มะละกอ “ดกและใหญ่” ภาคอีสานบริโภคมะละกอกันมาก

โดยเฉพาะทำส้มตำ แหล่งผลิตมะละกอของอีสานที่เหมาะสมมีไม่มากนัก แต่ที่อำเภอน้ำยืน ปลูกมะละกอได้ดี คุณไพศาลคือเกษตรกรที่ปลูกมะละกอได้ทั้งปริมาณและคุณภาพ

เดิมทีเขาปลูกมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ สำหรับกินสุก และมะละกอแขกนวล สำหรับทำส้มตำ จากนั้นก็เก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ แต่ปรากฏว่าผลผลิตที่ได้ไม่เหมือนทั้งฮอลแลนด์และแขกดำ เพราะมีผลขนาดใหญ่กว่า เนื้อแน่น กินได้ทั้งมะละกอสุกและสำหรับส้มตำ

มะละกอของคุณไพศาล เมื่อสุกเนื้อสีแดงส้ม

บางช่วงคุณไพศาลปลูกมะละกอมากถึง 10 ไร่ ส่วนหนึ่งปลูกเป็นพืชแซม ปลูกขนุน ไม่ต้องพ่นสารเคมี
ขนุน เป็นไม้ผลที่ดูแลรักษาไม่ยาก มีบางช่วงที่ผลผลิตตกต่ำมากๆ ราคากิโลกรัมละ 4-5 บาท แต่เนื่องจากทุกวันนี้ คนรู้จักคุณค่าของขนุน ประกอบกับต่างประเทศ อย่าง สาธารณรัฐประชาชนจีน ซื้อผลสดไปบริโภค ทำให้ราคาของขนุนขยับขึ้น แหล่งใหญ่ขนุนส่งออกอยู่ที่จังหวัดระยอง และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

คุณไพศาล ปลูกขนุน จำนวน 60 ต้น มีพันธุ์มาเลเซีย ทองสุดใจ และทองประเสริฐ

ขนุนมาเลเซีย รสชาติอาจจะไม่เด่น หากเก็บผลผลิตในช่วงฝนชุก แต่จุดเด่นอยู่ที่ผลมีขนาดยักษ์ใหญ่ แกะขายได้เงินดีมาก หากให้มีดอกช่วงกลางฝน ไปเก็บผลผลิตช่วงแล้ง จะได้รสชาติดี

ขนุนทองสุดใจ เป็นขนุนเก่าแก่ มีถิ่นกำเหนิดอยู่ตำบลบ้านพระ อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี เจ้าของคือ คุณสมปอง ตวงทอง เมื่อก่อนมีขนุนพี่น้องของทองสุดใจ เรียกกันติดปากว่า “ฟ้าถล่ม ทองสุดใจ จำปากรอบ” หากเก็บแก่จัดและกินในเวลาที่เหมาะสม ขนุนทองสุดใจรสชาติดี

สำหรับ ขนุนทองประเสริฐ เป็นขนุนยอดนิยม ที่ระยองและประจวบคีรีขันธ์ ปลูกเพื่อส่งออกไปจีนและเวียดนาม

“ขนุนดูแลไม่ยาก ไม่ต้องฉีดยา ราคาขายโดยทั่วไป กิโลกรัมละ 8-10 บาท…สวนของผมพื้นที่ 28 ไร่ ค่อยๆ เก็บเงินสะสมซื้อมา แรงงานหลักก็มีผมกับภรรยา…พืชอีกชนิดหนึ่งที่ปลูกแล้วทำรายได้ให้ไม่น้อยคือมะกอกน้ำครับ ปลูกไว้ตามริมสระ ผลผลิตดก และขายได้อย่างคาดไม่ถึง” คุณไพศาล บอก

ราคาขนุน กิโลกรัมละ 8-10 บาท บางผลน้ำหนัก 20 กิโลกรัม ราคาขายตกผลละ 200 บาท ถือว่าไม่น้อย

