ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนอง

ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม อุบลราชธานี และศรีสะเกษ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคกลาง มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี อุทัยธานี และชัยนาท อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออก มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากในช่วงบ่ายถึงค่ำ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ในช่วงวันที่ 27 พ.ค.–2 มิ.ย. ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นบริเวณอันดามันตอนบนและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 27 พ.ค.–2 มิ.ย. ขอให้ประชาชนบริเวณด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก ระวังอันตรายจากฝนตกหนัก และฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร โดยเน้นให้มีศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรในชุมชน เพื่อให้เป็นจุดถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตรของชุมชนและเป็นที่ให้บริการข้อมูลข่าวสาร บริการด้านการเกษตร ประกอบกับในสภาวะปัจจุบันสถานการณ์การผลิตสินค้าเกษตรของเกาตรกรมีปัญหาในเรื่องต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างสูง ประกอบกับปัญหาโรคและแมลง และพื้นที่ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ทำให้ผลผลิตที่ได้มีปริมาณน้อยและมีคุณภาพต่ำ เกษตรกรส่วนใหญ่จึงประสบกับการแก้ปัญหาการขาดทุน เกิดหนี้สิน และไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร หรือ ศพก. ขึ้น มีอยู่จำนวนกว่า 882 ศูนย์ทั่วประเทศ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรของชุมชนที่เกิดจากปัญหาของชุมชนและสามารถตอบสนองความต้องการด้านการเกษตรของชุมชนได้ และเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการเกษตร โดยเน้นการเรียนรู้จากเกษตรกรต้นแบบที่ประสบผลสำเร็จในการประเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร

กรมการข้าว เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานของรัฐที่มีศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าเกษตร เพื่อเป็นแหล่งเรยนรู้ในพื้นที่ชุมชน ที่สามารถให้ความรู้ในเรื่องวิชาการ เทคโนโลยี การป้องกันโรค ตลอดไปจนถึงเรื่องของการเก็บเกี่ยว พร้อมทั้งให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์และค่ยให้ความช่วยเหลือต่างๆ ให้กับเกษตรกรผู้ทำนาได้อย่างถูกต้องและเท่าทัน

ดารณี สุวรรณโพธิ์ศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมการผลิตข้าว กรมการข้าว กล่าวว่า การทำนาของเกษตรกรไทยในช่วงฤดูกาลหลักของแต่ละปี กรมการข้าว ได้มีการมุ่งเน้นให้เกษตรกรได้มีการผลิตข้าวให้ได้คุณภาพและลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงด้วยกรรมวิธีต่างๆ ภายใต้โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง(smart farmer) ปี 2561เพื่อให้มีเทคนิคและเคล็ดลับต่างๆ เพื่อให้การผลิตข้าวมีประสิทธิภาพและได้ราคา เช่น การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ เครื่องจักรกลทางการเกษตร การตรวจรับรอง GAP ข้าว โดยทั้งหมดนี้ได้คัดเลือกเกษตรกรผู้ลงมือทำนานจริงมาเป็นตัวแทนอบรมเพื่อนำวิธีการต่างๆ ไปสู่เพื่อนๆ เกษตรกรรายอื่นๆ อไป

คุณจันทร์ พรมรังกา ประธานศูนย์ข้าวชุมชนบ้านนาป่าน ตำบลสถาน อำเภอปัว จังหวัดน่าน กลุ่มที่เขาได้ทำการดูแลอยู่นั้นนำวิธีการลดต้นทุนมาใช้เพื่อผลิตข้าว โดยทางศูนย์ข้าวชุมชนบ้านนาป่านได้รวบรวมเมล็ดพันธุ์ข้าว เพื่อนำมาคัดเลือกให้เป็นเมล็ดพันธืที่ดีมีคุณภาพ โดยได้รับการสนับสนุนจากศูนย์วิจับแพร่ ซึ่งพันธุ์ข้าวเมล็ดที่ทำการคัดแยกอยู่ คือ พันธุ์ กข 6 พันธุ์ กข 10 สันป่าตอง 1 พันธุ์เหล่านี้เป็นข้าวที่เกษตรกรในจังหวัดน่านนิยมปลูก ซึ่งการทำนาของเกษตรกรในพื้นที่นี้จะเน้นทำด้วยวิธีดำต้องใช้เมล็ดพันธุ์ถึง15-20 กิโลกรัมต่อไร่ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนและเปลี่ยนการทำนาแบบใหม่ๆ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีขึ้นในการผลิต

