ฟื้นฟู พิธีเลี้ยงผีไร่ ผีนา ผีสวน อันเป็นจารีตดั้งเดิมที่จำเป็น

ต้องบอกกล่าวบูชาเซ่นสรวงเจ้าที่เจ้าทาง ก่อนที่จะเริ่มเพาะปลูกทุกครั้ง ถวายเครื่องบูชา และเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้วก็กระทำพิธีกรรมอีกครั้งเป็นการขอบคุณ โดยมีความเชื่อว่า ถ้าทำแล้วผลผลิตจะดี ไม่มีสิ่งรบกวน พิธีบอกกล่าวบูชาบนบานนั้นได้นำดอกไม้ธูปเทียนมาเซ่นสรวงกับเจ้าที่ ช่วยบันดาลให้ผลผลิตดี ได้จำนวนมาก โดยนำเครื่องเซ่นที่บนบานไว้มาถวายเพื่อเป็นการบูชาขอบคุณสิ่งเหนือธรรมชาติอันศักดิ์สิทธิ์ที่กลุ่มไทลื้อเคารพศรัทธา ดังนั้น เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จสิ้น และได้ผลดีตามที่เซ่นสรวงบนบานไว้ก็นำเครื่องมาบูชาตอบแทน เป็นต้นว่ามี หมู ไก่ อาหารคาวหวาน เหล้า เสื้อผ้า เป็นต้น

มีเหตุผลมากมายกับการนำไผ่มาใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะขายหน่อ ขายลำไผ่ และต้นพันธุ์ ทั้งยังนำไปแปรรูปในระดับอุตสาหกรรมหลายด้าน ครอบคลุมทุกปัจจัยในการดำรงชีพ

แต่สำหรับ คุณวีรชาต เกิดเอี่ยม ชาวเชียงราย ที่ไม่ได้เป็นนักวิชาการ ไม่ได้เป็นครูบาอาจารย์ ไม่ใช่พ่อค้า เขาเป็นคนธรรมดาที่มองไผ่มีคุณค่าควรอนุรักษ์เพื่อให้เป็นมรดกสืบต่อกันไป

คุณวีรชาต เคยมีอาชีพเป็นหัวหน้าเชฟอาหารที่โรงแรมในจังหวัดเชียงราย และเคยไปเป็นเชฟที่ต่างประเทศมาก่อน แต่หลังจากโควิด-19 ทำให้ต้องลาออก ความที่เป็นผู้ที่ชื่นชอบหลงใหลความสวยงามพันธุ์ไผ่ทุกชนิดในฐานะพืชมหัศจรรย์ที่มีคุณค่าก่อเกิดประโยชน์มากมาย ตั้งแต่ในครัวเรือนไปจนถึงระดับประเทศ จึงตั้งใจมุ่งมั่นทำไผ่ในแนวอนุรักษ์ โดยเฉพาะพันธุ์พื้นเมืองเชียงราย ขณะเดียวกันยังตระเวนไปทั่วทุกแห่งเพื่อตัดไผ่ขายส่งทั้งประเทศ เมื่อพบพันธุ์ไผ่แปลก น่าสนใจ หายาก ก็จะเก็บไว้เพื่อนำมาขยายพันธุ์เผยแพร่

การทุ่มเทเอาใจใส่กับงานอนุรักษ์พันธุ์ไผ่หลายชนิดทั้งในเชียงรายและที่อื่น ทำให้คุณวีรชาตเข้าสู่สังคมพบปะกับคนที่มีใจรักไผ่หลายกลุ่ม หลายองค์กร จนเป็นที่รู้จักแล้วเรียกขานเขาว่า “ลุงไทย ไผ่เชียงราย”