เกษตรกรที่อำเภอน้ำยืน มีงานเด่นแตกต่างกันไป คุณไพศาล และภรรยา มีไม้ผลเก็บขายตลอดปี แนวทางการขายอย่างหนึ่งที่ช่วยได้มากนั้น คุณนิ่มนวลบอกว่า ทางเฟซบุ๊ก ช่วงปลายฤดูหนาว ประมาณเดือนมกราคม- กุมภาพันธ์ ดอกบ๊วยหรือดอกพลัม (plum blossom) หรือ ดอกเหมยในภาษาจีน จะเริ่มผลิบานสะสุดตานักท่องเที่ยวที่มาเยือนดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงราย ดอกบ๊วยมีขนาดเล็ก 1 – 3 ซ.ม.ลักษณะกลีบกลม มีกลีบดอก 5 กลีบ มีหลากสีตั้งแต่ขาว ชมพู แดง และเข้มเป็นสีแดงส

ต้นบ๊วย จัดอยู่ในตระกูลพรุน เช่นเดียวกับพลัม ลูกท้อ เชอร์รี่ อัลมอนด์ และนางพญาเสือโคร่ง ผลบ๊วยสุกพร้อมเก็บได้ในช่วงต้นฤดูร้อนประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคม ผลบ๊วยมีรูปร่างกลม มีร่องจากขั้วไปถึงก้น ผลดิบจะมีสีเขียว มีรสอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม หลังจากนั้นผลสุกจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีแดงเมื่อสุกเต็มที

พันธุ์บ๊วยที่ปลูกบนดอยแม่สลอง ถูกนำเข้ามาจากประเทศจีน ไม่ทราบชื่อพันธุ์ที่แน่นอน ชาวบ้านนิยมขยายพันธุ์บ๊วย ด้วยวิธีการติดตา โดยเลือกใช้ บ๊วยพันธุ์พื้นเมือง เป็นต้นตอขยายพันธุ์ เนื่องจากสามารถเจริญเติบโตได้เร็วกว่าต้นตอท้อ ทำการขยายพันธุ์ในช่วงที่ต้นพักตัว เมื่อผ่านระยะการพักตัวแล้ว ตาที่ติดไว้ก็จะแตกและเจริญเติบโตต่อไป โต้นที่ติดตาจะให้ผลใน 4-5 ปี

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนก่อเสริมดอยแม่สลอง ได้นำบ๊วยและผลไม้เมืองหนาวที่ปลูกในท้องถิ่นนำมาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม ในรูปแบบต่างๆ เช่น บ๊วยแดง บ๊วยอบน้ำผึ้ง บ๊วยทับทิม บ๊วยหยก บ๊วย 5 รส บ๊วยซากุระ สินค้าทุกรายการผ่านการรับรองคุณภาพมาตรฐานจากองค์การอาหารและยา (อย.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สร้างรายได้เข้าสู่ชุมชนปีละ 20 ล้านบาท

การมีธุรกิจส่วนตัว มีอาชีพอิสระที่เป็นนายตัวเอง คงเป็นอาชีพในฝันของใครหลายๆ คน แต่แน่นอนว่าการจะมายืนในจุดที่มีธุรกิจเป็นของตัวเอง อาชีพที่เป็นนายตัวเองได้นั้น หนทางในการไปสู่ความสำเร็จคงจะไม่เรียบง่ายอย่างแน่นอน ดั่งเช่น คุณศราวุธ จับใจ หรือ คุณต้อม (สามี) อายุ 31 ปี และ คุณอรพินท์ รินทรท้าว อายุ 34 ปี หรือ คุณโบว์ (ภรรยา) อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 44 หมู่ที่ 8 ตำบลวังเงิน อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ปัจจุบัน ทั้งคู่เป็นเจ้าของฟาร์มเห็ด

คุณศราวุธ กล่าวว่า อดีตตนเองและภรรยาก็มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัททั่วไปในจังหวัดฉะเชิงเทรา แต่แท้จริงแล้วตนเองเป็นคนจังหวัดสุโขทัย ส่วนคุณอรพินท์ ภรรยา เป็นคนจังหวัดลำปาง ทั้งคู่ทำงานบริษัทไปประมาณระยะเวลาหนึ่ง ต่างฝ่ายก็ต่างเริ่มรู้สึกอิ่มตัวกับอาชีพของการเป็นพนักงานบริษัท อยากกลับไปอยู่บ้านเกิด มีอาชีพอิสระเป็นของตนเอง และมีเวลาได้ดูแลคนในครอบครัวมากขึ้น