“การทำงานแบบสมัยก่อนนั้น ค่อนข้างที่จะใช้เมล็ดพันธุ์มาก เราก็ได้เรียนรู้และมีการจัดการที่ดีเพิ่มขึ้น เพราะที่นี่มีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเอง เราจึงได้รู้ถึงวิธีการต่างๆ เพื่อให้ข้าวที่ผลิตสามารถมีคุณภาพและประหยัดต้นทุน จากที่เคยใช้วิธีทำนาดำใช้เมล็ดพันธุ์ 20 กิโลกรัมต่อไร่ พอเปลี่ยนมาใช้แบบนาโยน สามารถลดต้นทุนลงใช้เมล็ดพันธุ์เพียง 4 กิโลกรัมต่อไร่เท่านั้น จึงสามารถลดต้นทุนได้มากในเรื่องของการทนา” คุณจันทร์ กล่าว

จากการเรียนรู้วิธีการต่างๆ จึงทำให้ชาวบ้านที่อยู่ภายในกลุ่มนี้หันมาผลิตข้าวแบบนาโยนมากขึ้น และมีจำนวนเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี พร้อมทั้งยังมีการพัฒนาคิดค้นสูตรทำปุ๋ยหมักขึ้นใช้ภายในกลุ่มเอง จึงสามารถลดต้นยทุนทางการผลิตได้อีกหนึ่งช่องทาง

จึงนับได้ว่าการทำเกษตรกรรมของไทยนั้น ได้มีวิทยาการและองค์ความรู้มากมายเข้ามาชวย จึงสามารถทำให้เกษตรกรไทย สามารถพัฒนาองค์ความรู้และเรียนรู้การปรับเปลี่ยนได้อย่างถูกต้อง และสามารถนำองค์ความรู้มาช่วยเสริมสร้างและทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น เพื่อที่จะมีรายได้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ที่ จ.สงขลา นายสุเชาว์ บัวสาย เจ้าของไร่บัวสาย อ.สะเดา จ.สงขลา เปิดเผยว่า สวนทุเรียนไร่บัวสาย เป็นทุเรียนปลอดสารพิษ ซึ่งต้องดูแลลูกทุเรียนอย่างใกล้ชิด เนื่องจากปีนี้มีผลผลิตออกมามาก โดยเฉพาะทุเรียนพวงมณี ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องรสชาติดี ลูกค้านิยมรับประทาน อีกทั้งราคาอยู่ในระดับที่สูง ที่สำคัญมีลูกค้าสั่งจองล่วงหน้าผ่านทางเฟซบุ๊กจำนวนมาก ทำให้ต้องหมั่นเข้ามาดูแลและคัดเลือกทุเรียนที่มีขนาดเล็กรูปทรงไม่สวยทิ้งไป เพื่อให้เหลือทุเรียนที่มีคุณภาพมากที่สุด

“ปีนี้ทุเรียนพวงมณีให้ผลผลิตจำนวนมาก ส่วนหมอนทองกับชะนีไข่ ให้ผลผลิตใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ลูกค้าที่สั่งจองล่วงหน้าไว้แล้วนั้น คาดว่าจะได้รับทุเรียน เมื่อสุกเต็มที่อีกประมาณ 2 เดือนข้างหน้า โดยเตรียมเฝ้าระวังการขโมยทุเรียนในช่วงแก่จัด นอกเหนือจากที่ผมและครอบครัวต้องมาเฝ้าทุเรียนแล้ว เมื่อใกล้ช่วงทุเรียนแก่จัด ต้องประสาน พ.ต.ท.ถาวร ผลกล้า รอง ผกก. ป.สภ. สะเดา ช่วยเพิ่มความถี่กำลังสายตรวจเข้ามาตรวจที่ไร่ เนื่องจากปีที่ผ่านมามีโจรเข้ามาขโมยทุเรียนไปจำนวนมาก” นายสุเชาว์ กล่าว

เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม นายสมเกียรติ มณีรัตน์ ผู้บัญชาการเรือนจำ จ.ประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า หลังจากอธิบดีกรมราชทัณฑ์สั่งการให้เรือนจำ ทัณฑสถานทั่วประเทศช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่สับปะรดเพื่อเร่งระบายผลผลิตจากปัญหาราคาตกต่ำอย่างเร่งด่วน ช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนนี้ โดยให้องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ( อ.ต.ก.) ดำเนินการประสานงานการจัดซื้อบรรเทาปัญหาผลผลิตล้นตลาดให้กับเรือนจำทั่วประเทศ

สำหรับ จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดในประเทศ ทำให้มีผลผลิตส่วนเกินจำนวนมากไม่สามารถส่งจำหน่ายให้โรงงานแปรรูปเพื่อการส่งออก ล่าสุดเพื่อการให้การจัดซื้อดำเนินการได้ตามระเบียบพัสดุ ได้หารือไปที่หน่วยงานส่วนกลางเพื่อกำหนดแนวทางการจัดซื้อ และเชิญผู้ประมูลอาหารหรือคู่สัญญาอาหารดิบของเรือนจำมาหารือ เพื่อหาแนวทางการรับซื้อสับปะรดผลสดโดยตรงจากกลุ่มเกษตรกรในจังหวัด สำหรับประกอบอาหารจัดเลี้ยงผู้ต้องขังกว่า 2,800 คน รวมทั้งนำสับปะผลสดมาจำหน่ายบริเวณอาคารเยี่ยมญาติ

นายประยูร ช่วยแก้ว รองผู้อำนวยการฝ่ายการเดินรถองค์การ รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่า ในวันอังคารที่ 29 พ.ค. 2561 เป็นวันวิสาขบูชา ซึ่งจะมีประชาชนทั่วไปใช้บริการรถโดยสารสาธารณะไปยังวัดต่างๆ เป็นจำนวนมาก ขสมก. เตรียมความพร้อมให้บริการรถโดยสารประจำทางเพื่ออำนวยความสะดวก ปลอดภัย สร้างความมั่นใจในการเดินทางให้กับประชาชนผู้ใช้บริการ ระหว่าง วันที่ 25-30 พ.ค. 2561 ที่มีการใช้บริการเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ดังนี้

1. สำหรับในเส้นทางปกติ มีการเพิ่มจำนวนรถ และเที่ยววิ่ง จำนวน 20,878 เที่ยว/วัน บริหารจัดการเดินรถ ให้มีการเปลี่ยนกะพนักงานมากขึ้น ทั้งกะเช้า กะบ่าย และกะสว่าง ตั้งแต่ วันที่ 25-30 พ.ค. 2. จัดรถเฉพาะกิจ Shuttle Bus ให้บริการ วันที่ 25 พ.ค. และวันที่ 30 พ.ค. จำนวน 2 เส้นทาง คือ เส้นทางวงกลม จากสถานี BTS จตุจักร-หมอชิต 2 และเส้นทางวงกลม จากอนุสาวรีย์ชัยฯ-หมอชิต 2 โดยกำหนดช่วงเวลาให้บริการ ดังนี้ สำหรับ วันที่ 25 พ.ค. 2561 วิ่งให้บริการช่วงเวลา 16.00-22.00 น. ส่วนวันที่ 30 พ.ค. 2561 วิ่งให้บริการช่วงเวลา 05.00-08.00 น.

