มาตรการควบคุมปริมาณผลผลิต โดยมีเป้าหมายลดปริมาณ

ผลผลิตทั้งจากภาคเกษตรกรและหน่วยงานรัฐ โดยในส่วนของเกษตรกรกำหนดให้มีแรงจูงใจช่วงเวลาเร่งด่วนไตรมาสแรกปี 2561 ด้วยการสนับสนุนเงินรายละ 4,000 บาท เพื่อโค่นยางและปลูกแทนด้วยไม้ยืนต้น เช่น ไม้ผล ไม้เพื่อการแปรรูปและอื่น ๆ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ จำนวน 2 แสนไร่ที่ยางออกสู่ตลาด เป็นการลดปลูกยางแบบถาวร

สำหรับหน่วยงานภาครัฐที่มีสวนยางประมาณ 1 แสนไร่ จะร่วมกันหยุดกรีดยาง เพื่อลดปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดได้ไม่น้อยกว่า 6,780 ตัน ในระยะเวลาช่วงไตรมาสแรกปี 2561

(4) มาตรการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางพารา วงเงิน 5,000 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลเห็นชอบแนวทางปฏิบัติการสนับสนุนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้กลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน ในอัตรา 0.49% ต่อปี

(5) มาตรการชดเชยดอกเบี้ย 3% เพื่อสนับสนุนสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อรวบรวมยาง วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท โดยรัฐจะสนับสนุนเงินชดเชยและค่าเบี้ยประกัน ค่าบริหารโครงการแก่สถาบันเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ

(6) มาตรการชดเชยดอกเบี้ยเพื่อสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท เพื่อใช้ในการขยายกำลังการผลิต/ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรการผลิต ภายใต้โครงการแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบ ปัจจุบันมีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ 29 ราย และได้รับอนุมัติสินเชื่อเข้าร่วมโครงการ 16 ราย วงเงิน 8,887 ล้านบาท ปริมาณการใช้ยางเพิ่มขึ้น 35,500 ตันต่อปี ขณะนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการอีกหลายราย ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการใช้ยางในประเทศเพิ่มมากขึ้น

นอกเหนือจาก 6 มาตรการแล้ว ไทยยังได้ร่วมกับ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ซึ่งมีปริมาณผลผลิตยางกว่า 70% ของผลผลิตทั่วโลก ลดปริมาณการส่งออกยาง โดยที่ประชุมสภาไตรภาคียางพารา (ITRC) มีมติลดปริมาณการส่งออกยางลง 3.5 แสนตัน ตั้งแต่วันที่ 25 ธ.ค. 2560-31 มี.ค. 2561 เพื่อสร้างเสถียรภาพด้านราคา

แยกเป็นไทยลดส่งออก 2.3 แสนตันเศษ อินโดนีเซีย 9.5 หมื่นตันเศษ และมาเลเซีย 2 หมื่นตันเศษ เพราะผลผลิตทั่วโลกมีมากกว่าความต้องการถึง 3.5 แสนตันต่อปี ซึ่ง นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวว่า การลดการส่งออกจะผลักดันราคายางจาก กก.ละ 40 บาท ให้เพิ่มขึ้นเป็น 60 บาท/กก.

อย่างไรก็ตาม มีคำถามตามมาว่า6 มาตรการและการลดปริมาณการส่งออกจะผลักดันราคาขึ้นสู่เป้าหมาย กก.ละ 60 บาทได้จริงหรือไม่ ในเมื่อพื้นที่ปลูกยางพาราที่ผลิตในปัจจุบันเมื่อเทียบกับปี 2553 เพิ่มขึ้นถึง 11.9 ล้านไร่ เฉพาะพื้นที่ปลูกในไทยที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) รายงานในปี 2556 มีพื้นที่ปลูก 17.39 ล้านไร่ เพิ่มเป็น 19.22 ล้านไร่ ในปี 2560 แต่ตัวเลข กยท.ที่เกษตรกรทั้งในพื้นที่มีเอกสารสิทธิและไม่มีเอกสารสิทธิมาแจ้งสูงถึง 22 ล้านไร่ ในขณะที่ดาวเทียมจิสด้า ของสำนักงานเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (จิสด้า) ตรวจสอบว่ามีถึง 30 ล้านไร่ กยท.จึงได้ให้จิสด้าสำรวจใหม่ เนื่องจาก กยท.ยังจำกัดสิทธิให้เกษตรกรผู้ปลูกยางในพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิแจ้งได้ไม่เกินรายละ 25 ไร่

