มีงานให้ทำทุกวัน ทำแบบไม่เร่งรีบ ไม่หักโหม งานที่ดูแลอยู่

ก็สังเกตแมลงศัตรูส้ม ดูการเข้าทำลายของโรค ถ้าพบก็จะใช้โทรศัพท์ถ่ายภาพไว้ ปลิดผลส้มที่ไม่สมบูรณ์ต้นที่ติดผลดกมากเกินไป ไม่ให้หญ้าขึ้นรกรุงรัง เปิดน้ำให้ต้นส้มด้วยสปริงเกลอร์ น้ำที่ใช้สูบขึ้นจากสระที่ไม่มีสารพิษเจือปน”

การให้ปุ๋ยกับต้นส้มเขียวหวาน คุณสมทรง บอกว่า ใส่เพียงปีละครั้งเท่านั้น ใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลหมูแห้ง หมูเลี้ยงเอง เลี้ยงแบบอินทรีย์ ใส่ต้นละ 1 ถุง (ถุงอาหารสัตว์) ประหยัดต้นทุนได้มากทีเดียว แต่ดินตรวจดูคุณภาพก็ยังมีธาตุอาหารที่จำเป็นแก่ส้มอย่างสมบูรณ์ มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์อยู่ในดิน นอกจากนั้นก็ดูแนวกันลมที่เป็นแนวต้นไผ่ ปลูกไว้เป็นด้านๆ ไป

“อยู่บ้านก็ทำบันทึกต่างๆ อย่างวันนี้เข้าสวนส้ม ทำอะไร… พ่นฮอร์โมนที่ผลิตใช้เอง พ่นสมุนไพร พบอะไรก็บันทึก บันทึกบัญชีฟาร์ม ต้นทุนต่างๆ” คุณสมทรง กล่าว

ขายส้มเขียวหวานผ่านสื่อออนไลน์ มีรายได้เป็นกอบเป็นกำ

เมื่อกล่าวถึงการขายส้มเขียวหวาน คุณสมทรง เปิดเผยว่า ปีนี้ราคาส้มเขียวหวานที่สวนยังได้ราคาไม่สูงนัก เลยหาวิธีการขายด้วยการใช้สื่อออนไลน์ ทางไลน์ หรือประชาสัมพันธ์กิจกรรมในสวนส้มให้เห็น ผ่านทางเฟซบุ๊ก ชื่อ หญิงแพร่ทำเกษตร ขายได้ถึงกิโลกรัมละ 60 บาท

“สั่งซื้อมาก็แพ็กใส่กล่อง เช็ดทำความสะอาดผิวส้ม ไม่ได้ใช้แว็กนะ จากนั้นปิดกล่อง ส่งทางไปรษณีย์ไปให้”

อีกทางหนึ่งคุณสมทรงว่า คั้นน้ำส้มสดๆ บรรจุขวดแช่เย็นขาย หรือส่งตามที่เขาสั่งซื้อ หากปริมาตร 250 ซีซี ขายขวดละ 20 บาท คุณสมทรง ย้ำว่าไม่มีสิ่งเจือปนหรือส่วนผสมใดๆ ในน้ำส้มคั้นเป็นอันขาด

ณ วันนี้ แปลงส้มเขียวหวานของคุณสมทรงได้รับหนังสือสำคัญรับรองแปลงเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGS PGS ประเภทการรับรองระยะปรับเปลี่ยน หากกล่าวถึงมาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยมีหลายหน่วยงานที่ดำเนินการขับเคลื่อนส่งเสริมกันอยู่ในการรับรองผลผลิตและมอบฉลาก หรือเครื่องหมายต่างๆ ให้แก่ผลิตภัณฑ์ของเกษตรกรผู้ผลิตนำไปติดบนผลิตภัณฑ์

เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่น มั่นใจถึงความปลอดภัยของสินค้า และสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปยังแหล่งผลิตได้ แต่ในชุมชนชนบทนั้นการซื้อหาพืชผักเพื่อนำไปประกอบเป็นอาหารในชีวิตประจำวัน มักจะไม่ได้คำนึงถึง หรือขาดเครื่องไม้เครื่องมือในการตรวจหาสารตกค้าง จะมีวิธีการใดที่จะเปลี่ยนวิธีการบริโภคของคนในชุมชนนั้นๆ ในเรื่องความปลอดภัยทั้งของเกษตรกรผู้ผลิต ผู้บริโภค หรือคนทั่วไป ต่างให้ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ว่าผลผลิตทางการเกษตรนั้นปลอดภัยต่อผู้บริโภค ผู้บริโภคเองก็สามารถเข้าไปดู เยี่ยมชมกระบวนการผลิต หรือเชิญผู้มีความรู้ไปให้ความกระจ่างในขั้นตอนต่างๆ

