มะม่วงแก้วขมิ้น มีลักษณะคล้ายมะม่วงแก้วของไทยแต่ลูกใหญ่กว่า

เนื้อในมีสีเหลืองขมิ้นเหมือนมะม่วงขายตึก มีลักษณะเด่นคือ รับประทานได้อร่อยทั้งผลดิบและสุก เนื้อแน่นละเอียด มีสีเหลืองคล้ายขมิ้น เนื้อกรอบมัน รสหวานปนเปรี้ยว ผลดิบนิยมรับประทานกับน้ำปลาหวาน หรือปรุงเป็นเมนูยำมะม่วง ส้มตำมะม่วง ฯลฯ นอกจากนี้ มะม่วงแก้วขมิ้นผลแก่สามารถบ่มให้สุกจะได้รสชาติหวานอร่อย ทำให้มะม่วงพันธุ์นี้เป็นที่ยอมรับของคนไทยอย่างกว้างขวาง

กรณีมะม่วงจากประเทศเพื่อนบ้านเปิดศึกรุกตลาดเมืองไทยในครั้งนี้ ได้ฉุดราคามะม่วงไทยลดลงพอสมควร มะม่วงไทยสายพันธุ์ทะวายที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือ มะม่วงพันธุ์โชคอนันต์ และมันเดือนเก้า เกษตรกรหลายรายพยายามปรับตัวตั้งรับปัญหา โดยหันไปปลูกมะม่วงพันธุ์อื่นที่ขายได้ราคาดีกว่า เช่น พันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง มะม่วงเขียวเสวย รวมทั้งปลูกมะม่วงแก้วขมิ้น ฯลฯ

มะม่วงมันเดือนเก้า ยังขายดี
คุณลุงฉลอง กล่าวว่า หลังจากมะม่วงแก้วขมิ้นที่นำเข้าจากเขมรเข้ามาขายในไทย ฉุดราคามะม่วงไทยให้ลดลง โดยมะม่วงโชคอนันต์ในขณะนี้เหลือแค่ กิโลกรัมละ 2-5 บาทเท่านั้น ส่วนมะม่วงมันเดือนเก้ายังขายได้ราคาดี อยู่ที่กิโลกรัมละ 10 บาท เพราะตลาดนิยมใช้มะม่วงมันเดือนเก้าทำเมนูมะม่วงยำ เนื่องจากสวนแห่งนี้ปลูกมะม่วงสายพันธุ์ทะวาย ไม่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิตมะม่วงนอกฤดูสูงมากนัก สามารถราดสารปีเว้นปีได้ ต้นมะม่วงทั้งสองชนิด ยังให้ผลดกตามปกติ

นอกจากนี้ คุณลุงฉลอง สกุลนี ก็หันมาลงทุนปลูกมะม่วงแก้วขมิ้นปลูกแซมในสวนมะม่วงเดิม เพื่อเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ในอนาคต โดยสวนแห่งนี้จะเริ่มมีผลมะม่วงแก้วขมิ้น ส่งขายตลาดในปี 2565 ขณะนี้ ต้นมะม่วงแก้วขมิ้นที่ปลูกเจริญเติบโตดี ปลูกดูแลง่าย เชื่อว่าเป็นสินค้าที่จะช่วยสร้างรายได้ที่ดีเข้าสวนแห่งนี้ในระยะยาว เพราะมะม่วงแก้วขมิ้นเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและสามารถส่งขายประเทศในภูมิภาคเอเชียในอนาคต

กล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้สกุลหวายที่ส่วนใหญ่เกือบตลอดปีนับตั้งแต่เข้าฤดูฝนจนเกือบจะออกหนาว เราจะเห็นเขาเจริญเติบโตยืดและขยายลำลูกกล้วย (คือส่วนลำต้น) คือเห็นแต่ใบและลำลูกกล้วย จะต้อๆ ป้อมๆ หรือยืดยาวแบบลำแข็งตั้งตรง หรืออ่อนนิ่มห้อยโตงเตงแล้วแต่ชนิด แต่ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน จะเป็นช่วงที่กล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้เหล่านี้เริ่มแทงช่อดอก ออกดอกเบ่งบานแข่งขันกันอย่างละลานตา ในบทความตอนนี้จะนำภาพกล้วยไม้ไทยสกุลหวายที่ผู้เขียนติดต้นไม้ไว้ในช่วงหลายเดือนก่อนจนถึงปีเศษมาอวดโฉมกันเป็นหลัก โดยจะนำเสนอผ่านภาพพร้อมคำอธิบายประกอบ แต่ก่อนอื่นจะมีเรื่องที่เป็นประเด็นที่สำคัญเรื่องหนึ่งมาเกริ่นนำไปก่อน

