ภาคกลาง – มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ส่วนมากบริเวณ

จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี และสมุทรสงคราม อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ภาคตะวันออก – มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) – มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) – มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพฯ และปริมณฑล – มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

นายสำราญ แซ่ว่าง อายุ 47 ปี อาชีพเกษตรกร ชาวพบพระ จ.ตาก กล่าวว่า ราคาพริกในพื้นที่อำเภอพบพระ ตกต่ำลงมาก เมี่อเทียบราคาจากปีที่ผ่านมา ต่างกันหลายเท่าตัว ทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนมาก โดยตนเองได้ปลูกพริกซุปเปอร์ฮอท ใช้พื้นที่ จำนวน 7 ไร่ มีพริกเขียว และพริกแดง แต่พริกแดงไม่มีพ่อค้าไปซื้อเลย ตามปกติช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขายพริกแดงในราคากิโลกรัมละ 60 – 70 บาท ปีนี้ลดลงเหลือราคา 14 – 15 บาท อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปดูแล และให้ความช่วยเหลือเกษตรกรด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากพริกที่มีราคาลดลง นี้ กะหล่ำปี ก็มีราคาตกเช่นกัน อยู่ที่ราคา กิโลกรัมละ 1 บาท ซึ่งส่วนมากปลูกในพื้นที่ ตำบลคีรีราษฎร์ สำหรับเกษตรกรที่ปลูกพริกขาย มีพื้นที่ปลูกพริก ประมาณ 1,000 ไร่ ซึ่งปีที่ผ่านมา มีชาวไร่ปลูกพริกมาก เนื่องจากมีราคาดี ทำให้ปีนี้หันมาปลูกพริกมากขึ้น แต่ต้องผิดหวังไปตามๆกัน

เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม นายพิพัฒน์ ขวัญธนธีระวุฒิ ผู้ใหญ่บ้านแม่คำหล้า หมู่ 13 ต.บ้านร้อง อ.งาว จ.ลำปาง เปิดเผยว่า จากพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงที่เกิดขึ้น ตนเองได้รับแจ้งจาก นายสาธิต เหมวรรธนบูรณ์ อายุ 60 ปี ซึ่งเป็นอดีตผู้ใหญ่บ้าน เข้ามาว่า วัวที่เลี้ยงอยู่ในคอก บริเวณป่าท้ายหมู่บ้านได้เกิดล้มตายลงทีเดียวถึง 11 ตัว ซึ่งเป็นทั้งวัวตัวผู้ วัวตัวเมีย ซึ่งบางตัวก็ตั้งท้องลูกวัว และวัวท้องแก่ใกล้คลอด นอนตายอยู่ในที่เดียวกันใต้ต้นไม้ใหญ่ เมื่อตรวจสอบพบว่า ต้นไม้ที่อยู่ใกล้กับวัวที่ล้มตายลง มีร่องรอยของการถูกฟ้าผ่าลงมา จนต้นไม้ไหม้ และหักลง

ทั้งนี้ คาดว่าวัวที่หลุดออกไปจากคอก และได้เข้าไปหลบฝนฟ้าคะนอง จะถูกสายฟ้าที่ผ่าลงมา จนเกิดล้มตายลงทั้งฝูง สำหรับวัวดังกล่าวนั้น ปกติเจ้าของวัวจะเลี้ยงไว้ในคอก และจะเข้าไปดูเป็นบางครั้ง คาดว่าหลังวัวหลุดออกคอกไป ก็เดินออกไปกินหญ้าเรื่อยๆ กระทั่งจะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง และเกิดฟ้าผ่าลงมา จนตายยกฝูง เมื่อเจ้าของวัวมาดู ก็ไม่พบวัวอยู่ในคอก จึงเดินออกตามหา กระทั่งได้กินเหม็นเน่าออกมาจากป่าท้ายหมู่บ้าน จึงเข้าไปตรวจสอบพบวัวของตนเองนอนล้มตายขึ้นอืดทั้งหมด คาดว่าอาจจะเกิดล้มตายลงแล้ว 2 – 3 วัน มูลค่าความเสียหายทั้งหมดจากความสูญเสียวัวครั้งนี้ไม่ต่ำกว่า 600,000 บาท