คุณวีรชาต หรือ ลุงไทย เข้าสู่วงการไผ่เชิงอนุรักษ์และพาณิชย์ มีความตั้งใจอนุรักษ์ไผ่ไว้หลายสายพันธุ์ พร้อมกับเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักให้แก่คนที่สนใจในสังคมท้องถิ่น ตัวอย่างพันธุ์ซางหม่นที่ได้บันทึกพันธุกรรมไว้อย่างละเอียด จึงปลูกคัดสายพันธุ์จาก จำนวน 300 กว่ากอ คัดไว้เหลือ 10 กว่ากอ แล้วกำลังปลูกขยายเพื่อขายต้นพันธุ์พร้อมกับแบ่งปัน ทั้งยังชี้ว่ามีความตั้งใจจะคัดสายพันธุ์ไผ่คุณภาพไว้เป็นของจังหวัดเชียงราย วางแผนเพาะขยายพันธุ์ให้ได้จำนวนมาก พร้อมจะแบ่งปันให้ชาวบ้านนำไปปลูกอย่างแพร่หลายเพื่อใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์

อย่างพันธุ์ที่ต้องการอนุรักษ์เป็นไผ่ท้องถิ่นเชียงราย ไม่ว่าจะเป็นไผ่โปก ที่มาจากสิบสองปันนา ไผ่ฮวกดำ ไผ่ซาง โดยไปตามเก็บเมล็ดพันธุ์มาเพาะ แล้วคัดสายพันธุ์ เลือกพันธุ์ที่ดีและสมบูรณ์ พร้อมจดบันทึกพันธุกรรมในแต่ละช่วงเวลาเพื่อเป็นข้อมูล

“ไผ่โปกเป็นไผ่ตระกูลเป๊าะที่มีลำใหญ่ สันนิษฐานว่ามาจากชาวเขาที่อพยพมาจากมณฑลสิบสองปันนา ที่มาอยู่เชียงราย พื้นที่พบไผ่โปกมากคือ บริเวณ อำเภอแม่จัน/แม่สลอง ขึ้นไปจนถึงหมู่บ้านอาข่า ตอนนี้เริ่มทยอยออกขุยมากขึ้น เป็นไผ่ใช้ลำ กินหน่อที่ดีมากของเชียงราย”

ลุงไทย เล่าว่า พบไผ่ซางเชียงราย ไม้เมล็ด ปี 2561 ที่ผ่านการคัดแล้ว จากแปลงปลูก ทั้งสิ้น 300 กว่ากอ เนื้อไม้หนา หน่อดก ทนแล้ง จมูกใบไม่มีขนแมว ทรงกอสวย กำลังขยายเพิ่ม ไผ่ซางเชียงรายที่ผ่านการคัดแล้ว จะทราบอายุ บันทึกพันธุกรรมที่ชัดเจน ปลูกแล้วมีอายุอยู่ได้ 60-80 ปี หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์

ลุงไทย หวังให้ชาวบ้านใช้ประโยชน์จากไผ่เหล่านี้ทั้งลำและหน่อ โดยให้พันธุ์ไผ่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งลำ กินหน่อ อีกทั้งกอไม่รกเมื่อต้นใหญ่ ซึ่งจะช่วยให้การบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ง่ายต่อการดูแล

ขณะเดียวกันคนเชียงรายไม่นิยมเพาะต้นกล้าขาย ดังนั้น ปีที่แล้วสามารถขายไผ่พันธุ์มังกร กับข้าวหลามกาบแดงได้ดี พันธุ์ข้าวหลามกาบแดง มีลักษณะเปลือกบาง ข้อยาว เหมาะกับทำข้าวหลาม มีอยู่ที่เชียงรายจำนวนมาก นอกจากนั้น ยังมีไผ่ซางที่ไม่ได้คัดพันธุ์ ไผ่บงใหญ่ ไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง

“ไผ่มังกร ไปเก็บเมล็ดพันธุ์มาจากมณฑลยูนนานของจีน นำเมล็ดมาเพาะเป็นต้นกล้า ขายต้นละ 500 บาท ปีที่แล้วเพาะไว้จำนวน 3,000 กว่าต้น ขายดีมาก เหลืออยู่ตอนนี้ 100 กว่าต้น”

