ฟาร์มผักขนาดเล็กใจกลางเมือง แนวคิดสร้างความมั่นคงทาง

อาหารให้คนเมืองธุรกิจแบบสตาร์ทอัพที่ทำไป ทดลองไป หาข้อมูลไป เป็นหนึ่งในแนวคิด ที่ noBitter ฟาร์มผักขนาดเล็กใจกลางเมือง ของ ดร.วิลาศ ฉ่ำเลิศวัฒน์ และทีมงาน ได้ร่วมกันสร้างสรรค์ขึ้นมาจากแนวคิดที่ต้องการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับคนเมือง

ดร.วิลาส ฉ่ำเลิศวัฒน์ หนึ่งในผู้ก่อตั้ง กล่าวว่า เป้าหมายของ noBitter คือ ต้องการที่จะปลูกผักเพื่อคนเมืองจริงๆ เนื่องจากพืชผักที่จำหน่ายอยู่ตามซุปเปอร์ส่วนใหญ่ที่คนเมืองบริโภค ยังตรวจเจอสารพิษอยู่ ทั้งๆ ที่เป็นผักออร์แกนิก ดังนั้น การปลูกผักปลอดภัยที่จำหน่าย ณ จุดขายได้ ทันทีจะเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเมืองได้

“noBitter เราให้นิยามมันว่า เป็น mini plant factory เป็นโรงงานปลูกผักขนาดเล็กในกลางเมือง สาเหตุที่ตั้งขึ้นมาเพื่อที่จะผลิตผักขึ้นมาเพื่อจะตอบสนองความต้องการของชุมชนเมืองได้ ซึ่งที่ตั้งปัจจุบันเราคือ อยู่ใน Space At Siam เป็น Co-Working Space ที่หนึ่ง โดยชั้นล่างจะมีเด็กๆ มาใช้บริการเรียนหนังสือ นั่งทำงาน แล้วชั้นบนที่เป็นลานนั่งเล่นไม่ได้ถูกใช้ประโยชน์ เราก็กั้นพื้นที่ขึ้นมาเล็กๆ ส่วนหนึ่งแล้วก็ทดลองทำ”

จุดเริ่มต้นของ noBitter ลงมือทำจากการขาดองค์ความรู้ ทำให้เกิดปัญหา คือปลูกไม่ได้ผลผลิต แต่จากความตั้งใจของทีมงานที่หาข้อมูล ไปเรียนและหาความรู้เพิ่มเติม ทำให้พวกเขาค้นพบมาว่า ปัจจุบันผักที่รับประทานๆ กันอยู่ ยังมีเรื่องของสารตกค้างอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเกิดเป็นพลังให้ลุกขึ้นมาสร้างความมั่นคงทางอาหาร เพื่อเป็นต้นแบบที่จะสามารถกระจายออกไปปลูกตามเมืองใหญ่ๆ เพื่อให้คนเมืองสามารถที่จะมีผักที่ปลอดภัยรับประทานได้ตลอดเวลาทั้งปี”

จากความผิดพลาดต้องใช้เวลาหาความรู้มาเพิ่ม ทั้งเรื่องของสารอาหาร ต้องให้ปุ๋ยอย่างไร พืชมันต้องการ โดยศึกษาธรรมชาติของพืชแต่ละชนิดจากปัจจัยหลักที่พืชต้องการ

ดร.วิลาส กล่าวต่อว่า จริงๆ เรื่องของเคมี มนุษย์ก็เป็นชีวเคมีอย่างหนึ่ง น้ำ H2O อากาศ O2 คาร์บอนไดออกไซด์ CO2 ทุกอย่างมันถูก classify ออกมากลายเป็นเรื่องของเคมีได้

“การปลูกพืชที่แบ่งเป็นอินทรีย์ ออร์แกนิก ตัวอินทรีย์ที่ทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสดต่างๆ สุดท้าย ย่อยสลายออกมาก็ คือ N P K ซึ่งเป็นธาตุอาหารที่พืชเอาไปใช้ในการเติบโต ไฮโดรโปนิกส์ไม่ต่างกัน แต่ไฮโดรโปนิกส์สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เรารู้เราให้สารเคมีอะไรในปริมาณเท่าไร เพื่อให้พืชเอาไปสังเคราะห์แสงได้หมด พอสังเคราะห์แสงได้หมด ก็ไม่เหลือสารตกค้างที่มันเป็นอันตรายกับมนุษย์ แต่การปลูกแบบเอาต์ดอร์ เรียกว่าปลูกแบบตามมีตามเกิด ในดินมีอะไรบ้างเราก็ไม่รู้ มันปนเปื้อนมาด้วยเชื้อรา แบคทีเรีย อะไรต่างๆ อันนี้เราคุมไม่ได้เลย ในขณะที่ทำอย่างนี้ เราสามารถที่จะทำระบบปิดที่เราควบคุมได้ทุกอย่าง”