“ททท.” ปลุกกระแสท่องเที่ยวเชิงเกษตร เปิดงานเทศกาลสวนผลไม้และของดีภาคตะวันออก มั่นใจเงินสะพัดกว่า 68 ล้านบาท

นางสุจิตรา จงชาณสิทโธ รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ททท.ร่วมกับ 4 จังหวัดภาคตะวันออก ประกอบด้วย ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี จัด “งานเทศกาลสวนผลไม้ และของดีภาคตะวันออก” ประจำปี 2560 เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agro Tourism) สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลผลิตทางการเกษตรของไทย

รวมทั้งยังเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายในการส่งเสริมการท่องเที่ยวสไตส์ลึกซึ้ง (Local Experience) สัมผัสอาหารถิ่น ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และสินค้าต่าง ๆ อีกมากมาย โดยตลอดโครงการวางเป้าหมายมีเงินหมุนเวียนกว่า 68.74 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 62.49 ล้านบาท

โดยในปีนี้ ททท.ได้จัดทำโปรโมชั่นพิเศษ คูปองชิมผลไม้มูลค่า 100 บาท นำมาหักส่วนลดของราคาค่าเข้าสวนผลไม้ จำนวน 20 แห่ง จาก 4 จังหวัดภาคตะวันออก ประกอบด้วย ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรีที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งสวนดังกล่าวมีศักยภาพที่จะสามารถเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมสวน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคมนี้ ราคาแพ็กเกจเข้าชมสวนและชิมผลไม้มีตั้งแต่ 350-500 บาทต่อคน

“ปีนี้ประเมินแล้วว่าผลไม้น่าจะมีผลผลิตออกมามากกว่าปีที่แล้ว ซึ่งประสบปัญหาภัยแล้ง น่าจะมีช่วงเวลาขายยาวจนถึงเดือนกรกฎาคม และราคาผลไม้ไม่น่าจะแพงมาก จูงใจให้นักท่องเที่ยวเลือกซื้อ ททท.จึงเริ่มโปรโมตงานเทศกาลสวนผลไม้ตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม โดยเตรียมแผนกระตุ้นตลาดเพื่อสร้างกระแส เช่น การนำฟรุตทรัก (Fruit Truck) มาโปรโมตและขายผลไม้ที่ตลาด อ.ต.ก. มุ่งโปรโมตคนไทยให้ไปเที่ยวชมและชิมผลไม้ในสวน 4 จังหวัดภาคตะวันออก”

สำหรับการจัดกิจกรรมท้าเที่ยวข้ามภาค นำนักท่องเที่ยวจากพื้นที่ภูมิภาคต่าง ๆ เดินทางมา ชิม ช็อป แชร์ สวนผลไม้จากจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ ทุเรียน เงาะ มังคุด สละ ระกำ สับปะรด และอื่น ๆ จากสวนที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าไปชิมผลไม้ เลือกซื้อกลับบ้าน และเก็บภาพสวยในสวนต่าง ๆ

เป็นที่ระลึก และยังเป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวลึกซึ้ง (Local Experience) นอกจากนั้นยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ อาหารถิ่น ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และสินค้าต่าง ๆ อีกมากมาย

นอกจากนี้แล้ว ททท.ยังได้มีการจัดกิจกรรมท้าเที่ยวข้ามภาค ในงานเทศกาลผลไม้และของดีจังหวัดระยอง ปี 2560 ระหว่างวันที่ 26-28 พฤษภาคมนี้ ณ ตลาดกลางผลไม้เพื่อการเกษตรตะพง จังหวัดระยอง โดยท้าคนไทยทั่วประเทศมาชิม ช็อป ผลไม้ภาคตะวันออก

เมื่อเวลา 6.00 น. วันที่ 12 พฤษภาคม ชาวนาในจังหวัดบึงกาฬ ถือฤกษ์วันพืชมงคล ที่มีการประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ได้เริ่มลงมือไถปรับพื้นที่นาและหว่านข้าว ซึ่งเป็นความเชื่อที่สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เพื่อความเป็นสิริมงคล และจะทำให้ข้าวเจริญงอกงามให้ผลผลิตดี ประกอบกับก่อนหน้านี้ มีพายุฤดูร้อนพัดเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีฝนตกลงมาในหลายพื้นที่ของจังหวัดบึงกาฬ จนสามารถไถนาและหว่านเมล็ดข้าวได้ ซึ่งในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬส่วนใหญ่เกษตรกรจะนิยมปลูกข้าวเหนียวพันธุ์ กข 6 ซึ่งให้ผลผลิตดีประมาณ 700 กิโลกรัมต่อไร่ และยังทนแล้งได้ดี โดยชาวนาหวังว่าในปีนี้รัฐบาลจะช่วยเหลือให้ราคาข้าวสูงกว่าปีที่ผ่านมา

