มันเทศญี่ปุ่น มีตลาดรองรับสาเหตุที่ปลูกมันเทศญี่ปุ่นตลาดรองรับ

และที่เหลือจากการส่งขายในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืนน้ำอ้อมแล้ว ยังจำหน่ายเอง และแปรรูปด้วย ซึ่งคุณพิมพาระบุว่า การปลูกมันเทศญี่ปุ่นง่ายมาก ไม่ยุ่งยากอะไร เพียงนำยอดมาปลูก ใช้ระยะเวลา 70 วัน ก็เก็บหัวขายได้เลย โดยทำน้ำหมักใช้เอง เป็นการลดต้นทุน และยังสอนเกษตรกรที่สนใจทำน้ำหมักเพื่อบำรุงดินด้วย

คุณพิมพา แจกแจงวิธีการปลูกมันเทศญี่ปุ่นอินทรีย์ว่า เริ่มต้นต้องปรับปรุงดินก่อน โดยใส่มูลควายลงไป ตามด้วยน้ำหมัก สูตรที่ทำ คือนำปลาดิบจากเศษอาหารที่ทำครัวมาหมัก ผสมกับผลไม้สด อย่าง กล้วย มะละกอสุก ฟักทอง ใส่กากน้ำตาล และอีเอ็ม แล้วมาผสมน้ำฉีดพ่นในแปลงก่อน ตามด้วยการไถพรวน แล้วค่อยยกร่องให้สูงประมาณ 12 ฟุต จากนั้นปลูกได้เลย พอปลูกได้ 45-50 วัน นำน้ำหมักปลาที่ผสม 1 แก้ว ต่อน้ำ 15 ลิตร มาฉีดยอดต้นมันเพื่อหยุดการเจริญเติบโต ซึ่งถ้าขาดน้ำหรือแล้งต้นมันจะลงหัวในดิน ส่งผลให้มีรสชาติหวานด้วย

ทั้งนี้ น้ำหมักจะช่วยสร้างความหวานและหยุดการเจริญเติบโต หัวจะลงใต้ดิน เป็นหัวขนาดใหญ่ คุณพิมพา ระบุว่า ถ้าหากปลูกครบ 70 วัน ต้องรีบขุดมันขึ้นมา เพราะถ้าเกินเวลามากไปกว่านี้ไม่ดี จะมีแมลงมากิน ซึ่งถ้าบำรุงดินตามสูตรที่บอกไป จะได้ 4 หัว ต่อ 1 กิโลกรัม อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาจะปลูกส่งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยเน้นหัวขนาดกลาง ขายได้กิโลกรัมละ 18 บาท แต่ถ้าเป็นหัวขนาดใหญ่ ขายข้างนอกได้กิโลกรัมละ 20 บาท นอกจากนี้ ได้นำมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า ทำเป็นขนมมัน บัวลอย และมันฉาบ

รายได้หลักของสวนพ่อพอเพียงอีกอย่างคือ การเลี้ยงไก่ดำภูพาน จำนวน 500 ตัว มีเล้า 5 เล้า พอเลี้ยงครบ 3เดือน จะมีพ่อค้าจากจังหวัดสุรินทร์มารับซื้อถึงบ้าน ในราคากิโลกรัมละ 80 บาท แต่ถ้าเป็นช่วงเทศกาลอย่างช่วงปีใหม่หรือตรุษจีน ขายได้กิโลกรัมละ 100 บาท ส่วนมากจะขายเป็นไก่รุ่น ตก 1 ตัว ต่อ 1 กิโลกรัม หรือ 1.5 กิโลกรัม ต่อตัว

ในการเลี้ยงไก่ดำภูพานแบบอินทรีย์นี้ คุณพิมพา บอกว่า เป็นการเลี้ยงไก่แบบปล่อย โดยมีคอกมีบริเวณให้ไก่เดิน เป็นคอกที่มีขนาดพอให้นอน ตื่นเช้าจะปล่อย ไก่ต้องออกมาหากินข้างนอก ส่วนไก่ไข่เลี้ยงแค่ 5 ตัว ไว้กินไข่

