มีกระบวนการกลุ่มอยู่ก่อน:สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน

มีแหล่งน้ำชัดเจน/ปริมาณน้ำเพียงพอ มีตลาดรองรับ การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่ การกำหนดเป้าหมายและแผนปฏิบัติงานที่ชัดเจน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร กำหนดมาตรฐานการผลิต ที่สำคัญคือ ผู้จัดการเกษตรแปลงใหญ่ที่มีความรู้ ความสามารถ

กรมส่งเสริมการเกษตร มีเป้าหมาย:ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มโอกาสแข่งขัน โดยมีตัวชี้วัด:ต้นทุนต่อหน่วยลดลง ผลผลิตต่อหน่วยเพิ่มขึ้น โดยให้ผู้จัดการเกษตรแปลงใหญ่พิจารณาจากกิจกรรม คือการใช้ปัจจัยการผลิต การใช้แรงงานและเครื่องจักรกลการเกษตร การปรับปรุงดิน การเกษตรอินทรีย์ การบริหารจัดการ โดยมีทีมงานหลัก:การตลาด-สหกรณ์จังหวัด การผลิต-เกษตรจังหวัด เพิ่มผลผลิต-พัฒนาที่ดิน บริหารจัดการ-เกษตรและสหกรณ์จังหวัด ส่วนผู้จัดการแปลง:เกษตรอำเภอ/ปศุสัตว์อำเภอ/ประมงอำเภอ/สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) สหกรณ์/ชลประทาน

คุณบุญเลื่อน กล่าวว่า ปี 2559/60 เกษตรแปลงใหญ่ตำบลทุ่งกุลา ดำเนินการตามขั้นตอน สามารถเพิ่มผลผลิตจาก 350 กิโลกรัม/ไร่ เป็น 412 กิโลกรัม/ไร่ โดยการเกษตรอินทรีย์ ในพื้นที่ที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินการลดการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว จาก 25-30 กิโลกรัม/ไร่ เหลือ 10-15 กิโลกรัม/ไร่ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ปุ๋ยคอก ลดการใช้ปุ๋ยเคมี จาก 50 กิโลกรัม/ไร่ เหลือ 20-25 กิโลกรัม/ไร่ ชาวนาพื้นที่ตำบลทุ่งกุลา บ้านสังข์ใหญ่ บ้านสังข์น้อย บ้านดอนแคน จะเป็นผู้ยึดมั่นในประเพณีวัฒนธรรม ตาม “ฮีตสิบสอง คองสิบสี่” วันนี้ข้าวยังเก็บในยุ้งฉางของชาวนา รอต้นเดือนสาม จัดประเพณีสู่ขวัญข้าว จึงจะเปิดประตูยุ้งข้าว “เล้า” ได้ สู่ขวัญทำบุญกุ้มข้าวใหญ่ เป็นข้าวอินทรีย์ของแท้จาก “ทุ่งกุลาร้องไห้” ตำบลทุ่งกุลา ที่นี่เรา “เอาความกันดารเป็นสินทรัพย์ เอาความอัตคัดเป็นพลัง”

คุณบุญเลื่อน ยังเล่าต่อไปว่า สมาชิกเกษตรกร 160 คน มีการร่วมกันแปรรูปข้าว เป็นข้าวสารบรรจุถุง ขนาด 5 กิโลกรัม ราคา 150-175 บาท ถุงขนาด 2 กิโลกรัม ราคา 60-75 บาท เป็นราคาขายส่ง-ปลีก เป็นข้าวจากมือชาวนาโดยตรง สะอาด ปลอดภัย ชาวนาที่ตำบลทุ่งกุลา เข้าไปประกอบอาชีพขับแท็กซี่ เป็นผู้กระจายสินค้าสู่สหกรณ์แท็กซี่ เรามีตราสัญลักษณ์ ชาวนาแบกจอบ ผู้จัดการเกษตรแปลงใหญ่ข้าวหอมมะลิตำบลทุ่งกุลา คิดค้นเรื่องการบรรจุภัณฑ์สุญญากาศ ทำขนาดเล็กลง ผู้บริโภคนำไปหุง 2-3 ครั้ง พอดีกับครอบครัวขนาดเล็ก ที่ต้องการรับประทาน “ข้าวหอมมะลิจากทุ่งกุลา” ของแท้ “หอมเรียว ยาว ขาว นุ่ม” สั่งตรงได้ครับ โทร. (093) 485-0835

คุณเสน่ห์ รัตนาภรณ์ เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า เกษตรแปลงใหญ่ ปี 2560 ที่กระทรวงเกษตรฯ ให้เดินหน้าเพื่อความมั่นคงทางอาหาร ความมั่งคั่งของเกษตรกร สู่ความยั่งยืน เกษตรแปลงใหญ่ เก่า 600 แปลง เกษตรแปลงใหญ่ แปลงใหม่ 400 แปลง เกษตรแปลงใหญ่เตรียมความพร้อม 512 แปลง จังหวัดร้อยเอ็ด 20 อำเภอ 192 ตำบล 2,444 หมู่บ้าน พร้อมกับการเดินหน้าประเทศไทยเกษตรแปลงใหญ่ครับ

อุตรดิตถ์ส่งเสริมเกษตรกรปลูกมะม่วงหิมพานต์ 2.4 หมื่นไร่ รายได้พุ่ง 249 ล้านบาท ผู้ว่าฯชูแบรนด์ “ควีน” โปรโมตแหล่งผลิตแนวเขื่อนสิริกิติ์ อ.ท่าปลา ด้านวิสาหกิจชุมชนเผยความต้องการสูง ดันราคาผลสดพุ่งเท่าตัว พ่อค้าต่างถิ่นรุกซื้อถึงที่ ชี้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด

นายอำนาจ ปาลาศ เกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ไม่เพียงแต่ทุเรียนเท่านั้นที่เป็นผลไม้ขึ้นชื่อของจังหวัดอุตรดิตถ์ ยังมีเม็ดมะม่วงหิมพานต์ที่สร้างรายได้ให้กับจังหวัด โดยมีพื้นที่ปลูกมะม่วงหิมพานต์ทั้งหมด 24,728 ไร่ มีพื้นที่ที่สามารถให้ผลผลิต 16,000-17,000 ไร่ หรือคิดเป็น 60-70% ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งจะได้ผลผลิตไร่ละ 423 กิโลกรัม (กก.) หรือประมาณ 7,000 ตัน/ปี โดยมีเกษตรกรผู้ปลูกกว่า 600 คน ปัจจุบันพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ที่อำเภอท่าปลา โดยเฉพาะบริเวณเขื่อนสิริกิติ์ และขณะนี้เริ่มมีการขยายไปที่อำเภอน้ำปาด ฟากท่า และบ้านโคก โดยพืชชนิดนี้ทนต่อสถานการณ์แล้งได้ดี ดังนั้นในช่วงหน้าแล้งจึงไม่ได้รับผลกระทบ โดยจะใช้ระยะเวลาในการปลูก 3 ปี จึงจะได้ผลผลิต

สำหรับปี 2559 ที่ผ่านมา การจำหน่ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์สร้างรายได้ให้จังหวัดกว่า 249 ล้านบาท โดยผลผลิตสดจำหน่ายในราคา 35 บาท/กก. ส่วนเม็ดที่กะเทาะเปลือกแล้ว แต่ยังไม่สามารถรับประทานได้ ต้องนำไปแปรรูปอีกครั้งหนึ่ง ราคาอยู่ที่ 150-200 บาท/กก.

ทั้งนี้ ผลผลิตที่ผ่านการแปรรูปเป็นสินค้าหลากหลายรูปแบบ นอกจากการนำไปทอด อบน้ำเกลือแล้ว ยังได้พัฒนาไปสู่เม็ดมะม่วงหิมพานต์รสชาติต่าง ๆ เช่น เกสรผึ้ง ต้มยำ ปาปิก้า บาร์บีคิว โนริสาหร่าย เป็นต้น จะส่งจำหน่ายตามร้านค้าชุมชน ร้านจำหน่ายสินค้าโอท็อปของจังหวัด และปัจจุบันมีเอกชนเข้ามาติดต่อซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปเม็ดมะม่วงหิมพานต์จากเกษตรกร และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนต่าง ๆ เพื่อนำไปจำหน่ายต่อทั้งในและต่างประเทศ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการเจรจา

นอกจากนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ตั้งแบรนด์ผลิตภัณฑ์เม็ดมะม่วงหิมพานต์ชื่อว่า ควีน (QUEEN) หรือราชินีเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ให้เป็นแบรนด์กลาง เนื่องจากปัจจุบันการจำหน่ายสินค้ามีหลากหลายแบรนด์ ซึ่งยังไม่มีแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ทั้งนี้เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับผู้ซื้อถึงแหล่งผลิต โดยคำว่า ควีน นั้นหมายถึง เขื่อนสิริกิติ์ ที่ตั้งอยู่ที่ อ.ท่าปลา ซึ่งเป็นแหล่งปลูกขนาดใหญ่

ด้านนางวันทา ผ่านคำ ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมอาชีพบ้านหาดไก่ต้อย ต.หาดล้า อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า ปัจจุบันวิสาหกิจชุมชนมีสมาชิก 63 คน โดยมารวมตัวกันแปรรูปที่วิสาหกิจกว่า 30 คน โดยสมาชิกบางรายก็เป็นเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงหิมพานต์ด้วย โดยผลผลิตจะออกช่วงประมาณปลายเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมเท่านั้นทำให้ผู้ประกอบการแปรรูปจะต้องตุนผลผลิตไว้ โดยผลผลิตสด 5 กก.จะสามารถแปรรูปเป็นเม็ดมะม่วงหิมพานต์พร้อมทานได้เพียง 1 กก. ประกอบกับการแปรรูปมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ต้องใช้ระยะเวลา จึงทำให้มีราคาสูง โดยเม็ดมะม่วงหิมพานต์พร้อมรับประทาน ราคาอยู่ที่ 300-400 บาท/กก.

ทั้งนี้ ราคาผลสดที่รับซื้อเพื่อมาแปรรูปนั้น ในปี 2559 ราคาอยู่ที่ 33-35 บาท/กก. แต่ในปี 2560 ราคาสูงขึ้นเกือบเท่าตัว อยู่ที่ 60 บาท/กก. เนื่องจากปริมาณผลผลิตได้เท่าเดิม แต่ความต้องการของตลาดเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันเริ่มมีพ่อค้านอกพื้นที่ ได้แก่ จังหวัดน่าน มารับซื้อผลสดมากขึ้น ทำให้ราคาพุ่งสูงขึ้น โดยผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายมีราคาตั้งแต่ 25-400 บาท ขึ้นอยู่กับขนาด ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มวัยทำงาน โดยจัดจำหน่ายในร้านค้าและห้างสรรพสินค้าในจังหวัด

อย่างไรก็ตามในปี 2559 ที่ผ่านมา วิสาหกิจสามารถแปรรูปจำหน่ายได้ทั้งหมด 30-40 ตัน/ปี ซึ่งในปี 2558 วิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมอาชีพบ้านหาดไก่ต้อย มีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์กว่า 12 ล้านบาท สร้างรายได้ให้สมาชิกรายละ 7,000-8,000 บาท/เดือน

