มีข้อสังเกตอยู่อย่างหนึ่งคือ ห้องน้ำ ที่ไม่ว่าตรงจุดไหนในโลกนี้

ต้องแบ่งห้องน้ำผู้หญิง ผู้ชายอย่างชัดเจน ซึ่งเคยสังเกตดูหลายๆ แห่ง ห้องน้ำผู้หญิงจะมีการยืนต่อคิว บางครั้งคิวยาวออกมานอกห้องเลย เพราะกรรมวิธีการใช้ช้ากว่า แต่บนเครื่องบินนั้น ไม่มีแบ่งแยก ทุกคนมีสิทธิ์เข้าห้องน้ำที่เดียวกัน เหมือนกันหมด จะต่อคิวก็แล้วแต่มาก่อนหรือหลัง ซึ่งแล้วแต่ดวง บางครั้งคนเข้าห้องน้ำก่อนหน้าเรา ก็นานมาก ถ้าโชคดีก็ไม่นานนัก ถ้าใครท้องเสีย คงเดินทางไปต่างประเทศลำบาก ซึ่งผมเองก็เคยอยู่ 2-3 ครั้ง แต่ตอนนั้นได้ที่นั่งในชั้นสูงขึ้นไป ก็ผ่านมาได้ สำหรับห้องน้ำที่ตัวสนามบินเกาหลีเอง ก็ต้องคอยเหมือนกัน เพราะถึงแม้จะแบ่งหญิงชาย แต่ตัวห้องน้ำภายในที่เข้าไปปลดทุกข์ ก็มีแค่แห่งละ 1-2 ห้องเท่านั้น

ที่เล่าเรื่องนี้ขึ้นมา เพราะแต่ละวันผมต้องเข้าห้องน้ำหลายครั้ง และถ้าไม่ใช่บ้านเรา เช่น การเดินทางครั้งนี้ เข้าห้องน้ำแต่ละครั้ง ไม่สามารถรออ้อยอิ่งให้นานๆ ได้ เนื่องจากเกรงใจคนยืนรอคิวต่อไป เพราะเอาใจเขามาใส่ใจเรา โดยเฉพาะตอนอยู่ที่สนามบินเกาหลี มีอยู่ครั้งหนึ่ง ยืนรอตั้ง 10 นาที กว่าคนที่เข้าก่อนจะออกมา กลับมาคิดถึงในสมัยก่อนที่เคยเดินทางบ่อยๆ ตอนเข้าห้องน้ำบนเครื่อง กำลังนั่งปล่อยอารมณ์ ใจลอยเรื่อยๆ เครื่องบินได้สั่นรุนแรงมาก และมีสัญญาณ ตัวหนังสือ เขียนว่า return to your seat ซึ่งเราก็เกิดกลัว แต่ก็ยังจำเป็น ยังลุกไม่ได้ ก็ต้องนั่งอยู่ในห้องน้ำจนเสร็จ เป็นไรเป็นกัน

มาถึงลอสแอนเจลิสแล้ว ได้พบหน้าลูกสาวและครอบครัวของลูก ดีใจมากๆ ที่นี่ถึงแม้ไม่ใช่บ้านเราที่เคยชิน แต่ได้มาสัมผัสกับอากาศเย็นๆ แห้งๆ ไม่มีฝนให้ต้องกังวล และไม่มียุง บ้านเมืองสะอาด ไม่มีขยะในชุมชนให้สกปรกเลอะเทอะ ก็ได้รับความสดชื่นดี ที่นี่มีข้อเสียอยู่ข้อเดียวคือ ค่าครองชีพสูง ทุกอย่างแพงหมด และที่นี่ไม่ใช่บ้านเรา อย่างไรก็ตาม การที่เขียนครั้งนี้คงไม่มีการไปเที่ยวที่ไหนๆ เพราะความตั้งใจที่เดินทางมาครั้งนี้ เพียงแค่อยู่กับครอบครัวของลูก เล่นกับหลานๆ 3 คนเท่านั้น ขอได้อ่านตอนต่อไปเร็วๆ นี้นะครับ บู๊ (คนเคยหนุ่ม)

นายพงษ์ชัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 เปิดเผยว่า โรงเรียนบ้านโนนไผ่ขุย อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร จัดกิจกรรมดำนา เพื่อนำผลผลิตที่ได้เป็นอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน ที่ปราศจากสารเคมี และเป็นศูนย์การเรียนรู้เรื่องข้าวในโรงเรียน ซึ่งขับเคลื่อนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก

เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ จ.นครพนม หลังสถานการณ์ น้ำก่ำที่เอ่อล้นมานานนับเดือน ส่งผลให้น้ำท่วมบ้านเรือนของชาวบ้าน รวมพื้นที่การเกษตรเสียหาย หลังน้ำลดชาวบ้านในพื้นที่ได้รับผลกระทบนาข้าวเสียหาย ต่างเร่งปรับเตรียมพื้นที่ เพื่อลงทุนใหม่ทำการปักดำนารอบสอง เนื่องจากนาข้าว ที่เพิ่งปักดำได้ประมาณ 2 เดือน ถูกน้ำท่วม เน่าเสียหายหมด สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านต้องประสบปัญหาขาดทุนหนัก บางรายต้องยอมไปกู้ยืมเงินนอกระบบ มาลงทุนทำนารอบสอง เนื่องจากเกรงว่าจะไม่มีผลผลิตข้าวไว้กินในระยะยาว ยอมเสียดอกเบี้ยนอกระบบ ดีกว่าไปซื้อข้าวกิน

ส่วนการช่วยเหลือเยียวยาจากภาครัฐ ไม่เพียงพอ เนื่องจากมีการพิจารณาจ่ายเพียงไร่ละ ประมาณ 1,100 บาท แต่ต้นทุนที่ปักดำไป ตกไร่ละไม่ต่ำกว่า 2,000 บาท นอกจากนี้ในส่วนของการช่วยเหลือด้านสินเชื่อจากธนาคาร พบว่า มีขั้นตอนยุ่งยาก และให้วงเงินต่ำ ไม่เพียงพอใช้จ่าย ต้องรอขั้นตอนการตรวจสอบ พิจารณา หลายขั้นตอน ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่ยอมกู้เงินนอกระบบ รวมถึงนำทรัพย์สินบางส่วนไปขายมาลงทุน

เช่นเดียวกับชาวบ้าน ในพื้นที่ บ้านพิมานท่า และบ้านปากบัง ต.พิมาน อ.นาแก จ.นคพนม ที่ประสบปัญหาน้ำท่วม มานานเกือบ 1 เดือน เนื่องจากมีพื้นที่ตั้งอยู่ในจุดบรรจบของลำน้ำบัง กับลำน้ำก่ำ แม่น้ำ สาขาสายหลัก ของแม่น้ำโขง ทำให้ได้รับผลกระทบหนักสุด หลังบ้านเรือน เกือบ 300 หลังคาเรือนถูกน้ำท่วมขังมานานเกือบ 1 เดือน ลดสู่ภาวะปกติ แต่นาข้าวถูกน้ำท่วมเสียหายกว่า 5,000 ไร่ ชาวบ้านต้องยอมกู้เงินลงทุนอีกรอบ เพื่อเร่งปักดำนารอบสอง เพื่อหวังเก็บผลผลิตไว้กินตลอดปี เพราะไม่มีรายได้จากอาชีพอื่น บางรายต้องเป็นภาระหนี้สินเพิ่ม

นายสุรักษ์ โพนเมืองหล่า อายุ55 ปี ชาวบ้านพิมาน หมู่ 1 ต.พิมาน อ.นาแก จ.นครพนม กล่าวว่า ปีนี้ เดือดร้อนมาก นาข้าว จำนวนกว่า 10 ไร่ ถูกน้ำท่วมเน่าตายหมดไม่เหลือเพราะน้ำท่วมขังนาน ระดับน้ำสูง อีกทั้งเป็นต้นข้าวที่เริ่มปักดำได้ ประมาณ 2 เดือน ทำให้เสียหายเร็ว หลังน้ำลดตนต้องยอมไปกู้เงินนอกระบบจากคนรู้จักมาลงทุนดำนารอบ 2 ยอมไปซื้อต้นกล้าข้าวต่างจังหวัด ราคามัดละ 5 บาท มาปักดำใหม่อีกรอบ เนื่องจากช่วงนี้พ้นฤดูการปักดำ ทำให้ต้นกล้าข้าวปักดำหายาก ถึงจะขาดทุนแต่ต้องยอม เพราะไม่มีอาชีพอื่นหวังเพียงได้ผลผลิตไว้กินตลอดปี ดีกว่าไปซื้อข้าวกิน เผื่อโชคดีราคาข้าวดี จะได้ขายบรรเทาความเดือดร้อน และใช้แรงงานในครอบครัวชาวบ้านช่วยกัน ส่วนการช่วยเหลือภาครัฐถือเป็นเรื่องดี แต่ยอมรับว่าได้บางส่วนเท่านั้น เพราะลงทุนสูงไร่ละไม่ต่ำกว่า 2,000 บาท แต่การช่วยเหลือได้ไร่ละประมาณ 1,000 กว่าบาท

“นอกจากนี้ในส่วนของการช่วยเหลือให้กู้เพิ่ม ในเรื่องสินเชื่อธนาคาร ต้องยอมรับว่าขั้นตอนยุ่งยาก ต้องมีการตรวจสอบพิจารณาคุณสมบัติ หลายขั้นตอน อีกทั้งวงเงินกู้ได้น้อย บางรายมีปัญหาเพราะมีหนี้สินเก่าอีก ต้องยอมกู้นอกระบบ เพราะรวดเร็ว ไม่ต้องรอ ยอมเสียดอกเบี้ย หากเป็นไปได้ อยากให้รัฐบาลหาทางช่วยเหลือ ในรูปแบบอื่นด้วย เพราะการกู้สินเชื่อกับธนาคาร เป็นเรื่องยากสำหรับชาวบ้าน หลักทรัพย์ก็ไม่มี วอนพิจารณาหาทางช่วยเหลือ”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับแนวทางการช่วยเหลือเบื้องต้นทางด้าน จังหวัดนครพนม ได้มีการประกาศพื้นที่ประสบอุทกภัย ทั้งหมด 11 อำเภอ มีพื้นที่นาข้าวเสียหาย มากกว่า 2 แสนไร่ อยู่ระหว่างการพิจารณาช่วยเหลือจ่ายเงินชดเชยตามความเป็นจริง ไร่ละประมาณ 1,100 บาท แต่เกินคนละ 30 ไร่ ส่วนทางด้านธนาคาร ให้มีการพิจารณา ช่วยเหลือปล่อยสินเชื่อเพิ่ม ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ทั้งในเรื่องของ ฟื้นฟูที่อยู่อาศัย รวมถึงผู้ประกอบการรายย่อย รวมถึงช่วยเหลือด้านการลงทุนแก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการช่วยเหลือคาดว่าพื้นที่ จ.นครพนม มีมูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 150 ล้านบาท

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวภายหลังเข้าร่วมประชุม “การปฏิรูประบบและพัฒนาข้าวไทย” ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการศึกษาแนวทางการปฏิรูประบบและพัฒนาข้าวไทย มหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา ว่า ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต พร้อมคณะผู้บริหาร และสภาเกษตรกรแห่งชาติโดยประธานสภาเกษตรกรจังหวัดภาคกลาง ได้ร่วมหารือกันถึงแนวทางการพัฒนาข้าวไทย ซึ่งทางมหาวิทยาลัยรังสิตมีคณะนวัตกรรมเกษตร ศึกษาแนวทางพัฒนาคุณภาพข้าว มีงานวิจัยเพื่อลดต้นทุนการผลิตและการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ การวิจัยข้าวเพื่อสุขภาพ ซึ่งเป็นเรื่องที่สภาเกษตรกรฯให้ความสนใจ มองว่าเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและจะนำไปสู่การร่วมมือกันอย่างเป็นทางการต่อไป

ทั้งนี้ สภาเกษตรกรฯ ได้เสนอทิศทางการพัฒนาข้าวไทยควรต้องหนีคู่แข่งให้ได้ ต้องไม่ผลิตข้าวแบบเดิมอย่างที่เป็นมา ต้องดูคู่แข่งการตลาด เช่น เวียตนาม อินเดีย หรือแม้แต่เมียนมาร์ มีข้าวพันธุ์อะไรบ้างที่นำมาแย่งตลาด ไทยต้องพัฒนาสายพันธุ์อย่างไรให้เหนือกว่า เช่น ข้าวหอมมะลิ 105 ที่ส่งเสริมการเพาะปลูกและการตลาดมาไม่น้อยกว่า 10 ปีนั้น ควรมีเวอร์ชั่น 2 ที่หอม นุ่ม น่ากินกว่าเดิม เป็นต้น อีกเรื่องคือแต่ละพื้นที่ จังหวัด ภูมิภาคควรมียุทธศาสตร์ข้าวของตนเอง เพื่อสร้างความแตกต่างทางการตลาด เช่น ปลูกข้าวออร์แกนิค ข้าวเหนียว หรือข้าวสีต่าง ๆ จะได้ไม่ต้องแย่งกันขายและตัดราคาในตลาดเดียวกัน ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้มาด้วยงานวิจัยและพัฒนา โดยความสำคัญที่จะสร้างการใช้ประโยชน์ของผลวิจัยกับความยั่งยืนในอาชีพทำนา คือควรส่งเสริมให้นักวิจัยที่มีอยู่ในทุกองค์กร สถาบัน วางแผนการวิจัยระยะยาว และควรให้ชาวนามีส่วนร่วมในการกำหนดหัวข้อวิจัย และร่วมในงานวิจัยที่ใช้พื้นที่จริงของชาวนาเป็นแปลงศึกษา อันจะตรงเป้าหมายสามารถใช้ประโยชน์ได้จริงต่อไปในอนาคต

บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับศูนย์การค้าสยามพารากอน ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ศูนย์การค้าเซ็นเตอร์พ้อยท์ สยามสแควร์ และกลุ่มเกษตรเข้มแข็ง ผนึกกำลังจัดงาน “ข้าว สด สร้าง สุข” ขึ้นระหว่างวันที่ 17 – 20 สิงหาคม ที่ผ่านมา เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับพี่น้องเกษตรกร และสร้างการรับรู้ในกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ถึงความหลากหลายของพันธุ์ข้าวไทย ตลอดจนข้าวที่ผลิตโดยวิถีเกษตรอินทรีย์ รวมถึงแสดงศักยภาพในการสร้างผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ จากข้าว

คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชนคณะทำงานพัฒนาเศรษฐกิจรากฐาน และประชารัฐ (E3) เปิดเผยว่า “บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นกลไกหลักของคณะทำงาน E3 มีความภูมิใจที่จะนำเสนอนวัตกรรม เครื่องสีข้าวครัวเรือน ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่เชื่อมโยงข้าวเปลือกสดจากเกษตรกรสู่ครัวเรือน เครื่องสีข้าวครัวเรือนนี้จะมีรูปลักษณ์ที่ทันสมัย ขนาดกระทัดรัด ใช้งานง่าย ปลอดภัย ไม่มีฝุ่น และใช้ได้กับข้าวหลากหลายสายพันธุ์ การพัฒนานวัตกรรม เครื่องสีข้าวครัวเรือน จะช่วยสร้างช่องทางขายใหม่ให้กับชาวนาที่ผลิตข้าวคุณภาพสูงรวมถึงข้าวพันธุ์พื้นถิ่นต่างๆ โดยงาน ข้าว สด สร้าง สุข จะมีกำหนดจัดงานขึ้นระหว่างวันที่ 17 – 20 สิงหาคม พร้อมกัน ณ 3 ศูนย์การค้า คือ พาร์คพารากอน ศูนย์การค้าสยามพารากอน ลานอีเดน 2 ชั้น 2 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิร์ล และชั้น 4 ศูนย์การค้าเซ็นเตอร์พ้อยท์ สยามสแควร์ โดยตลอด 4 วันของการดำเนินงาน คณะจัดงานคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชนทั่วไป รวมถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติกว่า 100,000 คน”

คุณต้องใจ ธนะชานันท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัดเสริมต่อว่า “ภายในงาน ข้าว สด สร้าง สุข นอกจากมีการโชว์นวัตกรรมเครื่องสีข้าวครัวเรือนแล้ว ยังมีกิจกรรมมากมายอาทิ การออกร้านของเครือข่ายประชารัฐรักสามัคคีทั่วประเทศทั้ง 6 ภูมิภาค รวมกว่า 30 ชุมชน การขายเมนูข้าวหลากหลายรูปแบบจากร้านอาหารชั้นนำ อาทิ โออิชิ, Pot ministry, Coffee beans, S&P, และแสนแซ่บ การแสดงทำอาหารเมนูพิเศษจากข้าวโดยเชฟชื่อดัง รวมถึงการจัดแสดงผลงานออกแบบต่างๆ เช่น การออกแบบถุงใส่ข้าวจากดีไซน์เนอร์รุ่นใหม่ และการแสดงดนตรีบันเทิงชาวนาอีกด้วย”

เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่ทันสมัยของวงการเกษตรกรรม “เครื่องสีข้าวแบบครัวเรือน” ที่ถือเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตกับการบริโภคข้าวที่ตอบโจทย์กับวิถีชีวิตคนเมืองได้อย่างแท้จริง โดยเครื่องสีข้าวขนาดครัวเรือนจะพร้อมวางจำหน่ายในปลายปี 2560 โดยผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมและสั่งจองได้ในงานนี้

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) จัดประชุมวิชาการนานาชาติเกษตรอินทรีย์ เรื่อง ASEAN+6 Organic Agriculture Forum 2017 นำเสนอความก้าวหน้างานวิจัยด้านเกษตรอินทรีย์จากไทยและต่างประเทศ เปิดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างนักวิจัย สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศด้านวิจัยเกษตรอินทรีย์ ระหว่างวันที่ 22-24 สิงหาคม 2560 ณ ห้องบาริออสบอลรูม โรงแรมบาริออส รีสอร์ท เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา

ดร.ลักษมี ปลั่งแสงมาศ ผู้ว่าการ วว. ชี้แจงว่า เกษตรอินทรีย์เป็นระบบการผลิตที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม รักษาสมดุลของธรรมชาติและความหลากหลายของทางชีวภาพโดยมีระบบการจัดการนิเวศวิทยาที่คล้ายคลึงกับธรรมชาติและหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี เน้นการใช้อินทรีย์วัตถุและวัสดุธรรมชาติ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และ ปุ๋ยชีวภาพในการปรับปรุงบำรุงให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ต้นพืชมีความแข็งแรงสามารถต้านทานโรคและแมลงด้วยตนเอง รวมถึงการนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ประโยชน์ เช่นรวมถึงการใช้สารจากธรรมชาติในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ผลผลิตที่ได้จะปลอดภัยจากสารพิษตกค้างทำให้ปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคและไม่ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม เกษตรอินทรีย์จึงมีบทบาทสำคัญในการยกระดับความปลอดภัยด้านอาหาร การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย หรือ วว. ถือเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตรอินทรีย์มาเป็นระยะเวลายาวนาน โดยมีผลงานที่สำคัญ อาทิ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว เทคโนโลยีการบำบัดสารเคมีในน้ำโดยใช้จุลินทรีย์

สำหรับการจัดประชุมวิชาการนานาชาติด้านเกษตรอินทรีย์ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ ในหัวข้อเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับเกษตรอินทรีย์ โดยจัดกิจกรรมดังกล่าวต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากนักวิจัยในประเทศ และผู้แทนจากประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียน และ 6 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน สาธารณรัฐเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และอินเดีย ร่วมประชุมและนำเสนอรายงานความก้าวหน้าด้านเกษตรอินทรีย์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์และองค์ความรู้ระหว่างกันนักวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ นับเป็นการสร้างโอกาสและสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินงานวิจัยด้านเกษตรอินทรีย์ร่วมกันต่อไป

ปัจจุบัน พนักงานบางส่วนใช้เวลาในที่ทำงานมากกว่าอยู่บ้าน จึงทำให้พนักงานหลายคนอยากเห็นที่ทำงานของตัวเองมีสภาพการทำงานคล้ายๆ กับอยู่บ้าน ทั้งนั้นเพื่อให้คนทำงานมีความสุข มีสมาธิ และมีจิตใจที่ดี ดังเช่น เพื่อนพนักงานกลุ่มหนึ่งของโรงงานแปรรูปไก่นครราชสีมา บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ “ซีพีเอฟ” ที่ชักชวนกันสวดมนต์ที่สำนักงานทุกๆ เช้าก่อนเริ่มงาน

กิจกรรมเล็กๆ ไม่เพียงสร้างผลลัพธ์มากกว่าที่คิด ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้นด้วย ทั้งยังเป็นแรงบันดาลใจให้หลายสำนักงาน ฟาร์มทั่วประเทศ และในประเทศอื่นๆ ชวนกันทำตามอย่างต่อเนื่อง จนทำให้การสวดมนต์ในตอนเช้าเป็นหนึ่งในปรากฏการณ์องค์กรแห่งความสุขของซีพีเอฟในวันนี้
ทั้งนั้นเพราะตระหนักดีว่า “บุคลากรไ เป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน

ซีพีเอฟ จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนา “คนดี” ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะในการทำงานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาซีพีเอฟดำเนินโครงการ “ธรรมะบรรยาย” ด้วยการนิมนต์พระภิกษุที่มีชื่อเสียงมาเป็นพระวิทยากรบรรยายธรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต และการทำงานให้กับพนักงาน และชาวชุมชนรอบโรงงานมาอย่างต่อเนื่อง

จนที่สุด จึงทำให้พนักงานกลุ่มหนึ่งเกิดความคิดที่อยากจะชักชวนเพื่อนร่วมงานจัดกิจกรรมสวดมนต์ตอนเช้าขึ้น
“บุญฤทธิ์ ศรีธัญญรัตน์” ฝ่ายทรัพยากรบุคคล โรงงานแปรรูปไก่ นครราชสีมา บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ “ซีพีเอฟ” บอกว่า จุดเริ่มต้นมาจากพนักงานโรงงานแปรรูปไก่นครราชสีมา มาพูดคุยหารือกัน จนเป็นที่มาของการรวมตัวกันเป็นกลุ่มนำร่องสวดมนต์ในสำนักงาน โดยนัดกันสัปดาห์ละครั้ง ใช้เวลาประมาณ 30 นาที ในช่วงเช้าก่อนเวลาเข้าทำงาน

“โดยนำบทสวดมนต์มารวมกัน และพิมพ์แจกให้คนที่มาร่วมสวดมนต์ ซึ่งเป็นบทสวดมนต์ไหว้พระประจำวัน เสริมด้วยบทสวดโมระปะริตตัง และบทสวดกะระณียะเมตตะสุตตัง จบสวดมนต์นั่งสมาธิ และมีการพูดคุยกัน เพื่อให้ทุกคนนำหลักธรรมอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจนำไปสู่การทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข”
“อำภาพร เพียซ้าย” พนักงานฝ่ายธุรการ โรงงานแปรรูปไก่ นครราชสีมา กล่าวเสริมว่า ที่ผ่านมาเรามีโอกาสน้อยมากที่จะไปร่วมกิจกรรมของบริษัท ที่จัดกิจกรรมสวดมนต์ หรือฟังธรรมนอกสถานที่ แต่เมื่อได้ข่าวว่ามีกิจกรรมนี้ ก็ดีใจที่องค์กรเปิดโอกาสให้จัดสวดมนต์ร่วมกันที่สำนักงาน เพราะเราจะได้ร่วมสวดมนต์ทุกครั้ง

“จากการสวดมนต์ครั้งนี้ ทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของตนเองหลายอย่าง ทั้งยังช่วยให้ทำงานมีสมาธิมากขึ้น ช่วยให้คิดสิ่งใหม่ ๆ และแก้ปัญหาการทำงานได้ดีขึ้น และรู้สึกว่าตัวเองมีสติ ควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้นด้วย เนื่องจากการสวดมนต์ร่วมกันในสำนักงาน ทำให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และทีมงานทำกิจกรรมร่วมกัน ทั้งยังมีโอกาสพูดคุย ลูกน้องก็ได้แลกเปลี่ยนความคิดกับหัวหน้างานหลังจากสวดมนต์ มีส่วนช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานในสำนักงานดีขึ้นด้วย”
กิจกรรมสวดมนต์-นั่งสมาธิตอนเช้าก่อนทำงาน ไม่เพียงแต่ได้รับความสนใจจากทั้งผู้บริหาร และพนักงานในสำนักงานเพิ่มขึ้น จาก 10 คน เป็น 20 และปัจจุบันผู้บริหารและพนักงานกว่า 50 คน ร่วมกันสวดมนต์ทุกเช้าวันเสาร์ และกิจกรรมสวดมนต์ในสำนักงานยังขยายจาก 1 สำนักงาน ไปสู่โรงงาน และฟาร์มของซีพีเอฟทั่วประเทศ

จากกิจกรรมของคนกลุ่มเล็กๆ steelexcel.com จนกลายเป็นกิจวัตรประจำวันของทุกสำนักงาน และโรงงาน โดยทุกๆ เช้าก่อนเริ่มทำงาน พนักงานจะมาร่วมกันสวดมนต์ นั่งสมาธิกันก่อนจะแยกย้ายไปทำงาน ไม่เพียงจะเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เกิดความสงบในจิตใจก่อนทำงาน ยังเป็นเวลาที่ช่วยให้ผู้บริหารและพนักงานได้พูดคุยกันทั้งเรื่องงาน และเรื่องอื่นๆ และในบางสำนักงาน หากมีการประชุมช่วงเช้า ผู้บริหารยังชวนผู้เข้าร่วมประชุมสวดมนต์ก่อนเริ่มประชุมอีกด้วย

“ปานเพชร พานิชการ” ธุรกิจครบวงจรส่งออกมีนบุรีและครบวงจรไก่ ตะวันออก-กทม. บอกว่า ที่โรงงานแปรรูปไก่ มีนบุรี พนักงานร้อยละ 60 นับถือศาสนาอิสลามได้ร่วมขอดุอาอ์ในกิจกรรมเคารพธงชาติตอนเช้าสลับกับการสวดมนต์ของพนักงานชาวพุทธ เพื่อให้พระเจ้า (พระอัลเลาะห์) ประทานพรให้แก่พี่น้องมุสลิมให้ตั้งอยู่ในศรัทธาที่มั่นคง และมีกำลังกายกำลังใจในการปฏิบัติงานต่อไป
จากกิจกรรมที่เริ่มโดยกลุ่มคนเล็กๆ จนนำไปสู่การปฏิบัติงานที่ดีทางศาสนา ไม่เพียงจะช่วยยกระดับจิตใจของตนเอง ยังขยายผลจนกลายเป็นหนึ่งในกิจวัตรของชาวซีพีเอฟในวันนี้

ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการนำธรรมะมาสร้างความผูกพัน และความสุขในการทำงานของพนักงาน บอร์ด รฟม.ไฟเขียวเปิดทางสร้างรถไฟฟ้าใน 3 จังหวัดท่องเที่ยว เริ่มจากเชียงใหม่ ภูเก็ต พังงา กำหนดปลายปีนี้เสนอแผนลงทุนเข้า ครม.อนุมัติ ไม่เกินปี 2566 เปิดใช้บริการ ขณะที่หลายสายในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล เจอเลื่อนตอกเสาเข็ม

นายฤทธิกา สุภารัตน์ รักษาการผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. เมื่อวันที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมา เห็นชอบร่าง พ.ร.ฎ.ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัดเชียงใหม่ ภูเก็ต และพังงา เพื่อเป็นการมอบอำนาจให้ รฟม.สามารถดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้านอกเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลได้ โดยขั้นตอนหลังจากนี้จะเสนอร่าง พ.ร.ฎ.ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา และคาดว่าจะเสนอ ครม.เห็นชอบได้ในปลายปีนี้

นายฤทธิกา กล่าวว่า การดำเนินโครงการรถไฟฟ้าดังกล่าว รฟม.จะนำผลการศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) มาจัดทำรายละเอียด ออกแบบก่อสร้าง และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ตามขั้นตอนต่อไป เบื้องต้นคาดว่าจะเสนอโครงการระบบขนส่งมวลชน จังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ให้ ครม. เห็นชอบได้ในเดือนตุลาคม 2561 เปิดประกวดราคาเดือนธันวาคม 2561 ก่อสร้างในเดือนธันวาคม 2562 และเปิดให้บริการต้นปี 2566 และการก่อสร้างเฟสต่อไปจะเชื่อมถึงจังหวัดพังงาที่อยู่ติดกันด้วย ในส่วนของรถไฟฟ้า จังหวัดเชียงใหม่นั้น จะเสนอ ครม.เห็นชอบเดือนมกราคม 2562 ประกวดราคาเดือนมีนาคม 2562 และเริ่มก่อสร้างมีนาคม 2563 เปิดให้บริการกลางปีหรือปลายปี 2566 ขึ้นอยู่กับรูปแบบการก่อสร้าง