มฟล. ร่วมพัฒนาอาชีพ ชาวสวนกาแฟเชียงรายเบื้องหลัง

ความสำเร็จของ “เฮราโมน คอฟฟี่ ฟาร์ม” เกิดจากโครงการการพัฒนาขีดความสามารถของเกษตรกรและผู้ประกอบการกาแฟอาราบิก้าในชุมชนจังหวัดเชียงรายตลอดห่วงโซ่อุปทาน ของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) ที่มี ดร.ชลิดา ธนินกุลภรณ์ หัวหน้าส่วนจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม มฟล. เป็นหัวหน้าโครงการและคณะนักวิจัย ประกอบด้วย ผศ.ดร.สิทธิ ดวงเพชร ดร.กิติพงษ์ คงพินิจบรรจง อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์

โครงการฯ ของ มฟล.มุ่งพัฒนาเกษตรกรให้มีองค์ความรู้ในการยกระดับผลผลิตกาแฟอาราบิก้าที่มีคุณภาพตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้านธุรกิจของผู้ประกอบการกาแฟอาราบิก้าในชุมชนจังหวัดเชียงรายให้ดีขึ้นกว่าเดิม คุณวริศ มันตาวลี เจ้าของเฮราโมน คอฟฟี่ ฟาร์ม เป็นหนึ่งในเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว

คุณวริศได้เรียนรู้ข้อมูลวิชาการและภาคปฏิบัติเพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของเมล็ดกาแฟอาราบิก้า โดยใช้เกณฑ์การประเมินคุณภาพของเมล็ดกาแฟตามมาตรฐานโลก รวมถึงการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการฟาร์มในเชิงธุรกิจ วางแผนการผลิตและการจัดการด้านการเงินอย่างเป็นระบบด้วยวิธีการ Coaching จากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน

ขณะเดียวกัน คุณวริศได้เรียนรู้การเพิ่มช่องทางการตลาดในรูปแบบใหม่ เพื่อกระจายผลผลิตกาแฟอาราบิก้าสู่วงกว้างในระดับสากลมากขึ้น ทำให้เกิดการซื้อขายเมล็ดกาแฟคุณภาพที่มีความยั่งยืน ทั้งสามารถเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้นจากเดิมไม่น้อยกว่า 10% และเพิ่มยอดขายให้สูงขึ้นจากเดิมไม่น้อยกว่า 15% โครงการฯ ของ มฟล.สร้างประโยชน์แก่เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในจังหวัดเชียงรายในวงกว้าง ส่งผลให้ มฟล. ได้รับรางวัล Bronze Award ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 (Thailand Research Expo 2022) ที่ผ่านมา

คุณวริศ เล่าว่า กว่าจะประสบความสำเร็จในเส้นทางอาชีพทุกวันนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย หลังเรียนจบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย เขาตัดสินใจไปทำงานที่กรุงเทพฯ ได้ 1 ปี รู้สึกว่าการทำงานในเมืองวุ่นวาย ไม่มีความสุข จึงตัดสินใจกลับมาสืบทอดอาชีพทำสวนกาแฟ เนื้อที่ 5 ไร่ ของครอบครัว ตั้งแต่เมื่อ 10 กว่าปีก่อน ปัจจุบัน เขาขยายพื้นที่ฟาร์มเพิ่มขึ้นเป็น 25 ไร่ มีรายได้หลักล้านจากการขายกาแฟภายใต้แบรนด์ “เฮราโมน” ซึ่งในภาษาอาข่า หมายถึง การแบ่งปัน

นอกจากนี้ คุณวริศยังทำสวนชา ปลูกไม้ผลเมืองหนาว เช่น มะคาเดเมีย พลัม อะโวกาโด และปลูกต้นเลือดมังกร ต่อยอดสู่การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ “ชาเลือดมังกร” ซึ่งได้รับการตอบรับจากกลุ่มคนรักสุขภาพอย่างแพร่หลาย “เลือดมังกร” เป็นสมุนไพรจีนที่ลำต้นและใบเป็นสีเขียว เมื่อนำมาชงดื่มเป็นน้ำชากลับมีสีแดงสด มีสรรพคุณด้านการบำรุงเลือด บำรุงหัวใจ บำรุงสายตา ช่วยในการนอนหลับดีขึ้น

