ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่และมีฝนตก

หนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพรสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และปัตตานี อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดพังงาลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน สืบเนื่องจากสถานการณ์ราคายางพาราที่ตกต่ำต่อเนื่องมาตลอด 1 เดือน สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวสวนยางอย่างหนัก โดยราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 70 บาทเศษ เหลือ 45-50 บาท ในขณะที่เครือข่ายสถาบันเกษตรกร ชาวสวนยางรวมถึงเครือข่ายภาคประชาชน ต่างเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกมาเร่งแก้ไขปัญหา แต่กลับไม่ได้ช่วยให้ราคากระเตื้องขึ้นมาแต่อย่างใด
ล่าสุดสมาพันธ์เกษตรกรจังหวัดสงขลาได้รับการร้องเรียนจากชาวสวนยางทั้งจังหวัดถึงความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นและเตรียมนำเกษตรกรชาวสวนยาง เข้ามาแจ้งความเดือดร้อนให้นายกรัฐมนตรีทราบ ผ่านจังหวัดสงขลา

นายปรีชา สุขเกษม รองประธานสมาพันธ์เกษตรกรชาวสวนยาง ระบุว่า ชาวสวนยางเดือดร้อนอย่างหนักต่อเนื่องมานานนับเดือน จนถึงขณะนี้การแก้ปัญหากลับไม่มีความชัดเจน ชาวสวนยางจึงอยากมาเล่าถึงความเดือดร้อนให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์ทราบ เพื่อที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหา โดยคาดว่าจะมีความชัดเจนในเรื่องแนวทางการเคลื่อนไหวในสัปดาห์หน้า

นายศักดิ์สิทธิ์ ซิ้มเจริญ หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเสือ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า จากการสำรวจปริมาณเสือดาวและเสือดำพื้นที่ป่าในประเทศไทย พบว่า ป่าเกือบทุกพื้นที่จะพบทั้งเสือดำและเสือดาว โดยภาพรวมในประเทศไทยจะมีปริมาณเสือดาวมากกว่าเสือดำ เสือดำมักจะเจอในป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น โดยในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งเป็นพื้นที่ที่ค่อนข้างมีเสือดาวจำนวนมาก ซึ่งนักวิจัยก็ได้ศึกษาพฤติกรรมของทั้งเสือดำและเสือดาวควบคู่ไปกับเสือโคร่ง โดยพบว่า ช่วง 10 ปีที่ผ่านมานั้น ปริมาณของเสือดำ เสือดาว และเสือโคร่ง เพิ่มมากขึ้นอย่างน่าพอใจ เพราะพื้นที่อยู่อาศัย และเหยื่อของสัตว์ดังกล่าวมีมากเพียงพอ ประกอบกับการดูแลลาดตระเวนพื้นที่ป่าของเจ้าหน้าที่อุทยานมีความเข้มแข็งเข้มข้นมากขึ้น

“หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า เสือดาวกับเสือดำเป็นเสือชนิดเดียวกัน โดยที่เสือดาวมีพื้นบนลำตัวเป็นสีเหลืองและมีลายบนลำตัวเป็นสีดำ แต่เสือดำมีพื้นบนลำตัวเป็นสีดำและมีลายสีดำจึงมองเห็นเป็นสีดำทั้งตัว แต่ถ้ามองใกล้จะเห็นลาย แต่เมื่อเสือดำแก่ตัวลงพื้นสีดำจะจางลงจะเห็นลายสีดำชัดมากขึ้นเสือดาวและเสือดำสามารถออกลูกเป็นได้ทั้งเสือดาวและเสือดำ”นายศักดิ์สิทธิ์ กล่าว

ธุรกิจป่วน พ.ร.ก.ฉบับใหม่คุมเข้มจ้างแรงงานต่างด้าวพ่นพิษ นายจ้าง-บริษัทจัดหางานทำผิดเจอโทษหนัก จำคุก-ปรับสูงสุด 1 ล้านบาท ภาคเอกชน 3 เสาหลัก “สภาหอการค้าฯ-สภาอุตฯ-ส.ธนาคาร” ยื่นหนังสือร้องนายกฯตู่ ช่วยสมาคมรับเหมาฯชี้กระทบก่อสร้างเมกะโปรเจ็กต์ ชาวสวนยางโอดเจอเคราะห์ซ้ำกรรมซัด

พระราชกำหนดการบริการจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ที่มีผลบังคับใช้เมื่อ 23 มิ.ย. 2560 ที่ผ่านมา ก่อให้เกิดความวิตกกังวลกับผู้ประกอบธุรกิจหลากหลายสาขา เพราะแม้ส่วนใหญ่จะเห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการดึงแรงงานต่างด้าวเข้าระบบ แต่การกำหนดบทบัญญัติกฎหมายในลักษณะที่เข้มงวด บวกกับกำหนดบทลงโทษผู้ประกอบการเอกชนโดยเฉพาะนายจ้าง กับบริษัทจัดหางานที่นำเข้าแรงงานต่างด้าวรุนแรง โทษปรับสูงถึง 400,000-1,000,000 บาท จึงหวั่นเกรงว่าจะส่งผลกระทบในวงกว้างต่อภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องว่าจ้างแรงงานต่างด้าว เนื่องจากประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานไทย

หอการค้าฯกระทบเรียกถกด่วน

แหล่งข่าวจากวงการธุรกิจเปิดเผย”ประชาชาติธุรกิจ”Žว่าผู้ประกอบการธุรกิจและอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวเช่น ร้านค้า ร้านอาหาร ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งภาคการเกษตร ส่วนใหญ่จ้างแรงงานเมียนมากรีดยาง

สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยจะเรียกประชุมภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องเพื่อประเมินสถานการณ์และผลกระทบและปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมายและจะรวบรวมประเด็นปัญหาเสนอแนะให้รัฐบาลนำไปพิจารณา

รับเหมาชี้เมกะโปรเจ็กต์ป่วนหนัก

นายสังวรณ์ลิปตพัลลภนายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในพระบรมราชูปถัมภ์เปิดดเผยว่าพ.ร.ก.ฉบับใหม่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจรับเหมาแน่นอน เพราะปัจจุบันรับเหมาทั้งรายใหญ่และเล็กใช้แรงงานก่อสร้างต่างด้าวจำนวนมาก

”ปัจจุบันแรงงานต่างด้าวในระบบมีทั้งที่ขอนำเข้ามาแบบถูกกฎหมายและไม่ถูกกฎหมายส่วนใหญ่ผู้รับเหมาที่ซับงานต่อจากรายใหญ่จะมีปัญหาเรื่องแรงงานต่างด้าวเช่นการลาออก หรือเปลี่ยนงานกะทันหัน เพราะเกิดการซื้อตัวขึ้นŽ”

รัฐออกกฎหมายมาแบบนี้ ภาคก่อสร้างค่อนข้างเดือดร้อน เพราะแรงงานขาดแคลน จะกระทบงานก่อสร้าง โดยเฉพาะโครงการใหญ่ที่รัฐบาลกำลังเร่งผลักดันอยู่ขณะนี้ เช่น รถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ งานถนน ผู้รับเหมาหาแรงงานก่อสร้างมาทดแทนต่างด้าวไม่ทัน นอกจากนี้ยังกระทบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ เพราะต้องจ่ายค่าแรงและค่าปรับในอัตราที่สูงขึ้น วันที่ 6 ก.ค.นี้ สมาคมจึงได้เรียกประชุมด่วนสมาชิก 500 ราย ถึงมาตรการที่เสนอให้รัฐบาลผ่อนปรน เพราะผลกระทบเริ่มเกิดขึ้นแล้ว

ส.บ้านจัดสรรเห็นด้วย

นายอิสระ บุญยัง นายกกิตติมศักดิ์และที่ปรึกษา สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร เปิดเผยว่า แรงงานก่อสร้างที่เป็นคนต่างด้าวคาดว่ามีประมาณ 1 ล้านคน การออกกฎหมายใหม่โดยยุบรวมกฎหมายเดิม 2 ฉบับเข้าด้วยกัน ทางผู้ประกอบการรับทราบมาตลอด และเห็นด้วย เพราะเป็นการจัดระเบียบกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ใหญ่ ต้องการบริหารจัดการด้านความมั่นคงและด้านเศรษฐกิจ

มีข้อเสนอแนะ 2 ข้อ 1.เนื่องจากมีผลใช้บังคับตั้งแต่ 23 มิ.ย. 2560 ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการซึ่งเป็นนายจ้างรู้ตัวว่าจะมีกฎหมายใหม่ แต่ฝั่งลูกจ้างหรือแรงงานต่างด้าวยังไม่ค่อยรู้ ภาครัฐควรเร่งประชาสัมพันธ์ให้ลูกจ้างแรงงานต่างด้าวได้รับทราบอย่างทั่วถึง เพราะบทบัญญัติลงโทษและปรับรุนแรงและเข้มงวดมาก

