาก คุณพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ให้กำกับดูแลการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายของหน่วยงานในส่วนภูมิภาคที่รับผิดชอบ

ซึ่งอธิบดีกรมวิชาการเกษตรมีนโยบายหลักต้องการให้หน่วยงานในพื้นที่ส่วนภูมิภาคนำผลงานวิจัยในทุกด้านของกรมวิชาการเกษตรขยายผลไปสู่เกษตรกรนำไปใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด ซึ่งจากการลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้างานตามนโยบายดังกล่าวในเขตพื้นที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก ได้รับรายงานความก้าวหน้างานวิจัยและปรับปรุงพันธุ์พืชจำนวน 3 พืช ได้แก่ มะนาว ส้มโอ และมันเทศ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งคาดว่าจะเสนอพันธุ์พืชทั้ง 3 พันธุ์ให้เป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตรได้ในปี 2565

มะนาว สายต้น 1-02-07-2 และสายต้น 1-07-01-4 ผ่านการปรับปรุงพันธุ์ โดย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร โดยนำมะนาวพันธุ์พิจิตร 1 ไปฉายรังสีแกมมา เพื่อให้มีเมล็ดน้อยลง เปลือกบางและยังคงทนทานต่อโรคแคงเกอร์เหมือนพันธุ์เดิม โดยได้คัดเลือกสายต้นมะนาวพันธุ์พิจิตร 1 ตามหลักเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ จำนวนเมล็ดน้อยกว่า 10 เมล็ดต่อผล เปลือกบาง ทนทานต่อโรคแคงเกอร์ ให้ผลผลิตและคุณภาพดี และปลูกเปรียบเทียบสายต้นมะนาวพิจิตร 1 ที่มีเมล็ดน้อยหรือไม่มีเมล็ด ที่ศูนย์วิจัยพัฒนาการเกษตรพิจิตร ปี 2562-2564

ปลูกทดสอบสายต้นมะนาวพิจิตร 1 ที่มีเมล็ดน้อยหรือไม่มีเมล็ด ณ ศูนย์วิจัยพัฒนาการเกษตรพิจิตร ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย แปลงเกษตรกรจังหวัดพิจิตร กำแพงเพชร และเพชรบุรี โดยการวิจัยและปรับปรุงพันธุ์ในครั้งนี้เพื่อให้ได้มะนาวพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะเด่นทนทานต่อโรคแคงเกอร์ เมล็ดน้อยหรือไม่มีเมล็ด เปลือกบาง การเจริญเติบโตดี และให้ผลผลิตสูง

ส้มโอสายต้นท่าชัย 32 ได้จากการคัดเลือกสายต้นส้มโอในแปลงส้มโอเพาะเมล็ดจากเมล็ดส้มโอพันธุ์ทองดีที่ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย โดยในปี 2543-2550 คัดเลือกสายต้นส้มโอที่ได้จากการเพาะเมล็ด 200 สายต้น ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย ปี 2551-2555 เปรียบเทียบสายต้นส้มโอจากการเพาะเมล็ดที่ผ่านการคัดเลือก 10 สายต้น ร่วมกับพันธุ์ทองดีและพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย

และปี 2557-2564 ทดสอบสายต้นส้มโอจากการเพาะเมล็ดที่ผ่านการคัดเลือกเปรียบเทียบ 4 สายต้นร่วมกับพันธุ์ทองดี ในแหล่งปลูก 3 สถานที่ ได้แก่ ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย แปลงเกษตรกรจังหวัดพิจิตรและชัยภูมิ โดยการวิจัยและปรับปรุงพันธุ์ในครั้งนี้เพื่อให้ได้ส้มโอพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะเด่นคือ กุ้งมีสีน้ำผึ้งอมชมพู รสหวาน ฉ่ำน้ำน้อย มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ผลค่อนข้างใหญ่กว่าพันธุ์ทองดี และสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในเขตภาคเหนือตอนล่างได้ดี

มันเทศสายต้น พจ.06-15 ได้จากการผสมเปิดของมันเทศพันธุ์ พจ.166-5 ที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร โดยใช้พันธุ์มันเทศเนื้อสีขาวสำหรับเป็นพันธุ์พ่อแม่พันธุ์ ทำการเปรียบเทียบพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร

และทดสอบพันธุ์ภายศูนย์วิจัยฯ ของกรมวิชาการเกษตร ได้แก่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี และศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ และปลูกทดสอบในแปลงเกษตรกร โดยมันเทศสายต้น พจ.06-15 ที่กำลังอยู่ระหว่างการวิจัยปรับปรุงพันธุ์ดังกล่าวนี้ มีลักษณะเด่นคือให้ผลผลิตเฉลี่ย 3,313 กิโลกรัมต่อไร่ เนื้อสีขาว รูปทรงหัวแบบยาวรี ปริมาณแป้งร้อยละ 25.0 คิดเป็นผลผลิตแป้ง 828 กิโลกรัมต่อไร่ และสามารถใช้ได้ทั้งบริโภคสดและอุตสาหกรรมแป้ง

“งานวิจัยและปรับปรุงพันธุ์พืชเป็นภารกิจหลักที่สำคัญของกรมวิชาการเกษตร เพื่อให้ได้พันธุ์พืชใหม่ที่ให้ผลผลิตสูง ทนทานต่อโรค แมลง และสภาพแวดล้อม ช่วยลดต้นทุนการผลิตและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเพิ่มขึ้น ซึ่งพันธุ์พืชทั้ง 3 พันธุ์ที่อยู่ระหว่างการวิจัย และทดสอบดังกล่าวคาดว่าจะได้รับการพิจารณาเป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตรได้ภายในปี 2565 หลังจากนั้น จึงจะกระจายพันธุ์ไปสู่เกษตรกรในพื้นที่เพื่อนำปลูกเป็นทางเลือกสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นต่อไป” โฆษกกรมวิชาการเกษตรกล่าว

บ้านหินเหิบ ต.แหลมทอง อ.ภักดีชุมพล เป็นแหล่งปลูกหอม ปลูกกระเทียมแหล่งใหญ่ของจังหวัดชัยภูมิ รวมแล้วมีเนื้อที่ปลูกมากถึง3 พันไร่ แต่ละบ้านจะมีที่โรงเก็บหอมกระเทียมอยู่ข้างบ้านขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้างตามกำลังทรัพย์

นอกจากจะปลูกหอมกระเทียมส่งขายต่างประเทศแล้ว ยังปลูกพริกเม็ดใหญ่แบบพริกชี้ฟ้าอีกด้วย ชอบใจตรงที่โรงเรียนบ้านหินเหิบซับภูทองของตำบลนี้ จะปั้นกระเทียมอันเบ้อเริ่มเป็นสัญลักษณ์ให้ผู้มาเยือนได้ทราบว่าที่นี่คือแหล่งปลูกหอม กระเทียม ซึ่งเกษตรกรปลูกกันมานานกว่า10 ปีแล้ว

ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่อพยพมาจากจังหวัดอื่นๆ ในภาคอีสาน แล้วมาจับจองที่ดินทำกิน อย่างคุณเจริญชัย พรมลี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 แหลมทอง ก็ยังมีที่ดินถึง 90 ไร่

ผู้ใหญ่ เจริญชัย เล่าให้ฟังว่า พื้นที่ที่บ้านหินเหิบถือว่าอุดมสมบูรณ์สามารถทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปีเพราะมีลำน้ำจากเขาไหลผ่าน เริ่มจากเดือนเมษายนจะลงพริกก่อน ซึ่งเป็นพริกชี้ฟ้าลูกผสม และพริกขี้หนูลูกผสมของซุปเปอร์ฮอต พันธุ์นี้ดีสามารถต้านทานโรค และเป็นที่ต้องการของตลาด ขายได้กิโลกรัม (ก.ก.) ละ 20-25 บาท หรือบางปีบางช่วงผลผลิตน้อยก็อาจจะสูงถึง 80 บาท ถ้าราคาอยู่ตัว 40 บาท ถ้าจะให้มีกำไรมากก็น่าจะได้ประมาณก.ก.ละ 50 บาท