“นอกจากนี้ กลุ่ม 5 เสือผู้ส่งออกยางรายใหญ่ของไทย ล้วนมีจีนที่เข้ามาร่วมทุ่นแบบเปิดเผยและไม่เปิดเผยอีกมาก เช่น บริษัท ไทยก๋วงเขิ่น รับเบอร์ บริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจจีนยางรายใหญ่ เข้ามาถือหุ้นถึง 59% ในบริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน) กลุ่มเต็กบี้ห้างที่มี “ซิโนเค็ม” รัฐวิสาหกิจรายใหญ่ของจีนเข้ามาฮุบ และผู้ถือหุ้นจากบริษัทจีน สิงคโปร์ เข้ามาถือหุ้นในกลุ่ม 5 เสือ แบบไม่เปิดเผยหรือนอมินีอีกมาก แน่นอนว่าการดึงราคายางขึ้นสูง ย่อมไม่เป็นประโยชน์ต่อบริษัทแม่ในจีน” แหล่งข่าวระดับสูงใน กยท.กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ”

ถึงแม้ทั่วโลกหรือไทยจะมีพื้นที่ปลูกยางมากขึ้น แต่ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่เดือน ก.พ. 2554 ที่ราคายางขึ้นไปสูงเกือบ กก.ละ 200 บาท หลังจากนั้นราคาก็ตกต่ำมาตลอด ยกเว้นช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. 2560 ที่ราคายางพุ่งขึ้น กก.ละ 100 บาท จากภาวะน้ำท่วมใหญ่ภาคใต้ การกรีดยางในภาคใต้ก็ระส่ำระสาย เนื่องจากมีพื้นที่ปลูกยางเกือบ 7 ล้านไร่ ที่จ้างคนกรีดยางแล้วแบ่งรายได้กัน ขณะที่ตัวเองรับราชการ เป็นพ่อค้าหรือทำอาชีพอื่น สวนยางเป็นแค่อาชีพเสริม เมื่อราคายางตกต่ำเช่นปัจจุบัน 2 สามีภรรยาที่รับจ้างกรีดจะมีรายได้รวมกันเพียงวันละ 500 บาท ต่ำกว่าค่าแรงวันละ 300 บาท/คน จึงมีการละทิ้งไปทำอาชีพอื่นค่อนข้างมาก ผลผลิตที่ออกมาจึงน้อย ไม่สัมพันธ์กับพื้นที่ปลูกที่เพิ่มขึ้น จึงเป็นปัญหาที่สลับซับซ้อนเป็นอย่างมาก ในขณะที่แผนการโค่นยางเพื่อลดพื้นที่ปลูกยางปีละ 4 แสนไร่ เป็นเวลา 7 ปี จนถึงปี 2564 ที่ผ่านมาก็ประสบความสำเร็จตามแผนทุกปี และเกษตรกรจะขอโค่นมากกว่านี้ด้วย

“มั่นใจว่า 6 มาตรการที่ออกมา และการลดปริมาณส่งออกของ3 ประเทศครั้งนี้ จะช่วยดันราคายางในเดือน ม.ค. 2561 นี้ 50 บาท/กก.ขึ้นไปแน่ เพราะคราวนี้รัฐเอาจริง สร้างเสือตัวที่ 6 มารับซื้อแข่งกับกลุ่ม 5 เสือเดิม รวมทั้งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้มาตรา 44 ปลดล็อกการจัดซื้อยางระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน”

นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายสำคัญในการกระตุ้นและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ เพื่อแก้ปัญหาปากท้องประชาชนและเพิ่มรายได้ โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยและมุ่งเน้นไปที่การกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก กรมการค้าภายในได้ดำเนินส่งเสริมการดำเนินการด้านการตลาดภายในประเทศมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เศรษฐกิจท้องถิ่นมีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการใช้กลไกตลาดชุมชน ซึ่งในปี 2561 กรมการค้าภายในจะเดินหน้าส่งเสริมให้มีตลาดประชารัฐต้องชมเพิ่มมากขึ้น โดยตั้งเป้าหมายจะเปิดตลาดประชารัฐต้องชม เพิ่มอีกจำนวน 77 แห่ง จากปัจจุบัน 158 แห่ง พร้อมทั้ง พัฒนาตลาดเดิมโดยจะยกระดับตลาดให้ดีขึ้น

