มะละกอพันธุ์ดี ลูกดก ทนต่อโรค ทำเงินอย่างต่อเนื่อง ผลผลิต

ไม่ต่ำกว่า 150 กิโลกรัม ต่อต้นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของเกษตรกรในอำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี นอกจาก มะนาว กล้วยไข่ แล้ว ยังมี มะละกอ ถึงแม้พื้นที่ปลูกไม่มากนัก ราว 50-100 ไร่ หมุนเวียนตลอดปี แต่ก็สร้างรายได้ให้เกษตรกรไม่น้อย

จุดเริ่มต้นของงานปลูกมะละกอที่อำเภอหนองหญ้าปล้อง มีขึ้นเมื่อปี 2541 สำนักงานเกษตรอำเภอหนองหญ้าปล้อง โดย คุณบุญส่ง พูลพัฒน์ อดีตเจ้าหน้าที่เกษตร และ คุณชาญณรงค์ พวงสั้น รับราชการอยู่สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี ได้มีโครงการแปลงจัดไร่นาให้กับเกษตรกร พืชหนึ่งที่บรรจุในโครงการคือ มะละกอ

เมื่อโครงการแปลงจัดไร่นาผ่านไป ปรากฏว่า เกษตรกรติดใจงานปลูกมะละกอ จึงปลูกมาถึงปัจจุบันนี้

คุณบุญส่ง บอกว่า เกษตรกรปลูกมะละกอราว 10 ราย พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่ อยู่ที่หมู่บ้านห้วยเกษม ตำบลยางน้ำกลัดเหนือ สายพันธุ์มะละกอที่นำมาปลูก ได้มาจากอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ลักษณะของสายพันธุ์ ก้ำกึ่งระหว่างพันธุ์แขกดำและสายน้ำผึ้ง เกษตรกรได้เก็บสายพันธุ์สืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้ อาจจะเรียกว่าสายพันธุ์ “หนองหญ้าปล้อง” ก็ได้

“จุดเด่นของพันธุ์นี้ ดก ค่อนข้างทนต่อโรค เมื่อสุกเปลือกนิ่ม เนื้อในยังกินได้ ลักษณะผลยาว เนื้อสีแดงส้ม เนื้อไม่เละ เป็นได้ทั้งมะละกอกินสุกและมะละกอส้มตำ ชั่วอายุของมะละกอต้นหนึ่ง มีผลผลิตไม่ต่ำกว่า 150 กิโลกรัม อย่างแน่นอน” คุณบุญส่ง พูดถึงคุณสมบัติมะละกอที่หนองหญ้าปล้อง

คุณบุญส่ง บอกว่า พื้นที่ปลูกมะละกอที่หนองหญ้าปล้อง หมุนเวียนปีหนึ่งราว 100 ไร่ อายุของมะละกอที่ปลูก อยู่ได้อย่างน้อย 2 ปีครึ่ง หากดูแลดีเกษตรกรจะเก็บผลผลิตได้ 15 ตัน ต่อไร่ ต่อปี มีการคิดคำนวณกันแล้ว พื้นที่ปลูก 8 ไร่ จำนวน 2,000 ต้น มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 5 แสนบาท ต่อปี ต้นทุนการผลิต ไร่ละ 1.5 หมื่นบาท แต่ระบบน้ำต้องดี คือมีระบบสปริงเกลอร์ให้

คุณบุญส่ง บอกว่า การผลิตมะละกอที่หนองหญ้าปล้อง เน้นป้องกันโรค โดยมีหลักปฏิบัติ ดังนี้

หนึ่ง…ตรวจแปลงทุกวัน หากพบโรคใบด่างวงแหวน ให้รีบตัดต้นเผาทำลายทันที สอง…เครื่องมือเก็บ อย่างตะกร้าและเครื่องมือสอย ต้องใช้แปลงใครแปลงมัน ตะกร้าของแม่ค้า จะไม่สับเปลี่ยนกับของเกษตรกร แต่ใช้วิธีขนถ่าย เพราะอาจจะมีเชื้อจากแปลงของเกษตรกรรายอื่น ทำให้เกิดการติดเชื้อได้

