ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่

ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร มุกดาหาร อำนาจเจริญ กาฬสินธุ์ ยโสธร สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี และนครปฐม อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา และชลบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

เมื่อวันที่ 8 ส.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เกษตรกรผู้ปลูกดอกมะลิ ในหมู่บ้านโนนไม้แดง ม.2 ต.สุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา ต่างพากันเก็บดอกมะลิที่ปลูกไว้ในสวน เพื่อนำไปขายส่งให้กับพ่อค้าคนกลาง และส่วนหนึ่งก็จะนำไปร้อยเป็นพวงมาลัยขายตามตลาดสดทั่วไป โดยหมู่บ้านโนนไม้แดงแห่งนี้ มีชาวบ้านกว่า 50 หลังคาเรือน ทำสวนปลูกต้นมะลิเพื่อจำหน่ายดอกเป็นอาชีพหลักของครอบครัว ซึ่งถือว่าเป็นหมู่บ้านที่มีการทำสวนมะลิใหญ่ที่สุดในจ.นครราชสีมา โดยแต่ละวันชาวบ้านจะเก็บดอกมะลิที่ตูมได้ขนาดจำนวนมาก เพื่อนำไปขายส่งให้กับพ่อค้าคนกลางทั่วประเทศ ตามออเดอร์ที่สั่งมา และบางครอบครัวก็จะนำมาร้อยเป็นพวงมาลัยขายตามตลาดทั่วไป ซึ่งช่วงนี้ของทุกปีต้นมะลิในสวนจะออกดอกเต็มต้น แต่ปีนี้พบว่าต้นมะลิออกดอกน้อยมาก ส่งผลให้ราคาดอกมะลิพุ่งสูงขึ้นกว่าเท่าตัว

นายสุนทร แก่นสันเที๊ยะ อายุ 54 ปี หนึ่งในเกษตรกรผู้ทำสวนมะลิ บ้านโนนไม้แดง กล่าวว่า สวนของตนปลูกต้นมะลิไว้ทั้งหมด 400 กว่าต้น ซึ่งทุกปีช่วงก่อนถึงเทศกาลวันแม่แห่งชาติ มะลิจะออกดอกเต็มต้น สามารถเก็บดอกขายได้ไม่ต่ำกว่าวันละ 40 กิโลกรัม แต่มาปีนี้พบว่ามะลิในสวนประสบปัญหาเพลี้ยลง และมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ดอกมะลิหลุดจากขั้วร่วงโรยเกือบหมด ที่เหลือก็มีสภาพไม่สวยงาม จึงทำให้ขณะนี้สามารถเก็บดอกได้วันละ 4-5 กิโลกรัมเท่านั้น

นายสุนทร กล่าวต่อว่า และด้วยความที่ปีนี้ดอกมะลิออกน้อย ก็ส่งผลให้ช่วงเทศกาลวันแม่ปีนี้ราคาดอกมะลิพุ่งสูงขึ้นกว่าเท่าตัว จากเดิมที่เคยขายส่งกิโลกรัมละ 200 บาท และพ่อค้าคนกลางนำไปขายต่อให้กับร้านค้าต่างๆ กิโลกรัมละ 400 บาท มาในปีนี้ตนต้องขายส่งกิโลกรัมละ 400 บาท พ่อค้าคนกลางนำไปขายต่อในราคากิโลกรัมละ 800-900 บาท แม้ว่าราคาดอกมะลิจะแพงแต่ก็มีลูกค้าสั่งออเดอร์เข้ามาจำนวนมาก เฉลี่ยวันละ 30 กิโลกรัม แต่ตนก็ไม่มีให้ บางรายจึงต้องไปสั่งจากปากคลองตลาดแทน ซึ่งจะมีราคาต้นทุนสูงกว่านี้

นายสุนทร กล่าวอีกว่า ส่วนเกษตรกรบางราย ก็ได้นำดอกมะลิไปร้อยทำพวงมาลัยขายเอง โดยถ้าเป็นพวงมาลัย 5 แถว ใช้ดอกมะลิ 50 ดอก ประดับด้วยดอกรักและดอกจำปี จะขายส่งในราคาพวงละ 15 บาท แต่ถ้าเป็นพวงมาลัยใหญ่ ก็จะขายในราคา 150 บาท ซึ่งถือว่าแพงมาก ดังนั้นบางร้านจึงใช้ดอกพุดร้อยเป็นพวงมาลัยแทนดอกมะลิ เพื่อทำให้มีราคาถูกลงกว่าครึ่ง แต่พวงมาลัยดอกพุดก็ไม่ค่อยได้รับความนิยม เพราะไม่มีกลิ่นหอมเหมือนดอกมะลิ

