มะอึก ผลกลมขนอุย โกนออกลงลุย กลิ่นฉุยในครก

มะอึก นิยมใช้ใส่ในน้ำพริกกะปิ ผลสุกสีเหลืองสวย มีรสเปรี้ยวเล็กน้อย ยามมะนาวแพงก็พอจะใช้แทนได้เหมือนกัน หนูจะบอกเคล็ดลับเวลาทำน้ำพริกมะอึก ควรใช้พริกขี้หนูสวน หอมแดงเผา กะปิเผา ใส่เกลือนิดหน่อย ซอยหรือฝานหั่นบางๆ โขลกพร้อมกัน จะแกะเนื้อปลาย่างใส่ด้วยก็สุดยอด คนทางใต้เขาใช้คำศัพท์ เวลาใช้เนื้อปลา เนื้อกุ้ง ใส่ในน้ำพริก ว่า “ทำน้ำชุบทอดปลาย่าง” เมื่อทำน้ำชุบลูกอึกคลุกข้าวสวยร้อนๆ แล้วยังกินกับแตงกวา มะเขือเปราะ จิ้มน้ำพริกอีก เป็นว่าได้สารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ แหม…น้ำลายไหย!

แม้ว่าหนูเป็นไม้ล้มลุก สูงเมตรกว่าๆ แต่เวลารวมกลุ่มต้นกับพี่มะแว้งและพี่มะเขือพวง หนูก็กลายเป็นต้นไม้ที่คนกลัว เพราะทั้งต้นมีขนละเอียด แล้วยังมีหนามที่ใบและต้นอีก พอออกดอกเป็นผลก็มีขนอยู่ จึงเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากเข้าใกล้ แต่จริงๆ หนูมีคุณสมบัติทางสมุนไพรมากมาย เช่น ราก ดับพิษร้อน แก้ไข้ ผล ใช้ขจัดเสมหะ แก้ไอ ใบ แก้ปอดบวม ตำมาพอกฝี เมล็ด แก้ปวดฟัน โดยเผาเมล็ดแล้วสูดควันเข้าไป ส่วนขนอุยนั้น เชื่อหรือไม่หละ ขูดรวมๆ กันนำมาทอดกับไข่ เพื่อช่วยขับพยาธิได้นะ สำหรับดอกนี้สวยมากตอนแย้มบาน อยากได้หนูก็เพาะเมล็ดซิค่ะ! ไม่เกิน 3 เดือน ก็เด็ดผลสุกไป “โขลก” น้ำพริกได้เลย

ไม่ต้องโขลกน้ำพริกอย่างอึกทึก แค่โขลก “ลูกอึก” พอให้สากลงครกลึกๆ ก็อร่อยจนลืม “สะอึก” แน่นอน! คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นลิ้นมังกรไว้ประจำบ้าน จะช่วยป้องกันอันตรายจากภายนอกได้ เพราะบางคนเรียก ลิ้นมังกรอีกชื่อหนึ่งว่า หอกพระอินทร์ ซึ่งเป็นอาวุธชนิดหนึ่งของพระอินทร์ ที่ใช้ในการต่อสู้และปกป้องศัตรูจากภายนอก ดังนั้น ลิ้นมังกร จึงเป็นไม้ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นไม้ที่มีความสำคัญของพระอินทร์ในสมัยพุทธกาล

นอกจากนี้ ลิ้นมังกร ยังเป็นไม้ฟอกอากาศที่องค์การนาซ่าได้นำมาทดลองวิจัย ซึ่งก็ได้ผลวิจัยว่า “ต้นลิ้นมังกร” จะมีลักษณะพิเศษกว่าพันธุ์ไม้ชนิดอื่นคือ จะคายก๊าซออกซิเจนในเวลากลางคืน ส่วนกลางวันจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แทน ทำให้สามารถปลูกต้นลิ้นมังกรในบ้านได้โดยไม่มีอันตรายต่อคนในบ้าน

ลักษณะทั่วไป
ใบเดี่ยว ขนาดเล็กยาว ดอกออกเป็นช่อ ดอกย่อยสีชมพู เกสรตัวผู้สีส้ม เป็นยาสมุนไพรใช้แก้แมลงสัตว์กัดต่อย
ในทางไสยศาสตร์ เชื่อว่ามีฤทธิ์ทางเมตตามหานิยมและคงกระพันชาตรี