ทั้งนี้ ผลการดำเนินโครงการตลาดต้องชมในปีงบประมาณ 2559 – 2560 ที่ผ่านมา กรมการค้าภายในได้ส่งเสริมให้มีตลาดต้องชมแล้ว 158 แห่งทั่วประเทศ สามารถช่วยสร้างรายได้เพิ่มขึ้นแก่ผู้ประกอบการค้าในตลาดที่มีอยู่ 19,420 แผงค้า คิดเป็นการสร้างรายได้ให้เศรษฐกิจท้องถิ่นประมาณกว่า 230 ล้านบาท/เดือน หากสิ้นปี 2561 มีตลาดประชารัฐต้องชมเพิ่มเป็น 235 แห่ง จะสามารถเพิ่มจำนวนร้านค้าและสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอีก

นอกจากนี้ ในปี 2561 กรมการค้าภายในจะดำเนินการสำรวจข้อมูลและจัดเกรดตลาดชุมชน ตามหลักเกณฑ์ 5 ด้าน ได้แก่ สถานที่ สินค้า การประกอบการค้า ความพร้อมของตลาด และลักษณะเฉพาะที่เป็นจุดเด่นของตลาดซึ่งจากตลาดที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเสนอมา คัดเลือกตลาดเป้าหมายที่จะพัฒนามีที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้มาให้คำปรึกษาและเข้าไปแนะนำการปรับปรุงพัฒนาตลาดและผู้ประกอบการตลาดให้เป็นต้นแบบแก่ตลาดอื่นๆ เสริมสร้างความรู้ผู้ค้าและผู้ประกอบการในตลาดต้องชม รวมทั้ง จะประชาสัมพันธ์ และจัดงานแสดงและจำหน่ายสินค้าตลาดต้องชม เพื่อให้ตลาดต้องชมเป็นที่รู้จักมีผู้เที่ยวชมและมียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้น และบูรณาการความร่วมมือในการส่งเสริมและพัฒนาตลาดชุมชนกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อให้ตลาดประชารัฐต้องชมมีความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน

สำหรับโครงการ “ตลาดต้องชม” จัดตั้งขึ้นส่งเสริมเอกลักษณ์พาณิชย์ อัตลักษณ์ของชุมชน พัฒนาหรือยกระดับตลาดที่จำหน่ายสินค้าที่ผลิตโดยคนในชุมชนหรือพื้นที่ใกล้เคียง ปรับภูมิทัศน์ให้สวยงาม มีการจำหน่ายสินค้าที่มีความเที่ยงตรง เที่ยงธรรม โปร่งใส มีการปิดป้ายแสดงราคา เครื่องชั่งเที่ยงตรง และจำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพดี ตามเอกลักษณ์พาณิชย์ ควบคู่ไปกับการรักษาศิลปวัฒนธรรม ชูอัตลักษณ์ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ชาติพันธุ์ ตลอดจนวิถีชีวิตชุมชน และเชื่อมโยงสู่การท่องเที่ยว ซึ่งรูปแบบตลาดต้องชม จะมีทั้งที่เป็นตลาดในชุมชนที่แสดงถึงวัฒนธรรมท้องถิ่น ตลาดในแหล่งท่องเที่ยว ตลาดริมน้ำ ถนนคนเดิน เป็นต้น

ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2560 เห็นชอบให้ดำเนินโครงการตลาดประชารัฐ เพื่อบูรณาการระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในรูปแบบประชารัฐในการส่งเสริมตลาดชุมชน โดยการพัฒนาตลาดใหม่และบริหารจัดการเพิ่มพื้นที่ในตลาดที่มีอยู่เดิม เพื่อให้เกษตรกร ผู้มีรายได้น้อย รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือดร้อนจากการไม่มีสถานที่ค้าขาย ได้มีพื้นที่ในการค้าขายและเพิ่มรายได้ในตลาดประชารัฐ ซึ่งมี “ตลาดประชารัฐต้องชม” เป็นหนึ่งในโครงการฯ

นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า โลกปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงเร็วมาก การทำงานต่างๆ จะใช้ทักษะเพียงศาสตร์เดียวไม่ได้ ต้องใช้หลายศาสตร์ร่วมกัน เพื่อที่จะตอบโจทย์โลก และตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ประเทศ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง การเรียนต้องเน้นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ ดังนั้น ตนมองว่าหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาต้องปรับเพื่อตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของโลก แน่นอนว่าการผลิตกำลังคนเพื่อไปทำงานตอบโจทย์ประเทศต้องเน้นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหลัก หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่ไม่ได้หมายความว่าสาขาวิชาทางด้านสังคมไม่มีความสำคัญ เพราะจริงๆ แล้ว การเรียนการสอนสามารถบูรณาการร่วมกันได้ ทั้งนี้ ส่วนตัวเชื่อว่า ในการทำงาน ไม่ใช่เก่งอย่างเดียวแล้วจะทำงานได้สำเร็จ ต้องเก่ง และดี ฉะนั้น ทั้งวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ จะมาเติมเต็มในแง่ของความเป็นมนุษย์ ในเรื่องของ Soft Skill หรือทักษะด้านสังคมต่างๆ ต้องไปด้วยกัน เพื่อให้บัณฑิตที่จบออกมามีความนุ่มนวลขึ้น สามารถสื่อสาร เป็นผู้นำ แยกถูกแยกผิด เป็นต้น ตรงนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญของการทำงานในอนาคต

“มหาวิทยาลัยต้องมองไปข้างหน้า เพราะทุกวันนี้โลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เด็กเจเนอเรชั่นนี้มีความคิดที่เปลี่ยนไปจากเดิม คนรุ่นใหม่ต้องการเรียนในสิ่งที่อยากจะรู้ เรียนเพื่อให้มีสมรรถนะ สามารถมีงานทำได้มากขึ้น จะได้ปริญญาหรือไม่ เขาไม่ได้สนใจมาก เอาแค่จบแล้วทำงานได้ ขณะเดียวกันระบบความคิดของผู้จ้างงานก็เปลี่ยน แนวโน้มมุ่งไปที่สมรรถนะในการทำงานของคน ไม่ได้มองว่า จบจากไหน เกรดเฉลี่ยเท่าไร หลายบริษัทรับคนเข้าทำงานไม่ได้ดูเกรดเฉลี่ย เพราะบางครั้งคนที่เกรดน้อยกว่า ออกไปทำงานประสบความสำเร็จมากกว่า มีให้เห็นจำนวนมาก” นพ.อุดม กล่าว

คนเคยไปไต้หวันจะรู้ว่าสิ่งที่ทำให้เราจำได้ไม่ลืมคือ ผักและผลไม้ของประเทศนี้หวานกรอบเหลือเกิน มันหวานกรอบอย่างหาได้ยากในประเทศอื่น กระทั่งเกาหลีใต้และญี่ปุ่นที่ว่ากันว่าปลูกผักผลไม้ได้หวานเหลือเกิน

กินอาหารที่ไต้หวัน แค่ผัดผักน้ำมันเฉยๆ ก็อร่อยขึ้นสวรรค์แล้ว ฉันว่า อันนี้ประสาฉันคนรักผักนะ คนไม่รักผักอย่าไปไต้หวันเลย ฉันเตือน คนไต้หวันชิลกว่าคนจีนทั่วไป อาจเพราะเขาเป็นเกาะ อากาศดี เย็นตลอดปี ดินก็ดีด้วย เขาเพาะปลูกอะไรก็งาม พืชผักที่เอามาปลูกแถวภาคเหนือของไทย จำนวนมากมาจากการส่งเสริมของไต้หวัน ได้พันธุ์มาจากไต้หวัน พุทรานมสดนั่นไง ไหนจะองุ่นไร้เมล็ดอีก ไม่นับชาไข่มุก ที่มาจากเขามีชาคุณภาพดีมาก และดื่มชากันมาก จนหาทางพัฒนาให้กลายเป็นเครื่องดื่มที่คนรุ่นใหม่กินได้ และกลายเป็นวัฒนธรรมส่งออกไปทั่วโลก

ไต้หวันภูมิใจมากกับฉายาดินแดนแห่งอาหารเลิศรส เขามีร้านอาหาร ภัตตาคารมากมาย กินกันทั้งวันคืน แต่นอกจากจะมากปริมาณแล้ว ร้านอาหารเขายังใช้วัตถุดิบที่ผลิตในประเทศ ซึ่งก็อย่างที่บอกมาว่ามันทั้งสดทั้งใหม่ ดังนั้นทำอะไรก็อร่อย