นอกจากนี้ การปลูกพืชในระบบปิด ดร.วิลาส บอกว่า ต้นทุนหลักๆ จะประกอบด้วย ค่าเช่าที่ ค่าไฟฟ้า และแรงงานคน ซึ่งเป็นต้นทุนหลักๆ ในการทำธุรกิจนี้ ส่วนเรื่องของเมล็ดพันธุ์ เรื่องของน้ำนั้น ถือเป็นปัจจัยรองลงมา

“การลงทุนในอันดับต้น ลงโครงสร้างไปแล้วที่เหลือมันอยู่ยาวครับ อยู่เป็นสิบๆ ปี ได้เลย แต่สิ่งที่เราต้องมา optimal หาจุดคุ้มทุนให้ได้ ซึ่งตอนนี้เราพยายามหาจุด optimal ที่สุด ที่ว่าทำอย่างไร ให้สามารถที่จะมีต้นทุนที่ต่ำ สามารถที่จะทำให้กลายเป็นธุรกิจได้ ผมยกตัวอย่าง อย่างประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่นเป็นต้นแบบของ plant factory มีจำนวนมหาศาลเลย มีจำนวนเยอะ ซึ่งในญี่ปุ่นเขาทำกันก็จะมีเรื่องของความสะอาดระดับสูง ถ้าเราเห็นกันในคลิปวิดีโอต่างๆ ก็จะมีชุดมนุษย์อวกาศ ต้องเข้าไปใน plant factory แต่ละทีต้องมีเรื่องการป้องกันความสะอาด เรื่องของแมลงติดมาอะไรต่างๆ ตรงนี้เป็นคอร์สที่เรียกว่าสูงขึ้นมา ถามว่า จำเป็นไหม ผมมองว่า nice to have ถ้าทำแบบประเทศไทยแบบเราๆ ที่พยายามทำอยู่ คือผมพยายามจะตัดเรื่องที่ไม่จำเป็นออกไป แล้วหาว่าอะไรที่จำเป็นจริงๆ ต่อการที่จะปลูกพืชแล้วได้ผลผลิตมาคุ้มค่ากับการลงทุน อันนี้คือ สิ่งที่ noBitter กำลังทำอยู่”

ปลูกในระบบปิด

ควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสม

ใช้เทคโนโลยีดูแล 24 ชั่วโมง

การสร้างระบบที่ทำให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ด้วยเทคโนโลยีคือ ปัจจัยสำคัญที่ ดร.วิลาส ใช้ในการควบคุมการปลูกผักของ noBitter ซึ่งจากการทดลองมาแล้วกว่า 1 ปี การใช้เทคโนโลยีในการดูแลพืชผักตลอด 24 ชั่วโมงนั้น ทำให้พืชผักได้คุณภาพตรงกับความต้องการของผู้บริโภค

“ตามหลักวิชาการ มันมีการวัดค่า PPFD เกิดขึ้น วัดค่าความสว่าง คือถ้าได้ค่าที่แน่นอน เลือกหลอดไฟที่ถูกต้องมา มันอยู่ยาวไปเลยครับ จะอยู่เป็น 10 ปี เลยก็ว่าได้ ส่วนระบบน้ำก็คือ เรามีการไหลเวียนของน้ำอยู่ตลอดเวลา ตรงนี้ก็มีตัวปั๊มน้ำ 24 ชั่วโมง ทุกอย่างมันคือ การวางระบบครั้งแรก แล้วจากนั้นมันรันของมันไปได้ด้วยตัวเอง

วันๆ หนึ่ง ก็อาจจะมีตัวทีมงานขึ้นมาดูนิดๆ หน่อยๆ สัก 1 ชั่วโมง มาเปลี่ยนถ่ายน้ำ 09.25-09.28 คือก่อนเก็บเกี่ยวมันจะมีคอนเซิร์นของเรื่องสารตกค้าง สิ่งที่ noBitter ทำก็คือ ให้ผู้บริโภคสบายใจ เราก็คือเปลี่ยนถ่ายน้ำให้ก่อนสัก 2-3 วัน ก่อนที่จะเก็บเกี่ยว เพื่อให้ในแต่ละระบบในรางนั้นมันคือน้ำเปล่า พืชก็เอาน้ำเปล่าที่มีอยู่เอาไปสังเคราะห์แสง ดังนั้น วันที่เก็บเกี่ยวมันคือ วันที่แบบค่อนข้างที่จะว่าไม่มีสารตกค้างอะไรเหลืออยู่แล้ว”

ปัจจุบัน noBitter เน้นปลูกพืชผักแปลก อย่างเช่น คะน้าใบหยิก หรือ เคล ซึ่งเป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ในประเทศไทยมีปลูกแต่หาซื้อยาก จากการนำเข้ามาจำหน่ายในซุปเปอร์ก็ยังไม่เพียงพอต่อกลุ่มลูกค้า