การดูแลรักษา
ลิ้นมังกร เป็นไม้ประดับที่มีความเขียวสดใสตลอดทั้งปี ลิ้นมังกรแคระปลูกเลี้ยงง่าย ทนต่อสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้ง จึงไม่ต้องดูแลรักษามาก แต่ต้องได้รับแสงเพียงพอ สามารถปลูกได้ทั้งภายในอาคารบ้านเรือนและกลางแจ้ง

ใบและดอก
-ลักษณะลำต้น : เป็นหัวหรือเหง้าอยู่ในดิน ใบเกิดจากหัวโผล่ออกมาพ้นดินประกอบกันเป็นกอ
-ลักษณะใบ : เป็นแท่งกลมยาว หรือใบแบนกว้าง ปลายแหลม แข็ง หนาเป็นมัน ขอบใบเรียบ โค้งงอเล็กน้อย หรือเป็นเกลียว
ใบกว้างประมาณ 4-7 ซม. และสูงประมาณ 30-60 ซม. อาจจะมากหรือน้อยกว่าตามแต่ละสายพันธุ์

สีสันของใบลิ้นมังกร จะมีสีเขียวซีดจนถึงเขียวเข้ม บางสายพันธุ์ใบมีสีเขียวเข้ม ขอบใบมีสีเหลืองทอง หรือใบมีสีเหลืองและมีสีขาวเป็นเส้นตามแนวขอบใบ สีขาวประสีเขียวอมเหลือง เขียวอมด่างสีฟ้า และลักษณะมีลวดลายของใบที่แตกต่างกันและสวยงามอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละสายพันธุ์

การขยายพันธุ์
ลิ้นมังกร สามารถขยายพันธุ์ได้ 4 วิธี คือ
1. วิธีการเพาะเมล็ด เกิดจากการผสมพันธุ์ของดอกลิ้นมังกร ซึ่งอาจเกิดจากการผสมในต้นเดียวกันหรือเกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้เหมาะสำหรับการพัฒนาสายพันธุ์
ใหม่ๆ เนื่องจากการผสมข้ามสายพันธุ์และการกลายพันธุ์ของต้นที่เกิดจากเมล็ด จะมีพันธุ์ใหม่ๆ เกิดขึ้น แต่ต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรเช่นเดียวกับการคัดเลือกสายพันธุ์ชนิดอื่นๆ

วิธีการแยกหน่อ เมื่อถึงอายุที่เหมาะสมลิ้นมังกรจะมีการแตกหน่อจากหัวใต้ดินออกมาอย่างต่อเนื่อง ผู้ปลูกเลี้ยงสามารถขุดหัวแล้วแยกหน่อขยายพันธุ์ การขยายพันธุ์วิธีนี้ใช้ระยะเวลาไม่นานและต้นลูกที่ได้จะมีลักษณะเหมือนกับต้นแม่ทุกประการ จึงเหมาะแก่การขยายพันธุ์ในเชิงการค้า

วิธีการปักชำใบ โดยการตัดใบลิ้นมังกรออกเป็นชิ้นหรือท่อน และสามารถนำไปปักลงวัสดุเพาะปลูกได้ทันที ในบางสายพันธุ์การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้เมื่อใบปักชำเจริญเติบโตและแตกหน่อออกมา ต้นลูกที่ได้จะมีลักษณะผิดเพี้ยนไปจากต้นแม่ จึงไม่เหมาะที่จะนำมาขยายพันธ์ุในเชิงการค้า อีกทั้งรากอ่อนที่เพิ่งแตกออกมาจากใบที่ปักชำมักถูกทำลายด้วยแมลงปีกแข็งที่อยู่ใต้ดินได้ง่าย

วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ลิ้นมังกรเป็นไม้ประดับชนิดหนึ่งที่สามารถเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้ แต่ยังคงมีอุปสรรคในเรื่องความสม่ำเสมอของการเจริญเติบโต และเปอร์เซ็นต์ความอยู่รอดที่ต่ำ จึงไม่เหมาะแก่การขยายพันธุ์ในเชิงการค้า

การนำไปใช้
ลิ้นมังกรแคระนิยมปลูกเป็นพุ่มๆ ตามรั้วบ้าน เป็นต้นไม้มงคล

คนโบราณ มีความสวยงาม ปลูกง่ายเลี้ยงง่าย ทนต่อสภาพอากาศ เหมาะปลูกเป็นไม้ประดับบ้านเรือน หรืออาคาร เป็นพืชใบประดับที่มีลำต้นเป็นหัวหรือเหง้าอยู่ในดิน