2.ในภาพรวมผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทในวงการมั่นใจว่าทำถูกต้องตามกฎหมายแต่ยังมีแรงงานแอบแฝงที่ไม่ถูกต้องหลงเหลืออยู่ควรจัดให้มีการลงทะเบียนแรงงานต่างด้าวอีกครั้ง อสังหาฯบี้ผู้รับเหมาช่วง

สำหรับผลกระทบนั้นนายอิสระประเมินว่าช่วงรอยต่อของการบังคับใช้กฎหมายใหม่น่าจะมีความโกลาหลอยู่บ้างในฐานะกรรมการผู้จัดการกลุ่มบริษัทกานดา พร็อพเพอร์ตี้ ยอมรับว่าปัจจุบันใช้แรงงานก่อสร้างเป็นต่างด้าวมากกว่า 90% โดยมีอยู่ 900 กว่าคน ครึ่งหนึ่งบริษัททำเอ็มโอยูจ้างงานจึงทำถูกกฎหมาย เป็นห่วงอีกครึ่งหนึ่งในกลุ่มผู้รับเหมาช่วง เพราะส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก อาจมีปัญหาในการจ้างแรงงานต่างด้าวอยู่บ้าง

“ถ้ามีตกหล่นยังไม่เข้าระบบก็ต้องปรับตัว เพราะบทลงโทษและบทปรับรุนแรง เข้มงวดมากขึ้น ไม่คุ้มค่าที่จะลักลอบใช้แรงงานผิดกฎหมายŽ” ชี้จุดเสี่ยง “เรียกรับสินบนŽ”

แหล่งข่าวจากการพัฒนาที่ดินหลายรายกล่าวในทำนองเดียวกันว่า มีข้อเป็นห่วงเรื่องอัตราโทษที่ปรับขึ้นสูงกว่าเดิมมาก อาจเป็นช่องทางให้เจ้าหน้าที่รัฐบางรายฉวยโอกาสบีบเรียกเงินใต้โต๊ะ หรือเงินนอกระบบหนักข้อมากขึ้น

ศาลปกครองไม่ชะลอ กม.

สำหรับชาวสวนยางซึ่งได้รับผลกระทบด้วยนั้น ล่าสุด นายมนัส บุญพัฒน์ นายกสมาคมคนกรีดยางและชาวสวนยางรายย่อย เปิดเผยว่า เมื่อ 26 มิ.ย.ที่ผ่านมา สมาคมพร้อมด้วยตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและเครือข่าย 9 องค์กร ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อศาลปกครองจังหวัดนครศรีธรรมราช ขอให้มีคำสั่งชะลอการบังคับใช้กฎหมายแรงงานฉบับนี้ และขอให้พิจารณาออกคำสั่งคุ้มครองจนกว่าผู้ประกอบการจะหาแรงงานใหม่ทดแทนได้ เนื่องจากกระทบต่อชาวสวนยางอย่างมาก เพราะส่วนใหญ่จะใช้แรงงานต่างด้าวในกระบวนการผลิตยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรมควัน

ดังนั้นจึงขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบขยายเวลาในการคุ้มครอง โดยยืดระยะเวลาขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวออกไป ให้เกษตรกรได้เตรียมตัวก่อน รวมทั้งมีการคุ้มครองการบังคับจับกุมในระยะนี้ไปก่อน ล่าสุดศาลปกครองนครศรีธรรมราชไม่รับพิจารณาคดีดังกล่าว โดยชี้ว่าไม่อยู่ในอำนาจของศาล

“ที่ย่ำแย่ไปกว่านี้ก็คือ เมื่อมีการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ มีหน่วยงานต่าง ๆ มากมายไม่รู้ว่าจริงหรือเท็จ ติดต่อมายังเกษตรกรที่กำลังทำเอกสารขอขึ้นทะเบียนแรงงาน อ้างว่าหากจ่ายเงินก็จะไม่จับกุม เกษตรกรหลายกลุ่มเจอทั้งขู่ ทั้งกรรโชกŽ”

สภาอุตฯเหนือโอดบทลงโทษแรง

นายวีระยุทธ สุขวัฑฒโก ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคเหนือ เปิดเผยว่า บทลงโทษรุนแรงเกินไป ซึ่งแรงงานต่างด้าวยังจำเป็นสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องใช้แรงงาน ซึ่งได้หารือร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ถึงแนวทางแก้ไข โดยอาจเสนอให้แก้ไขสัญญาการจ้างแรงงานของกรมการจัดหางาน เพราะการแก้ไขกฎหมายคงไม่สามารถทำได้