“บางคนก็ซื้อเคลสดไม่ได้เลย ก็ต้องกินเป็นเคลผง มีกลุ่มดีมานด์ตรงนี้อยู่ อย่างตอนนี้ ต้องเป็น PerOder คือถ้าเกิดมาซื้อหน้าฟาร์มเลย เราไม่มีขายครับ ผักทุกต้นมีคนจองหมดแล้ว ซึ่งปัจจุบันเราจำหน่ายทางออนไลน์อย่างเดียว ผมมีทั้งตัว เฟซบุ๊ก ไลน์ อินสตาแกรม ก็คือผู้บริโภค จริงๆ รู้จักเราทางออนไลน์ ถ้าเสิร์ชกูเกิล หาผักเคล หาผักปลอดสารพิษก็จะมาเจอเรา”

การเพาะเลี้ยงปลาปัจจุบัน มีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งที่เห็นและนิยมกันคือ การเพาะเลี้ยงในบ่อดินขนาดใหญ่ ในกระชังริมแม่น้ำ บ่อซีเมนซ์ และอื่นๆ (เชิงพาณิชย์) ซึ่งการเพาะเลี้ยงตามที่กล่าวมา สามารถควบคุมปริมาณ น้ำหนัก อีกทั้งยังสามารถเร่งการเจริญเติบโต ใช้ระยะเวลาเลี้ยงเพียง 4-5 เดือน ก็สามารถจับไปจำหน่ายทำเงินไว้กว่าการเลี้ยงปล่อยตามธรรมชาติ

แต่อย่างไรก็ตาม การเพาะเลี้ยงปลาในเชิงพาณิชย์ แต่ละรอบการผลิตต้องใช้ต้นทุนสูง ทั้งเรื่องของอาหาร วิตามินเสริมต่างๆ ตลอดจนค่าจ้างแรงงานในการจับปลาไปจำหน่าย ทำให้เกษตรกรหลายรายหันมาปรับสูตรการเพาะเลี้ยงปลา หันมาพึ่งพิงธรรมชาติ เพื่อต้องการลดต้นทุนการผลิต

คุณพรปวีร์ แสงฉาย เป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่หันมาให้ความสนใจกับอาชีพเพาะเลี้ยงปลาเบญจพรรณควบคู่กับการทำนาในพื้นที่ตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง

“พื้นที่บริเวณนี้เป็นพื้นที่ลุ่ม เหมาะที่จะเพาะเลี้ยงปลามากว่าอาชีพอื่นๆ เนื่องจากมีระบบชลประทานที่พร้อม เพียงเปิดน้ำเข้าบ่อก็สามารถเพาะเลี้ยงปลาได้แล้ว ประจวบเหมาะในช่วงนั้นทางญาติฝ่ายแม่เลี้ยงกันอยู่ ทำให้เราได้เห็นได้สัมผัสและศึกษาวิธีการเลี้ยงจนเกิดความชำนาญระดับหนึ่ง ซึ่งในช่วงขณะนั้นเอง ก็มองและศึกษาตลาดไปพร้อมกัน มองว่าตลาดต้องการปลาอะไร ไซซ์ไหน เพื่อที่จะได้ผลิตให้ตรงกับตลาดและผู้บริโภค

ธุรกิจเพาะเลี้ยงปลาของคุณพรปวีร์มีทั้งหมด 2 แบบด้วยกัน คือการเลี้ยงในบ่อดินทั่วไป 150 ไร่ และการเลี้ยงปลาผสมผสานในแปลงนาอีก 12 ไร่ ขยายพื้นที่เลี้ยงอย่างเป็นลำดับ

ในช่วงแรก เริ่มที่ปลาแรด จากนั้นก็ปรับเปลี่ยนมาเป็นปลานิล เนื่องจากตลาดอ่างทองเป็นตลาดขนาดใหญ่ระดับภาคกลางมีความต้องการปลาเหล่านี้ต่อเนื่อง อีกทั้งมีวัตถุดิบ เช่น รำข้าว ปลายข้าว ถั่วเขียวที่ตกเกรดสามารถนำมาเป็นอาหารให้ปลานิลได้ ด้วยความพร้อมทางด้านอาหารและตลาด แหล่งลูกปลาก็หาไม่ยาก จึงตัดสินใจหันมาเลี้ยงปลานิลแทน

คุณพรปวีร์เริ่มเพาะเลี้ยงปลาบนพื้นที่ 25 ไร่ โดยสูตรที่ใช้จะเป็นสูตรที่ไปศึกษามาและมาปรับเปลี่ยนคัดเกลาประยุกต์เป็นของตัวเองใหม่ ซึ่งผลที่ออกมาปลาที่เลี้ยงเจริญเติบโตได้น้ำหนักดี ขนาดไซซ์เป็นไปตามที่ตลาดต้องการทุกตัว และหลังจากเพาะเลี้ยงไปได้ 4 เดือน คุณพรปวีร์ได้เปิดบ่อเพิ่มอีก 20 ไร่ โดยบ่อที่เปิดเพิ่มนี้จะมีการซุ่มตรวจเช็กน้ำหนักปลาทุกๆ เดือน เพื่อจะใช้เป็นข้อมูลในการคำนวณสูตรและปริมาณอาหารที่จะให้ในแต่ละครั้ง