ลักษณะลำต้น เป็นข้อๆ ใบเกิดจากหัวที่โผล่ออกมาพ้นดินเป็นกอ จึงนิยมปลูกลิ้นมังกรแคระตามแนวรั้วบ้าน

ลักษณะดอก จะแตกต่างกันตามแต่ละสายพันธุ์ ซึ่งมีมากมายกว่า 70 สายพันธุ์ ลิ้นมังกรเป็นพืชที่ทนสภาพแล้งได้ดีมาก เลี้ยงง่าย ไม่ค่อยมีโรคและแมลงมารบกวน ชอบดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี

เนื่องจากบริเวณสองฝั่งแม่น้ำชี มักจะมีปัญหาน้ำท่วมในฤดูน้ำหลากและประสบความแห้งแล้งในฤดูแล้ง ทำให้ขาดแคลนน้ำในการทำการเกษตร ส่งผลให้เกษตรกรในพื้นที่ละทิ้งถิ่นฐานออกไปทำงานรับจ้างนอกภาคการเกษตรมากขึ้น และนับวันจะมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น

แต่ด้วยน้ำพระทัยที่เปี่ยมล้นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงห่วงใยในทุกข์สุขของอาณาประชาราษฎร์ เมื่อครั้งเสด็จพระราชทานปริญญาบัตรที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ใน ปี พ.ศ. 2540 จึงมีพระราชดำริเกี่ยวกับการจัดเก็บน้ำและการนำน้ำไปใช้ประโยชน์ดังนี้

“ให้จังหวัดขอนแก่นหาวิธีการเก็บน้ำในพื้นที่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำชี เพื่อป้องกันน้ำท่วมในฤดูฝนหลากและนำน้ำมาใช้ประโยชน์ในการอุปโภคบริโภค และช่วยเหลือการเพาะปลูกในฤดูแล้งแก่เกษตรกรจังหวัดขอนแก่น” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยพสกนิกรในเขตพื้นที่ดังกล่าว จึงทรงมีพระราชดำริ…

ในปี 2545 กรมวิชาการเกษตร โดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 ด้วยความร่วมมือของส่วนราชการในจังหวัดขอนแก่น และสำนักงานคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) สำนักนายกรัฐมนตรีได้อนุมัติเห็นชอบให้จัดทำ โครงการการพัฒนาการเกษตรสองฝั่งแม่น้ำชีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดขอนแก่น ขึ้น

โครงการการพัฒนาการเกษตรสองฝั่งแม่น้ำชี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดขอนแก่น มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้การเกษตรเชิงระบบสร้างความมั่นคงด้านอาชีพ พัฒนาความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของชุมชนเกษตรกรในพื้นที่ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบริเวณสองฝั่งแม่น้ำชี พัฒนาการผลิตพืชในพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำชีให้มีความเหมาะสมและมีความยั่งยืนในการผลิต

โครงการสร้างกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตถั่วลิสงแบบครบวงจรบ้านละหานนา อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนา ที่กรมวิชาการเกษตรโดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 ขอนแก่นและศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น ได้ดำเนินการในพื้นที่แห่งนี้

ด้วยถั่วลิสงสามารถปลูกทั้งในสภาพไร่และสภาพหลังนาได้เกือบทุกจังหวัด ในฤดูฝนเกษตรกรจะปลูกในสภาพไร่ ส่วนในฤดูแล้งจะปลูกในพื้นที่สภาพนา แต่ในการปลูกของเกษตรกรพบว่ามีปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ พันธุ์ที่ใช้ปนหรือเมล็ดพันธุ์ไม่บริสุทธิ์ ปัญหาเมล็ดลีบ ไม่เคยใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม ไม่มีการคลุกเมล็ดด้วยสารเคมีป้องกันโรค และใส่ปุ๋ยเคมีไม่เหมาะสม ไม่มีการใส่ยิปซัมระยะออกดอก

นอกจากนี้ ยังพบว่าเกษตรกรเน้นการขายถั่วลิสงแบบฝักสด เนื่องจากสามารถจำหน่ายได้ง่าย ตลาดมีความต้องการสูง ส่วนการขายถั่วลิสงแบบฝักแห้งจะมีปริมาณที่น้อย เนื่องจากเกษตรกรต้องนำไปตากเพื่อลดความชื้น ซึ่งเป็นการเพิ่มความยุ่งยากให้แก่เกษตรกร ทำให้เกิดการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์