สาม…เมื่อมะละกอหมดอายุ ต้องรีบตัดต้นแล้วเผาทำลายทันที หากปล่อยไว้ จะเป็นแหล่งสะสมโรค

ดูตัวเลขแล้ว ถือว่า มะละกอสร้างรายได้ดี แต่ก็มีปัจจัยที่ทำให้เจ๊งได้เหมือนกัน

เกษตรกรบางรายปลูกมะละกอ 10 ไร่ ถึงวันใกล้เก็บ เห็นเงินล้านในอีก 4-5 เดือน แต่เมื่อมีลมพายุมา เงินหายวับไปกับตา เก็บผลผลิตได้หลักหมื่นบาท เรื่องแบบนี้แม้แต่คุณบุญส่งก็เคยประประสบมา ดังนั้นเกษตรกรต้องเลือกพื้นที่ปลูกให้ปลอดภัยจากลมพายุ

คุณสุวิทย์ ทับทิม เกษตรกรอยู่บ้านเลขที่ 71 หมู่ที่ 2 ตำบลยางน้ำกลัดเหนือ อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี ปลูกมะละกอมาตั้งแต่ปี 2541 ถือว่าเป็นลูกศิษย์ของคุณบุญส่ง

คุณสุวิทย์ เล่าว่า ตนเองเคยปลูกอ้อยเป็น 100 ไร่ เมื่อมาปลูกมะละกอ 10 ไร่ มีรายได้ดีกว่า ปัจจุบันเกษตรกรรายนี้ปลูกขนุน เงาะ และมะละกอ พื้นที่ปลูกของเขาไม่แน่นอน แต่หมุนเวียนมีมะละกอเฉลี่ยตลอดปี 1,000 ต้น โดยทยอยปลูก

เกษตรกรรายนี้แนะนำว่า การคัดพันธุ์มะละกอนั้น ผลต้องสวย ผลยาว เก็บมาผ่าชิมเนื้อเป็นขั้นตอนสุดท้าย ถึงแม้ผลสวย แต่เนื้อไม่หวานใช้ทำพันธุ์ไม่ได้ ดังนั้น ต้องเลือกผลที่สวยและเนื้อหวาน

วิธีการปลูก เริ่มจากเพาะเมล็ดในถุง 3 ต้น ปลูกลงดิน ระยะระหว่างต้นระหว่างแถว 2.50 เมตร คูณ 2.50 เมตร เมื่อมีดอก คัดต้นที่มีดอกกะเทยไว้ 6 เดือน มะละกอเริ่มติดผล

จนกระทั่ง 9 เดือน จึงเก็บผลสุกส่งตลาดได้

การดูแลรักษามะละกอ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน เกษตรกรต้องใส่ใจ โดยเฉพาะโรคใบด่างวงแหวนต้องตรวจดูแปลงทุกวัน

เรื่องน้ำ คุณสุวิทย์ ให้น้ำโดยระบบสปริงเกลอร์ ลงทุนในส่วนนี้ ไร่ละ 6,000-7,000 บาท น้ำมีความสำคัญมาก หากไม่มีระบบน้ำ ไม่ควรปลูกมะละกอเชิงการค้าอย่างเด็ดขาด

ปุ๋ย เจ้าของเน้นปุ๋ยคอก เมื่อมีผลผลิตใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 ระยะเวลาที่ใส่ให้ 2 เดือน ต่อครั้ง หากฝนชุก ต้องเปลี่ยนเป็น สูตร 13-13-21 เพื่อเพิ่มความหวาน เรื่องของความหวาน แม่ค้าจะเป็นผู้บอกให้ผู้ปลูกทราบอีกทีหนึ่ง หากความหวานน้อยเขาก็บอก ผู้ปลูกก็จะปรับปรุง

ส่วนใหญ่แล้วคุณสุวิทย์ ขายมะละกอที่ปลูกเป็นมะละกอสุก

ที่ผ่านมา มะละกอผลดิบ ขายเพื่อทำส้มตำ เคยขายได้ต่ำสุด กิโลกรัมละ 2 บาท สูงสุด 10 บาท

