ฟ้าทะลายโจร ยาดีที่ปลูกเองได้ ปลูกไว้สู้หวัด หวัดใหญ่ สู้ไวรัส

ชื่ออื่นๆ : ฟ้าทะลาย ฟ้าสะท้าย ขุนโจรห้าร้อย หญ้ากันงู น้ำลายพังพอน เมฆทะลาย ชวงซิมน้อย เจ๊กเกียงฮี่ โชว่เช่า ชวนซิเหลียน สมุนไพรที่ใช้มามากกว่า 2,000 ปี มีงานวิจัยต้านไวรัสแบบออกฤทธิ์ได้กว้างขวาง (broad spectrum antiviral agent) อยู่ในบัญชียาที่องค์การอนามัยโลก (World Health Organization ; WHO) ให้ใช้ป้องกันและรักษาการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน หลอดลมอักเสบ และทอนซิลอักเสบ

การเตรียมเมล็ด ควรแช่ด้วยน้ำอุ่น 50-60 องศาเซลเซียส ประมาณ 1 คืน และห่อผ้าขาวบางไว้อีก 2 คืน ก่อนนำไปหว่าน เตรียมดินด้วยการไถพรวนก่อน สามารถปลูกเป็นแปลงใหญ่ๆ หรือแปลงเล็กๆ แล้วแต่ความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ ถ้าพื้นที่ค่อนข้างลุ่มต่ำ ควรทำแปลงยกร่องกว้าง 1-2 เมตร ระยะห่างระหว่างแปลง 1 เมตร การปลูกทำได้หลายวิธี ปลูกแบบย้ายกล้า โดยการเพาะเมล็ดก่อน ปลูกเป็นแถวเดี่ยวๆ แต่ละหลุมห่างกัน 30-40 เซนติเมตร

ปี 2560 อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ดำเนินโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน มีหลายชุมชนเกษตรที่พิจารณาจัดทำโครงการขยายพันธุ์พืช เพื่อจะได้มีพันธุ์พืชปลูกในพื้นที่ พืชหลักๆ ที่ขยายพันธุ์ โดยฝีมือเกษตรกรเอง แต่ตามหลักวิชาการเกษตร มีพืชที่เพาะขยายด้วยเมล็ด ลงถุงขนาดตามความเหมาะสม และวัตถุประสงค์ที่จะให้ประชาชนนำไปดำเนินการต่อ เช่น นำไปปลูกในสวน นำไปตั้งประดับบ้านเรือน ผลผลิตที่ชุมชนเกษตรอำเภอน้ำปาดทำได้ รวมจำนวน 2,248,900 ต้น

ประกอบด้วย ต้นดาวเรือง กว่า 160,000 ต้น มะม่วง 374,600 ต้น มะขามเปรี้ยว 277,800 ต้น ไผ่ข้าวหลาม ไผ่ซางหม่น กว่า 43,000 ต้น และที่มีความตั้งใจผลิตออกมาเพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน และวาดฝันให้พื้นที่เกษตรอำเภอน้ำปาด เป็นแดนพืชผลที่อนาคตไกล คือ มะม่วงหิมพานต์ ผลผลิตกว่า 1,364,000 ต้น ณ วันนี้ เริ่มทยอยจากเรือนเพาะชำทั้ง 23 โรงเรือน 4 ชุมชน สู่ชุมชน สู่ผืนดิน เพื่อนำมาซึ่งความยั่งยืน ด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม

การเกษตรหลายพื้นที่ กำลังคิดจะเปลี่ยนแปลงปลูกพืชอื่น เพราะเหตุผลหลายๆ อย่าง อาทิ ด้านราคาตกต่ำ การระบาดของศัตรูพืช ความผันผวนของดินฟ้าอากาศ การขนส่งผลผลิต ครั้นจะรื้อไร่นาสวนผสม ปลูกพืชใหม่เลยก็ตัดสินใจยาก จึงอยากแนะนำให้ปลูก “มะม่วงหิมพานต์” แซมในไร่ในสวน สัก 2 ปี พอปีต่อไปจะทิ้งพืชเดิม หรือจะเอาไว้เป็นพืชแซมกันก็ได้