ดังนั้น การนำเทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสงของกรมวิชาการเกษตรเข้าไปดำเนินการส่งเสริม นับเป็นทางเลือกให้เกษตรกรในการเพิ่มผลผลิต ลดความเสี่ยงเรื่องการขาดเมล็ดพันธุ์ในการผลิตถั่วลิสงในฤดูกาลถัดไป โดยเฉพาะการผลิตถั่วลิสงฝักแห้งเพื่อสามารถเก็บได้นาน และจำหน่ายเป็นเมล็ดพันธุ์ให้แก่เกษตรกรรายอื่นๆ ที่มีความต้องการปลูกได้ นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าของถั่วลิสงได้

โครงการสร้างกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตถั่วลิสงแบบครบวงจรบ้านละหานนา ดำเนินการภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อรวมกลุ่มเกษตรกรที่มีความสนใจในการปลูกถั่วลิสงมาร่วมดำเนินกิจกรรมของกลุ่มและสร้างอาชีพเสริมแก่สมาชิกให้มีรายได้เพิ่มขึ้นและยั่งยืน และมีเป้าหมายในการจัดหาเมล็ดพันธุ์และปัจจัยในการผลิตถั่วลิสงให้ครบวงจร ตั้งแต่การเตรียมปัจจัยการผลิต การปลูก การดูแลรักษา การจำหน่าย และการแปรรูปเพื่อจำหน่าย รูปแบบการดำเนินงานเน้นการผลิตเพื่อจำหน่าย เพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวของสมาชิก และการลดต้นทุนการผลิตด้วยการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ใช้แรงงานภายในครอบครัว ลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอกและลงทุนเฉพาะสิ่งที่มีความจำเป็นเท่านั้น

สำหรับการดำเนินการของโครงการ มีขั้นตอนการปฏิบัติ โดย หนึ่ง การเลือกพื้นที่และเกษตรกรในการดำเนินงาน สอง ดำเนินการทดสอบ สาม จัดทำการฝึกอบรมเกษตรกร และจัดเวทีเสวนาเกษตรกรเพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงาน สี่ คัดเลือกเกษตรกรต้นแบบในการผลิตและกระจายพันธุ์ถั่วลิสง และ ห้า ติดตามผลการดำเนินงานของเกษตรกร

โครงการสร้างกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตถั่วลิสงแบบครบวงจรบ้านละหานนา ได้สนับสนุนองค์ความรู้ต่างๆ ให้เกษตรกรต้นแบบที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 20 ราย ปลูกถั่วลิสงรายละ 1 ไร่ โดยปลูกถั่วลิสงสายพันธุ์ขอนแก่น 6 เมล็ดพันธุ์ถั่วลิสงมีการคลุกสารคาร์บอกซินเพื่อป้องกันโรคโคนเน่าและเชื้อไรโซเบียมเพื่อช่วยในการตรึงธาตุไนโตรเจน ส่วนการเตรียมดินได้หว่านปูนโดโลไมท์เพื่อบำรุงฝักและใช้เมล็ดถั่วลิสง อัตรา 20 กิโลกรัม ต่อไร่ ปลูกในเดือนมิถุนายน และใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 12-24-12 อัตรา 50 กิโลกรัม ต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง หลังปลูก 10-15 วัน และ 30-45 วัน

ผลการดำเนินโครงการสามารถพัฒนาระบบการผลิตถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น 6 ของกรมวิชาการเกษตร ได้ครบวงจรและยั่งยืน โดยยกระดับผลผลิตฝักแห้งเฉลี่ยของถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น 6 ได้ถึง 546 กิโลกรัม ต่อไร่ และจากเดิมที่ผลิตได้ 393 กิโลกรัม ต่อไร่

อีกทั้งยังสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น 6 ในฤดูฝน และกระจายพันธุ์ให้กับเกษตรกรที่มีความต้องการได้อย่างเพียงพอ ต่อการปลูกถั่วลิสงในฤดูแล้งได้ เกษตรกรมีรายได้จากการปลูกถั่วลิสง ประมาณไร่ละ 10,000 บาท และเกษตรกรบางส่วนนำถั่วลิสงแห้งทำการแปรรูปผลผลิตถั่วลิสง