โดยทั่วไปชาวเชียงรายมักปลูกไผ่ซางหม่นเชียงรายกันมาก เพราะเป็นพันธุ์ดั้งเดิมของจังหวัด เป็นพันธุ์ที่มีขนาดลำใหญ่ ลักษณะสวย เมื่อเป็นเช่นนั้นจึงนำเมล็ดมาเพาะปลูกคัดพันธุ์ ถ้าหากนิ่งเมื่อไรจะตั้งชื่อว่าไผ่ซางไทย

ทว่า การปลูกไผ่เพื่อต้องการอนุรักษ์จำเป็นต้องมีทุนรอนเพื่อใช้บริหารจัดการ ดังนั้น ลุงไทยจึงเพาะต้นกล้าไผ่สายพันธุ์ดีไว้ขาย พันธุ์ไผ่ที่ลุงไทยเพาะต้นกล้าขายมีทั้งพันธุ์แบบขายลำและขายหน่อ โดยเพาะสายพันธุ์สำคัญอย่าง ซางหม่น ด้วยวิธีตอน และชำ

จากนั้นนำไปแช่น้ำยาก่อนแล้วจึงนำไปอบในโอ่ง เมื่อมีรากแล้วจึงย้ายลงถุง ซึ่งคนที่สนใจซื้อมีทั้งนำไปขายต้นพันธุ์ กับปลูกเพื่อใช้ประโยชน์จากหน่อ ซางหม่นที่ปลูกมีขนาดลำประมาณ 6 นิ้ว ราคาขายเริ่มตั้งแต่ 50-500 บาท ขึ้นอยู่กับความยาก-ง่าย ของแต่ละชนิด หรือถ้าเป็นซางหม่นที่ยังไม่ได้คัดสายพันธุ์ ขายต้นละ150 บาท

ลุงไทย ได้อธิบายขั้นตอนการปลูกไผ่ว่า ควรปลูกก่อนเข้าหน้าฝน เพื่อจะได้น้ำตามธรรมชาติที่สมบูรณ์ อย่างวิธีปลูกไผ่ซางหม่น จะขุดหลุมขนาด 30×30 เซนติเมตร ผสมหน้าดินกับปุ๋ยขี้ไก่เพื่อเป็นวัสดุปลูก ควรปรับพื้นที่ปลูกให้มีลักษณะขนมครก ลุงไทยชี้ว่า โดยธรรมชาติไผ่จะหากินผิวดิน จากนั้นคลุมดินด้วยวัสดุตามธรรมชาติอย่างหญ้าแห้ง หรือฟางข้าวเพื่อรักษาความชื้น

หากต้องปลูกหน้าแล้ง แนะให้หั่นต้นกล้วยเป็นท่อนยาวสัก 20 เซนติเมตร จำนวน 3 ท่อน วางในหลุม 3 ด้าน เว้นตรงกลางเพื่อวางต้นกล้าไผ่ แล้วกลบดิน แล้วให้ผ่าต้นกล้วยเป็นชิ้นวางทับบนหลุมปลูกอีกครั้ง คุณสมบัติของกล้วยจะช่วยให้ดินมีความชุ่มชื้นเพื่อให้รากไผ่เจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพแข็งแรงสามารถแผ่ขยายออกไป ทั้งยังทำให้มีหน่อดก เพราะในกล้วยมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อไผ่

ในช่วงปีแรกจะประสบปัญหาหญ้าและวัชพืช ควรกำจัดออกให้หมดโดยเฉพาะบริเวณต้นไผ่และพื้นที่รอบ เมื่อรากไผ่เจริญเติบโตแผ่ขยายมากขึ้นในปีที่ 2 ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป

ลุงไทย พาไปดูแปลงปลูกไผ่บงหวานกินหน่อ เนื้อที่ 2 ไร่ พร้อมกับแนะว่า ไผ่พันธุ์นี้ควรปลูกในพื้นที่มีน้ำสมบูรณ์ตลอดปี ต้นกล้าที่สมบูรณ์ แข็งแรง ควรมีอายุไม่ต่ำกว่า 6 เดือน และถ้าเป็นกล้าที่มีหน่อแทงในถุงดำอยู่แล้วก็ยิ่งดีมาก