คุณศราวุธ และคุณอรพินท์ จึงปรึกษากันว่า เรากลับบ้านไปทำอาชีพเกษตรกรกันดูไหม เนื่องจากคุณอรพินท์ และคุณศราวุธ เติบโตมาในครอบครัวเกษตรกร ซึ่งถือว่าเป็นอาชีพอิสระ สามารถสร้างธุรกิจของตนเองได้ มีสภาพแวดล้อมที่ดีอยู่กับธรรมชาติ และยังมีเวลาในการที่จะได้ดูแลครอบครัวอีกด้วย

คุณอรพินท์ กล่าวว่า เดิมทีบ้านของตนเคยทำฟาร์มเห็ด ทำให้ตนเองมีความรู้และความเข้าใจในการทำฟาร์มเห็ดเป็นอย่างดี แต่ปัจจุบันก็ได้เลิกทำไปแล้ว ฟาร์มเห็ดถือว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มั่นคง เพราะเห็ดมีความต้องการอย่างมากในตลาด คนทุกคนต้องเคยกินเห็ด ไม่ว่าสายพันธุ์ใดก็ตาม ทุกตลาด ทุกแผงขายผัก จะต้องมีเห็ดขายอย่างเเน่นอน สิ่งเหล่านี้ทำให้ คุณศราวุธ และคุณอรพินท์ มั่นใจว่าหากตนเองกลับบ้านไปทำฟาร์มเห็ด จะต้องประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

คุณศราวุธ กล่าวว่า แต่ทุกการตัดสินใจต้องคิดให้รอบครอบและถี่ถ้วน คุณอรพินท์ จึงออกจากงานประจำก่อนเพื่อไปเตรียมพื้นที่ในการทำฟาร์มเห็ด จึงได้พื้นที่บ้านในจังหวัดลำปางของคุณอรพินท์ สร้างฟาร์มเห็ดนี้ขึ้นมา คุณอรพินท์ ออกมาจากงานประจำเริ่มทำฟาร์มเห็ดได้ประมาณ 2 ปี ก็รู้สึกว่าอาชีพนี้เริ่มมั่นคงแล้วสามารถทำรายได้มากมายให้กับตนเอง แต่ตลอดระยะเวลา 2 ปี ที่ คุณศราวุธ ยังคงทำงานประจำอยู่นั้น ก็ยังคงช่วยเหลือสนับสนุนคุณอรพินท์ในหลายๆ ด้านของการทำฟาร์มเห็ดนี้ เมื่อคุณศราวุธ มองเห็นว่ามันถึงเวลาแล้วที่ตนเองจะต้องออกจากงานประจำเพื่อกลับมาช่วยคุณอรพินท์อย่างเต็มตัว ทั้งหมดนี้ก็คือจุดเริ่มต้นของเห็ดนางฟ้า พารวย By อรพินท์ ฟาร์มเห็ด

ปัจจุบัน คุณศราวุธ และคุณอรพินท์ ประกอบอาชีพเกษตรกรฟาร์มเห็ดมาแล้วกว่า 5 ปี เห็ดนางฟ้า พารวย By อรพินท์ ฟาร์มเห็ด แห่งนี้ไม่ได้เพียงแต่เป็นธุรกิจครอบครัว แต่ยังเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนอีกด้วย

คุณศราวุธ กล่าวว่า ปกติจะเป็นตนเองและภรรยาจะช่วยกันทำเพียง 2 คน แต่ในบางครั้งคนในครอบครัวก็มาช่วยด้วย แต่เมื่อธุรกิจเริ่มขยายใหญ่ขึ้น มีผู้คนรู้จักมากขึ้น ทำให้มียอดสั่งซื้อเข้ามาจนล้นหลาม กำลังผลิตภายในครอบครัวจึงไม่เพียงพอ จุดนี้จึงทำให้เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชน

คุณศราวุธ กล่าวว่า ในยุคสมัยนี้การตลาดที่ดีที่สุด คือ การตลาดออนไลน์ และยิ่งในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ทำให้ผู้คนจำนวนมากกลับมารักษาสุขภาพมากขึ้น ทานอาหารที่ปลอดภัยไร้สารเคมีมากขึ้น เกิดการผลิตอาหารขึ้นเองอย่างการเพาะเห็ดไว้ทานในครัวเรือน หรือบางคนที่ตกงานก็กลับบ้านเกิดในแต่ละจังหวัด ก็มองหาอาชีพเพาะเห็ดเพื่อจำหน่าย ทำให้ฟาร์มเห็ดของเรามียอดขายที่สูงขึ้น เดือนละ 60,000-70,000 บาท

คุณศราวุธ กล่าวว่า ภายในฟาร์มเห็ดแห่งนี้ มีเห็ดหลากหลายสายพันธุ์ เช่น เห็ดนางฟ้าภูฎาน เห็ดนางรม เห็ดหูหนู เห็ดโคนน้อย และเห็ดหอม เห็ดถือว่าเป็นวัตถุดิบชนิดหนึ่งที่คนไทยรู้จัก และนิยมนำมาประกอบอาหารเพื่อรับประทานกันอย่างแพร่หลาย และบางคนก็ไม่เคยรู้เลยว่าเห็ดแต่ละชนิดมีจุดเด่นและประโยชน์อะไรบ้าง

เห็ดนางฟ้าภูฎาน มีเนื้อที่แน่น กรอบ และมีรสชาติที่หวาน อุดมไปด้วยคุณประโยชน์มากมาย ได้แก่ บำรุงกระเพาะอาหาร ช่วยในเรื่องระบบไหลเวียนของโลหิต ช่วยยับยั้งเนื้อร้าย หรือมะเร็ง เป็นต้น

เห็ดนางรม มีเนื้อที่เหนียวกว่าเห็ดนางฟ้าภูฎาน และมีรสชาติที่หวาน อุดมไปด้วยคุณประโยชน์มากมาย ได้แก่ ช่วยรักษาภาวะซีดหรือโรคโลหิตจางได้เป็นอย่างดี ใช้เป็นอาหารควบคุมน้ำหนัก ช่วยสร้างน้ำนมให้แก่คุณแม่หลังคลอด เป็นต้น

เห็ดหูหนู มีลักษณะใส นิ่มคล้ายวุ้น อุดมไปด้วยคุณประโยชน์มากมาย ได้เเก่ ช่วยลดความร้อนในร่างกาย บำรุงโลหิตและบำรุงกำลังได้อย่างดี ช่วยในการขับเคลื่อนของลำไส้ได้ดียิ่งขึ้น

เห็ดโคนน้อย มีลักษณะคล้ายร่มพับ ปลายแหลมมน อุดมไปด้วยคุณประโยชน์มากมาย ได้แก่ ช่วยในการย่อยอาหาร ลดเสมหะ ช่วยบรรเทาอาการปวดต่างๆ ได้ดี เห็ดหอม มีลักษณะรูปทรงกลม ผิวมีขนรวมกันเป็นเกล็ดหยาบๆ อุดมไปด้วยคุณประโยชน์มากมาย ได้แก่ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกาย และช่วยลดอัตราความเสี่ยงจากโรคร้ายต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน อัลไซเมอร์ เป็นต้น

คุณศราวุธ กล่าวว่า เห็ดแต่ละสายพันธุ์มีวิธีการเพาะที่แตกต่างกัน แต่เห็ดนางฟ้าภูฎาน และเห็ดนางรม มีวิธีการเพาะที่ไม่แตกต่างกันมากนัก จึงขออธิบายถึงวิธีในการเพาะเห็ด 2 ชนิดนี้ ส่วนผสมในการเพาะเห็ดมีดังนี้
1. ขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อน
2. รำละเอียด
3. โดโลไมท์ (คือวัสดุที่ปรับค่า pH)

นำส่วนผสมทั้งหมดนี้มาคลุกให้เข้ากันและผสมน้ำเข้าไป เมื่อทุกอย่างเข้ากันแล้ว นำมาบรรจุใส่ถุง และนำเข้าเตานึ่ง 100 องศาเซลเซียส ใช้ระยะเวลาในการนึ่ง 4-5 ชั่วโมง จากนั้นนำออกมาจากเตานึ่งพักไว้ให้เย็น จึงจะสามารถหยอดหัวเชื้อเมล็ดข้าวฟ่างลงในก้อนได้ เชื้อจะใช้ระยะเวลา 30 วัน ในการกระจายไปทั่วทั้งก้อน จากนั้นเพียง 10-15 วัน ก็สามารถออกผลผลิตได้แล้ว

คุณศราวุธ กล่าวว่า กลุ่มลูกค้าของทางฟาร์มนั้นเป็นกลุ่มลูกค้าทั่วไป ทั้งกลุ่มลูกค้าที่ต้องการเพาะเลี้ยงไว้กินในครัวเรือน หากเหลือรับประทานแล้วก็สามารถจำหน่ายได้ หรือกลุ่มลูกค้าที่ต้องการเพาะเพื่อจำหน่ายโดยตรง

คุณศราวุธ กล่าวว่า จุดเด่นที่ทำให้ฟาร์มเห็ดของตนเองมีลูกค้าประจำเป็นจำนวนมาก เกิดจากการซื้อซ้ำของลูกค้าเก่า และการบอกต่อของลูกค้า คือความเอาใจใส่ การบริการหลังการขายที่คุณศราวุธไม่เพียงแต่ทำการค้าเท่านั้น สอบถามไปถึงความต้องการของลูกค้า การช่วยวางแผนในการกระจายผลผลิตในแต่ละพื้นที่ และคุณศราวุธ พร้อมการช่วยเหลือในการแก้ปัญหาต่างๆ กับลูกค้า หากมีเวลาผ่านไปในพื้นที่ของลูกค้า คุณศราวุธ ก็จะเข้าไปเยี่ยมชมพูดคุยด้วยทุกครั้ง ไม่แปลกใจเลยว่า ทำไม เห็ดนางฟ้า พารวย By อรพินท์ ฟาร์มเห็ด จึงมีผู้คนให้ความสนใจอย่างมาก

ปัจจุบันคุณศราวุธ จับใจ และ คุณอรพินท์ รินทรท้าว อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 44 หมู่ที่ 8 ตำบลวังเงิน อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง โทรศัพท์ 064-151-6859 ผู้สนใจสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของฟาร์มเห็ดแห่งนี้ ได้ทาง เฟชบุ๊ก เห็ดนางฟ้า พารวย By อรพินท์ ฟาร์มเห็ด

มะพร้าวน้ำหอมอินทรีย์ เมื่อปลูกด้วยวิธีธรรมชาติจะได้มะพร้าวอ่อนที่มีน้ำหอมบริสุทธิ์ให้ดื่มพร้อมกับได้ลิ้มรสเนื้อมะพร้าวอ่อนที่เอร็ดอร่อย มีวิตามินและเกลือแร่ที่ช่วยบำรุงสมอง เสริมสร้างร่างกายผู้บริโภคให้มีสุขภาพแข็งแรง มะพร้าวน้ำหอมอินทรีย์มีทั้งการปลูกเป็นพืชแซมหรือปลูกเป็นสวน หลังจากปลูก 2 ปีขึ้นไป ก็มีมะพร้าวอ่อนให้ตัดเก็บไปขาย 35-45 บาท ต่อผล ทำให้ผู้ปลูกหรือผู้ค้ามีรายได้ มีความมั่นคงต่อการยังชีพ ในสภาวะเศรษฐกิจแปรปรวน การปลูกมะพร้าวน้ำหอมอินทรีย์เพื่อการค้าและเสริมสร้างรายได้จัดเป็นอาชีพทางเลือกที่น่าสนใจ วันนี้จึงนำวิถีเรื่อง มะพร้าวน้ำหอมอินทรีย์ ทางเลือกใหม่ ปลูก ขาย รายได้มั่นคง มาบอกเล่าสู่กัน

คุณลุงประสงค์ หรือ ผู้ช่วยศาสตรจารย์ประสงค์ ทองยงค์ เกษตรกรทำสวนมะพร้าวน้ำหอมอินทรีย์ เล่าให้ฟังว่า มะพร้าวน้ำหอมอินทรีย์ เป็นมะพร้าวอ่อนที่เหมาะสำหรับการดื่มน้ำหอมบริสุทธิ์ ได้กินเนื้อมะพร้าวอ่อนรสอร่อย มีวิตามินและเกลือแร่ที่เสริมให้ผู้บริโภคได้มีสุขภาพแข็งแรง

มะพร้าวมี 2 กลุ่ม คือ มะพร้าวอ่อนหรือมะพร้าวน้ำหอม และมะพร้าวแกง การปลูกมะพร้าวน้ำหอมอินทรีย์ทำได้ทั้งในพื้นที่ลุ่มและที่ดอน ในพื้นที่ลุ่มมักจะปลูกเป็นระบบสวน ด้วยการยกร่องแปลงปลูกสูงและยกร่องน้ำระหว่างแปลงปลูก การปลูกมะพร้าวในระยะ 1-2 ปี ควรปลูกพืชแซมอายุสั้น เช่น พืชผักต่างๆ กล้วย หรือมะละกอ ส่วนทางภาคใต้ที่ปลูกในระบบไร่ก็ปลูกพืชแซมด้วยพืชตระกูลถั่ว ข้าวโพด หรือสับปะรด ทั้ง 2 วิธี ข้างต้นเป็นการผสมผสานการให้น้ำและปุ๋ยที่ช่วยลดต้นทุนการผลิต มีผลผลิตให้เก็บเกี่ยวขาย เพื่อนำรายได้มาเป็นทุนหมุนเวียนในการผลิต

วิธีปลูก สภาพพื้นที่ทั่วไปให้ขุดหลุมปลูกกว้าง ยาว และลึก ด้านละ 75 เซนติเมตร ส่วนในพื้นที่ดอนให้ขุดหลุมปลูกกว้าง ยาวและลึก ด้านละ 1 เมตร จากนั้นนำปุ๋ยคอกแห้ง ปุ๋ยหมัก ใบไม้ผุ หรือกาบมะพร้าวสับ คลุกเคล้ากับดินบนที่ตากแห้งใส่รองก้นหลุมก่อนปลูก วิธีปลูกบนพื้นที่ลุ่มให้วางต้นพันธุ์เสมอปากหลุม ส่วนการปลูกบนพื้นที่ดอนให้วางต้นพันธุ์ต่ำกว่าปากหลุม ระยะปลูกระหว่างต้นและแถวห่างกัน 6-7 เมตร

วิธีใส่ปุ๋ย เมื่อปลูกมะพร้าวน้ำหอม 1 ปี ให้นำปุ๋ยอินทรีย์หรือมูลสัตว์แห้งหว่านรอบทรงพุ่ม แล้วนำปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21 อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อต้น หว่านรอบทรงพุ่ม ปีที่ 2 ใส่สูตรเดิม 1-2 กิโลกรัม ต่อต้น ในปีที่ 3 ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21-2 (เพิ่มแมกนีเซียม 200 กรัม) ใส่ 3 กิโลกรัม ต่อต้น ควรใส่ปุ๋ยอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง คือ ต้นฤดูฝนหรือเดือนพฤษภาคมและปลายฤดูฝนในเดือนตุลาคม การใส่ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีเป็นวิธีการปรับปรุงดินให้มีคุณภาพ

วิธีให้น้ำ ต้นมะพร้าวน้ำหอมที่ปลูกในพื้นที่ลุ่มแบบยกร่องจะได้รับน้ำพร้อมกับพืชผักและไม้ผลอายุสั้น ซึ่งรากต้นมะพร้าวจะแผ่ลงริมร่องสวนเพื่อดูดซับน้ำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตและการติดผล ส่วนการปลูกในพื้นที่ดอน ถ้าฝนไม่ตกหรือฤดูแล้งต้องให้น้ำสัปดาห์ละครั้งเป็นอย่างน้อย เพื่อให้ต้นมะพร้าวได้รับน้ำอย่างพอเพียง

