มีงานวิจัยที่บ่งบอกถึงการตากผลกาแฟว่าการทำให้ผลกาแฟ

แห้งอย่างช้าๆและสม่ำเสมอนั้น จะดีต่อคุณภาพกาแฟทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะช่วยยืดระยะเวลาที่กาแฟสามารถรักษารสชาติได้เมื่อเก็บรักษาเมล็ดกาแฟดิบหรือเมล็ดกาแฟสาร

การสี…กาแฟเป็นผลไม้ชนิดหนึ่ง แต่ไม่สามารถนำมากินได้ทันทีเพราะผลกาแฟดิบมีส่วนประกอบหลายชั้นตามที่กล่าวไปแล้ว โดยเฉพาะกะลาจะต้องนำเอากะลาออกด้วยเครื่องสีหรือใช้การใส่ครกแล้วตำที่คนยุคก่อนทำกันหรือปัจจุบันก็ยังมีให้เห็น สีแล้วก็จะได้เมล็ดกาแฟดิบหรือเมล็ดกาแฟสาร จากนั้นก็ต้องตรวจสอบสีและคัดแยกเอาเมล็ดกาแฟที่มีข้อบกพร่องออก เช่น เมล็ดแตก เมล็ดที่มีมอดกัดกิน เมล็ดดำ เมล็ดขึ้นรา เมล็ดที่ไม่สมบูรณ์ ผลแห้ง สิ่งแปลกปลอมหรือปลอมปน ถ้าเกษตรกรต้องการขายเมล็ดกาแฟแยกตามเกรดหรือขนาด ราคาก็จะสูงขึ้นไปอีก (เกษตรกรที่ต้องการคัดขนาดดูตามมาตรฐานสินค้าเกษตร เมล็ดกาแฟอาราบิก้า มกษ 5701-2561 และเมล็ดกาแฟโรบัสต้า มกษ 5700-2561) กระบวนการนี้แม้จะใช้เวลานาน ซับซ้อน แต่ก็ช่วยยกระดับคุณภาพกาแฟได้อย่างชัดเจนนะครับ

การบรรจุและการเก็บรักษา…เกษตรกรที่ต้องการนำเมล็ดกาแฟไปขายก็ต้องทำการบรรจุเมล็ดกาแฟลงในภาชนะหรือจะเก็บไว้ขายภายหลังหรือนำมาคั่วบดขายเองก็ต้องเก็บรักษาอย่างถูกวิธี

คุณภาพของเมล็ดกาแฟมีข้อกำหนดโดยทั่วไปเกษตรกรต้องรู้ไว้

ไม่มีกลิ่นผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นเหม็นเปรี้ยว กลิ่นรา หรือกลิ่นแปลกปลอมจากกลิ่นปุ๋ย กลิ่นสารเคมี กลิ่นดิน
มีสีตรงตามกระบวนการผลิต ทั้งของเมล็ดกาแฟอาราบิก้าหรือโรบัสต้า
มีความชื้นไม่เกิน 12.5% ของมวล
ไม่พบร่องรอยการทำลายเมล็ดกาแฟจากด้วงหรือการเข้าทำลายของมอด การบรรจุและเก็บรักษาเมล็ดกาแฟต้องบรรจุในภาชนะที่เก็บรักษาเมล็ดกาแฟได้อย่างเหมาะสม วัสดุที่ใช้ต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค สะอาด ปราศจากกลิ่นแปลกปลอมและกลิ่นไม่พึงประสงค์ สามารถป้องกันการปนเปื้อนและความชื้นจากภายนอกได้ มีตัวอย่างการบรรจุและเก็บรักษาเมล็ดกาแฟของผู้ประกอบการภาคเอกชนแห่งหนึ่งแนะนำการบรรจุเมล็ดกาแฟถึง 2 ชั้น คือถุงชั้นใน เป็นชั้นพลาสติกใสหรือสี แล้วแต่ชนิดของเมล็ดกาแฟ ที่ให้บรรจุในชั้นพลาสติกก่อนก็เพื่อป้องกันแมลง แสงแดด ความชื้นที่จะมีทั้งอากาศเข้าและออก และช่วยยืดอายุการเก็บรักษา จากนั้นบรรจุลงในกระสอบปอซึ่งเป็นชั้นนอก เรื่องการบรรจุถุงนี้มีผู้ประกอบการบางคนแนะนำให้บรรจุเมล็ดกาแฟในถุงสุญญากาศก็จะดีมาก

มีงานวิจัยว่าถุงที่ควรนำมาใช้บรรจุเมล็ดกาแฟ ได้แก่ ถุงพลาสติกหนาแบบซีล ถุงผ้าด้ายดิบ ถุงกระสอบป่าน ถุงพลาสติกหนา จะไม่พบการเข้าทำลายของด้วงกาแฟและเชื้อรา รักษาความชื้นระดับไม่เกิน 13 เปอร์เซ็นต์ ไว้ได้ เก็บในถุงพลาสติกแบบซีลดีที่สุด หรือถุงพลาสติกแบบซีลสุญญากาศ

เมื่อบรรจุเมล็ดกาแฟใส่ถุงเสร็จก็นำไปเก็บรักษาวางบนพื้นที่มีอุปกรณ์รองรับถุง สูงจากพื้นภายในโรงเก็บที่ปลอดภัยจากหนูและแมลง ไม่โดนฝน ถูกความชื้น ห่างไกลจากแหล่งปล่อยน้ำเสีย กองแกลบกาแฟไม่ควรเก็บร่วมกับสิ่งอื่น เนื่องจากกาแฟสามารถดูดกลิ่นอย่างอื่นเข้าไปด้วย ทำให้กลิ่น รสชาติกาแฟเปลี่ยน ทั้งนี้ ควรหมั่นตรวจสอบดูบ่อยๆ ก่อนส่งขาย หรือนำไปคั่วบดขายเอง

การก้าวสู่นวัตกรรมจากกาแฟ กาแฟเป็นผลไม้กินเนื้อได้แต่เมล็ดต้องผ่านการแปรรูปที่ซับซ้อนจากที่กล่าวไปข้างต้น ทั้ง โม่-หมัก-ล้าง-ตาก

กาแฟ 1 แก้ว ที่เราๆ ท่านๆ ดื่มนั้นคงไม่เพียงแค่การนำกาแฟมาชงแล้วดื่ม จะด้วยเพราะความชอบในกลิ่นหรือรสชาติก็ตามที ในกาแฟมีอะไรมากกว่ากลิ่นและรสชาติ ปัจจุบันมีการทำการวิจัยร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่ผลักดันอุตสาหกรรมกาแฟเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในจุดเด่นของผลกาแฟและหาคุณค่าของสารสำคัญที่มีอยู่ในผลกาแฟมากมาย ทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต น้ำตาล กรดโรจินิก คาเฟอีน ควินิน โพรฟิลไทโอยูรา ธีโอฟิลลีน สารแซนทีน สารอัลคานอยด์ สารฟลาวานอยด์ และการวิจัยที่จะนำผลผลิตต่างๆ ที่ได้จากกระบวนการผลิตผลเมล็ดกาแฟทั้ง ดอกกาแฟ เปลือกกาแฟ เยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟ กะลา มาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่นเครื่องดื่มใหม่ๆ จากกาแฟอีกหลายประเภท เพื่อให้กาแฟอยู่เคียงใกล้กับผู้บริโภคไปนานๆ

ปลูกกาแฟต้องมีกำไร รู้ได้ด้วยการบันทึกบัญชีต้นทุน

ผู้เขียนมีประเด็นที่จะแนะนำการบันทึกบัญชีต้นทุนให้กับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟเพื่อรู้ผลกำไรบนเนื้อที่ 1 ไร่ หรือคำนวณจากจำนวนต้นกาแฟ 177 ต้น ต่อไร่ ในแต่ละวันมีรายการใดเกิดขึ้นก็ให้บันทึก เริ่มจาก

รายได้…ประกอบด้วย 1. ขายผลกาแฟสดเชอร์รี่ 2. รายได้อื่นๆ (เช่น ขายเปลือกของผลกาแฟเชอร์รี่ ขายกะลา) จากนั้นรวมรายได้ทั้งหมดเป็นจำนวนเงินเท่าไร

ค่าใช้จ่าย…ประกอบด้วย 1. ค่าต้นพันธุ์ (ต้นพันธุ์ 1 ต้น ราคาต้นละเท่าไร เอา 3 หาร 3 ก็คือตัวเลขเฉลี่ย 3 ปีที่นำลงปลูกแล้วให้ผลผลิต บันทึกปีละจำนวนรวม 3 ปี) 2. ค่าปรับพื้นที่แปลงปลูก/ไถพรวนดิน/เตรียมดิน 3. ระบบน้ำ 4. ค่าจ้างแรงงาน 5. ค่าแรงงานตนเองในการจัดการแปลงปลูก 6. ค่าปุ๋ย/ยากำจัดศัตรูพืช 7. ค่าน้ำ/ไฟฟ้า/น้ำมัน 8. ค่าขนส่ง 9. รายจ่ายสินทรัพย์ถาวรเฉลี่ยต่อรอบการผลิต (เช่น ซื้อเครื่องพ่นยามาราคาเท่าไร เอา 3 หาร ผลลัพธ์เป็นค่าใช้จ่ายของแต่ละปีบันทึกปีละจำนวนรวม 3 ปี) 10. ค่าตาก/สี 11. ค่าบรรจุ/เก็บรักษา จากนั้นรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดก็คือต้นทุนเป็นจำนวนเงินเท่าไร

กำไร…ได้จากนำรายได้ทั้งหมดลบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ถ้ารายได้มากกว่าค่าใช้จ่าย ผลก็คือมีกำไร แต่ถ้ารายได้น้อยกว่าค่าใช้จ่าย ก็คือขาดทุน

ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ คอลัมน์แบ่งปันความรู้…สู่ภูมิภาค เรื่องกาแฟคุณภาพ…ทางออกของเกษตรกรไทยได้รายงานผลการคำนวณตัวเลขราคาขาย ต้นทุน กำไร จากการสอบถามเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟอาราบิก้าเป็นข้อมูลที่น่าสนใจ

ขายผลกาแฟสดเชอร์รี่เฉลี่ยราคาที่ 20.00 บาท ต่อกิโลกรัม ขายกาแฟสาร เฉลี่ยราคาที่ 185.00 บาท ต่อกิโลกรัม
ต้นทุนรวมผลิตผลสดเชอร์รี่อยู่ที่ 13.65 บาท ต่อกิโลกรัม ต้นทุนผลิตกาแฟสารอยู่ที่ 165.00 บาท ต่อกิโลกรัม
กำไรจากการขายผลสดเชอร์รี่ 6.35 บาท ต่อกิโลกรัม กำไรจากการขายกาแฟสาร 20.00 บาท ต่อกิโลกรัม
ติดต่อสำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่ โทร. (054) 511-214

เอกสารอ้างอิง

คู่มือการจัดการการผลิตกาแฟโรบัสต้า กรมวิชาการเกษตร
2. กาแฟอาราบิก้า ระบบข้อมูลทางวิชาการ กรมวิชาการเกษตร
Regional Letter ฉบับ 2/2563 ธนาคารแห่งประเทศไทย
เอกสารประกอบการอบรมเตรียมความพร้อมและเพิ่มศักยภาพการผลิตกาแฟอินทรีย์ สำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่ เฝ้าระวังสวนองุ่น ในช่วงที่มีฝนตกและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกองุ่นให้สังเกตการระบาดของโรคสแคปหรือโรคใบจุด มักพบอาการของโรคได้ในระยะที่องุ่นแตกใบอ่อนและเริ่มติดผลอ่อน สำหรับโรคสแคปที่พบได้ในช่วงนี้จะแสดงอาการของโรคบนใบและกิ่งก้าน ในระยะแรกจะคล้ายกับอาการของโรคแอนแทรคโนส แต่จะเห็นอาการของโรคแตกต่างกันได้อย่างชัดเจนที่ผล

ส่วนอาการบนใบ จะพบอาการบนใบอ่อนเป็นจุดแผลขนาดเล็กสีน้ำตาลอ่อนกระจายอยู่ทั่วใบ ใบหงิกงอ ต่อมาแผลขยายใหญ่ เนื้อใบที่เป็นแผลจะแห้งและเป็นรูพรุน อาการบนเถา กิ่ง ก้าน และมือเกาะ เริ่มแรกเป็นจุดแผลสีน้ำตาล กรณีโรคระบาดรุนแรง แผลขยายตัวขนาดใหญ่ติดต่อกัน แผลกลมสีน้ำตาล ค่อนข้างแห้ง ขอบแผลนูนแข็ง หากเกิดโรคบนกิ่งบริเวณส่วนยอด จะทำให้ยอดบิดเบี้ยว อาการที่ผล เกิดแผลจุดสีดำยุบตัวลง ขอบแผลนูนขึ้นเห็นได้ชัดเจน หากอาการรุนแรง แผลจะขยายใหญ่ติดต่อกัน ขอบแผลมีสีอ่อนกว่าตรงกลางแผล และแผลค่อนข้างแห้ง

หากพบการระบาดมากของโรคสแคปในช่วงแตกใบอ่อน ให้เกษตรกรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง มีอากาศถ่ายเทสะดวก อย่าให้มีใบแน่นทึบจนเกินไป อีกทั้งควรตัดและเก็บส่วนที่เป็นโรคออกจากแปลงไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดการสะสมของเชื้อสาเหตุโรค จากนั้น ให้พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชไดฟีโนโคลนาโซล 25% อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไพราโคลสโตรบิน 25% อีซี อัตรา 15 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคลอโรทาโลนิล 75% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ให้พ่นทุก 5-7 วัน

ระยะนี้จะมีฝนตกและฝนตกหนักบางพื้นที่ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรชาวสวนลำไยเฝ้าระวังการระบาดของโรคราน้ำฝน จะพบการระบาดในช่วงที่ต้นลำไยติดผลอ่อน แตกใบอ่อน และช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต การแสดงอาการที่ใบ กิ่ง และยอด ใบอ่อน กิ่งอ่อน และยอดอ่อนไหม้เป็นสีน้ำตาลเข้ม มักพบเส้นใยสีขาวขึ้นฟูปกคลุมกิ่งอ่อนและยอดอ่อน ต่อมาส่วนที่เป็นโรคจะแห้งตายอย่างรวดเร็ว หากระบาดรุนแรง จะทำให้ใบและยอดไหม้ทั่วทั้งต้น การแสดงอาการที่ผล ในระยะผลอ่อนบริเวณเปลือกผลอ่อนและขั้วผลมีสีน้ำตาลเข้ม ส่วนในระยะผลที่ยังแก่ไม่เต็มที่ จะพบผลแตกและเน่า มักพบเส้นใยสีขาวขึ้นฟูคลุม และผลจะหลุดร่วงในที่สุด

หากพบเริ่มระบาด ให้เกษตรกรหมั่นสำรวจสวนลำไยและทำความสะอาดกำจัดวัชพืชโคนต้น เก็บกวาดเศษซากพืชส่วนกิ่ง ใบ ผลที่เป็นโรคใต้ต้นไปเผาทำลายนอกสวนอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วงที่มีฝนตกชุก จากนั้นควรตัดแต่งกิ่ง ใบ และทรงพุ่มต้นลำไยให้โปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อลดการสะสมความชื้นใต้ทรงพุ่มไม่ให้มีมากเกินไป อีกทั้งเกษตรกรควรล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ทางการเกษตรต่างๆ ให้สะอาด และผึ่งแดดให้แห้งหลังการใช้งานทุกครั้งอยู่เสมอ เมื่อได้นำไปใช้กับต้นที่เป็นโรคในสวนที่มีการระบาดก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ในครั้งต่อไป

สำหรับในสวนลำไยที่พบการระบาดของโรคราน้ำฝนเป็นประจำ หลังตัดแต่งกิ่งและทำความสะอาดสวนแล้ว ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50-60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารแมนโคเซบ + เมทาแลกซิล-เอ็ม 68% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นให้ทั่วทั้งต้น ทุก 5-7 วัน และหยุดพ่นก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิตลำไยอย่างน้อย 15 วัน

รังนกนางแอ่นเป็นอาหารเสริมสุขภาพและบำรุงร่างกายชั้นยอด ในสมัยโบราณผู้ที่กินได้จะต้องเป็นระดับขุนนางจนถึงฮ่องเต้ ปัจจุบันจึงเป็นที่แพร่หลายในหมู่ชาวจีนและคนมีเงินเพราะถือว่าเป็นอาหารชั้นยอด วัฒนธรรมการกินรังนกในไทยได้รับการถ่ายทอดมาจากชาวจีนที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย ตามหลักฐานของชาวจีนบอกว่า ชาวจีนกินอาหารเป็นยา รังนกนางแอ่นจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่จัดให้คนไข้ได้กินอยู่เสมอ เพราะเชื่อว่ารังนกนางแอ่นช่วยบำรุงสุขภาพคนทุกวัย ช่วยบำรุงผิวพรรณสตรีให้อ่อนเยาว์ รวมถึงเป็นสิ่งช่วยบำรุงสุขภาพผู้ป่วยให้ฟื้นไข้ได้เร็ว ซึ่งชาวจีนได้ใช้รังนกนางแอ่นมากพอๆ กับโสม

ในทางการแพทย์แผนปัจจุบันพบว่า ในรังนกนางแอ่นมีสารประกอบที่มีคุณค่าต่อร่างกาย ช่วยกระตุ้นเม็ดเลือดขาวให้ผลิตสารต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ช่วยซ่อมแซมเซลล์เยื่อบุผิว ทำให้ผิวพรรณดูอ่อนกว่าวัย ช่วยบำรุงระบบทางเดินหายใจ บรรเทาอาการไข้หวัด

ปัจจุบันจึงเกิดธุรกิจที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์รังนกนางแอ่นสำเร็จรูปออกจำหน่าย เพื่อความสะดวกและง่ายต่อการบริโภค เช่น เครื่องดื่มรังนกแท้ เครื่องดื่มรังนกผสมโสม โดยนำรังนกนางแอ่นมาแช่น้ำแล้วทำความสะอาดหลายครั้งจนหมดสิ่งเจือปน แล้วนำมาตุ๋นกับน้ำโดยใช้ไฟอ่อนๆ แล้วจึงเติมน้ำตาลกรวดลงไป หลังจากนั้น ก็จะนำมาบรรจุใส่ขวดแล้วฆ่าเชื้อด้วยความร้อน

สำหรับในเมืองไทยนั้น มีนกนางแอ่น 3 ชนิดด้วยกัน คือ นกแอ่นกินรัง นกแอ่นกินรังตะโพกขาว และนกแอ่นหางสี่เหลี่ยม โดยรังของนกนางแอ่นทั้ง 3 ชนิดนั้นสามารถใช้กินได้ นกนางแอ่นเป็นนกขนาดเล็ก บินด้วยความเร็วเฉลี่ย 140 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง นกชนิดนี้จะอยู่ตามเกาะกลางทะเลหรือบริเวณห่างชายฝั่งทะเลไม่กี่กิโลเมตร รังนกที่อยู่ตามเกาะแก่งต่างๆ ทางภาคใต้เป็นที่นิยมของผู้บริโภค และได้มีการให้สัมปทานเก็บรังนกแก่เอกชนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479

การสัมปทานรังนกเกาะแต่ละแห่งจะมีเม็ดเงินจำนวนมหาศาลให้แก่รัฐบาลและผู้ได้รับสัมปทาน นกบนเกาะจึงได้รับการดูแลเอาใจใส่จากผู้รับสัมปทานเป็นอย่างดี เพราะจำนวนรังนกที่เก็บได้ขึ้นอยู่กับจำนวนนกที่อาศัยอยู่บนเกาะ ผู้รับสัมปทานจึงต้องรักษาสภาพแวดล้อมของเกาะเป็นอย่างดีและมีการเฝ้าระวังโดยคนงานที่มีอาวุธครบมือป้องกันไม่ให้มีการบุกรุกเกาะ จากการรบกวนของบุคคล ที่จะทำให้มีผลกระทบต่อการอยู่อาศัยของนกนางแอ่นกินรัง โดยรังนกนางแอ่นเกาะจะถูกซื้อขายกันในราคากิโลกรัมละ 1 แสนบาทขึ้นไป แล้วแต่คุณภาพของรังนก

จังหวัดกระบี่ เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีพื้นที่ติดชายทะเลด้านฝั่งอันดามัน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่นกนางแอ่นกินรังอาศัยอยู่ บนเกาะเกือบทุกเกาะของจังหวัดกระบี่ที่ไม่มีคนอยู่อาศัย เป็นที่อาศัยของนกนางแอ่นกินรังจำนวนมหาศาล จึงมีการให้สัมปทานรังนกนางแอ่นจำนวนมากในจังหวัดกระบี่ บริเวณริมชายฝั่งทะเลก็มีนกจำนวนหนึ่งมาอยู่อาศัยในอาคารบ้านเรือนที่ไม่มีคนอยู่ จึงทำให้เกิดการเลี้ยงนกนางแอ่นขึ้น

นกมาทำรังด้วยความบังเอิญ

คุณประทุม สุรินทร์วงศ์ อาศัยอยู่ที่บ้านห้วยเสียบ ตำบลเขาพนม อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ โทรศัพท์ (081) 326-5299 เล่าให้ฟังว่า ที่บ้านเป็นร้านขายวัสดุก่อสร้าง อยู่ในตลาดเขาพนม บ้านเป็นบ้านตึกแถวสองชั้นติดกันหลายห้อง ชั้นบนบางห้องไม่ได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัย แต่จะเก็บของไว้ นานๆ จึงจะเข้าไปที ทำให้มีนกนางแอ่นกินรังมาอาศัยอยู่ แต่ก็ไม่รู้เรื่องจนกระทั่งพบรังนกหล่นลงมา จึงรู้ว่าแถวนี้สามารถเลี้ยงนกนางแอ่นกินรังได้

จึงมีความคิดที่จะเลี้ยงนกนางแอ่นกินรัง เพราะว่าราคารังนกค่อนข้างสูง ในปี พ.ศ. 2551 จึงได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่องนี้ แล้วจึงว่าจ้างให้ช่างที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับสร้างที่อยู่สำหรับนกนางแอ่นกินรังจากอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีความรู้ด้านนี้มาเป็นผู้ปรับปรุงห้องพักด้านบนให้เป็นที่อยู่อาศัยของนกนางแอ่นกินรัง

จากจำนวนตึกแถวห้าห้อง ได้เจาะทะลุกันหมด และติดตั้งเครื่องเสียงเพื่อเปิดเสียงนกร้องอยู่ตลอดเวลากับการทำเครื่องพ่นหมอกเพื่อให้มีความชื้นเลียนแบบตามธรรมชาติ รวมถึงการปรับปรุงส่วนอื่นๆ ในบ้านทั้งหมดใช้เงินทุนส่วนนี้ไปประมาณ 1 ล้านบาท

ในช่วงปีแรกไม่ควรที่จะเก็บผลผลิตเนื่องจากต้องการเพิ่มปริมาณให้พ่อแม่นกมีจำนวนมากขึ้น ส่วนในปีที่สองเริ่มเก็บได้บ้างเล็กน้อย และเริ่มเก็บได้จำนวนมากในปีที่สี่และปีที่ห้า เนื่องจากปริมาณพ่อแม่นกที่เพิ่มขึ้น เฉพาะในส่วนนี้มีผลผลิตต่อปี 20-30 กิโลกรัม จึงทำให้คุณประทุมสร้างตึกขึ้นมาใหม่ในฝั่งตรงข้ามกันเป็นตึกสี่ชั้นขนาดความกว้าง 8 เมตร ยาว 16 เมตร เพื่อเป็นที่อาศัยให้นกนางแอ่นกินรังอีกเป็นแห่งที่สองในปี พ.ศ. 2557 ซึ่งในตอนนี้เริ่มเก็บผลิตได้แล้ว ใช้เงินทุนก่อสร้างตึกแห่งนี้ประมาณ 3 ล้านบาท ปัจจุบันจึงมีผลผลิตรังนกนางแอ่นของทั้งสองแห่งปีละประมาณ 50 กิโลกรัม

รังนกนางแอ่นเกิดขึ้นจากน้ำลายแม่นกที่คายออกมาเพื่อทำรัง นกนางแอ่นกินรังจะผสมพันธุ์กันปีละ 3-4 ครั้ง ส่วนใหญ่จะมีลูกครั้งละ 1-2 ตัว ลูกนกจะอาศัยอยู่ในรังประมาณ 45-50 วันก็จะบินออกไป ลูกนกอายุได้ประมาณ 8-10 เดือนก็จะอยู่ในวัยเจริญพันธุ์พร้อมที่จะเป็นพ่อแม่นก โดยปกตินกนางแอ่นกินรังจะมีอายุเฉลี่ยประมาณ 8-10 ปี

ต้องเอาใจใส่

การดูแลรักษาสถานที่ที่ให้นกนางแอ่นอยู่จะต้องเป็นที่ค่อนข้างเงียบ ไม่มีเสียงอึกกะทึกครึกโครม เพราะนกนางแอ่นไม่ชอบเสียงดัง ศัตรูของนกนางแอ่นมีตุ๊กแก หนู แมลงสาบ มด ซึ่งจะต้องป้องกันและกำจัดไม่ให้มีสัตว์เหล่านี้มารบกวนหรือทำร้ายลูกนกนางแอ่น ที่จะมีผลทำให้ลูกนกลดปริมาณลง ส่วนขี้นกจะทำความสะอาดและเก็บออกมา 2-3 เดือนครั้ง โดยเอาไปใส่สวนปาล์มเป็นปุ๋ยมูลสัตว์ การเปิดเสียงนกร้องในบ้านจะเริ่มเปิดตั้งแต่หกโมงเช้าถึงสองทุ่ม แต่จะมีพักเป็นช่วงๆ ช่วงละ 1 ชั่วโมง เพื่อพักเครื่องจำนวน 2 ครั้ง ใน 1 วัน

วิธีการเก็บรังนก

โดยปกติรังนกของคุณประทุมจะเก็บทุก 30-45 วันครั้ง โดยจะเลือกรังที่ไม่มีลูกนกอยู่ ซึ่งหมายถึงว่าลูกนกได้เติบโตจนเป็นนกใหญ่แล้ว และจะไม่กลับมาอยู่รังเดิมอีก จะสังเกตว่ามีเปลือกไข่เก่าอยู่ รังที่มีลูกนกอยู่จะไม่เก็บเพื่อให้นกเจริญเติบโตต่อไป โดยจะสังเกตว่ารังจะเริ่มมีสีเหลืองเนื่องจากผ่านเวลามาระยะหนึ่งแล้ว ในช่วงฤดูฝนจะเป็นฤดูที่เก็บผลผลิตได้มากกว่าฤดูอื่น

การจำหน่ายโดยการประมูล

หลังจากเก็บรังนกมาก็จะนำมารวบรวมใส่ภาชนะบรรจุไว้ จนได้จำนวนจึงจะนำไปขาย โดยปกติรังนกจะถูกคัดเป็น 4 เกรด เกรดเอเป็นรังนกที่มีคุณภาพที่สุดเพราะจะเป็นรังขนาดใหญ่สีขาวปลอด ไม่มีเศษขนหรือเศษใดๆ อยู่ในรังเลยซึ่งหายากมาก จะต้องเป็นสถานที่เลี้ยงขนาดใหญ่จึงจะมีรังนกเกรดเอให้คัด ส่วนใหญ่รังนกตามบ้านจะเป็นรังนกเกรดบีและซี นกที่เลี้ยงในจังหวัดแถบอันดามันนี้ส่วนใหญ่จะนำมาประมูลที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดกระบี่ ซึ่งจะมีการซื้อขายกัน 2 เดือนครั้ง เมื่อคัดเกรดและชั่งน้ำหนักแล้วก็จะวางรังนกนางแอ่นไว้ในสถานที่ประมูล ผู้จัดการสถานที่ก็จะแจ้งให้ทราบเมื่อประมูลได้ และจะมีการโอนเงินค่ารังนกให้ภายใน 2 วัน

ราคารังนกนางแอ่นบ้านเกรดเอปัจจุบันอยู่ที่ราคาประมาณ 33,000-35,000 บาท ต่อกิโลกรัม ส่วนเกรดบีราคา 25,000-27,000 บาท เกรดซี ราคา 20,000-22,000 บาท เกรดดี ราคา 13,000-15,000 บาท เนื่องจากรังนกบ้านมีราคาถูกกว่ารังนกเกาะหลายเท่า และเมื่อนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ผู้บริโภคไม่สามารถแยกแยะได้ว่าเป็นรังนกชนิดใด อีกทั้งยังไม่มีข้อมูลทางงานวิจัยที่เชื่อถือได้ระบุความแตกต่างของคุณประโยชน์ของรังนกทั้งสองชนิดว่าแตกต่างกันอย่างไร การลงทุนสร้างบ้านเพื่อให้นกนางแอ่นอาศัยจึงเป็นธุรกิจที่น่าลงทุนสำหรับคนที่พร้อมเนื่องจากต้องใช้จำนวนเงินลงทุนมากและสถานที่ที่เหมาะสม

บ้านยืนบุรีฟาร์มเห็ด เกิดจากการทำเห็ดนางฟ้าไว้บริโภคในครัวเรือน

เริ่มต้นจากที่ คุณวีระชาติ ยืนบุรี มีงานประจำ แต่ก็มองหาอาชีพเสริมไปด้วย ซึ่งขณะนั้นมีกิจกรรมทางการเกษตรหลายอย่าง เช่น เลี้ยงนกกระทา เพาะถั่วงอก ปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ และเพาะเห็ดนางฟ้า เพื่อมองหาสิ่งที่เหมาะสมสำหรับตน ภายหลังคุณวีระชาติได้ข้อสรุปว่า การเพาะเห็ดลงตัวที่สุด

“ตอนนั้นเริ่มทำก้อนเห็ดจากฟางข้าว ในตอนแรกฟางข้าวก็ไม่ได้ซื้อ ไปเก็บในแปลงนามานั่งสับ หมัก ใส่ถุง ทำมือทุกขั้นตอน ทำเล็กๆ เรื่อยๆ ขยับขยาย จากเก็บฟางข้าวจากแปลงนาเป็นซื้อฟางข้าวอัดแท่ง ซื้อขี้เลื่อยไม้ยางพารา ประกอบกับการทำงานประจำมีเวลาให้ครอบครัวน้อย เพราะต้องออกพื้นที่บ่อย จึงตัดสินใจลาออกจากงานประจำ ยิ่งภรรยาก็สนับสนุนให้ทำการเกษตร จะได้มีเวลาดูแลครอบครัว จึงผันตัวเองจากพนักงานประจำมาเป็นเกษตรกรเพาะเห็ดถุง จากวันนั้นถึงปัจจุบันได้สะสมความรู้และประสบการณ์ในการเพาะเห็ดเป็นเวลา 4 ปีแล้ว”

ฟาร์มเห็ดแห่งนี้ ทำเห็ดแบบครบวงจร ตั้งแต่การทำเชื้อวุ้น ทำก้อนเเชื้อ มีโรงเรือนเปิดดอก แปรรูป ตลอดจนออกตลาดจำหน่ายสินค้าสู่ผู้บริโภคโดยตรง

ผลิตภัณฑ์ของฟาร์มมีก้อนเชื้อเห็ด และดอกเห็ด หลากหลายสายพันธุ์ เช่น นางฟ้าภูฏาน นางรม เป๋าฮื้อ หูหนู เห็ดแครง และเห็ดหลินจือแดง ส่วนสินค้าแปรรูปมีข้าวเกรียบเห็ดนางฟ้า น้ำพริกเผาเห็ด ทองพับเห็ด เห็ดสวรรค์ เห็ดสมุนไพร น้ำเห็ดสามอย่าง น้ำเฉาก๊วยเห็ดหูหนู และเห็ดหลินจือแดงอบแห้ง เป็นต้น

คุณวีระชาติ บอกว่า การทำฟาร์มเห็ดไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่ายเกินไปนัก ต้องอาศัยการดูแลใส่ใจจากคนทำ เพราะมีความละเอียดอ่อน

การดูแลก้อนเห็ด

ลักษณะโรงเรือน : สามารถกันแดดและกันฝนได้ อากาศถ่ายเทได้สะดวก ควรรักษาอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 25-32 องศาเซลเซียส ความชื้น 70-90 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมกับก้อนเห็ดนางฟ้า

การเปิดดอก : เมื่อเชื้อเห็ดเดินเต็มถุงแล้ว ให้เปิดจุกสำลีออก วางก้อนเห็ดในแนวนอน รดน้ำที่พื้นโรงเรือนทุกเช้า-เย็น ในวันที่อากาศชื้นหรือฝนตก ไม่ต้องรดน้ำก็ได้ ระยะเวลา 3-7 วัน เห็ดจะเริ่มออกดอก

การรดน้ำ : เมื่อเห็ดเริ่มออกดอก ให้รดน้ำผ่านก้อนเชื้อเห็ด ระวังอย่าให้น้ำเข้าก้อนเชื้อเห็ด เพราะจะทำให้ก้อนเชื้อเห็ดเน่าได้ รดน้ำเช้า-เย็น หากอากาศร้อนมากก็เพิ่มรอบการรดน้ำมากขึ้นได้

การเก็บดอก : เมื่อเห็ดเริ่มแทงดอก ใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน ก็เริ่มเก็บดอกเห็ดได้ โดยใช้มือจับโคนเห็ดทั้งหมดแล้วดึงออกทั้งช่อ อีกประมาณ 7-10 วัน ดอกเห็ดก็ออกดอกจนสามารถเก็บได้อีกครั้ง

กระบวนการทั้งหมดในแปลงเกษตร ทำให้คุณวีระชาติมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,000-30,000 บาท

คุณวีระชาติ กล่าวว่า รู้สึกภาคภูมิใจในงานที่ทำ เพราะเป็นผู้ผลิตเห็ด ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนชั้นยอดให้แก่ผู้บริโภคได้รับประโยชน์อันทรงคุณค่าอย่างแท้จริง และได้รับเกียรติให้เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องการเพาะเห็ดและแปรรูปเห็ดให้กับกลุ่มแม่บ้านและผู้ที่สนใจ

สรุปองค์ความรู้ที่ใช้

การผลิต ในการผลิตก้อนเชื้อเห็ดนั้น จะเน้นทำแบบอินทรีย์โดยมีการหมักขี้เลื่อยกับน้ำหมักจุลินทรีย์ผลิตขึ้นเองเพื่อลดต้นทุนและให้มีคุณภาพตามที่ต้องการ การเปิดดอกเห็ดหลังจากที่เปิดดอกแล้วจะไม่มีการใช้สารเคมีใดๆ ทั้งสิ้น แต่จะใช้สารชีวภาพในการลดปริมาณแมลงศัตรูพืชหรือเชื้อรา เช่น น้ำส้มควันไม้ น้ำหมักชีวภาพหมักไมโตฟากัสและบีที เป็นต้น สำหรับการแปรรูป พยายามคิดค้นและทดลองผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ขึ้น เพื่อให้เกิดความหลากหลายและเป็นตัวเลือกให้แก่ผู้บริโภควัตถุดิบที่นำมาใช้เป็นส่วนประกอบ จะคัดสรรวัตถุดิบที่มีคุณภาพให้แก่ผู้บริโภค
การตลาด เมื่อมีการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพในรูปแบบเกษตรอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมี ก็มีการจำหน่ายได้ราคาดี เพราะผู้บริโภคไว้วางใจ ส่วนสินค้าแปรรูปเมื่อมีความหลากหลาย อร่อย ได้ประโยชน์ ทำให้ลูกค้ามีความสนใจและยินดีที่จะจ่ายเงินซื้อสินค้าไปบริโภค

คุณวีระชาติ บอกถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จในการทำการเกษตรแบบนี้ว่า ประเด็นสำคัญอยู่ที่เมื่อคิดแล้วลงมือทำ มีความขยันหมั่นเพียร ความอดทนหมั่นศึกษาหาความรู้และวิทยาการใหม่ๆ เพื่อนำมาปรับปรุงคุณภาพของสินค้าให้ดียิ่งขึ้น และมีความพอเพียง มีเหตุมีผลในการดำเนินชีวิต

ส่วนแนวคิดในการทำงานนั้น มีการผลิตก้อนเชื้อเห็ด เว็บ SBOBET ดอกเห็ดสดที่มีคุณภาพ ตลอดจนสินค้าแปรรูปจากเห็ดที่สะอาดปลอดภัยเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์ที่เเท้จริงจากการบริโภคเห็ด และยังให้ความรู้คำแนะนำเกี่ยวกับการเพาะเห็ดให้แก่ผู้ที่สนใจ

ผู้สนใจติดต่อได้ที่ คุณวีระชาติ ยืนบุรี บ้านยืนบุรีฟาร์มเห็ด เลขที่ 190/3 หมู่ที่ 5 ตำบลสทิงหม้อ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา โทรศัพท์ (088) 398-1871 Facebook : บ้านยืนบุรีฟาร์ม, ID line : navaanavin

ในสถานการณ์ที่เรียกได้ว่าต้องปากกัดตีนถีบ ใครที่จะเริ่มต้นประกอบอาชีพหรือกิจการต่างๆ ก็ยิ่งยากขึ้น แม้แต่คนที่มีงานประจำอยู่แล้วก็ต้องเกาะไว้ให้แน่น ซึ่งในตอนนี้เกาะให้แน่นอย่างเดียวเห็นทีคงจะไม่พอ สำคัญอยู่ที่ต้องรู้จักการปรับตัวตามยุค ตามเศรษฐกิจ ที่เปลี่ยนแปลงเพื่อหาทางรอด 1 คน ต่อ 1 อาชีพ คงไม่อาจอยู่ได้อย่างมั่นคงได้ในยุคนี้

คุณสุทธิวัฒน์ วียะศรี หรือ พี่เวส เจ้าของไร่วียะศรี พ่วงด้วยตำแหน่งประธานเครือข่ายยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ เชียงใหม่ อยู่ที่ 287 หมู่ที่ 4 ตำบลยุหว่า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เกษตรกรรุ่นใหม่ผู้ปรับตัวให้ทันยุคสถานการณ์ในปัจจุบัน ที่จากเดิมเป็นเกษตรกรปลูกพืชเชิงเดียว คือ การปลูกเมล่อนญี่ปุ่น มานานกว่า 8 ปี แต่ในตอนนี้ต้องเพิ่มเติมปรับเปลี่ยนปลูกพืชผสมผสาน เพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัย และเป็นทางรอดให้กับครอบครัว

พี่เวส เล่าถึงที่มาของจุดเริ่มต้นการทำเกษตรและการเปลี่ยนภายในสวนว่า ตนเรียนจบปริญญาตรี คณะอุตสาหกรรมเกษตร และปริญญาโท คณะเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งจุดเริ่มต้นของการจะทำเกษตรกรรมเกิดขึ้นในตอนสมัยกำลังเรียนปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ ไปสะดุดกับคำที่อาจารย์สอนเรื่องของ Opportunity cost คือค่าเสียโอกาส เพราะในทางเศรษฐศาสตร์การมีโอกาสสามารถตีเป็นมูลค่าได้ จึงลองคิดเล่นๆ ว่า ในตอนนั้นตนเองมีค่าเสียโอกาสอะไรบ้าง ก็ฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า ที่บ้านมีพื้นที่ของคุณปู่อยู่ประมาณ 8 ไร่ ปล่อยให้ชาวบ้านแถวนั้นเช่าทำนาเฉยๆ แล้วแบ่งผลผลิตกันคนละครึ่ง ทำนาแค่ปีละครั้ง นอกจากนั้นก็เป็นพื้นที่ว่างเปล่าไม่เกิดประโยชน์ จึงคุยกับคุณพ่อขอแบ่งพื้นที่จากคุณปู่มาใช้ทำการเกษตร ที่มีผลตอบแทนต่อพื้นที่สูงๆ เลือกพืชที่เป็นพืชเศรษฐกิจ ในช่วงแรกคิดไว้ว่าจะปลูกหลายอย่าง ทั้งอินทผลัม ลำไย ข้าว แต่สุดท้ายมาจบที่เมล่อนญี่ปุ่น