กล้วยไม้ที่ซื้อจากฟาร์มกล้วยไม้ทั่วไป เพื่อติดต้นไม้ใหญ่

จำเป็นต้องกราดแดดก่อน

ในตอนที่ 8 ก็ได้กล่าวเน้นไว้แล้วว่า การทำเป็นธุรกิจรับจ้างติดกล้วยไม้บนต้นไม้ใหญ่ การนำกล้วยไม้ที่ซื้อจากฟาร์มกล้วยไม้ทั่วๆ ไป ที่ไม่ได้ค่อยๆ กราดแดดให้กล้วยไม้ชินกับแสงแดดตรงๆ มาก่อน เป็นเรื่องที่อาจจะก่อความเสียหาย ด้วยกล้วยไม้เหล่านั้นถูกเลี้ยงใต้ซาแรนที่พรางแสงสูงถึง 60 เปอร์เซ็นต์ นั่นคือได้รับแสงเต็มที่เพียง 40 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเราเอากล้วยไม้เหล่านี้ไปติดต้นไม้โดยตรงเลย โดยเฉพาะติดกับต้นหมาก ปาล์ม มะพร้าว หรือไม้ขุดล้อมที่นำมาลงจัดสวนใหม่ ที่ส่วนใหญ่จะถูกตัดแต่งกิ่งให้สั้น ลดจำนวนใบให้เหลือน้อยเพื่อลดการคายน้ำ ต้นไม้พวกนี้จะถูกแสงแดดส่องเข้าหาต้นแทบจะ 100 เปอร์เซ็นต์ ทั้งวัน กล้วยไม้ที่ไม่เคยถูกเทรนด์หรือผ่านการกราดแดดเหล่านี้ ใบจะเริ่มช้ำ แบบตายนึ่ง แล้วจะถอดสี ใบแห้งเหี่ยวในส่วนที่โดนแดดส่องใส่จัดๆ และทั้งใบจะเหี่ยวร่วงไป จะกี่ใบ มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่แดดส่องใส่ตรงๆ แรงๆ ว่ากว้างขวางแค่ไหน

ที่ต้องนำเรื่องนี้มาย้ำกล่าวในตอนนี้อีก ก็เพราะเพิ่งได้รับประสบการณ์ตรงที่สมควรนำมาเล่าสู่กันฟัง นั่นคือย้อนไปในตอนที่ 5 ผู้เขียนได้เขียนถึงข้อมูลจากประสบการณ์ของเพื่อนในวงการกล้วยไม้ที่เคยรับจ๊อบติดกล้วยไม้บนต้นไม้ใหญ่ในสนามกอล์ฟแห่งหนึ่ง โดยกล้วยไม้ที่นำไปจากสวนนั้นนำไปติดต้นไม้เลยโดยไม่ผ่านการกราดแดดมาก่อน (นั่นคือ ไม่ได้ให้กล้วยไม้ค่อยๆ รับแสงเพิ่มขึ้นทีละน้อย จนรับแสงแดดจัดๆ ได้ภายใน 1-2 เดือน) ด้วยคำแนะนำของท่านคือถ้ากล้วยไม้ได้รับปุ๋ยแบบไต่บันได นั่นคือ N P K ที่ไต่ระดับขึ้น เช่น 16 21 26 เป็นต้น กล้วยไม้จะมีใบแข็งสั้นที่ค่อนข้างทนแดดกว่าการเลี้ยงโดยใช้ปุ๋ยสูตรเสมอตลอดเวลา ที่ใบจะอ่อนและยาวกว่า