การแพทย์แผนไทย ถือเป็นศาสตร์แบบองค์รวม อันเกิดจากความรู้ ภูมิปัญญาของคนโบราณที่ถูกเรียกว่า “หมอบ้าน” สามารถรักษาและบำบัดครอบคลุมได้ทุกโรคอย่างครบถ้วน โดยวิธีการปฏิบัติของการแพทย์แผนไทย ประกอบด้วยการใช้สมุนไพร หัตถบำบัด การรักษากระดูกแบบดั้งเดิม การใช้พุทธศาสนา หรือพิธีกรรม เพื่อดูแลรักษาสุขภาพจิต ธรรมชาติบำบัด ซึ่งได้จากการสั่งสม ถ่ายทอดประสบการณ์อย่างเป็นระบบ

“สกลนคร” เป็นจังหวัดทางภาคอีสาน ที่นับว่ามีแหล่งสมุนไพรสำคัญจำนวนมากแห่งหนึ่งของประเทศ แล้วยังเป็นแหล่งชุมนุมของหมอพื้นบ้านเก่าแก่ชื่อดังอีกด้วย ฉะนั้น หลายหน่วยงานของจังหวัดจึงผนึกกำลังร่วมมือกันเพื่อสร้างกรอบความชัดเจนของสมุนไพรแต่ละชนิด ตลอดจนรวบรวมหมอพื้นบ้าน ตำรับตำรายาโบราณ เข้ามาไว้ด้วยกันเพื่อเป็นฐานข้อมูลการศึกษาสำหรับอนุชนรุ่นต่อไป

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) อีสาน วิทยาเขตสกลนคร เป็นอีกหน่วยงานที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสมุนไพร และผักพื้นบ้าน โดยมีเป้าหมายเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูศาสตร์เก่าแก่นี้ให้เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน จึงมีการจัดสร้าง “สวนผักพื้นบ้านและสมุนไพร เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา” ขึ้น ภายในพื้นที่ จำนวน 50 ไร่ บริเวณคณะทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อใช้สำหรับเป็นสถานที่ค้นคว้า ศึกษา ความเป็นไปของสายพันธุ์ผักพื้นบ้านและสมุนไพรที่สำคัญ

อาจารย์ราตรี พระนคร ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายโครงการ สนองพระราชดำริ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มทร. อีสาน วิทยาเขตสกลนคร ผู้ซึ่งมีหน้าที่ดูแลกล่าวถึงความเป็นมาว่า เริ่มจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งพืช สัตว์ รวมถึงภูมิปัญญาด้วย

ดังนั้น การปฏิบัติงานจึงต้องออกไปสำรวจพันธุ์พืชสมุนไพรต่างๆ ในท้องถิ่น หรือแม้แต่การสำรวจทรัพยากรทางภูมิปัญญาพื้นบ้าน มีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกันให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น จากนั้นจึงค่อยลงลึกในแต่ละส่วนของการนำมาใช้ประโยชน์ต่อไป

“ตัวอย่างที่เห็นชัดในปี 2537-2538 เมื่อทางคณะได้ริเริ่มนำหมากเม่า ซึ่งเป็นพืชประจำถิ่นมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ จนประสบความสำเร็จ แล้วต่อยอดให้ชาวบ้านได้รวมกลุ่มอาชีพสร้างธุรกิจขนาดเล็ก-ใหญ่ จากผลสำเร็จของหมากเม่าจึงเป็นแรงผลักดันให้คณาจารย์ขยายผลศึกษา วิจัย พร้อมวางแผนอนุรักษ์พืชสมุนไพรชนิดอื่นในลักษณะเดียวกันต่อไปอีก”

อาจารย์ราตรี ชี้ว่าความจริงแล้วสมุนไพรมีมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดมีสรรพคุณและคุณสมบัติเฉพาะ การมองสมุนไพรของคนสมัยใหม่เล็งเห็นถึงขั้นตอนความยุ่งยากในการปฏิบัติ หรืออาจไปติดกับภาพเดิมๆ ในแบบโบราณ สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาและอุปสรรคทำให้การเข้าถึงสมุนไพรเป็นไปได้ยาก

“เพราะฉะนั้นการดึงคุณสมบัติเฉพาะของสมุนไพรบางอย่างมาประยุกต์เข้ากับวิถีชีวิตสมัยใหม่ ของคนรุ่นใหม่จึงมีความจำเป็น เนื่องจากหากทำให้สมุนไพรเป็นเรื่องง่าย ต่อไปผู้คนจะเริ่มหันมาสนใจสมุนไพรเพิ่มขึ้นเองโดยอัตโนมัติ”

จากงานขยายพันธุ์พืชสมุนไพรด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ อย่าง “หมาน้อย” ซึ่งในคราวนั้นจุดประสงค์เพียงต้องการศึกษาว่าพืชสมุนไพรแต่ละชนิดจะสามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีใด กลับพบว่า น้ำที่ถูกคั้นจากใบเมื่อวางทิ้งไว้ในอุณหภูมิปกติจะจับตัวแข็งลักษณะคล้ายกับเจลหรือวุ้น