สำหรับการเลี้ยงไก่พื้นเมืองให้ได้ราคาดี ต้องดูแลตั้งแต่เรื่องอาหาร และวัคซีน ดูแลเรื่องพยาธิ อาหารที่ให้ส่วนมากเป็นปลายข้าวหรือข้าวหักอินทรีย์ที่นำมาจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ซึ่งคุณพิมพาโชคดีตรงที่สามี คือ คุณทวี มุ่งงาม ก็เป็นอาสาปศุสัตว์ดีเด่น ทั้งระดับอำเภอและระดับจังหวัด จึงทำให้การเลี้ยงไก่ของคุณพิมพาไม่มีปัญหาอะไร

จุดเด่นอีกอย่างของ “สวนพ่อพอเพียง” แห่งนี้คือ การทำแก๊สชีวภาพจากมูลสัตว์ โดยคุณพิมพาอธิบายขั้นตอนการทำให้ฟังว่า ทางหน่วยงานของกรมปศุสัตว์นำถังพลาสติกมาให้ เริ่มจากใช้มูลควายสดๆ มาผสมน้ำ แล้วนำเข้าถังหมัก ปีแรกที่ทำใช้เวลาหมัก 15 วัน จากนั้นใช้ได้ตลอด โดยที่บ้านจะใส่มูลควาย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพราะไม่ค่อยได้ทำครัวบ่อยนัก แต่การจะใส่มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้แก๊สของแต่ละครอบครัว ซึ่งจากการใช้แก๊สชีวภาพที่ทำขึ้นเอง ทำให้ประหยัดค่าแก๊สหุงต้มได้ เดือนละ 400 กว่าบาท

นอกจากนี้ คุณพิมพา ยังได้ปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ในเนื้อที่ 12 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินอีกผืนของคุณพิมพาที่แยกจากพื้นที่ 4 ไร่ 2 งาน กระทั่งได้มีโอกาสเป็นตัวแทนของจังหวัดที่ได้เผยแพร่โฆษณาประชาสัมพันธ์ผลิตผลอินทรีย์ทางเว็บไซต์ FAIR TRADE ORIGINAL ของประเทศในแถบยุโรป ซึ่งต่างประเทศให้การยอมรับข้าวหอมมะลิอินทรีย์ของบ้านดวน

ถามถึงรายได้ เกษตรกรรายนี้แจกแจงว่า มีรายได้จากการทำนา เลี้ยงสัตว์ และขายข้าวเปลือกส่งให้ทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนน้ำอ้อม ซึ่งในที่ดินที่ใช้เป็นศูนย์เรียนรู้นั้น จะแนะนำวิธีการทำนาที่ใช้ดำกล้าต้นเดียว จะทำให้เกษตรกรลดต้นทุน ลดรายจ่ายได้ เพราะทำนากล้าหยิบเดียวจะแตกกอออกมาได้ 10-20 ต้น 20 รวง ต่อต้น

“รายได้ของสวน ส่วนมากเป็นรายเดือน เพราะไม่ได้จำหน่ายทุกวัน ถ้าขายพวกไก่ ขายได้เดือนหนึ่งประมาณ 1,000 บาท ไม่รวมกรณีขายจำนวนมากในช่วงปีใหม่-ตรุษจีน สรุปแล้วทั้งปี จะได้ไร่ละ 1 แสนบาท ทั้งข้าวและพืชผักสวนครัว รวมทั้งขายกล้วยด้วย นอกจากนั้นมีขายไก่ ขายหมู