การวางผังปลูกไผ่บงหวานเพื่อให้มีประสิทธิภาพและสะดวกควรปลูกแบบยกร่อง ให้ปลูกสลับฟันปลา เติมน้ำใส่ร่องสัปดาห์ละครั้ง หน่อบงหวานที่สมบูรณ์จะเริ่มแทงในปีที่ 2-3 ดังนั้น ระหว่างนี้ควรปลูกกล้วยไข่แซมเพื่อสร้างรายได้ในระยะเวลาปีกว่า ขณะเดียวกันควรปลูกถั่วดิน เพื่อป้องกันวัชพืชหลายชนิด อีกทั้งคุณสมบัติของถั่วยังสร้างไนโตรเจนในดินเป็นปุ๋ยที่ดีด้วย

สนใจพันธุ์ไผ่ หรือต้องการพูดคุยสอบถามสาระความรู้เรื่องไผ่ คุยกับ ลุงไทย ได้ที่โทรศัพท์ 063-724-0277 หรือชมกิจกรรมเรื่องไผ่และไม้หลายชนิด ยามนี้ ไม่มีข่าวสารใดที่ฟังแล้วเครียดไปกว่าการติดตามข่าวการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 อีกแล้ว แต่ละคนพยายามดูแลรักษาสุขภาพตัวเองหลากหลายวิธี ตั้งแต่สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่หรือเจลล้างมือ รักษาระยะห่างระหว่างบุคคล หยุดการสัญจรไปมาในสถานที่ต่างๆ ทำงานที่บ้าน รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ วันละ 6-8 ชั่วโมง ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ลดจำนวนผู้ป่วย ไม่ให้เป็นภาระหนักแก่ทีมแพทย์พยาบาล

กะเพรา สมุนไพรต้านเชื้อไวรัส
หากใครยังมีพื้นที่ว่างเหลือที่บ้าน อยากชวนมาดูแลตัวเอง ด้วยการปลูก “กะเพรา” สมุนไพรไทยต้านไวรัส เพื่อใช้เป็นอาหารบริโภคในครัวเรือน สร้างภูมิคุ้มกันให้กับทุกคนที่คุณรัก หากใครสนใจปลูกกะเพราเป็นอาชีพเสริมรายได้ ก็ถือเป็นเรื่องดีงาม มั่นใจได้เลยว่า อาชีพปลูกกะเพรา มีโอกาสสร้างรายได้ที่มั่นคงได้ เพราะกะเพราเป็นพืชสวนครัวยอดนิยมที่ปลูกดูแลง่าย ขายดี ตลาดมีความต้องการใช้กะเพราตลอดทั้งปี

ยิ่งในยุคนี้ กะเพราขายดีสุดๆ เพราะกะเพรามีสารอาหารสำคัญ เรียกว่า โอเรียนทิน (orientin) ที่มีศักยภาพสูง ช่วยดูแลป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์ร่างกายมนุษย์ได้นั่นเอง ข้อมูลจากโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ระบุว่า ใบกะเพรา เป็นพืชล้มลุก ตระกูลเดียวกับโหระพาและฟ้าทลายโจร จัดเป็นพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์เสริมภูมิคุ้มกัน มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ

กะเพรา มีสรรพคุณด้านสมุนไพรมากมาย ดังนี้ “ใบ” บำรุงธาตุไฟ ขับลมแก้ปวดท้อง แก้ลมตานซาง แก้จุกเสียด แก้คลื่นเหียนอาเจียน “เมล็ด” เมื่อนำไปแช่น้ำ เมล็ดจะพองตัวเป็นเมือกขาว ใช้พอกบริเวณตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่นละอองเข้า ผงหรือฝุ่นละอองนั้นก็จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาเรานั้นช้ำอีกด้วย “ราก” ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ

ปู่ ย่า ตา ยาย ในบางท้องถิ่น สอนให้ลูกหลานใช้กะเพราเป็นสมุนไพรดูแลสุขภาพ เช่น นำใบสดหรือกิ่งสดมาขยี้ ใช้ไล่ยุง-แมลง และใช้ใบกะเพราตำผสมกับเหล้าขาว ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ส่วนน้ำมันสกัดจากใบกะเพราสด ช่วยล่อแมลงวันทองบินให้มาติดกับดักได้อีก

