มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ไม้ผลทำเงิน ของสระแก้วถือเป็นแหล่ง

ผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย โดยเฉพาะมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ซึ่งมีผิวเหลืองทองน่ารับประทาน มีรสชาติหอมหวาน อร่อย ซึ่งเป็นที่นิยมสูงทั้งในประเทศและตลาดส่งออก

สายพันธุ์มะม่วงที่นิยมปลูกมากที่สุด ได้แก่ พันธุ์น้ำดอกไม้สีทองและเขียวเสวย ทุกวันนี้ผลผลิตมะม่วงส่วนใหญ่มุ่งผลิตเพื่อการส่งออก ดังนั้น จังหวัดสระแก้วจึงประกาศให้มะม่วงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด

คุณกระจ่าง จำศักดิ์ เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองกว่า 400 ไร่ ในพื้นที่อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว โดยคุณกระจ่าง เล่าว่า ผมเกิดในครอบครัวเกษตรกร เรียนจบระดับ ปวช. สาขาเกษตร ที่อยุธยา และเรียนจบระดับปริญญาตรี ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี หลังจากนั้น ก็ทำงานในบริษัทเอกชนเรื่อยมา จนกระทั่งเกิดความสนใจอาชีพการทำสวนมะม่วง เนื่องจากสามารถสร้างรายได้ที่ดี ผมจึงตัดสินใจลาออก และก้าวเข้าสู่อาชีพการทำสวนมะม่วงอย่างเต็มตัว เมื่อ 14-15 ปีก่อน

เนื่องจากคุณกระจ่างขาดประสบการณ์เรื่องการทำสวนมะม่วง จึงร่วมหุ้นกับเพื่อนเช่าพื้นที่ 40-50 ไร่ในอำเภอพนัสนิคม เพื่อทำสวนมะม่วง หลังจากนั้น ก็ขยายการลงทุนมาเช่าพื้นที่ 400 ไร่ในอำเภอวัฒนานคร เพื่อทำสวนมะม่วง และประสบผลสำเร็จในอาชีพชาวสวนมะม่วงตามเป้าหมายที่วางไว้

ความจริงเป็นสวนมะม่วงเนื้อที่ 400 ไร่แห่งนี้ เป็นของนักธุรกิจรายหนึ่ง แต่เขาไม่มีเวลาดูแลสวน จึงเปิดให้คุณกระจ่างเช่าพื้นที่ โดยเรียกเก็บค่าเช่าปีละ 500,000 บาท สำหรับสวนแห่งนี้ ปลูกมะม่วงหลากหลายสายพันธุ์ เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง มะม่วงน้ำดอกไม้เบอร์ 4 มะม่วงทองดำ มะม่วงฟ้าลั่น มะม่วงเขียวเสวย โดยจะเก็บผลผลิตออกขายแก่สหกรณ์ชมรมชาวสวนมะม่วง จังหวัดฉะเชิงเทรา จำกัด เฉลี่ยปีละ 3 ครั้ง คือ ผลผลิตนอกฤดู (พฤศจิกายน-ธันวาคม) ผลผลิตก่อนฤดู (กุมภาพันธ์-มีนาคม) ผลผลิตในช่วงฤดู (เมษายน-พฤษภาคม)

เคล็ดลับดูแลสวนระบบจีเอพี (GAP)

คุณกระจ่าง เล่าว่า แม้พื้นที่แห่งนี้จะเป็นสวนมะม่วงเก่า แต่ผมก็ใช้ระบบเทคโนโลยีการจัดการสวนแบบใหม่ ตามมาตรฐานจีเอพี ตั้งแต่เมื่อ 6 ปีที่แล้ว เพื่อให้สินค้ามีมาตรฐานและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค สำหรับเทคนิคการจัดสวนระบบจีเอพี ไม่มีขั้นตอนยุ่งยากอะไร แค่ปฏิบัติตามขั้นตอนการผลิตที่ปลอดภัยเป็นหลัก