น.ส.จริยา สุทธิไชยา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจําปี 2561 ภายใต้ 6 ยุทธศาสตร์ 29 แผนบูรณาการของกระทรวง กรมต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนประเทศให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ โดย สศก. เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานแผนงานบูรณาการพัฒนาศักยภาพการผลิตภาคเกษตร และมีหน่วยงานร่วมดำเนินการ 7 กระทรวง 28 หน่วยงาน 2 รัฐวิสาหกิจ ภายใต้หลักการบริหารจัดการสินค้าเกษตร และให้เกษตรกรเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา ซึ่งเน้น 3 เป้าหมาย ภายใต้งบประมาณ 9,456.6522 ล้านบาท

ประกอบด้วย 1.เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่อุปทาน เน้นสินค้า ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน อ้อย สับปะรด ไม้ผล ยางพารา ปศุสัตว์ ประมง วงเงิน 4,826.3962 ล้านบาท อาทิ การพัฒนาศักยภาพกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพมาตรฐานตามความต้องการของตลาด (ต้นทาง) วงเงิน 4,165.7690 ล้านบาท เพื่อดำเนินการด้านข้อมูลสารสนเทศและการบริหารจัดการ ส่งเสริมการใช้ปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ พัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การพัฒนาศักยภาพกระบวนการแปรรูปสินค้าเกษตร (กลางทาง) วงเงิน 205.8676 ล้านบาท เพื่อดำเนินการพัฒนากระบวนการและแปรรูปสินค้า พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่ม พัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจ การพัฒนาศักยภาพกระบวนการตลาดสินค้าเกษตร (ปลายทาง) วงเงิน 454.7596 ล้านบาท เพื่อดำเนินการพัฒนาตลาดเกษตรกร ขยายช่องทางการตลาดสินค้าเกษตร สร้างความสามารถในการแข่งขันตลาดสินค้าเกษตร

2.ลดต้นทุนการผลิต และยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตร เพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการพัฒนาเกษตรสมัยใหม่สู่ไทยแลนด์ 4.0 โดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง วงเงิน 3,192.9653 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการ อาทิ ระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ 3,980 แปลง ปรับเปลี่ยนกิจกรรมการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสมตามแผนที่เกษตรเชิงรุก (อกริ-แมพ )418,500 ไร่ ปรับปรุงข้อมูลในแผนที่อกริ-แมพ โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร 882 ศูนย์ ยกระดับเกษตรกรเป็น สมาร์ท ฟาร์มเมอร์ 73,715 ราย จัดตั้งสถาบันเกษตรกรในรูปแบบประชารัฐ 100 แห่ง จัดตังและพัฒนาธนาคารสินค้าเกษตร 173 แห่ง 3.พัฒนาศักยภาพเกษตรกรให้เข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน วงเงิน 1,437.2907 ล้านบาท ประกอบด้วย การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ยโสธรโมเดล พื้นที่ทั่วไป 368,503 ไร่ เกษตรทฤษฎีใหม่ 210,000 ไร่ เกษตรผสมผสาน 33,500 ไร่ วนเกษตร 65,000 ไร่

นายสัญชัย เกตุวรชัย อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์น้ำของศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ(SWOC) พบว่า มรสุมที่เคลื่อนผ่านประเทศไทย จะอ่อนกำลังลง ตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมา และตั้งแต่วันที่ 9 – 12 สิงหาคม จะมีลักษณะเป็นฝนกระจายตัวทั่วประเทศเพียง 30 – 40 % เท่านั้น