ผลผลิตกาแฟคุณภาพดี รสชาติอร่อย กลมกล่อม ถูกใจผู้บริโภค ของ “เฮราโมน คอฟฟี่ ฟาร์ม” เกิดจากต้นกาแฟอาราบิกาและกาแฟโรบัสต้า อายุกว่า 20 ปี ปลูกที่ระดับความสูง 1,350 เมตร จากระดับน้ำทะเล ด้วยความสมบูรณ์ของภูมิประเทศและเอกลักษณ์ของแหล่งปลูกกาแฟดอยช้าง

คุณวริศ ซึ่งทีมนักวิจัย มฟล. ยกย่องว่าเป็น “เกษตรกรนักวิจัย” ไม่หยุดที่จะเรียนรู้พัฒนาผลผลิตให้ดีขึ้น “พันธุ์กาแฟ” เป็นหนึ่งในหัวข้อที่เขาสนใจศึกษาเรียนรู้ เพราะเชื่อว่า การจะเป็นกาแฟพิเศษนั้นใช่อยู่ที่คุณภาพเมล็ดกาแฟอย่างเดียว ต้องมีสายพันธุ์กาแฟที่ดีด้วย คุณวริศ บอกว่า ฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลกาแฟเป็นช่วงที่เหมาะแก่การคัดเลือกพันธุ์ที่ดีนำมาเพาะขยายพันธุ์พัฒนาต่อยอด เขาปลูกกาแฟพันธุ์ดีต่างๆ มากมายเพื่อเพิ่มความหลากหลายให้แก่สินค้า เช่น กาแฟพันธุ์จาวา พันธุ์บลูเมาท์เทน พันธุ์ Tipica พันธุ์ Longberry และพันธุ์เกอิชา ซึ่งเป็นกาแฟตระกูลอาราบิก้า นิยมปลูกในพื้นที่สูง สามารถให้ผลผลิตได้ใน 3 ปี

คุณวริศประกาศตัวขอเป็นต้นน้ำที่ดีมีคุณภาพ สนับสนุนการปลูกป่าสร้างร่มเงาให้กาแฟ ร่วมด้วยช่วยกันคนละไม้คนละมือเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอาชีพปลูกกาแฟ คุณวริศใส่ใจในทุกขั้นตอนของการผลิตกาแฟเพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพดี เริ่มจาก “คุณภาพดิน” โดยเก็บตัวอย่างดินส่งตรวจกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อบำรุงดินได้ถูกต้อง และใช้ชุดตรวจสอบดินเค็มภาคสนาม (Saline Soil Test Kit) ตรวจสอบปริมาณ N, P, K ของดินในสวนกาแฟ ว่ามีสารอาหารเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นกาแฟหรือไม่

ช่วงฤดูฝนต้องตัดแต่งกิ่งต้นไม้ใหญ่ที่ทำหน้าที่เป็นร่มเงาให้กับต้นกาแฟในหน้าร้อน เพื่อให้แสงแดดส่องเข้าถึงต้นกาแฟ ผลผลิตกาแฟมีคุณภาพสมบูรณ์ นอกจากนี้ ยังตัดแต่งกิ่งกาแฟอย่างถูกต้องและเหมาะสมหลังฤดูการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ลำต้นกาแฟแข็งแรง มีการเจริญเติบโตทางกิ่งและใบที่เหมาะสม ช่วยเพิ่มคุณภาพ รสชาติ ไม่เป็นที่ซ่อนของแมลง ทำให้ต้นกาแฟมีอายุยืนให้ผลผลิตยาวนานขึ้น ต้นกาแฟที่ตัดแต่งกิ่งอย่างเหมาะสม จะให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับต้นที่ไม่มีการตัดแต่งกิ่ง ดังนั้น เพื่อให้เมล็ดกาแฟมีคุณภาพที่ดีควรตัดแต่งอยู่เสมอ เอากิ่งที่ไม่ติดผลออก เพิ่มความสมบูรณ์ให้กับผลที่ติดอยู่สูงสุด