ด้านนายศักดิ์นรินทร์ ลอยฟ้า อายุ36 ปี ชาวบ้านนาสวรรค์ ต.นาสวรรค์ อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ ซึ่งเป็นผู้รับจ้างนำรถไถนามาปรับที่นาพร้อมกับหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวเปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า ได้ร่วมกับเพื่อน 3 คนนำรถไถมารับจ้างบริการ โดยได้ไถดะทิ้งเอาไว้ตั้งแต่เดือนที่แล้ว วันนี้ใช้รถ 2 คันไถพรวนปรับหน้าดิน ส่วนรถไถคันของตนจะใช้สำหรับหยอดเมล็ดข้าว ค่าจ้างทำ 3 อย่างคือไถ่ดะ ไถพรวน และหยอดเมล็ดจะตกไร่ละ 900 บาท ถ้าไถดะและพรวนดินจะคิด 600 บาท วันๆ หนึ่งหักค่าน้ำมัน 500 บาทต่อคันจะเหลือเงินคันละประมาณ 2,000 บาท ซึ่งก็นับว่าเป็นรายได้ดีพอสมควร

และในช่วงเช้าวันเดียวกันที่จังหวัดอุทัยธานี เกษตรกรในหลายพื้นที่ของจังหวัดอุทัยธานี ถือฤกษ์ดีในวันพืชมงคล ปี 2560 ในการเริ่มการเพาะปลูกพืชผลการเกษตรกันตั้งแต่ช่วงเช้า อย่างเช่นชาวนาในพื้นที่ตำบลหาดทนง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี ที่ร่วมโครงการทำนาแปลงใหญ่ตามนโยบายของรัฐบาล ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวจำหน่ายให้แก่ทางราชการและเอกชน ร่วมกันผลิตและร่วมกันขายลดรายจ่าย-เพิ่มรายได้ โดยมีสมาชิกรวมกันเกือบ 100 ราย พื้นที่ทำนากว่า 2,000 ไร่ โดยใช้วิธีการทำนาสมัยใหม่ ด้วยการจ้างเหมารถดำนามาทำการปักดำต้นกล้ากันตั้งแต่เช้า ถือฤกษ์ดีวันพืชมงคล เป็นวันเริ่มการเพาะปลูก ตามที่สืบทอดตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ เพื่อความเป็นสิริมงคล

นายดำเกิง แพรเขียว อาุย 60 ปี ชาวต.หาดทนง เกษตรกรรายหนึ่งที่ร่วมโครงการทำนาแปลงใหญ่ตามนโยบายของรัฐบาล กล่าวว่า ในทุกๆปีชาวนาในพื้นที่แห่งนี้ได้รวมตัวกันทำนาแปลงใหญ่ ร่วมกันผลิตและจำหน่ายข้าวกันเป็นกลุ่ม เพื่อให้สามารถเพิ่มมูลค่าพืชผลทางการเกษตรได้โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง พร้อมกับส่งผลผลิตให้กับทางศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว ทำให้เรามีตลาดรองรับโดยที่ไม่ต้องหวั่นเรื่องการถูกกดราคา โดยจะถือเอาฤกษ์ดีในวันพืชมงคลเป็นวันเริ่มต้นฤดูกาลทำนาปี ทำการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูก และปักดำต้นกล้า เพราะเชื่อว่าจะเป็นสิริมงคลต่อการทำนา ทำให้ต้นข้าวเจริญงอกงาม อุดมสมบูรณ์ ตามความเชื่อที่สืบสานกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ พร้อมทั้งยืนยันว่าจะทำการเกษตรตามแนวพระราชดำริ และตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่เกษตรกรมาโดยตลอด

