“ฟักทอง” คนปักษ์ใต้เรียกว่า “น้ำเต้า” ชาวบ้านเริ่มหันมาปลูกฟัก

ทองหรือที่ภาษาใต้เรียกว่าน้ำเต้า เมื่อ ปี 2546 หลังจากที่ทางราชการได้เข้ามาดำเนินการขุดคูยกร่องแปลงไร่นาสวนผสมตามโครงการส่งเสริมการเกษตร รายละ 3 ไร่ แต่เกษตรกรมองว่า ยังไม่เพียงพอจึงลงทุนขุดคลองชลประทานเพิ่มเป็น 14 ไร่ เพื่อดึงน้ำเข้าที่ดินทำกินของตัวเองให้มากเพียงพอสำหรับการเพาะปลูกตลอดทั้งปี

ระยะแรกเกษตรกรเริ่มต้นปลูกฟักทองสายพันธุ์ท้องถิ่น ที่มีขนาดผลใหญ่ เฉลี่ยผลละ 20 ก.ก. แต่คุณภาพเนื้อฟักทองยังไม่ถูกใจตลาด จึงเปลี่ยนมาใช้เมล็ดพันธุ์เอกชนคือ สายพันธุ์ทองอำไพ 426 ที่มีจุดเด่นสำคัญคือ ทรงผลใหญ่ ผิวคางคก แป้นสวย เนื้อหนา รสชาติมัน หวาน ให้ผลผลิตสูง น้ำหนักผลประมาณ 6-9 กิโลกรัม ตรงตามความต้องการของตลาด เมื่อครบอายุเก็บเกี่ยวจะได้ผลผลิตประมาณ 4-8 ตันขึ้นไปต่อไร่

ป้าอารมณ์ ปลอดอ่อน หนึ่งในเกษตรกรผู้ปลูกฟักทองในพื้นที่บ้านเกาะทวด อ.ปากพนังมานานกว่าสิบปี เล่าว่า เดิมทีป้ามีอาชีพทำนาเพียงอย่างเดียว แต่ได้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร เพราะผลกระทบจากปัญหาภัยธรรมชาติ ทำให้ขาดทุนเรื่อยมาก จึงตัดสินใจเปลี่ยนมาปลูกฟักทองแทน เพราะเป็นพืชที่ใช้เงินลงทุนไม่มาก แต่ให้ผลตอบแทนที่ดี ทำให้เพื่อนบ้านใกล้เคียงหันมาปลูกฟักทองตามกันเป็นแถว เฉลี่ยรายละ 3-15 ไร่

การปลูกฟักทองในแถบนี้มีการจัดการที่ดีมาก ฟักทองของที่นี่จึงมีลักษณะเด่นแตกต่างกันจากพื้นที่อื่นอย่างเห็นได้ชัด แม่ค้าที่รับซื้อจะบอกเลยว่า ฟักทองที่ปลูกบริเวณแถบนี้เนื้อดีที่สุด มีความเหนียว ความมัน และความหวานอยู่ในตัว เนื่องมาจากโครงสร้างของดินมีแร่ธาตุอาหารที่สมบูรณ์ เพราะเป็นดินตะกอนของลุ่มแม่น้ำ นอกจากนี้ ยังรวมถึงความเอาใจใส่ของเกษตรกรและมีการจัดการที่ดี อาทิ การดูแล การให้ปุ๋ย

“ป้าเลือกปลูกฟักทองพันธุ์ทองอำไพ เพราะตลาดต้องการฟักทองที่มีลักษณะผลใหญ่ และ มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น เพียง 85-90 วันหลังเพาะเมล็ด สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตออกขายได้ประมาณ 2-3 ครั้ง เพราะต้นฟักทองจะติดลูกแรก ลูกที่สอง ลูกที่สาม เราสามารถเลือกเก็บลูกที่สุกแก่ได้ที่ออกขายได้ก่อน ”ป้าอารมณ์กล่าว

ลงแขกเก็บฟักทอง

การเยี่ยมชมแหล่งปลูกฟักทองในครั้งนี้ ทำให้ผู้เขียนเห็นถึงความร่วมมือร่วมใจของเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ที่ร่วมกัน “ลงแขก” เก็บฟักทอง โดยพวกเขาจะเก็บฟักทองโยนลงร่องน้ำ ซึ่งเป็นวิธีเก็บฟักทองที่ง่ายและประหยัดแรงงานได้อย่างน่าทึ่ง ป้าอารมณ์ บอกว่า ฟักทองมีน้ำหนักเฉลี่ย 6-8 กก. ต่อผล จึงต้องใช้วิธีโยนลงน้ำ เพราะอุ้มแบกไม่ไหว วิธีนี้ช่วยทำความสะอาดฟักทองไปในตัว ภายหลังการเก็บเกี่ยวเกษตรกรจะใช้ไม้พายกวาดต้อนผลฟักทองให้มารวมกันก่อนขนขึ้นฝั่งและลำเลียงขึ้นรถบรรทุกเพื่อส่งฟักทองไปขายที่ตลาดต่อไป

การปลูกดูแล

การปลูกฟักทองโดยทั่วไป เกษตรกรในพื้นที่ปากพนังจะเริ่มจากการเตรียมหลุมปลูก ในช่วงปลายเดือนธันวาคม-มกราคม โดยขุดหลุมปลูก ในระยะห่างประมาณ 2×2 เมตร พื้นที่ 1 ร่อง จะปลูกฟักทองได้ประมาณ 80 หลุม/ไร่ รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักหลุมละครึ่งกิโลกรัม หยอดเมล็ดพันธุ์ หลุมละ 2 เมล็ด