3. จัดเดินรถ AIRPORT BUS เชื่อมต่อท่าอากาศยานกรุงเทพ จำนวน 5 เส้นทาง ได้แก่ สาย A 1 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สถานีรถไฟฟ้า BTS จตุจักร เฉลี่ยวันละ 16-25 คัน, สาย A 2 ท่าอากาศยานดอนเมือง-อนุสาวรีย์ชัยฯ เฉลี่ยวันละ 8-12 คัน, สาย A 3 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สวนลุมพินี เฉลี่ยวันละ 6-10 คัน, สาย A 4 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สนามหลวง เฉลี่ยวันละ 6-10 คัน และสาย S1 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-สนามหลวง เฉลี่ยวันละ 8-12 คัน

4. จัดเดินรถเชื่อมต่อสถานีขนส่ง จำนวน 4 สถานี รวม 37 เส้นทาง ได้แก่ สถานีขนส่งกรุงเทพ (จตุจักร) จำนวน 13 เส้นทาง ได้แก่ สาย 3, 16, 26, 49, 77, 96, 134, 136, 138, 145, 509, 517, และ 536, สถานีขนส่งกรุงเทพ (สายใต้ใหม่) จำนวน 6 เส้นทาง ได้แก่ สาย 66, 79, 511, 515, 516 และ 556, สถานีขนส่งกรุงเทพ (เอกมัย) จำนวน 8 เส้นทาง ได้แก่ สาย 2, 23, 25, 71, 72, 501, 508 และ 511 และสถานีรถไฟหัวลำโพง จำนวน 10 เส้นทาง ได้แก่ สาย 4, 7, 21, 25, 29, 34, 73, 73 ก, 75 และ 501

5. จัดเดินรถไหว้พระฝั่งธนบุรี (ฟรี) จำนวน 10 คัน ให้บริการในวันที่ 26 พ.ค.-3 มิ.ย. โดยคันแรกออกจากท่าต้นทางบริเวณอนุสาวรีย์ชัยฯ ฝั่งเกาะพญาไท เวลา 08.00 น. และคันสุดท้าย เวลา 16.00 น. ผ่านวัดต่างๆ ได้แก่ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร, วัดระฆังโฆษิตารามวรวิหาร, วัดพระยาทำวรวิหาร, วันนาคกลางวรวิหาร, วัดเครือวัลย์วรวิหาร, วัดอรุณราชวรารามราชวรมหารวิหาร, วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร, วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร, วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร, วัดประยูรวงศาวาสวรวิหาร, วัดอนงคารามวรวิหาร, วัดพิชัยญาติการามวรวิหาร, วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชมหาวิหาร (วัดโพธิ์), วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว), วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร, วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร, วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร

เมื่อวันที่ 28 พ.ค. แพทย์หญิงนภาพร เกียรติดำรง รองผู้อำนวยการด้านบริการปฐมภูม รพ.อำนาจเจริญ เปิดเผยว่า ขณะนี้หลายพื้นที่เริ่มมีฝนตก ทำให้เริ่มมีเห็ดชนิดต่างๆ ออกดอกเป็นจำนวนมาก และเป็นที่นิยมของประชาชนในการเก็บมาบริโภคด้วยการปรุงเป็นอาหารประเภทต่างๆ โดยที่เห็ดนั่นมีทั้งเห็ดที่รับประทานได้ และเห็ดพิษหรือเห็ดเมา มีลักษณะใกล้เคียงกับเห็ดที่รับประทานได้ ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดเก็บมารับประทาน จนเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต จึงอยากย้ำเตือนให้ประชาชนเลือกบริโภคเฉพาะเห็ดที่รู้จักจริงๆ เท่านั้น ไม่ว่าจะโดยการเก็บหรือซื้อมารับประทานก็ตาม หากไม่แน่ใจห้ามรับประทานอย่างเด็ดขาด