มะม่วงหิมพานต์ พืชตระกูลเดียวกับมะม่วงทั่วไป แต่มีความแปลกพิสดารที่ลักษณะผล เมล็ดโผล่อยู่นอกผลห้อยติดอยู่ตรงปลายลูก ดูแปลกประหลาดจากไม้ผลทั่วไปที่สุด ซึ่งที่จริงแล้วในทางพฤกษศาสตร์ ผลที่เห็นเป็นสีเขียวเหลืองหรือเมื่อแก่จะสุกแดงน่ากินนั้นคือ การพองตัวของก้านดอก เป็นผลปลอมหรือผลเทียม ส่วนผลจริงนั้นคือ เมล็ดที่ติดอยู่ส่วนปลาย สีเทาหรือดำ เมื่อกะเทาะเอาเนื้อในสีขาว เอามาตากแห้งทอดหรืออบให้สุก ก็คือ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ที่เราๆท่านๆ ชอบใช้เป็นของขบเคี้ยวยามว่าง

เดิมทีนั้น มะม่วงหิมพานต์ มีอยู่แถวทวีปอเมริกาใต้ คือถิ่นกำเนิดเขาอยู่ที่โน่น แถบประเทศบราซิล มีชาวโปรตุเกสซึ่งเป็นนักล่าขยายอาณานิคม นำเอามะม่วงหิมพานต์ จากโน่นไปแพร่ขยายไปทั่ว ในสมัยศตวรรษที่ 16 โดยเฉพาะถิ่นที่เป็นเขตอิทธิพล เช่น ทวีปแอฟริกา ประเทศโมซัมบิก แทนซาเนีย เคนยา มาดากัสการ์ เข้ามาถึงเอเชีย ประเทศอินเดีย แถบฝั่งมลายู เข้าพม่ามาสู่เขตประเทศไทยที่จังหวัดระนอง

เชื่อว่า พระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี (คอซัมบี้ ณ ระนอง) เป็นผู้นำมาแพร่ขยาย จนมีปลูกกันทั่วประเทศ และมีอีกหลายท่านที่นำมะม่วงหิมพานต์เข้ามาปลูกในไทย เช่น พ.ศ. 2504 นายเธท ซีน จากองค์การ เอฟ เอ โอ. นำพันธุ์มาให้กรมกสิกรรม (สมัยนั้น) จำนวน 80 เมล็ด ปลูกที่สถานีทดลองไหมจังหวัดศรีสะเกษ และปลูกที่สถานีโป่งแรด จังหวัดจันทบุรี ปี 2511 นายมาซูโอ ชาวญี่ปุ่น นำพันธุ์มะม่วงหิมพานต์จากอินเดีย อีก 20 สายพันธุ์ มาปลูกที่สถานีทดลองพืชสวนฉวี จังหวัดชุมพร ปี 2512 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำพันธุ์มาจากบราซิล ทดลองปลูกที่สถานีทดลองยางกระบุรี จังหวัดระนอง ปัจจุบันขยายไปทั่วประเทศไทย

มะม่วงหิมพานต์ เป็นไม้ผลยืนต้นเขตร้อน ประเภทไม้ผลัดใบ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ANACADIACEAE ชื่อสามัญว่า Cashew หรือ Cashew Nut “แคชชู” เป็นคำที่เพี้ยนมาจากภาษาอินเดียนแดงเผ่าทาปิ ในประเทศบราซิล เรียกว่า อาคาฮู แต่ชาวโปรตุเกสเรียกสั้นลงว่า คาฮู เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า CASHEW มีชื่อภาษาไทยว่า มะม่วงหิมพานต์ บางแห่งเรียก ยาร่วง เล็ดล่อ กาหยู มะม่วงสิงหล ฯลฯ