เกษตรกรจะนำเมล็ดพันธุ์ฟักทองไปแช่น้ำอุ่น 2 ชั่วโมงครึ่ง แล้วนำไปหุ้มผ้าบาง นำเมล็ดที่หุ้มไปซุกในกองปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายดีแล้ว ประมาณ 36 ชั่วโมง และนำเมล็ดที่งอกไปหยอดหลุมละ 2 เมล็ด กลบด้วยดินร่วนบางๆ แล้วรดน้ำตามให้ชุ่ม ระยะแรกจะรดน้ำทุกวันพอฟักทองเริ่มโต จะปรับให้น้ำทุก 2-3 วัน ตามสภาวะอากาศ ส่วนเรื่องปุ๋ย ในช่วงแรกเกษตรกรจะใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-7-7 เพื่อบำรุงต้นและใบ และเลือกใช้ปุ๋ยเคมีสูตร15-15-15 เพื่อบำรุงดอกและผล

หลังจากปลูกดูแลต้นฟักทองได้ 85 วัน เกษตรกรจะเก็บเกี่ยวผลผลิต ตั้งแต่เดือนมีนาคม โดยจะทยอยเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 2-3 รอบ หลังจากนั้น จะรื้อแปลง เพื่อพักดิน ประมาณ 3 เดือน ตั้งแต่เมษายนถึงพฤษภาคม เพื่อเตรียมปลูกพืชผักอายุสั้น เช่น ผักชี คะน้า กวางตุ้ง ฯลฯ ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน และเร่งเก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนเข้าฤดูฝนเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยที่มักเกิดเป็นประจำทุกปี ในช่วงเดือนตุลาคม–พฤศจิกายน

ทุกวันนี้ ฟักทองกลายเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจหลักของลุ่มน้ำปากพนังไปแล้วแถมสร้างรายได้ดีกว่าการทำนากุ้งเสียด้วยซ้ำ เนื่องจากขายฟักทองได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10-12 บาท หรือประมาณ 10,000-12,000 บาท/ตัน นอกจากนี้ ฟักทองปากพนัง ยังได้รับการยกย่องว่า มีคุณภาพดีเป็น อันดับ 1 ของประเทศ เพราะฟักทองปากพนังมีเนื้อแน่น มีความมันสูง แตกต่างจากฟักทองจากแหล่งอื่น ดังนั้น หากใครต้องการรับประทานฟักทองเป็นอาหารมื้อต่อไป ขอแนะนำให้ลองเลือกซื้อฟักทองที่มาจากลุ่มน้ำปากพนังไปลิ้มลองรสชาติความอร่อยกันสักหน่อย

อินทผลัม เป็นพืชตระกูลปาล์ม มีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันออกกลาง โดยจะเจริญเติบโตได้ดีในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนและแห้งแบบทะเลทราย ลำต้นมีความสูงประมาณ 30 เมตร โดยใบติดอยู่บนต้น 40-60 ก้าน ทางใบยาว 3-4 เมตร ลักษณะใบของอินทผลัมเป็นแบบขนนก ใบย่อยพุ่งออกหลายทิศทาง ช่อดอกจะออกจากโคนใบ เมื่อติดผลมีลักษณะเป็นรูปทรงรี ยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร มีรสหวานฉ่ำ รับประทานได้ทั้งผลสดและสุก ซึ่งผลมีสีเหลืองถึงสีส้มและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลเข้มเมื่อแก่จัด โดยผลสุกจะนิยมไปตากแห้ง จึงเป็นหนึ่งพืชที่น่าจับตามองในเรื่องของการทำตลาด

คุณธัญญา กาญจนประดิษฐ์ อยู่บ้านเลขที่ 21/1 หมู่ที่ 1 ตำบลเขาสามสิบหาบ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี เป็นเกษตรกรที่ได้มองเห็นถึงอนาคตของการทำตลาดของอินทผลัมว่า เป็นสินค้าที่มีราคา โดยเธอได้แบ่งพื้นที่ทำนาบางส่วนมาปลูกอินทผลัมเพื่อเป็นการกระจายรายได้ เมื่อราคาข้าวตกต่ำก็ยังมีผลผลิตของอินทผลัมอยู่ แม้พื้นที่ปลูกจะเป็นดินที่ผ่านการทำนามาก่อน แต่ก็สามารถปลูกจนประสบผลสำเร็จ

มอง อินทผลัม เป็นพืชที่สามารถทำราคาได้

คุณธัญญา เล่าให้ฟังว่า เป็นคนที่ชอบรับประทานอินทผลัมมานานมากแล้ว แต่ด้วยพืชชนิดนี้ในเมืองไทยยังค่อนข้างหาซื้อยาก บวกกับราคาขายต่อกิโลกรัมก็ค่อนข้างแพง จึงเป็นสิ่งที่จุดประกายให้เธอคิดที่อยากจะปลูกเอง เพราะไม่กี่ปีให้หลังมานี้ข้าวมีราคาถูก และทำได้ปีละ 1 ครั้ง เพียงเท่านั้น จึงได้เกิดความคิดที่อยากจะปรับเปลี่ยนจากพื้นที่นาบางส่วนมาแบ่งปลูกอินทผลัมเพื่อชดเชยรายได้