จากการขยายผลเทคโนโลยีดังกล่าวไปยังเกษตรกรผู้ปลูกถั่วลิสง อำเภอแวงน้อย อำเภอมัญจาคีรี และอำเภอชนบท โดยเกษตรกรต้นแบบ ทำให้ในปี 2555/2556 มีเกษตรกรผู้ผลิตถั่วลิสงบริเวณสองฝั่งแม่น้ำชี ทั้ง 3 อำเภอ เพิ่มขึ้นเป็น 180 ราย

อย่างไรก็ตาม การขาดแคลนเมล็ดพันธุ์เพื่อใช้ปลูกในฤดูแล้งยังเป็นปัญหาหลัก ในการผลิตถั่วลิสงในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งยังต้องการการถ่ายทอดและทดสอบเทคโนโลยี เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ในฤดูฝน

ในส่วนการขยายผลเกษตรกรภายใต้โครงการพัฒนาการเกษตรสองฝั่งแม่น้ำชี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดขอนแก่น ได้เรียนรู้และพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสงแบบต่างๆ จากแปลงทดสอบ แปลงต้นแบบ แปลงกระจายพันธุ์และการฝึกอบรม และสามารถนำเอาเทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสงที่ได้รับการถ่ายทอดไปปฏิบัติในพื้นที่ของตนเองอย่างเป็นระบบ โดยการบริหารจัดการทรัพยากรด้านต่างๆ ทั้งแรงงานและปัจจัยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีผลผลิตถั่วลิสงออกสู่ตลาดและจำหน่ายเป็นรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมอย่างน้อยร้อยละ 15

ส่งผลทำให้ครอบครัวและชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีและมีความมั่นคงของรายได้เพิ่มขึ้น และสามารถสร้างเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงการผลิตและการจำหน่ายสินค้าเกษตรให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น เป็นต้นแบบให้เกษตรกรหรือผู้สนใจได้เข้ามาเรียนรู้ระบบการดำเนินงานของกลุ่ม ทำให้เกษตรกรที่ยังไม่ได้เข้าร่วมโครงการมีความสนใจและมีความกระตือรือร้นที่จะเข้ามารับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น

คุณนวนิตย์ พลเคน เกษตรจังหวัดบุรีรัมย์ ให้ข้อมูลว่า ประชากรส่วนใหญ่ภายในจังหวัดบุรีรัมย์มีการทำเกษตรที่หลากหลาย ซึ่งประกอบไปด้วยการทำพืชไร่เป็นหลัก คือ การทำนา ประมาณ 2,700,000 ไร่ รองลงมาคือ ไร่มันสำปะหลัง ไร่อ้อย และสวนยางพารา ต่อมาเมื่อราคาพืชไร่มีความผันผวน ทำให้เกษตรกรที่ทำพืชไร่บางส่วนได้มีการปรับเปลี่ยนแบ่งพื้นที่นาและพืชไร่มาทำเกษตรผสมผสานมากขึ้น เพื่อให้เป็นการปรับเปลี่ยนจากพื้นที่ปลูกข้าวที่ได้ผลผลิตไม่ดี มาทำพืชอย่างอื่นแทน เป็นการลดต้นทุนการผลิต เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรที่หลากหลาย สร้างรายได้เพิ่มขึ้นในครัวเรือน

“ปัจจุบัน ชาวบ้านในจังหวัดบุรีรัมย์ เริ่มตระหนักถึงเรื่องการลดต้นทุนการผลิต ได้มีการมองเห็นโอกาสในเรื่องของการตลาด มีการปรับเปลี่ยนทำการเกษตรให้สอดคล้องต่อความต้องการของตลาดมากขึ้น เพื่อให้การทำเกษตรมีประสิทธิภาพและได้ผลผลิตที่จำหน่ายได้ราคา เป็นที่ต้องการของตลาด ดังนั้น ในเรื่องของการทำเกษตร จึงมีการทำแบบผสมผสาน ไม่ทำพืชเชิงเดี่ยวมากเกินไป เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในเรื่องของราคาสินค้า มีผลผลิตหลายชนิดสำหรับจำหน่าย” คุณนวนิตย์ กล่าว

