ภาคตะวันออก อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง

วันที่ 23 เมษายน นส.วรัทยา พรมชู นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.)เปิดเผยว่า สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน ได้ สำรวจความหลากหลายของนกในป่าชายเลนมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ถึง พ.ศ 2559 ในพื้นที่ป่าชายเลนบริเวณอ่าวไทยตัว ก ซึ่งประกอบด้วย จ.ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี พบว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 90 ชนิด พบเรื่องที่ไม่น่าสบายใจนัก เพราะปริมาณนกป่าชายเลนลดปริมาณลงเรื่อยๆ ล่าสุดนั้นพบว่า ลดลงจากเดิมที่สำรวจปี พ.ศ. 2557 ถึงร้อยละ 30

ส่วนมากบริเวณจังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด
อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส
ลมใต้ ความเร็ว 15-30 กม/ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม/ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อนในตอนกลางวัน
อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. “สาเหตุหลักของการลดปริมาณของนกป่าชายเลน เกิดจากแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารถูกรบกวน เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศที่เกิดจากภาวะโลกร้อน ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นทุกๆปี ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงของพรรณพืชและสัตว์น้ำซึ่งเป็นแหล่งอาหารของนก อีกทั้งพื้นที่ป่าชายเลน ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของนกเสื่อมโทรมลง ถูกเปลี่ยนสภาพไปเป็นอย่างอื่น เช่น ที่อยู่อาศัย โรงงานอุตสาหกรรม พื้นที่เกษตรกรรม การประมง นากุ้ง นาเกลือ ฯลฯ”นส.วรัทยา กล่าว

นส.วรัทยา กล่าวว่า นกในป่าชายเลนที่สำรวจพบทั้งหมดถูกจัดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามบัญชีแนบท้ายกฎกระทรวง เมื่อนำมาจำแนกตามบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN Red List of Threatened Species หรือ IUCN Red List หรือ Red Data List) ร่วมกับการตรวจสอบกับฐานข้อมูลชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามในประเทศไทย (Red Data of Thailand) พบว่าส่วนใหญ่จะเป็นชนิดพันธุ์ที่พบอยู่มากในปัจจุบัน จึงจัดอยู่ในระดับมีความเสี่ยงน้อย แต่มีอยู่ 10 ชนิดที่จัดอยู่ในระดับใกล้สูญพันธุ์ และบางชนิดพันธุ์ไม่พบรายงานในปี พ.ศ. 2559 การสำรวจในปี พ.ศ. 2559 ไม่พบชนิดพันธุ์ดังกล่าว คือ นกน็อตใหญ่ นกหัวโตมลายู นกกาน้ำใหญ่ นกยางจีน และเหยี่ยวดำ ส่วนชนิดที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ มี นกทะเลขาเขียวลายจุด นกกระทุง นกช้อนหอยขาว นกปากซ่อมหางดำ นกกาน้ำใหญ่ และ นกอ้ายงั่ว

นส.วรัทยา กล่าวว่า การลดลงของประชากรนกนอกจากจะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหารให้ระบบนิเวศป่าชายเลนแล้ว ยังจะส่งกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนชายฝั่งด้วย ที่เห็นได้ชัดคือ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการลดลงและการสูญพันธุ์ของนก โดยเวลานี้ ทช.ได้พยายามฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลน ให้คงสภาพธรรมชาติและมีสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศที่มีความสมบูรณ์มากที่สุด นอกจาก ปฏิบัติการทวงคืนผืนป่าชายเลนแล้ว ได้กำหนดและประกาศเขตป่าชายเลนอนุรักษ์ฯ ตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 และ เพิ่มกิจกรรมปลูกป่าชายเลนให้มากที่สุด

อาจเป็นเพราะในอดีตชุมชนกะเหรี่ยงโปร จากหมู่บ้านแก่มะกรูด อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ดำรงชีวิตแบบวิถีชาวบ้านในการทำไร่เลื่อนลอย ด้วยการปลูกข้าวโพด ข้าวไร่ และพืชชนิดอื่นๆ

ที่เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวจะเผาซังข้าวโพด ข้าวไร่ เพื่อทำลาย ก่อนจะบุกรุกถางป่าต่อไปจนทำให้อาณาบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งที่เต็มไปด้วยสัตว์ป่าและป่าไม้นานาพันธุ์ค่อยๆ ลดปริมาณลงอยู่เรื่อยๆ จนพื้นที่บางแห่งกลายเป็นเขาหัวโล้น กระทั่งแทบไม่มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่เลย

คล้ายๆ กับหมู่บ้านดอยตุง อำเภอแม่ฟ้าหลวง ในอดีต และหลายอำเภอในจังหวัดน่านในปัจจุบัน

ผลกระทบดังกล่าวไม่เพียงสร้างปัญหาให้กับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ หากยังขยายผลต่อมาถึงองค์การบริหารส่วนจังหวัดด้วย จนทำให้ทุกภาคส่วนต้องเร่งหาวิธีแก้ไข เพราะไม่เช่นนั้นปัญหาอาจลุกลามบานปลายในที่สุด ผลเช่นนี้จึงทำให้ “หม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา ดิศกุล” ประธานสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ, นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และเจ้าหน้าที่ป่าไม้ จึงเข้ามาดูสภาพจริงในพื้นที่ เพื่อพบปะพูดคุยกับชาวบ้านเพื่อหาทางเยียวยา

ทุกคนต่างประจักษ์ชัดดีว่า สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะกะเหรี่ยงโปรไม่มีเอกสารสิทธิบนที่ดินทำกินของตัวเอง พวกเขาจึงบุกรุกถางป่าไปเรื่อยๆ กอปรกับวิถีวัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยงที่ชอบทำไร่เลื่อนลอยมากกว่าการเพาะปลูกบนที่ทำกินของตัวเอง จึงทำให้เกิดการรุกพื้นที่ถางป่า

แต่เมื่อทุกฝ่ายพร้อมใจกันจัดสรรที่ดินทำกินให้กับพวกเขาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย กว่า 10,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 4 หมู่บ้าน กว่า 5,000 ครอบครัว ตามแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในเรื่องเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา จึงทำให้ปัญหาเบื้องต้นทุเลาเบาบางลง แต่กระนั้นยังมีปัญหาตามมาอีกคือจะให้พวกเขาปลูกอะไร

และอะไรเป็นความต้องการของพวกเขาจริงๆ

“ดำรงศักดิ์ โพธิ์สุวรรณ” กรรมการชุมชนสตรอเบอรี่แก่นมะกรูด อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี จึงเล่าให้ฟังว่า…ตอนนั้นประมาณปี 2556 พวกเรารู้ว่าเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิปิดทองหลังพระเป็นคนของในหลวงที่จะเข้ามาช่วย ซึ่งพวกเราก็ยินดี เพียงแต่ตอนแรกเราไม่รู้ว่าเขาจะช่วยพวกเราอย่างไร

“จนวันหนึ่งเจ้าหน้าที่เขาบอกว่า ให้พวกเราหยิบเมล็ดข้าวโพดขึ้นมากำมือหนึ่ง จากนั้นเขาตั้งกระป๋องวางไว้ กระป๋องนี้เกี่ยวกับน้ำ กระป๋องนี้เกี่ยวกับดิน และกระป๋องนี้เกี่ยวกับการเกษตร และอื่นๆ จากนั้นเขาก็ให้พวกเราถามใจตัวเองว่า สิ่งที่พวกเราต้องการอันดับแรกคืออะไร ก่อนที่จะหยิบเมล็ดข้าวโพดใส่ลงไปในกระป๋องคนละเมล็ด ปรากฏว่าเรื่องน้ำมาเป็นอันดับหนึ่งที่ชาวบ้านต้องการ ต่อจากนั้นเป็นเรื่องดิน และการเกษตร”

“พอเจ้าหน้าที่รู้ความต้องการของเรา เขาก็ให้เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิปิดทองฯ เข้ามายังพื้นที่เพื่อทำการสำรวจแหล่งน้ำกับเรา เขาเข้ามากินอยู่หลับนอนที่นี่เลย เพื่อสำรวจจนพบว่าบริเวณบนยอดเขาสูง ซึ่งเป็นที่ทำกินของครอบครัวผมสามารถทำประปาภูเขาได้ แต่ก่อนหน้านั้นเขาพาคนของเราไปดูงานที่จังหวัดน่าน เกี่ยวกับการทำฝาย เพื่อให้พวกเรานำมาต่อยอดพร้อมบอกกับชาวบ้านว่า สิ่งที่พวกเราต้องการมีความเป็นไปได้”

“ยอมรับครับว่า แรกๆ ผมไม่เชื่อ เพราะเราเป็นคนพื้นที่ อยู่ตรงนี้มานาน อีกอย่างเราเคยทดลองทำมาก่อนด้วย แต่ไม่สามารถทำได้ คุณเป็นใคร จู่ๆ จะนำน้ำขึ้นมาบนเขา ซึ่งเป็นเรื่องตลกมาก ขณะที่ชาวบ้านคนอื่นๆ ที่ขับรถผ่านไปมา เห็นก็ขำ จะเป็นไปได้เหรอ แต่ภรรยาผมกลับเชื่อ เธอเชื่อว่าทำได้ ผมจึงไปถามเจ้าหน้าที่ว่าน้ำมันขึ้นได้จริงๆ เหรอ เขาไม่ตอบ ผมเลยบอกเขาว่า พี่ต้องทำน้ำให้ขึ้นนะ ไม่งั้นผมกับภรรยาเลิกกันแน่ แล้วเจ้าหน้าที่ก็หัวเราะ”

ดังนั้น ระหว่างที่เจ้าหน้าที่ปิดทองหลังพระป่าไม้ เจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอ และจังหวัด รวมถึงชาวบ้านที่เข้ามาช่วยขุดบ่อพวง พร้อมกับเริ่มวางท่อ ไปยังฝายที่อยู่ข้างล่างตามลำดับความสูงของพื้นที่ที่ลดหลั่นกันไป เพื่อทดสอบการทำประปาภูเขา หรือประปาชุมชน

“ดำรงศักดิ์” และชาวบ้านจึงคอยลุ้นอยู่ตลอดว่าจะเป็นไปได้ไหม กระทั่งถึงวันสุดท้ายของการทดสอบจริง เขาจึงชวนภรรยาขึ้นไปดูด้วย ปรากฏว่าน้ำขึ้นมาได้จริงๆ ผมยิ้มออกเลย ดีใจมาก และภรรยาผมเขาก็ดีใจเช่นกัน

และไม่ใช่ครอบครัวของ “ดำรงศักดิ์” เท่านั้นที่ดีใจ หากชาวบ้านทุกคนที่ทราบข่าวก็พลอยดีใจไปด้วย เพราะน้ำจากบ่อพวงที่อยู่ในความรับผิดชอบของพื้นที่ทำกินของเขาช่วยเหลือชาวบ้านในเรื่องน้ำเพียงส่วนหนึ่ง แต่อาณาบริเวณความรับผิดชอบมีมากถึง 10,000 ไร่ ทำอย่างไรถึงจะให้น้ำประปาภูเขา หรือน้ำประปาชุมชนทั่วถึงทุกครัวเรือน

ตรงนี้จึงเป็นความท้าทายร่วมกัน

แต่กระนั้น เมื่อในหมู่บ้านมีแหล่งน้ำแล้ว สิ่งที่มูลนิธิปิดทองหลังพระจะต้องทำต่อไปคือการทำให้ครัวเรือนพึ่งตนเอง พวกเขาจึงทำการสำรวจสภาพพื้นที่จนพบว่าชุมชนแก่นมะกรูดอยู่สูงเหนือกว่าระดับน้ำทะเล 700 เมตร จึงน่าจะทำการเพาะปลูกพืชเมืองหนาวได้ พวกเขาจึงนำเรื่องนี้ไปปรึกษากับ “หม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา” และทางคณะกรรมการมูลนิธิปิดทองหลังพระเพื่อหาทางช่วยเหลือ ด้วยการนำพันธุ์สตรอเบอรี่มาแจกจ่ายฟรีให้กับชาวกะเหรี่ยงโปรเพื่อนำไปทดลองปลูกในปี 2557

ปี 2557 ที่มีชาวบ้านเพียง 33 ครัวเรือนเท่านั้นที่สนใจ นอกนั้นยังเคยชินกับการปลูกข้าวโพด ข้าวไร่ และพืชผักชนิดอื่นๆ อยู่ จนกระทั่งผลผลิตสตรอเบอรี่ในปีถัดมาเริ่มผลิดอกออกผล จนบางครอบครัวขายสตรอเบอรี่ถึง 40,000-50,000 บาท ต่อแปลง

ชาวบ้านที่ทราบข่าวจึงสนใจและเริ่มอยากปลูกสตรอเบอรี่บ้าง เพราะเห็นว่าสตรอเบอรี่ราคาดี จนภายหลังมีเกษตรกรเพิ่มขึ้นถึง 64 ครัวเรือน และ 90 ครัวเรือนในปัจจุบัน ที่หันมาปลูกสตรอเบอรี่ ทั้งๆ ที่บางพื้นที่แหล่งน้ำยังไปไม่ถึง

พวกเขาจึงรวมกลุ่มกันก่อตั้งกลุ่มแก่นมะกรูดโมเดลขึ้น โดยมี “วันนบ ขอสุข” เป็นประธานกลุ่มแก่นมะกรูดโมเดลเป็นคนแรก พร้อมกับชักชวนสมาชิกในกลุ่มศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ทั้งจากเจ้าหน้าที่ปิดทองหลังพระ และกลุ่มนักวิชาการเกษตรของจังหวัด รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญทางด้านต่างๆ ที่จะทำให้ชุมชนเกิดความยั่งยืนในอนาคต

“ดำรงศักดิ์” เล่าให้ฟังว่า พอสมาชิกเริ่มสนใจกันมากขึ้น พวกเราจึงมาระดมสมองกัน เพื่อต้องการสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน ด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาเป็นแนวทางปฏิบัติ โดยเฉพาะในเรื่องของชุมชนพึ่งตนเอง

“เราจึงนำสายพันธุ์สตรอเบอรี่ที่หน่วยงานต่างๆ เคยแจกฟรีให้เรา ไม่ว่าจะเป็นทางมูลนิธิปิดทองฯ เกษตรจังหวัด เปลี่ยนมาเป็นเก็บเงินสมาชิกครึ่งหนึ่ง เพื่อว่าอนาคตเขาอาจนำสายพันธุ์สตรอเบอรี่ไปให้กับชุมชนอื่นๆ บ้าง เราจะได้มีเงินซื้อพันธุ์สตรอเบอรี่เอง พูดง่ายๆ เราทำตามแนวทางของพระองค์ เพื่อให้ชาวบ้านรู้จักพึ่งพาตนเองด้วย ไม่ใช่เอาแต่ของฟรีอย่างเดียว จนทำให้ปีแรก เราจึงเก็บเงินได้ประมาณ 2 แสนกว่าบาท”

“โดยเงิน 2 แสนกว่าบาทเป็นทุนตั้งต้นสำหรับอนาคตข้างหน้า หากสมาชิกเดือดร้อนอะไร หรืออยากจะขยายแปลงเพาะปลูกสตรอเบอรี่ หรืออื่นๆ ถ้าขาดเงินสามารถมาขอกู้เงินจากกลุ่มชุมชนได้ จนที่สุดเมื่อย่างก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 ราวปี 2558 และ 2559 ต่อมาในปีที่ 4 เราจึงหันมามองเรื่องการท่องเที่ยวเชิงการเกษตรมากขึ้น เพื่อเชิญชวนนักท่องเที่ยวให้ขึ้นมาเที่ยวแก่นมะกรูด เพราะนอกจากอากาศจะเย็นสบายตลอดปี ยังมีทิวทัศน์ที่สวยงามอีกด้วย”

“ที่สำคัญ ชาวบ้านในชุมชนต่างช่วยกันสร้างจุดขายต่างๆ ด้วยการทำแปลงดอกไม้เมืองหนาวต่างๆ อาทิ ดอกลิลลี่, ดอกทิวลิป, ดอกแกลดิโอลัส, ดอกเบญจมาศ และต้นคริสต์มาส เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่แวะมาเที่ยวได้ถ่ายรูปแล้วแชร์ลงเฟซบุ๊ก, ไลน์ และอินสตาแกรม ขณะเดียวกันชาวบ้านก็ปลูกแปลงกะหล่ำปลีหลากสี และแปลงสตรอเบอรี่อันเป็นพระเอก นางเอกของที่นี่ เพราะนอกจากนักท่องเที่ยวจะได้ลงแปลงสตรอเบอรี่เพื่อเด็ด และชิมสดๆ ยังจะได้ถ่ายรูปและซื้อเป็นของฝากอีกด้วย เพราะสตรอเบอรี่ที่นี่รสชาติหวาน อร่อย หรือถ้าใครอยากจิบกาแฟร้อนๆ ที่นี่ก็มีร้านกาแฟชุมชนคอยให้บริการกับนักท่องเที่ยวจนกลายเป็นรายได้อีกทางหนึ่ง”

สิ่งต่างๆ เหล่านี้ค่อยๆ เกิดขึ้น และค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาจากศูนย์ จนทำให้ทุกวันนี้กลุ่มแก่นมะกรูดโมเดลไม่เพียงเป็นชุมชนที่เลี้ยงตัวเองได้อย่างมั่นคง หากยังขยายความมั่นคงไปสู่ความยั่งยืน ด้วยการพัฒนาเป็นธุรกิจโฮมสเตย์และธุรกิจท่องเที่ยว จนทำให้มีนักท่องเที่ยวจากที่ต่างๆ มาพักลานกลางเต๊นท์กันเป็นจำนวนมาก

ทั้งยังทำให้ชุมชนแก่นมะกรูดกลายเป็นความภูมิใจของคนจังหวัดอุทัยธานีจนทุกวันนี้

ทุกวันที่เริ่มต้นจากคำว่าไม่มีอะไร

แต่ในวันนี้กลับประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เพราะเกิดจากการพึ่งตนเอง พออยู่พอกิน และความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจต่อกัน จึงนำมาสู่การทำงานอย่างมีความสุขนั่นเอง ไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังต้องประสบปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ มิหนำซ้ำยังต้องต่อสู้กับราคาวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในงานเกษตรที่สูงจนสู้ไม่ไหว ด้วยเหตุผลเหล่านี้จึงหาวิธีลดต้นทุนให้กับเกษตรกรให้ได้มากที่สุดตามไปเสาะหาอุปกรณ์ที่ช่วยประหยัดเวลา และต้นทุนการผลิต ที่จะใช้งานได้ดีกับการสร้างโรงเรือน ทำเรือนเพาะชำ ซึ่งอุปกรณ์ตัวนี้เหมาะมากสำหรับเกษตรกรที่ต้องการสร้างโรงเรือน แต่งบน้อยเป็นอย่างมาก

ครีมเจาะพับ เหมาะกับงานเกษตรบางอย่างที่ต้องมีโรงเรือน หรือโรงเพาะชำ โดยคีมเจาะพับสามรถยึดผนังเบาและโครงฝ้าเพดาน ได้โดยไม่ต้องใช้สกรู หรือ Rivet ช่วยประหยัดทั้งวัสดุและเวลา ใช้งานง่าย สะดวก รวดเร็ว พับโครงสร้างรอยต่อให้ติดยึดกันเสริมความแข็งแรงมากขึ้นวัสดุส่วนแหลมที่ทำหน้าที่เจาะทำมาจากคาร์ไบท์ เพราะฉะนั้นการใช้ครีมเจาะพับในการทำงานสามารถทำงานได้โดยไม่ต้องใช้น็อตสกรูในการเจาะยึด คือแค่หนีบเข้าไปชิ้นส่วนของงานจะติดเป็นชิ้นเดียวกัน เพราะจะเกิดการม้วนพับข้างใน บางพื้นที่ไม่สามารถที่จะเอาไฟฟ้าเข้าไปได้ เรามีครีมเจาะพับตัวนี้ กับกรรไกรหนึ่งตัวก็สามารถสร้างโรงเรือนได้โดยที่ไม่ต้องพึ่งไฟฟ้า ส่วนเรื่องความแข็งแรง ตัวนี้มีความแข็งแรงมาก นอกจากงานนี้แล้วยังทำฝ้าเบา ทำโครงพนัง เครื่องนี้เหมาะกับโครงผนังเบา ไม่มีปัญหาสำหรับทำโรงเรือนใหญ่ๆ ในต่างประเทศเคยใช้ตัวนี้ในการทำบ้านน็อคดาวน์มาแล้ว ก็สามารถทานกระแสลมได้ อาศัยได้ตามปกติ

ที่สำคัญราคาไม่ไกลเกินเอื้อมสำหรับเกษตรกรงบน้อย เครื่องเจาะพับตัวนี้ราคาเพียง 790 บาท หาซื้อได้ที่เมกกาโฮม ตอนนี้ไปไหนมาไหนมักจะได้ยินเสียงบ่นเรื่องอากาศร้อนอบอ้าว เพราะในแต่ละปีในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนเมษายน มักจะเป็นช่วงที่มีอากาศร้อนที่สุดในรอบปี

ในปีนี้ก็เช่นกัน จนถึงขณะนี้ เริ่มมีคนออกมาสงสัยกันแล้วว่า อากาศร้อนจัดช่วงนี้ ร้อนผิดปกติ จนอาจส่งผลให้ปี 2560 กลายเป็นปีที่ประเทศไทยทำลายสถิติอุณหภูมิสูงสุดก็เป็นได้หรือไม่ มูลเหตุที่ทำให้เชื่อได้ว่าในปีนี้อาจเป็นปีที่ร้อนที่สุด เนื่องจากในปี 2559 ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ทำลายสถิติอุณหภูมิสูงที่สุดในรอบ 50 ปี หรือตั้งแต่เคยบันทึกสถิติกันมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2559 ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ด้วยอุณหภูมิ 44.6 องศาเซลเซียส

รวมถึงในปี 2560 ในขณะนี้เองหลายพื้นที่เริ่มมีอุณหภูมิทะลุ 40 องศาเซลเซียส กันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ท้ายสุดสภาพอากาศร้อนจัดของปีนี้จะสามารถทำลายสถิติในปีที่ผ่านมาได้หรือไม่ มีความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านการพยากรณ์อากาศให้คำอธิบาย

นายวันชัย ศักดิ์อุดมไชย อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาอาจจะมีกระแสข่าวลือ หรือข้อความส่งต่อผ่านทางโซเชียลมีเดียจำนวนมากว่าในปี 2560 นี้ อากาศของประเทศไทยจะทำลายสถิติอุณหภูมิที่สูงสุด รวมทั้งข้อมูลจากบางแห่งยังระบุลงไปว่าอากาศอาจร้อนทะลุ 47 องศาเซลเซียส ในข้อเท็จจริงแล้วจากการประเมินของกรมอุตุฯ ในปี 2560 อุณหภูมิสูงสุดจะอยู่ที่ราว 43 องศาเซลเซียสเท่านั้น อากาศวันที่ร้อนที่สุดยังไม่สามารถเกิดขึ้นแน่ชัดได้ แต่จะมาในช่วงปลายเดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคม ในบริเวณภาคเหนือ และกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน

นายวันชัยกล่าวว่า ส่วนโอกาสที่จะไม่ทำให้ปี 2560 เป็นปีที่มีอากาศร้อนที่สุด เนื่องจากในปีนี้ไม่ได้เป็นปีที่เกิดปรากฏการณ์เอลนิโญ จะทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นโดยเฉลี่ยพร้อมกันทั่วโลก ต่างจากในปี 2559 ถือว่าเป็นปีที่ได้รับอิทธิพลปรากฏการณ์เอลนิโญโดยตรง และมีปัญหาภัยแล้ง จึงส่งผลให้ประเทศไทยสามารถทำลายสถิติอากาศร้อนที่สุดในรอบ 50 ปี โดยวัดอุณหภูมิสูงสุดได้ที่ 44.6 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2559 ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน นอกจากนี้ช่วงก่อนหน้านี้มีพายุฤดูร้อน ส่งผลให้มีฝนตกในช่วงประเทศไทยตอนบน ก็กลายมาเป็นอีกหนึ่งปัจจัยไม่ทำให้อากาศร้อนมากไปกว่านี้

เรื่องข้อความหรือข่าวลือที่บอกว่าปีนี้จะร้อนที่สุด ในข้อเท็จจริงแล้วทางกรมอุตุฯเองก็พบว่าเรื่องเหล่านี้มักมีคนพยายามตัดต่อเนื้อหา ข้อความ หรือรูปภาพต่างๆ ไปเผยแพร่อยู่เสมอ ฉะนั้นจึงอยากขอให้ประชาชนเมื่อพบเจอกับข้อความดังกล่าวเหล่านี้แล้ว อย่าตระหนกตกใจ แต่ขอให้ดูข้อมูลข่าวสารจากแหล่งที่เชื่อถือได้ หรือติดตามข่าวสารจากกรมอุตุฯโดยตรงจะดีกว่าŽ นายวันชัยกล่าว

นายวันชัยกล่าวว่า สำหรับในช่วงสัปดาห์นี้ไปจนถึงสัปดาห์หน้าที่เป็นช่วงมีโอกาสอากาศจะร้อนที่สุดในรอบปี กรมอุตุฯจึงอยากให้คำแนะนำประชาชนในการรับมือเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพจากอากาศที่ร้อนจัด คือ การเป็นลมแดด หรือ โรคฮีตสโตรก ฉะนั้นในช่วงนี้จึงอยากขอให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งกลางแดดในเวลากลางวันเป็นเวลานาน หรือหากจำเป็นต้องอยู่กลางแดดจริง ขอให้เตรียมอุปกรณ์ป้องกัน อาทิ ร่ม หรือหมวก รวมทั้งให้จิบน้ำบ่อยๆ เพื่อสร้างความชุ่มชื้นแก่ร่างกาย

ด้าน นายรอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เปิดเผยว่า ในช่วงปลายเดือนเมษายน สภาพอากาศของประเทศไทยยังคงมีอากาศร้อนจัดในบางพื้นที่ เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนยังแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทย โดยปกติจะมีอุณหภูมิอยู่ที่ 40-41 องศาเซลเซียส หากถามว่าช่วงไหนคาดการณ์ว่าจะเกิดสภาพอากาศร้อนที่สุด พบว่าปกติจะเป็นช่วงที่ดวงอาทิตย์จะโคจรอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากของประเทศไทย ซึ่งในปีนี้จะเริ่มจากใต้สุดของประเทศไทยที่ อ.เบตง จ.ยะลา ในวันที่ 5 เมษายน เวลา 12.19 น.ที่ผ่านมา ต่อมา

ดวงอาทิตย์จะโคจรมาอยู่ในแนวตั้งฉากกับพื้นที่ภาคเหนือขึ้นมาเรื่อยๆ หลังจากนั้นในวันที่ 27 เมษายน เวลาประมาณ 12.16 น. ดวงอาทิตย์จะโครจรมาอยู่ในแนวตั้งฉากของกรุงเทพมหานคร จนกระทั่งวันที่ 19 พฤษภาคม เวลาประมาณ 12.17 น.ดวงอาทิตย์จะตั้งฉากในทางตอนเหนือสุดของประเทศไทยที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย หากอุณหภูมิจะร้อนหรือไม่นั้น ต้องประกอบกับองค์ประกอบของความกดอากาศต่ำ อิทธิพลจากมรสุมที่จะเข้ามายังประเทศไทยก็จะทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นจากปกติประมาณ 44-45 องศาเซลเซียส จากการตรวจสอบในเบื้องต้นแล้วพบว่าช่วงปลายเดือนนี้อากาศยังไม่น่าสูงไปมากกว่า 40-41 องศาเซลเซียส

ส่วนประเทศไทยจะเจอกับอากาศร้อนยาวนานเป็นระยะเวลาเท่าไร ความจริงช่วงนี้ถือเป็นอุณหภูมิร้อนปกติก่อนจะเข้าฤดูฝน ในปีนี้ฤดูฝนก็จะมาเร็วคือในเดือนพฤษภาคมนี้ก็คาดการณ์ว่าประเทศไทยจะได้สัมผัสกับบรรยากาศฝนตกแล้ว

”แม้ในพื้นที่กรุงเทพฯ ประชาชนจะรู้สึกว่าอากาศร้อนจัด healthsecrets.net ขณะที่ในทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานอากาศไม่ได้ร้อนมากนัก เนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาทางภาคอีสานพบว่ามีพายุฤดูร้อนเข้าไปปกคลุมหลายพื้นที่ เกิดอากาศแปรปรวน ฝนตก จึงช่วยบรรเทาอากาศร้อน ประชาชนสัมผัสได้ถึงอากาศเย็นหลังฝนตก อย่างไรก็ตาม ในช่วงวันที่ 24-25 เมษายน ก็คาดการณ์ว่าประเทศไทยจะมีความกดอากาศสูงเข้ามาอีกระลอกอาจทำให้เกิดพายุฤดูร้อนอีกŽ” นายรอยลกล่าว

วันที่ 24 เมษายน จากสภาพอากาศที่ร้อนพร้อมกับเกิดฝนตกในพื้นที่ ทำให้เกิดสภาพที่ร้อนชื้นและเขียวชอุ่มของพืชพรรณจนเป็นสีสันของหน้าร้อน และอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดความงามคือ บรรดาผีเสื้อหลากพันธุ์หลายสีออกมาโบยบิน โดยที่บริเวณแก่งวังวน เหนือเขื่อนลำแชะ ต.โคกกระชาย อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา ซึ่งถือเป็นแหล่งต้นน้ำมูลตอนบน เป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน ซึ่งมีความงดงามเหมาะสำหรับการเดินทางไปพักผ่อนและแช่น้ำใสไหลเย็นเพื่อคลายร้อนอย่างมากในช่วงนี้ พร้อมกับได้ชมบรรดาผีเสื้อหลากหลายสายพันธุ์ออกมาโบยบินอวดสีสันเพิ่มความสวยงามให้กับพื้นที่บริเวณดังกล่าว

สำหรับผีเสื้อบริเวณดังกล่าวทางคณะวิจัยจากอุทยาน ผีเสื้อเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้ลงพื้นที่เข้ามาทำการสำรวจและระบุสายพันธุ์ผีเสื้อในพื้นที่บริเวณนั้นและพบว่าอย่างน้อยมีผีเสื้อมากถึง 18 ชนิด ซึ่งความหลากหลายของผีเสื้อที่พบนี้ บ่งชี้ให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่าในเขตอุทยานแห่งชาติทับลานได้เป็นอย่างดี ซึ่งการเดินทางเข้าไปเที่ยวชมความสวยงามนั้น สามารถเดินทางเข้าไปทางเรือ โดยจะมีชาวบ้านให้บริการนักท่องเที่ยวอยู่ที่ท่าเรือบ้านมาบกราด ต.โคกกระชาย อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา ในราคาวันละประมาณ 600-1,200 บาท แล้วแต่ขนาดการบรรทุก ซึ่งจะสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ประมาณ 7-14 คนต่อลำ หากผู้ใดสนใจที่จะเดินทางไปท่องเที่ยว แนะนำให้เดินทางไปถึงท่าเรือตั้งแต่ช่วงเช้าเนื่องจากในช่วงสายแดดจะแรงมาก เพาะต้องล่องเรือข้ามเขื่อนลำแชะประมาณ 45 นาที ก่อนที่จะถึงจุดหมาย

ขณะที่ อุทยานแห่งชาติปางสีดา ต.ท่าแยก อ.เมืองสระแก้ว จ.สระแก้ว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ที่มีน้ำตกที่สวยงามอย่างน้ำตกปางสีดา เป็นสถานที่นักท่องเที่ยวนิยมพาบุตรหลานมาชมความงามและลงเล่นน้ำตกอยู่ท่ามกลางป่าไม้เขียวชอุ่มตลอดปี ยังมีผีเสื้อหลากหลายชนิด กว่า 400 สายพันธุ์ บินว่อนออกหากินตามป่า โป่งธรรมชาติ และโป่งที่เจ้าหน้าที่สร้างขึ้น ไม่น้อยกว่า 10 แห่ง เพื่อเป็นแหล่งให้ผีเสื้อบินลงมาหาดูดแร่ธาตุอาหารที่ผีเสื้อชื่นชอบ และผีเสื้อจะลงมาดูดกินโป่งนับแสน นับล้านตัว สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับนักท่องเที่ยว และนักอนุรักษ์อย่างยิ่ง โดยผีเสื้อจะอยู่เป็นกลุ่มๆ ในอุทยานแห่งชาติปางสีดา ตลอดเส้นทางกว่า 20 กิโลเมตร

นายพนัชกร โพธิบัณฑิต หัวหน้าอุทยานแห่งชาติปางสีดา กล่าวว่า ผีเสื้อปางสีดา เริ่มออกหากินแล้ว เนื่องจากปีนี้ได้เกิดฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้นไม่ผลิใบอ่อน ในขณะเดียวกัน ใบอ่อนของพืชเป็นอาหารของตัวหนอนผีเสื้อ ทำให้ผีเสื้อมีจำนวนมากและเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ขณะนี้ผีเสื้อที่เริ่มออกมาแล้ว ไม่ต่ำกว่า 100 สายพันธุ์ เช่น หางติ่ง จรกา ช่างร่อน สีอิฐ หนอนใบรัก หนอนคูน เป็นต้น และในปีนี้คาดว่ามีผีเสื้อมากกว่าทุกปี สังเกตจาก ผีเสื้อจำนวนมากออกจากป่ามาหากินตามโป่งต่างๆ จำนวนนับแสนตัว ตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน 2560 ซึ่งในปีก่อนๆ ผีเสื้อจะออกมาในช่วงเดือนมิถุนายน -กรกฎาคม

นายพนัชกรกล่าวอีกว่า ผีเสื้อจะออกหากินในช่วงเวลา 09.00-11.00 น. และในวันที่ท้องฟ้าเปิด มีแสงแดด ไม่มีเมฆฝน หากต้องการดูผีเสื้อเกาะอยู่ตามต้นไม้และสามารถเข้าใกล้ได้จะดูในช่วงเช้า ผีเสื้อจะกางปีกผึ่งแดด ก่อนจะบินออกไปหากิน สำหรับปี 2560 จะจัดกิจกรรมดูผีเสื้อในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ในขณะเดียวกันจะสร้างโป่งสำหรับให้ผีเสื้อลงมาดูดกิน เพิ่มจำนวนมากขึ้นตลอดเส้นทางการดูผีเสื้อ เพื่อความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว โดยไม่ต้องแย่งกันชมผีเสื้อเพียงจุดเดียว ส่วนโป่งผีเสื้อที่อยู่ลึกเข้าไปในป่า จะเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจดูและศึกษาธรรมชาติของผีเสื้อจริงๆ ซึ่งการเดินทางเข้าไปจะมีความยากลำบากมาก

“การจัดกิจกรรมดูผีเสื้อประจำปี 2560 ได้รับความร่วมมือจากสมาคมรักษ์ปางสีดา อุทยานแห่งชาติปางสีดา องค์การบริหารส่วนตำบลท่าแยก กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประชาชนในท้องที่และท่องเที่ยวจังหวัดสระแก้ว โดยได้จัดกิจกกรรมดูผีเสื้อในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2560 หากนักท่องเที่ยวและผู้ที่ต้องการดูผีเสื้อสามารถดูได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เนื่องจากปีนี้ เกิดฝนตกมาอย่างต่อเนื่อง ก่อนฤดูกาล ทำให้ผีเสื้อฟักตัวบินออกหากินเร็วกว่าปกติ ” นายพนัชกรกล่าว