วิธีตัดเก็บ เมื่อปลูกมะพร้าวน้ำหอมอินทรีย์ มีอายุ 2 ปีครึ่ง ก็เริ่มให้ผล หรือตั้งแต่ออกช่อดอกหรือจั่น นับระยะเวลาได้ 190-200 วัน ก็จะพัฒนาไปเป็นผลอ่อนที่มีน้ำหวานหอมและเนื้ออ่อน มีกะลาที่แข็งทนทานต่อการขนส่ง ในรอบ 1 ปี จะตัดเก็บมะพร้าวได้ 12-15 ครั้ง ทุก 20 วัน จะตัดเก็บมะพร้าว 1 ครั้ง ครั้งละ 1 ทะลาย ทะลายละ 10-30 ผล

ต้นมะพร้าวน้ำหอมอินทรีย์ ช่วงอายุ 3-10 ปี ต้นยังเตี้ย จะใช้วิธีเดินตัดเก็บทีละทะลาย เมื่อต้นมะพร้าวอายุ 10 ปีขึ้นไป ต้นจะสูง ได้นำมีดขอผูกติดกับปลายไม้ ยกขึ้นไปเกี่ยวตัดทีละทะลาย แต่ต้องใช้ไม้ค้ำทะลายไว้ก่อน เพื่อให้ได้ผิวผลมะพร้าวสวยงามและเก็บไว้ได้นาน 7 วัน เมื่อตัดเก็บแล้ว จะนำทะลายมะพร้าวใส่ในรถเข็นหรือรถสาลี่เพื่อลากจูงออกจากสวนไปสู่แหล่งรวบรวมผลผลิต เพื่อเตรียมขนส่งไปยังตลาดท้องถิ่นหรือนำส่งโรงงานแปรรูป

ตลาด ผลผลิตมะพร้าวน้ำหอมอินทรีย์ พ่อค้าคนกลางหรือพ่อค้าท้องถิ่นจะเข้ามาซื้อที่สวน ราคา 200-500 บาท ต่อทะลาย เพื่อนำไปขายที่ตลาดในเมืองหรือจังหวัดใกล้เคียง ส่วนพ่อค้ารายย่อยจะนำมะพร้าวน้ำหอมอินทรีย์ใส่รถกระบะเล็กไปเร่ขาย 20-35 บาท ต่อผล หรือนำไปทำเป็นน้ำมะพร้าวพร้อมดื่มใส่ในขวดโหล แล้วตักน้ำและเนื้อมะพร้าวน้ำหอมอินทรีย์ใส่แก้วหรือใส่ถุงขายให้ผู้ซื้อ ราคา 10-20 บาท ต่อแก้ว หรือถุง

คุณลุงประสงค์ เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอมอินทรีย์ เล่าให้ฟังในท้ายนี้ว่า แนวทางการปลูกมะพร้าวน้ำหอมอินทรีย์ในเชิงการค้าคือ เลือกพื้นที่เหมาะสม คัดเลือกพันธุ์มะพร้าวที่ดี ปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาดี ใช้ปัจจัยการผลิตผสมผสานเพื่อลดต้นทุน ก็จะได้มะพร้าวน้ำหอมคุณภาพเพื่อบริโภค และยังได้ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้นำไปเป็นทุนหมุนเวียนการปลูกมะพร้าวน้ำหอมอินทรีย์และทำให้ครอบครัวมีความมั่นคง

น้ำมะพร้าวน้ำหอมอินทรีย์ มีจุดเด่นคือ ความสะอาดบริสุทธิ์ มีวิตามินและเกลือแร่ การดื่มน้ำมะพร้าวทุกวันหรือบ่อยๆ จะช่วยบำรุงสมองและสุขภาพให้แข็งแรง ในส่วนเกษตรกรผู้ปลูกควรยึดปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือ ปลูกพอกินพอใช้และเหลือขาย ก็จะมีรายได้ให้ดำรงชีพได้ในแบบวิถีพอเพียงและมั่นคง