มะละกอสุก เคยขายได้ต่ำสุด กิโลกรัมละ 3 บาท สูงสุด 17 บาท แต่โดยเฉลี่ย กิโลกรัมละ 10 บาท

“แม่ค้ามาซื้อมีคนเดียว เขาส่งตลาดศรีเมือง ราชบุรี งานปลูกมะละกอถือเป็นอาชีพที่ดี แต่ต้องเลือกทำเล เช่น หลบหลีกเรื่องลม อยู่ไกลจากชุมชนพอสมควร คนปลูกมะละกอด้วยกันเองต้องเข้าใจ เมื่อโละต้นทิ้ง ต้องทำลาย เพราะขืนปล่อยไว้เมื่อเกิดโรค ติดต่อกัน จะสร้างความเสียหายได้” คุณสุวิทย์ บอก

ต้นทุนการผลิตมะละกอ ของเกษตรกรหนองหญ้าปล้องไร่ละหมื่นเศษๆ หากดูแลดี จะให้ผลตอบแทนแก่เจ้าของได้เป็นแสนบาท หากดูแลไม่ดี หรือมีลมพายุ อาจจะขายมะละกอได้ไร่ละไม่ถึงหมื่นบาท เรื่องจริงที่เกิดขึ้นแล้ว

เรื่องการขาย คุณบุญส่ง บอกว่า หากมะละกอสุก เกษตรกรขายได้กิโลกรัมหนึ่ง 7 บาทขึ้นไป ถือว่าดีแล้ว นายศิรสิทธิ์ ชลหัตถ์ Young Smart Farmer อำเภอเกาะยาว อายุ 38 ปี อยู่บ้านเลขที่ 36/2 หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ทำงานโรงแรมตั้งแต่พนักงานยกกระเป๋า ด้วยความขยัน และมีความพยายามจนเป็นผู้จัดการทั่วไปของโรงแรมระดับห้าดาวในจังหวัดภูเก็ต เงินเดือนหลักแสน แต่ด้วยใจรักด้านการเกษตร ตอนที่ยังทำงานโรงแรมก็แบ่งเวลาทำการเกษตรและสร้างรีสอร์ตเป็นอาชีพเสริม

ด้วยประสบการณ์ที่ทำงานเกี่ยวกับโรงแรมเกือบ 20 ปี โดยใช้ชื่อว่า “YAO Island Resort & FARM” โดยมีรีสอร์ต จำนวน 3 หลัง เต็นท์ จำนวน 6 หลัง และร้านอาหาร และได้ซื้อที่ดินเพิ่มเติม รวมกับที่มีอยู่เดิม ประมาณ 10 ไร่เศษ ทำกิจกรรมการเกษตร ได้แก่ ทำสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน นาข้าว ไม้ผล พืชผัก เลี้ยงไก่อินทรีย์ ปศุสัตว์ การทำปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้น

กิจกรรมในฟาร์มไม่มีการใช้สารเคมี มีการทำอาหารสัตว์เองเพื่อลดต้นทุนการผลิต การกำจัดกลิ่นปุ๋ยคอกโดยการใช้น้ำหมักชีวภาพ ได้สมัครเป็น Young Smart Farmer ของอำเภอเกาะยาว เมื่อปี 2561 และได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานเกษตรจังหวัดพังงา เป็นเครือข่ายศูนย์บ่มเพาะ Young Smart Farmer ในปีงบประมาณ 2562

เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรและการทำธุรกิจให้กับเกษตรกรรุ่นใหม่ ซึ่งได้รับคำแนะนำและการถ่ายทอดความรู้จากสำนักงานเกษตรอำเภอเกาะยาว ทำให้กิจการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะประเทศแถบยุโรป ที่มากสุดคือ เยอรมนี