เป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตเร็ว ให้ผลผลิตเร็ว เพียงแค่ 2 ปี ให้ผลผลิตนานหลายสิบปี ไม่ยุ่งยากในการดูแลรักษา ปลูกทิ้งปลูกขว้างก็ทำได้ บางทีปลูกทิ้งไว้หัวไร่ปลายนา ข้างรั้วก็เก็บเมล็ดขายได้ เดี๋ยวนี้มีปลูกกันเป็นล่ำเป็นสัน ก็ต้องปลูกกันแบบนักเกษตรกรรมเขาทำกัน ก็คือ ต้องอิงหลักวิชาการเกษตรเข้าช่วย ไม่ใช่ว่าจะปลูกปล่อยทิ้งขว้าง เหมือนเมื่อก่อนปลูกเล่นๆ ไม่หวังได้ขึ้นได้ขาย แต่ถ้าเราปลูกเพื่อเป็นรายได้ละก็ต้องเพิ่มทักษะเข้าไปด้วย

พันธุ์มะม่วงหิมพานต์ มีมากกว่า 400 พันธุ์ ถ้าแยกตามสีผลก็มี สีเหลือง สีแดง สีครั่ง และสีแดงปนชมพู พันธุ์ที่ปลูกต้องให้ผลผลิตเมล็ดสูง ขนาดเมล็ดต้องใหญ่ มีน้ำหนักไม่เกิน 200 เมล็ด ต่อกิโลกรัม คุณภาพเมล็ดดี สีสวย เปอร์เซ็นต์กะเทาะดี ไม่น้อยกว่า 25% ต้านทานโรคแมลงศัตรูพืชได้ดี ผลปลอมมีขนาดเล็ก ติดช่อมาก เมล็ดเนื้อในแน่นไม่เป็นโพรง เปลือกบาง น้ำมันน้อย กะเทาะง่าย ทรงต้นเตี้ย ปลูกได้จำนวนต้นต่อไร่มาก พันธุ์ที่มีส่งเสริมให้ปลูก ได้แก่ พันธุ์ ศรีสะเกษ 60-1 (ศก 5.0), 60-2 (ศก 5.10) พันธุ์ศิริชัย 25 พันธุ์อินทร์สมิต เป็นต้น

การปลูกสามารถปลูกด้วยเมล็ดแก่ที่แช่น้ำแล้วนำลงหยอดหลุมได้เลย หรือเพาะเมล็ดลงถุงดินก่อน 2 เดือน ย้ายปลูก เมล็ดนั้นต้องคัดเอามาจากต้นพันธุ์ดี ให้ผลผลิตสูง การปลูกด้วยกิ่งตอน ต้องเป็นกิ่งที่ตอนมาจากต้นอายุ 5-6 ปีแล้ว กิ่งต้องสมบูรณ์ ไม่มีโรคแมลงรบกวน ปกติการตอนจะใช้ฮอร์โมน ไอบีเอ ความเข้มข้น 500 ppm. หรือจะปลูกด้วยกิ่งที่ติดตา หรือเสียบยอดใหม่ ระยะปลูก ระหว่างต้น 6 เมตร ระหว่างแถว 6-7 เมตร จะปลูกเป็นตารางสี่เหลี่ยม หรือสามเหลี่ยม ในระยะปลูกนี้ก็ได้

ถ้าปลูกแซมพืชอื่น ควรเว้นช่องหลุมปลูกเพื่อเอาผลผลิตพืชนั้นออก หลุมปลูก 50 เซนติเมตร ลึกพอประมาณ ผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักกับหน้าดินกลบต้น การให้ปุ๋ยเคมี ใช้สูตรคำนวณแบบวิชาการ วัดจากโคนต้นขึ้นมา 90 เซนติเมตร วัดเส้นผ่าศูนย์กลางต้น 2.5 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ย 1 กิโลกรัม แต่ถ้าจะให้ดีเจาะดินไปตรวจวิเคราะห์หาค่าธาตุอาหารพืชก่อนจะดีมาก