จากเรื่องราว มะพร้าวน้ำหอมอินทรีย์ พืชทางเลือกใหม่ ปลูก ขาย รายได้มั่นคง โดยเฉพาะในสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจแปรปรวน การตัดสินใจปลูกมะพร้าวน้ำหอมอินทรีย์ เป็นทางเลือกใหม่เพื่อเพิ่มผลผลิตและรายได้ ทั้งยังเป็นโอกาสให้ผู้บริโภคได้ดื่มน้ำหอมบริสุทธิ์และได้ลิ้มรสเนื้อมะพร้าวที่อร่อย

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ SBOBET ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประสงค์ ทองยงค์ ตำบลวัดเพลง อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี โทร. 081-836-6228 ก็ได้ครับ อดีตข้าราชการตำรวจวัยเกษียณ เกิดที่นครศรีธรรมราช ผันตัวมาสวมบทบาทเกษตรกร และใช้ชีวิตอยู่ที่อำเภอเมืองจังหวัดระนอง ด้วยการปลูกปาล์ม ปลูกยางพารา ปลูกผักสวนครัว และบรรดาผลไม้สารพัด บนที่ดิน 170 ไร่ แถมลดต้นทุนด้วยการทำปุ๋ยใช้เอง จนเได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพทำสวน ปี 2555 ปัจจุบันเก็บผลผลิตขาย มีรายได้หล่อเลี้ยงครอบครัวไม่ต่ำกว่าเดือนละ 2 แสน

ด.ต.สมนึก โมราศิลป์ บ้านเลขที่ 1/9 บ้านห้วยปลิง หมู่ที่ 7 ต.ราชกรูด อ.เมือง จ.ระนอง เผยว่า ในอดีตเคยรับราชการตำรวจ และเข้าโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด เมื่อปี 2543 โดยส่วนตัวเป็นคนชอบปลูกต้นไม้ ชอบเรื่องเกษตร จึงไปศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ช่วงแรกปลูกพืชระยะสั้นบนพื้นที่ 2 ไร่ อาทิ พริก แตงกวา มะเขือ ใบโหระพา กล้วย ขิง ข่า ต่อมาขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันราว 100 ไร่ รวมเบ็ดเสร็จ ปลูกปาล์มน้ำมันกว่า 2,200 ต้น

ปาล์มน้ำมันของ ด.ต. สมนึก ถูกบำรุงดูแลรักษาเป็นอย่างดี ให้ผลผลิตเดือนละ 2 ครั้ง แถมยังได้มาตรฐาน GAP ก่อเกิดรายได้ ให้ผลตอบแทนค่อนข้างคุ้มค่า และด้วยความต้องการอยากทำเกษตรผสมผสาน เกษตรกรคนเก่ง เลยปลูกยางพารา ผลไม้ ผักสวนครัว อย่างอื่นร่วมด้วยทำให้มีรายได้หมุนเวียนทั้งปี

“ผมดูแล บำรุงรักษา ปาล์มน้ำมันด้วยการใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ก่อนใส่ปุ๋ยเคมีจะนำดินไปวิเคราะห์หาปริมาณธาตุอาหารก่อน จากนั้น ใส่ปุ๋ยตามค่าการวิเคราะห์ดิน โดยจะผสมปุ๋ยใช้เอง ใช้แม่ปุ๋ย สูตร 0-3-0, 21-0 -0, 0-0-60 โดโลไมท์ และ แมกนีเซียม ใส่ช่วงต้นฤดูฝน กลาง และปลายฤดูฝน ร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ โดยการใช้ปุ๋ยหมักและกากทะลายปาล์มน้ำมันมาปรับปรุงบำรุงดิน ส่วนการตัดแต่งทางใบจะตัดแต่งทุก 15 วัน แล้วนำไปวางในช่องว่างระหว่างต้นให้ย่อยสลายเป็นปุ๋ย และรักษาความชื้นให้กับสวนปาล์มน้ำมัน”

นอกจากนี้ เพื่อลดต้นทุนการผลิตด้านค่าแรงงาน ด.ต.สมนสึก ได้นำรถแทรกเตอร์เล็กมาใช้งานในสวน ทั้งการตัดหญ้า การใส่ปุ๋ย การบรรทุกผลผลิตปาล์มน้ำมัน การบรรทุกปุ๋ยเข้าสวน ทำให้สะดวก รวดเร็ว ลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน และได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า