นอกจากได้ชมธรรมชาติที่สวยงามโดยมีจักรยานให้บริการแล้ว นักท่องเที่ยวยังได้ร่วมกิจกรรมในฟาร์มด้วย เช่น การทำนาโยน การเก็บไข่ไก่อินทรีย์ การเก็บผัก ผลไม้ และได้รับประทานอาหารสด สะอาด อร่อย ราคาไม่แพง สำหรับที่พักต้องมีการจองล่วงหน้าทางสื่อออนไลน์ เนื่องจากที่พักจะมีนักท่องเที่ยวพักเต็มตลอด และด้วยธุรกิจที่กำลังไปได้ด้วยดี จึงตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการโรงแรม ทิ้งเงินเดือนหลักแสนเพื่อจะได้มีเวลาทำการเกษตรอย่างเต็มที่

นางอุษณี เจียมรา เกษตรอำเภอเกาะยาว กล่าวให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า สำนักงานเกษตรอำเภอเกาะยาว ได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็น Young Smart Farmer เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การบริหารจัดการธุรกิจ การใช้ระบบสารสนเทศ เน้นหนักกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการสร้างเครือข่าย โดยให้เกษตรกรเป็น “ศูนย์กลางการเรียนรู้และออกแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง” บนหลักการการเรียนรู้ตลอดชีวิต การมีส่วนร่วม และการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเป็น “ผู้จัดการ-เรียนรู้”

เป้าหมายหลักในการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้มีขีดความสามารถด้านการเกษตร สามารถทดแทนเกษตรกรสูงอายุ สร้างแรงจูงใจให้คนรุ่นใหม่หันมาประกอบเกษตรกรรมโดย Young Smart Farmer ต้องมีการบริหารจัดการการเกษตรด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมในเชิงผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่ พึ่งพาตนเองได้ มีการเชื่อมโยงเครือข่าย และเป็นผู้นำทางการเกษตรในท้องถิ่น ซึ่งขณะนี้อำเภอเกาะยาว มีเกษตรกรรุ่นใหม่ สมัครเป็น Young Smart Farmer แล้ว จำนวน 11 ราย

ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอเกาะยาว โทรศัพท์ (076) 597-127 หรือติดต่อ คุณศิรสิทธิ์ ชลหัตถ์ โดยตรงที่หมายเลขโทรศัพท์ (093) 867-5704

ที่ผ่านมา เกษตรกรภาคอีสานนิยมปลูกมันสำปะหลัง และข้าวโพด แต่พืชเศรษฐกิจเหล่านี้ เกษตรกรสามารถเก็บผลผลิตได้เพียงแค่ครั้งเดียวก็จบ แต่การปลูกพริกเกษตรกรสามารถเก็บผลผลิตได้ถึง 10-12 ครั้ง สร้างรายได้ให้ครอบครัวอย่างต่อเนื่องและมีรายได้ให้มากกว่าพืชชนิดอื่นๆ ที่เคยปลูกมา

โดยทั่วไป พริกที่เข้าสู่ตลาดในช่วงต้นปี ส่วนใหญ่มักจะมาจากภาคอีสานตอนบน หลังจากนั้น จึงไล่ลงมาทางอีสานตอนล่างมาถึงจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็นจังหวัดที่ปลูกพริกมากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศโดย “อำเภอเทพสถิต” นับเป็นแหล่งปลูกพริกขนาดใหญ่ เนื้อที่กว่า 4,000 ไร่ ถือเป็นแหล่งที่มีผลิตพริกขึ้หนูสดป้อนตลาดในช่วงเดือนมิถุนายนถึงตุลาคมมากที่สุด

อย่างไรก็ตาม พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกพริกส่วนใหญ่ ยังคงประสบปัญหาผลผลิตต่อไร่ต่ำ ต้นทุนการผลิตสูง เจอโรคและแมลงรบกวนการผลิต ส่งผลถึงคุณภาพของพริกและทำให้ได้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ การเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพดี เหมาะสมกับสภาพพื้นที่เพาะปลูก นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถพลิกชีวิตชาวสวน ลดปัญหาเรื่องโรคและแมลงและช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่ที่มากขึ้น