“หลังปรับเปลี่ยนจากการปลูกโดยใช้สารเคมีมาเป็นสวนกาแฟออร์แกนิก ต้องทำใจและยอมรับสภาพผลที่เกิดขึ้นทั้งปัญหาเพลี้ย มอดรบกวน ต้องหาวิธีอื่นมาใช้ป้องกัน เช่น ตัดหญ้าทุกๆ 2 เดือน ใช้เชื้อราบิวเวอเรีย บาสเซียน่า สายพันธุ์ดีโอเอ บีสี่ กำจัดมอดและแมลงศัตรูของกาแฟโดยวิธีธรรมชาติ การปรับเปลี่ยนระยะแรกหลังไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้ผลผลิตกาแฟน้อยลง แต่มั่นใจว่า คุณภาพผลผลิตและผลตอบแทนได้ขึ้นในระยะยาวอย่างแน่นอน การปลูกกาแฟต้องใส่ใจในคุณภาพมากๆ เพราะมันคือชีวิตและลมหายใจ การทำสวนกาแฟออร์แกนิกได้กาแฟคุณภาพดี รวมทั้งปลอดภัยทั้งผู้ปลูกกาแฟและผู้บริโภคด้วย” คุณวริศ กล่าว

ประมาณเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ก้าวสู่ฤดูการเก็บเกี่ยว คุณวริศจะทำงานยุ่งกับกระบวนการโม่ หมัก ล้าง ตากกาแฟเพื่อทำกาแฟคุณภาพสูง คุณวริศเน้นเก็บผลกาแฟลูกสุกสีแดงหรือสีเหลืองเท่านั้น หลังตากได้ 3 วัน จะเริ่มเห็นความแตกต่างระหว่างลูกที่สุกฉ่ำกับสุกไม่ฉ่ำ จึงต้องคัดออกเพื่อให้ได้กาแฟคุณภาพตามที่ต้องการ สำหรับผลผลิตกาแฟในปีนี้ คาดว่ามีประมาณ 10 ตัน สีเป็นกะลาสารได้ประมาณ 1 ตันกว่าๆ

ส่วนกระบวนการ wash process เริ่มจากเก็บผลกาแฟที่สุกแล้วจากต้นมาล้างทำความสะอาดและคัดแยกคุณภาพของผลกาเเฟ จากนั้นทำการกะเทาะเปลือกกาเเฟออกจนเหลือเเต่เมล็ดกาเเฟกะลาที่ยังมีเมือกติดอยู่ และนำไปหมักในถัง ให้ได้ค่าความเป็น “กรด-ด่าง” หรือค่า pH ที่กำหนด หลังผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว นำเมล็ดกาแฟกะลาไปล้างเมือกให้สะอาด นำเข้าไปในโรงตากที่มีอากาศไหลเวียนอย่างดี

สำหรับขั้นตอนการทำ Honey Process เริ่มจากการล้างทำความสะอาดผลกาเเฟเชอร์รี่ เเละทำการคัดเเยกคุณภาพ จากนั้นจะปอกเปลือกกาเเฟเชอร์รี่ออกให้เหลือเเต่เมล็ดที่ยังมีเมือกติดอยู่ แล้วจึงนำไปตากในโรงเรือนที่มีอากาศหมุนเวียน ซึ่งกาเเฟกะลามีเมือกแห้ง ที่ได้จากกระบวนการนี้จะมีสีน้ำตาลเข้มคล้ายกับเคลือบด้วยคาราเมล ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับแต่ละคนจะมีวิธีทำที่แตกต่างกันไปในกระบวนการผลิต

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบข่าว จาก FB : Heqlaqmoq Coffee Farm เฮราโมน คอฟฟี่ ฟาร์ม สำนักงาน กศน. ร่วมขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลด้านการส่งเสริมการปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ ตลอดจนส่งเสริมการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ราชการ รวมถึงการส่งเสริมความรู้เรื่องการปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรที่สนใจปรับเปลี่ยนอาชีพจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ รวมทั้งกำหนดแนวทางส่งเสริมการตลาดในด้านดังกล่าวไปพร้อมๆ กัน