“เมื่อคุณสมบัติเป็นเช่นนี้จึงได้เกิดความคิดต่อยอดด้วยการนำมาดัดแปลงร่วมกับขนม ด้วยการทดลองทำเป็นเจลลี่หมากเม่าผสมกับหมาน้อยเพื่อขยายผลหวังเจาะกลุ่มเด็ก และผู้ที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพ อย่างไรก็ตาม แนวความคิดนี้เป็นเพียงการทดลองผลิตออกมาเพื่อศึกษา แล้วเกิดกระบวนการวิเคราะห์ จึงยังไม่มีเอกสารเผยแพร่อย่างเป็นทางการ”

นอกเหนือจากนั้นแล้ว “ว่าน” ถือเป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดที่อาจารย์ราตรีให้ความสำคัญ เนื่องจากพบว่า คุณสมบัติและสรรพคุณของว่านแต่ละชนิดเกิดประโยชน์มากมาย แต่ที่ผ่านมาพบว่า มีคนเพียงบางกลุ่มที่รู้จักว่านหรือไม่ค่อยมีข่าวเกิดขึ้น เนื่องจากเป็นผลมาจากการรวบรวมสายพันธุ์ว่านต่างๆ ยังไม่สมบูรณ์ดีพอ อาจเป็นเพราะว่านมีจำนวนมาก ขณะเดียวกันการนำว่านมาวิเคราะห์ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อหาสารสำคัญจะต้องใช้เวลานานกว่าการศึกษาวิจัยพืชสมุนไพรชนิดอื่น

อีกทั้งแต่ละชนิดหมอพื้นบ้านยังเรียกต่างกัน เพราะหมอแต่ละท่านจะตั้งชื่อตามอาการที่รักษาโรคชนิดนั้น อย่างว่านริดสีดวง ว่านแก้นิ่ว ว่านแก้ตัวเหลือง ว่านหมากัด ฉะนั้น จึงต้องมีการจำแนกให้ชัดเจนเสียก่อนแล้วค่อยมาเริ่มต้นงานวิจัย

ภายหลังที่ตื่นตัวเรื่องสมุนไพรขึ้น จึงรวบรวมข้อมูลจากชมรมหมอพื้นบ้านในจังหวัดสกลนครที่นำสมุนไพรมาใช้เป็นประจำ เพราะเป็นโครงการติดตามการใช้ประโยชน์ของว่านจากหมอพื้นบ้าน ขณะนี้ที่รวบรวมได้ถ้าเป็นตัวอย่างได้จำนวนกว่า 200 ตัวอย่าง แล้วถ้าจำแนกออกเป็นกลุ่มได้จำนวนกว่า 70 กลุ่ม

“ขณะเดียวกันได้มีการนำแนวทางการรักษาของแพทย์แผนไทย หรือหมอพื้นบ้าน กลับมาศึกษา พร้อมวางแนวทางหลักเกณฑ์อีกครั้ง ทั้งนี้เพื่อถอดองค์ความรู้ต่างๆ ทั้งภูมิปัญญาการรักษา การเลือกใช้สมุนไพรแต่ละชนิดมารักษาโรคแต่ละชนิด แล้วนำมารวบรวมเป็นตำรา เอกสาร ไว้สำหรับอ้างอิงทางวิชาการ แล้วนำไปสอนหรือเผยแพร่ให้แก่นักศึกษาที่เรียนหลักสูตรแพทย์แผนไทย หรือผู้สนใจทั่วไป”

อาจารย์ราตรี แสดงความเห็นส่วนตัวถึงเหตุผลที่คนทั่วไปให้ความสนใจการนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ยังน้อยเพราะว่าวิทยาศาสตร์ตามไม่ทัน อาจสืบเนื่องมาจากแหล่งที่มา ชื่อ และสรรพคุณการรักษาสมุนไพรแต่ละชนิด ล้วนเกิดจากการบอกเล่าสืบต่อกันมาถึงสรรพคุณและประโยชน์ โดยที่ยังไม่ได้นำหลักวิทยาศาสตร์เข้าไปจับ“ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของว่านแต่ละชนิดยังมีน้อย อีกทั้งความหลากหลายของว่านที่มีอยู่จำนวนหลายร้อยชนิด จึงทำให้ผู้ที่ต้องศึกษาวิจัยคงไม่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นความละเอียดทั้งในแง่การศึกษา ค้นคว้า และวิจัย”

ท้ายนี้ อาจารย์ราตรี กล่าวว่า การศึกษาเรื่องพืชสมุนไพรเพื่อให้ประสบความสำเร็จอย่างครบถ้วนแล้วเกิดประโยชน์อย่างแท้จริงคงต้องอาศัยหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม จะให้เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานแห่งหนึ่งแห่งใดไม่ได้

“ให้ดูตัวอย่างประเทศจีนที่มีการให้การยอมรับสมุนไพรมาใช้ในการรักษาอย่างกว้างขวาง แล้วมองย้อนกลับมาที่ประเทศไทยคงต้องใช้เวลากันอีกยาวนาน แต่ถ้าทุกฝ่ายให้ความร่วมมือและช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่ คิดว่าคงไม่ใช้เวลานานเกินรอ เพราะขณะนี้ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่การแพทย์แผนไทยถูกยกระดับการรักษาทำให้เกิดการตื่นตัวกันบ้างแล้ว”

กรมวิชาการเกษตรส่งมอบเมล็ดพันธุ์พืชผัก 20 ชนิดรวมกว่า 4 ตัน สู่เกษตรกร 70,000 ครัวเรือน ผุดแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ถวาย “ในหลวง รัชกาลที่ 9” มุ่งสร้างแหล่งอาหารช่วยลดรายจ่าย หวังให้พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

นายสุวิทย์ ชัยเกียรติยศ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้กรมวิชาการเกษตรจัดหาเมล็ดพันธุ์พืชผักกว่า 20 ชนิด น้ำหนักรวม ประมาณ 4 ตัน อาทิ เมล็ดพันธุ์ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว คะน้า กวางตุ้ง พริก มะเขือเปราะ มะเขือยาว ผักชี โหระพา กะเพรา มะละกอ และข้าวโพดเทียน ส่งมอบให้กับซิงเกิ้ลคอมมานด์ (Single Command) แต่ละจังหวัด นำไปแจกจ่ายให้เกษตรกรในพื้นที่ปลูกภายใต้โครงการ “เกษตรทฤษฎีใหม่ ถวายในหลวง รัชกาลที่9” เป้าหมายจำนวน 70,000 ครัวเรือนทั่วประเทศ โดยมุ่งสร้างแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่เพิ่มมากขึ้น พร้อมส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างแหล่งอาหารไว้บริโภคในครัวเรือน ช่วยลดรายจ่าย หากผลผลิตเหลือจากบริโภคก็นำไปขายเพื่อสร้างรายได้ อนาคตคาดว่า เกษตรกรจะสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์พืชผักสวนครัวเก็บไว้ใช้เอง ช่วยลดต้นทุนการผลิตและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

เมล็ดพันธุ์ผักที่แจกจ่ายให้เกษตรกรในโครงการฯดังกล่าว ส่วนใหญ่กรมวิชาการเกษตรผลิตเอง บางส่วนจัดซื้อเพิ่มเติม และอีกส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนที่ผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อการค้า และสถาบันการศึกษาในรูปแบบประชารัฐ ได้แก่ บริษัท เจียไต๋ จำกัด, ห้างหุ้นส่วนจำกัด พี.เอ. ซีดส์, บริษัท เรียลซีดส์อะโกร จำกัด, หจก. ฉั่วยงเส็งพันธุ์พืช, หจก. พันธุ์พืชตราสิงห์ และศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน (AVRDC) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ซึ่งเมล็ดพันธุ์ผักทุกชนิดได้ผ่านการทดสอบคุณภาพและเปอร์เซ็นต์ความงอกแล้ว โดยมีอัตราการงอกเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด เช่น ถั่วฝักยาวมีอัตราการงอก 95% คะน้า อัตราการงอก 98% มะละกอแขกดำอัตราการงอก 80% และข้าวโพดเทียนมีอัตราการงอกมากกว่า 85% เป็นต้น

“สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร ได้บรรจุเมล็ดพันธุ์ผักใส่ซองๆ ละ 4-5 ชนิด โดยพิจารณาชนิดพืชตามความเหมาะสมกับสภาพแต่ละพื้นที่ รวมกว่า 70,000 ชุด พร้อมเอกสารแนะนำวิธีการปลูกและดูแลรักษาอย่างง่าย ส่งมอบให้ซิงเกิ้ลคอมมานด์และหน่วยงานที่รับผิดชอบแต่ละจังหวัดเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้เริ่มทยอยแจกจ่ายให้เกษตรกรที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการฯนำไปปลูก เบื้องต้นคาดว่า จะส่งมอบเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัวให้เกษตรกรได้ครบตามเป้าหมายภายในเดือนมกราคม 2560” นายสุวิทย์ กล่าว

กรมวิชาการเกษตรได้รับมอบหมายให้ดูแลและรับผิดชอบเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯนี้ จำนวน 3,861 ราย ซึ่งกระจายอยู่ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ โดยหน่วยงานสังกัดกรมวิชาการเกษตรในแต่ละพื้นที่ จะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้กับเกษตรกรในการจัดทำแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ เพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทั้งยังช่วยสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรสานต่อและสร้างแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าที่ตั้งไว้ ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรได้จัดทำแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ต้นแบบจำนวน 21 แปลง อยู่ในพื้นที่หน่วยงานของกรมกระจายอยู่ทุกภูมิภาค สามารถเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกรหรือผู้สนใจได้

“เกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ มีความสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ถวายในหลวงค่อนข้างมาก บางจังหวัดมากถึง 3,000-4,000 แปลง ซึ่งกระทรวงเกษตรฯได้พิจารณาคัดเลือกเกษตรกรรายใหม่ที่สมัครใจ และไม่เคยทำเกษตรทฤษฎีใหม่มาก่อน ที่สำคัญต้องมีความมุ่งมั่นที่จะทำ มีแหล่งน้ำเพียงพอที่จะหล่อเลี้ยงแปลงผักที่ปลูกในช่วงหน้าแล้งนี้ ทั้งยังมีแรงงานในครอบครัวเพียงพอด้วย อนาคตคาดว่า เกษตรกรจะขยายผลการจัดทำแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เพิ่มมากขึ้น ซึ่งกระทรวงเกษตรฯพร้อมให้การสนับสนุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตรต่อเนื่อง อีกทั้งยังคาดว่า จะเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ และก่อเกิดเครือข่ายเกษตรทฤษฎีใหม่ อันจะนำไปสู่เกษตรทฤษฎีใหม่แปลงใหญ่ ซึ่งจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเกษตรกร ทำให้มีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้” นายสุวิทย์ กล่าว

นายทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ อายุ 52 ปี หมู่ที่ 2 บ้านดงชะพลู ตำบลคลองคะเชนทร์ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ซึ่ง เป็น เจ้าของสวนคุณลี ได้เปิดเผยว่า ตนเองได้นำเอาเมล็ดพันธุ์ฟักยักษ์สายพันธุ์ไต้หวัน มาจากประเทศไต้หวัน มาทำการทดสอบและทดลองเพาะปลูกในพื้นที่สวนของตนเอง ซึ่งเป็นแห่งแรกของประเทศไทย โดยทำการเพาะเมล็ดในถุงเพาะชำไว้จำนวน 15 วันจากนั้นนำต้นฟักมาปลูกลงแปลงดิน พร้อมกับทำค้างด้วยไม้ไผ่เพื่อให้เถาฟักเลื้อยไปตามค้างไม้ไผ่ จากนั้นคอยหมั่นดูแลใส่ปุ๋ย พรวนดิน ลดน้ำวันละ 1ครั้งซึ่งฟักดังกล่าวจะใช้น้ำน้อย และฟักจะเริ่มทยอยออกดอก โดยจะเลือกดอกที่สมบูรณ์ไว้และดอกที่ไม่สมบูรณ์ก็จะเด็ดทิ้ง ซึ่งระยะเวลาตั้งแต่ปลูกลงดินถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตจะใช้ระยะเวลาเพียง 60 วันเท่านั้น ก็จะเก็บผลผลิตจำหน่ายได้

นาย ทวีศักดิ์ กล่าวอีกว่า โดยฟักดังกล่าวจะมีลูกใหญ่จึงเรียกว่าฟักยักษ์ โดยจะมีลูกที่ใหญ่มาก มีความยาวมากถึง 110 เซนติเมตร รอบวงลูก 80 เซนติเมตร และมีน้ำหนักถึง 45-50 กิโลกรัม เมื่อลูกใหญ่จะต้องใช้ปอฟางมัดลูกไว้กับค้าง เพื่อไม่ให้ลูกดึงน้ำจากเถาฟักมากไป ซึ่งถือว่าฟักยักษ์ปลูกได้ในพื้นที่พิจิตรเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีการปลูกฟักยักษ์เป็นผลสำเร็จ สำหรับการจำหน่ายจะจำหน่ายอยู่ที่กิโลกรัมละ 25 บาทเท่านั้น ซึ่ง 1ลูกจะอยู่ที่ 40-50 กิโลกรัม (แล้วแต่ขนาด) โดยหนึ่งลูกจะตกอยู่ที่ราคาประมาณ 1,000-1,250 บาท

นาย ทวีศักดิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับรสชาติของฟักยักษ์จะคล้ายๆกับฟักชาวบ้านทั่วไปของบ้านเรา จะแปลกตรงที่มีขนาดความใหญ่ ขนาดความยาวเท่านั้น โดยจะมีพ่อค้าติดต่อสั่งจองซื้อไปเข้าโรงงานฟักเชื่อมกระป๋อง และน้ำฟักพร้อมดื่ม รวมถึงภัตรคาร ร้านอาหารใหญ่ๆในกรุงเทพฯ เรียกง่ายว่าถ้าต้มจืดฟักทั้งลูกก็รับประทานกันได้ทั้งหมู่บ้าน นอกจากนี้ภายในสวนคุณลี ยังได้ปลูกมะละขี้นกยักษ์ อีกด้วยสายพันธุ์โกอินาวา ซึ่งมีลูกใหญ่ยาวกว่ามะละขี้นกบ้านเราหลายสิบเท่า และยังมะละกอผลยักษ์อีกด้วยแต่ผลเพิ่งเริ่มออก นาย ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ เจ้าของสวนคุณลีกล่าว

นางนิจญาดา เสือลายตลับ อายุ 52 ปี หมู่ที่ 7 ต.บ้านต๋อม อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา เปิดเผยว่า ปกติอยู่บ้านดูแลหลานชายวัยกำลังซนซึ่งมีปัญหาเรื่องสุขภาพ ดังนั้นจึงต้องหารายได้พิเศษรับทำอาหารจัดเลี้ยงตามการอบรม หรือ ประชุมต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดพะเยา ซึ่งการทำอาหารของตนและเพื่อนร่วมงานเน้นการใช้วัตถุดิบในพื้นที่ทั้งหมด โดยเฉพาะพืชผักปลอดภัย น้ำมะนาวธรรมชาติ 100% ไม่ใช้หัวเชื้อแม้แต่น้อย พบว่าในบางฤดูที่มะนาวขนาดตลาดและมีราคาแพงถึงลูกละ 8-10 บาท ตนจึงปลูกมะนาวใช้เองเพราะมีที่ดินอยู่แล้ว เริ่มแรกปลูกเพราะต้องการใช้เอง แต่ต่อมาเห็นว่าถึงฤดูที่มะนาวแพง จึงคิดว่าทำอย่างไรในการปลูกให้มะนาวออกลูกนอกฤดูทำให้มีมะนาวใช้ได้ตลอดปีและส่วนหนึ่งนำไปขายมีรายได้เสริมอย่างงามทีเดียว

นางนิจญาดา กล่าวต่อว่า ครอบครัวตนมีพื้นที่ท้ายหมู่บ้าน 1 ไร่เศษ จึงปลูกมะนาวทั้งหมดจำนวน 150 ต้น ระยะห่างประมาณ 1.5 เมตร โดยปลูกในบ่อซีเมนต์สูงกว่าพื้นดินปกติ แต่ไม่สูงมากทำให้ดูแลง่าย รากไม่ถูกน้ำขัง ทำให้ต้นโตเร็วและเก็บผลง่าย สายพันธุ์ที่ปลูก คือ ทูลเกล้า หิติ และแป้นพิจิตร 1 แต่ละต้นให้ผลผลิตเฉลี่ย 4-5 กก. ลูกโต ผิวสวย เปลือกไม่หนา น้ำมาก หากใครที่ต้องการใช้น้ำมันผิวมะนาวเพื่อความงามก็ไม่ผิดหวัง เพราะมะนาวของเราเป็นมะนาวปลอดภัย มาตรฐาน GAP หากในฤดูกาลมีมะนาวมาก เมื่อต้นออกดอกก็ให้เด็ดดอกทิ้ง บังคับให้ออกนอกฤดู ซึ่งจะได้ราคาดีกว่าตามฤดูกาล ขณะที่ผลผลิตมะนาวที่เหลือจากการใช้ปกติแล้วก็ขายให้เพื่อนบ้านและส่งพ่อค้าแม่ค้าที่ต้องการมารับซื้อ ซึ่งราคาขายส่งนอกฤดู กก.ละ 60-70 บาท เฉลี่ยต้นละ 300-350 บาท คิดเป็นไร่มีรายได้เฉลี่ยไร่ละไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท/ปี

“มาถึงตอนนี้ ปลูกมาได้ 3 ปี แล้ว หมดห่วงเรื่องมะนาวขาดแคลน เพราะเรามีสวนมะนาวที่สามารถใช้ได้ตลอดทั้งปี ทำกับข้าวใช้มะนาวของเราเอง ญาติๆ กันมาช่วยดูแล สามีที่เป็นข้าราชการก็มีเวลาว่างเข้าสวนมะนาวด้วย อยู่อย่างพอเพียง เท่านี้ครอบครัวก็มีความสุขแล้ว เหลือจากใช้ก็แบ่งปันเพื่อนบ้านและคนคุ้นเคย หรือขายเพื่อหารายได้เสริมบ้าง ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงคือปลูกใช้เอง เหลือกินก็แบ่งเพื่อนบ้านแล้วขายสร้างรายได้ให้ครอบครัว” นางนิจญาดา กล่าว

“อารมณ์เสีย อย่าปล่อยให้เสีย ต้องเคี้ยวชิกเคล็ท” ยังพอจำสโลแกนนี้ได้ไหมครับ ใครจำได้บ้างเอ่ย จำได้แสดงว่าต้องเป็นวัยรุ่นตอนปลายยุค ’70 แน่ๆ ทราบไหมครับว่า หมากฝรั่ง นั้นทำมาจากอะไร

นี่เลย ยางละมุดนี่แหละเป็นส่วนประกอบสำคัญของหมากฝรั่งที่พวกเราชอบเคี้ยวเล่นกันนั่นเอง ละมุด เดิมเป็นไม้แถบอเมริกากลาง เม็กซิโก และหมู่เกาะอินเดียตะวันตก และคงจะมีการนำเข้ามาปลูกในบ้านเรานานกว่าร้อยปีแล้ว แต่ในไทยเราก็ยังมีละมุดพันธุ์พื้นเมืองอยู่แล้ว เป็นพันธุ์ชนิดผลเล็ก เรียกว่า ละมุดสีดา

ส่วน ละมุดฝรั่ง นั้น ผลใหญ่กว่ามาก ผลกลมรี แล้วแต่ชนิดของพันธุ์ เท่าที่ทราบ มีไม่น้อยกว่า 6 พันธุ์ สาลี่ มะฝ่อ กระสวย ไข่ห่าน ฝาชี และพันธุ์มะกอก แต่ที่นิยมปลูกกัน มีเพียง 2 พันธุ์ คือ มะกอก กับ ไข่ห่าน

พันธุ์มะกอก ชื่อก็บอกอยู่ในตัวแล้วว่า ผลเล็ก รูปร่างรีๆ คล้ายผลมะกอก ใบแคบ ยาว สีเขียวเข้ม เวลาสุก เนื้อสีน้ำตาลแดง เนื้อละเอียด กรอบ หวาน มีความแข็งมากกว่าพันธุ์ไข่ห่าน ชาวสวนรุ่นเก่ามีเทคนิคง่ายๆ ที่ทำให้รสชาติของละมุดหวาน หอม นุ่มนวล ละมุนละไมขึ้น โดยการนำผลละมุดแก่จัดได้ที่ มาล้าง เอากาบมะพร้าวนุ่มๆถูเบาๆ ขัดผงขี้ไคลตามผิวออก นำไปแช่น้ำปูนแดงที่กินกับหมากสัก 2-3 ชั่วโมง ผึ่งลมให้แห้งสนิท แล้วจึงนำลงบรรจุลงโอ่งที่ปูด้วยใบตองแห้งรองพื้นล่าง จุดธูปปักลงไปสักดอก ปิดฝาทิ้งไว้สองหรือสามคืน ละมุดนั้นก็จะสุก รับประทานได้ หรือถ้าจะให้เลิศสะแมนแตนไปกว่านั้นแบบชาววังเขาก็จะจุดเทียนหอม อบลงไปด้วย ควันเทียนหอมก็จะรม แทรกซึมเข้าไปในเนื้อละมุด ทั้งหอม ทั้งกำซาบเพิ่มความสุนทรีย์ในการรับประทานเข้าไปอีกขั้นหนึ่งทีเดียวเชียว ใครไม่เชื่อก็ลองทำดู

ยางจากผลดิบ กิ่ง ก้านละมุดนอกจากจะเอาไปทำหมากฝรั่งแล้ว ยังสามารถนำไปสกัดทำยาถ่ายพยาธิ หรือมีการนำไปผสมกับยางชนิดอื่นทำรองเท้าบู๊ทยางก็ได้ ละมุดสุกนั้นมีวิตามิน A และวิตามิน C อยู่มาก มีธาตุสังกะสี และ เบต้าแคโรทีน บำรุงสายตา แต่ก็มีน้ำตาลสูง ผู้ป่วยเบาหวานก็ควรหลีกเลี่ยงไว้ด้วย ในต่างประเทศนั้นนิยมขยายพันธุ์ละมุดด้วยการเพาะเมล็ด ติดตา ต่อกิ่ง เนื่องจากการตอนมักไม่ค่อยได้ผล แต่สำหรับไทยเราชาวสวนเก่งกว่าฝรั่ง ตอนออกได้สบายๆ โดยมีเคล็ดว่าต้องเลือกกิ่งกระโดงที่ไม่อ่อนไม่แก่เกินไป ในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ควั่นกิ่งทิ้งไว้รอจนรอยแผลที่ควั่นเกิดเป็นตุ่มสีขาวขุ่น จึงหุ้มด้วยดินเหนียวหรือขุยมะพร้าวแช่น้ำ ประมาณอีก 2 เดือน รากก็จะออกมาเต็มตุ้ม ตัดลงไปปลูกได้

อนึ่ง ละมุด นั้นทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี ไม่ชอบน้ำขัง ชอบแสงแดดจ้า ละมุดฝรั่งปลูกจากกิ่งตอน 2-3 ปี ก็สามารถให้ผลผลิตได้ ปัจจุบันมีการทำไวน์จากละมุด ก็เป็นที่ได้รับความนิยมบ้างพอสมควร

ละมุด ไม่เรื่องมาก ปลูกไม่ยาก เวลาติดผลก็สวยงามน่ารัก แปลกตาสำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคย เอาเป็นว่าเรียกแขกได้ ปลูกเล่นๆ ทิ้งไว้สักต้นสองต้นหลังบ้านก็น่าจะโอเคอยู่นะ มีสำนวนหนึ่งที่ว่า “กลิ่นละมุด โชยมายามเช้า’’ นั่นเป็นเรื่องของผู้มีสุราในหัวใจใช้น้ำหอมกลิ่นละมุด ล้อเลียนกันเฮฮาสนุกสนานกันไปบ้างก็อย่าถือสา อย่าไปโทษต้นไม้อีกเลย ขอร้องล่ะ จริงๆ นะครับ

คณะผู้จัดงานฮอร์ติ เอเชีย และวารสารเคหการเกษตร พาสื่อมวลชนเข้าชม หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ บ้านหนองสามพราน ตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

คุณพิเชษฐ์ เจริญพร ผู้ใหญ่บ้านหนองสามพราน ผู้รับผิดชอบโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ ให้การต้อนรับคณะ นับได้ว่าสถานที่แห่งนี้เป็นตัวอย่างของเกษตรกรในการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้ใหญ่พิเชษฐ์ เล่าว่า เดิมทีพื้นที่แห่งนี้เคยเป็นไร่อ้อย ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นศูนย์เรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่บ้านหนองสามพราน โดยมีเนื้อที่ทำศูนย์เรียนรู้แห่งนี้มี 20 ไร่ ซึ่งเป็นนโยบายที่ได้รับมาจากหน่วยงานของจังหวัดกาญจนบุรี เนื่องจากพื้นที่ตรงนี้มีองค์ประกอบที่หลากหลาย ที่เหมาะแก่การทำพืชสวนเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะแหล่งน้ำ ซึ่งเป็นหัวใจที่สำคัญในการทำการเกษตร โดยโครงการนี้เริ่มจัดทำเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่านมา

“พื้นที่นี้อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน สมัครเล่น UFABET ซึ่งเป็นพื้นที่จัดสรรคนละ 10 ไร่ เลยดูคับแคบไปหน่อย ก็เลยทำให้ทางผู้ใหญ่บ้านอย่างผมเลือกที่จะรับโครงการมา เพื่อทำไว้เป็นตัวอย่างให้ชาวบ้านของผมได้ดู และเกิดการจดจำเพื่อทำไว้เป็นตัวอย่าง ซึ่งผมก็จะพยายามจะย่อจากสิ่งที่ใหญ่โต ให้มีขนาดที่เล็กลง เพื่อจะได้ให้ชาวบ้านทุกคนสามารถจับต้องได้ บนรากฐานความพออยู่พอกิน แบบเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีความหลากหลายที่จะให้ปลูกพืชสวน และเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ให้ครอบคลุมอยู่ในพื้นที่แห่งเดียวกัน” ผู้ใหญ่พิเชษฐ์ กล่าว

ส่วนที่ 2 แบ่ง 30% สำหรับเพาะปลูกพืชไร่ ไม่ว่าจะเป็นนาข้าว การปลูกไร่อ้อย และหญ้าเนเปียร์ หญ้าที่ใช้เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะการเลี้ยงช้างซึ่งกำลังนำหญ้าชนิดนี้มาใช้เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกษตรกรได้รายได้ดี ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันใช้บริโภคและนำไปจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้

ส่วนที่ 3 แบ่งเป็น 30% โดยจะใช้ทำเป็นฟาร์มเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจต่างๆ เช่น หมูหลุม ไก่ไข่ และเป็ดไข่ อีกทั้งยังเลี้ยงสัตว์น้ำที่เลี้ยงในบ่อ ได้แก่ ปลากดเหลือง ปลากดคัง ปลาสวาย ปลาบึก ซึ่งล้วนเป็นสัตว์กินพืช รวมกว่า 2,500 ตัว นอกจากนี้ ยังเลี้ยงไก่ไข่ประมาณ 225 ตัว ไก่ไทย 20 แม่พันธุ์ พร้อมเครื่องฟักลูกเจี๊ยบ เป็ด 220 ตัว หมูหลุม 20 ตัว และกำลังสร้างคอกกบอีกประมาณ 500 ตัว