มะม่วงหิมพานต์ มีประโยชน์ สารประกอบที่มีอยู่ในเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ได้แก่ น้ำ 5.9% โปรตีน 21.0% ไขมัน 47.0% คาร์โบไฮเดรต 22.0% แร่ธาตุ 2.4% แคลเซียม 0.5% ฟอสฟอรัส 0.4% เหล็ก 5.0 มิลลิกรัม แคโรทีน 100 i.u/100 กรัม

แต่ที่เปลือกหุ้มเมล็ดจะมีน้ำมันออกฤทธิ์เป็นกรดอย่างแรง คือกรดอานาคาร์ดิก 90% และกรดคาดอล 10% ถ้าถูกผิวหนังจะพองเป็นแผลเปื่อย แต่ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ทำสีย้อม และใช้ทาผลิตภัณฑ์ไม้ เฟอร์นิเจอร์ต่างๆป้องกันปลวก มอด แมลง ผสมน้ำมันก๊าด หรือพาราฟินเหลว ราดแอ่งน้ำกำจัดลูกน้ำยุง เปลือกใช้เผาสุมไฟป้องกัน หรือไล่ยุงได้ เป็นยารักษาโรคผิวหนัง อุตสาหกรรมพลาสติก สี ผ้าเบรกรถ แผ่นคลัตช์รถ กระเบื้องยางปูพื้น ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้า สามารถทนต่อกรด ด่าง ความร้อน และแรงเสียดสีได้ดี

ณ วันนี้ มะม่วงหิมพานต์ มีปลูกกันแพร่หลายไปทั่ว กำลังจะเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ของบ้านเรา ถึงแม้จะต้องแข่งขันกับประเทศต้นกำเนิดและประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศ แต่เชื่อเหลือเกินว่าด้วยศักยภาพของพื้นที่ ของเกษตรกร ของระบบการพัฒนาผลิตผลการเกษตรของประเทศไทย เราสู้เขาได้สบายมาก โดยเฉพาะถ้าเกษตรกรเรามีแนวคิดเปลี่ยนปรับจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่มักจะได้รับผลกระทบเชิงลบ มาปลูกพืชผสมดูบ้าง แล้วเราคงจะห่างไกล และหลุดพ้นจากคำว่า “ปัญหา” ไปได้อย่างยั่งยืน

จากสถานการณ์ราคายางพาราที่ไม่สู้ดีเหมือนแต่ก่อน ทำให้นายนาวี จันทร์กระจ่าง เกษตรกรสวนยางฯ ใน ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง ตัดสินใจโค่นต้นยางพาราเนื้อที่กว่า 5 ไร่ แบ่งมาปลูก “น้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่อง” แทน จำนวน 3 ไร่ เพราะเห็นช่องทางว่าในละแวกนี้ไม่มีเกษตรกรรายใดปลูกน้อยหน่าขาย ส่วนที่เหลือได้แปลงเป็นสวนเกษตรผสมผสาน ปลูกผลไม้อีกหลายชนิด

น้อยหน่าพันธุ์ “เพชรปากช่อง” เกิดจากการผสมระหว่างพันธุ์แม่ พันธุ์เซริมัวย่า (cherimoya x หนังครั่ง) x พันธุ์พ่อ “หนังเขียว” มีลักษณะต้นใหญ่และสูงกว่าน้อยหน่าพันธุ์ทั่วไป ใบเป็นรูปหอกสีเขียวเข็ม ต้นพุ่มโปร่งปานกลาง ดอกใหญ่ ผลเป็นรูปหัวใจ ผิวค่อนข้างเรียบ ร่องตาตื้นคล้ายน้อยหน่าหนัง ผลอ่อนสีเขียวเข้ม เมื่อแก่จัดจะมีสีเขียวอ่อนถึงขาวนวล ผลไม่แตกเมื่อแก่ เปลือกบางลอกออกจากเนื้อได้เมื่อสุกจัด เนื้อเหนียวคล้ายน้อยหน่าหนัง หลังจากปลูกอายุ 2 ปี จะเริ่มให้ผลผลิตเต็มที่ และเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี

น้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่อง มีจุดเด่นที่น่าใจอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อปลูกไปนานปีก็จะยิ่งให้ผลผลิตที่เพิ่มพูนมากขึ้น ในปีแรกนั้นอาจจะให้ผลผลิตไม่เกิน 3 ลูก/ต้น ปีที่ 2 ก็จะให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 10 -15 ลูกและจะเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี เรียกว่าปลูกครั้งเดียวสามารถที่เก็บผลผลิตได้นานนับ 10 ปี ถ้าหากดุแลรักษาให้ดีๆ

นายนาวีสั่งต้นพันธุ์น้อยหน่ามาจากโคราชกว่า 300 ต้น เพียง 2 ปี ก็เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตออกขาย ในราคากิโลกรัมละ 65 บาท โดยเก็บอาทิตย์ละ 1 ครั้ง ๆ ละประมาณ 80-90 กิโลกรัม ทำให้มีรายได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 20,000 บาท โดยเริ่มเก็บมาแล้ว 4 รอบ หรือประมาณ 500 กิโลกรัม ขายทั้งหน้าสวนและทางออนไลน์ ทำให้ผลตอบรับดีมากจนสุกไม่ทันกับความต้องการของลูกค้า

ทั้งนี้ ในการทำสวนน้อยหน่านั้น นายนาวีเน้นย้ำเรื่องความปลอดภัยโดยไม่ใช้สารเคมี หมั่นตัดแต่งกิ่งเพื่อทำสาว เป็นการบังคับให้ออกลูกนอกฤดูกาลและมีผลให้เก็บได้ตลอดทั้งปี โดยลูกใหญ่ที่สุดหนักถึง 1.2 กิโลกรัม ลูกค้านิยมบริโภคเนื่องจากเนื้อหนา ลูกใหญ่ รสหวานกำลังดี หอมและเม็ดน้อย

นอกจากนี้ ยังได้เปิดสวนน้อยหน่าให้ลูกค้าหรือนักท่องเที่ยวเข้ามาเลือกซื้อและตัดเองจากต้น พร้อมชิมแก้วมังกร เสาวรส ฝรั่ง และอื่น ๆ ที่มีอยู่ในสวน พร้อมเตรียมขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มเพื่อให้ทันกับความต้องการของลูกค้า โดยให้คำแนะนำฟรีสำหรับเกษตรกรที่สนใจจะปลูกน้อยหน่าเป็นรายได้เสริมที่ตอนนี้กลายเป็นรายได้หลักของครอบครัวไปแล้ว

มะม่วง มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า mangifera indica

คำว่า indica มาจากอินเดียนั่นเอง เนื่องจากนำเข้ามาปลูกเป็นเวลานาน คนไทยส่วนหนึ่ง มีความรู้สึกว่า มะม่วงเป็นไม้ท้องถิ่น พันธุ์ที่ปลูกก็เป็นเอกลักษณ์ ดูแตกต่างจากที่ประเทศอื่นมีอยู่อย่างสิ้นเชิง

เดิมที มะม่วง มีฐานะเหมือนไม้ผลชนิดอื่น คือเสนอตัวให้เกษตรกรเลือกปลูก เสนอตัวต่อผู้บริโภค เนื่องจากมีคุณสมบัติที่เหมาะสม มะม่วงจึงครองใจเกษตรกรรวมทั้งผู้บริโภค ตัวเลขระยะหลังๆ ถือว่ามะม่วงเป็นพืชที่มีพื้นที่ปลูกมาก คือ กว่า 2 ล้านไร่

ผลผลิตเดิมซื้อขายแลกเปลี่ยนกันในประเทศ ต่อมามีการส่งออก ตัวเลขส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สัมพันธ์กับงานพัฒนาการปลูกมะม่วงในประเทศไทย มะม่วงปลูกได้ทั่วถิ่นไทย
พื้นที่ปลูกมะม่วงที่สำคัญนั้นอยู่ในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ทั้งนี้เพราะมะม่วงเป็นไม้เมืองร้อน เหมาะกับสภาพอากาศอย่างไทย เพราะเป็นไม้ที่ปลูกได้ดี จึงมีพันธุ์ประจำถิ่น