เช่น เก็บรักษาสารเคมีและอุปกรณ์ทางการเกษตรให้เป็นสัดส่วน โดยแยกจากที่อยู่อาศัย มีการใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างถูกต้องเหมาะสม และปฏิบัติตามระบบการจัดการคุณภาพ จีเอพี สภาพภายในสวนเน้นรักษาความสะอาด มีการสำรวจแมลงศัตรูพืช ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคไปทำลาย กำจัดวัชพืชโดยใช้เครื่องตัดหญ้า

และมีการจดบันทึกการใช้สารเคมีไว้ทุกครั้ง เพื่อให้สามารถตรวจย้อนกลับได้ รวมทั้งสุ่มตรวจผลผลิต เพื่อตรวจสอบหาสารเคมีตกค้างก่อนเก็บเกี่ยวในแต่ละรุ่นประมาณ 2 สัปดาห์ ผลผลิตจากสวนที่ผ่านระบบจีเอพี จะมุ่งป้อนตลาดส่งออกเป็นหลัก ยอดขายตลาดส่งออกก็เติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี

เกือบ 10 ปีก่อน คุณกระจ่างแยกตัวจากเพื่อน มาซื้อที่ดิน 66 ไร่ในบริเวณใกล้เคียงกับสวนแห่งนี้ เพื่อลงทุนทำสวนมะม่วงเป็นของตัวเอง โดยเน้นปลูกมะม่วงเพียง 2 สายพันธุ์ คือ น้ำดอกไม้สีทองและเขียวเสวย เนื่องจากเป็นสินค้ายอดนิยมที่ตลาดในประเทศและส่งออกต้องการผลผลิตเป็นจำนวนมากนั่นเอง

เทคนิคการจัดการสวนมะม่วงแบบใหม่

คุณกระจ่าง เล่าว่า เพื่อให้สวนแห่งใหม่นี้ดูแลจัดการง่ายและสะดวกต่อการเก็บเกี่ยว ผมกำหนดพื้นที่ปลูกมะม่วงเขียวเสวยในระยะ 8×6 เมตร ส่วนมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ปลูกในระยะต้นชิด คือ 6×4 เมตร เพื่อดูแลไม่ให้ลำต้นสูงเกินไป การจัดการสวนแบบใหม่ โดยเว้นที่ว่างในระยะ 6 เมตร สามารถใช้รถแทรกเตอร์และรถพ่นยาวิ่งทำงานในสวนได้อย่างสบาย โดยไม่กระทบต่อการเติบโตของต้นมะม่วง ปัจจุบันสวนแห่งใหม่มีอายุ 2 ปี จะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ใน 2 ปีข้างหน้า

หากเปรียบเทียบต้นทุนค่าจัดการสวนมะม่วงดังกล่าว คุณกระจ่าง เล่าว่า สวนมะม่วงแห่งใหม่จะได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากว่า เพราะสามารถควบคุมความสูงของต้นมะม่วงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากสวนเก่า มะม่วงจะมีลำต้นสูง คนงานต้องใช้ตะกร้อสอยผล แต่ละวันจะเก็บผลมะม่วงได้โดยเฉลี่ย 10 ลังต่อคน และต้องปีนบันไดขึ้นไปห่อผลมะม่วง แรงงาน 1 คนจะทำงานห่อผลได้เฉลี่ยวันละ 300 ลูก

ขณะที่สวนมะม่วงที่ปลูกใหม่ ที่วางแผนการปลูกอย่างเหมาะสม จะสามารถคุมความสูงของต้นมะม่วงได้ ทำให้คนงานยืนเก็บผลรอบต้นได้สะดวกสบายมากกว่า แรงงาน 1 คนสามารถเก็บผลมะม่วงได้มากขึ้นถึงวันละ 15-20 ลัง และทำงานห่อผลมะม่วงได้มากขึ้นเป็นวันละ 500-600 ลูก