ขณะเดียวกันชาวนาในพื้นที่ อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท ถือฤกษ์วันพืชมงคล ในการลงมือหว่านเมล็ดพันธุ์กล้าแรกลงผืนนา ที่ไถตีดินเตรียมไว้ก่อนหน้านี้ ตามความเชื่อที่มีมาแต่โบราณที่ว่า พิธีวันพืชมงคลเป็นการแสดงความเคารพและขอพรต่อแม่โพสพ เพื่อเอาฤกษ์เอาชัย สร้างขวัญกำลังใจ ให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ชาวนาและครอบครัว จึงเป็นโอกาสที่ดีและเป็นมงคล ในการเริ่มต้นฤดูการเพาะปลูกข้าวนาปี

นายวีระพงศ์ ยี่สาคร ชาวนา ต.วัดโคก กล่าวว่าในช่วงเช้าของวันพืชมงคล ชาวนาจะจุดธูปไหว้อธิษฐานถึงแม่โพสพ ก่อนที่จะนำรถไถปักผานไถลงบนผืนนาเพื่อเบิกฤกษ์ หรือการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวและปัก-ดำต้นกล้า เพื่อเป็นการบอกกล่าวพระแม่โพสพ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกปักรักษาผืนดินและนาข้าว ให้ช่วยบันดาลให้น้ำท่าและพืชผลในนามีความอุดมสมบูรณ์ ไม่ให้มีแมลง นก หนู หรือโรคระบาดมารบกวน ให้ได้ผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วย โดยในปีนี้ชาวนาส่วนใหญ่อยากให้รัฐบาลช่วยเรื่องราคาข้าว ให้ได้ราคาตันละ 10,000 บาท เพื่อที่ชาวนาจะมีโอกาสลืมตาอ้าปากและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ชี้ “อวนจม” เป็นตัวการทำลายล้างปลาทูสูงสุด คาดปลายปีนี้ปลาทูกลับมามากขึ้น หลังรัฐเข้มงวดการทำประมงผิดกฎหมายขยายตาข่ายจับปลาให้ใหญ่ขึ้น ด้าน “บรรจง นะแส” เสนอรัฐมนตรีเกษตรฯ ประกาศห้ามเรือปั่นไฟปลากะตักจับปลาอีกครั้ง

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ สมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทยร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) ได้จัดเสวนาเรื่อง “ปลาทูไทย หายไปไหน” ขึ้น โดยนายมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สาเหตุที่ปลาทูในอ่าวไทยลดลงมาก จนต้องนำเข้าจำนวนมากมาทดแทน มาจากหลายสาเหตุคือ 1.เครื่องมือจับปลาของเรือประมง 2.ภาวะโลกร้อน 3.น้ำเสีย 4.การทำลายป่าชายเลน 5.มาตรการควบคุมของภาครัฐที่ยังมีช่องว่าง เจ้าหน้าที่บางคนไม่ดีกับชาวประมงบางคนที่ไม่ดี

ที่อยากจะให้ภาครัฐควบคุมคือการใช้เครื่องมือจับปลาประเภทอวนลอยและอวนจมซึ่งอวนจมที่ชาวประมงชายฝั่งใช้กันมากเป็นเครื่องมือทำลายล้างสูงพ่อแม่พันธุ์ปลาทูที่เข้าไปวางไข่ที่ชายฝั่งในฤดูวางไข่จะถูกดักจับเกือบหมดแต่เมื่อรัฐจะควบคุมชาวประมงพื้นบ้านไม่ให้วางอวนจมเกินรายละ 2 กม. ต้องมีการวางธงบนอวนจม กอปรกับการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (IUU Fishing) มีการเปลี่ยนตาข่ายอวนจับปลาของเรือประมงพาณิชย์ให้ใหญ่ขึ้นจากขนาด 0.4 ซม.มาเป็น ขนาด 4 ซม. เพิ่มขึ้น 10 เท่าตัว คาดว่าปลาทูจะกลับมามากขึ้นช่วงปลายปีนี้ เห็นได้จากปริมาณผลผลิตปลาป่นล่าสุดที่ลดลงมาเหลือประมาณ 3 แสนตันในปีที่ผ่านมา จากก่อนหน้านี้ที่ผลิตปลาป่นได้ปีละประมาณ 5-6 แสนตัน และคาดกันว่าปีนี้ปลาป่นจะเหลือประมาณ 2-2.5 แสนตันเท่านั้น

“ไม่อยากให้มีการบิดเบือนว่า ปลาทูลดลงมากเพราะเรือปั่นไฟปลากะตัก เพราะบางคนที่เอาปลาเล็กนับพันตัวต่อกิโลกรัมมาโชว์ เป็นปลาเล็กที่คัดทิ้งจากเรือปั่นไฟที่จับปลามาอีกต่อหนึ่ง และอย่าพยายามเอารูปเก่ามาโชว์”

นายบรรจง นะแส นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย กล่าวว่า ปลาทูหายไปเพราะปี 2539 นายมณฑล ไกรวัตนุสสรณ์ รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยกเลิกประกาศของ พล.ต.บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ ช่วงปี 2526 ที่ห้ามไม่ให้เรือปั่นไฟปลากะตักจับปลา ถ้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ประกาศใช้ตามมาตรา 57 ยกเลิกการทำประมงของเรือปั่นไฟปลากะตัก ตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 อีกครั้ง รวมทั้งยกเลิกการทำประมงของเรืออวนลากคู่ให้เหลือเพียงเรืออวนลากเดี่ยว จะทำให้ปริมาณปลาทูกลับมามากขึ้นอีกครั้ง

ทางด้านนายสะมะแอ เจะมูดอ นายกสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ประมงไทยไม่ควรจับสัตว์น้ำวัยอ่อนหรือยังโตไม่เต็มที่ ต้องเอาอย่างเยอรมนี เรืออวนลากเดี่ยวมีขนาดตาข่าย 4 นิ้ว แต่ของไทย 4 ซม. และ 80% ของชาวประมงเป็นเรือประมงพื้นบ้าน แต่มีพื้นที่ทำกินทางทะเลเพียง 3 ไมล์ทะเล ไม่พอเพียงต่อการทำกิน ซึ่งเรื่องนี้นายกรัฐมนตรีก็ให้ผู้เกี่ยวข้องไปพิจารณาดูในเรื่องนี้แล้ว แต่ยังไม่ค่อยมีความคืบหน้า เพราะมีบางคนไม่เห็นด้วย

นายณรงค์รัตน์ ม่วงประเสริฐ หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสระแก้ว เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 4 พ.ค.2560 สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาตินำทีมเทคนิคจากสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(สสนก.) เข้าทำการติดตั้งระบบศูนย์บริหารจัดการน้ำระดับจังหวัด และอบรมการใช้ข้อมูลเพื่อติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ ณ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสระแก้ว โดยผู้เข้าร่วมอบรมประกอบด้วยผู้แทนจากสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ผู้แทนจากสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสระแก้ว

ผู้แทนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว นอกจากนี้ยังมีผู้แทนเครือข่ายลุ่มน้ำปราจีนมาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการบริหารจัดการน้ำกับผู้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ด้วย ซึ่งการติดตั้งระบบศูนย์ข้อมูลสารสนเทศทรัพยากรน้ำนี้จะทำให้ทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพยากรณ์อากาศ,สถานการณ์น้ำ,น้ำฝน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเกษตร การเพาะปลูกพืชทุกชนิด การคาดการณ์ว่าน้ำ,ฝนจะมาเมื่อไหร่แล้วแจ้งให้เกษตรกรทราบว่าควรทำหรือเตรียมการอย่างไร เช่น ช่วงฤดูฝนอาจจะมีปัญหาเรื่องน้ำท่วมก็สามารถเตือนเกษตรกรได้

ฤดูแล้งก็สามารถแจ้งเตือนภัยแล้งและเตรียมการรับมือล่วงหน้าจากประเด็นคาดการณ์พยากรณ์อุตุนิยมวิทยาได้ ทั้งนี้ ประโยชน์ของศูนย์ข้อมูลฯยังจะใช้เพื่อการวางแผนทางการเกษตร โดยศูนย์ข้อมูลฯจะจัดทำผังน้ำซึ่งจะทำให้รู้ทิศทางของน้ำว่าไหลไปทางไหน น้ำมีปริมาณเพียงพอต่อภาคเกษตรในจังหวัดหรือไม่ ในจังหวัดสระแก้วมีเครือข่ายเกษตรกรระดับหมู่บ้าน 731 หมู่บ้าน ตอนนี้อาจจะยังกระจายข้อมูลไปได้ไม่สมบูรณ์เต็ม 100 % แต่จะขับเคลื่อนให้ครบได้ในไม่ช้า เบื้องต้นจะทำการรายงานผ่านไลน์กลุ่ม