กะเพรา ปลูกง่าย โตไว
ปัจจุบัน กะเพรา ยังไม่มีการศึกษาปรับปรุงพันธุ์หรือคัดเลือกพันธุ์อย่างจริงจังทางวิชาการ กะเพราที่นิยมใช้กันทั่วไปได้แก่ กะเพราขาว และ กะเพราแดง โดยเรียกชื่อตามสีของก้านใบและก้านดอก “กะเพราขาว” มีลักษณะกิ่ง ก้าน ใบ และช่อดอกสีเขียว นิยมใช้ประกอบอาหาร “กะเพราแดง” มีลักษณะกิ่ง ก้าน ใบ และช่อดอกสีม่วงแดง กะเพราแดงมีสรรพคุณทางยาออกฤทธิ์แรง กลิ่นหอม และเผ็ดร้อนกว่ากะเพราขาว นิยมนำมาใช้ทำยาสมุนไพร เช่น แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง บำรุงธาตุไฟ เป็นต้น ส่วน “กะเพราเกษตร” ที่นิยมปลูกเชิงการค้านั้น ลักษณะเด่นคือ ใบใหญ่ โตเร็ว ใบเยอะ กลิ่นไม่ฉุน “กะเพราป่า หรือ กะเพราบ้าน” มีลักษณะคล้ายกัน แต่ขนาดเล็กและมีกลิ่นฉุนกว่า

กะเพรา เป็นพืชที่ปลูกดูแลง่าย นิยมปลูก 3 รูปแบบ คือ

1. ปลูกโดยหว่านเมล็ด ลงในแปลงที่เตรียมไว้ ใช้ฟางกลบ โรยปุ๋ยคอกและรดน้ำตาม รอแค่ 7 วัน เมล็ดกะเพราจะงอกเป็นต้นกล้า เมื่อต้นกล้าอายุครบ 1 เดือน ถอนแยกให้ได้ระยะระหว่าง 20×20 เซนติเมตร เมื่อต้นกะเพราโตเต็มที่ก็เด็ดใบมารับประทานได้

2. ปลูกแบบปักชำ โดยใช้ลำต้นและกิ่งแก่ วิธีนี้ ทำให้ได้ผลผลิตเร็ว แต่กิ่งและยอดที่แตกออกมาใหม่มักไม่สวย ลำต้นโทรมและตายเร็ว หากต้องการปลูกวิธีนี้ แนะนำให้เลือกกิ่งแก่กลางอ่อน ที่มีอายุมากกว่า 8 เดือน ความยาวกิ่ง 5-10 เซนติเมตร เด็ดยอดและใบออก นำไปปักชำในแปลงปลูกที่เตรียมไว้ ปลูกในระยะห่าง 20×20 เซนติเมตร เมื่อนำกิ่งไปปักดิน ต้องให้ลำต้นเฉียงสัก 45 องศา จากนั้นใช้ดินกลบ คลุมด้วยฟางแช่น้ำ รดน้ำให้ชุ่มก็เสร็จเรียบร้อย

3. ปลูกโดยใช้ต้นกล้า เป็นวิธีปลูกที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย เพราะง่ายต่อการดูแลจัดการ แถมได้ผลผลิตสูงอีกต่างหาก เริ่มจากเพาะกล้าในแปลงเพาะ จนต้นกล้ามีอายุ 20-25 วัน จึงถอนต้นกล้าออกมาเด็ดยอดออก และขุดหลุมปลูกในระยะห่าง 20×20 เซนติเมตร ใช้เศษฟางคลุมแปลงปลูก ควรรดน้ำให้ชุ่มทุกวัน เช้า-เย็น เพราะกะเพราเป็นพืชที่ต้องการความชื้นสูงและสม่ำเสมอ