เน้นสร้างตลาด ด้วยการรวมกลุ่ม

เมื่อเกษตรกรภายในจังหวัดบุรีรัมย์มีการปรับเปลี่ยนการทำเกษตร เมื่อผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาดแล้ว คุณนวนิตย์ บอกว่า เมื่อสินค้าทางการเกษตรสามารถส่งขายให้กับตลาดได้อย่างต่อเนื่อง เกษตรกรจึงรวมกลุ่มสร้างความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น สามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายในกลุ่ม ทำให้การทำเกษตรของสมาชิกมีประสิทธิภาพและมีต้นทุนการผลิตที่ลดลง และที่ตามมาคือ จำหน่ายสินค้าได้ผลกำไร ไม่เกิดภาระหนี้สิน

“จากการรวมกลุ่มของเกษตรกรในจังหวัดบุรีรัมย์ หรือตอนนี้ที่เรียกกันว่าเกษตรแปลงใหญ่ ในจังหวัดของเราก็มีด้วยกันหลายพืช หลักๆ ก็จะเป็นแปลงใหญ่ของข้าว รองลงมาก็จะเป็นแปลงใหญ่ของอ้อย โดยทุกคนที่อยู่ในละแวกเดียวกันจะดำเนินการรวมกลุ่มกัน ทำให้มีการบริหารจัดการได้ง่ายขึ้น ส่วนแปลงใหญ่ของไม้ผล ก็จะเป็นฝรั่ง กล้วย ซึ่งตอนนี้ภายในจังหวัดของเราก็มีการส่งเสริมเรื่องเกษตรแปลงใหญ่มากขึ้น ไม่ใช่เพียงแต่พืชอย่างเดียว แม้แต่แปลงใหญ่ของการทำปศุสัตว์ก็เกิดขึ้นแล้วในเวลานี้ เหมือนใครทำอาชีพด้านไหนก็รวมกลุ่มด้านนั้นๆ สามารถทำให้เกษตรกรทุกคนในกลุ่มมีเครื่องมือในการต่อรองทั้งการซื้อปัจจัยการผลิต มาผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ และสามารถต่อรองไปได้ถึงเรื่องของราคาขาย ทำให้ไม่ถูกกดราคาจากการทำตลาด” คุณนวนิตย์ กล่าว

เมื่อความสำเร็จจากการรวมกลุ่มทำเกษตรแปลงใหญ่เกิดขึ้น คุณนวนิตย์ บอกว่า ทำให้เกษตรกรหลายรายที่ยังไม่ได้เข้ารวมกลุ่มได้มีความสนใจ และใส่ใจในเรื่องของการรวมกลุ่มมากขึ้น จึงเข้ามาเป็นสมาชิกภายในกลุ่มหรือสร้างกลุ่มตามสาขาของตนเองที่มีความถนัด โดยเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเกษตรแต่ละอำเภอ คอยหมั่นประชาสัมพันธ์และช่วยเหลือเกษตรกรเป็นการทำงานร่วมกันอย่างมีระบบมากยิ่งขึ้น

บุรีรัมย์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวและมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง

นอกจากในเรื่องของการทำการเกษตรที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดีแล้ว ในเรื่องของการเป็นแหล่งท่องเที่ยวนั้น ทางจังหวัดบุรีรัมย์มีสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลาย เป็นที่สนใจของผู้มาเยี่ยมเยือน จึงทำให้มีการจัดการและวางระบบต่างๆ ให้สอดรับกับความเจริญที่มาถึง ทางภาคการเกษตรเอง คุณนวนิตย์ บอกว่า ก็ได้มีการจัดการและสร้างมาตรฐานไว้ว่า ผู้ที่มาท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์จะต้องได้รับสิ่งต่างๆ กลับไป คือ

ได้รับในเรื่องของการได้ความสุข
ได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย เป็นวัตถุดิบทางการเกษตรที่ปลอดสารพิษ และ
ได้เข้าชมยังศูนย์เรียนรู้ทางการเกษตร เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้ถึงการทำเกษตรในแบบต่างๆ ว่าผลผลิตแต่ละชนิดมีขั้นตอนและกระบวนการผลิตอย่างไร
“จากความใส่ใจและการส่งเสริมความรู้ต่างๆ ออกไป ทำให้การทำเกษตรของจังหวัดบุรีรัมย์ มีการใส่ใจทำเกษตรแบบมีความปลอดภัยมากขึ้น โดยมีการทำเกษตรปลอดสารพิษ เกษตรอินทรีย์ พร้อมทั้งมีการผลักดันในเรื่องของการรวมกลุ่ม ก็จะช่วยให้เกษตรกรมีการจัดการอย่างมีระบบ เมื่อนำสินค้าทางการเกษตรส่งออกจำหน่าย ก็เกิดรายได้ที่มั่นคง และเป็นอาชีพที่ทำกันได้อย่างยั่งยืน” คุณนวนิตย์ กล่าว