สำนักงาน กศน. ภายใต้การนำของ นายวัลลพ สงวนนาม เลขาธิการ กศน. จึงได้มอบนโยบายให้สถานศึกษาทุกแห่ง จัดกิจกรรมฝึกอาชีพ “เพาะพันธุ์ไม้พื้นถิ่น สร้างอาชีพ สร้างรายได้” เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนที่มีความสนใจในการฝึกอาชีพด้านเกษตรกรรมเกิดกระบวนการเรียนรู้ การเพาะพันธุ์ การปลูก การบำรุงรักษา การอนุรักษ์ไม้พื้นถิ่นอันเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีช่องทางในการประกอบอาชีพจากการเพาะพันธุ์และการปลูกไม้พื้นถิ่น ระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2565

ทั้งนี้ พบว่ามีสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จัดกิจกรรมหลักสูตรฝึกอาชีพด้านเกษตรกรรม ภายใต้โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน จำนวน 813 แห่ง โดยมีหลักสูตรฝึกอาชีพเพาะพันธุ์กล้าไม้พื้นถิ่นระดับจังหวัด รุ่นที่ 1 ทั้งสิ้น 831 หลักสูตร เช่น ไผ่ตงลืมแล้ง ส้มโอทับทิบสยาม เห็ดฟางในตะกร้า ไผ่ซางนวล มะขามเทศเพชรโนนไทย บอนสี มะค่าโมง จำปาดะมังกรทอง และทองอุไร เป็นต้น

โดยมีประชาชนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมการฝึกอบรมอาชีพดังกล่าว จำนวน 18,398 คน ผู้เข้ารับการอบรมอาชีพในโครงการนี้ต่างมีความพึงพอใจระดับมากที่สุดถึง 58.53% กิจกรรมฝึกอาชีพ “เพาะพันธุ์ไม้พื้นถิ่น สร้างอาชีพ สร้างรายได้” นอกจากเป็นการอนุรักษ์พันธุ์ไม้พื้นถิ่น เพิ่มพื้นที่สีเขียว สนับสนุนการลดคาร์บอนในอากาศแล้ว ยังช่วยสร้างโอกาสในการฝึกอาชีพด้านเกษตรกรรม สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับประชาชนอีกด้วย

ในยามนี้ หากใครที่ยังไม่มีอาชีพที่มั่นคงเลี้ยงดูครอบครัว ขอแนะนำให้เดินเข้าไปสมัครเรียนโครงการอบรมอาชีพระยะสั้น กับครู กศน. ใกล้บ้าน โดยเฉพาะหลักสูตรอาชีพ “เพาะพันธุ์ไม้พื้นถิ่น สร้างอาชีพ สร้างรายได้” แนะนำให้เรียนรู้การเพาะพันธุ์พืช 6 ชนิด คือ ไผ่ตงลืมแล้ง ส้มโอทับทิบสยาม เห็ดฟางในตะกร้า ไผ่ซางนวล มะขามเทศเพชรโนนไทย บอนสี เพราะเป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกดูแลง่าย สร้างอาชีพและรายได้ที่มั่นคงได้ไม่ยาก

ไผ่ตงลืมแล้ง เกษตรกรนิยมปลูกมากที่สุด เพราะมีจุดเด่นสำคัญคือ ให้หน่อดก และออกหน่อนอกฤดูได้ดีกว่าพันธุ์อื่นๆ แถมยังให้หน่อโต คุณภาพดีกว่าไผ่พันธุ์อื่นๆ หลายเท่าตัว หากปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสม มีการบริหารจัดการที่ดี ให้ผลผลิตสูง 30-50 กิโลกรัมต่อกอต่อปี นอกจากนี้ ไผ่ตงลืมแล้งยังมีคุณสมบัติเด่นคือทนทานต่อปัญหาน้ำท่วมได้ดีมาก สามารถนำไปแปรรูปอาหารได้หลากหลายเมนู ทั้งต้ม แกง ซุป หมก ผัด ต้มกระดูกหมู รวมทั้งแปรรูปเป็นหน่อไม้ดอง แต่ละปีหน่อไม้ดองมีมูลค่าทางการตลาดสูงมากทีเดียว