PGS : การรับรองมาตรฐานผู้ผลิต

ตามหลักการและมาตรฐานเกษตรอินทรีย์

จากการที่คุณสมทรงได้ไปเข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มเกษตรอินทรีย์ PGS นั้น PGS ชื่อเต็มคือ Participatory Guarantee System ซึ่ง ส.ป.ก. ร่วมกับมูลนิธิสายใยแผ่นดิน หรือ Green net นำมาใช้ โดยใช้มาตรฐาน IFOAM ร่วมกับระบบการตรวจรับรองแบบมีส่วนร่วม เป็นระบบที่สร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้าให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค

PGS เป็นการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์รูปแบบหนึ่งที่เป็นการรับรองเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของกลุ่ม โดยองค์กรของผู้ผลิตเอง หรือผู้ซื้อผลผลิตจากเกษตรกร ถือว่าเป็นระบบประกันคุณภาพในระดับท้องถิ่นที่ให้การรับรองผู้ผลิตโดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และตั้งอยู่บนพื้นฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แล้วเกิดการขยายผลที่มีประสิทธิภาพ เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน

PGS เป็นการพัฒนามาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ เพราะมีหลักการ มีองค์ประกอบ มีรูปแบบที่ชัดเจน มีระบบการตรวจสอบย้อนกลับ โดยเฉพาะในเรื่องการมีกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สามารถละลายพฤติกรรมของเกษตรกรจากประสบการณ์เดิมๆ สู่แนวคิดวิธีการใหม่ๆ สู่การปรับเปลี่ยนวิถีการผลิต และคุณภาพชีวิตของคนและชุมชน

ในประเทศไทยเท่าที่มีข้อมูล มีเกษตรกรกลุ่มนำร่อง เฉพาะในภาคเหนือ ใช้ระบบ PGS มาดำเนินการอยู่ อย่างเช่น สหกรณ์เกษตรอินทรีย์ เชียงใหม่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์แม่มอก ลำปาง กลุ่มเกษตรอินทรีย์ศรีเทพ เพชรบูรณ์ (รายละเอียดท่านสามารถศึกษาได้จากเว็บไซต์)

สุดท้ายของการสนทนา คุณสมทรง อุตมา สาวแพร่ทำเกษตรคนเก่ง บอกความในใจว่า “จากแนวคิดของเราตั้งแต่ต้น สามารถชี้ชัดถึงเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีต ให้คนในพื้นที่ได้เข้าใจอย่างมีเหตุมีผล การปฏิบัติของเราจะส่งผลให้คนในชุมชนเกิดความภาคภูมิใจในการทำเกษตรอินทรีย์ และนำมาสู่พลังที่เข้มแข็ง ดังนั้น ครอบครัวเราจะจับมือร่วมกันทำเกษตรอินทรีย์ให้ก้าวหน้าและยั่งยืน”

ส้ม เป็นพืชที่ปลูกยาก มีปัญหาสารพัด แต่ก็ไม่ได้เหนือความสามารถของเกษตรกรชาวสวนของอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา สามารถแก้ไขและปลูกให้ได้ผลผลิตดีและขายได้

