มีตลาดรองรับแน่นอน ใกล้บ้านการตัดสินใจปลูกหน่อไม้ฝรั่งนี้

นอกจากจะเป็นการปลูกครั้งเดียวสามารถเก็บผลผลิตได้หลายปี และสามารถดูแลได้โดยใช้แรงงานภายในครอบครัวเองแล้ว การที่มีตลาดรองรับแน่นอนโดยจัดส่งไปรวมกันในกลุ่มที่อยู่ใกล้บ้านและมีรายได้ทุกวันเป็นสิ่งที่สำคัญในการตัดสินใจปลูกเช่นกัน

จากการเริ่มต้นทดลองเพียง 2 ไร่ เมื่อต้นปี 2559 สามารถทำรายได้เดือนละเกือบ 20,000 บาท จึงทำให้ตัดสินใจปลูกเพิ่มอีก 2 ไร่ รวมเป็น 4 ไร่ ปัจจุบันเริ่มได้ผลผลิตแล้ว ทุกเช้าจะเริ่มเก็บหน่อไม้ฝรั่งตั้งแต่ตี 4 ถึง 7 โมงเช้าในกรณีที่ปริมาณหน่อไม้มีมาก แล้วนำมาคัดเกรด ทำความสะอาด และตัดที่บ้าน หลังจากนั้น จะนำส่งศูนย์รับของให้เร็วที่สุด ทางศูนย์จะมีพนักงานคอยคัดเกรดอีกครั้ง เพื่อให้ได้หน่อไม้ที่มีคุณภาพเพื่อจะส่งไปต่างประเทศคือ ไต้หวันและประเทศแถบยุโรป เมื่อคัดแล้วจะบรรจุเป็นถุง ถุงละ 10 กิโลกรัม ห่อกระดาษและสวมถุงพลาสติก ใส่ห้องเย็นไว้ เพื่อรอรถห้องเย็นมารับต่ออีกทีในตอนเย็นของทุกวัน

เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคจึงมีการแยกเกรดหน่อไม้ฝรั่งเป็น 3 ประเภท คือ ตูม บาน และงอ ประเภทตูมเป็นประเภทที่ราคาดีที่สุด แบ่งเป็น 6 เกรด เกรดเอ ราคากิโลกรัมละ 65 บาท เกรดบี 30 บาท เกรดซี 25 บาท และ 20, 15, 10 บาท ตามลำดับ ประเภทบาน มี 2 เกรด คือ เอ 20 บาท และ 15 บาท ส่วนประเภทงอ รวมราคา 20 บาททุกเกรด

ราคานี้เป็นราคาในช่วงฤดูปกติ ส่วนในฤดูหนาวหน่อไม้ฝรั่งจะออกน้อยกว่าปกติ เกรดเอตูมจะมีราคาถึงกิโลกรัมละ 120 บาท จากการที่คุณปฐมปลูกต้นหน่อไม้ฝรั่งในระยะที่ห่างทำให้ต้นเจริญเติบโตได้ดี ไม่เบียดกันมากเกินไป ทำให้หน่อไม้ที่ได้อยู่เกรด เอ และบีเป็นส่วนใหญ่ และหน่อไม้ของที่สวนเล็กสุดไม่เกินเกรดดี การเน้นคุณภาพของเกษตรกรเป็นเรื่องที่ดีเนื่องจากหน่อไม้ฝรั่งเกรดเอกับบีต่างกันมากถึง 35 บาท คุณปฐมเน้นการทำหน่อไม้เกรดเอให้ได้มากที่สุดโดยการปลูกต้นให้ห่างและใส่ใจดูแลจึงเป็นเรื่องที่ถูกต้อง

ผลผลิตหน่อไม้ฝรั่งของกลุ่มจะมีปริมาณไม่ค่อยแน่นอนนักในบางช่วงฤดู เนื่องจากหน่อไม้ฝรั่งเป็นพืชที่ไม่ชอบอากาศหนาว ในช่วงฤดูหนาวผลผลิตหน่อไม้ฝรั่งจะน้อยทำให้ช่วงดังกล่าวมีราคาสูง ปริมาณหน่อไม้ฝรั่งที่ผลิตได้ของกลุ่มจะอยู่ระหว่าง 200-600 กิโลกรัม ต่อวัน จากพื้นที่เพาะปลูก 50 ไร่ โดยมีเกษตรกรร่วมโครงการจำนวน 12 ราย เฉลี่ยแล้วรายละ 4 ไร่ ซึ่งเป็นปริมาณพื้นที่ที่ดูแลได้อย่างทั่วถึง โดยใช้แรงงานภายในครอบครัว