ด้านตลาดต้องการหน่อไม้นอกฤดูจำนวนมาก เกษตรกรสามารถขายสินค้าหน่อไผ่ตงลืมแล้งได้ในราคาสูง ไม่ต่ำกว่า 40-80 บาทต่อกิโลกรัม ทุกวันนี้การผลิตหน่อไม้นอกฤดูยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด โดยเฉพาะพื้นที่ภาคอีสานมีความต้องการสูงสุด รองลงมาคือภาคเหนือ

เกษตรกรนิยมปลูกไผ่ตงลืมแล้ง เพราะต้องการหน่อเป็นหลัก จึงสามารถปลูกไผ่ตงได้ในอัตราระยะประชิด โดยปลูกในระยะห่าง 2×3 เมตร เฉลี่ย 1 ไร่ ปลูกได้จำนวน 265 กอ ต้นไผ่สามารถออกหน่อได้ดีและเร็ว เกษตรกรควรปลูกไว้ลำแม่ แค่ 1-2 ลำเท่านั้น การปลูกไผ่ตงลืมแล้งในระยะถี่ ช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น ประหยัดเวลาและพื้นที่ ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดูแล

ไผ่ 1 กอ จะให้ผลผลิตเฉลี่ย 6-10 กิโลกรัมต่อ 1 นอกฤดูกาล ราคาที่ขายได้ 40-70 บาทต่อกิโลกรัม หรือประมาณ 250 บาทต่อกอ มีรายได้ไร่ละ 50,000 บาทขึ้นไป หากต้องการรายได้ที่เพิ่มขึ้น ควรปลูกพืชผักริมสวนอื่นๆ เสริมรายได้ เช่น ชะอม ใบย่านาง ใบแมงลัก เห็ด มะละกอ เพราะพืชผักพื้นบ้านเหล่านี้ ถือเป็นส่วนประกอบในเมนูอาหารที่แปรรูปจากหน่อไม้ สินค้าทุกชนิดขายดี เป็นที่ต้องการของตลาด

ส้มโอทับทิบสยาม

ส้มโอทับทิมสยาม เป็นไม้ผลขายดี เป็นที่นิยมของผู้บริโภคในประเทศและส่งออก เพราะส้มโอทับทิมสยามมีรสชาติหวาน เนื้อสีชมพูคล้ายสีทับทิม จนถึงสีแดง ผิวของผลอ่อนนุ่ม เนื้อส้มโอไม่แฉะน้ำ เนื้อแห้งกรอบ ขนาดผล 1.5-2 กิโลกรัม ขายได้ราคา 200 บาทต่อผล

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติก เพื่อเป็นแนวทางส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมเมืองที่มีค่าครองชีพสูง และบริเวณที่พักอาศัยมีพื้นที่ว่างไม่มาก การเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติกจะสามารถช่วยเพิ่มรายได้และลดรายจ่าย ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

สภาพอากาศที่เหมาะสมในการเพาะเห็ดฟาง ประมาณ 35-37 องศาเซลเซียส เนื่องจากเห็ดฟางชอบอากาศร้อน เจริญเติบโตได้ดีทั้งในฤดูฝนและในฤดูร้อน เพราะอากาศร้อนช่วยเร่งการเจริญเติบโตของดอกเห็ดได้ดี ช่วงฤดูหนาว อากาศที่เย็นเกินไปไม่เอื้ออำนวยต่อการเติบโตของดอกเห็ดฟาง การเพาะเห็ดฟางในตะกร้ามีต้นทุนต่ำ เหมาะกับทุกบ้านเรือน เนื่องจากใช้พื้นที่น้อย ให้ผลผลิตทุกฤดูกาล ที่สำคัญเป็นพืชปลอดสารพิษ นอกจากนำผลผลิตมารับประทานในบ้านเรือนแล้ว ผลผลิตที่เหลือยังสามารถนำไปขายเป็นรายได้เสริมอย่างดี

เห็ดฟางนำมาปรุงอาหารได้หลายอย่าง เช่น ยำเห็ดฟาง เห็ดฟางผัด ต้มยำเห็ดฟาง และแกงเลียงใส่เห็ดฟาง ฯลฯ เห็ดฟางยังมีสรรพคุณทางยาอีกด้วย เพราะเห็ดฟางมีสาร Vovatoxin ช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของไวรัส ที่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่ ช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับไขมันในเส้นเลือดและโรคหัวใจได้