ซึ่งจากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ขณะนี้ยังไม่ว่ามีพายุลูกใหม่ก่อตัวขึ้นทั้งบริเวณมหาสมุทรอินเดีย และทะเลจีนใต้ จึงมั่นใจได้ว่า สถานการณ์น้ำท่วมในภาคอีสาน จะเข้าสู่ภาวะปกติตามแผนการระบายน้ำที่กรมชลฯได้วางไว้ สำหรับสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำชีตอนบนและตอนกลาง ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติไม่มีน้ำเอ่อล้นตลิ่ง ส่วนแม่น้ำชีตอนล่างตั้งแต่จังหวัดร้อยเอ็ดลงมาจนถึงจุดที่บรรจบกับแม่น้ำมูล ยังคงมีน้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำในเขตอ.จังหาร และอ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด อ.เมือง และอ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร สำหรับลำน้ำปาว และลำน้ำยัง ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำชี ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง

ส่วนลุ่มน้ำมูล ยังคงมีน้ำเอ่อล้นตลิ่งบางจุดในลุ่มน้ำมูลตอนล่าง เนื่องจากเป็นพื้นที่รับน้ำจากลุ่มน้ำชี และลำเซบาย ก่อนที่น้ำจะไหลลงมาถึงสถานีวัดน้ำ บริเวณสะพานเสรีประชาธิปไตย เขตเทศบาลนครอุบลราชธานี ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณน้ำไหลผ่านในเกณฑ์ 2,768 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.)ต่อวินาที ระดับสูงกว่าตลิ่ง 0.78 เมตร (ม.) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดอยู่ในเกณฑ์ 3,000 – 3,200 ลบ.ม.ต่อวินาที และจะสูงกว่าตลิ่งประมาณ 1 ม. ในวันที่ 10 สิงหาคมนี้ ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบในพื้นที่เขตเทศบาลนครอุบลราชธานี กรมชลฯได้ให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ติดตามเฝ้าระวังระดับน้ำในแม่น้ำมูลอย่างใกล้ชิด

สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จ.สกลนคร ในส่วนของตัวเมืองสกลนคร เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ยังคงเหลือพื้นที่รอบนอกที่อยู่ติดกับหนองหาร มีน้ำท่วมขังที่ลุ่มต่ำเป็นแห่งๆ นอกจากนี้ ยังมีอำเภอรอบนอกที่มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตร ในเขตอ.สว่างแดนดิน อ.วานรนิวาส อ.พังโคน อ.พรรณานิคม และอ.วาริชภูมิ รวมประมาณ 79,068 ไร่ โครงการชลประทานสกลนคร ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำทั้งหมด 6 เครื่อง เพื่อเร่งระบายน้ำในพื้นที่อย่างต่อเนื่องแล้ว

ส่วนในพื้นที่ลุ่มน้ำก่ำในเขตจ.นครพนม ที่รับน้ำต่อจากจ.สกลนคร ยังคงมีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 26,000 ไร่ มีท่วมขังเหลือในพื้นทั้งสองฝั่งลำน้ำก่ำ ประมาณ 41 ล้านลูกบาศก์เมตร โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาน้ำก่ำ ได้เร่งระบายน้ำที่ท่วมขังในพื้นที่ อ.นาแก จ.นครพนม ด้วยการขุดเปิดทางระบายน้ำ 2 จุด เร่งระบายน้ำลงสู่ลำน้ำก่ำอีกทางหนึ่ง ก่อนที่จะระบายน้ำทั้งหมดลงสู่แม่น้ำโขงตามลำดับต่อไป หากไม่มีฝนตกหนักลงมาเพิ่มเติม สถานการณ์จะกลับเขาสู่ภาวะปกติภายในสัปดาห์นี้

สถานการณ์น้ำในเขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ ณ วันที่ 7 สิงหาคม มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 1,711 ล้านลบ.ม. หรือคิด 86% ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ 84.90 ล้านลบ.ม. ยังคงการระบายน้ำอยู่ที่ 25 ลบ.ม.ต่อวัน และมีพื้นที่ด้านท้ายเขื่อน 5 อำเภอ ได้รับผลกระทบน้ำเอ่อล้นตลิ่ง ที่ลุ่มต่ำ ได้แก่ อำเภอเมือง ยางตลาด กมลาไสย ฆ้องชัย และร่องคำ ซึ่งกรมชลฯ ได้ทำหนังสือแจ้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อให้แจ้งเตือนประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เตรียมรับมือ

นอกจากนี้ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว ได้ลงพื้นที่ประชุมชี้แจงข้อเท็จจริงให้กับประชาชนให้ได้รับทราบถึงสถานการณ์และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย พร้อมจัดเตรียมเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ และกำลังเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง

“จากการติดตามสถานการณ์น้ำท่วมทั้งประเทศ ขณะนี้ผ่านจุดวิกฤตสูงสุดมากแล้ว สถานการณ์น้ำท่วมส่วนใหญ่กำลังคลี่คลายสู่ภาวะปกติแล้ว มีเพียงที่บริเวณน้ำในลุ่มน้ำชี และน้ำมูล เท่านั้น ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากมูลน้ำจากน้ำชี กำลังไหลไปสมทบร่วมกันที่แม่น้ำมูล บริเวณจ.อุบลราชธานี จุดนี้กรมชลฯได้ใช้ระบบเปิดปิดของเขื่อนราษีไศล จ.ศรีสะเกษ เข้ามาช่วยการจัดการจราจรน้ำ ไม่ให้ไหลมารวมกันที่จ.อุบลฯมากเกินไป เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับพื้นที่ลุ่มต่ำในแม่น้ำมูล ”นายสัญชัย กล่าว

ที่กระทรวงพาณิชย์ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ผลการประชุมจัดทำยุทธศาสตร์การค้าผลไม้ของไทย ร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เบื้องต้นจะจัดทำยุทธศาสตร์การค้าผลไม้เพื่อผลักดันไทยเป็นมหาอำนาจด้านผลไม้ของโลก และเป็นศูนย์กลางผลไม้โลก โดยยุทธศาสตร์จัดทำเป็นระยะสั้น กลาง และยาว แผนระยะสั้นจะเป็นการแก้ไขปัญหาขณะกำลังเกิดขึ้น ส่วนแผนระยะยาวจะกำหนดแผนรองรับรายปี

ซึ่งจะเป็นการทำงานบูรณาการกับภาครัฐและเอกชน กำหนดเป็นยุทธศาสตร์หลักและยุทธศาสตร์รองของผลไม้ กำหนดตลาดภายในและต่างประเทศ ทั้งผลไม้สดและแปรรูป หากเรื่องเกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (ฟรุ๊ต บอร์ด) ที่มี พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ก็จะนำเสนอแผนงานให้ต่อไป ในส่วนกระทรวงพาณิชย์ดูแลการค้า เบื้องต้นนำร่องใช้แผนยุทธศาสตร์กับทุเรียน มังคุด และมะพร้าวน้ำหอม

นอกจากนี้ ที่ประชุมมีมติตั้งนายชูศักดิ์ ชื่นประโยชน์ รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นประธานการดำเนินงานจัดทำแผนยุทธศาสตร์การค้าผลไม้ของไทย ส่วนงบประมาณการดำเนินงานตามแผนฯ จะใช้งบเดิมของแต่ละหน่วยงานที่มีอยู่ แต่หากอนาคตจำเป็นต้องใช้งบเพิ่มเติมต้องทำเรื่องขอสนับสนุน

นายชูศักดิ์ ชื่นประโยชน์ ประธานคณะทำงานด้านพืชผัก ผลไม้ และแปรรูปสมุนไพร และรองประธานกรรมการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จะเร่งดำเนินการสรุปแผนยุทธศาสตร์ให้ได้ภายในเดือนสิงหาคมนี้ เน้นดูแลปริมาณและคุณภาพของผลไม้ ร่วมมือกับสหกรณ์ชุมชน สหกรณ์การเกษตรผลิตผลไม้คุณภาพเพื่อให้ได้ราคาสูงขึ้น โดยแผนระยะสั้นจะรวบรวมข้อมูลผลผลิตให้ทันสถานการณ์และตรงตามข้อเท็จจริง เพราะตัวเลขภาครัฐและเอกชนยังไม่ตรงกัน จะปรับข้อมูลให้ชัดเจนขึ้น และกำลังติดตามว่ามีผลไม้อะไรที่มีปัญหาจะวางแผนรับมือ พร้อมส่งเสริมยกระดับสินค้า สร้างแบรนด์ เชื่อมโยงตลาดต่างประเทศและจัดงานแสดงสินค้าผลไม้ด้วย ขณะเดียวกันต้องดูเพาะปลูกระยะยาว เพื่อป้องกันผลผลิตล้นตลาด เช่น แนวโน้มปลูกทุเรียน และมะพร้าวน้ำหอมมากขึ้น จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการ

ข้อมูลสถานการณ์ผลไม้ ปี 2560 ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดการณ์ปริมาณผลผลิตผลไม้รวมทุกชนิดรวม 4.14 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 16% แบ่งเป็นทุเรียน 5.99 แสนตัน เพิ่มขึ้น 19.37% เงาะ 2.38 แสนตัน เพิ่มขึ้น 30.54% มังคุด 2.05 แสนตัน เพิ่มขึ้น 10.55% ลองกอง 3.86 หมื่นตัน ลดลง 59.47% ลำไย 9.71 แสนตัน เพิ่มขึ้น 28.30% ลิ้นจี่ 4.75 หมื่นตัน เพิ่มขึ้น 45.15% และสับปะรด 2.04 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 11.14%

น.ส.จริยา สุทธิไชยา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร (จีดีพีเกษตร) ไตรมาส 2/2560 ขยายตัว 11.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559 เนื่องจากปริมาณน้ำใช้การได้มีเพียงพอต่อการผลิตสินค้าเกษตร สภาพอากาศเอื้ออำนวย การดำเนินนโยบายและมาตรการทางด้านเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลงและการผลิตได้มาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ

หากวิเคราะห์รายสาขา พบว่า สาขาพืช ขยายตัวสูงสุด 15.5% ผลผลิตพืชเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปรัง ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน สับปะรดโรงงาน ปาล์มน้ำมัน ลำไย ทุเรียน มังคุด และเงาะ สาขาปศุสัตว์ ขยายตัว 2% จากการเพิ่มขึ้นของไก่เนื้อ สุกร ไข่ไก่ และน้ำนมดิบ ขณะที่ราคาสินค้าปศุสัตว์เฉลี่ยเพิ่มขึ้น ทั้งไก่เนื้อและน้ำนมดิบ แต่สุกรและไข่ไก่เฉลี่ยลดลง สาขาประมง ขยายตัว 5.2% ผลจากผลผลิตกุ้งทะเลเพาะเลี้ยงออกสู่ตลาดมากขึ้น ส่วนประมงน้ำจืดผลผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่น ปลานิล และปลาดุก แต่ราคาเฉลี่ยลดลง เช่น กุ้งขาวแวนนา ปลานิลขนาดกลาง และปลาดุกบิ๊กอุย

สำหรับสาขาบริการทางการเกษตร ขยายตัว 6.5% จากการจ้างบริการ เตรียมดิน ไถพรวนดิน และการให้บริการเกี่ยวนวดข้าวนาปรังที่เพิ่มขึ้น สาขาป่าไม้ ขยายตัว 2.3% โดยการเพิ่มขึ้นของไม้ยางพารา จากการตัดโค่นสวนยางพาราเก่าเพื่อปลูกทดแทนด้วยยางพาราพันธุ์ดีและพืชอื่น ส่วนไม้ยูคาลิปตัสคงเพิ่มขึ้นจากภาคก่อสร้างและอุตสาหกรรมแปรรูป

“แนวโน้มจีดีพีเกษตรปี 2560 คาดขยายตัว 2.5-3.5 % และมีความเป็นไปได้สูงจะขยับเพิ่มขึ้นเป็น 3.5-4% เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของน้ำมากกว่าปีก่อน เป็นปัจจัยสำคัญผลักดันให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น รวมทั้งรัฐผลักดันงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจระดับฐาน จะเริ่มเห็นผลในไตรมาส 4 ปีนี้ แต่ยังต้องติดตามผลกระทบจากปริมาณน้ำมากเกินไปจนกระทบต่อพื้นที่เพาะปลูกเสียหายได้” น.ส.จริยากล่าว

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธาน stsebastianschool.org สภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้กล่าวถึง พระราชบัญญัติ การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 และ พระราชบัญญัติ แผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ว่า ต้องขอบคุณรัฐบาลที่กรุณาให้เกียรติตั้งตัวแทนเกษตรกรเป็นหนึ่งในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี อำนาจหน้าที่หลักๆของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ คือ จัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี กำกับดูแลการปฎิรูปประเทศให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ ซึ่งได้เห็นโครงสร้างแล้วเชื่อว่าเป็นประโยชน์เพราะประเทศเราควรมียุทธศาสตร์ระยะยาว แต่จะทำอย่างไรให้สอดคล้องกับปัญหาของประเทศและของโลก คงต้องมีการคุยกันในคณะทำงานยุทธศาสตร์ชาติ

ในส่วนของสภาเกษตรกรแห่งชาตินั้นได้จัดทำยุทธศาสตร์ของเกษตรกรไว้กับแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งต้องนำมาปรับให้เข้ากับยุทธศาสตร์ชาติ โดยจะนำเสนอเรื่องนี้ให้เป็นแผนยุทธศาสตร์ของเกษตรกรเพื่อนำไปบรรจุไว้เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ชาติ นอกจากนั้น ยุทธศาสตร์ชาติควรมีองค์ประกอบหลายๆส่วน เช่น ภาคอุตสาหกรรม การค้าต่างประเทศ การศึกษา เกษตรกร ฯลฯ สิ่งที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรคือ ต่อไปนี้การกำหนดยุทธศาสตร์ชาติจะต้องสอดคล้องกับสภาพปัญหาของเกษตรกรและสามารถปฏิบัติได้จริง ทำให้เสร็จสิ้นในเวลาที่กำหนดไว้ ที่ผ่านมารัฐบาลเปลี่ยนบ่อยมาก แต่ละรัฐบาลก็จะมีนโยบายของตนจึงทำให้นโยบายที่ดีและเป็นประโยชน์ขาดความต่อเนื่องไม่สามารถทำให้ยั่งยืนและลุล่วงจนสำเร็จได้ เปลี่ยนรัฐบาลทุกครั้งนโยบายก็เปลี่ยนด้วย ผิดกับครั้งนี้ที่กำหนดไว้ใน พรบ.ยุทธศาสตร์ชาติก็จะทำให้แผนงานนโยบายดีๆสามารถกำหนดเป็นแผนและประโยชน์ระยะยาวได้ โดยระหว่างนี้สภาเกษตรกรฯเองได้รวบรวมเอาความคิดทั้งหลายจัดเตรียมไว้เพื่อนำเสนอคณะกรรมการฯเมื่อนายกรัฐมนตรีเรียกประชุม

สศก. แถลง GDP เกษตร ไตรมาส 2 ขยายตัวได้ถึงร้อยละ 11.5 หลังภัยแล้งคลี่คลาย เผย ทุกสาขาการผลิตขยายตัวหมด โดยเฉพาะสาขาพืช โตถึงร้อยละ 15.5 ทั้งปีส่งสัญญาณดี คาดขยายตัวร้อยละ 2.5 – 3.5 ย้ำในช่วงครึ่งปีหลังยังต้องเกาะติดสถานการณ์ภัยธรรมชาติอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง

นางสาวจริยา สุทธิไชยา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 2 ปี 2560 (เมษายน – มิถุนายน 2560) ขยายตัวร้อยละ 11.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559 โดยทุกสาขาการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจัยหนุนที่ทำให้ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 2 ขยายตัวได้ในระดับสูง คือ ปริมาณน้ำใช้การได้ในอ่างเก็บน้ำที่สำคัญมีเพียงพอต่อการผลิตสินค้าเกษตรหลายชนิด สภาพอากาศที่เอื้ออำนวยกว่าปีที่ผ่านมา ตลอดจนการดำเนินนโยบายและมาตรการทางด้านการเกษตรต่างๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อย่างต่อเนื่อง ที่ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลง

เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและยกระดับมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ สะท้อนจากเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 2 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16.8 ถึงแม้ว่าดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้แผ่วลง ติดลบร้อยละ 1.9 แต่ดัชนีรายได้เกษตรกรยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 เนื่องจากมูลค่าการผลิตข้าวนาปรัง ยางพารา ทุเรียน มังคุด และเงาะ ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรหลักในไตรมาส 2 เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้การส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์มีแนวโน้มที่ดี ในส่วนของภาพรวมทั้งปี 2560 มีแนวโน้มขยายตัวดีร้อยละ 2.5 – 3.5 ทั้งนี้ ยังต้องเกาะติดสถานการณ์ทั้งภาวะฝนตกหนักจากอิทธิพลของลมมรสุมและพายุ ความแปรปรวนของอากาศ และโรคระบาด ที่อาจกระทบต่อภาคเกษตรครึ่งปีหลัง หากวิเคราะห์ในแต่ละสาขา พบว่า