หนุนภาพลักษณ์ท่องเที่ยว

ขณะที่นางสาวศุภวรรณ ถนอมเกียรติภูมิ นายกสมาคมโรงแรมไทย กล่าวว่า ระเบียบใหม่นี้เป็นผลดีต่อภาคธุรกิจโรงแรมและบริการด้านท่องเที่ยวในภาพใหญ่ ช่วยทำให้ภาพลักษณ์ในด้านความเชื่อมั่นภาคท่องเที่ยวของไทยปรับตัวดีขึ้นในสายตานักท่องเที่ยวต่างชาติ

ส่วนปริมาณการใช้แรงงานต่างด้าวในธุรกิจโรงแรมนั้นน่าจะมีสัดส่วนอยู่ที่5%แต่โรงแรมที่ไม่มีใบอนุญาตถูกต้องและโรงแรมขนาดเล็กในต่างจังหวัด อาจมีใช้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ซึ่งกลุ่มนี้คงได้รับผลกระทบ ประกอบกับแรงงานภาคธุรกิจโรงแรมส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ต้องผ่านการฝึกอบรมมาอย่างดี จึงไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากกฎหมายใหม่

ปรับ-จำคุกหนักสุด 1 ล้าน

ด้านความเคลื่อนไหวของภาครัฐ นายวรานนท์ ปีติวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เปิดเผย ประชาชาติธุรกิจŽ ว่า ช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา กรมการจัดหางานเดินสายชี้แจงทำความเข้าใจ พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวฯต่อเนื่อง มั่นใจว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่รับทราบและเข้าใจรายละเอียดของข้อกฎหมาย สำหรับเสียงสะท้อนที่ออกมาในทำนองบทลงโทษค่อนข้างหนักและรุนแรงนั้น เป็นเพราะรัฐต้องการป้องปรามไม่ให้ทำผิดกฎหมาย เพราะที่ผ่านมาโทษปรับสูงสุดแค่ 20,000 บาทเท่านั้น ผู้ฝ่าฝืนจึงไม่เกรงกลัว มีการลักลอบนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานโดยผิดกฎหมายจำนวนมาก

ขณะเดียวกับเหตุผลอีกส่วนหนึ่งมาจากต้องปรับปรุงกฎหมายและบทกำหนดโทษให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันเทียบเคียงได้กับกฎหมายใหม่หลายฉบับที่เพิ่งบังคับใช้เช่นกฎหมายการประมงโทษปรับสูงสุด 1 ล้านบาท กฎหมายเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ ปรับสูงสุด 4 แสนบาท กฎหมายป้องกันการใช้แรงงานเด็ก ปรับสูงสุด 4 แสนบาท เป็นต้น ขณะที่กฎหมายฉบับนี้โทษปรับสูงสุดที่ 1 ล้านบาท หรือจำคุก 3-10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

ปัดดิ้นปลดล็อก IUU-Tier

ส่วนที่มีการมองว่าภาครัฐผลักดันกฎหมายฉบับนี้ เพราะต้องการปลดล็อกกรณีสหภาพยุโรป (EU) ให้ใบเหลือง กล่าวหาว่าไทยทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม รวมทั้งแก้ปัญหากรณีสหรัฐขึ้นบัญชี Tier 3 มีปัญหาค้ามนุษย์ ค้าแรงงานเด็ก แรงงานทาสนั้น จริง ๆ แล้วเป็นแค่ผลพลอยได้ แต่เหตุผลหลักคือการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย

3 เสาหลักภาคเอกชนร้องบิ๊กตู่

นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า เตรียมส่งข้อมูลหารือกับกระทรวงแรงงาน และยื่นถึงนายกรัฐมนตรี ซึ่งกฎหมายใหม่อาจทำให้ผู้ประกอบการเดือดร้อน

ดร.พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ภาคเอกชนจะทำหนังสือในนามของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ยื่นไปยัง พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในวันที่ 28 มิ.ย.