ทีนี้ ผู้เขียนได้รับกล้วยไม้ชุดหนึ่งเมื่อต้นเดือนมีนาคมนี้จากฟาร์มที่ใช้ปุ๋ยแบบไต่บันได คือ N ต่ำ P สูงขึ้น และ K สูงขึ้นกว่า P ส่วนหนึ่งเป็นลูกผสมสกุลแวนด้าดอกเล็ก ได้นำมาวางผึ่งบนซาแรนที่พักไม้ จุดนี้เป็นจุดที่ได้รับแสงตรง 100 เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่ประมาณ 14.30 น. เป็นต้นไป เบื้องต้นผู้เขียนก็คิดว่า “เขาน่าจะทนแดดตอนบ่ายสองเศษได้ อย่างมากก็ใบสีซีดขาวลงเล็กน้อย” แต่ผิดคลาดครับ เพียง 4 วันที่ได้รับกล้วยไม้มาแล้วเริ่มวางในจุดดังกล่าว ก็เกิดสภาพเริ่มจากใบซีดลงไหม้แดด เหลืองคล้ำน้ำตาล ตามภาพที่ 1

ถัดไปอีก 6 วัน นั่นคือครบ 10 วันที่เริ่มรับแดดตรงตั้งแต่ 14.30 น. เป็นต้นไป สภาพเลวร้ายมากขึ้น นั่นคือใบที่ไหม้มากขึ้น และได้เปลี่ยนเป็นสีคล้ำดำ ใบหลุดร่วงไป ดังในภาพที่ 2

ในจำนวนกล้วยไม้ที่มาจากสวนเดียวกันนี้ มีกล้วยไม้ลูกผสมสายใบกลม เป็นลูกผสมเอื้องโมกข์กับใบกลมของมาเลเซีย ชื่อมิสโจควิม ซึ่งสิงคโปร์ใช้เป็นดอกไม้ประจำชาติ (มาเลเซียและสิงคโปร์ใช้ปลูกกลางแดด 100 เปอร์เซ็นต์) ที่ผสมเข้ากับแวนด้าอีกทีหนึ่ง ซึ่งลูกผสมนี้จะค่อนข้างทนแดดและใช้ปลูกกลางแดดได้เช่นกัน แม้ผ่านการใช้ปุ๋ย N P K แบบไต่บันได แต่ไม่ได้ถูกค่อยๆ กราดแดดมาก่อน เมื่อนำมาวางในที่เดียวกัน คือรับแสงแดดตรงตั้งแต่ 14.30 น. เป็นต้นไป ผลคือ เกิดสภาพใบโดนแดดเลีย คือสีเขียวเปลี่ยนเป็นขาว และมีบางส่วนที่โดนแดดส่องจัด สีคล้ำน้ำตาลเป็นปื้นใหญ่ แต่ไม่รุนแรงเหมือนสองภาพแรกที่เป็นกล้วยไม้สกุลแวนด้าดอกเล็กที่ไม่มีเลือดแวนด้าใบกลมเลย

ทั้งสองกรณีนี้เป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่า “ในการรับจ้างติดกล้วยไม้กับต้นไม้ใหญ่เชิงธุรกิจ กล้วยไม้ที่จะใช้งานจากสวนกล้วยไม้ทั้งหลาย ต้องผ่านการกราดแดด ให้ทนแดดได้ก่อนนำมาติด” เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเป็นข้อพิพาทตอนตรวจรับงานเมื่อเจอกล้วยไม้ใบเสียใบร่วงจากแดดเผา

ที่กล่าวมาข้างต้น มีความมุ่งหมายให้นักภูมิสถาปัตย์ นักจัดสวนมืออาชีพได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการกราดแดดของกล้วยไม้ก่อนใช้งาน นั่นคือจะต้องมีการเจรจาสร้างความสัมพันธ์กับสวนกล้วยไม้ใหญ่เตรียมกล้วยไม้ที่ผ่านการกราดแดดดังที่กล่าวไว้ในหัวข้อเรื่องแสง ในบทความตอนที่ 1 ส่วนท่านที่จะติดกล้วยไม้กับต้นไม้ใหญ่ที่บ้านเป็นของตัวเอง ก็พลิกแพลงหามุมที่แสงส่องถึงช่วงเช้าเย็น หลีกช่วงแดดจัดๆ ช่วง 10.00-15.00 น. ก็สบายแล้วครับ แต่ถ้าจะติดต้นไม้พวกปาล์ม หมาก มะพร้าว หรือต้นไม้ใหญ่ที่ตัดแต่งกิ่งจนแดดจัดๆ ส่องถึง ก็ต้องฝึกทำการกราดแดดช่วยให้เขาค่อยๆ คุ้นชินกับแดดจัดๆ ถึงค่อยเอาไปติดครับ