เมื่อก่อนทางภาคเหนือ มีมะม่วง “งา” รูปทรงคล้ายๆ หนังกลางวัน ระยะหลังๆ ทางเหนือปลูกได้หลากหลายพันธุ์ โดยเฉพาะมะม่วงที่มีถิ่นกำเนิดมาจากทางไต้หวัน ซึ่งมีสีสันสดใส สีชมพู สีแดง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรืออีสาน เดิมเป็นถิ่นของมะม่วงแก้ว ต่อมาเริ่มปลูกเป็นการค้าหลายจังหวัด เช่น ที่อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ผลผลิตส่วนหนึ่ง เขาขนออกจากพื้นที่ปลูก นำไปขายยังเวียดนามและจีน โดยไม่ต้องผ่านกรุงเทพฯ

ภาคกลาง เป็นถิ่นเดิมของมะม่วงที่มีความหลากหลายทางด้ายสายพันธุ์ ทั้งนี้ คงเป็นเพราะเมื่อก่อนนิยมขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ภาคใต้ เดิมมีความเชื่อกันว่า ปลูกมะม่วงได้ดีเฉพาะพันธุ์นาทับและเบาปักษ์ใต้ พันธุ์อื่นมีความเข้าใจว่า ช่วงออกดอกมักจะกลัวฝน

คุณสุรศักดิ์ ศรีอำนวย มีพื้นเพอยู่ทางภาคใต้ แต่มาปลูกมะม่วงอยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ปัจจุบันเขาสะสมมะม่วงไว้กว่า 70 พันธุ์ เกษตรกรรายนี้เน้นขายกิ่งพันธุ์ ซึ่งมีคนซื้อไปปลูกทุกภูมิภาคของประเทศไทย

คุณสุรศักดิ์ ทดลองนำมะม่วงโชคอนันต์ มันเดือนเก้า สามฤดู แม่ลูกดก ลงไปปลูกในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและบริเวณใกล้เคียง ปรากฏว่า ให้ผลผลิตดี ซึ่งเป็นที่เข้าใจได้ เพราะมะม่วงที่เอ่ยชื่อพันธุ์มา เขาออกดอกติดผล ช่วงหน้าฝนทางภาคกลางได้ดีนั่นเอง

รูปแบบการผลิตมะม่วง
สามารถแยกแยะงานปลูกมะม่วงได้ 3 ลักษณะ ด้วยกัน

หนึ่ง.ปลูกไว้รอบบ้าน

พบเห็นกันมาก โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ตามหมู่บ้านจัดสรร จำนวนอาจจะ 1-2 ต้น เจ้าของไม่ได้เน้นว่า จะต้องมีผลผลิตเก็บกิน สิ่งที่ได้คือ ร่มเงา ให้นก กระรอก ได้อยู่อาศัย แต่เมื่อโตขึ้นอาจจะเป็นภาระ ต้องจ้างคนตัดแต่งกิ่ง บางคราวก็ลุกล้ำเขตแดนของเพื่อนบ้าน

หากเจ้าของเข้าใจ เลือกพันธุ์ที่ออกดอกติดผลง่าย เช่น มะม่วงโชคอนันต์ พิมเสนทะวาย แม่ลูกดก ศาลายา เพชรปทุม ก็จะมีผลมะม่วงกินทุกปี

การดูแลอย่างอื่นก็มีความสำคัญ เช่น การตัดแต่งกิ่ง รวมทั้งงดน้ำก่อนที่ต้นมะม่วงจะออกดอก

มะม่วงก็จะมีวงจร ให้ผลผลิตอย่างต่อเนื่อง

โดยทั่วไปแล้ว ตามหมู่บ้านจัดสรร มักปล่อยให้มะม่วงต้นใหญ่ กิ่งยาว ขาดการเอาใจใส่จากเจ้าของ ทั้งนี้คงเป็นเพราะเจ้าของขาดอุปกรณ์ และไม่มีทักษะ