สำหรับเทคนิคการปลูกพริกนั้น เริ่มจากการเตรียมดิน ไถดิน ตากดิน ตามด้วยการหว่านปูนขาว 10 วัน และพรวนดินอีกครั้ง เพื่อกันเชื้อรา จากนั้นไถตากแดดประมาณ 15-20 วัน แล้วมาทำเป็นร่อง จ้างแรงงานขุดหลุมเตรียมดิน เตรียมวางระบบน้ำแล้วจึงค่อยปลูก พริกจะใช้ระยะเวลาให้ผลผลิตประมาณ 3 เดือน เมื่อเก็บพริกได้จะมีพ่อค้ามารับซื้อ

ช่วงปลูกการดูแลรักษา ให้ปุ๋ยน้ำธรรมดา ปุ๋ยสูตร 16-16-8 ช่วงจะออกดอกใช้สูตร 15-15-15 ตอนจะเก็บผลผลิตใช้สูตร 13-13-21 และใช้ปุ๋ยชีวภาพบ้าง ซื้อมากระสอบละ 200-300 บาท

“ถ้าจะปลูกพริกต้องเตรียมดินให้ดี เพื่อไม่ให้เกิดเชื้อ โดยต้องเตรียมดินไถกลบ 15 วันเชื้อราจะไม่เกิด”

ผู้ใหญ่เจริญชัย บอกปลูกพริกในเนื้อที่ 13 ไร่ และมีหอมกระเทียมด้วย การปลูกพืชเหล่านี้แม้บางปีจะได้เงินก้อนโต แต่บางปีก็อาจจะเจอขาดทุนบ้าง เคยปลูก 17 ไร่ ลงทุนไปแสนห้า ขาดทุนไปเยอะ แต่ในพื้นที่ปลูกนับว่าใช้อย่างคุ้มค่าทีเดียว เพราะหลังจากปลูกพริกเสร็จก็จะเตรียมดินเพื่อปลูกกระเทียมต่อด้วยการปลูกหอม การปลูกกระเทียมนั้นต้องใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ช่วงแรกใส่ตอน 15 วัน และใส่อีกครั้ง ตอนกระเทียมเป็นหนุ่มประมาณ 2 เดือนครึ่งใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 เพื่อบำรุงหัว พออายุได้ 95-100 วันก็เก็บเกี่ยวได้ โดยกระเทียมที่ปลูกเป็นพันธุ์พื้นบ้าน เมื่อหัวโตได้ที่ จะต้องจ้างแรงงานเก็บ ซึ่งจะใช้แรงงาน 20 คนไม่เกิน 1 ไร่

“ ขายได้ก.ก.ละ 18-20 บาท ได้กำไรนิดหน่อย เคยขายได้สูงสุด ขายได้ก.ก.ละ 25-27 บาท ถือว่าราคาดีมาก ราคาต่ำสุดอยู่ที่ 13 -15 บาท พูดถึงราคาที่อยู่ได้ ต้องราคาขายสดไม่ต่ำกว่า 15 บาท แห้ง 20 บาท กระเทียมนั้นเป็นพืชที่ไม่ต้องดูแลเป็นพิเศษเพราะไม่ค่อยมีศัตรูพืช แต่อย่ามีฝนเยอะเพราะหัวจะเน่า”

กระเทียมกับหอมนั้นจะปลูกในเวลาไล่เลี่ยกัน โดยพอลงกระเทียมอาทิตย์หนึ่งก็ปลูกหอมอีกแปลงหนึ่งตาม ใน เรื่องการเตรียมดินปลูกหอมนั้นผู้ใหญ่เจริญชัยแจกแจงว่า เหมือนกับกระเทียม พอปลูกเสร็จก็ใช้ฟางคลุม รดน้ำให้สม่ำเสมอ หอมจะใช้เวลา 75 วัน จึงเก็บเกี่ยวได้ แต่ถ้าถูกฝนจะใช้เวลานานถึง 90 วัน หากอากาศไม่ดีก็ปลูกลำบาก ถ้าอากาศหนาวดีทำได้ตลอดทั้งปี อย่างไรก็ตามถ้าหนาวและเกิดฝนตกจะเกิดเชื้อรา

ส่วนปุ๋ยจะใส่สูตร 15-15-15 ตอนอายุได้ 15 วัน พอ 25 วันใส่สูตร 13-13-21 ปีที่แล้วราคาขายส่งตกก.ก.ละ 8.50 บาท ซึ่งถ้าราคาไม่ดีอยู่ไม่ได้ ถ้าจะให้อยู่ได้ต้องก.ก.ละ 25 บาทขึ้นไป สาเหตุที่ราคาตกเพราะผลผลิตออกพร้อมกัน

เรื่องสายพันธุ์นั้น ผู้ใหญ่เจริญชัย ระบุว่า พันธุ์หอมและกระเทียม จะคัดเลือกหัวที่มีขนาดใหญ่ ภาคอีสานหลายจังหวัดก็ปลูกหอมกระเทียมกันเยอะ แต่ผลผลิตของบ้านหินเหิบมีจุดเด่นตรงที่ว่า เป็นกระเทียมและหอมที่เก็บได้ทั้งปีไม่มีฝ่อ กระเทียมจะมีความฉุนดี เรียกว่าเป็นกระเทียมและหอมที่มีคุณภาพว่างั้นเถอะ ด้วยเหตุนี้เองจึงมีพ่อค้ามารับไปส่งขายถึงประเทศอินโดนีเซีย

“หอมเราปัจจุบันส่งไปขายไกลถึงอินโดนีเซียมีพ่อค้าคนกลางดำเนินการทั้งหมด ที่เขามาซื้อที่นี่เพราะเป็นแหล่งใหญ่สุดรองจากจังหวัดศรีษะเกษ และเกษตรกรจากประเทศลาวเขายังมาดูงานมาหาความรู้ เขาถามถึงวิธีการปลูก เราก็พาลงพื้นที่ปลูก ซึ่งพื้นที่จะทำพืชพวกนี้ จะต้องมีดินดีและน้ำดี ของเราดินอุดมสมบูรณ์ น้ำของเราก็ดีเป็นน้ำซับไหลมาจากจังหวัดเพชรบูรณ์และชัยภูมิ ไหลตลอดทั้งปี ที่นี่จะใช้ระบบน้ำสปริงเกอร์ และระบบน้ำหยด”

เป็นระบบการเกษตรแบบที่ทันสมัยจริงๆ แม้ว่าจะอยู่ในชนบทก็ตาม พวกเราบางคนยังไม่อยากจะเชื่อว่าตามบ้านนอกอย่างนี้จะมีสปริงเกอร์ เห็นแล้วยังทึ่ง แสดงว่าน้ำที่นี่อุดมสมบูรณ์จริงๆ

ผู้ใหญ่เจริญชัยเล่าว่า การปลูกพืช 3 ชนิดนั้น จะได้กำไรในแต่ละปีแตกต่างกัน แล้วแต่ผลผลิตของพืชแต่ละชนิด ไม่สามารถบอกได้แน่นอน แต่ถ้าเทียบกับพืชตัวอื่น 3นี้จะได้เงินเร็วกว่าพืชอื่น ปีหนึ่งๆ ได้กำไรไม่ต่ำกว่า 3 แสนบาท ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับอากาศด้วย การปลูกหอม กระเทียม และพริกของชาวบ้านที่นี่ สมัยก่อนมีปัญหาเยอะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขาดเงินลงทุน และผลผลิตออกมาเยอะ ไม่มีตลาดบ้าง พระราชภาวนาวราจารย์ เจ้าอาวาสวัดผาเกิ้ง และรองเจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิ เห็นปัญหาที่ชาวบ้านประสบพบเจอ จึงได้จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือ และบางปีก็รับซื้อผลผลิตของญาติโยม ทำให้เกษตรกรสามารถลืมตาอ้าปากได้

“ทางรองเจ้าคณะจังหวัดมาช่วยหลายปีแล้ว โดยการรับซื้อผลผลิตของเราในราคาสูงกว่าพ่อค้า เพื่อให้ชาวบ้านอยู่ได้ บางครั้งท่านซื้อไปเก็บและก็มีขายบ้าง” ทองหลางเป็นพืชตระกูลถั่ว ถือว่าเป็นถั่วขนาดยักษ์ พบไม่น้อยกว่า 2 ลักษณะ