นายสำออย วงศ์เณร กรรมการด้านพืชไร่ สภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยถึงกรณีที่ผู้ปลูกสับปะรดในหลายพื้นที่ประสบปัญหาราคาในขณะนี้ว่า เกษตรกรทุกคนที่ปลูกสับปะรดจะทราบถึงสภาวะความเป็นจริงว่าราคาสับปะรดจะขึ้น – ลงในทุกรอบ 3 ปีหรือไม่เกิน 4 ปี สาเหตุที่ราคาสับปะรดลงเพราะในช่วงที่ราคาดีเกษตรกรก็จะปลูกเพิ่มจากพื้นที่ที่เคยปลูก หรือการปลูกใหม่ของเกษตรกรรายใหม่ จนผลผลิตเกินความต้องการของตลาด ซึ่งในตลาดต้องการสับปะรดประมาณ 2 ล้านตัน ถ้าเกินจากนี้เมื่อไหร่ราคาก็จะตกลงมา

เป็นวงจรหมุนเวียนเหมือนเขาวงกต มีทางออกแต่เกษตรกรไม่ยอมออกหรือหาทางออกกว่าจะพบหรือไม่พบ บางคนก็ถอดใจทิ้ง สำหรับทางแก้ไขสภาเกษตรกรแห่งชาติมุ่งไปที่การผลิตสับปะรดแบบเกษตรพันธะสัญญาที่ออกเป็นกฎหมายรอการใช้บังคับ โดยความสำคัญอยู่ที่เนื้อหาสาระของสัญญาที่เกษตรกรจำเป็นต้องมีส่วนร่วมในการร่างสัญญาด้วย ซึ่งจะได้เสนอเรื่องนี้ต่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าขณะนี้สภาเกษตรกรแห่งชาติได้นำเสนอบอร์ดคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติตามความต้องการของเกษตรกรคือให้มีการรับซื้อสับปะรดโรงงานตามข้อตกลงกันในราคากิโลกรัมละ 5 บาท ส่วนสับปะรดที่เกินกำลังการผลิตของโรงงานเสนอให้นำออกไปจำหน่ายเป็นผลสด

และเสนอไปยังกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ให้จัดทำโครงการโรดโชว์สับปะรดระบายผลสดออกนอกพื้นที่ โดยขอให้กรมการค้าภายในชดเชยในเรื่องค่าขนส่ง ค่าบริหารจัดการจากต้นทางที่ผลิตไปถึงปลายทางใกล้เคียงที่ไม่ได้ผลิต การบริโภคผลสดจะเกิดขึ้นได้สูง เพราะแม้ราคาสับปะรดจะตกเหลือราคากิโลกรัมละบาทกว่าๆ แต่การซื้อบริโภคผลสดก็ยังคงราคาไม่ต่ำกว่า 10 บาท หากเป็นตามนี้ก็จะช่วยดึงให้สับปะรดออกไปนอกระบบได้มากขึ้น เป็นเรื่องที่กรมการค้าภายในสามารถช่วยดำเนินการได้โดยการกระจายสินค้า

แต่ขณะนี้ยังไม่ได้มีการดำเนินการแต่อย่างใด แต่กลับเห็นว่ามีบางจังหวัด เช่น จังหวัดลำปางได้สั่งการให้หน่วยงานในจังหวัดช่วยเร่งกระจายสินค้าโดยการใช้พื้นที่ราชการวางจำหน่าย เป็นต้น สถานการณ์เช่นนี้ก็จะทำให้เกษตรกรเข้าสู่วงจรลดการผลิตซึ่งจะทำให้ราคาสับปะรดในปีถัดไปราคาดีขึ้น เมื่อราคาดีขึ้นเกษตรกรก็จะหันมาปลูกเพิ่มขึ้นอีก การผลิต , ราคาสับปะรดก็จะกลับไปสู่วังวนเขาวงกตที่เกษตรกรยังไม่หลุดพ้นเช่นเดิม

“ไม่อยากให้เกษตรกรละทิ้งผลผลิต เพราะกว่าจะเติบโตจนขายได้ต้องใช้เวลา อยากให้เกษตรกรช่วยเหลือตนเองในเบื้องต้นก่อน หากเดือดร้อนสภาเกษตรกรจังหวัดพื้นที่ที่ท่านอยู่ช่วยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เข้าไปช่วยท่านแก้ไขปัญหา ติดต่อได้ที่สภาเกษตรกรจังหวัดในพื้นที่” นายสำออยกล่าวทิ้งท้าย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ร้านมงคลอิเลคทริค เลขที่ 430/1 ถนนกลางเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ร้านซ่อมและติดตั้งแอร์รถยนต์ ไดนาโม และแบตเตอรี่ นำถังน้ำยาแอร์เก่ามาประดิษฐ์ให้เป็นระฆังแจกจ่ายให้กับวัดในพื้นที่ชนบทห่างไกล