ถึงแม้มะม่วงไม่ค่อยให้ผลผลิตให้กับเจ้าของ แต่ถือว่ายังดี มีต้นไม้ให้ร่มเงา

สอง.ปลูกผสมผสานกับกิจกรรมเกษตรอื่น

เกษตรกรที่ทำกิจกรรมหลายอย่าง มักมีมะม่วงปลูกผสมผสานเข้าไป

ยกตัวอย่าง นาย ก. มีที่ดิน 10 ไร่ ทำนาข้าว 6 ไร่ ที่เหลือ 4 ไร่ ปลูกผัก เลี้ยงปลา ปลูกไม้ผล

ไม้ผลที่ปลูกสามารถผสมผสานได้หลายชนิด ตั้งแต่กล้วย มะพร้าว ขนุน น้อยหน่า รวมทั้งมะม่วง

มะม่วง 20-30 ต้น ในระบบผสมผสานอาจจะสร้างรายได้ให้กับผู้ปลูกช่วงเดือนเมษายน ตั้งแต่หลักพันบาท ถึงหลักหมื่นบาท มากน้อยขึ้นอยู่กับสภาพอากาศของปีนั้นๆ รวมทั้งความเอาใจใส่ดูแลของผู้ปลูก

สาม.ปลูกเป็นการค้าจริงจัง

“ข้าวสุกจากเหนือลงใต้ หมากไม้สุกจากใต้ขึ้นเหนือ”

คนสมัยเก่าก่อนบอกไว้ว่า ข้าวทางเหนือเก็บเกี่ยวได้ก่อนทางภาคกลางและภาคใต้ ส่วนผลไม้ สุกแก่จากทางภาคกลางขึ้นไปทางภาคเหนือ เป็นคำที่กล่าวถึงข้าวและผลไม้ในฤดูปกติ โดยมีเรื่องของสภาพอากาศ มาเกี่ยวข้อง

มะม่วง ตรงกับสิ่งที่คนสมัยก่อนบอกไว้ สมัครรอยัลออนไลน์ คือมีผลผลิตเก็บขายทางภาคกลางก่อน ภาคเหนือตอนบน อย่างทางเชียงใหม่เก็บได้หลังสุด ขอแนะนำแหล่งปลูกมะม่วงเป็นการค้าจริงจัง จากทางใต้ขึ้นไปทางเหนือ

แหล่งปลูกเป็นการค้าจริงจังล่างสุดคือ ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี ถือว่าเป็นภาคตะวันตก

ขยับเหนือขึ้นมาหน่อยเป็นภาคตะวันออก คือ ฉะเชิงเทรา สระแก้ว

ภาคกลาง มีสระบุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี อุทัยธานี

ตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น ชัยภูมิ เลย กาฬสินธุ์ อุดรธานี

ภาคเหนือตอนล่างหรือภาคกลางตอนบน ได้แก่ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และสุโขทัย

เหนือสุดของประเทศ มีลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง น่าน

แหล่งปลูกเพื่อการค้าที่สำคัญ อยู่รอยต่อ 3 จังหวัด คือ พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ พื้นที่รวมกว่า 2 แสนไร่ งานดูแลมะม่วง ไม่ใช่เรื่องยาก
มะม่วง เป็นพืชที่มีความอดทน อย่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีมะม่วงยืนต้นอยู่ตามคันนา พุ่มใบขนาดใหญ่ ถึงต้นปีก็ออกดอก เข้าสู่ต้นฝนก็ให้เจ้าของเก็บกินได้ ถือว่า เป็นมะม่วงที่ปล่อยให้มีการเจริญเติบโตตามธรรมชาติ

อาจารย์สมาน ศิริภัทร นักวิชาการเกษตรอาวุโส เคยกล่าวไว้ว่า “ปลูกมะม่วง ต้องดูแลอย่างมะม่วง” ขยายความได้ว่า มะม่วงมีความอดทนแข็งแรง ไม่ต้องดูแลมาก หากดูแลมาก สิ่งที่ตามมาคือ ความอ่อนแอของต้น รวมทั้งต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น