ไผ่ซางนวล (ภาคเหนือ), ไผ่ซางดอย, ไผ่ซาง, ไผ่ไล่ลอ (น่าน), ไผ่นวล (กาญจนบุรี) เป็นไผ่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 8-20 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำ ประมาณ 6-16 เซนติเมตร ลำมีสีเขียวนวล เนื้อไม้หนา 1-3 เซนติเมตร หน่อมีขนาดกลาง 2-4 กิโลกรัม ปลูกได้ในสภาพดินที่เป็นหิน เพราะเป็นไม้ภูเขา ทนแล้งได้ดี กอไผ่ซางนวลดูแลง่าย ไม่ยุ่งยากในการตัดแต่งกิ่ง การขยายพันธุ์จะทำโดยการตอนกิ่งแขนงข้างเหมือนกับไผ่อื่นทั่วไป

ลำไผ่ซางนวลนิยมใช้ในอุตสาหกรรมไม้เส้น ไม้ตะเกียบ ไม้เสียบอาหาร งานจักสาน งานหัตถกรรม โครงนั่งร้านงานก่อสร้าง ไม้ไผ่เสริมคอนกรีตแทนเหล็ก หน่อนำมาปรุงอาหาร นิยมตัดหน่อใต้ดิน เพราะมีรสหวานดีกว่าในบรรดาหน่อไม้ด้วยกัน นอกจากนี้ ไผ่ซางนวลยังเป็นที่อยู่อาศัยของหนอนรถด่วน สามารถจับมาขายได้ราคาดี

มะขามเทศเพชรโนนไทย

มะขามเทศพันธุ์เพชรโนนไทย เป็นพืชทางเลือกที่เหมาะสำหรับเพาะปลูกในแหล่งดินเค็มและสภาพแห้งแล้ง เพราะต้นมะขามเทศเติบโตได้ดีในสภาพดินเค็ม และให้ผลผลิตดีมาก เกษตรกรจำนวนมากในพื้นที่อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา จึงเลิกอาชีพปลูกข้าว หันมาปลูกมะขามเทศเป็นพืชเศรษฐกิจหลัก สร้างรายได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 60 ล้านบาท

เกษตรกรนิยมปลูกมะขามเทศพันธุ์เพชรโนนไทย โดยมีต้นทุนการผลิต 24,395 บาทต่อไร่ (1 ไร่ ปลูกได้ประมาณ 25 ต้น) มะขามเทศเริ่มให้ผลผลิตเมื่อมีอายุตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไป ผลผลิตต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว 700 กิโลกรัมต่อไร่ มะขามเทศพันธุ์เพชรโนนไทยมีรสหวาน กรอบ อร่อย เริ่มติดดอกช่วงปลายเดือนธันวาคม และเริ่มเก็บผลผลิตได้ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมถึงต้นเดือนมีนาคมของทุกปี ราคาดีมาก จำหน่ายหน้าสวนอยู่ที่กิโลกรัมละ 60-80 บาท ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้สุทธิ 25,605 บาทต่อไร่

บอนสี เป็นไม้ประดับขายดีติดตลาดอย่างต่อเนื่อง เพราะบอนสีสามารถพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ หรือมีลูกไม้ใหม่เกิดขึ้นสม่ำเสมอ ราคาบอนสี เริ่มต้นตั้งแต่ 35 บาทขึ้นไป จนถึงหลักพันต่อกระถาง หลายรายขายบอนสีได้ราคาแพงเพราะสินค้ามีจำนวนน้อย เป็นสายพันธุ์ที่หายาก หรือเป็นสายพันธุ์ที่ผสมขึ้นมาใหม่ จึงตั้งราคาขายได้ค่อนข้างแพง ตลาดส่วนใหญ่นิยมบอนสีที่มีใบสีแดง สีสดสวยงาม