มีนาคม เดือนแห่งสีสันของกล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้สกุลหวาย

การติดกล้วยไม้โดยเฉพาะกล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้สกุลต่างๆ บนต้นไม้ใหญ่ตามบ้านหรือสวนของพี่น้องคนไทย มีทำมานานแล้ว ทั้งนักกล้วยไม้และคนที่แทบไม่รู้จักกล้วยไม้แต่ชอบ อีกทั้งในเฟซบุ๊ก จะพบว่ามีกลุ่มที่มีการขายกล้วยไม้ป่าที่เก็บจากป่ากัน และมีกล้วยไม้จากประเทศเพื่อนบ้านทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตกนำเข้ามาขายกันมานานนักหนาแล้ว หลายท่านก็ได้ซื้อมาแล้วเอามาผูกติดกับต้นไม้โดยตรงเลย รอดบ้างตายบ้างเท่าไหร่ไม่มีใครรู้ (ที่กล่าวถึงการซื้อขายกล้วยไม้ป่า เพียงเปรยว่ามีอยู่นะครับ ไม่ได้แปลว่าสนับสนุนหรือไม่สนับสนุน เรื่องนี้ถือว่าเรื่องใครเรื่องมัน นอกเหนือจากอะไรที่ผมจะไปยุ่งได้ครับ บอกตรงๆ ว่าผมเองก็ได้สั่งซื้อมาติดอยู่บ้าง เพราะกล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้แทบจะไม่มีสวนไหนเพาะจากเมล็ดมาปลูกขาย เพราะต้นทุนสูงและขายแพงเท่าแวนด้าลูกผสมไม่ได้ จะไม่มีคนซื้อ ผู้สนใจจะหากล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้ชนิดต่างๆ มาติดต้นไม้จึงต้องพึ่งการซื้อกล้วยไม้ป่าไปโดยปริยาย)

แต่การซื้อกล้วยไม้ติดต้นไม้ใหญ่โดยที่ไม่เข้าใจธรรมชาติของเขา (ดังที่ผู้เขียนได้ให้รายละเอียดไว้ในบทความชุดนี้ตอนที่ 1 และ 2 และแทรกในตอนต่างๆ อีกมาก) ก็เป็นความเสียหายที่น่าเสียดาย ผู้เขียนเคยเจอนักกล้วยไม้สมัครเล่นรุ่นเก่าผู้สูงวัยท่านหนึ่ง สมัยก่อนเคยเลี้ยงกล้วยไม้ในโรงกล้วยไม้ที่พรางแสงด้วยซ้ำไป ชอบไปซื้อกล้วยไม้ป่าถูกๆ เช่น ที่ด่านสิงขร

แล้วเอามาวางตามซอกไม้ ง่ามไม้บ้าง ผูกติดต้นไม้กับเชือกฟางบ้าง แล้วปล่อยให้เทวดาเลี้ยง ผู้เขียนเคยไปที่บ้านท่านช่วงเดือนมีนาคม พบกล้วยไม้ป่ากอใหญ่ๆ ไม่ได้ตัดราก แห้งกรังใบเหี่ยวแบบกำลังแห้งตาย ส่วนที่ว่าเคยไปซื้อมาเยอะเมื่อหลายปีก่อน ก็ไม่พบเห็นว่ามีติดงอกอยู่ตามต้นไม้ เหตุการณ์แบบปล่อยให้เทวดาเลี้ยง ไม่ช่วยรดน้ำเวลาหนาวหรือแล้งอย่างนี้จะเจอบ่อย แต่ถ้าโชคดีรากเขาเดินเกาะต้นไม้ดี หรือได้ช่วยฉีดรดน้ำบ้างที่รอดตายออกดอกให้เห็นอยู่ก็มี ที่จะเน้นตรงนี้คือ “ถ้าเราช่วยรดน้ำให้เขา ใส่ปุ๋ยให้เขา เขาจะเจริญดีแน่นอน”

“กระท้อน” เป็นไม้ผลเขตร้อนยืนต้น มีถิ่นกำเนิดอยู่ในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทนแล้งได้ดี ทั้งนี้ กระท้อนเป็นผลไม้ขึ้นชื่อของจังหวัดลพบุรี ที่สร้างชื่อเสียงมาอย่างยาวนาน

จุดเริ่มต้น กระท้อนอร่อยเมืองลพบุรี เกิดขึ้นเมื่อ 75 ปีก่อน (ปี 2489) ปู่พร้อม ยอดฉุน เป็นผู้นำต้นกระท้อนจากนนทบุรีมาปลูกในพื้นที่ตำบลตะลุง ได้แก่ พันธุ์ทับทิม พันธุ์อีล่า พันธุ์นิ่มนวล ปลูกขยายพันธุ์จนเต็มสวน ริมแม่น้ำลพบุรีซึ่งเป็นดินน้ำไหลทรายมูล ดินทรายหวาน ทำให้ได้ผลผลิตคุณภาพดี รสชาติอร่อย ถูกใจผู้บริโภค เกษตรกรจึงนิยมปลูกขยายพันธุ์กระท้อนครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบลริมแม่น้ำลพบุรีในอำเภอเมืองลพบุรี คือ ตำบลโพธิ์เก้าต้น ตำบลตะลุง และตำบลงิ้วราย

ต่อมา กระท้อนตะลุงเข้าสู่กระบวนการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) จากกรมทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2561 ประกาศให้โลกรู้ว่ากระท้อนลพบุรีมีรสชาติดีที่สุดในโลก 3 พันธุ์ คือ อีล่า ปุยฝ้าย และทับทิม

ข้อมูลจากสำนักงานเกษตรจังหวัดลพบุรี ระบุว่า กระท้อนตะลุงของจังหวัดลพบุรี มีผลผลิตป้อนเข้าสู่ตลาดตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคมของทุกปี ปัจจุบัน มีเกษตรกรผู้ปลูกกระท้อนตะลุงที่ผ่านการรับรองแหล่งผลิตสินค้า GI แล้วกว่า 92 ราย ได้แก่ สวนคุณประไพ โทร. 094-172-0349, สวนผู้ใหญ่ฉลวย บุญจันทร์ โทร. 084-113-4991, สวนคุณประมุง นนทวงศ์ โทร. 087-034-6406, สวนคุณสมยส ทัศศรี โทร. 083-638-3388, สวนผู้ใหญ่ไพศาล ทันแจ้ง โทร. 091-197-4877, สวนคุณกาญจนา หริรักษ์ โทร. 087-813-2591, สวนกระท้อนลุงสุวรรณ พัดน้อย โทร. 097-190-7094 เป็นต้น

คุณภัทรศยา พัดน้อย วัย 43 ปี ทายาทเจ้าของสวนกระท้อนลุงสุวรรณ ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 53/2 หมู่ที่ 8 ถนนตะลุง ตำบลตะลุง อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี โทร. 097-190-7094 หนึ่งในเกษตรกรผู้ปลูก กระท้อนตะลุง สินค้า GI ของจังหวัดลพบุรี กล่าวว่า เดิมทีเธอเคยทำงานประจำที่กรุงเทพฯ แต่คุณพ่อไม่สบาย จึงมาช่วยคุณพ่อทำสวนเป็นเวลา 6 ปีแล้ว คุณพ่อได้ปลูกกระท้อนมา 30 ปีแล้ว มีพื้นที่ปลูก 3 แปลง บนเนื้อที่ 8 ไร่ ทั้งนี้ จะปลูกกระท้อนพันธุ์ปุยฝ้ายพื้นเมืองกับปุยฝ้ายเกษตร เป็นหลัก

กระท้อนจะให้ผลผลผลิตช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ซึ่งจะมีเวลาอีกหลายเดือนในการบำรุง ตัดแต่งกิ่ง ดูแลสวนอย่างใกล้ชิด แต่สำหรับปีนี้ผลผลิตถือว่าค่อนข้างน้อย ผลผลิตได้ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์จากเดิม ที่สวนจะใส่ปุ๋ยอินทรีย์ มูลไส้เดือน ปุ๋ยคอก ปลอดสารเคมี ไร้สารพิษ ซึ่งเป็นจุดเด่นของสวน

กระท้อนปุยฝ้าย สินค้าขายดีของสวนลุงสุวรรณ เป็นที่นิยมของผู้บริโภค เพราะมีคุณภาพดี รสชาติอร่อย ได้มาตรฐาน กระท้อน GI ส่งตรงจากสวนสดใหม่ถึงผู้บริโภค ปลูกดูแลโดยใช้สารชีวภาพ ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง 100% ทุกลูกห่อกันกระแทกให้ไม่มีช้ำ แบ่งเกรดขาย 4 ราคาตามขนาด โดยขนาด 7-8 ลูก กิโลกรัมละ 50 บาท ขนาด 5-6 ลูก กิโลกรัมละ 70 บาท ขนาด 4 ลูก กิโลกรัมละ 100 บาท ขนาด 3 ลูก กิโลกรัมละ 120 บาท ค่าส่งเริ่มต้นที่ 60 บาท

นอกจากนี้ ยังมีกระท้อนแปรรูปไม่ใส่วัตถุกันเสีย สามารถเก็บไว้ได้นานราคาเริ่มต้นที่ 50 บาทต่อแพ็ก ผู้สนใจสามารถสอบถามและสั่งสินค้าได้โดยตรง ทางเบอร์โทร. 097-190-7094 รับรองไม่ผิดหวังแน่นอน

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบข่าวจากเว็บไซต์ “ตลาดเกษตรกรออนไลน์ กรมส่งเสริมการเกษตร” และสำนักงานเกษตรจังหวัดลพบุรี ในช่วงเดือนพฤษภาคม ตรงกับเทศกาลทุเรียน เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขของคนรักทุเรียน ยามนี้มองไปทางไหน ก็มีทุเรียนให้เลือกซื้อหากันอย่างจุใจ แต่หากใครต้องการรับประทานทุเรียนที่มีรสชาติอร่อยถูกปากถูกใจ ขอแนะนำให้เลือกซื้อ “ทุเรียนปราจีนบุรี” ที่ขึ้นชื่อลือชาเรื่องรสชาติความอร่อยสุดๆ โดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “ทุเรียนปราจีน จังหวัดปราจีนบุรี” เป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2559

ทุเรียนปราจีนบุรี ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสินค้า GI มีจำนวน 7 สายพันธุ์ แบ่งเป็นทุเรียนพันธุ์การค้าคือ ทุเรียนพันธุ์ก้านยาว พันธุ์หมอนทอง พันธุ์ชะนี พันธุ์กระดุมทอง และทุเรียนสายพันธุ์พื้นเมือง ประกอบด้วย ทุเรียนพันธุ์กบชายน้ำ พันธุ์ชมพูศรี และพันธุ์กำปั่น

ทุกวันนี้ แหล่งปลูกทุเรียนปราจีนบุรีกระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองปราจีนบุรี อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอประจันตคาม อำเภอศรีมหาโพธิ และอำเภอนาดี ที่มีสภาพดินเหมาะสมสำหรับเพาะปลูกทุเรียน เพราะสภาพดินชั้นบนเป็นดินร่วนปนทราย ดินชั้นล่างเป็นหินผุและศิลาแลง ทำให้การระบายน้ำสะดวก น้ำไม่ขังในเนื้อดิน การกระจายตัวของธาตุอาหารทั่วถึง ลักษณะภูมิอากาศและปริมาณน้ำฝน ประกอบกับความชื้นสัมพัทธ์เหมาะสมพอดีกัน

เกษตรกรชาวสวนทุเรียนปราจีนบุรีแต่ละรายจะมีพื้นที่ปลูกทุเรียนไม่มาก ใช้แรงงานคนในครอบครัวเป็นหลัก จึงมีการดูแลรักษาที่ดี แถมปลูกดูแลในลักษณะเกษตรอินทรีย์ ไม่ค่อยใช้สารเคมี สวนทุเรียนส่วนใหญ่ผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรปลอดภัย (แปลง GAP) จากกรมวิชาการเกษตร เมื่อถึงช่วงเก็บเกี่ยว ชาวสวนจะตัดตามความสุกแก่ในแต่ละมีด ทำให้ได้ทุเรียนคุณภาพดี เนื้อทุเรียนมีสีเหลือง แห้ง หนา เส้นใยน้อย หวานมัน เปลือกผลบาง ผิวเปลือกสีน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้ม หนามถี่ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นสำคัญของทุเรียนปราจีนบุรีที่โดนใจแม่ค้าและผู้บริโภคอย่างแรง ทำให้ขายผลผลิตได้ราคาดี จนผลิตไม่พอขายอีกต่างหาก

หลังจากทุเรียนปราจีนบุรีได้รับการโปรโมทให้เป็นสินค้า GI กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันวางแผนส่งเสริมการผลิต ส่งเสริมการตลาดและสร้างการรับรู้คุณภาพ ชื่อเสียง “ทุเรียนปราจีนบุรี” ในฐานะสินค้า GI ทั้งในประเทศและส่งออก เพื่อช่วยให้เกษตรกรสามารถจำหน่ายสินค้าได้ในราคาสูงขึ้น เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนและท้องถิ่นในระยะยาว

ที่ผ่านมา สำนักงานเกษตรจังหวัดปราจีนบุรี ร่วมกับชาวสวนจังหวัดปราจีนบุรี จัดงาน “งานวันเกษตรปราจีนบุรี” ในช่วงเดือนพฤษภาคม ของทุกปี ณ บริเวณลานด้านหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย อาทิ ตลาดนัดจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรและสินค้าทั่วไป ชมการประกวดผลไม้คุณภาพนานาชนิด ไม่ว่าจะเป็น ทุเรียน กระท้อน ส้มโอ มังคุด ขนุน และหน่อไม้ไผ่ตง กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตรปราจีนบุรี การแสดงนิทรรศการด้านการเกษตร การแสดงจากศิลปินพื้นบ้านมากมายตลอดงาน

เรียนรู้เทคนิคการผลิตทุเรียนคุณภาพ ณ สวนทุเรียนมนัส ฮวดจึง

สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองปราจีนบุรี ได้เปิด “ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก. เมืองปราจีนบุรี)” ณ สวนทุเรียนมนัส ฮวดจึง จังหวัดปราจีนบุรี โดยจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้เรื่องการปลูกดูแลจัดการสวนทุเรียนอย่างครบวงจรให้แก่เกษตรกรที่สนใจอย่างต่อเนื่อง

สำนักงานเกษตรจังหวัดปราจีนบุรี ได้ส่งเสริมพัฒนาสวนแห่งนี้เป็นแปลงทุเรียนอัจฉริยะ โดยนำนวัตกรรม “เทคโนโลยีควบคุมความชื้นและอุณหภูมิ” มาใช้ หากเผชิญภาวะอากาศร้อนหรือแห้งจนเกินไป ระบบให้น้ำจะพ่นละอองน้ำอัตโนมัติ ผู้สนใจ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเกษตรจังหวัดปราจีนบุรี โทรศัพท์ 037-217-874 ได้ตลอดในวันและเวลาราชการ

ผู้เขียนมีโอกาสลงพื้นที่ ได้พบสามีภรรยาในพื้นที่ หมู่ที่ 14 ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ซึ่งเป็นคนขยันปลูกไม้ผลผสมผสานกันในพื้นที่ 4 ไร่ สร้างรายได้อย่างพอเพียงปีละกว่า 100,000 บาท โดยไม้ผลที่ปลูกคือ ลองกอง พันธุ์ตันหยงมัสแท้จากภาคใต้ ทุเรียน ทั้งก้านยาว หมอนทอง หลง-หลินลับแล คละเคล้ากันไปกว่า 20 ต้น เงาะโรงเรียน เงาะบาบาลู สาเก มะพร้าวน้ำหอม กระท้อน และสะตอ ที่ให้ผลผลิตสร้างรายได้ดีเกินคาด มีเท่าไรไม่พอขาย

ลุงบรรจง ทองคำ อายุ 60 ปี บ้านเลขที่ 224 หมู่ที่ 14 บ้านสันป่างิ้ว ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เล่าให้ฟังว่า เนื่องจากที่บ้านมีพื้นที่ว่างบริเวณด้านหลังบ้าน ไม่ได้ปลูกต้นไม้หรือพืชอื่น ต่อมาลูกเขยซึ่งเป็นคนมาเลเซีย ประกอบอาชีพอยู่ที่หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เห็นว่าหลังบ้านมีพื้นที่ว่างจึงได้ซื้อต้นพันธุ์ลองกอง โดยเป็นพันธุ์ตันหยงมัสแท้ นำมาให้ตนปลูก ขณะที่ตนและภรรยาก็อยากทดลองว่าไม้ผลจากทางภาคใต้จะสามารถนำมาปลูกในภาคเหนือได้หรือไม่

ขณะเดียวกันคนพื้นบ้านในพื้นที่ไม่เชื่อว่าจะปลูกได้ผลผลิต UFABETSIX.COM ดังนั้น ตนจึงตัดสินใจลองปลูกลองกองขึ้นในพื้นที่ว่างหลังบ้าน สังเกตพบว่า ลองกองปลูกไว้ประมาณ 5 ปี เริ่มให้ผลผลิต ซึ่งลองกองติดผลตามลำต้นเป็นพวงสีขาวขุ่น มีเปลือกหุ้มเนื้อด้านใน ซึ่งมีรสหวาน ต้นหนึ่งจะให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 20 กิโลกรัม สำหรับต้นที่มีอายุนานกว่า 10-20 ปี ก็จะให้ผลผลิตมากขึ้นตามระยะการปลูก

เมื่อได้ผลผลิตอย่างจริงจัง จึงได้ปลูกเพิ่มเติมโดยมีลูกเขยนำต้นกล้ามาเพิ่มให้ นอกจากนี้ ก็มีทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ก้านยาว หลง-หลินลับแล สาเก สะตอ มะพร้าวน้ำหอม ปลูกตามพื้นที่ว่าง ทำให้เป็นสวน ไม้ผลผสมผสานที่สร้างรายได้ให้กับตนและภรรยาตลอดปี ซึ่งการปลูกไม่ได้ใช้วิชาการ แต่ปลูกตามที่เห็นว่าเหมาะสม พื้นที่ว่างตรงไหนก็ปลูกลงไป ให้ต้นสูงสร้างร่มเงาให้ต้นเล็กที่กำลังปลูกเป็นการทำสวนแบบพอเพียงตามศาสตร์พระราชาแบบพื้นบ้าน

ด้าน ป้าเป็ง ทองคำ อายุ 60 ปีเท่ากัน ซึ่งเป็นภรรยา กล่าวว่า ทำแบบนี้มากว่า 20 ปี ด้วยการปลูกไม้ผลหลายอย่างผสมกัน จากพื้นที่ว่างหลังบ้านก็ขยายการปลูกในพื้นที่ว่างของครอบครัว ปัจจุบันมีการปลูก ไม้ผลผสมผสานกว่า 4 ไร่ ทำให้แต่ละปีครอบครัวมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท เนื่องจากไม้ผลแต่ละชนิดให้ผลผลิตแตกต่างกัน บางปีไม้ผลบางชนิดไม่ให้ผลผลิต แต่ชนิดอื่นมีผลผลิต อย่างน้อยที่สุดก็จะมีผลผลิตไม่ต่ำกว่า 1-2 ชนิด ที่ให้มีผลผลิตทุกปี ซึ่งทำให้มีรายได้เลี้ยงตนเอง และช่วยให้ไม่ว่างงาน สามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

พื้นที่ว่างปลูกไม้ผลสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจคือ การอยู่อย่างพอเพียง ไม่เป็นหนี้สินให้มีภาระไม่สบายใจ ที่สำคัญได้ออกกำลังกายทำให้มีสุขภาพแข็งแรง ตนเชื่อมั่นว่าการอยู่อย่างพอเพียงไม่ต้องมีเงินหรือพื้นที่มาก ขอเพียงมีความตั้งใจดีที่จะประกอบอาชีพสุจริต ขยันก็อยู่ได้อย่างแท้จริง มีมาก ก็แบ่งเพื่อนบ้าน แบ่งขาย เหลือเก็บไว้ทำบุญ และเป็นทุนในอนาคต นี่คือศาสตร์ของพระราชา เป็นการอยู่อย่างพอเพียงที่แท้จริง

ภายในสวนของสองสามีภรรยา ยังมีเงาะสายพันธุ์ของอินโดนีเซีย ชาวบ้านเรียกเงาะลิ้นจี่ คือ พันธุ์บาบาลู ที่ลูกเขยซื้อมาให้ปลูกเพิ่ม ทางภาคใต้ขายกันกิโลกรัมละ 400-500 บาท ปลูกไว้กว่า 10 ต้น แต่ก็ตายไปบ้าง เหลือประมาณสัก 10 ต้น