นายอนุพงษ์ บุญอาจ เจ้าของร้านกล่าวว่า ทำเสร็จสิ้นแล้ว รวม 28 ใบ พร้อมไม้เคาะระฆัง โดยแนวคิดมาจากแนวกระแสพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงนำแนวคิดดังกล่าวมาประกอบอาชีพอย่างพอเพียง พออยู่พอกิน พอมี พอใช้ หากเหลือให้แบ่งปัน แต่ละวันร้านจะมีลูกค้ามาเติมน้ำยาแอร์รถยนต์จำนวนมาก แต่ละถังมีขนาด 13.6 กิโลกรัม และเมื่อน้ำยาหมดต้องทิ้ง หรือบริจาคให้คนรับซื้อของเก่า

บิดาคือ นายชูศักดิ์ บุญอาจ จึงมีแนวคิดอยากนำมาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ จากนั้นได้ร่วมกันศึกษาหาความรู้ผ่านยูทูบ ที่มีการสอนการดัดแปลงถังให้ออกมาในรูปแบบต่างๆ

“มาวันหนึ่งคุณพ่ออยากทำระฆัง จึงนำถังน้ำยาแอร์เก่านั้นมาทำ เริ่มจากการตัดวาล์วออกจากตัวถัง ใช้ใบตัดเหล็กตัดก้นถังออก ใช้ตะไบลบคม ดัดพับหูถังให้เป็นรูปใบเสมาและเชื่อมติดกัน เมื่อเสร็จนำถังไปล้างให้สะอาด ตากให้แห้ง พ่นสีกันสนิม ก่อนพ่นสีเหลือง ใช้เวลาทำใบละ 3-5 ชั่วโมง โดยทุกคนในร้านจะช่วยกันทำหลังเลิกงาน ส่วนไม้เคาะระฆังนั้นทำจากไม้เนื้อแข็ง”

ขณะนี้ทำระฆังพร้อมไม้ จากถังน้ำยาแอร์เก่าแล้วเสร็จ 28 ใบ วัดใดต้องการระฆังประสานงานมาที่ร้านได้ หากไม่สะดวก อยู่ห่างไกล ทางร้านพร้อมจะเดินทางไปมอบ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น สำหรับระฆังชุดแรก 28 ใบ เมื่อถวายให้วัดจนหมดแล้ว แต่ถ้ามีวัดที่ต้องการเพิ่มทางร้านก็พร้อมที่จะผลิต โทร.ติดต่อมาได้ที่ (043) 321-121 หรือ (081) 718-1291

ชาวนาเกลือสมุทรได้เฮ ราคาพุ่งแตะ 3,000 บาท/เกวียน หลังเจอราคาตกต่ำ 3 ปี แถมเจอเกลือสินเธาว์แย่งตลาดเกษตรกร “เพชรบุรี-สมุทรสาคร-สมุทรสงคราม” ผนึกกำลัง 5 สหกรณ์ เพิ่มอำนาจต่อรองพ่อค้าคนกลาง เพิ่มคุณภาพผลผลิต พร้อมดันมาตรฐานของกระทรวงเกษตรฯ

นายเชาว์ เฮงสกุล ประธานสหกรณ์การเกษตรนาเกลือสมุทรสงคราม จำกัด จังหวัดสมุทรสงคราม เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัจจุบันการทำนาเกลือสมุทรในประเทศไทยมีประมาณ 5-6 จังหวัด โดยจังหวัดเพชรบุรีมีพื้นที่ทำนาเกลือมากที่สุด รองลงมาเป็นสมุทรสาครและสมุทรสงครามตามลำดับ โดยสมุทรสงครามมีพื้นที่ทำนาเกลือประมาณ 5,000 ไร่ มีเกษตรกร 100 กว่าราย โดยดำเนินการในรูปแบบของสหกรณ์ ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรนาเกลือสมุทรสงคราม จำกัด สหกรณ์บางแก้วนาเกลือ จำกัด และอีกส่วนหนึ่งไม่สังกัดสหกรณ์

สำหรับจังหวัดสมุทรสงคราม มีปริมาณเกลือสมุทรประมาณ 30,000 เกวียน ต่อปี (เกวียนละ 1,550 กิโลกรัม) ซึ่งเฉลี่ยได้ผลผลิต 8-10 เกวียน ต่อไร่ โดยใน 1 ปี สามารถทำนาเกลือได้ประมาณ 4 ครั้ง ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ฤดูหนาวจนกระทั่งถึงฤดูฝน ครั้งแรกจะใช้ระยะเวลา 3 เดือน ส่วนครั้งต่อไปใช้ระยะเวลา 1 เดือน 20 วัน และ 15 วัน ตามลำดับ เนื่องจากสภาพอากาศร้อนส่งผลให้เกลือตกผลึกเร็ว

อย่างไรก็ตาม ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา เกิดปัญหาผลผลิตเกลือล้นตลาดและขาดทุน ทำให้ชาวนาเกลือหลายรายหยุดการทำนาเกลือ อีกทั้งเจอปัญหาฝนตกนอกฤดูกาล ส่งผลให้ปริมาณเกลือในปีนี้หายไปจากตลาดประมาณ 60% ราคาเกลือจึงปรับสูงขึ้นมาอยู่ที่ 2,000-3,000 บาท/เกวียน เมื่อเทียบจากปี 2559 อยู่ที่ประมาณ 800 บาท/เกวียน ขณะที่ต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 1,500 บาทต่อเกวียน ปัจจัยหลักมาจากค่าแรงที่สูงถึง 1,000 บาท/คน/วัน ซึ่งขณะนี้ยังคงขาดแคลนแรงงาน

ปัจจุบัน พื้นที่ทำนาเกลือในจังหวัดสมุทรสงครามส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เช่าของเอกชน ซึ่งการขยายตัวของเมืองได้ส่งผลกระทบต่อการทำนาเกลือ ประกอบกับเจอการแข่งขันสูง เนื่องจากมีเกลือสินเธาว์จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเกลือจากต่างประเทศเข้ามารุกตลาดมากขึ้น
ทั้งนี้ เกษตรกรที่ทำนาเกลือได้ปรับตัวด้วยการหันมารวมกลุ่มกันเป็นชุมนุมสหกรณ์ทั้ง 3 จังหวัด 5 สหกรณ์ เพื่อผลิตเกลือที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น และมีปริมาณเพียงพอที่จะส่งให้กับโรงงานได้ตลอดทั้งปี รวมทั้งเป็นการเพิ่มอำนาจต่อรองกับพ่อค้า โรงงาน และผู้ประกอบการต่างๆ ซึ่งสามารถแก้ปัญหาราคาเกลือผันผวนไม่ให้ตกต่ำเกินไป อีกทั้งจะช่วยแก้ปัญหาแรงงานขาดแคลนได้ด้วย คาดว่าจะเริ่มนำระบบนี้มาใช้ในเดือนตุลาคม 2560 นี้ และยังได้รวมตัวกันทำนาเกลือในรูปแบบนาแปลงใหญ่อีกด้วย ขณะนี้ดำเนินการไปแล้ว 30%

นอกจากนั้น เกษตรกรยังต้องการให้มีมาตรฐานของตัวเองที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เนื่องจากที่ผ่านมาต้องใช้มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งเกณฑ์ของกระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดด้วยความชื้น โดยปกติแล้วเกลือสมุทรจะมีความชื้น 6.5 หรือเทียบได้แค่เกรด C เท่านั้น ทำให้ราคาลดลง เพราะหากได้เกรด A ที่ความชื้น 0.5 ราคาจะสูงถึง 4,000-5,000 บาท/เกวียน

“อนาคตของนาเกลือจะสดใสได้ก็ต่อเมื่อมีการรวมตัวกัน yourplanforthefuture.org เนื่องจากปริมาณการผลิตของเกลือสมุทรยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ เกลือสินเธาว์จึงเข้ามาแย่งตลาดเกลือสมุทร จริงๆ แล้วเกลือสินเธาว์เป็นเกลือที่เหมาะกับอุตสาหกรรมเท่านั้น ไม่เหมาะกับการบริโภค แต่กระทรวงสาธารณสุขบังคับให้เติมสารไอโอดีน 20-40 มิลลิกรัม ต่อเกลือ 1 กิโลกรัม ทำให้เราเสียเปรียบค่อนข้างมากและยาวนานมากว่า 20 ปีแล้ว” นายเชาว์ กล่าว

คุณวัชรินทร์ เขจรวงศ์ เกษตรอำเภอสุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ลงพื้นที่ท้องทุ่งกุลาร้องไห้เพื่อตรวจติดตามการปลูกข้าวนาปี 2560 ฝนที่ตกกระจายอย่างสม่ำเสมอ ทำให้แปลงนาที่ลุ่มมีน้ำท่วมขัง ส่วนแปลงนาในที่ดอน ความชุ่มชื้นจะพอเหมาะพอดี ชาวนาส่วนใหญ่จะทำนาหว่านสำรวยหรือ นาหว่านข้าวแห้ง โดยนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ประจำตำบล ออกรณรงค์การใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่พอเหมาะพอดี จากอัตราที่เกษตรกรเคยใช้ 25-30 ก.ก./ไร่ เหลือ 12-15 ก.ก./ไร่ ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงและให้รวมกลุ่มกันจัดจ้างรถแทรกเตอร์ไถหว่าน เพื่อการลดต้นทุนลง หลังหว่านข้าวแห้ง เรียบร้อยแล้ว “ศัตรูพืช” ที่สำคัญคือ “หนูนา” เป็นปัญหาหลักของเริ่มต้นฤดูกาลทำนา