“พอคิดที่จะทำ เราก็มาแบ่งปลูกเป็น 2 ช่วงอายุ โดยแบ่งพื้นที่ปลูกรุ่นแรก 8 ไร่ กับรุ่นที่ 2 บนเนื้อที่ 7 ไร่ รวมพื้นที่ปลูกอินทผลัมทั้งหมดก็ประมาณ 15 ไร่ ซึ่งนาก็ไม่ได้เลิกทำ ยังทำอยู่ เพียงแต่แทนที่เราจะปลูกข้าวอย่างเดียว เราก็มาปลูกพืชทำเกษตรอย่างอื่นด้วย เพื่อเป็นการกระจายรายได้ให้ครบทุกด้าน อย่าทำพืชเชิงเดี่ยวเพียงอย่างเดียว” คุณธัญญา เล่าถึงที่มา

โดยวิธีการปลูกและการเลือกซื้อสายพันธุ์ คุณธัญญา บอกว่า ได้ศึกษาหาข้อมูลเรียนรู้จากแหล่งต่างๆ พร้อมทั้งเดินทางไปศึกษาจากเพื่อนๆ ที่ปลูกจนประสบผลสำเร็จ จากนั้นเธอจึงได้ข้อสรุปเลือกอินทผลัมที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมาปลูกสร้างรายได้

ใช้เวลาปลูกไม่เกิน 3 ปี อินทผลัม ให้ผลผลิตเก็บขายได้

ในเรื่องของวิธีการปลูกอินทผลัมนั้น คุณธัญญา เล่าว่า มีการเตรียมพื้นที่ปลูกก่อนในช่วงแรก โดยให้บริเวณรอบๆ สวนมีร่องน้ำสำหรับระบายน้ำไม่ให้ท่วมขังภายในพื้นที่ปลูก เพราะอินทผลัมเป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำขังอยู่บริเวณโคนต้น ดังนั้นในเรื่องของการระบายน้ำออกจึงเป็นสิ่งสำคัญ

การเตรียมต้นกล้า ระยะแรกจะนำมาอนุบาลเพื่อให้มีระบบรากแข็งแรง โดยใช้เวลาประมาณ 8 เดือน จากนั้นเมื่อเห็นว่าต้นอินทผลัมมีความสมบูรณ์ดีแล้ว จะนำมาลงปลูกในพื้นที่ที่เตรียมไว้ทันที

“การลงพื้นที่ปลูก ก็จะเน้นให้มีระยะห่างระหว่างต้นระหว่างแถวอยู่ที่ 7×7 เมตร โดยการปลูกจะไม่ฝังต้นลงไปใต้ดินจนลึก ขนาดหลุมปลูก กว้าง 1 เมตร ความลึกอยู่ที่ 40 เซนติเมตร พอปลูกเสร็จแล้วก็จะมีไม้ค้ำยันไว้ เพื่อไม่ให้ต้นโยกไปมา ให้ต้นตั้งตรงอยู่นิ่งๆ จะช่วยให้รากค่อนข้างที่จะเดินได้ดี หลังจากนั้น ก็ดูแลให้น้ำด้วยระบบมินิสปริงเกลอร์ทุกวัน ประมาณ 1 เดือน หลังจากนั้นก็จะเปลี่ยนให้น้ำ 2-3 วันครั้ง ก็เพียงพอ” คุณธัญญา บอก

หลังจากที่ปลูกได้ครบ 1 เดือน ใส่ปุ๋ยบำรุงต้น ด้วยสูตร 20-10-10 ปลูกดูแลไปจนได้อายุ 2 ปีครึ่ง อินทผลัมก็จะเริ่มเจริญเติบโตจนให้ผลผลิตได้ ซึ่งแต่ก่อนที่จะติดผลต้องเตรียมต้นให้พร้อมเสียก่อน โดยช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคมเปลี่ยนใส่ปุ๋ย สูตร 8-24-24 หลังจากนั้นช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคมอินทผลัมก็จะเริ่มมีจั่นออกมาให้เห็น ในช่วงนี้เมื่อเห็นว่าจั่นมีความสมบูรณ์จึงช่วยผสมเกสรเพื่อให้ติดผลผลิตได้ดีขึ้น

ซึ่งอินทผลัมเป็นพืชที่แยกเพศอย่างชัดเจน คือต้นตัวผู้ และต้นตัวเมีย จะอยู่คนละต้นกัน ดังนั้น ในการปลูกภายในสวนจะให้มีอัตราส่วน ต้นตัวผู้ 1 ต้น ต่อ ต้นตัวเมีย 15-20 ต้น โดยจะปลูกในพื้นที่กี่ไร่ก็ตาม จะเน้นอัตราส่วนของต้นตัวผู้และตัวเมียในอัตราส่วนนี้เสมอ

“พอเราผสมเกสรติดดีแล้ว ช่วงที่ดูแลผล ก็จะมีการปรับเปลี่ยนปุ๋ย เป็นสูตร 15-5-20 กับสูตร 11-6-25 สลับกันไปมาในช่วงที่ติดผล ซึ่งผลของอินทผลัมกว่าจะเก็บเกี่ยวได้ นับจากวันที่ผสมเกสรไป ใช้เวลาอยู่ที่ประมาณ 140 วัน ช่วงนี้ผลก็ต้องดูแลเป็นพิเศษ นำกระดาษมาหุ้มพร้อมทั้งใช้ตาข่ายห่ออีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันหนูและแมลงที่มาทำลายผล พอครบกำหนด ผลก็จะเริ่มสุกพร้อมๆ กัน สามารถเก็บเกี่ยวได้” คุณธัญญา บอก