จุดเปลี่ยนของแหล่งผลิตมะม่วง

คุณกระจ่าง เล่าว่า จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตมะม่วงมากเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ แต่ระยะหลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน แถมเจอภาคอุตสาหกรรมรุกขยายเข้ามาในพื้นที่สวนมะม่วงของอำเภอบางคล้า พนมสารคาม และแปลงยาว ขณะเดียวกัน เกษตรกรบางส่วนเลิกทำสวนมะม่วง ไปลงทุนทำฟาร์มเลี้ยงกุ้งและปลูกสวนยางแทน ทำให้ตัวเลขพื้นที่ปลูกมะม่วงของจังหวัดฉะเชิงเทราปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบัน สระแก้วกลายเป็นทำเลทองของการลงทุนทำสวนมะม่วงเพื่อการส่งออก เนื่องจากสระแก้วยังมีพื้นที่ว่างเพียงพอสำหรับภาคเกษตร ที่นี่ยังไม่ค่อยมีการลงทุนของภาคอุตสาหกรรมมากนัก จึงหาแรงงานได้ง่าย ที่สำคัญพื้นที่แห่งนี้ ไม่ค่อยมีปัญหาโรคและแมลง

สระแก้ว ทำเลทองของการปลูกมะม่วง

คุณกระจ่าง เล่าอีกว่า ที่ผ่านมา แหล่งปลูกมะม่วงสำคัญของจังหวัดฉะเชิงเทรา คือ อำเภอพนัสนิคม บางคล้า และพนมสารคาม มักประสบปัญหาการแพร่ระบาดของโรคและแมลงเยอะมาก ทำให้เกษตรกรชาวสวนมะม่วงต้องแบกภาระต้นทุนที่ค่อนข้างสูง

หลังจากย้ายมาทำสวนมะม่วงที่สระแก้วปรากฏว่า เจอปัญหาเรื่องโรคและแมลงรบกวนน้อยมาก ทำให้มีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต่ำลง คุณกระจ่าง เล่าเพิ่มเติมว่า สำหรับการผลิตมะม่วงนอกฤดู เมื่อต้นมะม่วงออกช่อ เจ้าของสวนมะม่วงในจังหวัดฉะเชิงเทราจะต้องฉีดยาฆ่าแมลงถึง 10 ครั้ง ผลมะม่วงถึงจะรอดและมีผิวสวย ขณะที่สวนมะม่วงในสระแก้ว ฉีดยาแค่ 4-5 ครั้ง ก็ป้องกันแมลงได้แล้ว จึงช่วยประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายให้เกษตรกรได้เป็นจำนวนมากในแต่ละปี

ผักสาบ เป็นพืชผักในวงศ์เสาวรส หรือ กะทกรก PASSIFLORACEAE มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Adenia viridiflora craib ชื่อเรียกในท้องถิ่นต่างๆ ของไทย เช่น ภาคกลาง เรียก ผักอีนูน ผักอะนูน คนเมืองกาญจน์ เรียก นางนูน ทางภาคเหนือ อีสาน เรียก ผักสาบ เป็นไม้เถาเลื้อย อายุยืนหลายปี เป็นไม้ป่าที่ชาวบ้านป่า หรือพรานป่ารู้จักในชื่อ “เครือน้ำ” เมื่อเวลาเดินป่า ขาดน้ำกิน หาน้ำจากห้วยหนองไม่มี ก็อาศัยตัดเถา หรือเครือผักสาบรองกินน้ำที่หยดออกมาจากเถานั้นได้ เป็นเถาไม้ที่ดูดอมน้ำไว้ในเถา คนที่รู้จักจะอนุรักษ์ไม้เถาชนิดนี้ไว้ ไม่ให้ตัดฟันให้เกิดแผลโดยไม่จำเป็น ต้นผักสาบจะตายได้ เพราะถ้าเกิดแผลตัด น้ำที่สะสมดูดอมไว้จะไหลออกมาหมดจนเถาแห้งต้นตายได้