อย่างที่เกริ่นไปแล้วว่า สวนของคุณพิมพานั้นมีคณะบุคคลหน่วยงานองค์กรต่างๆ มาศึกษาดูงานตลอด คุณพิมพาให้เหตุผลว่า เพราะที่สวนมีจุดเด่นตรงที่มีแต่จุดปฏิบัติ เนื่องจากต้องการชักชวนให้เกษตรกรมาทำเหมือนที่สวน ต้องการให้เกษตรกรมาเรียนรู้เอง และนำไปปฏิบัติได้จริง ซึ่งจะเห็นว่าเกษตรกรในภาคอีสานส่วนมากมีพื้นที่ทำกินน้อย คนละ 2-3 ไร่ ทุกคนต่างคิดว่า จะทำอย่างไร เพื่อจะลดรายจ่าย และทำให้ตัวเองอยู่รอดได้ เมื่อได้มาศึกษาดูงานจากสวนแห่งนี้แล้ว สามารถนำไปปฏิบัติได้ โดยจะแนะนำให้ปลูกผักใส่กระสอบ ใส่กระถาง อย่างน้อยคนละ 5 อย่าง ก็ลดรายจ่ายได้

นอกจากนี้ ทางสวนยังทำโครงการเพื่อนช่วยเพื่อนของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ในการ แจกจ่ายเมล็ดพันธุ์ผัก ทุกคนที่มาศึกษาดูงานสามารถมารับไปได้เลย อย่างเช่น แจกยอดมันม่วงและแครอต เพื่อให้นำไปขยายพันธุ์ต่อ

ฟักทอง ถือเป็นพืชที่มีประโยชน์ทั้งทางด้านโภชนาการ ใช้ประกอบอาหารได้ทั้งคาวและหวาน และตอบโจทย์เรื่องของรายได้ ถือเป็นอีกหนึ่งพืชทางเลือกสร้างรายได้ที่น่าสนใจให้กับเกษตรกร นอกจากนี้ ฟักทอง ยังเป็นพืชที่ให้ผลผลิตตอบแทนต่อไร่สูง ลงทุนน้อย ทำเงินไว และที่สำคัญตลาดทั้งในและต่างประเทศยังมีความต้องการอีกมาก ปลูกได้ทั่วไปทั้งในเขตร้อนและเขตหนาว หากเรียนรู้เทคนิคการปลูกที่ถูกต้อง สามารถสร้างเงินหลักล้านให้กับเกษตรกรได้แบบง่ายๆ

คุณวิสานนท์ เพิ่มพูน ผู้รวบรวมผลผลิตฟักทอง ประเทศไทย อาศัยอยู่ที่จังหวัดร้อยเอ็ด พัฒนาตนเองจากลูกจ้างขนฟักทอง ค่าแรงหลักร้อย สู่การเป็นผู้รวบรวมผลผลิตฟักทองที่ประสบความสำเร็จในปัจจุบัน

โดย คุณวิสานนท์ เริ่มลงทุนปลูกฟักทองครั้งแรกคือ พันธุ์ ทองอำพัน 346 ลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ ถึงปัจจุบันมีความรู้เรื่องสายพันธุ์ที่เหมาะสมแต่ละพื้นที่ มีการจัดการแปลงที่เหมาะสม จนประสบความสำเร็จ ได้ผลผลิตต่อไร่สูง ใช้เมล็ดแค่ 1 กระป๋อง บนพื้นที่ 2 ไร่ สามารถให้ผลผลิตสูงถึง 8 ตัน มากที่สุดในโซนจังหวัดร้อยเอ็ด

“ตั้งแต่ปลูกฟังทองมาร่วม 20 ปี สายพันธุ์ที่ตลาดรองรับมาตลอด ขายดีตลอดกาลคือ ทองอำไพ 342 ทองอำพัน 346 และทองอำไพ 426 คุณสมบัติผลใหญ่ เนื้อหนา ผิวคางคกสีเขียวเข้ม เนื้อสีเหลือง เหนียว แน่น ก้นหนา”