ส่วนในเรื่องของการป้องกันโรคและแมลงนั้น คุณธัญญา บอกว่า สิ่งที่ต้องป้องกันมากที่สุดคือ ด้วงมะพร้าว โดยหมั่นเดินสำรวจอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้มี ถ้าหากมีการเข้าทำลายของศัตรูพืชชนิดนี้ยอดของอินทผลัมจะได้รับความเสียหาย ดังนั้นจึงต้องหมั่นป้องกันและดูแลตั้งแต่ครั้งแรกที่ปลูก

อินทผลัมที่ปลูก เน้นรับประทานผลสด

ในเรื่องของการตลาดเพื่อส่งขายอินทผลัม คุณธัญญา บอกว่า ได้มีลูกค้ามาติดต่อขอซื้อถึงสวนไว้แล้ว และส่วนที่เป็นอีกเกรดก็จะขายตามตลาดอื่นๆ ต่อไป ซึ่งทางสวนของเธอเองก็ได้มีการปลูกแบบได้มาตรฐาน จีเอพี (GAP) ลูกค้าที่รับซื้อจึงมั่นใจได้ในผลผลิตที่ผ่านการดูแลเป็นอย่างดีในทุกขั้นตอน

“ราคาของอินทผลัมผลสด ที่สวนเราขายอยู่ที่ กิโลกรัมละ 500 บาท ซึ่งที่สวนมีอยู่ประมาณ 200 ต้น ผลผลิตที่เฉลี่ยคาดว่าจะได้แต่ละปี 4-5 ตัน ด้วยราคาประมาณนี้คิดว่าก็น่าจะทำเงินได้ แต่ถ้าอนาคตต่อให้ราคาลงไปบ้าง เราก็มองว่าน่าจะทำเงินได้อยู่ เพราะอินทผลัมเมื่อเทียบกับพืชบางชนิด เรื่องใช้ปุ๋ยและยาน้อยมาก จึงทำให้ต้นทุนในเรื่องนี้ไม่ค่อยมาก ในการลงทุนแต่ละปี ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งพืชที่น่าสนใจ” คุณธัญญา บอกเรื่องการตลาด

สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะปลูกอินทผลัม คุณธัญญา แนะนำว่า หากมีพื้นที่บางส่วนที่ทำเกษตรเชิงเดี่ยวอยู่ ก็ให้แบ่งมาปลูกพืชให้มีความหลากหลายมากขึ้น โดยเลือกพืชที่เหมาะสมกับสถานที่นั้นๆ อย่างที่เธอเลือกปลูกอินทผลัม เพราะเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อยเมื่อเทียบกับการทำนา ดังนั้น อินทผลัม จึงเป็นอีกหนึ่งพืชที่เธอมองว่าน่าจะทำรายได้เสริมควบคู่ไปกับการทำนาของเธอ

แม้วันนี้ทุเรียนทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี จะยังไม่โด่งดังมีชื่อเสียงเทียบเท่าทุเรียนเมืองนนท์หรือทุเรียนหลงลับแล แต่หากสอบถามผู้ที่ได้ลิ้มชิมรสแล้วต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าหวานอร่อยไม่แพ้ทุเรียนที่ไหนเลย โดยเฉพาะทุเรียนอินทรีย์ผลผลิตของศูนย์เรียนรู้สวนเกษตรอินทรีย์ทองผาภูมิ “บิลาลออแกนิกฟาร์ม” (บิ-ลาล ภาษาอาหรับ แปลว่า ความสะอาด) ตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ ที่มีคุณอารีย์ เฉลยสุข อดีตผู้บัญชาการเรือนจำกลางคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา เป็นเจ้าของ

ทุเรียนทองผาภูมิชิมแล้วติดใจ ศูนย์แห่งนี้มีเนื้อที่กว่า 200 ไร่ และปลูกพืชผักผลไม้ออร์แกนิกหลากหลายชนิด โดยมีทุเรียนหมอนทองเป็นหลัก รองลงมาเป็นมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง แซมด้วยชมพู่ ส้มโอ มะไฟ ฝรั่ง เลม่อน มัลเบอร์รี่ มันหวานญี่ปุ่น ผักสลัด พืชผักสวนครัว และสมุนไพรต่างๆ ฯลฯ นอกจากนี้ ยังทำฟาร์มเลี้ยงกระต่าย ประมาณ 500 ตัว เพื่อขายทั้งตัวเป็นๆ และนำมูลมาทำเป็นปุ๋ยใช้ในแปลงเกษตร รวมทั้งยังมีฟาร์มม้าเกือบ 20 ตัว เรียกว่าเป็นสวนเกษตรครบวงจรจริงๆ

ก่อนหน้าที่จะมาเป็นเกษตรกรเต็มตัว หลังเกษียณอายุราชการ เมื่อปี 2556 คุณอารีย์สนใจและศึกษาเรื่องเกษตรอินทรีย์มานานหลายปีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ การทำสมุนไพร รวมทั้งการทำไคโตซาน และยังนำหลัก “เกษตรบำบัด” ไปใช้ในเรือนจำ เพื่อให้นักโทษเรียนรู้วิถีเกษตรอินทรีย์ เพราะนอกจากจะใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์แล้วยังสามารถนำวิชาความรู้ที่ติดตัวไปใช้ประโยชน์หลังพ้นโทษได้ด้วย