ทั้งนี้ คุณนวนิตย์ ยังกล่าวทิ้งท้ายว่า สำหรับเกษตรกรรายใหม่ที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน ควรดำเนินการให้มีความถูกต้องเพื่อเป็นสิทธิประโยชน์ในเรื่องต่างๆ และควรสร้างสินค้าให้มีมาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาด พร้อมทั้งผลิตสินค้าแบบนำตลาด คือ ผลผลิตออกมามีตลาดรองรับอย่างแน่นอนไม่ล้นตลาด ก็จะช่วยส่งผลให้สินค้าทางการเกษตรจำหน่ายได้ราคา เกิดเป็นรายได้ที่ทำกันได้อย่างยั่งยืนสืบต่อไป

จังหวัดบุรีรัมย์ หมายถึง เมืองแห่งความรื่นรมย์ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญน่าเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งโบราณสถานศิลปะแบบขอมโบราณที่มีอยู่มากมายกระจายอยู่ในพื้นที่ทั้งจังหวัด

อีกทั้งยังเป็นที่รู้จักในฐานะเมืองเกษตรกรรมและหัตถกรรม เพราะเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพดี และเป็นแหล่งทอผ้าไหมที่สวยงามและมีชื่อเสียง นอกจากนี้ ด้วยสภาพพื้นที่ตั้งมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน จึงทำให้มีความหลากหลายของเชื้อชาติ ซึ่งก่อให้เกิดความหลากหลายของประเพณีวัฒนธรรม จนทำให้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ดังคำขวัญของจังหวัดที่ว่า “เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม เลิศล้ำเมืองกีฬา”

ขณะเดียวกัน บุรีรัมย์ ก็มีบทบาทสำคัญในด้านอุตสาหกรรมอีกสถานะหนึ่ง เพราะเป็นแหล่งผลิตหินก่อสร้างแหล่งใหญ่ที่มีคุณภาพดีที่สุดของประเทศ โดยเฉพาะในย่านอำเภอเมืองบุรีรัมย์ อำเภอนางรอง และอำเภอเฉลิมพระเกียรติฯ สามารถส่งหินจำหน่ายให้แก่จังหวัดต่างๆ ในเขตภาคอีสานตอนล่างและภาคอื่นๆ

จังหวัดบุรีรัมย์ มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 10,393.945 ตารางกิโลเมตร หรือ 6,451,178.125 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 6.11 ของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และคิดเป็น ร้อยละ 2.01 ของพื้นที่ประเทศไทย มีพรมแดนโดยรอบยาวประมาณ 638 กิโลเมตร เป็นพรมแดนที่เป็นธรรมชาติทั้งสิ้น คือใช้แนวสันเขาแบ่งเขตยาวประมาณ 170 กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 24.89 พรมแดนที่เป็นลำน้ำยาวประมาณ 363 กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 53.15 และใช้เส้นแนวตรงในที่ราบเป็นแนวพรมแดนอีก 150 กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 21.96

ภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูงทางตอนใต้ บริเวณอำเภอละหานทราย อำเภอโนนดินแดง และอำเภอบ้านกรวด มีเทือกเขาบรรทัดและเทือกเขาพนมดงรัก กั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา พื้นที่ลาดจากทิศใต้ลงไปทางทิศเหนือมีลักษณะเป็นลูกคลื่นน้อยๆ เป็นที่ราบขั้นบันไดช่องเขา และภูมิประเทศที่เกิดจากภูเขาไฟ (ที่มา : สถานีอุตุนิยมวิทยานางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์)

เป็นที่น่าสังเกตว่า ตามสื่อใหม่มักพบเห็นการนัดหมายเลี้ยงรุ่นกันมาก สาเหตุอาจจะเป็นเพราะเริ่มมีเวลาว่างและคิดถึงกัน ยิ่งช่วงอากาศเย็น ปลายปี ต้นปี มักถี่เป็นพิเศษ คนเรียนมาหลายสถาบัน ต้องจัดคิวเหมือนดารา