คุณสมคิด คำจันทรา เกษตรกรชาวสวน ซึ่งอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 146 หมู่ที่ 4 ตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ดีกรีรางวัลเกษตรกรอาชีพทำสวนดีเด่น ระดับเขตภาคเหนือ และรางวัลชมเชย ระดับประเทศ เล่าให้ฟังว่า ตนเองมีอาชีพทำสวนมาตั้งแต่หนุ่ม ทั้งลิ้นจี่ที่เป็นผลไม้มีชื่อของอำเภอแม่ใจ ส้ม และมะม่วง โดยเฉพาะ ส้มตนเองเคยปลูกมาครั้งหนึ่ง เมื่อปี 2544 หรือเกือบเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากประสบปัญหาเรื่องโรคกรีนนิ่ง และราคาไม่จูงใจ จึงล้มต้นส้มไปปลูกมะม่วงแทน จนกระทั่งปัจจุบันมีการทดลอง และแก้ไขปัญหาในเรื่องโรคกรีนนิ่งโดยการใช้ยาปฏิชีวนะเข้ามาแก้ไข และตนเองได้ไปศึกษาเรียนรู้การปลูกส้มสายน้ำผึ้งจากเกษตรกรชาวสวนที่อำเภอฝาง มั่นใจว่า ทำได้ ได้แบ่งพื้นที่มาปลูกส้มสายน้ำผึ้ง โดยซื้อต้นพันธุ์จากอำเภอฝางมาปลูก ตั้งแต่ ปี 2558 โดยปลูกในพื้นที่ 4 ไร่ ระยะห่างระหว่างต้นระหว่างแถว 4×6 เมตร มีจำนวนประมาณเกือบ 300 ต้น

ปีที่แล้วขายได้เงินประมาณ 400,000 บาท แต่ปีนี้มีปัญหาเรื่องสภาพอากาศ ทำให้เพลี้ยไฟไรแดงระบาด ทำให้ผลผลิตลดลง รายได้ลดลง ปีนี้น่าจะได้ประมาณ 200,000 กว่าบาท สวนส้มสายน้ำผึ้งของตนเองได้เปรียบบางสวนคือ อยู่ใกล้อ่างเก็บน้ำ ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำ และที่เลือกปลูกส้มสายน้ำผึ้ง แทนที่จะเลือกปลูกส้มเขียวหวานสายพันธุ์อื่นเพราะรสชาติของสายน้ำผึ้งจะแตกต่างจากเขียวหวาน คือมีรสหวานอมเปรี้ยว ซึ่งตรงกับความชอบของวัยรุ่น และวัยกลางคน ซึ่งเป็นผู้บริโภคส่วนใหญ่ ราคาขายต่ำสุดอยู่ที่กิโลกรัมละ 35 บาท ส่วนส้มคั้นน้ำยังได้ราคาถึง 15 บาท ถูกกว่าส้มเขียวหวานเกรดบีเพียง 5 บาท ประกอบกับผลผลิตจะออกมาในช่วงเทศกาลสำคัญ ทั้งปีใหม่และตรุษจีน ทำให้ไม่มีปัญหาในเรื่องตลาด มีแต่ผลผลิตจะไม่พอขายเท่านั้น

ลักษณะประจำพันธุ์ของส้มสายน้ำผึ้ง

ทรงพุ่ม ส้มสายน้ำผึ้งมีการเจริญเติบโตได้ดีพอๆ กับส้มเขียวหวาน โดยจะมีทรงพุ่มแน่นกว่าส้มเขียวหวาน ลักษณะกิ่งและใบจะตั้งขึ้น ในขณะที่ส้มเขียวหวานใบจะตก หรือห้อยลงมา ใบ ของส้มสายน้ำผึ้งเมื่อเทียบกับส้มเขียวหวานจะมีขนาดเล็กและมีสีเขียวเข้มมากกว่า นอกจากนี้ ใบยังมีกลิ่นหอมคล้ายส้มจีนและส้มพองแกน

ผล ส้มสายน้ำผึ้งมีลักษณะผลคล้ายส้มเขียวหวานมาก ขณะที่ผลยังอ่อนจะมีสีคล้ายส้มเขียวหวาน เมื่อแก่จัดผิวจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแดง ยกเว้นผลส้มที่ได้จากภาคใต้จะมีสีผิวเหมือนกันกับส้มเขียวหวาน ปอกเปลือกง่าย เปลือกมีกลิ่นหอมคล้ายส้มจีน หรือส้มพองแกน

ส้มพันธุ์นี้มีช่วงเวลาการเก็บเกี่ยว 8-8 เดือนครึ่ง ในการปลูกจากกิ่งตอนจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในปีที่ 3 กิ่งตอนส้มสายน้ำผึ้ง ต้นส้มที่เจริญเต็มที่ให้ผลผลิตมาก 80-200 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี แปลงปลูกส้มสายน้ำผึ้งขนาดใหญ่อยู่ในเขตภาคเหนือ

การเลือกพื้นที่ ถ้าเป็นพื้นที่ดอน ให้ขุดตอไม้ออก ไถพรวนให้ลึก 30-40 เซนติเมตร ปรับพื้นที่ให้เรียบ แล้วขึ้นแปลงเป็นรูปลอนลูกฟูกขวางทางแสงอาทิตย์ กว้าง 3 เมตร สูง 40 เซนติเมตร ไม่จำกัดความยาว โดยให้มีพื้นที่ว่างระหว่างแปลง 3 เมตร สำหรับให้เครื่องจักรเข้าทำงานได้โดยสะดวก ทำร่องน้ำ เพื่อระบายน้ำที่ไหลออกจากแปลงลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ

ถ้าเป็นพื้นที่ลุ่ม ขุดเป็นร่องหรือยกร่อง โดยมีสันร่องซึ่งจะใช้ปลูก กว้างประมาณ 6 เมตร ร่องน้ำ กว้าง 1.50 เมตร ลึก 1 เมตร ก้นร่องน้ำกว้าง 70 เซนติเมตร การยกร่องควรทำขวางแสงอาทิตย์ เพราะจะทำให้ร่องได้รับแสงสม่ำเสมอทั่วถึง กรณีที่ลุ่มมากต้องทำคันกั้นน้ำรอบสวน มีท่อระบายน้ำเข้า-ออก จากสวนได้

การจัดระยะปลูก การจัดวางแนวปลูกควรทำให้เหมาะสม โดยอาจใช้ระยะปลูก 2×6, 3×6, 3×7 หรือ 4×6 และควรจัดแถวในแนวขวางแสงอาทิตย์ เพื่อไม่ให้ต้นส้มบังแสงกัน การเลือกระยะปลูกมีความสำคัญ ระยะปลูกใกล้จะมีข้อดี คือให้ผลผลิตมาก เช่น ในช่วงปีที่ 3-5 การปลูกในระยะ 2×6 จะให้ผลผลิตในปริมาณมากกว่าการปลูกที่ระยะ 4×6 ถึง 1 เท่าตัว แต่อาจจะเกิดปัญหาเรื่องการสะสมของโรคและแมลง เนื่องจากการเบียดชิดกันของทรงพุ่ม

การเตรียมดิน ก่อนที่จะลงมือปลูกส้ม สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ การวิเคราะห์สภาพของดิน แล้วปรับปรุงดินไปตามคุณสมบัติของดิน เช่น การเติมอินทรียวัตถุ ปูนโดโลไมท์หรือยิปซัม สำหรับปริมาณที่ใส่นั้นก็ขึ้นอยู่กับผลการตรวจวิเคราะห์สภาพของดินนั่นเอง วิธีการใส่ ควรใส่ในแนวของแถวปลูกที่กำหนดไว้ โดยให้กว้างประมาณ 2 เมตร ยาวไปตามแปลงปลูกแล้วไถกลบให้เข้ากัน แล้วทิ้งไว้ 1 ฤดูฝนก่อนปลูก ตัวอย่างดินที่เก็บมาวิเคราะห์สามารถส่งไปตรวจได้ที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร (สวพ.) ทั้ง 8 เขต

การเตรียมระบบน้ำ การติดตั้งระบบให้น้ำควรใช้หัวสเปรย์ขณะที่ต้นส้มยังเล็ก เมื่อส้มมีขนาดทรงพุ่มที่ใหญ่ขึ้นก็อาจเปลี่ยนเป็นมินิเสปรย์หรือมินิสปริงเกลอร์ที่มีอัตราการจ่ายน้ำ 150-250 ลิตร ต่อชั่วโมง หรือใช้ท่อฉีดน้ำแบบบิ๊กกัน ท่อฉีดน้ำแบบมินิสปริงเกลอร์ ท่อฉีดน้ำแบบบิ๊กกัน

การเลือกต้นพันธุ์ การปลูกต้นส้มในปัจจุบันนิยมใช้ 2 วิธี คือ การปลูกจากกิ่งตอนและใช้วิธีการติดตากับต้นตอ การปลูกจากกิ่งตอน อาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องโรคที่ติดมากับต้นพันธุ์ ต้นโทรม อายุสั้น ผลร่วง ผลด้อยคุณภาพ ดังนั้น ในการเลือกต้นพันธุ์ ควรใช้ความพิถีพิถันในการเลือกโดยซื้อต้นพันธุ์จากแหล่งที่เชื่อถือได้

ต้นส้มที่เจริญจากกิ่งตอน อีกทางเลือกหนึ่งคือ การใช้ต้นติดตาโดยนำตาปลอดโรคมาจากต้นที่แข็งแรงเจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอนำมาติดตาบนต้นตอที่ทนทานต่อโรครากเน่าโคนเน่า ต้นตอที่นิยมใช้มี 3 ชนิด คือ

คลีโอพัตรา
ทรอยเยอร์
สวิงเกิล
แต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป ควรเลือกใช้ต้นตอให้เหมาะกับพื้นที่ ดังนี้ ต้นตอคลีโอพัตรา ให้ต้นใหญ่ ผลขนาดเล็ก คุณภาพผลสูง โตช้าในระยะแรก ทนทานต่อเกลือได้ดี ทนโรคทริสเตซ่าและความหนาว ได้ผลดีกับสภาพดินเหนียวภาคกลาง แต่อาจอ่อนแอต่อโรคโคนเน่าและรากเน่า ปรับตัวได้ดีกับดินหลายประเภท และต้องการน้ำมาก

ต้นตอทรอยเยอร์ ให้ต้นขนาดมาตรฐาน ผลผลิตสูง ผลใหญ่ ผลมีคุณภาพดี ทนทานต่อโรครากเน่าโคนเน่าและทริสเตซา แต่ไม่ทนต่อโรคกรีนนิ่ง ไม่ทนดินเค็ม อ่อนแอต่อไส้เดือนฝอย ทนหนาวได้ปานกลาง อ่อนแอต่อเอ็กโซคอร์ทิส ปรับตัวเข้ากับชนิดของดินได้หลายประเภท ยกเว้นดินด่าง ดินเค็ม และดินเหนียว ทนต่อโรครากเน่าโคนเน่า ไส้เดือนฝอย ทนเค็มได้ระดับดี ให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดี ทนสภาพดินน้ำขังได้ดี เป็นต้นตอที่ดีของส้มหลายชนิด แต่อาจจะมีปัญหาการเข้ากันได้ไม่ดีกับส้มเขียวหวานบางชนิด เช่น อิมพีเรียล ไม่ชอบดินด่าง

ขนาดของต้นติดตาโตได้มาตรฐานพร้อมลงปลูกในแปลง คือ มีขนาดเส้นรอบวงที่โคนต้นไม่ต่ำกว่า 1.50 เซนติเมตร และมีความสูงจากโคนต้นถึงเรือนยอดไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร

ต้นตอสวิงเกิล ให้ลำต้นใหญ่ อวบ สีขาว มีหนาม ใบแหลม ใหญ่หนามี 3แฉก เป็นเมล็ดพันธุ์นอก ออกผลนอกฤดูและในฤดูก็ออกผลตามปกติ ผลใหญ่ ผลดก เป็นต้น

ขั้นตอนการปลูก วัดระยะปลูกและกำหนดจุดปลูก โดยแถวปลูกควรอยู่บริเวณกึ่งกลางแปลงแต่ละแปลง ขุดหลุมขนาด 50x50x50 เซนติเมตร ผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกกับดินที่ขุดขึ้นมา อัตราต้นละ 10 กิโลกรัม พร้อมกับปุ๋ยร็อกฟอสเฟต 0.5 กิโลกรัม และปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 ประมาณ 10 กรัม แหวกดินทำหลุมให้มีขนาดโตกว่าถุงหรือกระถางที่เลี้ยงต้นพันธุ์ ฉีกถุงออก โดยก่อนฉีกถุงให้ใช้มือบีบดินในถุงให้แยกออกจากกัน เขย่าวัสดุปลูกที่ติดอยู่กับรากออกให้หมด ใช้กรรไกรตัดรากแก้วส่วนที่ขดงอออก พร้อมทั้งตัดส่วนยอดและใบออกบ้าง เพื่อให้เกิดการสมดุลกับรากที่เหลือ วางต้นพันธุ์ลงในหลุม จัดรากฝอยที่มีอยู่เป็นชั้นๆ แล้วแผ่รากในแต่ละชั้นออกรอบข้าง ใช้ดินกลบรากไล่ขึ้นมาเป็นชั้น โดยให้รากฝอยชั้นบนสุดอยู่ต่ำกว่าระดับดินบน ประมาณ 1 เซนติเมตร ใช้ดินผสมปุ๋ยหมัก อัตราส่วน 1 : 1 กลบโคนเป็นรูปกระทะคว่ำ กว้างประมาณ 1 เมตร และสูงประมาณ 20 เซนติเมตร ผูกต้นติดกับหลักป้องกันการโยกคลอนแล้วรดน้ำให้ชุ่ม

การให้น้ำ ในสวนส้มมีหลักการดังนี้ ควรให้น้ำทันทีประมาณ 5-10 แกลลอน เมื่อปลูกเสร็จ และให้น้ำอีกครั้งภายใน 2-3 วัน หลังจากครั้งแรก หลังจากนั้นให้น้ำทุกๆ 2-5 วัน จนกว่าส้มจะตั้งตัวได้ ข้อสำคัญอย่าปล่อยให้ต้นส้มอดน้ำจนต้นเฉา วิธีการให้น้ำ อาจใช้สายยางระบบน้ำหยด มินิสปริเกลอร์ หรือเรือพ่นน้ำ หรือบิ๊กกัน ตามความเหมาะสม

การตัดแต่งกิ่ง ควรทำอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่เริ่มปลูกไปจนกระทั่งให้ผล และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลังเก็บเกี่ยวผลแล้ว ลักษณะของกิ่งที่ควรตัดแต่งออกคือ กิ่งแขนงที่รกทึบด้านล่างและกลางลำต้น กิ่งปลายยอดที่ห้อยลงชิดดิน กิ่งอ่อนแอ ไม่สมบูรณ์ มีใบน้อย กิ่งน้ำค้าง หรือกิ่งกระโดง กิ่งที่มีลักษณะคดงอไขว้หรือพันกัน กิ่งที่เป็นโรค หรือถูกแมลงวันทำลาย ตลอดจนกิ่งแห้งตาย ภายหลังจากการตัดแต่งกิ่งแล้ว ควรทาแผลด้วยคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ ปูนแดง หรือปูนขาว เพื่อป้องกันเชื้อรา

การดูแลรักษาหลังการติดผล ภายหลังจากส้มเขียวหวานติดผลแล้ว ควรปฏิบัติดังนี้ ปลิดผลออกบ้าง ในกิ่งที่ติดผลมากๆ ตัดแต่งผลที่เป็นโรคออก แล้วนำไปฝังกลบหรือเผาเสีย ค้ำยันกิ่ง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักเนื่องจากการรับน้ำหนัก หรือลมแรง สุขลักษณะและความสะอาด ควรรักษาแปลงปลูกให้ถูกสุขลักษณะและสะอาดอยู่เสมอ กำจัดวัชพืช ควรกำจัดขณะวัชพืชยังเล็ก เพื่อไม่ให้แข่งขันกับพืชหลัก หรือเป็นแหล่งเพาะศัตรูพืช หรือติดไปกับผลผลิต ควรเก็บวัชพืช เศษพืชโดยเฉพาะที่เป็นโรคไปทำลายนอกแปลงปลูก อุปกรณ์ เช่น กรรไกร เครื่องพ่นสารเคมี ภาชนะที่ใช้เก็บผลผลิต ฯลฯ หลังจากใช้งานแล้วต้องทำความสะอาด และเก็บให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ ภาชนะบรรจุสารเคมีที่ใช้หมดแล้ว ให้ล้างทำความสะอาด นำน้ำที่ล้างไปพ่นป้องกันกำจัดศัตรูพืช สำหรับภาชนะบรรจุให้ทำลายอย่างเหมาะสม เช่น ฝังดิน ไม่ควรนำกลับมาใช้อีก

คุณสมคิด คำจันทรา ได้ให้ข้อเสนอแนะกับเกษตรกรรายอื่นว่า การทำการเกษตรคงต้องกระจายความเสี่ยง คือไม่ปลูกพืชชนิดเดียว และศึกษาหาข้อมูลให้รอบด้าน เพื่อนำมาปรับใช้กับสวนของตนเอง เพื่อลดความเสียหายอันอาจเกิดขึ้น

ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ของทุกปี เป็นช่วงเวลารอคอยของผู้ชื่นชอบมะยงชิด-มะปรางหวาน ที่ต่างพร้อมใจกันปักหมุดมุ่งสู่จุดหมายเดียวกันคือ จังหวัดนครนายก

ในทุกฤดูกาลผลผลิตมะยงชิด-มะปรางหวาน ที่ปลูกกันมายาวนานถูกพัฒนาคุณภาพ ทั้งการปลูก ดูแล เก็บผลผลิตเพื่อให้มีรสชาติและความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ควบคู่ไปกับการแข่งขัน เนื่องจากมีราคาขายเป็นแรงจูงใจ จึงทำให้แต่ละสวนมีลูกค้าขาประจำจับจองผลผลิตทุกปี

“สวนสุริยะ” เป็นอีกแห่งที่ปลูกมะยงชิด-มะปรางหวาน การันตีคุณภาพด้วยแนวทางการปลูกแบบปลอดภัย ผลมะยงชิด-มะปรางหวาน มีลูกใหญ่ รสหวานหอม สร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า

คุณสุริยะ คณะธรรม เจ้าของสวนสุริยะ ตั้งอยู่เลขที่ 184 หมู่ที่ 4 ตำบลสาริกา อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก โทรศัพท์ 083-121-9922 อดีตเคยรับราชการตำรวจ กระทั่งเกษียณอายุมาเมื่อปี 2558 แล้วมาทำสวนผลไม้ต่อ ปัจจุบันอายุ 67 ปี

ที่สวนสุริยะปลูกไม้ผลผสม ได้แก่ มะยงชิด มะปราง ส้มโอ และมะม่วง แต่ที่โดดเด่นแบบสร้างรายได้คงเป็นมะยงชิดกับมะปราง โดยปลูกมะยงชิดและมะปรางหวานไล่เรี่ยกันจำนวนละกว่า 200 ต้น มีมะม่วงแซมมะยงชิด จำนวน 30 ต้น ที่เหลือเป็นส้มโอเล็กน้อย ใช้พื้นที่ปลูกทั้งหมด 6 ไร่ ทั้งนี้ เริ่มปลูกมะยงชิด ปี 2541 จำนวน 30 ต้น ก่อนเป็นกิ่งพันธุ์ทูลเกล้า ที่ซื้อจากสวนเก่าแก่ที่นครนายก มะปรางหวานเป็นพันธุ์นพรัตน์

ให้นำต้นพันธุ์ปลูกในหลุมขนาดกว้าง 50 เซนติเมตร ความลึกหลุมให้เท่ากับรอยกิ่งชำที่ซื้อมา เพื่อให้เสมอหน้าดิน รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก ระยะปลูก 6×7 เมตร คุณสุริยะ บอกว่า จากประสบการณ์เห็นว่าระยะดังกล่าวเหมาะสมที่สุด เพราะเมื่อมะยงชิดมีอายุแก่ประมาณ 15 ปีขึ้นไป จะมีทรงพุ่มใหญ่ จะได้ไม่ทำให้กิ่งเบียดเกยกัน

“หลังจากปลูกต้นพันธุ์เสร็จเรียบร้อยให้ใช้ไม้ปักดามต้นพันธุ์ป้องกันไม่ให้ล้มหรือเอน แล้วยังต้องสร้างหลังคาบังแดด รดน้ำอย่างเดียวทุกวันตามความเหมาะสมไปจนถึงเวลา 3 เดือน จึงเริ่มใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16 จำนวน 2 ช้อน โรยรอบโคนต้น”

นอกจากนั้น ให้ใส่ปุ๋ยคอกกับปุ๋ยอินทรีย์ 1 ครั้ง แล้วเว้นอีก 6 เดือน จึงใส่สูตรเสมอ 16-16-16 อีกครั้งก่อนหมดฝน หลังจากนั้นปุ๋ยคอกให้ใส่เพียงปีละครั้ง มะยงชิดเริ่มให้ผลผลิตปีที่ 3 แต่ยังมีน้อย แล้วไม่สมบูรณ์นัก จะเก็บผลผลิตจริงจังในปีถัดไป

บริเวณพื้นที่สวนสุริยะรายล้อมไปด้วยภูเขาจึงเกิดความชื้นมาก นำมาซึ่งโรคและแมลงศัตรูพืชหลายชนิด เจ้าของสวนเผยว่า ต้องใช้ปุ๋ยยาป้องกัน โดยเน้นแนวชีวภัณฑ์เป็นส่วนใหญ่ อาจมีเคมีบ้างเล็กน้อยเพราะกลัวอันตราย

ช่วงเป็นดอก ใช้เวลาประมาณ 15-20 วัน จึงเริ่มเป็นผลอ่อน รวมระยะจากดอกบานจนเก็บผลผลิตสุกพอดีใช้เวลาประมาณ 75-80 วัน หรือสามารถเก็บผลผลิตออกสู่ตลาดได้ประมาณเดือนมีนาคมของแต่ละปี

อีกปัญหาในช่วงมีดอก คุณสุริยะ บอกว่า เว็บคาสิโนออนไลน์ หลังจากดอกโรยจะเจอปัญหาเพลี้ยไฟทันที ต้องแก้ไขโดยใช้สารอินทรีย์ผสมกับเคมีเล็กน้อยฉีดพ่น กระทั่งผลมีขนาดเท่าหัวไม้ขีดจึงเริ่มให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ พอโตเท่าหัวแม่มือจึงให้ปุ๋ยเร่งโต เป็นสูตร 16-16-16 ให้สลับหรือผสมกับปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมัก

สำหรับการเติมความหวานมะยงชิดกับมะปรางหวาน คุณสุริยะ บอกว่า มีทางเลือก 2 แบบ คือ ก่อนถึงช่วงเก็บผลผลิตประมาณ 20 วัน จะสุ่มนำผลจากต้นมาผ่าดู หากพบว่ามีเมล็ดในแล้วจึงเติมความหวาน กับอีกแนวทางคือ ให้ดูจากสีผล เมื่อเปลี่ยนจากสีเขียวเข้มไปเป็นสีเขียวอ่อนก็สามารถใส่ปุ๋ยเติมความหวานได้ ทั้งนี้ การนำทั้ง 2 แนวทางมาใช้ขึ้นอยู่กับความสะดวกเป็นหลัก ส่วนปุ๋ยสำหรับเติมความหวาน ปกติคุณสุริยะใช้สูตร 13-13-21 แต่หากปุ๋ยเร่งดอก สูตร 8-24-24 เหลือจากการใช้ก็สามารถนำมาใส่แทนกันได้ เพราะจะได้ช่วยประหยัด

คุณสุริยะ บอกว่า ลักษณะรูปร่างผลมะยงชิดกับมะปรางหวานคล้ายกันมากจนแทบแยกไม่ออก ส่วนมากเกษตรกรผู้ปลูกจะดูจากใบหรือยอดอ่อน ในกรณีที่เป็นผลมะยงชิดยอดอ่อนจะออกเป็นสีขาว ส่วนมะปรางหวานยอดอ่อนจะมีสีแดงเข้มมาก

“ความนิยมรับประทานมะยงชิดกับมะปรางหวานว่า ตอนนี้มะยงชิดได้รับความนิยมมากกว่า เพราะรสชาติและความหอมหวานดีกว่า สำหรับมะปรางหวานได้ปรับปรุงพัฒนาต้นพันธุ์มาอย่างต่อเนื่องทำให้ตอนนี้คุณภาพมะปรางหวานมีรสอร่อย หวาน หอม ขนาดใหญ่เท่ากับมะยงชิด โดยค่าความหวานของมะยงชิด 22 บริกซ์ ส่วนมะปรางหวานได้น้อยกว่า ประมาณ 18-19 บริกซ์ ทำให้ขายดีทั้งมะยงชิดและมะปรางหวานคู่สูสีกัน”

มะยงชิดกำหนดราคาขายไว้ที่ 300 บาทต่อกิโลกรัม (16 ผลต่อกิโลกรัม) เป็นราคานี้มาหลายปี ส่วนมะปรางหวานขายเท่ากัน ในแต่ละปีผลผลิตมีขายทั้งในสวนตัวเอง มีคนมารับซื้อที่สวนเป็นรายย่อยที่นำไปขายตามสถานที่หลายแห่ง ทั้งในตลาดและเพิงขายริมทาง อีกทั้งตอนนี้เริ่มเปิดขายทางออนไลน์ด้วย คุณสุริยะ บอกว่า เคยมีพ่อค้ารายใหญ่มาติดต่อซื้อจำนวนล็อตใหญ่แต่ไม่สามารถขายให้ได้เพราะปริมาณไม่เพียงพอ

นอกจากผลสดแล้วทางสวนสุริยะยังแปรรูปมะยงชิดเป็นแบบลอยแก้วด้วย เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่ากับสร้างทางเลือกให้กับลูกค้า ขณะเดียวกัน ยังเตรียมผลิตเค้กมะยงชิดออกจำหน่ายในรอบปีต่อไปด้วย