การเกษตรของไต้หวันได้รับการยอมรับว่าอยู่แถวหน้าของโลก เขาพัฒนาโดยอาศัยทั้งความอดทนของคน และเทคโนโลยีที่ใส่เข้าไปไม่ยั้ง รวมทั้งการสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างจริงจัง จนวันนี้เกาะเล็กๆ แห่งนี้พึ่งพาตนเองได้ในแง่อาหาร (สิงคโปร์ รวยกว่า แต่ยังพึ่งพาตนเองในเรื่องนี้ไม่ได้-แต่ก็พยายามอย่างหนักอยู่นะขอบอก)

เขาส่งออกความรู้ด้านการเกษตรของเขาไปทั่วโลก โครงการหลวง และบรรดาเกษตรอินทรีย์บ้านเรา เรียนรู้จากไต้หวันมาหลายสิบปี รัฐบาลสนับสนุนการวิจัยอย่างหนัก ส่งคนไปเรียนรู้ทั่วโลก เมื่อกลับมาทำงาน เขาให้ทำงานในประเทศเพียง 8 เดือน อีก 4 เดือน รัฐบาลจ่ายเงินให้ไปเรียนรู้เพิ่มเติมอีก เทคโนโลยีของไต้หวันจึงก้าวไกลมาก เป็นการก้าวไกลที่ไปพร้อมกันทุกภาคส่วน ทั้งภาคบริการ การลงทุน และการเกษตร ไม่มีภาคไหนเป็นลูกเมียน้อยโดยเด็ดขาด

ไต้หวัน มีประชากร 25 ล้าน เป็นประเทศเล็กๆ ขับรถจากเหนือสุดถึงใต้สุด ใช้เวลา 5 ชั่วโมง มีคนวิ่งมาราธอน หรือปั่นจักรยานข้ามประเทศเป็นว่าเล่น

การเกษตรของไต้หวันพัฒนาไปเป็นเกษตรขั้นสูง คือเน้นความปลอดภัยในการผลิต และกำลังจะก้าวไปสู่การเป็นเกาะแห่งเกษตรอินทรีย์ จุดหมายเบื้องต้นคือ ผลิตอาหารปลอดภัยให้คนของตัวเองกิน จะได้ไม่ต้องเสียเงินไปกับการซ่อมแซมสุขภาพ หรือเสียทรัพยากรบุคคลไปกับการตายเร็วเพราะสารเคมี

นาข้าวของไต้หวันน้ำจะใสสะอาดมาก เพราะเขาไม่ใช้สารเคมี และแม้จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เขาก็ใช้แค่เหมาะสม ไม่ประโคมโหมแห่ลงไปมาก ถ้าหนาวเกินเขาทำน้ำให้อุ่นโดยใช้เครื่องจักรที่รัฐบาลสนับสนุน เขาปล่อยเป็ดลงแปลงกินหอย ปลูกตะไคร้ไล่แมลงรอบแปลง ไม่เผาตอซัง ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เท่าที่เหมาะสม เขารู้ว่าหากใส่มากเกินไปจะทำให้ต้นข้าวอ่อนแอ ถึงจะอินทรีย์ก็เถอะ

ภาคการเกษตรทั้งหมดของไต้หวัน ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ เช่น หากอยากแปรรูปผลผลิต รัฐบาลลงทุนซื้อเครื่องจักรให้ทั้งหมด แล้วค่อยทยอยจ่ายคืน ขณะที่ประเทศไทย งบประมาณที่สนับสนุนภาคเกษตรมีไม่ถึง 5% ของงบประมาณทั้งหมด

หรืออย่างการวินิจฉัยโรค เกษตรกรเขาส่งตัวอย่างพืช หรือกระทั่งถ่ายรูปส่งอีเมลไปให้ เขาบริการวินิจฉัยให้ฟรี ของไทยนี่ค่าใช้จ่ายตัวอย่างละหลายตังค์ เกษตรกรแบกรับไม่ไหว เลยต้องไปพึ่งร้านขายยาฆ่าแมลง จ่ายเงินซื้อยาแล้วไปตายเอาดาบหน้า ทั้งพืชทั้งคนปลูก

ไต้หวันมีพื้นที่เกษตรอินทรีย์ ประมาณ 3.7 หมื่นไร่ คิดเป็น 0.6% ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด เทียบกับประเทศแนวหน้าด้านเกษตรอินทรีย์ เช่น ฝรั่งเศส ซึ่งมีสัดส่วนเกษตรอินทรีย์ 16% และ ออสเตรีย 20% ถือว่ายังห่างไกล แต่เขาก็เร่งมืออย่างหนัก ตอนนี้ร้านจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ในไต้หวันมีกว่า 2,000 ร้าน มีตลาดนัดที่เกษตรกรขายตรงต่อผู้บริโภค 70 แห่ง