ซึ่งปีนี้ตั้งเป้าไว้ 100 คนที่จะทราบข้อมูลสถานการณ์น้ำ ความเคลื่อนไหว การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ส่วนในฤดูฝนจะมีรายงานทุกวัน และในเดือนมิถุนายน 2560 สภาเกษตรกรจังหวัดสระแก้วจะส่งทีมงาน,เกษตรกร,เครือข่ายเกษตรกรเข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มเติมระบบโปรแกรม GIS (Geographic Information System) หรือระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบใช้วางแผนเกษตรกรรมในระยะยาว คาดว่าภายในเดือนกันยายนทุกอย่างน่าจะลงตัวหมด ปีงบประมาณหน้าจะเป็นการขับเคลื่อนอย่างเต็มประสิทธิภาพ และหวังจะให้เกษตรกรได้รับประโยชน์จากการใช้ข้อมูลจากศูนย์ฯและสะท้อนสิ่งต่างๆกลับมายังศูนย์ฯเพื่อพัฒนาต่อไปในอนาคต

นายภิรมย์ – นางวรรณา ทองขะโชค สองสามีภรรยา วัย 60 ปี ชาว อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา อดีตข้าราชการครูที่เออร์ลี่ รีไทร์ก่อนเกษียณราชการ ได้ใช้เวลาว่าง ใช้พื้นที่ว่างบริเวณหลังบ้าน 1 ไร่เศษ ปลูกกล้วยหอมทอง กำลังกลายเป็นศูนย์เรียนรู้ของหมู่ 1 ต.คลองหอยโข่ง ซึ่งการปลูกกล้วยหอมทอง 130 ต้น มีสหกรณ์การเกษตรคลองหอยโข่งเข้ามาส่งเสริมและสนับสนุนการปลูก ถือเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ของ อ.คลองหอยโข่ง และยังเป็นสมาชิกเครือข่ายของกลุ่มปลูกกล้วยหอมทอง ต.ปากแตระ อ.ระโนด ซึ่งปลูกกล้วยหอมทองปลอดสารพิษเพื่อการส่งออกประเทศญี่ปุ่น จากการใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ของสองสามีภรรยาในวัย 60 ปี

นายภิรมย์กล่าวว่า ปลูกกล้วยหอมทองมาแล้ว 9 เดือน assetlock.net กล้วยทยอยออกเครือพร้อมและทยอยตัดได้สัปดาห์ละ 10 เครือ มีผู้เข้ามารับซื้อในราคาเท่ากับราคาที่ส่งไปประเทศญี่ปุ่นกิโลกรัมละ15 บาท เนื่องจากเป็นกล้วยคุณภาพเกรด เอ ทั้งหมด ถือเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัวหลังเกษียนราชการที่เป็นกอบเป็นกำ

นายภิรมย์กล่าวอีกว่า หลังเออร์ลี่ รีไทร์ ได้ช่วยกันสองคนผัวเมียมาปลูกกล้วยหอมทอง ซึ่งได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และได้ออกกำลังกายด้วย ทำให้สุขภาพกายสุขภาพใจดีและยังมีรายได้เสริมด้วย และมีตลาดรองรับแน่นนอน ยังใช้พื้นที่ว่างบริเวณร่องสวนกล้วยทำการเกษตรผสมผสานทั้งพืชยืนต้นและพืชผักสวนครัวอีกหลายชนิดเพื่อสร้างรายได้หมุนเวียนและลดค่าใช้จ่าย

นับเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของข้าราชการครู หลังเกษียณอายุราชการ หรือบันปลายของชีวิตด้วยการทำการเกษตรเล็กๆ น้อยๆ เพื่อสุขภาพกายได้ออกกำลังกาย กินอาหารปลอดสารพิษ อยู่ในที่อากาศบริสุทธิ์ ส่งผลต่อสุขภาพจิต ที่มีมากกว่ารายได้จากบำนาญ

กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานสภาพอากาศประจำวัน เริ่มจากภาคเหนือ – อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร สุโขทัย กำแพงเพชร และตาก อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-37 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ – มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา และ ชัยภูมิ อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส

ภาคกลาง – มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี และสมุทรสงคราม อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออก – มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) – มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) – มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพฯ และปริมณฑล – มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.