หลังจากที่เห็นว่าแนวทางการเพาะเลี้ยงเป็นไปได้ด้วยดี คุณพรปวีร์จึงตัดสินใจเพิ่มพื้นที่เพาะเลี้ยงเพิ่มอีก 19 ไร่ รวมหมด 64 ไร่ โดยทั้งหมดจะเลี้ยงระบบเชิงพาณิชย์ ควบคุมอาหาร จัดสูตรอาหารที่เหมาะสมกับปลาในแต่ละบ่อ หมั่นสังเกตปลากินอาหารมากน้อยเพียงใด ที่สำคัญคุณภาพน้ำที่ใช้เลี้ยงต้องเหมาะสมกับปลา คือ pH 6.5-7.0 สำหรับอัตราการปล่อยปลาจะอยู่ที่ 3,500-4,000 ตัวต่อไร่ อัตราการรอดไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ อาหาร จะเป็นอาหารเมล็ดทั่วไป เสริมด้วยพืชพรรณธรรมชาติ เช่น ถั่วเขียว รำข้าว ฯลฯ โดยจะไม่หว่านลงไปในบ่อเลี้ยงโดยตรง จะใช้วิธีผูกติดกับหลัก (1 หลักต่อปลา 15,000 ตัว) ซึ่งวิธีการเช่นนี้จะสามารถเช็กอัตราการรอดและปริมาณปลาในบ่อได้

เพาะเลี้ยงผสมผสานในแปลงนา จัดระบบโดยธรรมชาติ

นอกเหนือการเพาะเลี้ยงปลาเชิงพาณิชย์ที่ทำเงินในแต่ละปีแล้ว การเลี้ยงปลาผสมผสานในแปลงนาจึงเป็นอีกหนึ่งแนวความคิดที่คุณพรปวีร์ทดลองและศึกษาลงมือทำเป็นตัวอย่างให้กับเกษตรกรในพื้นที่ดู หากวันใดวันหนึ่งระบบชลประทานขัดข้อง ปัญหาการขาดแคลนน้ำก็จะไม่เกิดขึ้น ตลอดจนยังช่วยลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้สารเคมีได้อีกด้วย

“การเลี้ยงปลาในแปลงนา เป็นการเลี้ยงแบบชีวภาพ ซึ่งสูตรการเลี้ยงจะแบ่งเป็นพื้นที่บ่อปลา 30 เปอร์เซ็นต์ ความลึกบ่อประมาณ 50-70 เซนติเมตร ส่วนพื้นที่อีก 70 เปอร์เซ็นต์ จะเตรียมดินย่ำเลนทำนาปลูกข้าว โดยพันธุ์ข้าวที่เลือกมาปลูกจะเป็นข้าวที่หนีน้ำ ไวต่อแสง”

สูตรการปล่อยปลา คุณพรปวีร์ บอกว่า จะแตกต่างจากการเลี้ยงเชิงพาณิชย์ โดยวิธีนี้จะนำลูกปลาเบญจพรรณต่างๆ ปล่อยลงในบ่อเลี้ยง อัตราการปล่อย 1 ไร่ จะปล่อยลูกปลาลงไป 2,500 ตัว โดยคำนวณเต็มพื้นที่ 100 เปอร์เซ็นต์ (พื้นที่บ่อและพื้นที่นา)

สำหรับปลาที่ปล่อย ประกอบไปด้วย ปลานิล ปลาตะเพียน ปลายี่สก ปลาช่อน ขนาดไซซ์เล็ก ไม่เน้นปลาใหญ่ เนื่องจากการขนย้ายลำบาก อีกทั้งต้นทุนก็สูง การเพาะเลี้ยงปลาแบบผสมผสานในแปลงนา จะใช้เวลานานถึง 8 เดือน ซึ่งนานกว่าการเพาะเลี้ยงปลาโดยทั่วไป แต่อย่างไรก็ตาม ข้อดีของการเลี้ยงปลาด้วยวิธีนี้ จะลงทุนในเรื่องของพันธุ์ปลาเพียงครั้งเดียว เนื่องจากการจับจำหน่ายแต่ละรอบ จะไม่จับหมดทั้งบ่อ จะเลือกจับเฉพาะปลาที่ได้ขนาด ส่วนที่ขนาดยังไม่ได้จะปล่อยลงไปเลี้ยงต่อ ซึ่งในระหว่างที่ปลาเหล่านี้อยู่ในบ่อ ก็จะทำการผสมพันธุ์และขยายพันธุ์ต่อไปเรื่อยๆ โดยที่ไม่ต้องลงลูกปลาใหม่

