พื้นที่ 100 ไร่ เป็นมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง 95 เปอร์เซ็นต์

มะม่วงพันธุ์มหาชนก อีก 5 เปอร์เซ็นต์ อาศัยน้ำในการเพาะปลูกจากน้ำฝน 100 เปอร์เซ็นต์พื้นที่ปลูกดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ไม่อุ้มน้ำ เมื่อถึงฤดูแล้งจะแห้งแล้งมาก ส่งผลให้ผลผลิตคุณภาพต่ำ คุณไตรรัตน์ แก้ปัญหาโดยยึดแนวพระราชดำริ ในการทำการเกษตร ที่ต้องมีแหล่งน้ำเป็นของตนเอง อย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ จึงขุดแหล่งน้ำเป็นบ่อไว้กักเก็บน้ำรวมพื้นที่ 25 ไร่ กระจายไปตามจุดต่างๆ ทั่วพื้นที่ปลูก การขุดบ่อกักเก็บน้ำพิจารณาจากความเหมาะสมของพื้นที่ บริเวณที่ลาดเมื่อฝนตกน้ำไหลไปรวมกัน จึงขุดบ่อบริเวณนั้น และขุดบ่อลึกกว่าบ่อมาตรฐาน 2-3 เท่า เน้นความลึก เพื่อให้เก็บกักน้ำในปริมาณมาก และพื้นผิวด้านบนของบ่อแคบ เพื่อลดปริมาณการสูญเสียจากการระเหย

ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับพื้นที่

คุณไตรรัตน์ มีเทคนิคในการผลิตมะม่วงส่งออก โดยพยายามประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมาใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ คำนึงถึงการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ นำมาประยุกต์ใช้ในสวนของตนเอง ดังนี้

1.นำเครื่องขุดเจาะหลุมมาใช้ในการขุดหลุมปลูกมะม่วงเพื่อลดต้นทุนการผลิต เนื่องจากการจ้างขุดหลุมเพื่อปลูกมะม่วงต่อหลุม ปัจจุบันราคาประมาณ 20 บาท หากปลูก 1 ไร่ จำนวน 70 ต้น จะเสียค่าขุดหลุมปลูกเป็นเงิน 1,400 บาท หากใช้เครื่องขุดเจาะจะมีต้นทุนหลุมละ 5 บาท เป็นเงิน 350 บาท ประหยัดต้นทุนได้ไร่ละ 1,050 บาท

2.การใช้น้ำระบบมินิสปริงเกลอร์และทำคันดินเล็กรอบๆ บริเวณโคนต้น เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลออกนอกบริเวณชายพุ่ม ซึ่งสามารถแก้ปัญหาสภาพดินที่ไม่อุ้มน้ำได้เป็นอย่างดี และเป็นการลดต้นทุนเรื่องแรงงานในการให้น้ำมะม่วง ทั้งยังเป็นระบบที่ประหยัดน้ำ

3.ใช้การพ่นสารเคมีแบบแอร์บัส คือการใช้แรงดันพ่นผ่านปั๊มแรงดันสูง มีพัดลมช่วยกระจายสารเคมีให้ละอองกระจายทั่วถึง ทำให้ประหยัดต้นทุนในการผลิต เนื่องจากแอร์บัสจะประหยัดสารเคมีลง 30 เปอร์เซ็นต์ ใช้แรงงานในการพ่นสารเคมีเพียง 1 คน ทำงานได้รวดเร็ว จากเดิมพื้นที่ 30 ไร่ ใช้แรงงานพ่นสารเคมี 2 คน ต้องใช้เวลาพ่น 5 วัน แต่การใช้แอร์บัส ใช้เวลาเพียง 2 วันเท่านั้น ทำให้การป้องกันโรคและแมลงทำได้ทันเวลา

4.มะม่วงที่ปลูกอยู่เดิมเป็นพันธุ์เขียวเสวย ฟ้าลั่น ไม่สามารถส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีได้ จึงใช้เทคนิคการเปลี่ยนยอดและอุ้มบุญ ในการเปลี่ยนยอดมะม่วงในพื้นที่ให้เป็นพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง เพื่อลดระยะเวลาในการปลูกใหม่ และเทคนิคการอุ้มบุญ คือ การนำมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองไปเสียบฝากในต้นพันธุ์เขียวเสวยและฟ้าลั่น ทำให้เกษตรกรยังมีรายได้จากการขายมะม่วงฟ้าลั่น เขียวเสวย และมีผลพลอยได้จากมะม่วงฝากท้องในช่วง 1-3 ปี ก่อนที่จะทยอยตัดกิ่งต้นเดิมเหนือรอยทาบออก เพื่อให้เป็นมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง 100 เปอร์เซ็นต์

5.การปรับปรุงคุณภาพดิน เนื่องจากพื้นที่ปลูกเป็นพื้นที่แห้งแล้ง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ในช่วงแรกของการปลูกมะม่วง จึงปรับปรุงคุณภาพดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ (มูลไก่แกลบ) บำรุงดินต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 10 ปี มีการปลูกปอ ซึ่งเป็นพืชบำรุงดิน เพื่อเป็นปุ๋ยพืชสดเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน

ควบคุมแมลงวันผลไม้ ผลสวย ด้วยการห่อการตัดแต่งทรงพุ่ม เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมาก มะม่วงสวนคุณไตรรัตน์ต้นเตี้ยทุกต้น เพื่อสะดวกต่อการห่อ เก็บ โดยควบคุมความสูงของต้นไม่ให้เกิน 3.50 เมตร เมื่อตัดแต่งกิ่งภายในทรงพุ่มที่ไม่มีผลผลิต ควรรูดใบแก่ที่มีเพลี้ยแมลงทำลายออกบางส่วน เช่น เพลี้ยแป้งและเพลี้ยหอย แล้วนำไปเผาทิ้งลดการระบาดได้ การควบคุมและกำจัดแมลงศัตรูพืช ควรทำเมื่อมะม่วงติดผลขนาดหัวแม่มือ

มีการควบคุมแมลงวันผลไม้ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ด้วยการห่อผลด้วยถุงห่อทุกผล สำหรับผลที่ไม่ได้คุณภาพ จะตัดแต่งผลทิ้งในช่วงผลมะม่วงมีอายุ 30-40 วัน ก่อนการห่อผล

“ถ้าสังเกตจะเห็นดอกออกตามต้นได้ หากเราทำทรงพุ่มให้โปร่ง จะปลูกชิดกันก็ได้ แต่ทำให้โปร่ง จะทำให้ออกดอกตามต้น แต่ถ้าทำสวนให้ทึบ มันก็จะไม่ออกดอกตามกิ่งก้านให้ ยิ่งหน้าร้อนถ้าออกดอกให้ผลจะถูกแดดเผา แต่ถ้าติดดอกออกผลใต้พุ่ม ไม่ถูกแดด จะทำให้ผิวผลสวยงาม”

การใช้สารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชและเชื้อรา สวนแห่งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขของคู่ค้า คือ มาตรฐานญี่ปุ่น และ GAP ของกรมวิชาการเกษตร ไม่ใช้สารเคมีต้องห้าม มีการจดบันทึกตามระบบ GAP

เดิมมีการให้ปุ๋ย ซึ่งเป็นปุ๋ยจากงานวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกซว.) ประกอบกับประสบการณ์เน้นการให้ปุ๋ยเมื่อมะม่วงติดผลแล้ว โดยให้ทีละน้อยทุกๆ 7 วัน ตามการติดผลของมะม่วงแต่ละต้น สูตรปุ๋ย 25-5-18 หรือ 4.5-1-3.8 ผลผลิตมากให้มาก ผลผลิตน้อยให้น้อย

เทคนิคล่าสุดที่คุณไตรรัตน์ใช้เพื่อปรับปรุงคุณภาพมะม่วงคือ การให้น้ำเสมือนฤดูฝน ดินจะต้องชุ่มอยู่ตลอดเวลา แม้ฤดูแล้ง เพื่อให้ต้นไม้ได้รับน้ำเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ด้วยวิธีการขุดรอบโคนต้นมะม่วง 3 ส่วน 4 ของรัศมีทรงพุ่ม เพราะเมื่อให้ปุ๋ยและน้ำ จะซึมออกมาบริเวณรากพืชที่อยู่ชายพุ่ม ทำให้ต้นมะม่วงได้รับปุ๋ยและน้ำเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะชายพุ่มต้นมะม่วงจะเป็นเขตรากที่หาอาหารได้ถึง 60 เปอร์เซ็นต์

คุณไตรรัตน์ ให้ข้อมูลว่า ปี 2557 ผลผลิตมะม่วงเกรด A เพื่อการส่งออกของจังหวัดเพชรบูรณ์ผ่าน บริษัท สยาม เอ็กซ์ปอร์ต มาร์ท จำกัด เพียงบริษัทเดียว มีปริมาณถึง 555 ตัน คิดเป็นเงิน 31,822,643 บาท และมีแนวโน้มเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง หากเกษตรกรรักษาคุณภาพของมะม่วงให้มีคุณภาพตามความต้องการของตลาด โดยเฉพาะปัจจุบันประเทศจีนนิยมมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองมาก เพราะคนจีนถือเป็นผลไม้มงคล ยิ่งในเทศกาลตรุษจีนและเช็งเม้ง ความต้องการในประเทศจีนสูงมาก ทำให้มีการเรียกชื่อสั้นๆ ว่า มะม่วงทอง

กลุ่มปรับปรุงคุณภาพมะม่วงเพื่อการค้าและการส่งออกนี้ ตั้งอยู่ที่แปลงมะม่วงของคุณไตรรัตน์ ไว้สำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้สนใจปลูกและปรับปรุงคุณภาพมะม่วง โทรศัพท์ 089-858-7358

สทนช. รุกตั้งศูนย์เฉพาะกิจ จ.สุราษฎร์ฯ พร้อมบริหารจัดการน้ำภาคใต้ รับมือ “ปาบึก” คาดคืนพรุ่งนี้ 4 ม.ค. ฝนตกหนัก ห่วงคลื่นสูง 3 เมตร

สทนช. ลงพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีเปิดศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤต ที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 11 เตรียมพร้อมบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ภาคใต้จากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “ปาบึก”

วันนี้ (3 มกราคม 2562) นายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ลงพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีเพื่อเปิดศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤตเพื่อรองรับสถานการณ์ที่เกิดจากอิทธิพลพายุโซนร้อน “ปาบึก” ร่วมกับ นายสุทธิพงษ์ คล้ายอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 11 โดยในวันนี้ได้มีการประชุม Video conference ไปยังสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่ภาคใต้ทั้งหมดเพื่อรายงานการเตรียมความพร้อมรับมือด้วย

รองเลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า กรมอุตุนิยมวิทยา และ สสนก. ได้คาดการณ์ทิศทางของพายุโซนร้อน “ปาบึก” ปัจจุบันยังอยู่ในทะเลจีนใต้ บริเวณปลายแหลมญวณ ความเร็วประมาณ 95 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง และคาดว่าจะเคลื่อนตัวมาถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานีในคืน วันที่ 4 มกราคม 2562 ซึ่งจะทำให้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ระหว่าง วันที่ 4-5 มกราคม 2562 และคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณฝนตกในพื้นที่ ประมาณ 200-300 มิลลิเมตร ต่อวัน อย่างแน่นอน สิ่งที่น่าเป็นห่วงอีกอย่างคือ

อิทธิพลของพายุจะทำให้มีคลื่นสูงถึงประมาณ 3 เมตร บริเวณเกาะสมุย ซึ่งอยู่ในแนวที่พายุเคลื่อนผ่าน และบริเวณอ่าวปิดในพื้นที่อำเภอพุนพิน ท่าฉาง และไชยา คาดการณ์ว่าระดับน้ำจะสูงถึงประมาณ 4 เมตร ซึ่งจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ประกาศแจ้งงดการเดินเรือในทะเลตั้งแต่เที่ยงคืนวันนี้ (3 ม.ค. 62) เป็นต้นไป ในส่วนของเรือโดยสารไปเกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า ผู้ประกอบการเรือโดยสารได้ติดตามสถานการณ์รายชั่วโมง เพื่อประเมินการให้บริการ นอกจากนั้น จังหวัดยังได้มอบหมายให้หน่วยงานในพื้นที่เตรียมรับสถานการณ์ ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่อย่างเร่งด่วนแล้ว

สำหรับสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคใต้ เขื่อนขนาดใหญ่ที่น้ำมากกว่า 80% ของความจุ ที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ เขื่อนแก่งกระจาน (86%) จังหวัดเพชรบุรี มีปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 1.02 ล้านลูกบาศก์เมตร ระบาย 1.30 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนปราณบุรี (90%) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 3.17 ล้านลูกบาศก์เมตร ออก 9.23 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนรัชชประภา (83%) จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 1.31 ล้านลูกบาศก์เมตร ระบาย 1.30 ล้านลูกบาศก์เมตร โดย สทนช.

ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง กรมชลประทาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เร่งพร่องน้ำเพื่อรองรับปริมาณน้ำฝนที่จะตกเพิ่มในระยะต่อไป ในส่วนของการเตรียมการเผชิญเหตุ กรมชลประทานและกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้เตรียมเครื่องจักร-เครื่องมือ ไปติดตั้งในทุกพื้นที่ ทั้งเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ รถขุด รถ รถแทรกเตอร์ รถบรรทุกขนาดใหญ่ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องผลิตน้ำดื่ม รถกู้ภัย และการจัดเตรียมถุงยังชีพ อีกทั้งประสานเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายให้ความช่วยเหลือประชาชนได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุ

อย่างไรก็ตาม ศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติจะได้มีการประชุม วิเคราะห์ ติดตามสถานการณ์น้ำ เพื่อวางแผนเผชิญเหตุและให้ความช่วยเหลือประชาชน เริ่มตั้งแต่วันพรุ่งนี้ (4 ม.ค.62) เป็นวันแรก จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ ทั้งนี้ ประชาชนสามารถติดตามสถานการณ์น้ำและการคาดการณ์แบบเรียลไทม์ได้ที่เว็บไซต์

สมัยเด็กๆ ผู้เขียนได้ยินคนต่างถิ่นเรียกน้ำปลาว่าเคย

ระหว่างกินข้าวกันอย่างเอร็ดอร่อย กระทาชายเอ่ยออกมาว่า หยิบเคยมาให้หน่อย ข้าพเจ้างงเป็นไก่ตาแตก เพราะไม่รู้ว่าเขาต้องการอะไร พอรู้ว่าท่านหมายถึงน้ำปลา แทนที่จะถึงบางอ้อกลับยิ่งงงมากกว่าเดิม คนอะไรเรียกน้ำปลาว่า เคย

เคยตัวเล็กๆ ที่ชาวบ้านนำมาทำกะปิ มีขั้นตอนการจับหลายขั้นตอน แต่ละขั้นตอนก็มีเครื่องไม้เครื่องมือหลายอย่าง ต้องใช้ประกอบกัน

เครื่องมือจับเคยชาวบ้านเรียกละวะ นำไปดักบริเวณป่าชายเลน การดักละวะชาวประมงดักเมื่อน้ำลง ไม่ใช่น้ำลงเมื่อเดือนยี่ แต่น้ำลงประจำวัน

น้ำลงประจำวันขึ้นอยู่กับข้างขึ้น ข้างแรม แต่ละวันน้ำจะลงในเวลาต่างกัน เรื่องนี้ชาวประมงชายฝั่งรู้กันเป็นอย่างดีชาวประมงจะนำเอาละวะไปดักรอตัวเคย เมื่อได้ตัวแล้ว ขั้นตอนแยกตัวเคยออกจากกุ้ง เครื่องมือคัดแยกนี้ชาวบ้านเรียกว่า แล่ง

หน้าตาของแล่งก็ไม่ต่างจากตะกร้าทั่วไป เพียงแต่มีรูเล็กๆ รอบตัว ความเป็นมาของการสร้างเครื่องมือชนิดนี้ขึ้นมาใช้ ชาวบ้านคงจับเอาลักษณะของเคยที่ตัวเล็กกว่ากุ้ง มาทำเครื่องมือคัดแยก เพื่อความรวดเร็วในการทำมาหากิน เมื่อได้เคยมาก็ไม่ต้องมานั่งหลังขดหลังแข็งคัดแยกออกจากกุ้งและปลาเล็กปลาน้อยที่ติดมากับเครื่องดัก

ทำไม ต้องคัดแยกเคยออกมาจากกุ้งคำตอบคือ เคยราคาแพงกว่ากุ้งมาก เมื่อนำมาทำกะปิแล้ว กะปิเคยก็แพงกว่ากะปิกุ้งอีกเช่นกัน ถ้าปล่อยให้ปนเปกันไป แม้จะทำกะปิด้วยสูตรพิเศษอย่างไร คนซื้อก็ไม่ได้ให้ราคาดีไปกว่ากะปิเคยล้วนๆ อย่างแน่นอน

เคยมีค่ากว่ากุ้ง เหมือนเพชรมีค่ากว่าเม็ดกรวดทราย และคนดีมีค่ามากกว่าคนเลวอะไรทำนองนั้น

การสานแล่ง คนสมัยเก่าก่อน นำไผ่ลำโตๆ มาตัดให้เป็นท่อนๆ ผ่าออกเป็นซี่ๆ จากนั้นจักตอกเส้นน้อย ได้พอประมาณแล้วก็นำมาสาน การสานแล่งเป็นวิธีการเดียวกับสานตะกร้า ผิดกันเพียงสานแล่งต้องเว้นช่องเล็กๆ ไว้ ไม่ต้องให้ขอบตอกชิดกันเหมือนสานตะกร้า

รูปทรงของแล่ง มองคล้ายตะกร้าทรงสูง หากไปเปรียบเทียบกับกระบุงก็มีความคล้ายอยู่เหมือนกัน เพียงแต่แล่งมีขนาดเล็กกว่ากระบุง สูงกว่าเล็กน้อย และมีรูรอบๆ ตัววิธีการใช้แล่ง เมื่อกู้เคยออกจากละวะ ชาวบ้านจะนำมาคัดแยกโดยนำภาชนะใส่เคยไว้ด้านล่าง นำแล่งออกมาวางไว้ด้านบน เมื่อเทสัตว์ที่ดักมาได้จากละวะ ตัวเคยซึ่งมีขนาดเล็กกว่าสัตว์อื่นๆ อย่างปลา กุ้ง ก็จะลงไปด้านล่าง ตกลงภาชนะที่รองรับไว้

ส่วนด้านบนก็เป็นสัตว์อื่นๆ เช่น กุ้ง ปลาเล็กปลาน้อยและขยะ เป็นต้น

เครื่องมือของใช้หลายอย่าง เมื่อวัสดุประดิษฐ์ใหม่เกิดขึ้น มักมีการพัฒนานำวัสดุเกิดใหม่มาใช้ทดแทนวัสดุเก่าๆ แล่งเองก็เหมือนกัน สมัยเก่าก่อนล้วนจักสานมาจากตอกไผ่รวก แต่ปัจจุบัน มีพลาสติก และเส้นใยสงเคราะห์อื่นๆ เข้ามาใช้ทดแทน

แต่ไม่ว่าจะนำวัสดุใดมาใช้ทดแทน รูปร่างหน้าตา และวิธีการใช้ก็ยังคงเหมือนเดิมทุกประการ นั่นคือ ใช้แยกเคยออกจากกุ้ง

แล่ง เป็นเครื่องมือเฉพาะถิ่น มีเฉพาะกลุ่มชาวบ้านที่ประกอบอาชีพจับเคย หรือรับซื้อเคยจากผู้ประกอบอาชีพหาเคยขายเท่านั้น ดังนั้น จึงปรากฏอยู่ตามจังหวัดที่มีพื้นที่ป่าชายเลน ติดริมทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณอ่าว ก.ไก่ หรืออ่าวไทยตอนบน

อ่าวไทยตอนบน ประกอบไปด้วยจังหวัดต่างๆ เช่น ชลบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และจังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น จังหวัดเหล่านี้ยังมีปากแม่น้ำ เช่น ปากน้ำท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร ปากน้ำแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม ปากน้ำเจ้าพระยา จังหวัดสมุทรปราการ ปากน้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ปากแม่น้ำเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น

บริเวณปากแม่น้ำเหล่านี้มีป่าชายเลน

ในป่าชายเลนเต็มไปด้วยสัตว์หลายชนิด หนึ่งในนั้นมีเคย สัตว์ตัวเล็กๆ คล้ายกุ้ง แต่ตัวเล็กกว่า เคยจะเข้าป่าชายเลนเมื่อเวลาน้ำขึ้น ครั้นน้ำลงก็จะลงมาตามน้ำทะเล ชาวบ้านรู้ธรรมชาติของเคยเป็นอย่างดี จึงทำเครื่องมือมาดัก

สมัยเก่าก่อน ดักเอาไปทำกะปิพออยู่พอกิน

ปัจจุบัน ผู้คนมากมาย ความต้องการบริโภคมีสูง ทำให้ชาวบ้านหาเคยมาทำกะปิขาย และยังมีน้ำปลาเคยเป็นผลพลอยได้อีกด้วย น้ำปลาเคยนั้นราคาแพงกว่าน้ำปลาแท้ๆ มากนัก กล่าวกันว่าหอม อร่อย แต่จะอร่อยแค่ไหนต้องลองหาชิมกันเอง

เพราะลิ้นของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

แล่ง ปัจจุบันยังมีใช้กันอยู่โดยทั่วไป ในจังหวัดริมอ่าว ก.ไก่ และยังต้องใช้อีกนาน ถ้าถามว่านานเท่าไหน คำตอบก็คือ นานเท่าที่ยังมีอาชีพจับเคยอยู่ในประเทศไทย แม้จะจับมาทำกะปิหรือน้ำปลารสดีก็ตาม

ข้าพเข้าใจแล้วว่า ทำไมกระทาชายต่างถิ่นเรียกน้ำปลาว่าเคยนางจันทนา มณีโชติ ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรผู้แปรรูปผักหวานป่า จ.สระบุรี เปิดเผยว่า “กลุ่มเกษตรกรผู้แปรรูปผักหวานป่า” ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ปี 2559 ด้วย ต.สร่างโศก อ.บ้านหมอ มีพืชประจำถิ่นขึ้นชื่อ คือ “ผักหวานป่า” เป็นพืชยืนต้น อายุยืนนานไม่ต้องดูแลมากนัก ผลผลิตเก็บเกี่ยวได้ในระยะยาวนาน ปลูกร่วมกับข้าวโพด มันแกว หรือพืชผักอื่นๆ และด้วยลักษณะดิน สภาพพื้นที่และสภาพอากาศเหมาะสมในการปลูก ในขณะที่อำเภอใกล้เคียงไม่สามารถปลูกได้ด้วยปัญหาจากน้ำท่วมขังและการบำรุง

เดิมจะจำหน่ายยอดสดในราคาประมาณกิโลกรัมละ 100 บาท แต่บางฤดูกาลผลผลิตมีปริมาณมากทำให้ราคาลดลงไม่คุ้มต้นทุนค่าปลูก “ผักหวานป่า” สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลายเมนู เช่น แกงเลียง แกงจืด แกงส้ม ทอดกรอบ ชุบไข่ และยังนิยมนำผักหวานมาแกล้มอาหารรสจัดจำพวกส้มตำและลาบ หรือจิ้มกับแจ่วและน้ำพริกได้ทุกชนิด ประโยชน์ของผักหวานป่าคนโบราณนิยมนำมาทำยาสมุนไพรเพื่อรักษาโรคได้หลายชนิด ใบและรากมีสรรพคุณแก้อาการปวดศีรษะ รากเป็นยาฤทธิ์เย็นแก้ไข้ แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ แก่นของต้นนำมาต้มกับน้ำ ดื่มเป็นยาแก้อาการปวดตามข้อ และอื่นๆ “ผักหวานป่า” เป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีน

พลังงาน วิตามินเอ ซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก อีกทั้งยังมีปริมาณของเส้นใยอาหารอยู่พอสมควรจึงช่วยในการขับถ่ายได้ดี และเป็นแหล่งสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ เช่น เบตาแคโรทีน และสารประกอบฟีนอลิก เป็นต้น “กลุ่มเกษตรกรผู้แปรรูปผักหวานป่า” ปัจจุบันมีสมาชิก 15 คน ได้นำยอดผักหวานป่าที่ผลิตได้ในตำบลและได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรปลอดภัยมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด การันตีด้วยประสบการณ์ของสมาชิกในกลุ่มที่แปรรูปผักหวานป่ามานานกว่า 10 ปี ยอดขายดีคือ ทองม้วน

กำลังการผลิต 5,000 ถุง/ปี ผูกมัดใจลูกค้าด้วยความหอม กลมกล่อม ไม่หวานมาก มัน กรอบ ไม่แตกหักง่าย ซึ่งช่วงปีใหม่ที่ผ่านมาผลิตไม่พอขาย น้ำผักหวานป่าพร้อมดื่ม กำลังการผลิต 20,000 ขวด/ปี รสชาติหวานกำลังดี หอม ชุ่มคอ ดับกระหาย นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์กลุ่มที่ยอดจำหน่ายไม่น้อยหน้า คือข้าวเกรียบและชาผักหวานป่า ซึ่งกำลังการผลิตของผลิตภัณฑ์กลุ่มจะขยายเพิ่มขึ้นในอนาคต

ด้าน น.ส.อรอนง ขำวงษ์ หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสระบุรี กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อปี 2559 สภาเกษตรกรจังหวัดสระบุรีได้เข้าไปที่กลุ่ม ให้เกษตรกรได้เห็นความสำคัญของการรวมกลุ่มกัน จัดตั้งและขึ้นทะเบียนกลุ่มเกษตรกร พร้อมกับประสานนักวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาให้องค์ความรู้เรื่องบรรจุภัณฑ์ ปี 2560 พาสมาชิกและผู้นำกลุ่มเข้าอบรมโครงการ Start Up เปลี่ยนเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการธุรกิจการเกษตรกับสภาอุตสาหกรรม ส่วนในปี 2561 เร่งเสริมความเข้มแข็งของกลุ่มด้วยการประสานสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

เพื่อสนับสนุนเตาชีวมวลประหยัดพลังงานให้กับกลุ่ม ปัจจุบันสมาชิกกลุ่มผลิตผักหวานป่ามีคุณภาพ มาตรฐาน GAP ทุกคน ผู้บริโภคจึงมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ของ “กลุ่มเกษตรกรผู้แปรรูปผักหวานป่า” ปลอดภัยแน่นอน โดยผู้ที่รักสุขภาพทุกช่วงวัยไม่ควรพลาดความอร่อยและคุณประโยชน์ ผู้ที่สนใจสามารถสั่งซื้อแล้วส่งทางไปรษณีย์ได้ที่ คุณจันทนา มณีโชติ กลุ่มเกษตรกรผู้แปรรูปผักหวานป่า หมายเลขโทรศัพท์ 08-7129-6207 หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สภาเกษตรกรจังหวัดสระบุรี หมายเลขโทรศัพท์ 036-713-311

นับเป็นข่าวดีของชาวอีสานและผู้ที่ชอบกินข้าวเหนียว เมื่อศูนย์วิจัยข้าวจังหวัดอุบลราชธานี พบพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของจังหวัดอุบลราชธานี เป็นข้าวพันธุ์เหนียวหอมแดงแสงแรก มีคุณค่าทางอาหารสูง มีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ในข้าวถึง 20 ชนิด พร้อมขจัดอนุมูลอิสระออกจากร่างกาย ช่วยลดอัตราความเสี่ยงของโรคหลอดเลือด โรคหัวใจ โรคความจำเสื่อม ไขข้ออักเสบ และพบเกษตรกรที่ปลูกข้าวชนิดนี้กินภายในครอบครัว ไม่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดัน รวมทั้งยังมีความพิเศษของกลิ่นข้าวที่หอมเหมือนกลิ่นดอกลาเวนเดอร์ และมีราคารับซื้อสูงกว่าข้าวเหนียวขาวทั่วไป

ที่แปลงเพาะปลูกข้าวของเกษตรกรชาวนาบ้านยางน้อย ตำบลก่อแอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังศูนย์ศิลปาชีพบ้านยางน้อย กลุ่มเกษตรกรที่ปลูกข้าวเหนียวพันธุ์หอมแดงแสงแรก รวมตัวแข่งขันเกี่ยวข้าว พร้อมจัดประกวดพันธุ์ข้าวเหนียวหอมแดงแสงแรก โดยมีกองเชียร์คอยให้กำลังใจ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีมีการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองนี้ พร้อมทั้งขยายพันธุ์เพิ่มพื้นที่เพาะปลูกข้าวเหนียวหอมแดงแสงแรกให้กว้างขวางมากขึ้น จากเดิมที่มีผู้ปลูกอยู่กว่า 20 ราย

เนื่องจากเป็นพันธุ์ข้าวที่เกิดประโยชน์ต่อผู้กินข้าวเหนียวพันธุ์ดังกล่าว เพราะช่วยลดการเกิดโรค ดังคำกล่าวที่ว่า กินข้าวแทนยา อย่ากินยาแทนข้าว ส่วนความพิเศษของพันธุ์ข้าวเหนียวหอมแดงแสงแรกมีความพิเศษแตกต่างจากข้าวเหนียวขาวพันธุ์อื่นๆ ทั่วไปอย่างไร

ดร. พันณ์ชิตา เวชสาร นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ศูนย์วิจัยข้าวจังหวัดอุบลราชธานี ให้รายละเอียดไว้ว่า จากผลการวิจัยเกษตรกรที่ปลูกข้าวเหนียวพันธุ์พื้นเมืองเป็นข้าวเหนียวหอมแดงแสงแรกไว้กินภายในครอบครัวเป็นประจำพบว่า คนในครอบครัวมีสุขภาพดี ไม่เป็นโรคเบาหวานและโรคความดัน

ศูนย์วิจัยข้าวฯ จึงได้นำพันธุ์ข้าวเหนียวหอมแดงแสงแรกมาวิจัยยังพบ มีคุณค่าทางสารอาหารหลายชนิดที่อยู่ในพันธุ์ข้าวนี้มากกว่าข้าวสายพันธุ์อื่น โดยเฉพาะเมื่อหุงเป็นข้าวสุก ข้าวเหนียวหอมแดงแสงแรกมีการเพิ่มของดัชนีน้ำตาลกลูโคสต่ำกว่าพันธุ์ข้าวเหนียวขาวทั่วไป วัดได้ประมาณ 10.60 กรัม ต่อข้าว 100 กรัม

และหลังจากที่กินเข้าไป 120 นาที หรือราว 2 ชั่วโมง ปริมาณค่าน้ำตาลกลูโคสจะลดลงเหลือเพียง 8.59 กรัม ต่อข้าว 100 กรัม จึงส่งผลให้ข้าวเหนียวหอมแดงแสงแรกมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าข้าวเหนียวทุกสายพันธุ์ ทำให้ผู้บริโภคสามารถจะกินได้ทุกวัน รวมทั้งเหมาะกับการสนับสนุนให้ทุกครัวเรือนหุงกิน เพื่อลดความเสี่ยงการป่วยเป็นเบาหวานหรือน้ำตาลในเลือดสูงในอนาคตได้

นอกจากนี้ ข้าวเหนียวหอมแดงแสงแรก ยังมีสรรพคุณอื่นๆ อาทิ สารอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในข้าวถึง 20 ชนิด ได้แก่ สารทองแดง ธาตุเหล็ก เบต้าโคโรทีน วิตามินอี ลูทีน เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นสารแอนติออกซิแดนต์ ใช้ขจัดอนุมูลอิสระออกจากร่างกาย ช่วยลดอัตราการเกิดของโรคมะเร็ง ลดอัตราความเสี่ยงของโรคหลอดเลือด โรคหัวใจ โรคความจำเสื่อม ไขข้ออักเสบ พร้อมช่วยชะลอไม่ให้แก่ก่อนวัยอันควร จึงเหมาะกับการสนับสนุนให้มีการปลูกไว้บริโภคและขาย

ด้าน คุณพยอม ตระการจันทร์ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวหอมแดงแสงแรก เล่าว่า เดิมครอบครัวได้ปลูกข้าวพื้นเมืองสายพันธุ์นี้ไว้บริโภคภายในครอบครัว การปลูกจะไม่ใช้สารเคมี ทำให้สุขภาพของคนในครอบครัวไม่มีอาการป่วยเป็นโรคที่เกิดจากการกินข้าวเหนียวเหมือนครอบครัวอื่นๆ

โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ที่เกิดจากน้ำตาลในข้าวเหนียวที่มีอยู่สูง หรือโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งตามมาหลังป่วยเป็นโรคเบาหวานแล้ว สำหรับคนในครอบครัวของตนไม่มีใครป่วยเป็นโรคเหล่านี้เลย

และเมื่อมีผู้มารับซื้อข้าวเปลือกเหนียวหอมแดงแสงแรก พร้อมให้การรับประกันราคาข้าวเหนียวสายพันธุ์นี้ในราคาที่สูงกว่าข้าวเหนียวขาวทั่วไป โดยปีก่อนรับซื้อกิโลกรัมข้าวเปลือกละ 16-17 บาท แต่ปีนี้ให้ราคาถึงกิโลกรัมละ 19 บาท ซึ่งสูงกว่าข้าวเหนียวขาว…ในฤดูการผลิตปีหน้าตนจะขยายพื้นที่การปลูกเพิ่มขึ้นอีก

เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับราคาข้าวเหนียวทั่วไปจะมีราคาสูงกว่ากันมาก แม้ข้าวเหนียวหอมแดงแสงแรกเป็นพันธุ์ที่ปลูกได้เฉพาะพื้นที่นาลุ่ม และให้ผลผลิตต่อไร่น้อยกว่าข้าวขาวทั่วไป แต่ก็ยังถือว่าคุ้มค่ากับการลงทุนปลูก