เถาเล็กๆ ที่ให้ยอดใบที่อ่อนนุ่มเป็นอาหาร เถาใหญ่ให้ดอกผลเป็นอาหารเช่นกัน เถาเล็กสีเขียว ส่วนปลายยอดสีม่วงแดง เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาล ผิวขรุขระเล็กน้อย เห็นเนื้อไม้ชัดเจน เถาใหญ่ส่วนโคนต้น บางเถาโตมากกว่า 3 เซนติเมตร มีมือเกาะที่แตกแขนงได้ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ก้านใบสั้น แผ่นใบรูปหัวใจ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบสีเขียว เนื้อใบหนา เห็นเส้นใบชัดเจน โคนใบมีต่อมกลมติดอยู่ทั้ง 2 ข้าง ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ มีสีเขียวแกมเหลือง ช่อละ 2-3 ดอก หรือบางช่อมากเป็นนับ 10 ดอก มีกลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน แยกปลายเป็น 5 แฉก กลีบดอกสีเหลือง มี 5 กลีบเช่นกัน ปกติจะออกดอกเดือนมีนาคม-เมษายน เมื่อดอกบานแล้วจะเริ่มติดเป็นผล ลูกกลมสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีส้ม แตกเป็น 3 แฉก ขั้วผลมักตูมขยายออก รูปร่างคล้ายผลน้ำเต้ากลับหัว ออกผลปลายเดือนเมษายน-พฤษภาคม ช่วงนี้จึงมีการเข้าป่าหายอด ใบ ดอก ผลอ่อนผักสาบมากินมาขายกันที่ตลาดริมทางชนบท หรือริมทางผ่านชุมชนชนบทที่ต่างๆ ทั่วประเทศ สักวันก็จะมีขึ้นห้างสรรพสินค้าซูเปอร์มาร์เก็ตกันแน่

ผักสาบในส่วนที่นำมาทำอาหารคือ ยอดอ่อน ใบอ่อน ผลอ่อน มีผลวิจัยคุณค่าทางอาหาร พบว่า ใน 100 กรัม มีโปรตีน 1.7 กรัม แคลเซียม 62 มิลลิกรัม เหล็ก 2.1 มิลลิกรัม วิตามินเอ 3800 AIU วิตามินซี 54 มิลลิกรัม และมีสารอาหารอีกหลายอย่าง โดยเฉพาะเส้นใยอาหารต้องมีมากแน่นอน และที่สำคัญ ผักสาบให้คุณค่าสรรพคุณทางยาที่ชาวบ้านและหมอยาพื้นบ้านรู้จักกันดี คือ เป็นยาแก้ท้องเสีย เป็นยาบำรุงตับ บำรุงเลือดสตรีหลังคลอด เรียกน้ำย่อยทำให้เจริญอาหาร แก้ซาง แก้ไข้ออกตุ่ม แก้ไอ ช่วยระบบย่อยอาหาร เถาผักสาบ กับเถาผักฮ้วนหมู ต้มดื่มน้ำรักษาโรคปัสสาวะเป็นหนอง รากใช้ร่วมกับรากต้นอ่อน รากผักหวาน รากตะไคร้ รากเถาย่านาง ฝนน้ำข้าวใช้ทาตัว แก้ไข้เหงื่อออก วิงเวียนศีรษะ น้ำลายเหนียว เป็นลม

สารพัดเมนูอาหารที่พ่อครัวแม่ครัวชอบนำมาทำอาหารกินกันในครอบครัว ผักสาบลวกจิ้มน้ำพริกปลาร้า และน้ำพริกอีกหลายอย่าง จะเป็นลวกสุกธรรมดา หรือลวกราดกะทิ ใช้แกงเลียง แกงส้ม แกงอ่อมปลา ปลาแห้ง กบ เขียด หมู เนื้อ ใส่แกงคั่วไก่ หรือบางคนนำมากินเป็นผักสด แกล้มลาบ ยำ ส้มตำ พล่า ก้อย ส่วนที่นำมาประกอบอาหารคือ ยอดอ่อน ที่มีใบอ่อน มือจับ มัดรวบกำ ได้มัดกำใหญ่พอได้ ขาย 10 บาท พรมน้ำวางบนใบตองขาย เช่นเดียวกับดอกอ่อน นิยมกองขาย หรือไม่ก็ใส่กระทงใบตองวางขายคู่กับยอด ใบ ผล ส่วนผลอ่อน มักจะขายเป็นกอง มีขั้วพวงติดด้วย เวลาเอาไปทำกิน จะต้มหรือลวกให้สุกจนออกสีเหลืองจางๆ หรือเด็ดเป็นลูกๆ แกงเลียง แกงป่า แกงคั่ว รสชาติหวานอมขมนิดๆ อร่อยมาก เหมาะกับคนธาตุไฟ คือคนเกิดเดือนมกราคม-มีนาคม และคนธาตุดิน คือคนเกิดเดือนตุลาคม-ธันวาคม

การปลูกผักสาบ หรือ ผักอีนูน นิยมใช้เพาะเมล็ด หรือขุดแยกต้นอ่อน หรือปักชำเถา หรือขุดเอาเหง้าที่พองโตใต้ดินไปปลูก โดยต้องทำร้าน หรือค้าง สูงประมาณ 1.5 เมตร เมื่อเถาผักสาบพันขึ้นค้างแล้ว จะแตกกิ่งก้านสาขามาก สาขาหนึ่งจะมีข้อปล้อง และตายอด ตาดอก ออกตามข้อ เมื่อแตกยอดยาวก็เก็บโดยวิธีใช้กรรไกรตัด หรือเด็ดหักก็ได้ และเถานั้นก็จะแตกยอดใหม่อีก เมื่อถึงวัยถึงฤดูก็จะออกดอก ผสมพันธุ์ ติดผล ติดเมล็ด เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์และสัตว์อื่นต่อไป ถ้าเราไม่ใช้วิธีเข้าป่าไปหามาจากป่า ก็ใช้วิธีปลูกสวนผักสาบ เพื่อให้ง่ายกับการเก็บมากิน ปลูกง่าย ให้เลียนแบบธรรมชาติ ให้ปุ๋ยให้น้ำดีกว่าธรรมชาติ หน่อหนึ่งก็จะได้ยอดผักสาบที่อ้วน ผลที่โต รสชาติคงเดิมออริจินัล

ผักสาบ ผักอีนูน หรือผักนางนูน ผักป่าต้นตระกูลไทย สมุนไพรโบราณ หากช่วยกันรักษาไว้ใช้ประโยชน์ ถึงแม้นไม่รักไม่ชอบ ก็อย่าฟันแล้วทิ้ง อย่าทำลาย ปล่อยให้สืบเชื้อออกลูกหลาน ให้ยอด ใบ เป็นประโยชน์ต่อพวกเราและชาวบ้าน พบเห็นชาวบ้านวางขายข้างทาง ขอให้คิดว่าเขามีรายได้ไปเลี้ยงชีวิตและครอบครัว และส่งผ่านความอร่อยและคุณค่ามาให้เรา เชื่อเหลือเกินว่า ท่านต้องรักต้องชอบ “ผักสาบ” เมื่อท่านได้พบ ได้สัมผัส ได้รับประทาน ลิ้มรสชาติที่คิดว่า และเคยฝันว่าอยากพบมาก่อน

“ทำเกษตรแบบคนรุ่นใหม่ ไม่เครียดและไม่กดดัน เพราะมีหลักคิดง่ายๆ เริ่มทำอย่างไรก็ได้ให้มีความสุขก่อน อย่าเพียงมุ่งหาแต่รายได้ คิดแค่ว่าทำเพื่อลดรายจ่ายก่อน แล้วรายได้จะตามมาทีหลัง” หลักคิดการทำเกษตร ของ คุณเมธยา

คุณเมธยา ภูมิระวิ หรือ คุณเมย์ อยู่บ้านเลขที่ 343 หมู่ที่ 6 ตำบลวังตะกอ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร เกษตรกรรุ่นใหม่สานต่องานเกษตรที่พ่อสอน บนเนื้อที่ 27 ไร่ คุณเมย์ เล่าว่า เธอเรียนจบคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เมื่อเรียนจบเธอตัดสินใจกลับบ้านที่จังหวัดชุมพรทันที ไม่ได้อยู่ทำงานตามสายที่เรียนมา เนื่องจากเคยได้ฝึกงานก่อนที่จะเรียนจบ แต่รู้สึกว่าไม่ใช่วิถีชีวิตที่ชอบ ไม่ชอบทำงานในออฟฟิศที่ต้องตื่นเช้ามาตอกบัตรเข้า-ออก ต้องนั่งทำงานที่มีพาร์ติชั่นกั้นเป็นล็อกๆ รู้สึกอึดอัด จึงคิดว่าที่บ้านก็มีพื้นที่ให้ทำต่อยอด ทำไมไม่กลับไปดูแลพื้นที่ของตัวเอง

เริ่มทำเกษตร บนคำสบประมาท
ของชาวบ้าน หาว่า “บ้า”
ด้วยความที่ คุณเมย์ เรียนจบคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์มา เธอเล่าว่า หากย้อนไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว บุคลากรที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ขาดแคลน ตลาดกำลังต้องการ แต่เธอเลือกที่จะทิ้งโอกาสแล้วกลับบ้าน แรกๆ คนแถวบ้านหาว่าเธอบ้า มีงานดีๆ ไม่ทำ ซึ่งตอนนั้นเธอคิดแค่ว่า เธอไม่ได้ทำอะไรผิด เธอแค่เลือกในสิ่งที่ตัวเองรัก เลือกที่จะกลับบ้านมาดูแลพ่อแม่ ดูแลแผ่นดินที่ตัวเองเกิด เธอจึงมุ่งมั่นที่จะทำเกษตรบนแนวคิดของเธอให้สำเร็จ และลบคำสบประมาทของชาวบ้านให้ได้

คุณเมย์ บอกว่า พื้นฐานครอบครัวพ่อกับแม่เป็นเกษตรกรปลูกปาล์มน้ำมันมาก่อน มีการเปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้ ซึ่งการทำเกษตรของพ่อ พ่อจะเน้นเรื่องการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ และเรื่องของอารยะขัดขืนในสวนปาล์ม คือปลูกไม้ยืนต้นในสวนปาล์ม จะไม่เชื่อในหลักวิชาการ แต่เชื่อในหลักของการปฏิบัติและเชื่อตามศาสตร์พระราชา

เมื่อกลับมาอยู่บ้าน เธอตั้งต้นด้วยการเข้าไปเป็นสมาชิกเข้าร่วมโครงการพระราชดำริของมูลนิธิหนองใหญ่ กว่า 4 ปี ทำในส่วนของผู้ประสานงาน ดูแลในเรื่องของคณะดูงานและสถานที่ ในระหว่างนั้นก็มีการสะสมองค์ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ แล้วนำมาสอนสมาชิกให้ได้รู้วิธีการและระบบเครือข่ายมากขึ้น หลังจากทำงานครบ 4 ปี สะสมองค์ความรู้ได้พอสมควร จึงลาออกมาทำงานเกษตรต่อที่บ้าน

การเริ่มต้นทำเกษตรของคุณเมย์ เริ่มจากแนวคิดง่ายๆ คือ ทำสิ่งที่ตนเองชอบและมีความสุขก่อน คือการเลี้ยงสัตว์ มีไก่นานาชนิด ไก่พื้นเมือง ไก่ต๊อก ไก่งวง ห่าน ไก่ดำ เลี้ยงจนชำนาญสามารถเพาะขยายพันธุ์แจกเพื่อนบ้าน ได้แบ่งปันเริ่มมีความสุข เริ่มคิดว่าการทำเกษตรก็เหมือนห้องทดลองวิทยาศาสตร์ที่ต้องศึกษาหาความรู้ที่ในทฤษฎีไม่ได้บอกอยากรู้ต้องลงมือทำ เพราะถ้ามีแต่องค์ความรู้ แต่ทำไม่เป็น ก็ได้แค่มอง เธอจึงเลือกที่จะลงมือปฏิบัติจากสิ่งง่ายๆ จากการขยายพันธุ์สัตว์จนสำเร็จได้มีความสุขไปแล้ว จึงขยับมาทำงานสวนต่อ ปลูกไม้ผล ทำสวนป่า ในรูปแบบเกษตรอินทรีย์ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะภายในสวนจะทำน้ำหมักไล่แมลงเอง ทำน้ำหมักปรับโครงสร้างดินแต่ละสูตร ทำปุ๋ยหมักบำรุงพืชเอง เช่น น้ำหมักจาวปลวกเป็นสูตรที่ทำง่ายแต่ได้ผลดี