ในหนึ่งปี เฉพาะการเพาะเลี้ยงปลาในแปลงนาสามารถจับจำหน่ายได้ถึง 3 รอบ ปริมาณปลารวมถึง 2 ตัน ทำเงินได้ถึง 100,000 บาท โดยที่ไม่ต้องลงทุนด้านอาหาร ปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติ

ส่วนการเตรียมพื้นที่ปลูกข้าว คุณพรปวีร์จะเตรียมในช่วงที่พื้นที่นายังมีน้ำขังอยู่เล็กน้อย โดยการใช้รถไถย่ำและหว่านเมล็ดข้าวลงไปในแปลงนา ทิ้งไวประมาณ 12-14 วัน หรือสูงประมาณ 20 เซนติเมตร จะเริ่มปล่อยน้ำผ่านบ่อเพาะเลี้ยงปลาเข้าไปหล่อเลี้ยงต้นข้าวทันที ปลาในบ่อก็จะไหลเข้าสู่แปลงนา ไปกัดกินแมลง กาบใบเองโดยอัตโนมัติ ปุ๋ยเคมีที่เคยใช้ก็ลดน้อยลง เปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้ศึกษาเรียนมาจากโรงเรียนชาวนา

และเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวข้าวที่ปลูก คุณพรปวีร์จะสูบน้ำในแปลงนาออก ให้เหลือเพียงน้ำบริเวณพื้นที่บ่อปลา ปลาก็จะไหลลงไปรวมกันอยู่ภายในบ่อ โดยที่ไม่ต้องออกแรงหรือจ้างแรงงานมาจับ

ด้านต้นทุนการปลูกข้าว คุณพรปวีร์ บอกว่า ใช้ทุนประมาณ 2,000 บาทต่อไร่ ได้ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 1 ตัน นับว่าเป็นการลงทุนที่น้อยแต่ได้ผลผลิตที่สูงและคุ้มค่า ส่วนตามพื้นที่ขอบบ่อ คุณพรปวีร์จะไม่ปล่อยให้เตียนโล่ง จะปลูกผักบุ้งไว้เป็นร่มเงา สร้างธรรมชาติให้ปลาได้มาอยู่อาศัย อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาปลาตายในช่วงฤดูร้อน

“การเลี้ยงปลาควบคู่กับการทำนาในพื้นที่เดียวกัน สามารถช่วยแก้ปัญหาเพลี้ยกระโดดได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเพลี้ยเหล่านี้ด้วยธรรมชาติแล้วจะวางไข่บริเวณส่วนปล้องของต้นข้าว จะไม่วางไข่ที่กาบใบ เมื่อเราปล่อยน้ำเข้าไปในแปลงนาให้เลยระดับปล้องต้นข้าวขึ้นไป ปลาที่เลี้ยงก็จะสามารถเข้ามากัดกินเพลี้ยเหล่านี้เป็นอาหารโดยที่เราไม่ต้องฉีดพ่นสารเคมีแต่อย่างใด” คุณพรปวีร์ กล่าว

นอกเหนือจากอาชีพเกษตรกรรมแล้ว ทำนา เลี้ยงปลาแล้ว คุณพรปวีร์ยังทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านประมงจังหวัดอ่างทอง วางแผนการพัฒนาภาคการเกษตรจังหวัดอ่างทอง ตลอดจนเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้กับเกษตรกรในพื้นที่และต่างพื้นที่ อีกทั้งผู้ที่เข้ามาศึกษาดูงาน

สวพ.6 ชู “ท่ากุ่มเนิน-ทรายโมเดล”แก้ปัญหาการปลูกทุเรียนภาคตะวันออก ดันเทคโนโลยีผสมผสานเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกในพื้นที่แปลงใหญ่ สวพ.6 ชู“ท่ากุ่ม-เนินทรายโมเดลเทคโนโลยีผสมผสานในการผลิตทุเรียนจังหวัดตราด” เดินหน้าขยายในพื้นที่แปลงใหญ่พร้อมเร่งพัฒนาแฟลตฟอร์มนวัตกรรมการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการพื้นที่ภาคตะวันออก มุ่งเพิ่มพัฒนาการผลิตทุเรียนคุณภาพและป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าอย่างยั่งยืน

นายชลธี นุ่มหนู ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จันทบุรี (สวพ.6) กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ปัจจุบันพื้นที่ภาคตะวันออกได้ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตทุเรียนพืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่สร้างรายได้เข้าประเทศปีละมหาศาล แต่พบว่าปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญของเกษตรคือโรครากเน่าโคนเน่าส่งผลให้อัตราการรอดของทุเรียนลดลงและคุณภาพไม่เป็นไปตามความต้องการของตลาด โดยเฉพาะมักพบแพร่ระบาดสร้างความเสียให้เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดตราด สีบเนื่องจากภูมิประเทศมีฝนตกชุกต่อเนื่อง