หลังปลูก 30-35 วัน ก็สามารถตัดลำต้นออกขายได้ เมื่อต้นกะเพราแตกยอดและกิ่งก้านใหม่ออกมา จะเก็บผลผลิตออกขายได้ทุกๆ 15 วัน ตลอดระยะเวลา 7-8 เดือน หลังจากนั้น ผลผลิตจะลดลงเรื่อยๆ ควรรื้อแปลงปลูกทิ้ง ก่อนปลูกกะเพรารอบใหม่

ต้นกะเพราโดยทั่วไป มักมีลำต้นเตี้ยๆ เมื่อออกดอกแล้ว ต้นกะเพราจะเฉาตายในที่สุด อาจารย์กมล สุวุฒโท อดีตอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ แนะนำเคล็ดวิธีปลูกกะเพราให้ต้นสูงใหญ่และอายุยืนข้ามปี โดยใช้วิธีเด็ดยอดใบทุกวัน ไม่ให้ต้นกะเพราออกดอก ดังนั้น หากช่วงไหนยังไม่มีผู้รับซื้อ เกษตรกรสามารถชะลอการตัดลำต้นกะเพราออกไปได้โดยเด็ดยอดที่มีดอกทิ้ง วิธีนี้จะช่วยให้ต้นกะเพราที่ปลูกในบ้านมีอายุการเก็บเกี่ยวยาวนานข้ามปีได้เช่นกัน

เกษตรกรต้นแบบ “ปลูกกะเพรา”
สร้างรายได้ เดือนละ 4-5 หมื่นบาท
คุณสมคิด พานทอง เกษตรกรมืออาชีพ ที่เป็นต้นแบบด้านการปลูกกะเพราป่ากว่า 15 ไร่ ในพื้นที่อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ส่งขาย บริษัท ซีพีแรม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทหนึ่งในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอาหารพร้อมรับประทาน) เฉลี่ยสัปดาห์ละ 700 กิโลกรัม รวมกับกะเพราเกษตรและโหระพา หักต้นทุนแล้ว มีผลกำไรเดือนละ 4-5 หมื่นบาท

ปัจจุบัน คุณสมคิด อาศัยอยู่ บ้านเลขที่ 19/4 หมู่ที่ 5 ตำบลหน้าไม้ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี (โ่ทร.085-665-1789 )คุณสมคิดยึดอาชีพปลูกกะเพรามานานกว่า 10 ปี เดิมเขาใช้สารเคมีในการเพาะปลูก แม้จะมีรายได้ดี แต่เสี่ยงต่อปัญหาสารเคมีตกค้างในร่างกาย คุณสมคิดจึงปรับมาปลูกพืชแบบปลอดภัย โดยใช้สารชีวภาพหรือจุลินทรีย์ในการดูแลแปลงเพาะปลูกตามหลัก จีเอพี (GAP : Good Agricultural Practices) ซึ่งเป็นแนวทางการเพาะปลูกอย่างยั่งยืน ปลอดภัย ต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม และได้ผลผลิตที่ปลอดภัยป้อนตลาดในประเทศและส่งออก

การปลูกกะเพราเชิงการค้าของคุณสมคิดมีระบบการบริหารจัดการแปลงอย่างเป็นระบบ เขาเตรียมพื้นที่เพาะปลูกโดยตากแปลงอย่างน้อย 7 วัน เตรียมพื้นที่ย้ายกล้าพันธุ์กะเพราป่า อายุ 25-30 วัน ลงแปลงที่รดน้ำจนชุ่ม เพาะปลูกโดยตากแปลงอย่างน้อย 7 วัน หลังปลูกเขาดูแลรดน้ำทุกวัน ในช่วงเช้า และใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 24-7-7 ทุกสัปดาห์

หลังจากย้ายกล้า 30 วัน จะสามารถเก็บเกี่ยวได้โดยใช้มีดในการเก็บเกี่ยว และเว้นยอดอ่อนไว้ 2-3 ยอด เพื่อให้แตกยอดใหม่ หลังจากนั้น จะขนย้ายผลผลิตไปยังพื้นที่ตัดแต่ง แรงงานจะทำหน้าที่ตัดและแต่งต้นกะเพราให้ได้มาตรฐานที่ผู้ซื้อต้องการ ก่อนบรรจุสินค้าลงในตะกร้า ใช้ผ้าชุบน้ำคลุมตะกร้าก่อนขนขึ้นรถเพื่อจัดส่งให้ถึงโรงงาน