ถ้าใครคิดว่า ไต้หวัน จะเป็นแค่เกาะที่มีคนจีนอยู่ ไม่ต่างจากประเทศจีน นั่นคิดผิดมาก ไต้หวันมีเชื้อชาติจีนนั้นจริงอยู่ แต่เขาได้รับอิทธิพลตะวันตก และมีความเป็นตะวันตกมากกว่ามาก

คนไต้หวันพูดภาษาอังกฤษได้ส่วนใหญ่ virtualracersedge.com คนรุ่นเก่าก็พูดได้ เขาเหมือนคนฮ่องกงมากกว่า แต่มีเอกลักษณ์มากกว่า เพราะเขาไม่อยากจะเป็นเหมือนจีนแผ่นดินใหญ่ ไต้หวันกับจีนแผ่นดินใหญ่ไม่ต้องชะตากันนัก เนื่องจากประวัติศาสตร์ ฉันว่านี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้คนไม่ค่อยรู้จักมักจี่ไต้หวัน

ไต้หวันมีเรื่องให้เรียนรู้มากมาย เอาง่ายๆ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติไต้หวัน มีสมบัติพัสถานที่ขนมาจากเมืองจีน เมื่อครั้งที่เจียงไคเช็ค ถอยทัพครั้งใหญ่ เขาไม่ได้มาแต่กองทัพ หากแต่ขนเอาข้าวของใส่รถไฟมา เล่าลือกันว่า 14 โบกี้ และบัดนี้มันมาสถิตสถาพรอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติไต้หวัน มีศิลปะชิ้นล้ำค่าชนิดที่หาดูในเมืองจีนไม่มี อย่างหยกที่ว่ากันว่าสวยวิจิตรที่สุดในโลก ก็อยู่ที่ไต้หวัน

แต่สิ่งที่น่าเรียนรู้มากที่สุดของไต้หวันคือ ทำอย่างไร เกาะเล็กๆ แห่งนี้จึงกลายเป็นสวรรค์อันอุดมสมบูรณ์ด้วยอาหาร และวิทยาการของโลก นี่คือ คำขวัญของบ้านมูเซอปากทาง ที่บ่งบอกถึงสรรพสิ่งที่มีอยู่ เกิดขึ้นตามธรรมชาติ การอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าและพรรณพืช การอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาเผ่าลาหู่ หมู่ที่ 5 ตำบลม่อนจอง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

ดอยม่อนจอง ได้เริ่มต้นเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วไป ตั้งแต่ ปี 2555 จากพื้นที่เดิมเคยเป็นแหล่งปลูกฝิ่นเป็นพื้นที่กว้างหลายพันไร่ กองทัพภาคที่ 3 มีนโยบายที่จะลดพื้นที่ปลูกฝิ่น ฟื้นฟูสภาพป่าในพื้นที่บ้านมูเซอปากทาง บ้านมูเซอหลังเมืองและหมู่บ้านใกล้เคียง มอบหมายให้ที่ว่าการอำเภออมก๋อยแต่งตั้งคณะทำงาน ประกอบด้วย หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ศูนย์พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (เดิมคือ ศูนย์สงเคราะห์ชาวเขา) ผู้ใหญ่บ้านมูเซอปากทาง นายก อบต. ม่อนจอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พัฒนาการอำเภออมก๋อย โดยมีศูนย์ กศน. อมก๋อย เป็นกรรมการและเลขานุการ มีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกป่า สร้างงานสร้างอาชีพ ให้เกษตรกรมีรายได้อย่างยั่งยืน สร้างจิตสำนึกให้มีส่วนร่วมในการรักษาป่าไม้ ปัจจุบัน เกษตรกรยึดอาชีพการปลูกพืชผักปลอดสารเคมี ปลูกกาแฟใต้ร่มเงาของป่าไม้ อนุรักษ์ต้นมะขามป้อมและเก็บผลผลิตจำหน่าย

อีกกิจกรรมหนึ่งคือ การเปิดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ทั้งที่ยอดดอยมูเซอและดอยม่อนจอง