ซึ่งที่ผ่านมาสวพ.6 ได้นำวิชาการมาส่งเสริมการผลิตและสนับสนุนการแก้ปัญหาการส่งออกทุเรียนมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ระบบการผลิตในฟาร์มจนถึงการส่งออกผลผลิตในโรงคัดบรรจุ ทั้งนี้ ไม้ผลส่งออกทุกชนิดโดยเฉพาะทุเรียน ต้องได้รับการดูแลตั้งแต่ต้นน้ำที่แปลงปลูก ต่อเนื่องไปจนถึงกระบวนการคัดบรรจุจึงจะประสบความสำเร็จได้ผลผลิตคุณภาพส่งออก ปัจจุบัน สวพ.6 ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนากาเกษตรจันทบุรีได้เร่งเดินหน้าขยายผล “โครงการท่ากุ่มเนิน-ทรายโมเดลเทคโนโลยีผสมผสานในการผลิตทุเรียนจังหวัดตราด”

สู่เกษตรกรแปลงใหญ่ทุเรียนท่ากุ่ม-เนินทราย อ.เมือง จ.ตราด โดยความร่วมมือจากผู้นำกลุ่มแปลงใหญ่ นายเรือง ศรีนาราง และสำนักงานเกษตรจังหวัดตราดทำการคัดเลือกเกษตรกรนำร่องขยายผลจำนวน 30 ราย ขยายผลเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียนร่วมกับเทคโนโลยีการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน กำหนดแผนขับเคลื่อนการขยายผลด้วยการจัดเวทีวิจัยสัญจร วิเคราะห์กลุ่ม พูดคุยหารือแนวทางการปฏิบัติงานร่วมกัน จัดหาปัจจัยการผลิตที่สำคัญตามที่เทคโนโลยีกำหนด นักวิจัยลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมให้คำแนะนำเป็นรายแปลง เก็บดินวิเคราะห์ธาตุอาหารและจัดกิจกรรมลงแขกผลิตทำเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดเชื้อสดใช้ในแปลงทุเรียนอย่างต่อเนื่อง

ทางด้าน นางสาวเครือวัลย์ ดาวงษ์ และ นางสาวกมลภัทร ศิริพงษ์ ได้ร่วมดำเนินงานวิจัยขับเคลื่อนโครงการ “ท่ากุ่มเนิน-ทรายโมเดล”กล่าวว่า กรมวิชาการเกษตรได้ทดสอบและเผยแพร่เทคโนโลยีการป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียน ตั้งแต่ปี 2542 เกษตรกรได้ปรับใช้เทคโนโลยีดังกล่าว แต่ยังพบการแพร่ระบาดของโรคได้ เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการเกิดโรค จากการสำรวจแนวทางป้องกันกำจัดโรคของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ระยอง ตราด ตามรายงานการแพร่ระบาดของโรคในปี 2560-2561 สามารถสรุปปัจจัยที่เอื้อต่อการแพร่ระบาดของโรคได้ดังนี้

(1) ไม่ได้สำรวจโรคเป็นประจำ มักสังเกตพบอาการเมื่อแผลลุกลามใหญ่ ทำให้การรักษาต้องใช้เวลานานและรักษาได้ยาก

(2) ขาดความเข้าใจในการปรับใช้เทคโนโลยีที่ถูกต้อง (3) การประยุกต์ใช้แนวทางป้องกันกำจัดโรคพืชโดยวิธีผสมผสาน พบว่าเกษตรกรไม่ทราบถึงความจำเป็นในการปรับสภาพดินให้ไม่เหมาะต่อการเกิดโรค ไม่ได้สลับใช้ชีวภัณฑ์ร่วมด้วย ส่งผลการควบคุมการเกิดโรคไม่ประสบความสำเร็จ

(4) ความรุนแรงของโรครากเน่าโคนเน่าที่เข้าทำลายทุเรียนยืนต้นตายอย่างรวดเร็ว สารเคมีที่แนะนำไม่สามารถยับยั้งความรุนแรงของโรคได้ เกิดข้อสงสัยประเด็นการเข้าทำลายของเชื้อราชนิดอื่นรวมกับเชื้อราไฟทอปธอรา ส่งผลให้มีการทดลองใช้สารเคมีหลากหลายชนิดตามความเชื่อของเกษตรกรและใช้ในอัตราที่สูง ซึ่งจะส่งผลต่อการกระตุ้นความต้านทานของเชื้อโรคพัฒนาการดื้อยาในอนาคตได้ จากปัญหาสืบเนื่องดังกล่าว จึงมีความจำเป็นในการจัดทำแปลงต้นแบบเพื่อถ่ายทอดขยายผลเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียนได้ถูกต้อง และปรับใช้ให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานของเกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออก โดยเน้นการสำรวจการเกิดโรคเพื่อรักษาได้ทัน จัดการเขตกรรมและป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานร่วมการใช้ชีววิธี รวมถึงการปรับปรุงสภาพดินและใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน เพื่อสามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรครากเน่าโคนเน่าได้อย่างยั่งยืน

นอกจากดำเนินการขยายผลในพื้นที่จังหวัดตราดแล้ว ยังได้ทำการทดลองในพื้นที่ใกล้เคียง อาทิ จังหวัดจันทบุรี ระยอง โดยความร่วมมือของทีมนักวิจัย สวพ.6 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจันทบุรีและศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรระยอง เริ่มการทดสอบเทคโนโลยีตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 ดำเนินการจัดการโรคอย่างยั่งยืนด้วยวิธีการจัดการโรคแบบผสมผสาน เริ่มจากการจัดการธาตุอาหารให้ทุเรียนแข็งแรงจากการวิเคราะห์ดิน ดินกรดปรับด้วยโดโลไมท์ การเขตกรรมลดการเกิดโรคด้วยการระบายน้ำไม่ให้ท่วมขังโคนต้นและตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง

ลดปริมาณเชื้อราไฟทอปเธอร่าด้วยการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาร่วมกับปุ๋ยหมัก ต้นที่เป็นโรครุนแรงใบเหลืองโทรม ดำเนินการฟื้นฟูระบบรากด้วยการราดโคนต้นด้วยสารเคมีฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80%WP อัตรา 30-50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ร่วมกับเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดเชื้อสด อัตรา 100 กรัมเชื้อสด ต่อน้ำ 20 ลิตร กรดฮิวมิค 100 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และปุ๋ยเกร็ดสูตร 20-20-20 อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมสารทั้ง 4 ชนิดเข้ากันราดให้ทั่วบริเวณรอบทรงพุ่ม ความถี่ทุก 2 เดือน

ทั้งนี้ เมื่อสภาพต้นเริ่มฟื้นฟู เริ่มมีใบอ่อนจึงลดเหลือการราดเชื้อราไตรโคเดอร์มาเพียงอย่างเดียว ร่วมกับการรักษาแผลที่โคนต้นด้วยสารเคมีตามอัตราแนะนำ หรือใช้น้ำหมักเปลือกมังคุดรักษาต่อเนื่องจนแผลแห้งเกิดเนื้อไม้ใหม่ ผลการทดสอบเทคโนโลยีช่วงปีแรก (ตุลาคม 2562 – ธันวาคม 2563) ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ระยอง ตราด รวม 15 แปลง พบต้นทุเรียนที่ดำเนินการตามวิธีแนะนำมีค่าเฉลี่ยความรุนแรงของโรคลดลงกว่าก่อนการทดสอบ จาก 58 เปอร์เซ็นต์ ลดลงเหลือ 53 เปอร์เซ็นต์ ส่วนวิธีเกษตรกรที่ไม่ได้ใช้ชีวภัณฑ์อย่างต่อเนื่องพบค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 53 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มเป็น 57 เปอร์เซ็นต์ เมื่อคิดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคพบต้นทุนค่าปุ๋ยอินทรีย์และสารปรับปรุงดินเพิ่มจากวิธีเกษตรกร ทั้งนี้จากทดลองได้ผลเป็นที่น่าพอใจสามารถลดค่าสารเคมีและชีวภัณฑ์ได้มากกว่า ทั้งนี้ภาพรวมค่าเฉลี่ยต้นทุนการรักษาโรครากเน่าโคนเน่าสูงกว่าวิธีเกษตรกรจาก 14,342 บาท/ไร่ เพิ่มเป็น 15,103 บาท/ไร่ ต้นทุนเพิ่มขึ้นเพียง 5 เปอร์เซ็นต์

ด้าน นายธัชธาวินท์ สะรุโณ ผู้เชี่ยวชาญ สวพ.8 ผอ.แผนงานวิจัยฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า การขับเคลื่อนเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยไปสู่แปลงใหญ่ เพื่อให้งานวิจัยมีการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางขึ้น โดยใช้กระบวนการชุมชนมีส่วนร่วม มีการจัดเวทีวิจัยสัญจรให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิชาการและภูมิปัญญา พร้อมกับสร้างเครือข่ายการพัฒนา ในการผลิตทุเรียน พบว่า เกษตรกรยอมรับเทคโนโลยีที่ได้จากผลงานวิจัย มีการให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ดิน ความสมบูรณ์ของต้นทุเรียน ที่ส่งผลต่อการสร้างความต้านทานของพืชต่อโรครากเน่าโคนเน่า รวมถึงการปรับใช้ชีวภัณฑ์ร่วมกับการใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง ปัจจุบันสำนักงานเกษตรจังหวัดตราดได้นำโมเดลดังกล่าวเป็นต้นแบบขยายผล โดยเป็นต้นแบบให้กับแปลงใหญ่ทุเรียนและแปลงใหญ่พืชอื่นๆ ต่อไป

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดยสถานีวิจัยลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา ประสบความสำเร็จพัฒนาระบบการปลูกผักกูดในพื้นที่ร้อน/แล้ง แนะหากจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตสามารถปลูกได้ทุกภูมิภาคของประเทศไทย โชว์เคสตัวอย่างเกษตรกรสามารถปลูกผักกูดในพื้นที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สร้างรายได้ ช่วยลดผลกระทบ สู้วิกฤตโควิด-19

นายมนตรี แก้วดวง ผู้อำนวยการสถานีวิจัยลำตะคอง วว. สมัคร SBOBET เปิดเผยความสำเร็จในการพัฒนาระบบการปลูกผักกูดของสถานีวิจัยลำตะคอง วว. ว่า ผักกูด [Diplazium esculentum (Retz.) Swartz] เป็นพืชตระกูลเดียวกับเฟิร์น ลักษณะของต้นผักกูดจะขึ้นเป็นกอ สูงประมาณ 50-100 เซนติเมตร รากแตกฝอยเป็นกระจุกใหญ่ ก้านใบแตกจากเหง้าใต้ดิน ใบยาว 50-100 เซนติเมตร ส่วนของยอดอ่อนปลายยอดม้วนงอแบบก้อนหอยและมีขน การขยายพันธุ์โดยใช้สปอร์ที่สร้างขึ้นบริเวณด้านหลังใบ เมื่อสปอร์ปลิวไปตกบริเวณที่มีความชื้นก็จะแตกเป็นต้นใหม่ และขยายพันธุ์โดยใช้ต้นใหม่ที่เกิดจากส่วนเหง้าหรือรากฝอยของต้นแม่ เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่เป็นดินร่วนปนทราย ในสภาพมีความชื้นสูง แสงแดดไม่ร้อนจัดเกินไป

คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าผักกูดจะต้องปลูกในพื้นที่มีฝนตกชุกและความชื้นค่อนข้างสูง อย่างภาคใต้และภาคตะวันออก แต่จากการศึกษาเพื่อพัฒนาระบบการปลูกผักกูดในพื้นที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา พิสูจน์ให้เห็นว่า การปลูกผักกูดให้ได้ผลผลิตที่ดีต้องปลูกในสภาพแสงแดดรำไรและมีความชื้นสูง หากเราจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตก็สามารถปลูกได้ทุกภูมิภาคของประเทศไทย

“สำหรับรูปแบบของการปลูกผักกูดสามารถทำได้ 2 วิธี คือการปลูกร่วมกับพืชชนิดอื่น เพื่อช่วยในการพรางแสง เช่น การปลูกร่วมกับกล้วย หรือปลูกร่วมกับไม้ผลยืนต้น วิธีที่สอง ปลูกภายใต้ร่มเงาตาข่ายพรางแสงหรือซาแรนที่สามารถพรางแสงได้ตั้งแต่ 50-60 เปอร์เซ็นต์ ระยะปลูกที่ใช้ระหว่างแถวและระหว่างต้น 50 เซนติเมตร การดูแลรักษาเน้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เป็นหลัก โดยใส่ประมาณ 1-2 กิโลกรัมต่อต้น ใส่ทุกๆ 3 เดือนต่อครั้ง ร่วมกับการพ่นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดน้ำ 1-2 ครั้งต่อเดือน ในช่วงที่เริ่มเก็บผลผลิตแล้ว จะช่วยให้ได้ต้นมีการเจริญเติบโตและผลผลิตดีขึ้น หลังปลูกผักกูดประมาณ 6-8 เดือน จึงเริ่มเก็บผลผลิตได้ โดยเก็บส่วนยอดความยาว 25-30 เซนติเมตร ผลผลิตที่ได้เฉลี่ยประมาณ 200 กิโลกรัมต่อไร่ต่อเดือน นอกจากนี้ ผักกูดไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน การปลูกจึงไม่มีการใช้สารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลง จึงเหมาะอย่างยิ่งในการผลิตเป็นพืชผักปลอดสารพิษ…” ผอ.สถานีวิจัยลำตะคองกล่าวเพิ่มเติม

นายอาคม ทัศนะนาคะจิตต์ เกษตรกรในพื้นที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ตัวอย่างของเกษตรกรที่มีประสบการณ์ในการปลูกผักกูด กล่าวว่า สนใจและอยากที่จะปลูกผักกูดมานานแล้ว เพราะเป็นผักที่มีรสชาติอร่อย แต่หาซื้อรับประทานยาก หากไม่ใช่ช่วงฤดูกาลที่มีผลผลิตออกตามธรรมชาติหรือพื้นที่ที่มีการปลูก จากการพูดคุยกับคนรู้จักและผู้ที่ชื่นชอบรับประทานผักเพื่อสุขภาพ​ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผักปลอดสารพิษ​