ภายในคณิตฟาร์ม พื้นที่ประมาณ 8 ไร่ กิจกรรม ได้แก่ไก่ในโรงเรือน

เป็นการเลี้ยงไก่ไข่ เพื่อสร้างแหล่งอาหารไว้บริโภคในครัวเรือนและขายเป็นรายได้หลักรายวัน สามารถนำขี้ไก่มาใส่เป็นปุ๋ยกับพืชผักในสวน ตากแห้งขายเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง ที่น่าสนใจอีกกิจกรรมหนึ่ง คือได้นำเอาอุปกรณ์ทันสมัยยุคไอทีผ่านระบบโทรศัพท์มือถือมาใช้ตรวจเช็กจำนวนไข่ไก่ต่อตัวต่อวัน การให้น้ำและอาหารอัตโนมัติ โดยการสนับสนุนคำแนะนำ ติดตั้งอุปกรณ์จากนักวิชาการ ตามโครงการสมาร์ทฟาร์ม สมาร์ทโฟน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่

เลี้ยงหมูแม่พันธุ์แบบยกพื้น เพื่อเป็นการกระจายลูกหมูพันธุ์ดีในชุมชนและตำบลใกล้เคียง เลี้ยงแม่พันธุ์หมูจำนวนให้พอเหมาะกับสมาชิกและสถานการณ์ตลาด การเลี้ยงยกพื้นสูงทำให้การปฏิบัติดูแลรักษาสะดวก ปลอดภัยต่อสัตว์ร้าย รักษาความสะอาดได้ง่าย แม่หมูมีอายุการอุ้มท้อง 114 วัน ระยะให้นม 30 วัน ระยะอนุบาลอีก 15 วัน จึงจับส่งให้สมาชิกนำไปเลี้ยงต่อ จำหน่ายตัวละ 1,500 บาท เป็นการเลี้ยงเสมือนกับกระปุกออมสิน สะสมการให้อาหาร การจัดการ เมื่อขายลูกหมูจึงทำให้มีรายได้เป็นก้อนใหญ่ สร้างบ่อบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงบ่อปลา

ขุดบ่อปลา เป็นบ่อขุดที่มีขนาด 100×100 เมตร เพื่อใช้เก็บกักน้ำไว้ใช้ในยามขาดแคลน ปล่อยปลาลงเลี้ยงตามฤดูกาลและตามความต้องการของตลาด เช่น ปลาหมอเทศ ปละตะเพียน ปลาดุก ขอบบ่อจะปลูกหญ้าแฝกป้องกันการพังทลายของดิน

ปลูกพืชผัก ปลูกพืชผักสวนครัวบริเวณรอบบ่อปลา เลือกปลูกประเภทไม้ยืนต้น เช่น ชะอม มะเขือเปราะ มะเขือพวง พริก ข่า ตะไคร้ เป็นการปลูกครั้งเดียวแต่เก็บผลผลิตได้ตลอดไป ไม่ต้องเตรียมแปลงบ่อยครั้ง การดูแลรักษาง่าย เก็บกินและเก็บขายได้ บริเวณริมรั้วก็สามารถปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น เช่น มะม่วง มะยม พุทรา มะกอก มะละกอ กล้วย มะพร้าวน้ำหอม เพื่อเก็บผลกินได้ตามฤดูกาล ภายในแปลงผักจะใช้ปุ๋ยน้ำหมัก ปุ๋ยอินทรีย์

ปลูกหญ้าแพงโกล่า ใช้พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกหญ้าแพงโกล่าเพื่อขาย โดยร่วมกับวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตอาหารสัตว์ ขายให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงม้า ช้าง วัว ควาย แพะ แกะ เก้ง กวาง เป็นสมาชิกเครือข่ายผู้ปลูกหญ้าภาคเหนือ เพื่อเชื่อมโยงการตลาด การผลิต สร้างความมั่นคงด้านอาชีพ เนื่องจากปลูกเพียงครั้งเดียวสามารถเก็บเกี่ยวได้หลายปี ตัดขายได้ทุก 45 วัน ได้ผลผลิตหญ้าสด 2,500-3,000 กิโลกรัม กิโลกรัมละ 2 บาท ส่วนหญ้าแห้งจะได้ 800-1,000 กิโลกรัม กิโลกรัมละ 6 บาท ต่อไร่ เฉลี่ยแล้วในรอบ 1 ปี ตัดหญ้าแพงโกล่าขายได้ 6 ครั้ง

ไผ่กิมซุ่ง พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกไผ่กิมซุง จำนวน 80 ต้น ไผ่ชนิดนี้ให้ผลผลิตเร็ว หลังจากปลูกได้ 8 เดือน ให้ผลผลิตตลอดทั้งปี ไม่พักตัวในฤดูหนาว รสชาติหวานกรอบ เนื้อไม่มีเสี้ยน สามารถบังคับให้ออกหน่อนอกฤดูได้ ทำให้ขายได้ราคาดีกว่าฤดูฝน ขายได้ทั้งหน่อไม้และหน่อไม้แปรรูป เป็นรายได้ตลอดทั้งปี

การปลูกข้าว พื้นที่ 2 ไร่กว่า ใช้ปลูกข้าวเพื่อการบริโภค บางส่วนที่เหลือเก็บไว้ในยุ้งฉางเพื่อการจำหน่าย โดยใช้ข้าวหอมมะลิ 105 ได้ผลผลิต 650 กิโลกรัม ต่อไร่

ชัยนาท เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่สามารถทำการเกษตรได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นพืชไร่ เช่น อ้อย นาข้าว รวมทั้งมีการทำสวนไม้ผลที่เป็นเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดอีกด้วย คือ ส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวา ซึ่งมีลักษณะพิเศษคือ ผลกลม ผิวเรียบ เปลือกบาง รสหวานอมเปรี้ยวนิดๆ ไม่มีรสขม จึงทำให้ผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาด สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในจังหวัดชัยนาทไม่น้อยเลยทีเดียว

คุณอำนวย คุ้มชนะ อยู่บ้านเลขที่ 6 หมู่ที่ 8 ตำบลหาดท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท เป็นเกษตรกรที่ปลูกส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวามาหลายทศวรรษ หรือเรียกง่ายๆ ว่า เป็นผู้คร่ำหวอดในการปลูกส้มโอสายพันธุ์นี้ก็ว่าได้ ซึ่งที่สวนของเขาขายทั้งผลผลิตและกิ่งพันธุ์ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเขาได้เป็นอย่างดี

ปลูกส้มโอขวาแตงกวา มากว่า 30 ปี

คุณอำนวย เล่าให้ฟังว่า เริ่มปลูกสมโอ้มาตั้งแต่ปี 2529 โดยสมัยก่อนที่จะเริ่มมาทำสวนส้มโอได้ทำนามาก่อน ซึ่งเห็นจากราคาข้าวที่ขายได้ในแต่ละปียังไม่ได้ราคาดีเท่าที่ควร ได้เกิดแนวคิดที่อยากจะปรับเปลี่ยนทำเกษตรอย่างอื่น จึงได้เริ่มมาทำสวนในเวลาต่อมา โดยค่อยๆ ปรับจากพื้นที่นาบางส่วนมาแบ่งเป็นพื้นที่ทำสวนสลับกับปลูกพืชแซมอื่นๆ ตามไปด้วย

“ตอนมาเริ่มทำสวนใหม่ๆ เริ่มแบ่งพื้นที่มาทำสวน ประมาณ 5 ไร่ ซึ่งช่วงที่เรารอให้ส้มโอเจริญเติบโตให้ผลผลิตได้ เราก็ปลูกพืชอื่นแซมไปด้วย เช่น พริก มะเขือ ดอกไม้ เพื่อสร้างรายได้ระยะสั้น พอส้มโอออกผลผลิตให้เก็บขายได้ เราก็มองว่าการทำสวนสามารถสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวได้ จากนั้นก็ค่อยๆ ขยายพื้นที่ทำเรื่อยๆ จนตอนนี้ทำสวนส้มโออยู่ประมาณ 60 ไร่” คุณอำนวย เล่าถึงที่มา

ส้มโอขาวแตงกวา ให้ผลผลิตมากกว่า 100 ผล

การปลูกส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวาให้ได้ผลผลิตที่ดี คุณอำนวย บอกว่า จะปลูกให้ส้มโอมีระยะห่างกันประมาณ 6 เมตร 3 วา โดยพื้นที่ 1 ไร่ จะสามารถปลูกส้มโอได้ประมาณ 36 ต้น ต่อไร่ ซึ่งส้มโอจะให้ผลผลิตต่อต้น ประมาณ 100 ผล ขึ้นไป น้ำหนักเฉลี่ยต่อผล ประมาณ 1.5 กิโลกรัม

โดยในขั้นตอนของวิธีการปลูกจะขุดหลุมปลูกให้มีความลึก ประมาณ 50 เซนติเมตร นำปุ๋ยหมักผสมกับปุ๋ยคอกเข้าด้วยกันมาโรยให้ทั่วก้นหลุม จากนั้นนำกิ่งพันธุ์มาปลูกใส่ในหลุมที่เตรียมไว้ รดน้ำดูแลตามปกติ ปล่อยให้ต้นเจริญเติบโตอีกประมาณ 2-3 ปี ก็จะพร้อมให้ผลผลิตได้

“การปลูกส้มโอ ถ้าเราปลูกในปริมาณที่มาก ควรจะเลือกปลูกในช่วงฤดูฝน สำหรับพื้นที่ที่มีน้ำอย่างจำกัด เพราะจะทำให้ต้นได้รับน้ำอย่างเต็มที่และเจริญเติบโตได้ดี ส่วนพื้นที่ไหนที่มีน้ำเพียงพอ บริหารจัดการน้ำได้ดี ก็สามารถปลูกได้ทุกช่วงฤดูกาล ซึ่งส้มโอก็จะให้ผลผลิตตั้งแต่ปีที่ 3 เป็นต้นไป ในช่วงนี้ผลผลิตยังออกไม่มาก แต่เมื่อไรที่เข้าสู่ปีที่ 6 เป็นต้นไปผลผลิตก็จะมากกว่า 100 ผล แน่นอน” คุณอำนวย บอก

โดยภายในสวนส้มโอของคุณอำนวยจะเน้นให้น้ำด้วยระบบสปริงเกลอร์ ช่วงที่ต้องให้น้ำบ่อยที่สุดจะเป็นช่วงฤดูร้อน เพราะส้มโอจะต้องการน้ำในการเจริญเติบโตสำหรับต้นที่ปลูกใหม่ ส่วนการให้ปุ๋ยเพื่อบำรุงต้น จะให้ปุ๋ย สูตร 8-24-24 หรือ สูตร 16-16-16 ใส่ต้นละประมาณ 2 กิโลกรัม โดยให้ปุ๋ยทุก 45 วันครั้ง

ส้มโอต้นที่พร้อมให้ผลผลิต คุณอำนวย บอกว่า จะต้องดูแลตั้งแต่ออกดอกจนถึงผลแก่เก็บขายได้ ใช้เวลาประมาณ 7 เดือนครึ่ง โดยจะดูแลเป็นพิเศษในระยะนี้ ซึ่งแมลงที่ต้องดูแลป้องกันเป็นพิเศษจะเป็นพวกเพลี้ยไฟและหนอนชอนใบ โดยจะหมั่นสำรวจดูภายในสวนตลอดเวลา จากนั้นฉีดพ่นยาเพื่อป้องกัน

“การปลูกส้มโอถ้าเราดูแลรักษาใบได้ ไม่ได้มีโรคหรือแมลงมาทำลาย ใบมีความสมบูรณ์ก็จะทำให้ผลผลิตออกมาได้ดี เพราะใบเปรียบเสมือนห้องครัวที่ปรุงอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ดังนั้น ถ้าใบมีความแข็งแรงสมบูรณ์ก็จะทำให้ผลผลิตออกมาดี ขอให้การปลูกควบคุมเรื่องโรคและแมลงให้ได้อย่างเดียว ก็จะทำให้คุณภาพต้นดี ต้นเมื่อสมบูรณ์ก็จะผลิตผลส้มโอมาให้เราได้เรื่อยๆ สามารถขายของที่มีคุณภาพได้ตลอด” คุณอำนวย บอก

รสชาติดี หวานอร่อย ตลาดมีความต้องการ

ในเรื่องของตลาดขายส้มโอนั้น คุณอำนวย บอกว่า ตลอดระยะเวลาที่ทำสวนและขายมากว่า 30 ปี ราคาถือว่ายังไม่ตกอย่างมากก็อยู่ที่ราคาเท่าเดิม แต่ถ้าช่วงไหนสินค้าขายดีราคาก็จะขึ้นไปบ้างเล็กน้อย โดยเริ่มแรกที่ทำสวนใหม่ๆ ราคาขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 20 บาท จากนั้นราคาก็ขยับขึ้นมาเรื่อยๆ จนปัจจุบันนี้ราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 60 บาท

“ราคาขายตั้งแต่ทำมาก็ยังไม่มีว่าจะลดลง ราคาอย่างมากก็เท่าเดิม อย่างปีที่แล้วสามารถขายได้ถึงกิโลละ 90 บาท ด้วยระยะเวลาที่เราทำการตลาดมานาน ทำให้เวลานี้ เราไม่ต้องไปส่งขายที่ไหนก็จะมีพ่อค้าแม่ค้ามารับซื้อเราถึงสวน เขาก็จะเช็กกับสวนเราเป็นระยะว่ามีผลผลิตไหม เราก็จะแบ่งขายให้กับลูกค้าเฉลี่ยกันไปทุกคน เพื่อให้ลูกค้ามีของขายไม่ขาดตอน” คุณอำนวย บอกถึงเรื่องตลาด

ซึ่งส้มโอที่ปลูกทั้งหมด 60 ไร่ ของคุณอำนวยสามารถให้ผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 100 ตัน ต่อปี กันเลยทีเดียว สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะปลูกส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวาเป็นอาชีพ คุณอำนวย แนะนำว่า ต้องศึกษาเรื่องระบบพื้นที่ให้ละเอียดว่าสภาพพื้นที่ที่จะปลูกนั้นแฉะน้ำมากไหม เป็นพื้นที่ลุ่มหรือที่ดอน จะได้วางแผนการทำแปลงได้ถูกต้อง และอีกสิ่งที่สำคัญคือ ต้องมีใจรักที่จะดูแล เพราะส้มโอต้องหมั่นตรวจสอบดูการเจริญเติบโต โดยเฉพาะเรื่องโรคและแมลงมีความสำคัญ ดังนั้น ถ้ามีใจรักที่จะปลูกส้มโอขาวแตงกวาก็ไม่ใช่เรื่องยาก สามารถประสบผลสำเร็จอย่างแน่นอน

สมัยก่อน หากใครเดินทางลงไปทางภาคใต้ ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี จะเห็นพื้นที่นาเกลือดูกว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตา การทำนาเกลือทะเลแบบโบราณนิยมใช้เครื่องกังหันลมผันน้ำเข้านา ระยะหลังลมฟ้าอากาศไม่สม่ำเสมอ การใช้กังหันลมแบบเดิมไม่ได้ผลเท่าที่ควร จึงเปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์ช่วยสูบน้ำเข้านาเกลือแทน

แม้เครื่องจักรประเภทลูกกลิ้ง-เครื่องยนต์ จะกลายเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยทุ่นแรงในการผลิตเกลือทะเล แต่เกษตรกรนาเกลือส่วนใหญ่ยังคงอนุรักษ์กรรมวิธีการผลิตเกลือทะเลแบบโบราณไว้อย่างครบถ้วน โดยปล่อยน้ำทะเลใส่ในแปลงนา แล้วปล่อยให้น้ำระเหยจนกลายเป็นเม็ดเกลือในที่สุด

การผลิตเกลือทะเล

ขั้นตอนที่ 1 ของการทำนาเกลือ เริ่มจากปรับพื้นที่นาเกลือ ขูดขี้แดดนาเกลือ ซึ่งเป็นแผ่นตกสะเก็ดอยู่ที่พื้นผิวดินอันนาเกลือ ซึ่งพบมากในนาอันเชื้อ และนาอันตาก ต้องขูดขี้แดดนาเกลือ หรือ “ดินหนังหมา” ออกทิ้งให้หมด เพราะหากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้เกลือเกิดน้อยและคุณภาพเม็ดเกลือสกปรก

ขั้นตอนที่ 2 สูบน้ำเข้านาอันขังน้ำ หรือนาขังน้ำให้เต็ม

ขั้นตอนที่ 3 ปล่อยน้ำจากนาอันตาก อันเชื้อ และอันปลง เพื่อให้ดินนิ่ม ใช้พลั่วแทงดินทำคันนาใหม่ และแทงรางหลอดรอบอันนาทุกนา

ขั้นตอนที่ 4 ปล่อยน้ำจากนาอันตากสู่นาอันเชื้อพอประมาณ เพื่อคราดนา ทั้งนาอันเชื้อและนาอันปลง

ขั้นตอนที่ 5 หลังจากคราดนาจนดินฟูดีแล้ว ชาวนาเกลือจะใช้ไม้ละเลงนา ละเลงดินในอันนาเกลือให้เรียบเสมอกัน ทั้งนาอันเชื้อและนาอันปลง

ขั้นตอนที่ 6 ปล่อยให้น้ำแห้ง แล้วใช้ลูกกลิ้ง หรือรถกลิ้งๆ นาให้ดินเรียบและแน่นแห้งสนิทในนาอันปลงเท่านั้น

หลังจากนั้น เป็นขั้นตอนการหมักเกลือ เกษตรกรจะปล่อยน้ำในนาอันตากเข้าสู่นาอันเชื้อ นาอันปลง ทีละน้อย ทิ้งไว้ 2-3 วัน เพื่อตากน้ำให้เค็ม เมื่อนาอันเชื้อและนาอันปลงเริ่มแห้งงวดลง มีความเค็มสูงขึ้นเรื่อยๆ ให้เติมน้ำจากนาอันเชื้อมานาอันปลง แล้วปล่อยน้ำจากนาอันตากมาสู่นาอันเชื้อ ทำเช่นนี้จนกระทั่งวัดความเค็มของนาอันเชื้อได้ 10-16 ดีกรี และวัดความเค็มน้ำของนาอันปลงได้ 20-25 ดีกรี ทิ้งไว้ประมาณ 10-15 วัน นาอันปลงก็จะตกผลึกเป็นเกลือ จากนั้นจะเอาน้ำเค็มออก เรียกว่าช่วงกลับน้ำ ชาวนาเกลือจะเอาน้ำเค็มจากนาอันปลงที่เป็นเกลือแล้ว กลับไปเก็บที่นาอันเชื้อ เพื่อนำมาหมักเกลือในนาอันปลงใหม่ ทำให้เกิดเกลือได้เร็วขึ้น

หลังจากเกิดเกลือในนาอันปลงแล้ว ชาวนาเกลือจะรื้อเกลือ โดยใช้อุปกรณ์ คือ คทารื้อ คทาชักแถว คทาซุ่ม ปุ้งกี๋หาบเกลือ ใช้แรงงานคนช่วยกันรื้อ ชักแถวกองเกลือแล้วหาบเกลือเข้าเก็บในยุ้งเก็บเกลือ ในขณะที่ความเค็มน้ำเค็ม 20-25 ดีกรี ตกผลึกเป็นเม็ดเกลือ ถ้าต้องการให้ได้เกลือมากและแดดดีก็หมัก 10-15 วัน จะได้เม็ดเกลือมากขึ้นอีก

หลังจากขนเกลือเข้ายุ้งแล้ว เกษตรกรจะปรับนาอันปลงที่เกิดเกลือแล้วให้เรียบ แล้วปล่อยน้ำออกให้แห้ง ใช้ลูกกลิ้งหรือรถกลิ้งๆ นาเกลือให้เรียบและแน่น ตากนาให้แห้งสนิท แล้วปล่อยน้ำเค็มจัดจากนาอันเชื้อลงนาอันปลง ตากไว้วันแรกจะเกิดเกสรเกลือ จนกระทั่งความเค็มถึง 20-25 ดีกรี ก็จะเป็นเกลือในระยะเวลาประมาณ 10-15 วัน ก็รื้อเกลือได้อีก ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จะมีเกลือรื้อได้ทุกๆ 1-2 เดือน รื้อเกลือได้ 3 ครั้ง เกลือทะเลที่ผลิตได้ จะมีพ่อค้าคนกลาง เรียกว่าเถ้าแก่เกลือมารับซื้อผลผลิตถึงแปลงนา แต่เกษตรกรบางรายจะเปิดแผงขายเกลือริมถนน

เกลือทะเล (เกลือแกง หรือเกลือสมุทร) คือเกลือที่ได้จากน้ำทะเล มีแร่ธาตุกว่า 80 ชนิด ซึ่งมีแร่ธาตุที่มนุษย์ต้องการถึง 24 ชนิด เกลือทะเลที่จำหน่ายโดยทั่วไป แบ่งได้ 3 เกรด คือ

เกลือขาว (เกลือคัด) เป็นเม็ดเกลือใหญ่ ไม่มีเศษดินตะกอน จัดเป็นเกลือคุณภาพดี ขายได้ราคาแพง นิยมใช้เพื่อการบริโภค
เกลือกลาง มีขนาดเล็กกว่าเกลือคัด มีสีคล้ำเล็กน้อย มีเศษดินตะกอนปนอยู่บ้าง จัดเป็นเกลือคุณภาพต่ำลงมา นิยมใช้ล้างผัก ดองปลา ขายได้ราคาถูกกว่าเกลือคัด
เกลือดำ เป็นเศษเกลือ เรียกว่า เกลือก้นกอง เม็ดเกลือมีขนาดเล็กและมีเศษตะกอนปนอยู่มาก นิยมใช้เติมบ่อกุ้ง เลี้ยงปลา และปรับสภาพดินในสวนผลไม้ ขายในราคาถูกๆ

โรงเรียนนาเกลือ จังหวัดสมุทรสาคร

หากใครอยากเรียนรู้วิถีชีวิตและกรรมวิธีการทำนาเกลือแบบโบราณ สามารถแวะชมได้ที่ โรงเรียนนาเกลือ (ศูนย์เรียนรู้การทำนาเกลือ) ตั้งอยู่ภายในหมู่บ้านสหกรณ์ เลขที่ 1 หมู่ที่ 3 ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โทรศัพท์ (086) 524-1021 เปิดทำการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

คุณเลอพงษ์ จั่นทอง ทำหน้าที่เป็นประธานศูนย์เรียนรู้การทำนาเกลือและปราชญ์ชาวบ้านด้านการทำนาเกลือ เล่าว่า วิถีชีวิตการทำนาเกลือเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2481 สมัยก่อนพื้นที่ตรงนี้เป็นของ รัชกาลที่ 5 ต่อมาได้ทรงสละที่ดินให้ราษฎรทำกินเพื่อหล่อเลี้ยงครอบครัว และรุ่นพ่อแม่ของผมได้รับการจัดสรรที่ดินตรงนี้เช่นกัน สร้างความปลาบปลื้มแก่ครอบครัวเป็นที่สุด และรักในการทำอาชีพนี้มาตลอด และมีความตั้งใจที่จะอนุรักษ์และหวงแหนรักษาพื้นที่นี้ไว้ตลอดการทำอาชีพนาเกลือให้ยาวนาน เป็นความภาคภูมิใจของชาวบ้านในนิคมสหกรณ์โคกขาม

พื้นที่ในตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตเกลือทะเลที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย ปัจจุบันเกษตรกรที่ยึดอาชีพการทำนาเกลือมีจำนวนลดลง เกษตรกรในท้องถิ่นจึงเกิดแรงบันดาลใจในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การทำนาเกลือ เพื่ออนุรักษ์อาชีพการทำนาเกลือให้อยู่คู่กับตำบลโคกขามต่อไป ขณะเดียวกันต้องการให้เด็กรุ่นหลังได้เรียนรู้ถึงวิถีชีวิตการทำนาเกลือทะเล เพื่อปลุกจิตสำนึกให้เยาวชนรู้ว่าอาชีพการทำนาเกลือ เป็นอาชีพที่สุจริต มีคุณค่าต่อชีวิต เพราะชีวิตคนเราขาดเกลือไม่ได้เลย

คุณค่าของเม็ดเกลือ

สมัยเด็กๆ หลายคนคงจะเคยท่องจำว่า ข้อดีของการบริโภคเกลือทะเลคือ ได้ธาตุไอโอดีน ช่วยป้องกันโรคคอหอยพอก หากใครมีโอกาสมาเยี่ยมเยือนโรงเรียนนาเกลือแห่งนี้ จะได้เรียนรู้ว่า เกลือ มีมากมายหลายชนิด และมีคุณประโยชน์อย่างน่าทึ่งทีเดียว

เกลือทะเล แบ่งลักษณะเม็ดเป็น 2 เพศ คือ “เกลือตัวผู้” รูปร่างเม็ดยาวแหลม นิยมใช้เป็นส่วนผสมในยาแผนไทย เช่น ผสมยาตราไก่กวาดคอเด็กแก้ซาง หรือผสมน้ำมะนาว จิบแก้ไอ หรือใช้อุดฟัน รักษาอาการปวดฟัน ส่วน “เกลือตัวเมีย” รูปร่างแบนเป็นเหลี่ยม นิยมใช้ดองยา ดองผัก ดองปลา ดองน้ำปลาและใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ

ดอกเกลือ (เกสรเกลือ) เป็นผงเกลือป่นลอยอยู่บนผิวน้ำในนาเกลืออันปลง ขณะที่น้ำทะเลในนาเกลือเริ่มเค็มจัด ในระดับความเค็ม 20-25 ดีกรี ดอกเกลือ เป็นเกลือทะเลสะอาดที่มีไอโอดีน นิยมใช้ในการบริโภคและแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มในลักษณะผลิตภัณฑ์สปาขัดผิว

“เกลือจืด” ได้จาก “อันเชื้อ” ที่ตกผลึกทับถมกันนานหลายๆ ปี จนกลายเป็นผลึกเกลือจืด คล้ายเม็ดทรายจมอยู่ในดิน ไม่ละลายน้ำ เกษตรกรนิยมนำเกลือจืดไปคั่วในกระทะด้วยไฟอ่อนๆ (สะตุ) จนได้ผลึกเกลือ เป็นแป้งเกลือจืด มีสีขาว นิยมนำไปแปรรูปเป็นเครื่องสำอางบำรุงผิว หรือผลิตยาสีฟัน

ขี้แดดนาเกลือ (ดินหนังหมา) เกิดจากตะไคร่น้ำ และจุลินทรีย์จากบ่อพักน้ำทำนาเกลือ หลังฤดูฝน ประมาณช่วงเดือนตุลาคม หากนำไปแช่น้ำจะเกิดกลิ่นเหม็นคล้ายสุนัขตาย จึงเป็นที่มาของชื่อ “ดินหนังหมา” นั่นเอง ขี้แดดนาเกลือ จัดอยู่ในกลุ่มปุ๋ยธรรมชาติจากนาเกลือ ผลวิจัยพบว่า ขี้แดดนาเกลือมีธาตุฟอสฟอรัส 0.13% และมีธาตุโพแทสเซียมอยู่ถึง 2% ซึ่งเป็นประโยชน์แก่พืช ผัก ผลไม้ และไม้ดอกเป็นอย่างยิ่ง เพราะช่วยปรับโครงสร้างของดิน และกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช เกษตรกรนิยมนำขี้แดดนาเกลือมาใส่โคนต้นไม้ผล เช่น ส้มโอ ลำไย มะม่วง มะพร้าว ฯลฯ เพื่อกระตุ้นให้พืชมีผลผลิตสูงขึ้น และช่วยให้ผลไม้มีรสหวานเพิ่มขึ้น

รวมกลุ่มแปลงใหญ่นาเกลือ

กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้สนับสนุนให้เกษตรกรชาวนาเกลือในพื้นที่นิคมสหกรณ์โคกขาม จังหวัดสมุทรสาคร รวมกลุ่มกันบริหารจัดการนาเกลือแบบแปลงใหญ่ เพื่อลดต้นทุนการผลิต และพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกลือให้ได้มาตรฐานเดียวกัน และยังช่วยแก้ไขปัญหาราคาเกลือทะเลตกต่ำอีกทางหนึ่ง

คุณอุไร ทับเทศ สหกรณ์จังหวัดสมุทรสาคร เปิดเผยว่า การรวมตัวกันทำนาเกลือในรูปของแปลงใหญ่จะก่อให้เกิดประโยชน์หลายประการ เช่น การรวมซื้อรวมขาย การรวบรวมอุปกรณ์ต่างๆ ในการทำนาเกลือไว้ในจุดเดียว เพิ่มอำนาจการต่อรองทางการค้ามากขึ้น และช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ ประมาณ 20% จากต้นทุนการผลิตเกลือทะเล 1,200 บาท/เกวียน

จังหวัดสมุทรสาคร ได้มอบเงินให้กับสหกรณ์ชาวนาเกลือ 2 แห่ง ของจังหวัดสมุทรสาคร ได้แก่ สหกรณ์กรุงเทพ จำกัด และสหกรณ์การเกษตรนาเกลือสมุทรสาคร จำกัด แห่งละ 10 ล้านบาท สำหรับนำไปพัฒนากระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์สินค้าเกลือทะเลให้มีคุณภาพมากขึ้น เพื่อรองรับกับความต้องการของตลาด

เมื่อปี 2559 สหกรณ์กรุงเทพ จำกัด ได้ทำบันทึกข้อตกลงโครงการ 1 หอการค้า 1 สหกรณ์ ตามนโยบายประชารัฐ ของรัฐบาล โดยหอการค้าจังหวัดสมุทรสาคร ได้เข้ามาช่วยแนะนำเรื่องการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มเกลือทะเลในลักษณะ เกลือสปาแช่เท้า เกลือสมุนไพรขัดผิว เกลืออโรมา สบู่เหลวขัดผิว และเกลือปรับอากาศ ฯลฯ กลายเป็นของขวัญของฝากที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของจังหวัดสมุทรสาคร

ผู้สนใจสามารถเยี่ยมชมกระบวนการส่งเสริมแปลงใหญ่นาเกลือและผลิตภัณฑ์เกลือสปาได้ที่ สหกรณ์กรุงเทพ จำกัด ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ในอดีตผู้คนมักคุ้นชินกับประโยคที่ว่า อีสานแห้งแล้งปลูกอะไรไม่ค่อยได้ แต่ในยุคนี้หากติดตามข่าวคราวในแวดวงเกษตรจะพบว่าพืชผักผลไม้จำนวนไม่น้อยสามารถปลูกได้ในพื้นที่นี้ อย่าง มะเดื่อฝรั่ง ซึ่งเป็นผลไม้ที่คนส่วนใหญ่อาจจะยังไม่ค่อยรู้จัก แต่ คุณนัฐกร มาลัย วัย 30 ปี อยู่บ้านเลขที่ 112 หมู่ที่ 4 บ้านโชคใต้ คุ้มทุ่งเศรษฐี ตำบลอู่โลก อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์ ที่มีดีกรีปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง นำมะเดื่อฝรั่งมาปลูกเป็นรายแรกและรายใหญ่ของจังหวัดสุรินทร์ กระทั่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี จนทำให้ใครต่อใครมาศึกษาดูงานที่นี่ “สวนมะเดื่อฝรั่งสุรินทร์”

ผลไม้เพื่อสุขภาพ

ทำไม ถึงปลูกมะเดื่อฝรั่ง เจ้าตัวเล่าที่มาที่ไปให้ฟังว่า ทำงานประจำอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา ทำมาได้ 3 ปีกว่า อยากหาอาชีพเสริม โดยไม่ต้องใช้เวลาดูเยอะ ประกอบกับจบปริญญาตรีด้านการเกษตรมา คิดว่าน่าจะทำด้านเกษตร กระทั่งได้รู้จักมะเดื่อฝรั่งในเฟซบุ๊ก

จากนั้นได้ศึกษา และเริ่มสั่งกิ่งตอนมาปลูก มีรอดบ้างตายบ้าง แต่ก็ไม่ยอมแพ้ โดยมีแนวคิดว่า ถ้าตั้งใจทำอะไรสักอย่างแล้วต้องไปให้สุด ไม่มีอะไรที่เกินความสามารถของคนเรา อยู่ที่การศึกษาเรียนรู้ และพัฒนา พร้อมซื้อต้นพันธุ์มาปลูกเรื่อยๆ จนตอนนี้ที่สวนมีแล้วกว่า 30 สายพันธุ์ มีต้นพันธุ์ 200 กว่าต้น อาทิ สายพันธุ์ BTM 6, แบล็คจีนัว, แบล็คแจ็ค, กรีนอิชชู, โคนาเดีย, อินคาโกล, ไวท์จีนัว และพานาซี เป็นต้น

คุณนัฐกร มาลัย บอกว่า ความจริง ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงให้ปลูกมะเดื่อฝรั่งไว้ที่โครงการหลวงมากว่า 20 ปีแล้ว แต่คนไทยเพิ่งรู้จักประมาณ 4-5 ปีนี้ ซึ่งเป็นผลไม้ติด อันดับ 1 ใน 10 ของโลก ที่เป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่มีโภชนาการสูง มีสรรพคุณ อาทิ ช่วยลดคอเลสเตอรอล มีสารต้านอนุมูลอิสระ และช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะช่วยให้ปริมาณอินซูลินน้อยลง หยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งบางชนิด ป้องกันโรคไตที่เกิดจากคอเลสเตอรอลสูง หยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งบางชนิด

นอกจากนี้ ในผลมะเดื่อฝรั่งสามารถลดไตรกรีเซอไรด์ได้เป็นอย่างดี สามารถกินผลสุกได้ มีรสชาติหวานหอม ผลดิบสามารถลวกจิ้มน้ำพริกได้ ส่วนใบสามารถนำไปทำชามะเดื่อดื่มได้อีก เรียกว่าสรรพคุณเพียบเลย

เจ้าของสวนมะเดื่อฝรั่งรายนี้เล่าว่า เริ่มปลูกมา 2 ปีแล้ว โดยไม่ได้ทำแบบลงทุนทีเดียวเต็มสวน และไม่ได้ไปกู้เงินมา แต่ใช้วิธีทำไปศึกษาไป พร้อมกับทำงานประจำควบคู่กัน และใช้เงินทุนจากงานประจำมาลงทุนปลูก ขณะเดียวกันขยายโรงเรือนไปเรื่อยๆ ตามความต้องการของตลาด

ในสวนมะเดื่อฝรั่งของคุณนัฐกรนั้น ปลูกหลากหลายแบบ จุดประสงค์เพื่อให้คนที่มาศึกษาเรียนรู้สามารถเลือกได้ว่าจะปลูกแบบไหนแล้วแต่ความสะดวกและเงินทุนของแต่ละบุคคล เช่น ปลูกแบบท่อซีเมนต์ แบบกลางแจ้ง ปลูกแบบก่อบล็อกทำเป็นแปลงแล้วปลูก หรือปลูกในยางรถยนต์เก่าๆ แล้วนำโรงเรือนมาลง ส่วนน้ำและปุ๋ยจะใช้ระบบทามเมอร์ (Timer) ตั้งเวลาการเปิด-ปิด ให้ปุ๋ยและน้ำผ่านหัวจ่ายน้ำมินิสปริงเกลอร์เพื่อประหยัดเวลาในการดูแล โดยให้น้ำ วันละ 1 ครั้ง

คุณนัฐกร ให้ข้อมูลว่า ที่สวนมีโรงเรือน 2 โรง

โรงแรกเป็นแบบมุ้งกันแมลง เกมส์ยิงปลาออนไลน์ กันฝนไม่ได้ ใช้ทุนสร้าง 3,000-4,000 บาท สำหรับซื้อเหล็กและมุ้งกันแมลง เป็นโรงเรือน ขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 10 เมตร ปลูกได้ 25 ต้น ค่าต้นพันธุ์ ประมาณ 7,000 บาท รวมทั้งค่าระบบน้ำโรงเรือนและต้นพันธุ์ไม่เกิน 15,000 บาท

โรงที่สอง เป็นแบบโรงเรือนหลังคาพลาสติกกันน้ำแบบมีมุ้งกันแมลงรอบข้าง ขนาดโรงเรือน กว้าง 6 เมตร x ยาว 12 เมตร จ้างทำ ราคา 35,000 บาท ปลูกแบบระยะชิด ทำแปลงโดยก่อบล็อก จำนวน 5 แปลง ปลูกได้ทั้งหมด 75 ต้น ค่าต้นพันธุ์ 30,000 บาท รวมค่าใช้จ่ายของโรงเรือน ต้นพันธุ์ วัสดุปลูก ระบบน้ำ ประมาณ 75,000 บาท

ตอนนี้กำลังจะสร้างโรงเรือนที่สาม ขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 20 เมตร ระหว่างนี้ปลูกต้นพันธุ์ไว้ก่อน คาดว่าต้นเดือนตุลาคมจะนำโรงเรือนมาตั้ง ราคาที่จ้างทำ 55,000 บาท รวมค่าติดตั้ง ปลูกต้นพันธุ์ได้ประมาณ 150 ต้น ค่าต้นพันธุ์ 40,000-50,000 บาท รวมทั้งหมด 110,000 บาท เป็นโรงขนาดใหญ่ทำให้ใช้เงินทุนเยอะ

สำหรับคนที่จะปลูกเพื่อบริโภคในครอบครัว หนุ่มเจ้าของสวนมะเดื่อฝรั่งรายนี้ ให้คำแนะนำว่า ไม่อยากให้ปลูกในโรงเรือนเพราะการลงทุนสูง ขอให้หาวัสดุที่มีในแถวบ้านมาใช้ ไม่ต้องลงทุนอะไรเยอะก็สามารถปลูกได้ จะปลูกลงในท่อซีเมนต์วงกลม ในตะกร้า ยางรถยนต์เก่าๆ หรือจะปลูกลงดินเลยก็ได้ แค่พื้นที่ปลูกต้องน้ำไม่ท่วม วัสดุปลูกจะเน้นวัสดุที่โปร่ง น้ำซึมผ่านได้ง่าย เช่น กาบมะพร้าวสับ แกลบดิบ นำมาผสมกับปุ๋ยคอก ดินดี อาจผสม 1:1 หลังจากผสมแล้วนำใส่ลงไปในท่อ จากนั้นนำต้นมะเดื่อฝรั่งมาปลูกได้