เกษตรอำเภอสุวรรณภูมิ กล่าวว่า ชาวนาควรป้องกันกำจัดโดยวิธีผสมผสาน ใช้กับดัก บ่วง แร้ว ทำความสะอาดคันนาให้โล่งเตียน ไม่เป็นที่อยู่อาศัยของหนูได้ หรือการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือศัตรูธรรมชาติ เช่น งู นกฮูก เหยี่ยว ที่เป็นมิตรแท้ของชาวนา คอยจับกินหนูทั้งกลางวัน กลางคืน สุดท้ายคือการใช้สารเคมี

ชาวนาทุ่งกุลาร้องไห้ คุณอภิฉัตร ภูสนาม ผญบ.หมู่ที่ 5 ต.หินกอง อ.สุวรรณภูมิ บอกว่า มีวิธีหลอกให้หนูขุดคุ้ยหาเหยื่อพิษ โดยชาวนานำข้าวสารคลุกกับ “สารเคมีฆ่าหนู” ยาดำหรือซิงฟอสไฟด์ ผสมกับข้าวสาร หากวางบนพื้นที่ทั่วไป หนูไม่ยอมกินเหยื่อพิษ วิธีการคือ นำข้าวสารที่ผสมเหยื่อพิษแล้ว ขุดเป็นหลุมฝังกลบลึกประมาณ 1-2 ข้อมือ จากนั้นนำแกลบดิน มาโรยบางๆบนผิวดิน หนูเป็นสัตว์ศัตรูพืชที่ชอบขุดคุ้ย พอมาพบ “แกลบ” ไม่สมารถกินได้ จะขุดคุ้ยหาอาหารใต้ผิวดินทันที พบข้าวสารที่ผสมเหยื่อพิษ จะพากันกินและ หนูจะตายในที่สุด สาเคมีที่ใช้ให้เป็นประเภท “ออกฤทธิ์ช้า เมื่อกินสารพิษ เกิดอาการ้อนวูบวาบ วิ่งไปกินน้ำ สารออกฤทธิ์ รุนแรง หนูจะตายทันที หากเดินทางรอบคันนา ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ เห็นแกลบวางเป็นหย่อม นั่นคือ จุด “ฆ่าหนูครับ”

ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทานได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการแก้มลิงพื้นที่ลุ่มต่ำเหนือจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นพื้นที่ทุ่งนาที่มีน้ำท่วมประจำเกือบทุกปี ให้สามารถใช้เป็นที่ควบคุมน้ำชั่วคราวในช่วงอุทกภัย และนำน้ำที่เก็บไว้นั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์เปรียบเสมือนลิงที่กักตุนอาหารไว้ในกระพุ้งแก้มแล้วนำมาเคี้ยวกินในภายหลังตาม “ศาสตร์พระราชา” ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เคยมีพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมว่า “ลิงโดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกเปลือกเอาเข้าปากเคี้ยว แล้วนำไปเก็บไว้ที่แก้มก่อน ลิงจะทำอย่างนี้จนกล้วยหมดหวีหรือเต็มกระพุ้งแก้ม จากนั้นจะค่อย ๆ นำออกมาเคี้ยวและกลืนกินภายหลัง”

สำหรับการศึกษาในครั้งนี้ ได้ดำเนินการภายใต้การมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้ผลสรุปว่า โครงการแก้มลิงพื้นที่ลุ่มต่ำเหนือจังหวัดนครสวรรค์ จะประกอบด้วยพื้นที่แก้มลิงย่อยทั้งหมด 69 แห่งในเขตจังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร และนครสวรรค์ ครอบคลุมพื้นที่153 ตำบล 24 อำเภอ สามารถเก็บกักน้ำไว้ชั่วคราวเพื่อรอการระบายได้ 2,049 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) โดยแบ่งเป็นทุ่งนาในเขตชลประทาน 723 ล้าน ลบ.ม. และทุ่งนานอกเขตชลประทาน 1,326 ล้าน ลบ.ม.