โดยจากสถิติย้อนหลัง 3-4 ปี ก็เคยมีผู้ป่วยที่เข้ารับมารักษาที่ รพ.อำนาจเจริญ จากการรับประทานเห็ดพิษบ่อยที่สุด โดยเฉลี่ยแล้วพบมีผู้ป่วยที่มารับการรักษาจากการรับประทานเห็ดพิษ 16-20 ราย ต่อปี แต่ก็ไม่เคยถึงขั้นเสียชีวิต จนตอนนี้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 1 ราย จากการกินเห็ดพิษ ซึ่งเป็นชายวัย 58 ปี ที่มาเข้ารับการรักษาที่ รพ.อำนาจเจริญ เมื่อช่วงวันที่ 24 พ.ค.ที่ผ่านมา

จากการตรวจเลือดพิสูจน์พบว่า ผู้เสียชีวิตมีอาการตับและไตไม่ทำงาน (ตับวาย ไตวาย) และต่อมาหัวใจวาย จนทำให้เสียชีวิตในที่สุด เป็นระยะที่ 3 ของการได้เห็ดพิษจำพวกที่ 1 แพทย์จึงคาดว่าเห็ดพิษที่ผู้ตายรับประทานเข้าไปนั้น เป็นเห็ดพิษที่มีพิษต่อตับ คือเห็ดพิษจำพวกที่ 1 เป็นชนิดที่รุนแรงมาก ยังไม่มีเซรุ่มต้านพิษของเห็ดประเภทดังกล่าว อีกทั้งประกอบกับผู้ตายมีโรคประจำตัวคือ โรคเบาหวาน ความดัน และโรคไต ต้องรับประทานยาเป็นประจำ ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ตายได้รับพิษขั้นรุนแรง เนื่องจากไตไม่สามารถขับสารพิษออกจากร่างได้ จนเป็นเหตุให้เสียชีวิต ขณะที่ภรรยาของผู้ตายที่ได้รับพิษ ตอนนี้อาการก็ยังน่าเป็นห่วง

“ส่วนอาการที่เกิดจากการกินเห็ดพิษมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ด มักปรากฏหลังกิน 3 ชั่วโมง อาการพิษมากน้อยแตกต่างกันตามปริมาณที่กินเข้าไป ส่วนใหญ่หลังจากที่กินเห็ดพิษแล้ว จะทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายอุจาระเหลว แต่หลังจากนั่นผู้ป่วยอาจมีอาการุนแรงตามมาคือ การทำงานของตับและไตล้มเหลว ทำให้เสียชีวิตได้ทันที” แพทย์หญิงนภาพร กล่าว

ด้านแพทย์หญิงพลอย พงษ์วิทยภานุ หัวหน้ากลุ่มงานเวชกรรมสังคม กล่าวว่า ตอนนี้แบ่งประเภทของเห็ดพิษเป็น 6 กลุ่ม โดยกลุ่มที่รุนแรงที่สุดคือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่มีพิษต่อตับ จะเริ่มมีอาการหลังจากรับประทานเห็ดพิษเข้าไปแล้ว 6-12 ชั่วโมง โดยระยะที่ 1 จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย ระยะที่ 2 ไม่มีอาการแต่ผลค่าตับและไตเริ่มผิดปกติ ระยะที่ 3 (2-4 วัน หลังจากรับประทาน) ตับวาย ไตวาย หัวใจวาย ลิ่มเลือดอุดตัน และเสียชีวิตในเวลาต่อเมา