คุณอารีย์ให้ข้อมูลว่า ทุกวันนี้ทุเรียนทองผาภูมิขึ้นชื่อมาก ถ้าใครเคยได้ชิมแล้วจะติดใจหมด เพราะทุเรียนที่นี่มีแคลเซียมสูง ลูกค้าที่เคยกินมาก่อนจะไม่เกี่ยงราคาเลย รสชาติจะมัน หวานไม่มาก เนื้อละเอียด ไม่มีคำว่าแฉะ ราคาที่สวนประมาณ 150-180 บาท ต่อกิโลกรัม ถือว่าไม่แพง แต่ถ้ามาขายในห้างสรรพสินค้าหรือออกบู๊ธตามงานต่างๆ จะขายกิโลกรัมละ 250 บาท หากแกะเรียบร้อยแล้วตกกิโลกรัมละ 500-600 บาท ปกติทุเรียนทองผาภูมิจะออกลูกช้ากว่าทุเรียนภาคตะวันออก และในกรณีที่ปลูกแบบอินทรีย์จะออกลูกไม่พร้อมกัน ต่างจากทุเรียนที่ใช้ปุ๋ยเคมี

ทั้งนี้ ในส่วนผลผลิตออร์แกนิกของศูนย์ หากเป็นพืชผักจะใช้แบรนด์อามานา ส่วนผลไม้ใช้ชื่อแบรนด์ไวลด์ แรพบิท (Wild Rabbit)

ศูนย์เรียนรู้สวนเกษตรอินทรีย์ทองผาภูมิ มีทุเรียนหมอนทอง 400 ต้น ปลูกมาประมาณ 6-7 ปี ปีนี้ออกลูกเป็นรุ่นที่สาม รุ่นแรกๆ ผลผลิตมีไม่มากนัก ต้นหนึ่งไม่เกิน 10-20 ลูก น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 2-3 กิโลกรัม แต่บางลูกหนัก 7-8 กิโลกรัมก็มี

ใช้มูลกระต่าย-มูลม้าทำปุ๋ย

คุณอารีย์ บอกว่า การลงทุนทำเกษตรอินทรีย์ของศูนย์ไม่สูงมาก ยกเว้นการวางระบบน้ำที่ใช้สปริงเกลอร์ เนื่องจากทำปุ๋ยอินทรีย์เองหมดเพียงแต่ต้องใช้เวลาและเสียค่าแรงในการไปฉีดพ่น อาจต้องพ่นสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ซึ่งเรื่องของดินฟ้าอากาศของที่ทองผาภูมิก็เป็นปัญหา เนื่องจากฝนจะตกบ่อย และมีหมอกมาก โดยเฉพาะตอนทุเรียนและมะม่วงออกดอก จึงต้องหาทางแก้ โดยการใช้น้ำผสมจุลินทรีย์ฉีดพ่นเพื่อให้ไปชะล้าง

เจ้าของศูนย์เรียนรู้สวนเกษตรอินทรีย์ทองผาภูมิอธิบายถึงการดูแลทุเรียนว่า การทำทุเรียนอินทรีย์ไม่ใช่เรื่องง่าย ค่อนข้างจะเหนื่อย สำคัญที่สุดเลยเรื่องของน้ำ ต้องไม่ขาด และจะเน้นการให้ปุ๋ยทางใบ คือจุลินทรีย์ ซึ่งในจุลินทรีย์จะผสมผสานไปด้วยธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรองที่ทำมาจากฉี่กระต่าย ส่วนปุ๋ยทางรากปุ๋ยทางดินใช้มูลของกระต่ายที่นำมาหมักกับมูลม้า

ทำไมถึงต้องใช้มูลม้า คุณอารีย์อธิบายให้ฟังว่า เนื่องจากมูลม้าจะมีแร่ธาตุโบรอนสูง ขณะที่มูลกระต่ายเป็นมูลที่ดีที่สุดรองจากมูลค้างคาว ทั้งนี้ หลักๆ จะให้ปุ๋ยทางดินที่ใช้มูลกระต่ายกับมูลม้า นอกนั้นผสมด้วยแกลบดิบแกลบเผา มีซิลิกอนและโดโลไมท์ พวกนี้จะใส่ไปในปุ๋ยหมักทั้งหมดเลย โดยโรยรอบทรงพุ่ม

ในการปลูกทุเรียนอินทรีย์เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีนั้น คุณอารีย์แจกแจงว่า หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จแล้ว จะต้องตัดแต่งทันทีเลย คือช่วงประมาณหลังเดือนมิถุนายน แต่อาจจะมีบางรุ่นที่ออกลูกประปรายอยู่บ้าง แต่ในส่วนที่เก็บลูกหมดแล้วจะต้องตัดกิ่งออกให้เหลือแต่กิ่งที่สมบูรณ์จริงๆ แล้วเริ่มให้ปุ๋ยทางดิน เพื่อให้เริ่มแตกใบใหม่มา พอใบออกมาก็ฉีดจุลินทรีย์ เพื่อไปบำรุงใบ ซึ่งมีทั้งจุลินทรีย์ทั้งสมุนไพร ทั้งไคตาซาน โดยใช้สมุนไพรประมาณ 10 กว่าชนิด เช่น หางไหลแดง กลอย บอระเพ็ด ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ใบยาสูบ เมล็ดสะเดา ใช้วิธีสกัดออกมาแยก แล้วมาผสมรวมกัน เพื่อบำรุงใบให้สมบูรณ์

จากนั้นพอหมดฝนจะเริ่มฉีดไคโตซานเพื่อให้แตกดอก ซึ่งต้นทุเรียนจะเริ่มติดดอกประมาณปลายๆ เดือนธันวาคม-มกราคม พอแตกดอกดีแล้วจะฉีดพ่นด้วยจุลินทรีย์ขั้วเหนียว โดยนำลูกอ่อนของผลไม้กับพวกหน่อต่างๆ อย่างหน่อกล้วยนำมาสกัด มาหมัก แล้วนำไปฉีดพ่นเพื่อให้ดอกไม่หลุดร่วง นอกจากนี้ จะบำรุงด้วยแคลเซียมที่ใช้กระดูกสัตว์ป่นมาสกัด รวมกับขี้ม้าป่น แต่ที่สำคัญคือต้องให้น้ำสม่ำเสมอวันละครั้ง

ใส่ขี้แดดนาเกลือเพิ่มความหวาน

ในส่วนของศูนย์จะให้ก่อนรุ่งสางเพราะช่วงนั้นน้ำจะไม่ร้อนพืชยังไม่ร้อน ประมาณตี 4-5 แต่ไม่ได้ให้เยอะ ให้แค่พอชุ่ม ถ้าให้เยอะดอกร่วงหมด จากนั้นจะฉีดจุลินทรีย์คอยช่วยให้เหมือนเป็นปุ๋ยทางใบ พอตอนเวลาใกล้จะเก็บผลผลิตก่อน 15 วัน จะใช้ขี้แดดนาเกลือมาใส่ เป็นเทคนิคเพื่อเพิ่มความหวาน

คุณอารีย์ย้ำอีกว่า การทำเกษตรอินทรีย์ยากตรงที่จะให้ออกดอกออกลูก ยิ่งถ้านอกฤดูกาลด้วยก็ยิ่งเหนื่อย สำหรับตัวที่จะทำให้ออกดอกก็คือไคโตซาน ซึ่งทางศูนย์ทำเอง โดยสกัดมาจากเปลือกหอยเปลือกปู กระดองปลาหมึก เปลือกสัตว์เหล่านี้ตามโรงงานปลาป่นจะไม่ใช้อยู่แล้ว ก็ไปขอซื้อมา ซึ่งแทบจะป่นอยู่แล้ว นำมาสกัด บางรายใช้น้ำ บางรายก็ใช้น้ำตาลหรือน้ำส้ม

คุณอารีย์ยังเล่าถึงการทำฟาร์มกระต่ายว่า เริ่มเลี้ยงกระต่ายตั้งแต่ปี 2560 ตอนแรกเลี้ยงไม่กี่ตัว เป็นกระต่ายเนื้อ เฟลมมิชไจแอนท์ กับ นิวซีแลนด์ไวท์ ซื้อมาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สาเหตุที่เลี้ยงเพราะต้องการมูลมาเป็นปุ๋ย เนื่องจากศึกษามาแล้ว เหมือนกับม้าที่เลี้ยงมาตั้งแต่เริ่มทำเกษตรเลย เป็นม้าไทยเลี้ยงแบบปล่อยอยู่ในสวน และจะไปถ่ายตามต้นไม้ต่างๆ ซึ่งก็จะไม่ไปเก็บเพื่อให้เป็นปุ๋ยกับต้นไม้ตามธรรมชาติ แต่จะเก็บมูลในคอกช่วงที่ม้ามานอนทั้งตอนกลางวันและตอนกลางคืน

ตอนนี้มีประมาณ 500 กว่าตัว เลี้ยงในโรงเรือนใหญ่ๆ 2 โรง แต่ละโรงจุได้เกือบ 300 ตัว กระต่ายนั้นเลี้ยงไม่ยากแต่รายละเอียดเยอะ ในส่วนของอาหารมีทั้งหญ้าทั้งหัวอาหารด้วย โดยทางศูนย์ได้ร่วมกับปศุสัตว์ที่ชัยนาทศึกษาวิจัยนำหญ้าจากต่างประเทศมาให้กิน ซึ่งจะทำให้กระต่ายไม่เครียดและมีน้ำนมเลี้ยงลูกดี ไม่เกิน 4 เดือน ก็ได้ 1 คอก

คุณอารีย์ให้ข้อมูลในการเลี้ยงกระต่ายอีกว่า ตลาดมีเยอะ ส่วนมากจะขายลูก อย่างเช่นที่ตลาดนัดจตุจักร ขายพันธุ์กระต่ายไทย ราคาตัวละ 100 บาท อายุประมาณ 15-20 วัน เป็นอาชีพที่น่าสนใจเหมือนกัน แต่การเลี้ยงให้ได้ดีนั้นขึ้นอยู่ที่การเอาใจใส่ เกี่ยวกับโรค และอาหารการกินด้วย

สำหรับโรคที่กระต่ายมักเป็นคือ โรคท้องร่วง โรคบิด เกิดจากน้ำกับอาหารที่กินเข้าไป อย่างหญ้าสดทางศูนย์จะไม่ค่อยให้กินเพราะทำให้เป็นโรค จะให้กินพวกหญ้าแห้ง ซึ่งเป็นหญ้าที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา อบแห้งเสร็จเรียบร้อย ก็ไปซื้อมา อีกส่วนหนึ่งปลูกเองแต่ไม่พอ ศูนย์ก็มีโรงอบด้วย โรคอีกชนิดที่เจอคือโรคเรื้อนและเชื้อรา ดังนั้น ต้องสังเกตให้ดีและรีบให้ยารักษา

นอกจากจะเลี้ยงกระต่ายเพื่อใช้มูลทำปุ๋ยแล้ว ยังขายส่งให้สำนักงานปศุสัตว์อำเภอปากช่อง เพื่อไปทำวัคซีน สำหรับการขายกระต่ายตัวเป็นนั้นๆ มีน้ำหนัก 2 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาตั้งแต่ 600-1,000 บาทแล้วแต่น้ำหนัก

ใครที่อยากกินผักผลไม้ออร์แกนิก ไปชิมได้ตามงานต่างๆ ที่ทางศูนย์มักจะไปออกบู๊ธในช่วงเทศกาลผลไม้ หรือจะแวะไปซื้อหาที่ศูนย์ก็ได้ ส่วนกรณีที่อยากเรียนรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์จะมีเจ้าหน้าที่ของศูนย์ให้คำแนะนำ ก่อนไปโทร. ติดต่อได้ที่ (094) 460-9039

วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับ กรวิชญ์ มาระเสนา หรือ คุณหมู Young Smart Farmer จังหวัดสงขลา ที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก หลังเคยทุ่มเทชีวิตให้กับอาชีพวิศวกรรมโยธา จนไม่มีเวลาให้ครอบครัว ท้ายที่สุดจึงตัดสินใจเบนเข็มสู่การเป็นเกษตรกร คุณหมูเดินหน้าศึกษาหาความรู้เรื่องการปลูกผักไฮโดรโปนิก โดยยึดหลักคิด “ใช้ตลาดนำ” มองความต้องการของตลาดเป็นที่ตั้งว่า ต้องการผักประเภทไหนมากที่สุด แล้วจึงปลูกผักชนิดนั้น ตามด้วยผักชนิดอื่นรองลงมาตามความต้องการ จนได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ต้องขยายโรงเรือนเพิ่มเติมออกไปกว่า 40 โรงเรือน

การเข้าร่วมโครงการ Young Smart Farmer เปิดโอกาสให้คุณหมูได้บ่มเพาะทักษะแนวคิดผสมผสานกับนำความรู้ด้านวิศวกรโยธามาใช้ในการออกแบบโรงเรือนด้วยตนเอง ทำให้มีต้นทุนน้อยกว่าโรงเรือนทั่วไปที่มีราคาหลักหมื่นกว่าบาท เหลือเพียงประมาณ 4,000 บาท เท่านั้น ซึ่งผักไฮโดรโปนิกของที่นี่มีจุดเด่นตรงรสชาติผักที่หวานและกรอบ ด้วยการปลูกแบบผสมผสานคู่กับผักไทยในโรงเรือนเดียวกัน ทำให้พืชสามารถเจริญเติบโตแบบเกื้อกูลกัน ช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยและยาลง

ในด้านการจำหน่ายผลผลิต คุณหมูจะทยอยจำหน่ายผักตามระยะเวลาการปลูก โรงเรือนที่ปลูกก่อนจะนำมาจำหน่ายก่อน เพื่อให้ลูกค้าได้บริโภคผักที่สดใหม่ โดยนำผักไปจำหน่ายในตลาดเกษตรอินทรีย์ ขายผ่านตลาดออนไลน์ และเปิดตลาดกลุ่มลูกค้าหน่วยงานราชการ เพราะมองว่า ‘ข้าราชการจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าได้มีโอกาสบริโภคอาหารที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และปลอดภัย’ ซึ่งผลการตอบรับของตลาดก็นับว่าน่าพึงพอใจ

ด้วยความกล้าคิด กล้าลงมือทำ ทำให้คุณหมูได้รับคัดเลือกป็นประธานกลุ่ม YSF โดยยึดหลักการบริหารเกษตรกรให้มีคุณภาพควบคู่การเสริมสร้างคุณธรรม ฝึกให้สมาชิกรู้จักบริหารจัดการพื้นที่การทำเกษตรกรรมของตนเอง เปิดมุมมองแนวทางการเพิ่มผลผลิตอย่างมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และวางแผนการจัดการด้านการตลาดอย่างเป็นระบบ

แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์

“หัวข้อหลักจะเป็นการปูพื้นฐานที่เข้มแข็งให้แก่สมาชิกกลุ่ม โดยน้อมนำศาสตร์พระราชาในเรื่อง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข มาเป็นหลักที่สอนให้รู้ว่าควรจะเรียนรู้จากล่างสู่บน มิใช่จากบนลงล่าง ทำให้ YSF ของจังหวัดสงขลาประสบความสำเร็จ”

ไม่เพียงแต่ปลูกผักไฮโดรโปนิกเท่านั้น แต่คุณหมูยังแบ่งพื้นที่ทำแปลงโมเดลสวนเกษตรผสมผสานทั้ง ปศุสัตว์ ประมง พืชผักสวนครัว และไม้ดอก ไม้ผล โดยใช้หลักประโยชน์เกื้อกูลกัน บำรุงพืชพรรณด้วยระบบอินทรีย์จากใช้การหมักปุ๋ยและสารชีวภาพ เพื่อเป็นต้นแบบถ่ายทอดความรู้ ซึ่งปัจจุบันได้ถูกจัดตั้งให้เป็นศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) ภาคใต้ตอนล่าง ของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา กรมการส่งเสริมการเกษตร

ความมุ่งมั่น ทุ่มเท กำลังแรงกายและใจ ทำให้คุณหมูได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง, ประธาน YSF จังหวัดสงขลา, รองประธาน YSF เขต 5 ควบคู่กับการเป็นผู้ประสานงาน YSF THAILAND เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าศักยภาพของเกษตรกรไทยสามารถก้าวไกลไปได้อย่างไร้ขีดจำกัด หากได้รับการสนับสนุนให้เกิดการต่อยอดอย่างตรงจุด

เห็นผลสำเร็จแบบนี้แล้ว ใครที่สนใจอยากแลกเปลี่ยนแนวความคิดใหม่ๆ กับคุณหมู ก็สามารถพูดคุยกันได้ที่เฟซบุ๊ก korawit marasena หรือติดตามข้อมูลของเครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่

