มะนาวนอกฤดูขายได้ราคาดี ขายได้กิโลกรัมละ 100 กว่าบาท

แต่ปีนี้ ราคามะนาวปรับตัวลดลงขายได้กิโลกรัมละ 50-60 บาท ก็มีรายได้พออยู่ได้ แต่สวนของผมเน้นดูแลสวนมะนาวให้มีผลผลิตตลอด โดยใช้เทคนิคการควบคุมน้ำให้ต้นมะนาวอดน้ำ ก่อนให้น้ำและปุ๋ยบำรุงทางใบผ่านระบบสปริงเกลอร์ กระตุ้นให้ต้นมะนาวผลิดอกออกผลในช่วงระยะเวลาที่ต้องการ ทำให้มีผลมะนาวส่งขายร้านส้มตำและร้านอาหารในหมู่บ้านได้ตลอดทั้งปี

ทุกวันนี้ คุณกุ๊กเลี้ยงผึ้งโพรง จำนวน 15 ลัง ภายในสวนแห่งนี้ การเลี้ยงผึ้งโพรงนับเป็นอาชีพที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะมีเทคนิคการเลี้ยงดูแลไม่ยาก ลงทุนน้อย แค่ใช้ลังไม้เล็กๆ ให้ผึ้งใช้ทำรัง ดูแลเอาใจใส่เรื่องความสะอาด ก็จะได้ผลตอบแทนที่ได้คุ้มกับการลงทุน

คุณกุ๊ก บอกว่า เขาไม่ได้ลงทุนหาพันธุ์ผึ้งมาเลี้ยง แต่ใช้วิธีทำลังไม้มาวางล่อผึ้งในสวน เขานำขี้ผึ้งมาป้ายที่ฝาลัง เพื่อส่งกลิ่นดึงดูดให้ผึ้งโพรงบินมาอาศัยในลังดังกล่าว นอกจากนี้ ยังใช้เทคนิคการพ่นรังให้หอม ทำให้ผึ้งโพรงตามธรรมชาติบินเข้ามาทำรังในบริเวณที่จัดไว้ เนื่องจากสวนแห่งนี้ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำมาหากินและอยู่อาศัยของผึ้งโพรง เพราะดูแลสวนแบบเกษตรอินทรีย์ ไร้สารพิษ แถมมีพันธุ์ไม้นานาชนิด ไม้ดอก ไม้ยืนต้น และผลไม้ที่ผลิดอกออกผลทั้งปี จึงดึงดูดให้ผึ้งโพรงมาอยู่อาศัยทำรังในสวนแห่งนี้อย่างสม่ำเสมอ

คุณกุ๊กเก็บน้ำผึ้งโพรงออกจำหน่ายได้ 2 รุ่น ต่อปี คือ ช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน และช่วงสิงหาคม – กันยายน โดยจำหน่ายน้ำผึ้งโพรง (700 ซีซี) ในราคา ขวดละ 500 บาท สร้างเม็ดเงินเข้ากระเป๋าได้เป็นกอบเป็นกำ เพราะขายในราคาถูกกว่าท้องตลาด ซึ่งโดยทั่วโปมีราคาซื้อ-ขายน้ำผึ้งโพรงอยู่ที่ขวดละ 700-800 บาท

ผู้ผลิตน้ำผึ้งบางรายผลิตน้ำผึ้งจากดอกไม้ชนิดเดียวในสวน แต่น้ำผึ้งโพรงของคุณกุ๊กปลูกพันธุ์ไม้หลากหลาย 7 ชนิด ขึ้นไป เช่น มะพร้าว มะนาว เงาะ ขนุน หว้า ฯลฯ ซึ่งผึ้งจะรวบรวมละอองเกสรดอกไม้หลากหลายชนิดไว้ในรัง กลายเป็นน้ำผึ้งแสนอร่อย ซึ่งเป็นอาหารดีที่ส่งตรงจากธรรมชาติ เป็นแหล่งของวิตามิน แร่ธาตุต่างๆ ที่ล้วนแล้วมีดีต่อสุขภาพส่งต่อถึงผู้บริโภค

ปัจจุบัน คุณกุ๊กได้นำน้ำผึ้งโพรงและสินค้าเกษตรนานาชนิดจำหน่ายผ่านตลาดออนไลน์ และการนำสินค้าไปวางขายในตลาดสินค้าสีเขียวและงานแสดงสินค้าต่างๆ ที่หน่วยงานภาครัฐจัดขึ้น ทำให้เขามีฐานลูกค้าจำนวนมากกระจายอยู่ทั่วประเทศ