กัญญา รอตเสียงล้ำ ผู้จัดการส่วนปรับปรุงพันธุ์พืชธุรกิจเมล็ดพันธุ์ บริษัท เจียไต๋ จำกัด กล่าวว่า พริกขี้หนูลูกผสมพันธุ์รังสิมา เป็นที่นิยมของเกษตรกรในพื้นที่อีสานตอนบนและอีสานตอนล่าง เนื่องจากพริกพันธุ์นี้ มีลักษณะเด่นคือ ให้ผลผลิตสูงมาก ทนทานต่อโรคและแมลงได้เป็นอย่างดี แม้เจอภาวะฝนแล้ง อากาศร้อนแห้ง มีการระบาดของแมลงหวี่ขาวซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไวรัสใบด่างประเหลือง (โรคใบแก้ว) ปรากฏว่า พริกรังสิมาสามารถทนจากการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวได้ดีกว่าพริกสายพันธุ์อื่นๆ

จุดเด่นประการต่อมาคือ พริกรังสิมา มีผลสีเขียว ผิวเรียบตึง เป็นมันวาว ผลสุกสีแดงสดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 7 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 3 กรัม ต่อผล เมื่อเก็บผลผลิตครั้งต่อๆ ไปก็ให้ผลผลิตดีไม่มีตก มีการเปลี่ยนแปลงขนาดผลน้อย (ไม่หดสั้น) ในช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว ทำให้ได้ราคาดี มีรสเผ็ดจัดจ้านและมีกลิ่นหอมกว่าพริกขึ้นหนูสายพันธุ์ทั่วๆ ไป ทำให้ขายผลผลิตได้ราคาดีมากจนเป็นที่นิยมของเกษตรกร

การปลูกดูแลแปลงพริก

การปลูกพริก เกษตรกรจะเริ่มเพาะต้นกล้าแปลงเพาะในช่วงเดือนมีนาคม โดยใช้เมล็ดพันธุ์พริกสายพันธุ์รังสิมาของเจียไต๋ ในอัตราเฉลี่ย 2 ไร่ ต่อ 3 กระป๋อง และจะย้ายต้นกล้าลงในแปลงปลูกที่อายุ 25-30 วัน ถ้าต้นกล้าอายุเกิน 1 เดือนไปแล้ว ต้นกล้าจะแก่เกินไปไม่เหมาะแก่การปลูก เพราะพริกรังสิมาอายุการออกดอกหลังย้ายกล้าเพียงหนึ่งเดือนและอายุเก็บเกี่ยวเร็ว (เก็บผลเขียว 65-70 วัน) ต้องย้ายกล้าให้เร็วเพื่อที่พริกเลี้ยงต้นให้พุ่มใหญ่ก่อนที่จะเริ่มติดดอกออกผล จะทำให้ได้ผลผลิตที่ดีตามมา ถ้าหากมีการย้ายกล้าเกินหนึ่งเดือน ต้นพริกจะแคระแกร็น พุ่มเล็ก ติดผลได้น้อยกว่ามาก

ทั้งนี้ ปลูกพริกในระยะห่างระหว่างต้น 40 เซนติเมตร และระยะห่างระหว่างแถว 120 เซนติเมตร แต่หากจะให้ดีควรกำหนดระยะห่างระหว่างต้นที่ 50-60 เซนติเมตร เพื่อให้แปลงโปร่งจะช่วยลดอัตราการเกิดโรคได้ พริกพันธุ์รังสิมา มีทรงพุ่มแผ่กว้างต่างกับพันธุ์อื่นๆ โดยก่อนปลูกจะรดน้ำในแต่ละหลุมก่อนนำต้นกล้ามาปลูก และหลังจากปลูกเสร็จจะรดน้ำตามอีกครั้งเพื่อให้ต้นกล้าพริกตั้งตัวได้เร็วขึ้น

หลังจากนั้น เปิดให้น้ำผ่านระบบน้ำหยดทุกวัน และให้ปุ๋ยเคมีตรากระต่าย สูตร 13-13-21 ใส่ทุกๆ 15 วัน นอกจากการใส่ปุ๋ยเคมีแล้วจะเน้นใส่ปุ๋ยคอกที่ได้จากมูลวัวที่เลี้ยงไว้ จะทำให้พริกสวยเม็ดใหญ่ (อยู่ในขั้นตอนการเตรียมดิน คือควรใช้ปุ๋ยคอกตอนไถพรวนและขึ้นแปลง)