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบข่าวจาก กลุ่มส่งเสริมกิจการการศึกษาและเครือข่าย สำนักงาน กศน. กระทรวงศึกษาธิการ ประเทศไทย มีไผ่หลายพันธุ์หลายชนิด ไผ่จัดอยู่ในประเภทพืชยืนต้น โดยต้นไผ่จะมีลักษณะที่โดดเด่นเป็นที่จดจำได้ง่าย ตรงที่ตัวลำต้นจะแตกออกเป็นกอไม้พุ่มเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ซึ่งในกอหนึ่งมีประมาณ 20-25 ต้น ลำต้นมีความสูงประมาณ 5-15 เมตร ลักษณะลำต้นเป็นข้อปล้องตลอดลำ เนื้อผิวเกลี้ยงแข็งมีสีเขียวหรือเหลืองแถบเขียว ใบเป็นใบเดี่ยว

ไผ่หม่าจู พระเอกของสวน
คุณณรงค์ ไทยเจริญ เจ้าของสวนไผ่ อยู่บ้านเลขที่ 73/3-4 หมู่ที่ 1 ตำบลดีลัง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี เป็นหนึ่งในเกษตรกรที่มีความชื่นชอบในเรื่องของต้นไผ่เป็นอย่างมาก โดยเขาใช้ที่ดิน จำนวน 22 ไร่ ในการปลูกไผ่เกือบทั้งหมด ซึ่งจะมีไผ่ จำนวน 3 พันธุ์ ที่คุณณรงค์เลือกปลูกคือ ไผ่หม่าจู ไผ่รวก และไผ่เลี้ยง

คุณณรงค์ ได้ให้เหตุผลถึงการเลือกปลูกไผ่หม่าจูว่า เป็นไผ่สายพันธุ์ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งจากหน่อและลำต้น โดยลำต้นสามารถนำไปทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ เตียง หรืออื่นๆ ที่สามารถใช้เป็นส่วนประกอบโครงสร้างต่างๆ

ในส่วนของหน่อไม้พันธุ์หม่าจูก็นำมาประกอบอาหารได้ เพราะจะมีรสชาติที่หวานกรอบอร่อย ไม่มีขม เพราะถูกจัดอยู่ในตระกูลไผ่หวาน มีสีเนื้อที่ขาวปราศจากสารฟอกสี นำไปรับประทานได้โดยที่ไม่ต้องต้มน้ำเพื่อลวกหน่อไม้ เพราะล้างน้ำธรรมดาหรือล้างน้ำซาวข้าว แล้วนำมาปรุงอาหารได้เลย เพราะถ้าเป็นไผ่จากที่อื่นจะขมมาก ทำให้ต้องต้มน้ำก่อนนำไปปรุงอาหาร และยังเป็นที่นิยมในท้องตลาดทั่วไปด้วย

ซึ่งพันธุ์หม่าจู ขยายพันธุ์ได้ 2 วิธี ก็คือ การตอนกิ่งแขนง และการชำเหง้า

โดยการตอนกิ่งแขนง freeshopmanual.com จะไม่สามารถนำกิ่งที่มีความอ่อนมาใช้ได้ กิ่งที่นำมาใช้จะต้องอยู่ในช่วงกลางๆ ไปจนถึงระดับที่เรียกว่าแก่เลยทีเดียว ส่วนการขยายพันธุ์วิธีที่ 2 คือการเพาะด้วยการชำเหง้า ถ้าหากช่วงนั้นพื้นดินอยู่ในระหว่างที่มีความชื้นสูงๆ ก็สามารถนำลำต้นปักลงหลุมได้ทันที ไผ่รวก อเนกประสงค์
ส่วนไผ่รวก จะปลูกเป็นแถวๆ เพื่อใช้เป็นแนวบังลม เนื่องจากพื้นที่ในสวนแห่งนี้มีลมค่อนข้างแรงในบางฤดู

ไผ่รวกเป็นไผ่ที่ปลูกได้ง่าย แต่จะใช้เวลานานถึง 4 ปีเลยทีเดียว กว่าที่ไผ่รวกจะเติบโตโดยสมบูรณ์แบบ และในส่วนของหน่อจะเก็บได้ตั้งแต่ปีที่ 3 แต่คุณณรงค์ก็ได้บอกว่า ถ้าอยากได้หน่อไม้ที่อยู่ในช่วงที่ดี แนะนำให้เก็บในปีที่ 4 ขึ้นไป เพราะนอกจากจะได้รสชาติที่ดี มอดก็ยังน้อยอีกด้วย