เนื่องจากสวนของคุณกุ๊กจำหน่ายน้ำผึ้งโพรงได้ ถือเป็นเครื่องหมายการันตีได้อย่างหนึ่งว่า สวนแห่งนี้ทำเกษตรอินทรีย์แบบปลอดสารพิษ ดีต่อสภาพสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง เพราะพื้นที่เลี้ยงผึ้งโพรงได้นั้นต้องเป็นพื้นที่ที่ปลอดสารเคมีประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง รวมไปถึงการเผาขยะ เนื่องจากผึ้งรับความรู้สึกไวต่อสิ่งแวดล้อมมาก ทำให้คุณกุ๊กสามารถจำหน่ายสินค้าพืชผักผลไม้อินทรีย์ได้ในราคาดี และเป็นที่เชื่อถือของผู้บริโภคในวงกว้าง

แบ่งปันความรู้สู่ชุมชน

“ผมประสบความสำเร็จในเส้นทางอาชีพการทำเกษตรได้ในทุกวันนี้ ต้องยกความดีให้กับ กศน.อำเภอคลองหอยโข่ง ที่พาผมไปเรียนรู้เรื่องการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ผมสามารถเก็บเกี่ยวความรู้นำมาประกอบอาชีพและสร้างรายได้สำหรับเลี้ยงดูแลครอบครัวได้อย่างยั่งยืน” คุณกุ๊ก กล่าว

คุณจตุรภัทร เวชสิทธิ์ ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอคลองหอยโข่ง กล่าวเสริมว่า คุณกุ๊กได้องค์ความรู้เรื่องการเลี้ยงผึ้งโพรงมาใช้ประกอบอาชีพได้ทุกวันนี้เพราะ กศน.อำเภอคลองหอยโข่ง ได้นำคุณกุ๊ก นักศึกษา กศน. และผู้สนใจไปเยี่ยมกิจการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรงปันแต จังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นเจ้าของภูมิปัญญาเรื่องการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยแบบนวัตกรรม ส่งผลให้ได้น้ำผึ้งคุณภาพสูงมากกว่าแบบเดิม ถึง 3 เท่า และสามารถจำหน่ายน้ำผึ้งได้ในราคาสูงขึ้นด้วย

โดยธรรมชาติแล้วการเลี้ยงผึ้งโพรง เกษตรกรจะมีต้นทุนการผลิตต่ำ เพราะผึ้งโพรงไทยมีอยู่แล้วในธรรมชาติ ไม่ต้องซื้อและหา แค่ลงทุนเรื่องอุปกรณ์การเลี้ยง และคอนผึ้งที่พัฒนาเพื่อใช้เลี้ยงผึ้งโพรงโดยเฉพาะ ช่วยให้เกษตรกรเก็บน้ำผึ้งได้ง่ายและได้น้ำผึ้งที่สะอาด โดยไม่สูญเสียประชากรผึ้งและลูกอ่อนผึ้ง ทั้งยังสามารถเก็บน้ำผึ้งได้ทันทีไม่ต้องสร้างรังใหม่ การเลี้ยงผึ้งโพรง เกษตรกรสามารถเก็บน้ำผึ้งออกขายได้ตลอด เรียกว่า ลงทุนแค่ครั้งเดียวก็มีรายได้ก้อนโต คุ้มเสียยิ่งกว่าคุ้ม

คุณกุ๊ก นับเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ไฟแรง และเป็นสมาชิกกลุ่มสมาร์ทฟาร์มเมอร์ของจังหวัดสงขลา เขาร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น ทำงานร่วมกับปศุสัตว์อำเภอคลองหอยโข่ง และโครงการชลประทานสงขลา จัดอบรมความรู้เรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ หมู่ที่ 2, 4, 8 ตำบลคลองหอยโข่ง, ตำบลโคกม่วง, ตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา โดยแนะนำองค์ความรู้เรื่องการเลี้ยงไก่และการเริ่มต้นการผลิตตามแผนการผลิตให้เหมาะสมศักยภาพของเกษตรกร ในรูปแบบ 3 ประสาน เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในระดับพื้นที่

ในช่วงนี้มีฝนตกชุกและมีความชื้นสัมพัทธ์สูง กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพริกเฝ้าระวังการระบาดของโรคราขนแมว สามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพริก มักพบที่ยอดอ่อนและกิ่งอ่อน โดยแสดงอาการมีแผลช้ำฉ่ำน้ำ และแผลจะขยายลุกลามลงมาตามกิ่งอย่างรวดเร็ว ทำให้กิ่งแห้งหักพับ หากต้นพริกแสดงอาการรุนแรง ใบและดอกพริกจะร่วงจนเหลือแต่ก้าน และต้นพริกจะไม่มีการแตกยอดใหม่ ส่วนที่ผลอ่อนจะเกิดอาการช้ำฉ่ำน้ำ เน่า และหลุดร่วงได้ง่าย กรณีที่ในอากาศมีความชื้นสูงมากๆ จะเห็นก้านใสของเชื้อราชูสปอร์คล้ายขนแมวขึ้นมาจากส่วนของพืชที่เป็นโรค ส่วนปลายของก้านใสที่เป็นส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราจะเห็นกลุ่มสปอร์เป็นตุ่มสีดำ สปอร์เชื้อราสาเหตุโรคสามารถปลิวแพร่ระบาดไปสู่พริกต้นอื่นได้โดยง่าย เนื่องจากอาศัยติดไปกับสิ่งที่เข้าไปสัมผัส อาทิ น้ำ ลม ฝน น้ำค้าง และแมลง ทำให้เกิดการระบาดรุนแรงมากยิ่งขึ้น

เกษตรกรควรหมั่นสำรวจตรวจแปลงและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกพริกอย่างสม่ำเสมอ และควรปรับระยะปลูกพริกไม่ให้แน่นจนเกินไป เพื่อลดความชื้นในแปลงปลูก และมีอากาศถ่ายเทสะดวก ในช่วงที่อากาศมีความชื้นสูงและร้อนอบอ้าว หากเริ่มพบต้นพริกแสดงอาการยอดช้ำ หรือสังเกตเห็นยอดพริกมีเชื้อราเกิดขึ้น ให้เกษตรกรรีบตัดส่วนที่เป็นโรคใส่ถุงหรือภาชนะปิดตั้งแต่ในแปลงปลูก หรือหากพบต้นที่แสดงอาการของโรครุนแรง ให้รีบถอนต้นพริกและเก็บเศษซากพืชส่วนที่เป็นโรคออกจากแปลงไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของสปอร์เชื้อราสาเหตุโรค จากนั้นให้พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชไดโคลแรน 75% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไตรโฟรีน 19% อีซี อัตรา 20-30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไอโพรไดโอน 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นทุก 5 วัน กรณีพบการระบาดของโรค ให้เกษตรกรหลีกเลี่ยงการให้น้ำแบบพ่นฝอย

เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ

ผมเคยเห็นผลไม้ชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายหัวใจ แต่มีขนาดเล็กกว่า ผลสุกมีสีเหลือง แต่ไม่มีโอกาสได้ลิ้มรส จึงไม่ทราบว่ามีรสชาติอย่างไร ถามแม่ค้าได้รับคำตอบว่า ม่อนไข่ หรือ เซียนท้อ ผมอยากทราบว่าเป็นไม้พื้นบ้านของไทย หรือเป็นไม้นำมาจากต่างประเทศ ขอคำแนะนำด้วยครับ

ผลไม้ที่ถามมา ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ เรียก ม่อนไข่ ชาวราชบุรี เรียกว่า ท้อพื้นบ้าน ชาวปราจีนบุรี เรียก ท้อเขมร ชาวเพชรบูรณ์ เรียก ทิสซ่า และในแถบภาคกลางเรียก เซียนท้อ ม่อนไข่ หรือเซียนท้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ Xantolis palmere Bachni. ม่อนไข่ มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่เม็กซิโกตอนใต้ กัวเตมาลา เอลซัลวาดอร์ บราซิล แล้วแพร่เข้าไปยังฟลอริดา สหรัฐอเมริกา และหมู่เกาะเวสต์อินดีส

ม่อนไข่ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบบางเป็นมันที่ผิวด้านบน รูปเรียว แหลม ก้านอ่อนมีสีน้ำตาลกำมะหยี่ ดอกสีครีม มีกลิ่นหอม ผลมีรูปร่างคล้ายหัวใจ มีทั้งชนิดกลมป้อม และยาวรี ผลแก่เปลือกเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลือง เนื้อผลมีสีเหลือง ฟูและเหนียวเล็กน้อย รสหวานไม่มาก ในหนึ่งผลมีเมล็ดขนาดใหญ่ 1-2 เมล็ด

ม่อนไข่ปลูกได้ดีในประเทศเขตร้อน แต่ดินต้องระบายน้ำได้ดี หากปลูกบนที่สูงอากาศหนาวเย็น เก็บเกี่ยวผลได้ระหว่างเดือนธันวาคมไปถึงเดือนกุมภาพันธ์ แต่ถ้าปลูกในที่ราบจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในเดือนกรกฎาคมไปจนถึงเดือนกันยายน การขยายพันธุ์ทำได้ทั้งใช้เมล็ดและกิ่งตอน

เนื้อม่อนไข่อุดมไปด้วยวิตามินซี ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน นอกจากนี้ ยังมีไนอะซินและเบต้าแคโรทีนสูง มีประโยชน์ในการช่วยชลอความแก่อีกด้วย

เหตุผลประการหนึ่งที่ต้นอ่อน (SPROTS) เป็นอาหารที่มีคุณค่าก็คือ ต้นอ่อน เป็นอาหารที่ย่อยง่ายและให้พลังงานสูง เมล็ดพืชที่สามารถนำมาเพาะเป็นต้นอ่อนได้มีหลายชนิด ได้แก่

ตระกูลถั่ว (Beans) เป็นพืชที่อุดมไปด้วยโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต แต่เมื่ออยู่ในรูปของต้นอ่อนกลับเป็นอาหารที่ไม่ได้ทำให้เกิดภาวะเป็นกรดในร่างกาย

ทานตะวัน (Sunflower) ประกอบด้วยวิตามินบีและดีสูง นอกจากนี้ ยังอุดมไปด้วยกรดอะมิโนจำเป็นหลายชนิด

งา (Sesame seeds) เป็นแหล่งของแคลเซียม ธาตุเหล็ก ไนอะซิน โปรตีน และฟอสฟอรัส

อัลฟาฟ่า (Alfalfa) เป็นแหล่งพืชที่นิยมนำมาเพาะเป็นต้นอ่อน เนื่องจากมีคลอโรฟิลล์จำนวนมาก วิตามินเอ วิตามินบีคอมเพลกซ์ ซี ดี อี จี เค นอกจากนี้ ยังประกอยด้วยธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส และซัลเฟอร์ ปริมาณมาก

ธัญพืช (Grains) ต้นอ่อนของข้าวสาลีอุดมไปด้วยสารอาหารนานาชนิด ได้แก่ วิตามินซี อี บีคอมเพลกซ์ แมกนีเซียม แคลเซียม ฟอสฟอรัส โซเดียม โพแทสเซียม โปรตีน เอนไซม์ และคลอโรฟิลล์

ต้นอ่อน จัดเป็นพืชมหัศจรรย์ เนื่องจากมีปริมาณวิตามินและสารอาหารสูงกว่าพืชชนิดเดียวกันที่โตเต็มที่ และพบว่า ต้นอ่อนบางชนิดมีวิตามินเพิ่มขึ้นถึง 500% ยกตัวอย่าง เช่น ต้นอ่อนข้าวสาลี มีวิตามินบี 12 เพิ่มขึ้น 4 เท่า วิตามินบีอื่นๆ เพิ่มขึ้น 3-12 เท่า วิตามินอีเพิ่มขึ้น 3 เท่า ในถั่วงอกมีวิตามินเอมากกว่าเมล็ดถั่วแห้ง 2.5 เท่า ในเมล็ดถั่วซึ่งเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน แต่ไม่มีวิตามินซี เมื่อเพาะเป็นต้นอ่อนกลับพบว่า มีปริมาณวิตามินซี 3.5 ออนซ์ ซึ่งมีมากถึง 20 มิลลิกรัม

ต้นอ่อนผักบุ้ง มีวิธีปลูกไม่ยาก เพราะเมล็ดผักบุ้งจะเพาะขึ้นง่ายและใช้เวลาปลูกสั้น ประมาณ 8-10 วัน ก็สามารถเก็บมาประกอบอาหารได้ ต้นอ่อนผักบุ้ง 100 กรัม จะให้พลังงานต่อร่างกาย 22 กิโลแคลอรี ประกอบด้วยสารอาหารมากมาย เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี1 และวิตามินบี 2 วิตามินซี และยังช่วยบำรุงสายตา

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้

เมล็ดพันธุ์
ดินละเอียด ดินผสม ขุยมะพร้าว แกลบดำ มูลไส้เดือน
กระบะสำหรับเพาะ หรือตะกร้า
วิธีการเพาะ

ล้างเมล็ด 1-2 น้ำ และแช่เมล็ดในน้ำ ประมาณ 8 ชั่วโมง หรือ 1 คืน
เอาเมล็ดขึ้นจากน้ำ ใส่ตะแกรงให้สะเด็ดน้ำ ประมาณ 10-20 นาที แล้วนำเมล็ดไปบ่มโดยห่อผ้าขาวบางทิ้งไว้ ประมาณ 20 ชั่วโมง สังเกตว่าจะมีตุ่มเล็กๆ งอกออกมา ก็สามารถเอาลงดินหรือวัสดุปลูกต่อไปได้
เตรียมภาชนะปลูก ดินเพาะ นำเมล็ดที่บ่มแล้วโรยลงในภาชนะให้สม่ำเสมอ ไม่ควรแน่นเกินไป กลบดินบางๆ แล้วฉีดน้ำละอองฝอย
รดน้ำ เช้า-เย็็็น ให้ชุ่ม ประมาณ 8-10 วัน จะได้ต้นอ่อนผักบุ้งไว้รับประทาน
ทั้งนี้ ยังมี พืชอีกหลายชนิดที่สามารถเพาะเป็นต้นอ่อนกินได้ ทั้ง ต้นอ่อนถั่วลันเตา อัลฟาฟ่า ทานตะวัน และหัวไชเท้า

ปัจจุบัน อินทผลัมกินผลสด กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก ถึงแม้ว่าจะมีราคาค่อนข้างสูง แต่ก็ยังเป็นที่นิยมของคนทั่วไป หลายคนคงยังไม่รู้ว่า อินทผลัมกินผลสด นั้นได้มีการนำเข้ามาทดลองปลูกในไทยเป็นเวลานานแล้ว แต่กว่าจะเป็นที่ยอมรับ ต้องใช้เวลา

เทคโนโลยีชาวบ้าน ได้รับความกรุณาจาก คุณสุเทพ กังเกียรติกุล มาบอกเล่าถึงวิธีการปลูกต้นอินทผลัมกินผลสด และการดูแลรักษา

คุณสุเทพ ถือว่าเป็นลูกเกษตรโดยแท้จริง เพราะว่าคุณพ่อคุณแม่ของเขาทำสวนอยู่ที่ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม อีกทั้งยังคลุกคลีอยู่กับสวนมะนาว สวนส้มโอ มาตั้งแต่ยังเด็ก เลยได้มีโอกาสเรียนรู้สิ่งต่างๆ ในการทำเกษตร มีโอกาสได้ไปเรียนเกษตรที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จบมาทางโรคพืช

ปัจจุบัน คุณสุเทพเป็นเจ้าของ บริษัท เคโมคราฟ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยการผลิตทางการเกษตร อย่างปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืช เป็นต้น

สนใจมานานแล้ว อินทผลัมกินผล

คุณสุเทพ เล่าว่า ในปี 2542 ได้มีโอกาสไปตะวันออกกลาง ตอนนั้นมีโอกาสไปเห็นอินทผลัมเข้า แปลกใจมาก เพราะว่าสามารถเอามือไปจับผล จับจั่นได้เลย แถมผลของมันก็ยังมีทั้งสีแดง สีเหลือง พอเห็นแล้วก็เกิดความคิดอยากได้เอามาปลูกที่ประเทศไทยให้ได้เลย ถึงกับเอาไปนอนคิดวิธีที่จะเอากลับมาที่ไทยว่าจะเอามายังไง ก็เลยไปถามเจ้าหน้าที่ดูแล

แต่ว่าเจ้าหน้าที่บอกว่า ให้ไม่ได้ แต่เขาก็พาเดินรอบแปลงด้านนอกแทน ไม่ได้พาเดินด้านใน เพราะว่าด้านในห้ามเข้า แต่ด้วยความที่อยากได้ ก็เลยไปถามคนงานไทยที่ทำงานอยู่ที่นั่น ว่าให้ช่วยเก็บผลมาให้หน่อย แต่คนงานไทยบอกว่า “ไม่ได้ ถ้าเขาเก็บมาเขาจะมีความผิด แต่ถ้าแขกที่มาเก็บไม่มีความผิด”

“ผมเลยเก็บกลับมาประมาณ 200 กว่าผล มีทั้งลูกสีแดง ประมาณ 50-60 ผล ลูกสีเหลืองอีกประมาณกว่า 200 ผล หลังจากกลับมาก็ลองนำมาเพาะเมล็ด ในปี 2542 ตอนนั้นคิดว่ามันเป็นพืชทะเลทราย ไม่คิดว่าจะเพาะขึ้น แต่ก็เพาะขึ้นประมาณ 200 กว่าต้น ประมาณ 2 เดือน ก็นำมาย้ายใส่ถุง ประมาณ 6 นิ้ว แล้วก็ตั้งไว้อีก 3-4 เดือน รดน้ำบ้างไม่ได้รดน้ำบ้าง แต่มันอยู่ได้ 100 ต้น จากนั้นก็นำไปใส่กระถาง ประมาณ 15 นิ้ว ก็ไม่ได้ดูแลเท่าไรเลย ตอนนั้นก็ได้ซื้อที่ดินแถวพุทธมณฑลสาย 1 ไป 4 ไร่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2539 ได้มีการทดลองปลูกส้ม ฝรั่ง ชมพู่ และที่สำคัญก็เริ่มนำอินทผลัมเข้าไปปลูกบ้างแล้ว ตอนหลังได้มีการพัฒนาที่ดินไปทำสำนักงาน เลยได้มีการโค่นต้นอินทผลัมออกไปหลายต้น หลังจากนั้น ได้มีการเอามาปลูกใหม่ ในปี 2546 ได้ 50 กว่าต้น เป็นต้นที่เพาะเมล็ดทั้งนั้นเลย มีตัวผู้อยู่ประมาณ 30-40 ต้น ตัวเมียอีก 18 ต้น ได้ผลอยู่ประมาณ 4 ต้น จาก 18 ต้น ผลที่ออกมามีรสฝาดถึงฝาดมากๆ ก็ไม่พอใจในคุณภาพ เลยมีการโค่นทิ้ง เก็บตัวผู้ไว้ 3 ต้น ตัวเมีย 15 ต้น” คุณสุเทพ เล่า

ในจำนวนของอินทผลัมทั้งหมดมีดอกนอกฤดูกาลถึง 4 ต้น สามารถออกดอกในเดือนมิถุนายน สิงหาคม กันยายน และธันวาคม ได้อีกด้วย

คุณสุเทพ บอกว่า ตอนหลังได้มีการเอาเนื้อเยื่อพันธุ์บาร์ฮีเข้ามาปลูกแทนการเพาะเมล็ดนั้น เป็นเพราะว่าผลจากการปลูกจากต้นเพาะเมล็ดนั้น ไม่เป็นที่น่าพอใจเท่าไร ก็เลยหาช่องทางที่จะนำเนื้อเยื่อมาปลูกให้ได้ ก็สืบทราบมาว่า มีคนไทยหลายคนแล้วที่นำเนื้อเยื่อบาร์ฮีมาปลูก ตอนนั้นก็ได้ไปปรึกษา ท่านอาจารย์ ดร. อุทัย จารณศรี ท่านได้บอกว่า หาไม่ยาก ท่านเคยนำเข้ามาให้บางกอกฟลาวเออร์ จากแล็บต่างประเทศ

“ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 ดร. อุทัย ท่านนำเข้ามาทั้งหมด ประมาณ 33 ต้น ทางแล็บต่างประเทศให้มาปลูกฟรี เพื่อมาทดลองปลูกในที่ของบางกอกฟลาวเออร์ แต่ว่าในช่วงนั้นอินทผลัมกินผลสดในเมืองไทยยังไม่พัฒนา และไม่มีใครสนใจ ก็เลยขาดหายไป แต่พอผมลองปรึกษาท่านอาจารย์ ดร. อุทัย ท่านบอกว่า ให้ลองถามที่อาจารย์เคยได้มา ก็เลยลองติดต่อไปตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2557 และมาได้ต้น 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เป็นล็อตแรก บางส่วนเลี้ยงใส่ถุงไว้ 10 เดือน แล้วก็นำมาปลูกลงในแปลงที่ 3 เดือนกันยายน พ.ศ. 2559 ส่วนในแปลงแรกก็เป็นของล็อตแรกเหมือนกัน ได้นำมาปลูกแซมกับต้นเพาะเมล็ด ต้นที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อใช้เวลาในการปลูก 16 เดือน ตั้งแต่ลงดินจนถึงออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2561 เริ่มเก็บผลช่วงกรกฎาคม-สิงหาคมปีนี้” คุณสุเทพ เล่า

ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ด คุณสุเทพ รอดูผลผลิต หากเป็นตัวผู้ หรือตัวเมีย แต่ลักษณะไม่เด่นได้ตัดทิ้งไป ขณะเดียวกันก็ปลูกต้นตัวเมียที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไว้เป็นจำนวนมาก หลายแปลงด้วยกัน

เป็นผู้ปลูกรายใหญ่

มีคำแนะนำในการดูแลรักษา

ปัจจุบัน ถือว่า คุณสุเทพ เป็นผู้ปลูกอินทผลัมกินผลสดรายใหญ่ ส่วนใหญ่ต้นขยายพันธุ์จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ นอกจากนี้ ยังมีต้นที่เพาะเมล็ด โดยที่ต้นไหนมีลักษณะที่ดีเขาจะเก็บไว้ บางต้นโดดเด่นมากๆ อร่อยกว่าพันธุ์บาร์ฮีเสียอีก

คุณสุเทพ แนะนำระยะในการปลูกที่เหมาะสม โดยใช้ระยะห่าง 8×7 เมตร ระหว่างต้น 7 เมตร ระหว่างแถว 8 เมตร เจ้าของบอกว่า การให้น้ำใช้สปริงเกลอร์โดยการเอาสายยางวนรอบต้นไม้ ห่างประมาณ 1.5 เมตร หัวที่ใช้จะเป็นหัวแบนราคาถูก ไม่เกิน 2 บาท 1 วง ใช้ 6 หัว จะเปิด 15-18 นาที แต่ถ้าวันไหนฝนตก ทางสวนก็จะไม่ให้น้ำ

คุณสุเทพ มีแปลงปลูกอินทผลัมอยู่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี บางส่วนอยู่จังหวัดนครปฐม พื้นที่เกษตรของคุณสุเทพมีอยู่หลายร้อยไร่ นอกจากปลูกอินทผลัมกินผลแล้ว ยังปลูกพืชชนิดอื่นอีก

ใช้ปุ๋ยพิเศษอยู่ได้นาน

เนื่องจากเป็นเจ้าของกิจการธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยการผลิต คุณสุเทพมีปุ๋ยเด็ดให้กับอินทผลัม

ปุ๋ยที่ว่าคือ ไบโอฟีช 49 เป็นสูตรที่ใช้สำหรับการเจริญเติบโตของต้นไม้ทั่วไป ให้ใส่หลุมละ 20 กิโลกรัม จะอยู่ได้นาน 15 ปี ที่ให้อยู่ได้ 15 ปี เพราะว่าดินที่ใช้เป็นดินเหนียวด้วย พอผสมปุ๋ยลงไปดินก็จะมีความร่วนและซุยขึ้น ราคาก็จะอยู่ที่ ตันละ 16,000 บาท สามารถหาซื้อได้ตามตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ เป็นผลิตภัณฑ์ของเคโมคราฟ ปุ๋ยระหว่างปีหลังจากให้ผลแล้วก็จะใช้ปุ๋ยไบโอฟีช 49 เป็นแบบปั้นเม็ด ทุกเม็ดมีคุณภาพเท่ากัน จะใส่ประมาณ 10 กิโลกรัม หลังเก็บเกี่ยวผลแล้ว

ศัตรูของอินทผลัม

คุณสุเทพ บอกว่า เจอปัญหาด้วงกัดยอด รูเล็ตออนไลน์ กัดใบอ่อนอินทผลัมเยอะมาก เนื่องจากว่าแถวตำบลบ้านใหม่ อำเภอบางใหญ่ เป็นพื้นที่ปลูกต้นมะพร้าวเป็นส่วนใหญ่ มีทั้งข้างถนน ตามคันนา เลยทำให้มีด้วงเยอะ คาดว่าตำบลบ้านใหม่มีต้นมะพร้าวที่ตายแล้วไม่ต่ำกว่า 2,000 ต้น

มีการป้องกันโดยการใช้ สารเอสเว้น ใช้อัตรา 300 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดเป็นแนวตั้งฉากกับพื้น ในระยะห่างจากยอดมาหาพื้นดินแค่ 80 เซนติเมตร เพื่อไม่ต้องการให้ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมมากเกินไป

ผลผลิตเป็นอย่างไรบ้าง

ผลผลิตของคุณสุเทพ ต้นหนึ่งได้ไม่ต่ำกว่า 30 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี เป็นพันธุ์บาร์ฮี อายุยังไม่มากนัก

“เคยได้ลองวัดความหวานของผลอินทผลัม ได้ความหวาน 45-50 บริกซ์ ผลผลิตนำไปจำหน่ายที่เซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต ขายอยู่ที่ 300 กรัม ราคา 98 บาท 450 กรัม ราคา 298 บาท ถ้า 900 กรัม ราคา 498 บาท เฉลี่ยแล้วกิโลละ 550 บาท ผมมองว่าเป็นโอกาสของคนไทยทั้งประเทศ สามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ที่มีการจัดการดี ให้น้ำดี ดินกร่อย ดินเค็มก็ยังปลูกได้ ไม่เหมือนทุเรียน ต้องดินจืดจริง น้ำก็ต้องจืดจริง ถึงจะปลูกได้” คุณสุเทพ บอก

คุณสุเทพ จำหน่ายต้นพันธุ์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ อินทผลัมกินผลสด ได้จากการนำเข้า แต่คิวยาวถึงต้นปี 2562

ขณะปิดต้นฉบับนี้ ผลผลิตอินทผลัมของคุณสุเทพหมดแล้ว ต้องรอปีหน้า รับรองออกมาให้ชิมกันจุใจแน่

หากใครสนใจ สามารถติดต่อได้ที่เบอร์โทร. (081) 870-1981 หรือ ที่ บริษัท เคโมคราฟ จํากัด เลขที่ 44/89 หมู่ที่ 4 ซอยแผ่นดินทอง 37 พุทธมณฑลสาย 1 แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170

กล้วยน้ำว้าในประเทศไทย พบว่ามีอยู่ประมาณ 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มกล้วยน้ำว้าไส้ขาว, กลุ่มกล้วยน้ำว้าไส้เหลือง และกลุ่มกล้วยน้ำว้าไส้แดง โดยกล้วยน้ำว้าในแต่ละกลุ่มก็มีลักษณะการใช้งานที่เหมาะสมที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ประโยชน์ เช่น กล้วยน้ำว้าไส้ขาว ที่รู้จักกันดีคือ “กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง” เป็นกล้วยน้ำว้าไส้ขาว เมื่อนำไปทำ “กล้วยตาก” จะได้กล้วยตากที่สีเหลืองสวย ไม่ดำคล้ำ หรือ เอาไปทำกล้วยแผ่นอบ ก็จะมีสีเหลืองสวยพอดี ไม่เหลืองมาก เหมือนกลุ่มกล้วยน้ำว้าเหลือง

ส่วนกล้วยน้ำว้ากลุ่มไส้เหลือง เหมาะสำหรับการกินผลสด ทำกล้วยเชื่อม กล้วยทอด กล้วยบวชชี เป็นกล้วยที่เหมาะสำหรับการแปรรูป ทำขนม ใช้งานได้หลากหลายที่สุด สุดท้ายคือ กล้วยน้ำว้ากลุ่มไส้แดง เป็นกล้วยที่ติดผลค่อนข้างดก ไส้กลางค่อนข้างแข็ง มีความฝาด จะเหมาะนำไปทำกล้วยเชื่อม หรือทำไส้ข้าวต้มมัด เพราะไส้กล้วยมีความแข็งไม่เละ กล้วยน้ำว้ากลุ่มไส้แดงนั้น ไม่เหมาะที่จะนำไปทำกล้วยตาก เพราะกล้วยตากที่มีสีคล้ำดำ สีไม่สวย ดูเหมือนกล้วยตากเก่า