เกษตรกรจะเริ่มเก็บเกี่ยวพริกผลเขียวเมื่ออายุ 65-70 วัน และเก็บพริกแดงครั้งแรก เมื่อพริกอายุ 80-90 วัน หลังจากย้ายต้นกล้า การเก็บพริกเขียวรังสิมานั้น สามารถเก็บผลผลิตครั้งแรกเร็วกว่าพริกสายพันธุ์อื่นๆ 7-10 วัน

และสามารถเก็บพริกในรอบถัดไปได้ 12-14 วัน เมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่นที่เคยปลูกมาจะเก็บผลผลิตในรอบถัดไปได้ 17-18 วัน พริกสายพันธุ์รังสิมา มีรอบการเก็บผลเขียวเร็วกว่าพันธุ์พริกอื่น ต้นพริกยิ่งโตยิ่งให้ผลผลิตมากขึ้น สามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอด 6 เดือน เลยทีเดียว แต่ขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษาที่ดีด้วยเช่นกัน

ผลผลิตพริกที่ออกในช่วงฤดูฝน มักพบเชื้อรา เกษตรกรมักฉีดยาเทนเอ็ม 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นป้องกันเชื้อรา พริกรังสิมา ทนต่อโรคใบแก้ว (โรคไวรัสใบด่างประเหลือง) มากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ช่วยให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมีลงได้ แต่ควรฉีดพ่นสารป้องกันแมลงพวกแมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟที่เป็นสาเหตุของโรคไวรัสคุมไว้ตลอด

การฉีดยาป้องกันไวรัส ควรฉีดพ่นยาให้ทั่วถึง เนื่องจากพริกรังสิมามีลักษณะใบเล็กไม่บังผลและดอก นอกจากนี้ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการสะสมของโรคพืชที่สวนจะปลูกพืชแบบผสมผสาน หลังจากปลูกพริกแล้ว เกษตรกรควรสลับสับเปลี่ยนมาปลูกข้าวโพดหรือมันสำปะหลังบ้าง เพื่อลดอัตราการสะสมของเชื้อโรค

หากปลูกพริกรังสิมา เปรียบเทียบกับพริกพันธุ์อื่นแบบต้นต่อต้น จะพบว่า พริกรังสิมามีทรงพุ่มต้น มีแขนงเยอะ ติดลูกดก ใหญ่ ผลผลิตสูง สีสวย รสชาติจัดจ้าน เก็บเกี่ยวได้เร็ว ใบเรียวเล็ก สามารถทำให้สภาพแปลงโปร่งทำให้ความชื้นน้อยลดอัตราการเกิดโรคได้และต้านทานโรค คนงานที่เก็บพริก บอกว่าพริกพันธุ์นี้ผลยาว ลูกใหญ่ ขั้วเปราะ ทำให้เก็บเกี่ยวง่าย

สำหรับเกษตรกรที่สนใจเมล็ดพันธุ์ “พริกขี้หนูลูกผสมพันธุ์รังสิมา” สามารถติดต่อหาซื้อได้ที่ตัวแทนจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ของเจียไต๋ทั่วประเทศ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ประเทศไทย มีพื้นที่ปลูกงาดำปีละ 80,000 – 120,000 ไร่ ให้ผลผลิตปีละ 6,000 – 8,000 ตัน ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันตลาดภายในประเทศให้ความสนใจงาดำมากขึ้น โดยนำมาใช้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพและใช้น้ำมันงาดำเป็นยารักษาโรค

งา เป็นพืชอาหารเพื่อสุขภาพโดยแท้ เนื่องจากมีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และแมงกานีส นอกจากนี้ ยังมีสารพิเศษคือ สารต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกายอย่างยิ่ง ส่วนน้ำมันที่ได้จากงาจะเป็นไขมันชนิดดี คือเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวถึง 85 เปอร์เซ็นต์ ชนิดของกรดไขมันจะเป็นกรดลิโนเลอิค และโอเออิค แอซิด ซึ่งเป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย

เมล็ดงาดำ นับเป็นส่วนประกอบในอาหารประเภทชีวจิต เนื่องจากมีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์เกือบครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีปริมาณธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสมากในเมล็ดงา และมีสัดส่วนพอเหมาะกับความต้องการของร่างกาย จึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะใช้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ

นอกจากนั้น ผู้บริโภคจำนวนมากยังนิยม “กินงาดำเป็นยา” เพื่อรักษาโรค ในอดีตแพทย์แผนโบราณนิยมใช้น้ำมันงาทารักษาอาการปวดกระดูก และประสานกระดูกหักหรือแตก และใช้ทาผิวหนังที่ถูกน้ำร้อนลวกหรือไฟลวก และใช้ใส่แผล เป็นต้น

ที่ผ่านมา งาดำที่ปลูกในประเทศไทยส่วนใหญ่ pezmalo.com เป็นงาพันธุ์พื้นเมืองมีผลผลิตต่อไร่ต่ำ และมีขนาดเมล็ดเล็ก มีน้ำหนัก 1,000 เมล็ด ประมาณ 2.7 กรัม ตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นและไต้หวันต้องการงาดำเมล็ดโต มีสีดำสนิทสม่ำเสมอ มีเปลือกหุ้มเมล็ดบาง เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารและใช้บริโภคโดยตรง

ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร ได้ศึกษาวิจัยเรื่องการปลูก การขยายพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์ทั้งงาขาวและงาดำ ตลอดจนการแปรรูปงามาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น น้ำมันงา โลชั่นบำรุงผิว และน้ำมันงาสำหรับใช้ปรุงอาหาร ฯลฯ มาอย่างต่อเนื่อง

ดร. สายสุนีย์ รังสิปิยกุล ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี ประสบความสำเร็จในการวิจัยปรับปรุงพันธุ์ “งาดำพันธุ์อุบลราชธานี 3” ที่ให้ผลผลิตสูง ประมาณ 100 กิโลกรัม ต่อไร่ หรือมากกว่านั้น และให้มีขนาดเมล็ดโต คือให้ได้น้ำหนัก 1,000 เมล็ด มีน้ำหนัก 2.8 กรัม มีขนาดเมล็ดโตกว่างาดำพื้นเมืองพันธุ์นครสวรรค์ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง และให้ได้พันธุ์งาดำที่มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการของตลาด

งาดำ พันธุ์อุบลราชธานี 3 (งาดำสายพันธุ์ IS 121) เป็นสายพันธุ์ที่ได้รับเมล็ดพันธุ์ในโครงการปรับปรุงพันธุ์งา Thai-Israel Sesame Co-operation Project ในปี 2529 กรมวิชาการเกษตร ได้รับเมล็ดพันธุ์งาลูกผสม ชั่วที่ 2 ซึ่งได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างงาที่มีต้นกำเนิดจากประเทศเวเนซุเอลา เม็กซิโก สหรัฐอเมริกา ไนจีเรีย ซูดาน อียิปต์ อิสราเอล บัลกาเรีย อินเดีย พม่า อินโดนีเซีย เกาหลี ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ รวม 110 พันธุ์ ซึ่งเป็นพันธุ์แม่ รวมทั้งพันธุ์กลาย ผสมข้ามพันธุ์กับพันธุ์ที่ฝักไม่แตก ไม่ทอดยอด และต้านทานศัตรูโรค

กรมวิชาการเกษตร ได้รับเมล็ดพันธุ์งาลูกผสม ชั่วที่ 2 จากประเทศอิสราเอล จำนวน 253 สายพันธุ์ มาปลูกคัดเลือกพันธุ์ภายใต้สภาพแวดล้อมของประเทศไทยจนถึง ชั่วที่ 6 ก่อนนำเข้าประเมินผลผลิตที่ศูนย์วิจัยและสถานีทดลองพืชไร่ต่างๆ ตลอดจนในสภาพไร่ของเกษตรกรในจังหวัดต่างๆ รวม 13 แปลงทดลอง ระหว่างปี 2539-2546