เทคนิคการปลูกฟักทองคุณภาพ ทรงสวย
เนื้อสีเหลือง เหนียว แน่น ก้นหนา ทนการขนส่ง

คุณวิสานนท์ บอกว่า การปลูกฟักทองให้ได้คุณภาพตรงความต้องการของตลาด จะต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ เริ่มตั้งแต่การคัดเลือกสายพันธุ์ ต้องเลือกสายพันธุ์ที่ตรงความต้องการของตลาด ตนจะเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ฟักทองของเจียไต๋ทั้งหมด เนื่องจากตอบโจทย์ทั้งในด้านของการตลาด และในด้านของเมล็ดพันธุ์ที่มีอัตราการงอกสูง ต้านทานโรคดี ปลูกแล้วไม่ต้องซ่อม ได้ผลผลิตต่อไร่สูง ถัดมา คือการวางแผนการปลูก ซึ่งในแง่ความเหมาะสมเชิงพื้นที่ เช่น ทองอำไพ 426 เหมาะสำหรับการปลูกในเขตพื้นที่ภาคใต้-อีสาน อย่างจังหวัดร้อยเอ็ดถือว่าเหมาะมากๆ ส่วน ทองอำพัน 346 และ ทองอำไพ 342 ปลูกได้ทั่วประเทศไทย ใช้น้ำในปริมาณน้อย แต่ถ้าหากปลูกบนพื้นที่เยอะๆ ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ แนะนำให้ติดตั้งปั๊มบาดาล หรือ ปั๊มซับเมอร์ส เพื่อความสะดวกและให้ได้ปริมาณน้ำที่เพียงพอกับที่พืชต้องการ

สำหรับขั้นตอนการปลูกนั้น ฟักทองจะเริ่มให้ผลผลิตตั้งแต่ 80-95 วัน หลังหยอดเมล็ด โดยจะต้องเพาะกล้าก่อน ซึ่งต้องเลือกเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ อัตราการงอกสูง จึงจะเป็นจุดเริ่มต้นของผลผลิตที่มีคุณภาพ และนอกจากนี้ อีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผลผลิตออกมาได้คุณภาพ ต้องใส่ใจเรื่องการจัดการภายในแปลงด้วย

ระบบน้ำ ที่แปลงใช้ “ระบบน้ำหยด” แม้ว่าฟักทองจะเป็นพืชที่ไช้น้ำไม่มากนัก แต่ต้องได้รับในปริมาณที่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะ “ระยะพัฒนาผล” เพราะอาจทำให้ทรงผลเบี้ยว คือมีลักษณะขยายผลไม่สม่ำเสมอในทุกๆ ด้าน ทรงไม่สวย ตัดแบ่งขายได้ลำบาก ยกตัวอย่าง ทองอำไพ 426 ที่จำเป็นต้องรดน้ำทุกวัน ช่วงปลูกแรกๆ จะรดน้ำประมาณ 20-25 นาที ต่อวัน จากนั้นค่อยๆ เพิ่มปริมาณการรดน้ำเป็นวันละ 30 นาที ต่อวัน จนถึงเก็บเกี่ยว เพราะถ้าฟักทองขาดน้ำ จะส่งผลให้ดอกเล็ก ใบจะเหลือง เมื่อติดลูกทรงจะเบี้ยว เป็นเบอร์รอง ฟักทองที่ทรงสวยจะต้องผลกลมแป้นสมดุล ผิวเข้มขึ้นคก เนื้อเนียน สีเหลืองสวย

การเตรียมดิน ไถตากดินไว้อย่างน้อย 2 อาทิตย์ จากนั้นชักร่อง เริ่มต้นจะเน้นบำรุงด้วยปุ๋ยคอก (ขี้ไก่) ช่วยให้ใบฟักทองหนา-ดก ระยะห่างระหว่างแปลง-ระหว่างต้น มีความสำคัญมากเพราะส่งผลต่อคุณภาพ และปริมาณของผลผลิตโดยตรง จากประสบการณ์นั้น พันธุ์ทองอำไพ 342 ใช้ระยะห่างระหว่างแปลงกว้าง 4.50 เมตร ระยะห่างระหว่างต้น 90 เซนติเมตร ทองอำพัน 346 ใช้ระยะห่างระหว่างแปลงกว้าง 4 เมตร ระยะห่างระหว่างต้น 80 เซนติเมตร และทองอำไพ 426 ใช้ระยะห่างระหว่างแปลง กว้าง 5 เมตร ระยะห่างระหว่างต้น 100 เซนติเมตร

การบำรุง สำหรับฟักทองทั้ง 3 สายพันธุ์นี้ ทองอำไพ 342 ทองอำพัน 346 และทองอำไพ 426 จะใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 เหมือนกันทั้ง 3 สายพันธุ์ โดยแบ่งใส่เป็นระยะทุกๆ 10 วัน แต่จะมีข้อแตกต่างกันตรงที่อายุการเก็บเกี่ยว ทองอำไพ 342 และทองอำพัน 346 จะมีอายุการเก็บเกี่ยวระหว่าง 80-85 วัน ระยะเวลาการใส่ปุ๋ยอยู่ที่ 60 วัน ส่วนทองอำไพ 426 นั้นมีอายุการเก็บเกี่ยว 90 วัน ดังนั้น ระยะการใส่ปุ๋ยจะนานกว่าเดิมอยู่ที่ 70 วัน โดยการใส่ปุ๋ยครั้งสุดท้ายจะเปลี่ยนสูตร 14-14-21 ซึ่งเป็นปุ๋ยสูตรที่เน้นโพแทสเซียม (K) สูง เพื่อช่วยในการเร่งสี เพิ่มน้ำหนัก และช่วยทำให้ทรงผลไม่บิดเบี้ยว

ดังนั้น ถ้าเตรียมปัจจัยข้างต้นอย่างครบถ้วน โอกาสที่ได้ผลผลิตมากก็มีสูง พันธุ์ทองอำไพ 342 และทองอำพัน 346 ผลผลิตเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 5-6 ตัน ขึ้นอยู่กับการดูแลที่สม่ำเสมอ ส่วนพันธุ์ทองอำไพ 426 จะอยู่ที่ 6-8 ตัน ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ หรือช่วงฤดูกาลที่เหมาะสม ถ้าไม่มีโรคแมลงมารบกวนก็ได้ผลผลิตเยอะ และมีตลาดรองรับทั้งในและต่างประเทศทั้ง 3 สายพันธุ์

“ต่อดอก” เทคนิคช่วยฟักทองผสมเกสร ติดผลชัวร์

คุณวิสานนท์ เล่าว่า ลักษณะดอกของฟักทองจะเป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศ อธิบายง่ายๆ คือ จะมีดอกเกสรตัวผู้ และดอกเกสรตัวเมีย แยกออกไปแต่ละดอก ดังนั้น การผสมเกสรของฟักทองต้องอาศัย ลม แมลง เพื่อเป็นพาหะในการนำเกสรตัวผู้ ไปยังดอกที่มีเกสรตัวเมียเพื่อผสมเกสรนั่นเอง ดังนั้น เพื่อให้ฟักทองติดผลชัวร์ ต้องช่วยผสมเกสร โดยวิธีสังเกตแยกเพศของดอกฟักทองง่ายๆ คือให้ดูที่ก้านของดอกฟักทอง โดยดอกตัวผู้จะมีก้านดอกเล็กเรียว ซึ่งแตกต่างจากดอกตัวเมียซึ่งจะมีรังไข่ ทำให้ก้านของดอกมีขนาดใหญ่กว่า มีลักษณะบวม โปร่งออกมา หรือ สามารถสังเกตได้บริเวณเกสร ซึ่งเกสรเพศผู้จะมีเพียงแท่งเดียว แต่เกสรเพศเมียนั้นจะมีหลายแท่งประกบกันอยู่ ซึ่งเพียงแค่ดอกตัวเมียเท่านั้น ที่จะกลายเป็นผลของฟักทอง แนะนำให้ผสมเกสรด้วยมือ และต้องทำตอนเช้าเท่านั้น โดยตนเองนั้นเริ่มผสมตั้งแต่ตี 5 ถึงประมาณไม่เกิน 8 โมงเช้า ซึ่งเป็นเวลาที่ดอกบาน และอากาศไม่เย็นจนเกินไป

วิธีการผสมเกสรด้วยมือ เริ่มจากการสำรวจแปลง มองหาดอกตัวเมียที่บานแล้ว เมื่อพบก็ให้นำดอกตัวผู้ที่เตรียมไว้ มาฉีกและเด็ดกลีบดอก ให้เหลือแต่เกสรตัวผู้และก้านดอกเท่านั้น จากนั้นนำเกสรตัวผู้เข้าไปถูกับเกสรตัวเมียที่อยู่ในดอกตัวเมีย โดยถูให้ทั่วเกสรเพศเมียเพื่อให้เกสรตัวผู้กระจายตัวอย่างทั่วถึง ซึ่งวิธีการนี้ก็เหมือนการเรียนแบบการผสมเกสรของแมลงนั่นเอง แต่ต่างกันที่การผสมเกสรด้วยมือจะมีโอกาสการติดลูกของฟักทองที่สูงกว่า

ส่วนในขั้นตอนของการไว้ข้อนั้น เมื่อฟักทองติดผล จะไว้ลูกที่ 2 เท่านั้น โดยปลิดลูกแรกทิ้ง ตำแหน่งข้อที่ 16-17 ขึ้นไป โดยตนเองนั้นไม่ได้ใช้วิธีเด็ดยอด-แต่งแขนง เพราะฟักทองเป็นพันธุ์ใหญ่ ถ้าตัดยอดจะทำให้ฟักทองมีลูกขนาดเล็ก และจะทำให้การเดินเถาแน่นเกินไป จะเน้นไว้เฉพาะเถาแม่ต้นเดียว ทำให้ดูแลง่าย ติดลูกสวยอีกด้วย

ปัญหาโรคแมลงและวิธีแก้ไข ปัญหาศัตรูพืชของฟักทองที่พบในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดหลักๆ คือ เพลี้ยไฟ ลักษณะอาการเมื่อถูกเพลี้ยไฟคือฟักทองใบจะหยิก ย่น ใบผิดรูปร่าง ใบเหลืองแข็งกรอบ ส่งผลให้ยอดหงิกงอไม่ติดดอกได้ มักระบาดในช่วงฤดูแล้ง แต่ถ้าปลูกถูกช่วงฤดูกาลจะไม่ค่อยมีปัญหาเพลี้ยไฟมารบกวน

นอกจากนี้ยังมีในส่วนของปัญหาโรคพืชที่พบบ่อยคือ โรคราน้ำค้าง มักจะเจอตอนที่ฟักทองติดลูกแล้ว เพราะเป็นช่วงที่อ่อนแอ พบมากช่วงที่มีความชื้นในอากาศสูง อากาศหนาว มีน้ำค้างลงจัด และฝนตกชุก

การป้องกัน โรคราน้ำค้างวิธีหนึ่ง ที่สามารถทำได้ตั้งแต่ต้นทางคือการเว้นระยะปลูกที่เหมาะสม เพื่อลดความชื้นในแปลง

ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต ฟักทองที่ปลูกหลักๆ 3 สายพันธุ์ คือ 1. ทองอำไพ 342 อายุการเก็บเกี่ยวอยู่ที่ 85 วัน หลังจากหยอดเมล็ด ลักษณะทรงผลแป้น ไส้น้อยเนื้อเยอะ 2.ทองอำพัน 346 อายุการเก็บเกี่ยวอยู่ที่ 80 วัน หลังจากหยอดเมล็ด ลักษณะทรงผลหนา ไหล่ยกสูง พูใหญ่ ผิวคางคก ถ้าสมบูรณ์มากๆ น้ำหนักจะขึ้นสูงถึงลูกละ 8 กิโลกรัม และ 3 . ทองอำไพ 426 อายุการเก็บเกี่ยวอยู่ที่ 90 วัน หลังจากหยอดเมล็ด ทรงผลใหญ่ ผิวคางคก แป้นสวย เนื้อหนา ให้ผลผลิตสูง