ทางด้านลำต้นของไผ่รวก คุณณรงค์ บอกว่า

“ไม้ไผ่รวกของเรา เราจะมีการนำไปตัดเพื่อทำเป็นหลักวัว หรือแผงกั้นที่มีลวดเป็นตัวนำไฟฟ้า ทำเป็นรั้วไฟฟ้า เพราะพื้นที่ในอำเภอพัฒนานิคม ส่วนใหญ่ทำอาชีพเลี้ยงวัว ทำการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ เราก็เลยนำไม้มาแปรรูปเป็นหลัก ขายได้ 1 ท่อน (1 เมตร 20 เซนติเมตร) ประมาณ 4 บาท โดยลำหนึ่งสามารถตัดได้ 4-5 ท่อน ลำต้นหนึ่งมีค่าประมาณ 20 บาท ส่วนเศษไม้ที่ตัดเป็นข้อๆ เราก็ไม่ได้ทิ้ง แต่เราจะนำไปเผาถ่าน เพื่อใช้ประโยชน์ในภายหลัง”

ส่วนไผ่เลี้ยง ถึงจะไม่ใช่ไม้หลักที่เลือกปลูก แต่จะมีประโยชน์และการเจริญเติบโตที่คล้ายกับไผ่รวก และคุณณรงค์จึงเลือกใช้หน่อกับลำต้นเหมือนไผ่รวกเกือบทุกอย่าง

นอกจากไผ่ที่คุณณรงค์ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากแล้ว เขาก็ยังปลูกสมุนไพรต่างๆ อีกหลายชนิดไว้ในสวนแห่งนี้อีกด้วย

“ผมทำเรื่องสมุนไพรอยู่ เป็นสมุนไพรปรับสมดุลร่างกาย คือการใช้รักษาโรคแบบง่ายๆ โดยที่ไม่ต้องใช้เงินในการรักษา ซึ่งสมุนไพรในนี้มีมากกว่า 30-40 ชนิด จะมีสมุนไพรที่เป็นไม้ยืนต้น-สมุนไพรที่เป็นไม้ล้มลุก แล้วก็สมุนไพรที่เป็นพืชข้ามปี ก็เลยกลายเป็นป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” คุณณรงค์ กล่าว ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง
ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง คือหนึ่งในปรัชญาของ ในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้เกษตรกรหรือประชาชนที่มีที่อยู่ว่างเปล่าได้มีป่าไม้ มีอาหารกิน มีไม้ใช้สอย

โดยคุณณรงค์ บอกว่า เขาได้นำปรัชญาเหล่านี้มาใช้กับสวนแห่งนี้ด้วย ซึ่งเขาได้อธิบายว่า ประโยชน์ 3 อย่าง ได้แก่ ป่าไม้ใช้สอย ป่าไม้กินได้ และป่าไม้เศรษฐกิจ

ส่วนประโยชน์ 4 อย่าง คือสามารถนำมาเป็นอาหารได้ ซึ่งที่สวนแห่งนี้จะมีเพกา มะขามป้อม กล้วย ขี้เหล็ก มะละกอ ฯลฯ แล้วก็ยังมีพืชสมุนไพรอีกหลายชนิดที่อยู่ในสวน ส่วนใหญ่ล้วนจะเป็นสมุนไพรที่คนทั่วไปอาจจะยังไม่รู้จักกับประโยชน์อย่างเด่นชัด

ประโยชน์ที่สอง นำสิ่งที่มีอยู่ในสวนไผ่มาใช้สอย เพื่อสร้างเป็นที่พักอาศัย หรือทำเป็นพวกเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ได้

ประโยชน์ที่สาม สามารถใช้ในการนำไปจำหน่ายได้ หรือจะนำมาเป็นพลังงาน เช่น การเผาถ่านก็ได้ ส่วนประโยชน์ข้อสุดท้าย พันธุ์ไม้เหล่านี้เมื่อปลูกแล้ว จะไม่มีการไปรบกวนธรรมชาติแม้แต่น้อย มีแต่จะรักษาเกื้อหนุนป่าไม้และสิ่งมีชีวิตตัวน้อยๆ แถมยังเป็นการสร้างสมดุลของระบบนิเวศภายในสวนได้อีกด้วย