จุดเด่นของเกษตรกรรายนี้คือ การลดพื้นที่จาก 19 ไร่ เหลือทำแค่ 4 ไร่ เพื่อให้ใช้แรงงานในครอบครัวได้และเป็นรายได้ทุกวัน ส่วนพื้นที่ 15 ไร่ที่เหลือ จะเน้นปลูกสวนป่าและกล้วยที่ไม่ต้องการการดูแลมากนัก ส่วนนี้จะเป็นรายได้รายเดือน และเน้นการผลิตในเชิงคุณภาพมากกว่าปริมาณซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ยังเป็นที่น่าเสียดายที่ทางผู้รับซื้อไม่ได้คิดราคาหน่อไม้อินทรีย์ให้แก่คุณปฐม เพราะผู้รับซื้อไม่ได้เน้นที่เกษตรอินทรีย์ แต่คุณปฐมก็ยังยืนยันที่จะทำเป็นแปลงเกษตรอินทรีย์ เนื่องจากความปลอดภัยในการทำงาน

เห็ด เป็นอาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง นำมาปรุงอาหารได้หลายเมนู เช่น แกง ลาบ ยำ หรือน้ำพริก ในด้านเศรษฐกิจการเพาะเห็ดมีการแข่งขันกันสูง เกษตรกรผู้เพาะเห็ดจึงต้องมีการจัดการที่ดี โรงเรือนเพาะเห็ดต้องสร้างอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี มีการจัดการให้ความชื้นภายในและภายนอกโรงเรือนเหมาะสม มีแหล่งน้ำใช้ จัดหาและใช้วัสดุเพาะคุณภาพเพื่อต้นทุนผลิต จุดสำคัญคือ ต้องใส่ใจปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาที่ดีเพื่อให้ได้เห็ดคุณภาพที่ตลาดต้องการซื้อ เป็นเส้นทางที่ทำให้เกษตรกรมีรายได้นำไปปลดหนี้และก้าวสู่วิถีการยังชีพที่มั่นคงยั่งยืน

คุณสุทธิพงษ์ ดีอยู่ เกษตรกรบ้านเห็ดภูผา เล่าให้ฟังว่า ก่อนที่จะมาเป็น “บ้านเห็ดภูผา” นั้น แต่ดั้งแต่เดิมได้เลี้ยงหมูมาหลายปี ขณะที่กิจการกำลังก้าวไปได้ด้วยดี ก็ต้องประสบกับปัญหาให้ต้องใช้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ตลาดซื้อขายหมูราคาแปรปรวนผันผวน ทำให้มีรายได้ไม่คุ้มทุน แล้วส่งผลให้การยังชีพไม่มีความมั่นคง จึงทำให้ต้องค้นหากิจกรรมอื่นที่ดีกว่ามาทดแทน แล้วก็ได้ตัดสินใจเลือกการเพาะเห็ดเป็นอาชีพใหม่

ก่อนตัดสินใจเพาะเห็ด ได้ติดตามข้อมูลข่าวสารเรื่องราวเห็ดจากแหล่งสื่อต่างๆ และพบว่า จำนวนผู้เพาะเห็ดและผลผลิตเห็ดออกมาสู่ตลาดปริมาณน้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดผู้บริโภค เมื่อวิเคราะห์ดูแล้วการเพาะเห็ดเหมาะที่จะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า จึงได้ทดลองเพาะเห็ดในปริมาณน้อยก่อนเพื่อให้มีผลผลิตกินในครัวเรือน พร้อมกับนำผลผลิตเห็ดส่วนหนึ่งไปขายในตลาดชุมชน ปรากฏว่าผู้บริโภคให้การตอบรับเป็นอย่างดี

ขณะเดียวกันก็ได้ตรวจสอบตลาดด้วยการสุ่มสอบถามว่า ผู้บริโภคต้องการบริโภคเห็ดชนิดใดบ้าง? เมื่อได้ข้อมูลรอบด้าน จึงนำกลับมาพิจารณาข้อดี ข้อด้อย แล้วจัดการเพาะเห็ดให้ตรงกับความต้องการของตลาด

ลงทุนเพาะเห็ด ในราวปี 2555 ได้กู้เงิน 20 ล้านบาท มาลงทุนเพาะเห็ด ปัจจุบัน ยังเป็นหนี้กว่า 8 ล้านบาท ชนิดเห็ดที่เพาะมี 3 ชนิด คือ เห็ดภูฏาน ฮังการี และเห็ดหูหนู ซึ่งตรงกับความต้องการของตลาดผู้บริโภค