เมื่อกะเพราที่ปลูกในแปลงเริ่มแก่ เริ่มให้ผลผลิตน้อยลง เขาจะรื้อแปลงเก่าทิ้ง และปลูกพืชอื่นหมุนเวียนแทน เป็นการพักแปลงปลูกก่อนการเพาะปลูกในรอบถัดไป ทำให้ได้ผลผลิตที่ดีและไม่มีปัญหาเรื่องโรคและแมลงรบกวน

คุณสมคิด บอกว่า ตลาดต้องการกะเพราตลอดทั้งปี โดยเฉพาะกะเพราป่า เนื่องจากมีกลิ่นหอมกว่ากะเพราพันธุ์อื่น การปลูกกะเพราเป็นเรื่องง่าย ที่ใครๆ ทำได้ แค่มีการดูแลจัดการที่ดีและเป็นระบบ เกษตรกรทุกคนก็จะมีโอกาสสร้างรายได้ที่มั่นคงได้ไม่ยาก

กินอาหารเป็นยา สู้โรค
ปัจจุบัน หลายคนเลือก “กินผลไม้พืชผักสมุนไพรเป็นยา” เพื่อเสริมภูมิต้านทานของร่างกาย สู้โรค “ไวรัส โควิด-19” ตามคำแนะนำของ นายแพทย์มรุต จิรเศรษฐศิริ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ดังนี้
1. กลุ่มเสริมภูมิคุ้มกัน ได้แก่ พลูคาว หรือ ผักคาวตอง ตระกูลเห็ดที่มีสารสำคัญคือ เบต้ากลูแคน (เห็ดหอม เห็ดนางฟ้า เห็ดออรินจิ เห็ดหลินจือ) สมุนไพรตรีผลา (สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม) รับประทานในรูปน้ำต้มดื่ม

2. กลุ่มพืชสมุนไพรผลไม้ที่มีวิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระสูง ได้แก่ ดอกขี้เหล็ก ยอดมะยม ใบเหลียง ยอดสะเดา ฟักข้าว มะระขี้นก ผักเชียงดา คะน้า มะรุม ผักแพว มะขามป้อม นอกจากนี้ ยังมีพืชสมุนไพรอื่นๆ ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง เนื่องจากมีสารกลุ่มแอนโทไซยานิน ซึ่งเป็นสารฟลาโวนอยด์ เสริมการทำงานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย เช่น ผลหม่อนสด ผักผลไม้หลากสี (ผักใบเขียว ผักผลไม้สีส้ม สีม่วง สีแดง)

3. กลุ่มผักผลไม้ที่มีสารสำคัญ สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัส โควิด-19 ได้แก่

3.1 กลุ่มสารเฮสเพอริดิน (hesperidin) และ รูติน (rutin) สูง เช่น พืชตระกูลส้ม (ส้ม มะนาว มะกรูด ส้มซ่า)

3.2 กลุ่มที่มีสารเคอร์ซีติน (quercetin) สูง ได้แก่ พลูคาว หรือผักคาวตอง หอมแดง หอมหัวใหญ่ มะรุม ใบหม่อน แอปเปิ้ล

3.3 พืชที่มีสารสำคัญ “โอเรียนทิน (orientin)” ที่มีศักยภาพดูแลป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าเซลล์ คือ กะเพรา พืชสมุนไพรคู่ครัวไทยนั่นเอง