สองปีมาแล้ว มีงานเลี้ยงรุ่นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) อีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ที่ศรีราชา จังหวัดชลบุรี ช่วงนั้นตรงกับปลายปี ในงานมีลำไยมาให้ได้กินกัน สอบถามแล้วเป็นของ คุณสาคร อาจสุโพธิ์…จริงๆ แล้วงานนั้นเป็นงานของเกษตรสุรินทร์..โกดกง 17 แต่คุณสาคร เป็นโกดกง 18 ด้วยความระลึกนึกถึงพี่ๆ ที่สนิทกัน เขาจึงมาร่วมงาน พร้อมกับผลผลิตลำไยนอกฤดู เกรดส่งต่างประเทศมาให้พี่ๆ ได้ลิ้มรสกัน

โกดกง เป็นนิคเนมของเกษตรสุรินทร์ ซึ่งที่อื่นๆ ก็มี

เมื่อเทคโนโลยีชาวบ้าน สมัครยูฟ่าเบท ไปทำรายงานพิเศษจังหวัดบุรีรัมย์ จึงถือโอกาสพูดคุยเรื่องราวการทำงานของ คุณสาคร หญิงเก่งและแกร่ง คุณสาคร อยู่บ้านเลขที่ 75 หมู่ที่ 12 ตำบลลำนางรอง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ เธอเรียนจบระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ที่เกษตรสุรินทร์ เมื่อปี 2528 ขณะนั้นยังไม่ได้เปิดสอนระดับปริญญาตรีอย่างปัจจุบัน

อาชีพเริ่มต้นของคุณสาคร คือทำงานในโรงงานผลไม้กระป๋อง ที่บุรีรัมย์เอง รวมทั้งสกลนครและเชียงใหม่ เธอตระเวนหาประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง ได้ทำหน้าที่ทุกแห่ง

ขณะไปทำงานอยู่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ คุณสาครได้ติดรถไปซื้อผลผลิตลำไย เมื่อได้ชิมลำไย เธอนึกขึ้นมาทันทีว่า บ้านมีที่ดินปลูกแต่มันสำปะหลัง อยากปลูกลำไยบ้าง จะได้กินไหม เมื่อคิดได้ดังนั้น จึงสั่งลำไยพันธุ์อีดอไปปลูกที่ลำนางรอง จำนวน 100 ต้น ด้วยกัน ทั้งๆ ที่ยังไม่มีเทคโนโลยี หรือวิธีการทำให้ออกดอก แต่เธออยากปลูก โดยหวังว่า ปีใดอากาศเย็น จะสามารถออกดอกติดผลให้กับเจ้าของได้

“ใหม่ๆ ปลูกแบบเทวดาเลี้ยง ปลูกเมื่อปี 2539 ลำไยเริ่มออกดอก ปี 2543 ดอกออกมาไม่น้อย แต่ดูแลไม่เป็น ได้กิน 2 ลูก” เธอบอก คุณสาคร บอกว่า มีอยู่ช่วงหนึ่งได้ข่าว มีการระเบิดของสารที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นสารที่นำมาทำให้ลำไยออกนอกฤดู แต่เธอก็ไม่ได้มีความรู้ ใน ปี 2543 ได้เดินทางไปดูงานที่อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ซึ่งมีการผลิตลำไยนอกฤดูคุณภาพกันมาก

เมื่อกลับมาผลิตลำไย สามารถทำได้ตามที่ไปดูงาน แต่การตลาดยุ่งยากมาก เพราะขายไม่ทัน ลำไยออกมาทีเดียว 5-10 ไร่ ขายไม่หมด จึงหยุดพักการผลิตไว้ก่อน แต่ก็เลี้ยงต้นลำไยไว้ไม่โค่นทิ้ง จนกระทั่ง ปี 2552 ไปดูงานที่อำเภอสอยดาวอีกครั้ง ทีนี้ลาออกจากงานประจำ มาทำสวนลำไยโดยตรง

พื้นที่ปลูกลำไยของคุณสาคร เริ่มแรก 14 ไร่ ต่อมาขยายออกเป็น 30 ไร่ มีทั้งหมด 700 ต้น

อายุของต้นที่ปลูก เริ่มปลูกตั้งแต่ ปี 2539 รุ่นแรก รุ่นที่สอง ปี 2554

“แรกสุด ทำลำไย โดยบังคับทีเดียว 30 ไร่ หลังๆ ไม่ไหว แรงงานไม่พอ จึงแบ่งเป็นสองแปลง สามารถจัดการได้” เจ้าของบอก