ดอยม่อนจอง ตั้งอยู่บนเทือกเขาถนนธงชัย ครอบคลุมพื้นที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอสามเงา จังหวัดตาก คำว่า “ม่อน” หมายถึง เนินเขา คำว่า “จอง” หมายถึง ภูเขาที่เป็นรูปสามเหลี่ยมและลาดชัน รวมความแล้วหมายถึง ยอดเนินเขาที่มีลักษณะสามเหลี่ยม บนยอดดอยสูงสุดเรียกว่า ดอยหัวสิงห์ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,929 เมตร สัตว์ป่าที่มีอยู่บนดอยม่อนจอง เช่น โขลงช้างป่า ที่ใช้ชีวิตอย่างอิสระ มีมากกว่า 300 ตัว กวางผาหรือมีฉายาว่า ม้าเทวดา กวางผาเป็นสัตว์ที่หายาก ใช้ชีวิตอย่างอิสระตามไหล่เขา กินอาหารจากธรรมชาติที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์

นกชนิดที่หายากจะพบได้ที่ดอยม่อนจอง เช่น เหยี่ยวนกเขาท้องขาว นกอินทรีปีกแถบดำ นกอินทรีเล็ก นกเปล้าทองขาว นกมุ่นรกคอแดง นกเดินดงคอดำ เป็นต้น ในด้านพรรณพืชนั้น นักท่องเที่ยวจะได้พบต้นกุหลาบพันปีที่เกิดตามธรรมชาติ ลำต้นใหญ่ คาดว่ามีอายุมากกว่า 100 ปี ช่วงฤดูหนาวจะออกดอกสีแดงใหญ่สวยงามมาก พบต้นชาป่าทั้งใหญ่และเล็กขึ้นอยู่ทั่วไป

สิ่งที่น่าสนใจอย่างมากคือ ดอยม่อนจองเป็นแหล่งพืชสมุนไพรหลายชนิดและมีปริมาณมาก ที่ชาวไทยภูเขานำมาใช้ในชีวิตประจำวัน บางชนิดที่คนพื้นราบยังไม่รู้จัก เช่น หญ้าเอ็นยืด หรือผักกาดน้ำ มีสรรพคุณในการแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เคล็ดขัดยอก ไขข้ออักเสบ ฯลฯ หญ้าดอกขาวม่อนจอง ใช้ป้องกันและรักษาโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ฯลฯ พืชสมุนไพรเหล่านี้ ดร. จิระศักดิ์ สาระรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และทีมงานวิจัย ได้ศึกษาวิจัยเพื่อนำไปแปรรูปให้เพิ่มมูลค่าและสะดวกต่อการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรดอยม่อนจอง

กฎระเบียบการเที่ยวดอยม่อนจอง

ดอยม่อนจอง จะเปิดให้บริการนักท่องเที่ยวขึ้นไปสัมผัสบรรยากาศดินแดนมหัศจรรย์ ระหว่าง วันที่ 1 พฤศจิกายน-15 กุมภาพันธ์ ของทุกปี โดยจะต้องมีเจ้าหน้าที่เป็นผู้นำทางไปทุกครั้ง ระยะเวลาที่เหมาะสมประมาณ 2 วัน 1 คืน นักท่องเที่ยวจะต้องมาติดต่อที่ศูนย์ท่องเที่ยวดอยม่อนจอง ก่อนเวลา 12.00 น. เพื่อเตรียมความพร้อมทั้งในด้านจำนวนคน สถานที่พัก เต็นท์นอน ถุงนอน เสบียงอาหารที่นักท่องเที่ยวจะต้องเตรียมมาเอง ชั่งน้ำหนักสัมภาระ ติดต่อจำนวนลูกหาบให้เหมาะสมกับสัมภาระที่ต้องเดินทาง ติดต่อรถยนต์นำเที่ยวในท้องถิ่น ซึ่งรถยนต์ส่วนบุคคลจะไม่อนุญาตให้นำขึ้นไปเอง จะต้องเดินด้วยเท้าเป็นเวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง ระยะทาง 6-7 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวจะต้องนำขยะกลับลงมาด้วย โดยใส่ในถุงดำแล้วให้ลูกหาบนำกลับลงมา จะต้องไม่รบกวนสัตว์ป่า ล่าสัตว์ เก็บของป่า หรือนำพันธุ์พืชใดๆ ออกจากพื้นที่โดยเด็ดขาด