ราคาผลผลิต ฟักทองอยู่ในเกณฑ์ราคากิโลกรัมละ 8-10 บาท ถือว่าเกษตรกรได้กำไร ส่วนความแตกต่างของราคานั้นขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ทองอำไพ 342 และ ทองอำพัน 346 ราคาอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 10 บาท ส่วนทองอำไพ 426 ราคาจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 11 บาท เพราะทองอำไพมีขนาดลูกที่ใหญ่ ราคาจะแพงขึ้นมาอีก

รายได้ ยกตัวอย่างพื้นที่ปลูกฟักทองจังหวัดร้อยเอ็ด ลงทุนไร่ละ 10,000-15,000 บาท ปลูก 10 ไร่ ลงทุนประมาณ 100,000 บาท จะสามารถขายผลผลิตได้ 300,000 บาท ถือเป็นพืชที่สร้างรายได้ดีในระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือนทำเงินได้เร็ว ส่วนภาพรวมการตลาดของฟักทองทั้งในและต่างประเทศยังมีความต้องการอีกมาก ตลาดในประเทศมีการซื้อขายหมุนเวียนวันละไม่ต่ำกว่า 100 ตัน และถ้านับรวมการส่งออกต่างประเทศด้วยตลาดฟักทองมีการซื้อขายไม่ต่ำกว่า 150-300 ตัน ต่อวัน

ฝากถึงเกษตรกรมือใหม่หัดปลูก

“สำหรับมือใหม่ที่อยากทดลองปลูกฟักทองเป็นพืชสร้างรายได้ แนะนำให้เริ่มปลูกทองอำพัน 346 ก่อนเพราะว่าเป็นพันธุ์ที่ปลูกและดูแลง่ายที่สุด จากนั้นเมื่อเริ่มมีความชำนาญแล้วค่อยขยับปลูกสายพันธุ์ทองอำไพ 342 และ ทองอำไพ 426 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ตลาดต้องการทั้งหมด และขอเน้นย้ำกับมือใหม่เสมอว่า การปลูกฟักทองให้ได้ผลดีขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือ การเลือกเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพอย่างของเจียไต๋” คุณวิสานนท์ กล่าวทิ้งท้าย

ทุเรียน เป็นไม้ผลที่มีแหล่งดั้งเดิมในคาบสมุทรมลายู ก่อนจะกระจายพันธุ์ไปยังประเทศต่างๆ สำหรับประเทศไทยคาดว่า ได้รับสายพันธุ์ทุเรียนมาจากประเทศมาเลเซีย โดยเริ่มปลูกครั้งแรกในพื้นที่ภาคใต้ก่อน จากนั้นจึงค่อยนำมาปลูกในพื้นที่ภาคกลาง เช่น จังหวัดนนทบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ก่อนจะขยายไปทั่วประเทศในเวลาต่อมา

ในอดีตไทยปลูกทุเรียนพื้นบ้านหลายร้อยสายพันธุ์ โดยนำมาปลูกเชิงการค้า ประมาณ 60-80 พันธุ์ เท่านั้น ในปัจจุบันทุเรียนพื้นบ้านซึ่งเป็นสายพันธุ์โบราณเหล่านั้นปลูกน้อยลงและหายาก บางสายพันธุ์ใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากเกษตรกรเปลี่ยนมาปลูกพันธุ์เชิงการค้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง รองลงมาคือ ทุเรียนพันธุ์ชะนี พันธุ์กระดุม และพันธุ์อื่นๆ

ทุเรียนสายพันธุ์โบราณ โดดเด่นเรื่องความทนทาน โรค-แมลง และการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อม เพราะถูกทดสอบและคัดเลือกพันธุ์มาจากเกษตรกรเจ้าของสวนทุเรียนในอดีต ช่วงที่นักวิชาการไปเก็บรวบรวมพันธุ์ทุเรียนโบราณจากแหล่งผลิตที่มีอายุการปลูก 40-50 ปี ขณะที่บางสวนมีทุเรียนต้นพ่อแม่พันธุ์ที่มีอายุมาก 100-200 ปี ก็เคยเจอมาแล้ว

ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี กรมวิชาการเกษตร เว็บพนันฟุตบอล ได้รวบรวมสายพันธุ์ทุเรียนพื้นบ้านจากทั่วประเทศมาปลูกเพื่อการอนุรักษ์และผลิตต้นทุเรียนพื้นบ้านพันธุ์แท้ คุณภาพดี ปลอดโรคโคนเน่า จำหน่ายกิ่งพันธุ์คุณภาพดีในราคาราชการ (กิ่งละ 50 บาท) ให้แก่ประชาชนทั่วไป ผู้สนใจสามารถติดตามกิจกรรมความเคลื่อนไหวของศูนย์ได้ทางเว็บไซต์และเฟซบุ๊ก “ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี” หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี

“นกหยิบ” เป็นทุเรียนสายพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมของจังหวัดนนทบุรี จัดอยู่ในกลุ่มทองย้อย มีรสชาติความอร่อย ใกล้เคียงกับทุเรียนหมอนทองมาก แต่มีรสหวานมันมากกว่า เนื้อสีเหลืองเข้มค่อนข้างละเอียด ลูกหนึ่งมี 5 พู เมล็ดลีบ กลิ่นไม่ฉุน ลักษณะผล คล้ายทุเรียนหมอนทอง แต่มีหนามละเอียด-ถี่คล้ายทุเรียนพันธุ์พวงมณี

“ทุเรียนหลงลับแล-หลินลับแล” ทุเรียนพันธุ์ดีของจังหวัดอุตรดิตถ์ มีผลผลิตออกสู่ตลาดตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคมจนถึงสิงหาคม ทุเรียน “หลงลับแล” ผลมีลักษณะ กลม เหมือนไข่ พูเต็มใหญ่ไม่มีเว้า น้ำหนักเฉลี่ย 0.5 กิโลกรัม ถึง 3.5 กิโลกรัม รสชาติหวานมัน เนื้อเหนียวละเอียด มีกลิ่นอ่อน เนื้อสีเหลืองสด รสอร่อย

ส่วน ทุเรียน “หลินลับแล” ผลมีขนาดเล็ก น้ำหนักเฉลี่ย 1-2 กิโลกรัม ทรงผลเป็นเอกลักษณ์ มองดูคล้ายผลมะเฟือง เป็นพูชัดเจน รสหวานมัน มีกลิ่นอ่อนมาก เนื้อละเอียดเหนียว สีเหลืองอ่อน เนื้อเยอะ เมล็ดเล็กลีบ

“ทุเรียนพันธุ์สาลิกา” เป็นทุเรียนพื้นบ้านของอำเภอกะปง จังหวัดพังงา เรียกเป็นภาษาถิ่นว่า “เรียน สากา” ลักษณะเด่น คือทนทานต่อโรครากเน่า-โคนเน่า ลักษณะผล ค่อนข้างกลม คล้ายลูกแอปเปิ้ล สามารถตั้งได้โดยไม่ล้ม เปลือกบาง หนามสั้น ค่อนข้างถี่ น้ำหนักต่อผลโดยเฉลี่ย 1-2 กิโลกรัม เป็นทุเรียนที่มีรสชาติหวานมัน มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ เนื้อหนา ละเอียด แน่น ไม่เละ “กบมังกร” ลักษณะผล รูปไข่กลับ เนื้อหนาปานกลาง กลิ่นอ่อน รสมันมากกว่าหวาน

“กบสุวรรณ” แหล่งที่พบ จังหวัดนนทบุรี จันทบุรี ระยอง ลักษณะผล รูปรี เนื้อละเอียด สีเหลือง กลิ่นแรง รสหวานปานกลาง “ก้านยาวสีนาค” เพาะจากเมล็ดพันธุ์ก้านยาว แหล่งที่พบ คลองซ่อน จังหวัดนนทบุรี ลักษณะผล กลมรี เนื้อหยาบ กลิ่นปานกลาง รสหวานมันพอดี