สร้างโรงเรือน รวม 16 โรงเรือน ได้เลือกสถานที่ที่การคมนาคมสะดวก อากาศดี น้ำไม่ท่วมขัง ใกล้แหล่งน้ำ สร้างโรงเรือนให้ขนานกับทิศทางลม เพื่อลดการสูญเสียความชื้นภายในโรงเรือน เก็บรักษาความชื้นได้ดี ให้มีการระบายอากาศทางด้านข้างจะช่วยรักษาระดับความชื้นที่เหมาะสมทั้งภายในและภายนอกโรงเรือน

โรงเรือนจะสร้างขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ได้ แต่ต้องมีขนาดกว้างยาวและสูงที่เหมาะสมกับเนื้องานที่ทำ วัสดุที่ใช้สร้างโรงเรือนหาได้ง่ายในท้องถิ่นและลงทุนน้อย มีชั้นวางก้อนเชื้อเห็ด ชั้นล่างสุดสูงจากพื้นประมาณ 30 เซนติเมตร แต่ละชั้นมีความสูงพอเหมาะที่จะใช้มือเก็บดอกเห็ดได้ หรือมีช่องทางเข้าทำงานได้สะดวก

วัสดุทำก้อนเชื้อเห็ด ที่นี่เลือกใช้ขี้เลื่อยยางพาราเป็นวัสดุเพาะ เพราะทำให้ได้ผลผลิตคุณภาพ อัตราส่วนผสมโดยประมาณ มีขี้เลื่อยยางพาราแห้งสนิท 100 กิโลกรัม รำละเอียด 6-8 กิโลกรัม ข้าวโพดป่น 3-5 กิโลกรัม ปูนยิปซัม 1 กิโลกรัม หินปูนหรือผงชอล์ก 1 กิโลกรัม ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม น้ำ 80 กิโลกรัม และ EM 1 ลิตร แล้วผสมให้เข้าเนื้อกัน จากนั้นให้ทดสอบด้วยการกำส่วนผสม เมื่อบีบวัสดุแตกเป็น 3 ก้อน แสดงว่า อัตราส่วนผสมพอดี จากนั้นจัดการกรอกใส่ถุงพลาสติก ให้ได้น้ำหนัก 800-900 กรัม จับรวบปากถุงแล้วกระทุ้งกับพื้นให้แน่นพอประมาณ แล้วใส่คอขวด

หยอดเชื้อเห็ดและบ่ม นำก้อนเชื้อไปหยอดเชื้อและบ่ม ให้นึ่งก้อนเชื้อเพื่อฆ่าเชื้อในหม้อนึ่ง ที่ความดัน 25 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว 1-2 ชั่วโมง มีบางแห่งใช้หม้อนึ่งทำจากถังน้ำมัน 200 ลิตร นึ่ง 3 ครั้ง ครั้งละ 2-3 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เมื่อนึ่งฆ่าเชื้อแล้วได้หยอดเชื้อเห็ด เสร็จแล้วปิดปากถุงก้อนเชื้อให้เรียบร้อย จากนั้นบ่มก้อนเชื้อไว้ 20-25 วัน โดยไม่ให้ถูกแดด ฝน ลมโกรก ไม่มีแมลงหรือหนูรบกวน และให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก

คุณสุทธิพงษ์ เกษตรกรบ้านเห็ดภูผา เล่าให้ฟังอีกว่า เมื่อบ่มก้อนเชื้อเห็ดได้ระยะเวลาเหมาะสม ก็ถึงช่วงการเปิดดอกเห็ดและเก็บเกี่ยวผลผลิต เมื่อสภาพแวดล้อมมีความชื้นสูงพอ อากาศไม่ร้อนมาก ถูกเหนี่ยวนำด้วยอากาศเย็นตอนกลางคืน ก็จะทำให้ก้อนเชื้อเห็ดออกดอกได้ดี

เห็ดฮังการี เมื่อวางก้อนเชื้อเห็ด 12,000 ก้อน จะเก็บเห็ดได้ 2.50-3 ขีด ต่อก้อน มีก้อนเสียหายไม่เกิน 5% หรือวางก้อนเชื้อเห็ดฮังการี 12,000 ก้อน จะได้ผลผลิตเห็ด 30,000-36,000 ขีด หรือได้เห็ด 3,000-3,600 กิโลกรัม ถ้าขาย 30-50 บาท ต่อกิโลกรัม จะมีรายได้ 90,000-108,000 บาท หรือได้ 150,000-180,000 บาท

เห็ดหูหนู เมื่อวางก้อนเชื้อเห็ด 30,000-40,000 ก้อน จะเก็บเห็ดได้ 5 ขีด ต่อก้อน มีก้อนเสียหายไม่เกิน 20% หรือวางก้อนเชื้อเห็ดหูหนู 30,000-40,000 ก้อน จะได้ผลผลิตเห็ด 150,000-200,000 ขีด หรือได้เห็ด 15,000-20,000 กิโลกรัม ถ้าขาย 20-50 บาท ต่อกิโลกรัม จะมีรายได้ 300,000-400,000 บาท หรือมีรายได้ 750,000-1,000,000 บาท

เห็ดภูฏาน เมื่อวางก้อนเชื้อเห็ด 10,000-12,000 ก้อน จะเก็บเห็ดได้ 2 ขีด ต่อก้อน มีก้อนเสียไม่เกิน 10% หรือวางก้อนเชื้อเห็ดภูฏาน 10,000-12,000 ก้อน จะได้ผลผลิตเห็ด 20,000-24,000 ขีด ต่อก้อน หรือได้เห็ด 2,000-2,400 กิโลกรัม ถ้าขาย 30-80 บาท ต่อกิโลกรัม จะมีรายได้ 60,000-72,000 บาท หรือมีรายได้ 160,000 -192,000 บาท

ต้นทุนการเพาะเห็ด ที่ต้องใช้ ได้แก่ ค่าจ้างแรงงานทั้งหญิงและชาย 40 คน ที่ทำหน้าที่หลายด้าน เช่น การทำก้อนเชื้อเห็ด การควบคุมระบบการผลิตภายในและนอกโรงเรือน หรือการเก็บเห็ด ต้นทุนการเผลิตที่ใช้เป็นค่าไฟฟ้า ค่าแรง ค่าวัสดุ ค่าการตลาด ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง หรืออื่นๆ เฉลี่ยไม่น้อย 150,000 บาท ต่อเดือน

ตลาด ผลผลิตเห็ดที่เก็บเกี่ยวได้ต้องขายให้หมดภายใน 1 วัน ถ้าขายไม่หมด ดอกเห็ดจะเน่าเสียง่าย จึงต้องเก็บรักษาให้ดี ผลผลิตส่วนหนึ่งนำไปขายที่ตลาดสี่มุมเมือง เช่น เห็ดฮังการี วิธีการขาย ได้เช่าใช้พื้นที่จอดรถยนต์ที่ตลาดเป็นผู้จัดไว้ให้ ราคา 400 บาท ต่อรอบ นาน 3 ชั่วโมง อีกส่วนหนึ่ง เช่น เห็ดหูหนู เห็ดภูฏาน มีตลาดขายอยู่ที่วังน้ำเขียว หรือ Macro หรือร้านทำขนม หรือตลาดในท้องถิ่น รายจ่ายที่เป็นต้นทุนและรายได้จากการขายที่ได้กำไรหรือขาดทุนจะบันทึกไว้แบบบัญชีฟาร์มอย่างง่าย เพื่อนำมาปรับแก้ไขพัฒนาการเพาะเห็ดต่อไป

จากเรื่อง บ้านเห็ดภูผา เพาะเห็ดรายได้เงินล้านบาท ก้าวที่ช่วยปลดหนี้ เป็นก้าวเปลี่ยนความล้มเหลวจากการเลี้ยงหมูมาสู่การเพาะเห็ด ได้เรียนรู้และพัฒนาการเพาะเห็ดคุณภาพ มีตลาดรองรับการขาย ทำให้มีรายได้สม่ำเสมอ ด้วยความไม่ท้อไม่ยอมแพ้ มั่นใจว่าในอีกไม่นานนักก็จะปลดหนี้อีกราว 8 ล้านบาทได้ นั่นคือ การเพาะเห็ดก้าวที่เปลี่ยนเข้าสู่วิถีการยังชีพที่มั่นคงยั่งยืน

ขอบคุณ คุณจุฑามาศ จงศิริ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท พร้อมคณะที่นำเยี่ยมชมการเพาะเห็ดครั้งนี้ สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ คุณสุทธิพงษ์ ดีอยู่ 105/55 หมู่ที่ 6 ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองม่วง โทร. 089-608-8887 หรือที่สำนักงานเกษตรอำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี โทร. 036-432-088 ก็ได้ครับ

คุณแสง หรือ คุณแสงประทีป ผิวสำลี เคยทำงานเป็นพนักงานประจำ มีความตั้งใจเกษียณตัวเองก่อนกำหนดเพื่อเข้าสู่วงการเกษตรกรรมตามที่ชื่นชอบ เพราะมองว่าร่างกายยังพร้อมลงแรง จึงปรับพื้นที่ทำนากว่า 5 ไร่ ให้กลายเป็นสวนผสมเดินหน้าทำกิจกรรมเกษตรหลายชนิดเคียงคู่คุณหนึ่ง สามี ในชื่อ “สวนแสงประทีป” ตั้งอยู่เลขที่ 5/4 หมู่ที่ 7 ตำบลแสนตอ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี เน้นปลูกพืชผัก ผลไม้แนวอินทรีย์เป็นหลัก เพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้สนใจในพื้นที่ แล้วยังเปิดโอกาสให้ลูกค้าเข้าเยี่ยมชมพร้อมเลือกซื้อผลผลิตต่างๆ ได้อย่างสบาย

ก่อนหน้านี้คุณหนึ่งทำเกษตรกรรมหลายอย่างและการเข้ามาดูแลสวนผสมครั้งนี้ จึงเป็นการนำประสบการณ์มาขยายผลอย่างเป็นระบบ แล้วพืชตัวแรกที่ปลูกคือ อินทผลัม ซึ่งมีต้นตัวเมีย จำนวน 100 ต้น เป็นพันธุ์บาฮีเนื้อเยื่อ กับต้นตัวผู้ จำนวน 130 ต้น มาจากการนำเมล็ดอินทผลัมที่จำหน่ายทั่วไปมาเพาะต้น แต่จาก จำนวน 130 ต้น กลับมีต้นตัวผู้เพียง 100 ต้น และตัวเมีย 30 ต้น ก็ดีใจที่ได้ตัวเมียเพิ่ม แต่ผลปรากฏว่าพอมีลูกแล้วขาดคุณภาพ รับประทานไม่ได้

“จากเดิมพื้นที่บริเวณนี้เป็นผืนนา แล้วปรับมาปลูกด้วยการถมดินขุดหลุมปลูกอินทผลัมลึก 50 เซนติเมตร กว้าง 60 เซนติเมตร ก้นหลุมใส่ขี้วัวประมาณครึ่งกระสอบ ช่วงสะสมอาหารใส่ปุ๋ยเม็ดผสมกับดินขี้ค้างคาวต้นละกิโลกรัม รอบต้นห่างประมาณ 70 เซนติเมตรหรือแนวทรงพุ่ม แล้วใส่ขี้ไก่เล็กน้อยในช่วงแตกขนนก แต่ที่สำคัญคือน้ำต้องสม่ำเสมอ ไม่ชุ่มท่วมขัง ที่สวนใช้สปริงเกลอร์”

ลักษณะพื้นที่ปลูกอินทผลัมของสวนนี้เป็นพื้นที่ราบ เนื่องจากมีพื้นที่จำกัดจึงใช้ระยะปลูกประมาณ 5 เมตร คูณ 5 เมตร อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นมือใหม่ แต่คุณหนึ่งประสบความสำเร็จได้อย่างไม่ยาก ได้ผลผลิตรุ่นแรกอย่างมีคุณภาพดีมาก มีรสหวาน กรอบ หากต้นไหนมีความสมบูรณ์มากก็จะได้ผลผลิตต้นละ 8-12 ช่อ ช่อละประมาณ 10 กิโลกรัม

“ตัวเองไม่มีประสบการณ์หรือแม้แต่รู้จักกับอินทผลัมมาก่อนเลย ดังนั้น การปลูกครั้งนี้จึงเป็นครั้งแรก แต่อย่างไรก็ตาม ได้แสวงหาความรู้จากเอกสารตำราหรือแม้แต่เปิดในเน็ต หรือสอบถามคนในกลุ่มที่มีประสบการณ์ปลูกอินทผลัม ทั้งยังเห็นว่าเป็นผลไม้ที่ปลูกแล้วสามารถเก็บผลผลิตขายได้ต่อเนื่อง แล้วถ้ายิ่งดูแลเอาใจใส่อย่างเต็มที่ นอกจากจะขายในประเทศ ยังขายตลาดต่างประเทศ”

ระหว่างเวลา 5 ปี ที่ต้องรอผลผลิตอินทผลัม คุณแสงกับคุณหนึ่งตกลงแล้วเห็นพ้องกันว่า ควรจะหารายได้ด้วยการเพาะ-จำหน่ายเห็ด เพื่อนำมาใช้หมุนเวียน เห็ดที่เพาะขายมีจำนวนหลายพันธุ์ ได้แก่ หูหนู นางรมฮังการีสีขาว นางรมสีดำ ภูฏาน โคนญี่ปุ่น

“เรื่องการเพาะเห็ดขายนั้นในตอนแรกไปซื้อก้อนเห็ดมาเปิดดอกขายเอง แต่ไม่ดีนัก เนื่องจากคุณภาพก้อนเห็ดไม่สมบูรณ์ส่งผลต่อคุณภาพดอกเห็ด ตลอดจนอายุการเก็บเกี่ยว ทำให้ตัดดอกเห็ดขายได้จำนวนน้อยครั้ง รายได้ก็ไม่มาก ดังนั้น จึงตัดสินใจผลิตก้อนเห็ดเอง เพาะเลี้ยงและขายเองทั้งหมด เป็นการผลิตเห็ดที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและปลอดสารเคมี ผลผลิตเห็ดนำไปขายให้แก่ผู้ค้าในตลาดท่าเรือ เพื่อกระจายเห็ดไปขายยังตลาดตามชุมชนต่างๆ” คุณหนึ่ง บอก

พร้อมกับให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า สร้างโรงเรือนเห็ดทั้งหมด 8 โรงเรือน เพาะเลี้ยงเห็ดชนิดต่างๆ สลับกันตามความต้องการของตลาด ผลผลิตเห็ดเฉลี่ยกว่า 400 กิโลกรัม ต่อโรงเรือน โดยแต่ละโรงจุได้ 6,500 ก้อน ในกรณีที่เก็บผลผลิตแล้วยังไม่ได้ส่งขายจะเก็บไว้ในตู้แช่เย็น แหล่งที่รับซื้อคือ ตลาดท่าเรือ เป็นจุดกระจายสินค้าไปยังตลาดหลายแห่ง แต่หากลูกค้ารายใดต้องการเห็ดแบบสด ใหม่ จะแวะมาซื้อที่สวนพร้อมกับชวนกันมาถ่ายรูป

“การพิจารณาความต้องการของตลาดจะเป็นข้อมูลตัดสินว่าควรจะผลิตเห็ดชนิดใดขายก่อน/หลัง หรือจำนวนเท่าไร เพื่อป้อนเข้าตลาด ทั้งนี้ ภูฏานและนางรมสีดำเป็นเห็ดที่ตลาดต้องการมากกว่าชนิดอื่น อาจเป็นเพราะเห็ดทั้งสองชนิดจะมีกลิ่นหอมชวนรับประทาน อย่างไรก็ตาม ก้อนเชื้อเห็ดที่หมดความจำเป็นจะย่อยสลายแล้วนำกลับไปใส่ในแปลงปลูกอินทผลัมอีก”

คุณหนึ่ง บอกว่า ปลูกอินทผลัมมาเป็นเวลา 5 ปีแล้ว ความจริงในปีที่ 3-4 ก็พอมีผลผลิตบ้าง แต่ไม่สมบูรณ์ จึงบำรุงต้นต่อเพื่อให้เก็บได้ในปีต่อไป ผลผลิตอินทผลัมรุ่นแรกเก็บได้ประมาณ 2 ตัน จากจำนวน 100 ต้น หลังจากเก็บผลผลิตอินทผลัมแล้วจะพักต้นชั่วคราวโดยไม่ดูแลอะไร

คุณแสง เผยถึงความสำเร็จจากผลผลิตอินทผลัมชุดแรกว่า มีคุณภาพดีเกินคาด เป็นที่สนใจของลูกค้าต่างเดินทางเข้ามาซื้อในสวนพร้อมถ่ายภาพเป็นที่ระลึกกันอย่างคับคั่ง จากนั้นเห็นว่าพอมีพื้นที่ว่างจึงสร้างโรงเรือนมาตรฐานขึ้นเพื่อไว้สำหรับปลูกพืชไม้ผลชนิดต่างๆ โดยเริ่มต้นที่เมล่อนเป็นตัวแรก

“เห็นว่ายังพอมีพื้นที่ว่างเหลือใช้ประโยชน์ อีกทั้งยังได้รับการแนะนำจากน้องณาและน้องลูกปลาที่ดูแลด้านการตลาดว่าขณะนี้เมล่อนเป็นไม้ผลที่ได้รับความสนใจ ขณะที่ในละแวกนี้ยังไม่มีใครปลูก จึงสร้างโรงเรือนปลูกเมล่อนเพื่อควบคุมคุณภาพ ช่วยให้ขายได้ราคาสูง อีกทั้งโรงเรือนยังใช้ประโยชน์ปลูกพืชผักปลอดสารต่อไปได้อีกเมื่อต้องการหยุดเมล่อน

คุณชุดากานต์ หรือ คุณณา และ คุณนทิตา หรือ คุณลูกปลา ที่คุณแสงกล่าวถึงทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาสวนแห่งนี้ โดยดูแลตั้งแต่วางแผนปลูกและการตลาด

คุณณา บอกว่า พันธุ์ที่ใช้ปลูกของสวนแห่งนี้คือ ออเร้นจ์ ซากุระ ที่มีเนื้อสีส้ม เพราะเป็นที่ต้องการของตลาด ดังนั้น การเลือกพันธุ์ที่ปลูกต้องดูความต้องการของตลาดก่อน นอกจากนั้น ควรเป็นพันธุ์ที่ปลูกกันน้อยหรือยังไม่มีใครปลูก เพราะหากสวนแสงประทีปเลือกปลูกตามที่วางแผนไว้ นอกจากเป็นการทดลองปลูกสิ่งที่ยากสำเร็จแล้ว ผลลัพธ์ที่ตามมาคือ ราคาขายสูง แล้วทำให้ตลาดผู้รับซื้อจับจ้องมาที่สวนแห่งนี้

“ใช้เมล็ดพันธุ์นำเข้าจากต่างประเทศผ่านผู้ขายในไทยที่ได้มาตรฐาน หลังจากนั้น มากำหนดว่าจะปลูกแบบใด ซึ่งแนะนำว่าควรเป็นโรงเรือนเพื่อควบคุมคุณภาพและปลอดภัยต่อโรค/แมลง ทำให้เสี่ยงน้อย ลงทุนครั้งเดียวคุ้มค่ากว่า ทั้งนี้ มี 2 โรงเรือน ขนาด 8 คูณ 24 เมตร และในช่วงแรกจะปลูกเมล่อนเปรียบเทียบโดยแต่ละโรงแยกเป็น 2 แบบ คือโรงเรือนเป็นดินกับซีเมนต์ เพื่อต้องการศึกษาว่าแบบใดจะมีผลดี-ผลเสียต่อคุณภาพอะไรบ้าง”

คุณณา ให้รายละเอียดถึงวิธีและขั้นตอนปลูกเมล่อนว่า ในโรงเรือนจะออกแบบการให้น้ำแบบสายน้ำหยดพร้อมควบคุมอุณหภูมิและความชื้นด้วยการปล่อยละอองน้ำจากท่อด้านบน จากนั้นจะผสมดินโดยใช้เครื่องผสมเป็นดินที่ผสมขุยมะพร้าวคลุกให้เข้ากันแล้วหมักด้วยจุลินทรีย์ 1 คืน จากนั้นให้นำไปบรรจุใส่ถุงนำไปตากแดดเพื่อฆ่าเชื้อโรค ประมาณ 1 สัปดาห์

ระหว่างนั้นจะเพาะต้นกล้ารอไว้ประมาณ 10 วัน พอต้นกล้ามีใบอ่อนสัก 2-3 ใบ จึงย้ายมาลงถุงปลูกในโรงเรือนระยะห่าง ถุงละ 50 เซนติเมตร การให้ปุ๋ยจะใส่ปุ๋ย A B ที่เป็นแม่ปุ๋ยด้วยการผสมกับน้ำแล้วปล่อยไปตามระบบน้ำหยด ปุ๋ยดังกล่าวมีคุณค่าทางอาหารสูงมากจึงไม่จำเป็นต้องใส่อะไรอีกเลย

ประมาณ 20 วันจะเริ่มมีดอก จึงจัดการผสมเกสร แล้วต้องตรวจดูที่ข้อและแขนงใดมีความสมบูรณ์ก็จะเก็บไว้ โดยตอนแรกควรเก็บไว้สัก 4 แขนงก่อน เพื่อประกันความผิดพลาดจากการผสมเกสร พอผสมเกสรเพียงวันเดียวก็จะติดผลอ่อน หลังจาก 7 วัน ผลจะมีขนาดเท่าไข่ไก่ จากนั้นจึงมาคัดเอาผลที่สมบูรณ์ที่สุดไว้ 2 ผล แล้วดูต่อไปถ้ามั่นใจว่าทั้งคู่มีความแข็งแรงดีพอ จึงตัดออกเหลือเพียงผลเดียว

เมื่อผลเมล่อนมีความสมบูรณ์ 70-80 เปอร์เซ็นต์ โดยดูจากขนาดและลายผิว จึงเริ่มทำความหวานด้วยการใส่ปุ๋ย 0-0-50 เพียงเล็กน้อย จากนั้นใช้เวลาประมาณ 70-80 วันก็ตัดเก็บได้ มีขนาดต่อผลเฉลี่ย 1.5 กิโลกรัม ความหวาน 15 บริกซ์ สำหรับเรื่องโรค/แมลงไม่พบเพราะปลูกในโรงเรือนที่สามารถควบคุมปัจจัยภายใน/ภายนอกได้ จึงทำให้ผลผลิตที่ปลูกในโรงเรือนได้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์

“เพิ่งได้ผลผลิตรุ่นแรก ใช้เวลาปลูก 3 เดือน นำตัวอย่างผลผลิตไปเทียบมาตรฐานแล้วถือว่าเข้าเกณฑ์ทุกประการ ไม่ว่าจะเรื่องขนาด น้ำหนัก ความหวาน ทั้งนี้ วิธีขายจะไม่ออกไปจำหน่าย แต่จะเชิญชวนลูกค้าผ่านเฟซบุ๊ก ชื่อ “แสงประทีป” ให้เข้ามาเที่ยวเยี่ยมชมสวนพร้อมซื้อสินค้าเมล่อนและอื่นๆ ติดมือกลับบ้าน

อย่างไรก็ตาม ลูกค้าที่ไม่สะดวกเดินทางมาสวน อาจขอสั่งจองผลเมล่อนไว้ก่อน แล้วให้จัดส่งไปให้ที่บ้านในภายหลังที่ตัดทันที ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผลผลิตเมล่อนสวนแสงประทีปขายหมดในเวลารวดเร็ว แถมยังโดนลูกค้าบ่นว่าทำไมปลูกน้อยจัง ขณะเดียวกัน พันธุ์เนื้อเขียวกลับมีคุณภาพแล้วมีลักษณะคล้ายกับพันธุ์เคโมจิ ทำให้คนญี่ปุ่นที่เป็นเจ้าของร้านอาหารญี่ปุ่นในไทยได้ลองลิ้มชิมรสแล้วถูกใจมากจึงเหมาทั้งหมด”

คุณหนึ่ง เพิ่มเติมว่า การปลูกเมล่อนในรอบแรกนี้ถือว่าเป็นบททดสอบครั้งแรกที่ต้องการเรียนรู้เอาประสบการณ์และค้นหาปัญหาต่างๆ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข โดยในรอบการปลูกคราวต่อไปตั้งใจจะให้เมล่อนมีขนาดผลใหญ่กว่านี้อีก ซึ่งอาจต้องไปใส่ใจเรื่องการให้ปุ๋ยและน้ำอย่างเต็มที่

คุณแสง บอกว่า โรงเรือนที่สร้างขึ้น 2 หลังนี้ สมัคร BETFLIX หลังจากเก็บผลผลิตเมล่อนทั้งหมดเรียบร้อยก็จะพักแล้วเตรียมปลูกพืชผักชนิดอื่นไปตามฤดูกาลที่เปลี่ยนอย่างเหมาะสม เพื่อต้องการให้มีความเป็นอินทรีย์ส่งขายตลาดสุขภาพเพราะมีความต้องการสูง

“การเกษียณจากงานประจำแล้วตั้งใจมาทำเกษตรกรรมที่มีรายได้และความรับผิดชอบของตัวเอง นับเป็นความใฝ่ฝันมานานแล้ว ทั้งยังมีความสุขแล้วได้ออกกำลังกายไปพร้อมกัน มีโอกาสพบปะผู้คนจากหลากหลายสาขาอาชีพเพศวัย

การยึดวิธีปลูกพืชแบบผสมเพื่อให้เกิดความหลากหลาย มีการหมุนเวียนไปตามความเหมาะสมของฤดูกาลรวมถึงการตลาด ทั้งนี้ จะทำให้มีรายได้อยู่ตลอดเวลาทุกวัน ทุกเดือน” เจ้าของสวนกล่าวในที่สุด

หากสนใจต้องการเข้าเยี่ยมชมสวนแสงประทีปหรือเลือกซื้อผลไม้ ต้องโทรศัพท์สอบถามคุณแสงก่อนว่ามีผลไม้หรือไม่ ด้วยพันธกิจที่มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ประชาชนชาวไทย กรมการพัฒนาชุมชน (พช.) กระทรวงมหาดไทย จึงได้ น้อมนำโครงการบ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเองในพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่แผนปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัว

เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 และจะสิ้นสุดโครงการวันที่ 30 มิถุนายน 2563 ที่นอกจากจะเป็นการช่วยกระตุ้นให้ประชาชนลงมือปลูกพืชผักสวนครัวบริโภคในรั้วบ้านแล้ว ยังเป็นการสร้างกิจกรรมคลายความกังวลและมีอาหารปลอดภัยกินในครอบครัวท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 และการต่อยอดในระยะยาวจะเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับชุมชน และสร้างภูมิคุ้มกันให้สถาบันครอบครัวอีกด้วย

เมื่อโครงการ “90 วัน ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร” เดินหน้าสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับ 12 ล้านครัวเรือนทั่วไทย ดำเนินมาครึ่งทางหรือประมาณ 45 วัน มีหลายจังหวัดเกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรมอย่างก้าวกระโดด เห็นได้จากรายงานความคืบหน้าของโครงการ (ข้อมูล ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2563) ที่ศูนย์รายงานข้อมูลปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัว เพื่อความมั่นคงทางอาหาร ระบุว่า มีครัวเรือนที่ปลูกผักไปแล้ว 10,137,648 ครัวเรือน จากเป้าหมายจำนวน 11,811,124 ครัวเรือนทั่วประเทศ สำเร็จแล้วคิดเป็น 85.83%