มะละกอ เป็นไม้ผลที่มีรสชาติอร่อย สมัครยูฟ่าเบท และมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ นิยมรับประทานทั้งผลดิบและผลสุก หากใครมีพื้นที่ว่างอยากชวนปลูกมะละกอเป็นไม้ผลประจำบ้าน แค่หาซื้อผลมะละกอสุกมาผ่าเก็บเมล็ดสำหรับปลูก แต่เกษตรกรมือใหม่บางคน เลือกซื้อมะละกอสุกผลใหญ่ เนื้อหนามาผ่าเมล็ดไว้ปลูก เมื่อครบอายุเก็บเกี่ยว กลับได้ผลผลิตแตกต่างจากต้นพันธุ์เดิม เพราะได้ผลเล็ก เนื้อบาง ไม่มีเมล็ด หากใครเจอเหตุการณ์ลักษณะนี้ ขอแนะนำให้หันกลับมาเรียนรู้ธรรมชาติของต้นมะละกอใหม่อีกสักครั้ง

ต้นมะละกอมี 3 ชนิด
โดยทั่วไป ต้นมะละกอสามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ 1. ต้นเพศเมีย มีดอกขนาดเล็ก ลักษณะกลม ป้อม ให้ผลค่อนข้างกลมและมีขนาดเล็กเช่นเดียวกัน เนื้อผลบาง ไม่มีเมล็ด

2. ต้นเพศผู้ ออกดอกสีขาวเป็นช่อ ยาวประมาณ 25-30 เซนติเมตร มีดอกย่อยจำนวนมาก แต่ไม่ติดผล ดอกจะร่วงหมดทั้งช่อ

3. ต้นกะเทย ลักษณะดอกอวบอ้วน ให้ผลขนาดใหญ่ เนื้อหนา รสหวาน เป็นที่ต้องการของตลาด วิธีคัดเมล็ดมะละกอไว้ทำพันธุ์
หากใครต้องการคัดเมล็ดมะละกอจากผลที่ซื้อมารับประทานไว้ทำพันธุ์ ขอแนะนำให้เลือกซื้อมะละกอผลใหญ่ สมบูรณ์ ไม่มีโรคและแมลงศัตรูทำลายหรือติดมา เมื่อคัดผลที่ได้ขนาดตามที่ต้องการแล้ว ให้นำผลมะละกอมาตัดแบ่งเป็น 3 ส่วน คือส่วนหัว ส่วนกลาง และส่วนท้ายหรือก้น นำเมล็ดจากเฉพาะส่วนกลางของผล ให้ใช้ช้อนขูดออกเบาๆ จนหมด ล้างในน้ำสะอาด บีบส่วนที่เป็นเมือกใสๆ ออก ล้างน้ำอีกหลายครั้งจนพอใจ

หลังจากนั้น นำเมล็ดมะละกอขึ้นผึ่งบนตะแกรงให้สะเด็ดน้ำ แล้วเทลงบนกระดาษซับน้ำหรือกระดาษหนังสือพิมพ์ก็ได้ เกลี่ยเมล็ดกระจายออก อย่าให้ทับกัน ผึ่งลมไว้อีก 3-4 วัน ให้แห้งสนิทดี แล้ว จึงค่อยคัดเอาเฉพาะเมล็ดที่มีสีดำเท่านั้น ส่วนเมล็ดสีน้ำตาลคัดทิ้งไป

เมล็ดมะละกอสีดำเมื่อนำไปทำพันธุ์ปลูกจะได้ต้นกะเทยมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ หากบังเอิญมีต้นเพศเมียหรือต้นเพศผู้หลงติดมาก็อย่าได้ตกใจ คุณสามารถเปลี่ยนเพศมันได้ด้วยวิธีใช้มีดสะอาดและคม ตัดคอต้นเพศเมียหรือต้นเพศผู้ให้ขาด เหลือใบไว้เพียง 2-3 ใบ บำรุงต้นให้สมบูรณ์ด้วยน้ำปัสสาวะเจือจางด้วยน้ำ หรือรดด้วยปุ๋ยยูเรียละลายน้ำสะอาดทุกสัปดาห์ ในไม่ช้าต้นมะละกอต้นดังกล่าวจะแตกยอดที่สมบูรณ์ และให้ผลเป็นต้นกะเทย 100 เปอร์เซ็นต์ เมื่อนำไปปลูกจะได้ มะละกอขนาดผลใหญ่ เนื้อหนา และรสหวาน ถูกใจคนปลูก คนซื้อทุกประการ