สูตรน้ำหมักจาวปลวก ทำง่ายได้ผลดี

เริ่มจากการหารังปลวกมาก่อน แล้วขุดเอาดินแข็งๆ ออก เอาแต่รังนิ่มๆ ข้างใน แล้วนำมาผสมน้ำเปล่า กากน้ำตาล รำ แล้วหมักทิ้งไว้ 3 เดือน

วิธีใช้ นำไปรดดิน รดต้นไม้ ช่วยในเรื่องการปรับโครงสร้างของดินให้รากพืชเดินได้สะดวกขึ้น เพราะในรังปลวกมีน้ำลายของปลวก จะมีเชื้อราตัวดี เช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มา แบคทีเรียแอคติโนมัยซีท ที่เป็นตัวดีๆ ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์และเพิ่มประสิทธิภาพในการปลูกพืชผักให้ได้ผลผลิตดีขึ้น

การทำงานเกษตร ระบบน้ำต้องมาเป็น อันดับ 1
“มีน้ำพอ จัดการดี ทำอะไรก็สำเร็จ”
เจ้าของบอกว่า การทำเกษตรให้ประสบความสำเร็จ น้ำ คือ สิ่งสำคัญ ไม่มีน้ำก็ปลูกพืชไม่ได้ ที่สวนจะให้ความสำคัญกับเรื่องน้ำมาเป็น อันดับ 1 มีการจัดระบบน้ำที่ดี หน้าแล้งไม่เคยประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพราะวางแผนระบบน้ำให้มีพอใช้ มีการขุดคลองไส้ไก่ เจ้าของอธิบายเพิ่มเติมว่า คลองไส้ไก่ คือร่องระบายน้ำที่มีลักษณะคดเคี้ยวคล้ายกับไส้ไก่ เพื่อชะลอน้ำให้ไหลช้าลง และกระจายความชื้นได้ทั่วถึง ยกตัวอย่าง แปลงทดลองที่สวนมีพื้นที่ไร่ครึ่ง ที่สวนขุดคลองไส้ไก่โดยไม่วางระบบน้ำ แต่ปลูกหญ้าแฝกแทน แล้งที่ผ่านมาต้นไม้บนแปลงไม่ตาย หญ้าเขียวขจี

สวนคนอื่นวางระบบน้ำต้องเปิดรดทุกวันเกือบจะไม่รอด สโบเบ็ตสล็อต แต่คลองไส้ไก่ถึงแม้น้ำจะแห้งแต่มีระบบหญ้าแฝกยึดหน้าดินอยู่ ต้นไม้จึงงาม เพราะหญ้าแฝกมีคุณสมบัติช่วยกักเก็บน้ำ ช่วยกระจายความชุ่มชื้นในดิน แต่จะให้ได้ผลเต็มขั้นคลองไส้ไก่ต้องอยู่คู่กับป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ถึงจะดี มีหญ้าแฝก มีต้นไม้หลากหลาย 5 ระดับขึ้นไป จะช่วยลดการระเหยของน้ำได้ เพราะถ้าเป็นบ่อทั่วไป ในหลวงรัชกาลที่ 9 ท่านตรัสว่าน้ำจะลดทุกวัน ยิ่งบ่อกว้างมาก น้ำจะระเหยมาก ทางที่ดีควรขุดบ่อน้ำให้ลึกกว่า 3.65 เมตร เพื่อป้องกันน้ำระเหย วันละ 1 เซนติเมตร แต่บ่อที่สวนจะขุดไว้ลึกประมาณ 12 เมตร สามารถเลี้ยงปลาหาอาหารได้ และยังมีน้ำไว้แบ่งปันเพื่อนบ้านยามฉุกเฉินหน้าแล้งได้เพียงพอ

บริหารจัดการพื้นที่ ทำทุกตารางนิ้วเป็นเงิน

พื้นที่ทำการเกษตรของคุณเมย์ มีทั้งหมด 27 ไร่ คุณเมย์ แบ่งพื้นที่ไว้ขุดสระทำบ่อน้ำไว้ใช้ในการเกษตร 7 ไร่ ปลูกปาล์มน้ำมันผสมกับสวนป่า 9 ไร่ สวนผสมไม้ผล 6 ไร่ และแบ่งพื้นที่ไว้ทดลองทำโคกหนองนาโมเดล 1 ไร่ คุณเมย์ บอกว่า ยิ่งทำให้ครบวงจร จะยิ่งลดค่าใช้จ่ายได้มากเท่านั้น การทำเกษตรถ้าทำอย่างเดียว เมื่อเกิดปัญหาจะพาลำบากกันไปทั้งบ้าน ทางที่ดีคือ ผสมสผสาน ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง มีป่า มีสัตว์ ทำให้ระบบนิเวศสมบูรณ์ เมื่อระบบนิเวศสมบูรณ์สัตว์จะเริ่มจัดการกันเอง ทำปุ๋ยก็ไม่ต้องกลับกองเอง ใช้ไก่ในการคุ้ยเขี่ยสลับกองให้ และยังช่วยกำจัดวงจรแมลงวัน หรือที่สวนเลี้ยงปลา หากไก่ตายก็สามารถเอาไก่ไปให้ปลากินเป็นอาหารได้อีก รวมถึงการทำน้ำหมักจะเน้นในเรื่องของการนำเศษอาหารในครัวเรือน จากคณะที่มาศึกษาดูงาน ที่เหลือมาทำน้ำหมัก มาผสมกับรำ ทำเป็นอาหารปลา พยายามทำตามฟันเฟืองของธรรมชาติ อย่าไปฝืนธรรมชาติ ถ้าอยู่กับธรรมชาติได้ รายได้จะมาเอง

ดูแลสวนคนเดียว 27 ไร่ ทำได้ไม่ยาก
และทำอย่างมีประสิทธิภาพ
คุณเมย์ เล่าถึงการดูแลจัดการสวนทั้ง 27 ไร่ คนเดียวว่า เมื่อสวนเป็นระบบจะจัดการดูแลได้ไม่ยาก ทำอะไรก็ง่าย ทำให้เป็นวิถี ไม่ได้คิดให้เป็นงาน ทำเพื่อการอยู่รอดการเลี้ยงชีพ เธอบอกว่าปัจจุบันที่บ้านไม่ได้ใช้เตาแก๊สมานาน 15 ปีแล้ว ใช้ฟืนมาตลอด แต่ว่าไม่ได้เป็นการล้าหลัง แต่เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เราปลูกไม้แล้วทำไมต้องเอาเงินไปซื้อเชื้อเพลิงจากข้างนอก เราก็ไปเก็บกิ่งไม้มาทำเป็นเชื้อฟืน เก็บน้ำส้มควันไม้มาไล่แมลง เมื่อมีการเผาอย่างเป็นระบบมันจะช่วยไล่แมลงไปเอง ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ใน 1 วัน มีงานให้ทำไม่ได้หยุด

เริ่มจากตื่นเช้ามา หาอาหารให้เป็ด ไก่ ระหว่างทางจะเดินดูแลต้นไม้ไปด้วย เสร็จแล้วมาปล่อยวัวไปหาอาหาร หลังจากนั้นจะมาดูแลในส่วนของสวนป่าและไม้ผล หนึ่งวันหลังจากดูแลเป็ดไก่เสร็จ จะมีเวลาว่างเหลืออีก 5-6 ชั่วโมง เวลา 5-6 ชั่วโมง อาจจะเดินได้ไม่ทั่วสวน เธอก็จะดูเป็นรอบๆ แบ่งกันไป แล้วแต่จะจัดโปรแกรมว่าวันนี้จะไปทำตรงไหน เช่น วันนี้จะเข้าไปดูสวนหม่อน ก็เข้าไปตัดแต่งกิ่งหม่อน รดน้ำ กำจัดวัชพืชต่างๆ ส่วนของวันพรุ่งนี้ก็ไปทำอย่างอื่น สลับหมุนเวียนกันไป ทำทุกวันให้มีความสุข อย่าคิดว่ามันเป็นงาน นี่คือ ระบบจัดการสวนทั้ง 27 ไร่ ใช้แรงงานเพียงคนเดียวในแบบฉบับของเธอ