มะม่วง เป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรไทยอย่างมหาศาล และมีอัตราการเติบโตถึงปีละ 10-15% ทำให้มะม่วงเป็นไม้ผลที่มีเนื้อที่ปลูกมากที่สุดในประเทศกว่า 2 ล้านไร่ มะม่วงไทยมีจุดเด่นหลายด้านที่กินขาดคู่แข่งขัน ทั้งด้านรสชาติ “หวาน หอม อร่อย” และจุดเด่นด้านคุณภาพ “สด สะอาด ปลอดภัย” รวมทั้งมีเทคนิคการดูแลจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม ทำให้มะม่วงเป็นสินค้าขายดีทั้งในประเทศและส่งออก

“สวนลุงสอน” ศูนย์รวมไม้ผลและกิ่งพันธุ์คุณภาพดี หากใครอยากได้มะม่วงพันธุ์แท้ คุณภาพดี ขอแนะนำให้แวะชมและเลือกซื้อพันธุ์ไม้ได้ที่ “สวนลุงสอน” บ้านเลขที่ 55/1 หมู่ที่ 14 ตำบลหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ 60110 โทร. (081) 888–6245, (089) 666–7580 ปัจจุบัน สวนแห่งนี้อยู่ภายใต้การดูแลของทายาทรุ่นที่สอง คือ คุณแดง หรือ คุณเจษฎา สุวรรณศรี

คุณแดง บอกว่า สวนลุงสอน เว็บคาสิโน เป็นกิจการของพ่อตา บางคนรู้จักในชื่อนครสวรรค์พันธุ์ไม้ แต่ลูกค้าส่วนใหญ่นิยมเรียกติดปากว่า สวนลุงสอน เมื่อกิจการนี้กลายเป็นมรดกตกทอดมาอยู่ในมือตัวเองและภรรยา ก็ไม่คิดเปลี่ยนชื่อกิจการ เพราะชื่อ “สวนลุงสอน” ฟังดูขลังดี และเป็นมงคลชีวิต เพราะคุณพ่อตา เป็นเกษตรกรดีเด่นของจังหวัดนครสวรรค์ ปี 2559 เชี่ยวชาญด้านการผลิตกิ่งพันธุ์ไม้คุณภาพดี หากใครอยากได้กิ่งพันธุ์คุณภาพดีก็ต้องแวะเข้ามาซื้อหาได้ที่สวนแห่งนี้ ชื่อสวนลุงสอนนับเป็นเครื่องหมายการค้าที่โดดเด่น ที่เกษตรกรทั่วประเทศต่างรู้จักและยอมรับคุณภาพมาอย่างยาวนานกว่า 50 ปี

ผลไม้และกิ่งพันธุ์ของสวนลุงสอน ผ่านการตรวจสอบรับรองคุณภาพจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ว่า มีคุณภาพ มาตรฐาน สมราคา จึงได้รับการคัดเลือกให้กับสินค้าเด่นในโครงการโอท็อปของจังหวัดนครสวรรค์มานานกว่า 5 ปีแล้ว นอกจากนี้ สวนลุงสอน ยังฉีกรูปแบบการทำตลาดในแบบเดิมๆ ที่เน้นการขายหน้าร้าน โดยหันมาใช้ช่องทางการทำตลาดผ่านการออกบู๊ธ และงานแสดงสินค้า โดยเฉพาะงานโอท็อป เพื่อขยายฐานลูกค้าให้ครอบคลุมมากขึ้น เช่น งานสืบสานปณิธานพ่อ วิทยาเขตเกษตรบางพระ จังหวัดชลบุรี งานเกษตรย่าโม จังหวัดนครราชสีมา งานเกษตรรุ่งเรืองเมืองสี่แคว จังหวัดนครสวรรค์ งานย่าโมและกาชาด จังหวัดนครราชสีมา งานเกษตรมหัศจรรย์ ห้างเซ็นทรัล ลาดพร้าว ฯลฯ ทำให้สามารถขยายฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ เข้ามาอย่างต่อเนื่อง

ทุกวันนี้ สวนลุงสอน ผลิตผลไม้และกิ่งพันธุ์ไม้คุณภาพดีมากมายหลายชนิด สินค้าเด่นที่เป็นพระเอกของสวนแห่งนี้ ซึ่งได้รับความนิยมติดตลาดคือ กิ่งพันธุ์มะม่วง ได้แก่ มะม่วงสามฤดู มะม่วงเขียวสามรส ลูกโต น้ำหนัก 2 กิโลกว่า ขายดีสุดๆ เพราะผลดิบมันอร่อย ผลสุกหอมหวาน ติดผลตลอดปี “มะม่วงจี๋ซือ” ผลโต รสหวานจัด จากประเทศไต้หวัน “สะเดาสามฤดู…รวยดอก และ ทับทิมเมล็ดนิ่ม… แดงเจ้าพระยา เป็นต้น

“มะม่วงเขียวสามรส” พันธุ์ดกทะวาย ปลูกกิน ปลูกขาย คุ้มสุดๆ

คุณเจษฎา บอกว่า “เขียวสามรส” มีถิ่นกำเนิดจากประเทศไต้หวัน ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์เพื่อเก็บผลขายในประเทศไทยมานานแล้ว ตอนแรกที่นำเข้าจะมีปลูกเฉพาะในย่านแขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กทม.เท่านั้น ต่อมาได้กระจายพันธุ์ปลูกไปทั่ว จนหลายคนคิดว่าเป็นมะม่วงสายพันธุ์พื้นบ้านของไทย