ขอแนะนำทองหลางลักษณะแรกก่อน คือ “ทองหลางด่าง” ชื่ออื่นๆที่เรียกกันคือทองบ้าน,ทองเผือก,ทองหลางลาย เป็นไม้ขนาดกลางถึงใหญ่ มีความสูงประมาณ 18 เมตร ลักษณะลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมโค้ง คม ปลายหนามเป็นสีม่วงคล้ำ ผิวเปลือกลำต้นบาง สีเทาหรือสีเหลืองอ่อนๆ

ใบออกเป็นช่อ มีประมาณ 3 ใบ ใบรูปมน ปลายใบแหลมยาวคล้ายใบโพธิ์ ใบที่อยู่ยอดมีขนาดใหญ่กว่าใบย่อยคู่ล่าง ขนาดของใบกว้าง 2-4 นิ้ว ยาว 2-5 นิ้ว หลังใบเป็นสีด่างเหลืองๆเขียวๆ

ดอก ออกเป็นช่อติดกันเป็นกลุ่ม สีแดงสด ออกตามบริเวณข้อต้นหรือโคนก้านใบ ช่อหนึ่งยาว 4-9 นิ้ว ลักษณะของดอกมีกลีบกว้างประมาณ 1-1.4 นิ้ว ยาวประมาณ 2-2.5 นิ้ว ลักษณะคล้ายดอกถั่ว ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ผลมีลักษณะเป็นฝัก แบน โคนฝักเล็กลีบ ส่วนที่ค่อนไปทางปลายฝักจะบวม ซึ่งจะเห็นเป็นสัณฐานของเมล็ดได้ชัดมาก พอฝักแก่เต็มที่ปลายฝักจะแตกอ้าออก ภายในฝักมีเมล็ดเป็นเหลี่ยม

นิยมขยายพันธุ์โดยการปักชำกิ่ง ส่วนการใช้ประโยชน์นิยมปลูกประดับ เป็นไม้จัดสวนได้ดี เพราะสีที่สดใสของใบ

ทองหลางด่างหรือทองหลางลาย เป็นไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี ทองหลางอีกชนิดหนึ่งคือ “ทองหลางบ้าน” มีปลูกกันมานานแล้ว

ทองหลางบ้านกับทองหลางด่างมีข้อแตกต่างกันพอสมควร

เริ่มจากลำต้น ทองหลางบ้านมีต้นขนาดใหญ่ แผ่กิ่งก้านสาขามากกว่า ลักษณะการเกิดของใบเหมือนกันคือมีใบย่อย 3 ใบ แต่ทองหลางบ้านใบเล็กเรียวกว่า มีสีเขียว ชาวสวนแถบจังหวัดนนทบุรี ยืนยันว่า ทองหลางบ้านนั้น หากขยายพันธุ์โดยการปักชำ แทบไม่พบว่ามีหนามที่ลำต้นแต่อย่างใด แต่หากขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด อาจจะพบหนามเล็กๆที่กิ่งของทองหลาง

การแพร่พันธุ์ของทองหลางในยุคแรกๆ สมัครเว็บ UFABET ใช้เมล็ดเป็นหลัก ฝักของทองหลางเมื่อแก่แล้วร่วงลงดิน หากมีสภาพแวดล้อมเหมาะสมก็จะเกิดต้นใหม่ขึ้นมา ต้นที่แข็งแรงก็จะยืนต้นอยู่ได้พัฒนาเป็นต้นใหญ่ ฝักทองหลางส่วนหนึ่งร่วงลงน้ำและลอยไปตามแม่น้ำลำคลอง เมื่อไปติดอยู่ในบริเวณที่เหมาะสม ก็เกิดต้นใหม่ขึ้นมา ด้วยเหตุนี้เอง จึงพบต้นทองหลางในพื้นที่ราบลุ่มกระจายเป็นวงกว้าง แล้วผู้คนเริ่มรู้จักใช้ประโยชน์จากต้นทองหลางได้อย่างไร
เข้าใจว่า แรกทีเดียว ทองหลางคงจะเป็นเหมือนพืชทั่วๆไป ที่คนไม่รู้จักใช้ประโยชน์ จนกระทั่งมีการใช้ประโยชน์จากที่ดินซึ่งทองหลางเคยขึ้นอยู่ แล้วพบว่า บริเวณนั้นพืชเจริญงอกงามดี

ชาวบ้านบางคนเห็นต้นทองหลางขึ้น แต่ไม่อยากตัดทิ้ง ขณะเดียวกันก็ปลูกไม้แซมเข้าไป ปรากฏว่า ไม้แซมที่มีทองหลางเป็นร่มให้ งอกงามดีกว่าบริเวณไม่มีทองหลางเสียอีก

ดังนั้น ชาวบ้านชาวสวนจึงพัฒนาการปลูกพืชร่วมกับทองหลางเรื่อยมา จนกลายเป็นภูมิปัญญาที่ล้ำค่า

ทองหลางมีชื่อเสียงในพื้นที่ภาคกลาง โดยเฉพาะเขตที่มีการปลูกทุเรียน มังคุด อย่างจังหวัดนนทบุรี ปกติแล้ว ดินในเขตที่ลุ่มดินเหนียว เกิดจากการทับถมของอินทรียวัตถุมานานปี โดยทั่วไป จะมีปุ๋ยที่ช่วยให้พืชผลมีคุณภาพดี มีความหวานสูง

พื้นที่การทำสวนในภาคกลาง ชาวสวนจะยกร่อง ที่เรียกกันว่าร่องจีน อาศัยปรากฏการณ์น้ำขึ้นก็ปล่อยน้ำเข้าสวน เมื่อได้ปริมาณตามที่ต้องการก็กักไว้ คนมีที่ดิน 60-100 ไร่ เขาจะแบ่งสวนออกเป็นแปลงย่อง ที่เรียกกันว่า “ขนัด” ทั้งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ อย่างเรื่องน้ำ น้ำน้อยก็สูบเข้าทีละขนัด น้ำมากก็ป้องกันทีละขนัด

ผืนดินของภาคกลาง เป็นดินเหนียว ถึงแม้จะมีความอุดมสมบูรณ์จริง แต่การระบายน้ำหรือความเหมาะสมที่รากพืชจะเจริญเติบโต สู้ดินร่วนซุยบนที่สูงไม่ได้ เมื่อมีการปลูกทองหลางเข้าไป รากของทองหลางจะชอนใช เมื่อรากเน่าผุก็จะกลายเป็นอินทรียวัตถุ ช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดีขึ้น ปุ๋ยที่ได้ ไม่ได้เฉพาะจากรากทองหลางเท่านั้น ใบทองหลางเมื่อแก่ก็ร่วงหล่นลงดิน ส่วนหนึ่งตกลงไปยังท้องร่อง กิ่งอ่อนของทองหลางก็ถูกชาวสวนตัดแต่งกิ่ง แล้วนำไปสุมกองไว้ ไม่นานก็ผุสลายไปกับดิน ถึงขวบปี ชาวสวนจะลอกเลน ขึ้นมากองทับสันร่อง เป็นที่น่าสังเกตุว่า บริเวณใดที่มีใบทองหลางจำนวนมาก บริเวณนั้นดินและน้ำจะเป็นสีดำ เมื่อการลอกเลนผ่านไป 2-3 เดือนต้นไม้ก็จะงาม

ช่วงที่ปลูกต้นไม้ใหม่ๆ ชาวสวนเมืองนนท์จะตัดกิ่งทองหลางไปปักไว้ 4 มุม กะให้ช่วยบังแดด เมื่อปลูกไปนานๆ ไม้หลักเติบโตจึงค่อยๆแต่งกิ่งทองหลางให้มีความเหมาะสมที่จะอยู่ร่วมกันได้ ระหว่างไม้หลักกับต้นทองหลางเอง

คุณสุทธิพันธ์ บุญใจใหญ่ เกษตรกรที่อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เล่าให้ฟังว่า สมัยปู่ ย่า ตา ยาย เห็นความสำคัญของทองหลางมาก มักจะปลูกให้ร่มเงาไม้หลัก อย่าง ทุเรียน มังคุด กระท้อน แต่ปัจจุบันงานเกษตรมีพื้นที่น้อยลง ความสำคัญของทองหลางจึงลดลง