กลุ่มที่ 2 พิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง แบบที่ 1 หลังจากทานเห็ดพิษเข้าไปแล้ว 6-24 ชั่วโมง จะมีอาการมึนงง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ จากนั้นเพ้อ ชัก หมดสติ มีภาวะซีดจากเม็ดเลือดแดงแตก ตับวาย ไตวาย และเสียชีวิต แบบที่ 2 หลังจากทานเห็ดพิษเข้าไป 30 นาที – 1 ชั่วโมง จะมีอาการเคลิ้ม ประสาทหลอน คล้ายคนเสพยา LSD กลุ่มที่ 3 พิษต่อระบบประสาทอัตโนมัติ แบบที่ 1 (พิษนี้จะไม่ทนความร้อน) หลังจากรับประทาน 30 นาที – 1 ชั่วโมง จะมีอาการหัวใจเต้นช้าลง หายใจไม่สะดวก เสมหะมาก น้ำลายมาก น้ำตาไหลมาก อาเจียน ปัสสาวะอุจจาระราด แบบที่ 2 จะมีอาการเมา เคลิ้ม ร่าเริง กระปรี้กระเปร่า ประสาทหลอน และเอะอะโวยวาย จากนั้นจะหลับไป และหายเป็นปกติภายใน 1-2 วัน

กลุ่มที่ 3 พิษต่อไต (พิษนี้ทนความร้อน) หลังจากรับประทาน 24-36 ชั่วโมง จะมีอาการ ปวดท้อง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ หนาวสั่น ปวดศีรษะและกล้ามเนื้อ จากนั้นจะเริ่มมีปัสสาวะบ่อย และไตวายเรื้อรัง กลุ่มที่ 5 พิษร่วมกับแอลกฮอล์ หลังจากรับประทานไปแล้ว 10-30 นาที จะมีอาการเกิดขึ้นเมื่อรับประทานพร้อมกับการดื่มแอลกอฮอล์เท่านั้น จะทำให้หน้าแดง ตัวแดง ใจสั่น หอบ เหงื่อแตก เจ็บหน้าอก และกลุ่มสุดท้าย กลุ่มที่ 6 พิษต่อทางเดินอาหาร หลังจากรับประทาน 30 นาที – 3 ชั่วโมง จะมีอาการแน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หายเองใน 24 ชั่วโมง

โดยเห็ดพิษใน กลุ่มที่ 1-2 จะรุนแรงมากหากรับประทานเข้าไป โดยสารพิษในเห็ดจะทนความร้อนได้ดี ดังนั้นถึงแม้เห็ดจะสุกแล้ว แต่ความเป็นพิษก็ยังมีสูง มีเพียงเห็ดพิษกลุ่มที่ 3 เท่านั้น ที่ไม่ทนความร้อน หากพบผู้ได้รับพิษจากการกินเห็ด การช่วยเหลือเบื้องต้นที่สำคัญที่สุดคือ ทำให้อาเจียนออกมาให้หมด โดยการล้วงคอหรือกรอกไข่ขาว แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล หรือสถานีอนามัยใกล้บ้านทันที

รมว.เกษตรฯ ห่วง 3 สินค้าเกษตร ลำไย ลิ้นจี่ และกุ้ง ราคาปรับตัวลดลง โดยเฉพาะลำไยผลิตกว่า 1 ล้านตัน ล้นตลาด อากาศทำออกดอกผลเยอะ แถมอินโดนีเซีย ประกาศงดนำเข้า ก.ค.-ส.ค. นี้ แต่ลิ้นจี่โดนฝนคุณภาพลด ชมรมผู้เลี้ยงกุ้งร้องรัฐแก้ราคาตก 3 ข้อ ชดเชยส่วนต่าง 10-20 บาท ต่อกิโลกรัม

แหล่งข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า นายกฤษฎา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ สั่งการให้ นายลักษณ์ วจนานวัช รมช.เกษตรฯ เป็นประธานประชุมรับมือ 3 สินค้าเกษตร คือ ลำไย ลิ้นจี่ และกุ้ง ที่น่ากังวลราคาจะปรับตัวลดลง ลำไย พบว่าในปีนี้จะมีผลผลิตรวม 1.06 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 4.08% เมื่อเทียบกับปีก่อน เป็นผลมาจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการติดดอกออกผล รวมทั้งลำไยที่ปลูกใหม่ในปี 2558 เริ่มให้ผลในปีนี้ โดยผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม