มีลักษณะเป็นฝักกลมยาวคล้ายผลนุ่น เมื่อแก่ผลแตก

เมล็ดข้างในปลิวไปตามลม เพราะมีเส้นใยติดอยู่ด้วย เป็นวิธีแพร่พันธุ์ให้ไปได้ไกลๆ ขจร เป็นไม้ที่ขึ้นได้ดีในดินทุกสภาพ แต่ถ้าจะให้ดีควรปลูกในดินร่วนปนทราย หรือดินที่มีความร่วนซุยมากๆ ขจรเป็นไม้ที่ชอบแดดจัด ไม่ต้องการน้ำมากนัก และทนต่อสภาพความแห้งแล้งได้ดี

ต้นขจรที่ปลูกกันอยู่ในบ้านเรามีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ “ขจรพันธุ์พื้นบ้าน” ซึ่งดอกจะมีขนาดเล็ก ออกดอกเฉพาะช่วงหน้าฝน และอีกพันธุ์ก็คือ “ขจรพันธุ์ดอก” ซึ่งได้มาจากการคัดเลือกสายพันธุ์พื้นบ้าน จนได้ขจรพันธุ์ที่มีดอกใหญ่ ออกดอกดก

การปลูกก็แสนง่าย หลังจากไถพรวน ตากดินไว้ประมาณ 15 วัน ยกร่องปลูกระยะห่างระหว่างต้นคือ 1×1 เมตร โดยพื้นที่ 1 ไร่ สามารถปลูกได้ 1,200 ต้น หลุมละ 3 ต้น เมื่อกล้าอายุ 1 เดือน ก็ทำค้างให้มัน ใช้ไม้ปัก มีตาข่ายและลวด ดอกขจรขึ้นได้ทุกสภาพดิน แต่น้ำต้องไม่ท่วมขัง ให้น้ำสามวันครั้งได้ ศัตรูของดอกขจรคือ เพลี้ย ที่มารบกวน

หลังปลูก 3 เดือน ก็จะเริ่มติดดอก พอติดดอกก็เริ่มเก็บเกี่ยวได้แล้ว เก็บได้ประมาณสองวันสามวันครั้ง หรือไม่ก็วันเว้นวัน ขึ้นอยู่กับสภาพดิน ราคาขายหน้าร้อน หรือหน้าฝนก็จะมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 50 ถึง 80 บาท ต่อกิโลกรัม แต่หน้าหนาวสนนราคาอยู่ที่ 150 ถึง 200 บาท เพราะติดดอกน้อย

ประโยชน์ทางอาหาร

ยอดอ่อน ดอก และผลอ่อน กินสดหรือลวกให้สุกกินร่วมกับน้ำพริก ดอกนำไปปรุงอาหาร เช่น ผัด แกงจืด แกงส้ม ผักขจรเป็นพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีฟอสฟอรัส แคลเซียม และวิตามินสูง ดอกขจรในปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอ มากถึง 3,150 I.U. วิตามินซี 45 มิลลิกรัม แคลเซียม 70 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 90 มิลลิกรัม สรรพคุณทางยา

นอกจากเป็นอาหารแล้ว แพทย์แผนไทยยังนำดอกขจรมาใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรคอีกด้วย ส่วนที่ใช้เป็นยาคือ ราก และดอก

ราก มีสรรพคุณทำให้อาเจียน ถอนพิษเบื่อเมา ดับพิษ ทำให้รู้รสอาหาร

ดอก รสเย็น กลิ่นหอม บำรุงหัวใจ บำรุงตับ บำรุงปอด บำรุงโลหิต แก้เสมหะ

ยอดอ่อน ลูกอ่อน บำรุงธาตุ บำรุงตับ ปอด แก้เสมหะเป็นพิษ

เราจะเห็นข่าวออกกันทั่วไปว่า เกษตรกรสามารถทำรายได้กับการปลูกดอกขจรกันมากมาย ตัวอย่างเช่น เกษตรกรสาวสวยวัย 23 ปี จังหวัดมหาสารคาม ปลูกดอกขจรขายรายได้เดือนละหลายหมื่นบาท ส่วนเกษตรกรบางรายก็นำดอกขจรมาปลูกในการทำสวนผสมผสานตามอย่างพ่อหลวง พลิกดินทำเงินเดือนละ 30,000-50,000 บาท แค่ส่งขายดอก กิโลกรัม 60-100 บาท เท่านั้น โดยเฉลี่ย 1-2 ไร่ สร้างรายได้ 15,000-30,000 บาท ต่อ 1 เดือน

ปลูกเป็นไม้ประดับ

นอกจากจะปลูกเพื่อไว้เป็นอาหารแล้ว ยังมีผู้นำผักขจรมาปลูกเป็นไม้ประดับเถาเลื้อย มีดอกสวยงาม และส่งกลิ่นหอมในเวลาเช้าและกลางคืนอีกด้วย ดังนั้น การขาย “กิ่งพันธุ์” และ “ต้นพันธุ์” ก็เป็นรายได้อีกทางหนึ่งด้วย กิ่งพันธุ์คือกิ่งที่ตัดให้ลูกค้าไปชำเอง ราคากิ่งละ 4 บาท ส่วนต้นพันธุ์คือต้นที่นำมาชำมีใบและรากแล้ว จะขายต้นละ 10 บาท ถ้านับรายได้จากการขายกิ่งพันธุ์ด้วยก็มากโขเชียวล่ะ

ไม่ว่าท่านผู้อ่านจะเรียกพืชชนิดนี้ว่า สลิด หรือ ขจร ก็ตาม เมื่อเอ่ยชื่อนี้ก็ชี้ชวนให้นึกถึงไข่เจียวดอกขจรกับน้ำพริกกะปิ และเมื่อนึกถึงกลิ่นหอมเปรี้ยวๆ ที่ผู้เขียนมีโอกาสได้ดอมดม ทำให้เกิดความคิดอยากสกัดทำน้ำมันหอมระเหยให้ฟุ้งกระจายตามชื่อขึ้นมาในหัวสมองทันที

เกศศิรินทร์ แสงมณี และ ปริยานุช จุลกะ. 2553. อิทธิพลของระยะปลูกและเวลาเก็บเกี่ยวต่อผลผลิตและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผักขจร. ว. วิทย์. กษ. 41(3/1) (พิเศษ) : 137-140

สำนักงานคณะกรรมการสาธารณสุขมูลฐาน. 2538. ผักพื้นบ้าน. (ตารางแสดงคุณค่าอาหารไทยในส่วนที่กินได้ 100 กรัม น. 120. องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. กรุงเทพฯ.)

ระหว่าง วันที่ 22-24 มิถุนายน ที่ผ่านมา มีการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 34 จัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้นำจากประเทศกลุ่มอาเซียน ประกอบด้วย ประเทศกัมพูชา บรูไนดารุสซาลาม เมียนมา มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย สปป.ลาว ฟิลิปปินส์ และไทย ปีนี้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการประชุมครั้งนี้ มีประเด็นสำคัญ ว่าด้วย ปฏิญญากรุงเทพฯ ในเรื่อง “การต้านขยะในทะเล” กลุ่มประเทศอาเซียนมีความเห็นร่วมกันว่า อาเซียน เป็นแหล่งผลิตขยะซึ่งส่วนใหญ่เป็นขยะพลาสติกปล่อยลงทะเล คิดเป็นอันดับต้นๆ ของโลก จากผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา รายงานว่า ประเทศที่ผลิตขยะปล่อยทิ้งลงทะเลสูงสุดแล้วลดหลั่นลงไปตามลำดับ ดังนี้

จีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ศรีลังกา ไทย อียิปต์ มาเลเซีย และบังกลาเทศ ปริมาณ 8.82, 3.22, 1.88, 1.83, 1.59, 1.03, 0.97, 0.85 และ 0.79 ล้านตัน ต่อปี จากผลงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเดียวกัน สรุปว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ของขยะที่ไหลลงทะเลไปตามแม่น้ำลำคลอง เป็นที่หน้าสังเกตประการหนึ่งคือ แม้ว่า บังกลาเทศ จะมีประชากรหนาแน่นมากก็ตาม แต่กลับผลิตขยะปล่อยลงทะเลในปริมาณต่ำกว่าประเทศอื่นๆ รวมถึงอินเดียอีกด้วย ซึ่งพออนุมานได้ว่า ทั้งสองประเทศใช้วัสดุบรรจุหีบห่อด้วยอินทรียวัตถุ เช่น ใบตอง และใบไม้อื่นๆ หรืออาจมีการเก็บขยะพลาสติกไปรีไซเคิลในปริมาณมากก็เป็นไปได้

ทั้งนี้ เป้าหมายของปฏิญญากรุงเทพฯ ว่าด้วย ต้านขยะในทะเล กลุ่มประเทศอาเซียนจะลดขยะในทะเลลง 50 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี พ.ศ. 2570

ผมเขียนเล่าถึงปัญหาขยะในแม่น้ำเจ้าพระยามาแล้วครั้งหนึ่ง โดยอ้างถึงกรุงเทพฯ ผลิตขยะขึ้น 9,900 ตัน ต่อวัน ฉะนั้น ถ้าคิดในรอบหนึ่งปี รวมน้ำหนัก 3.6 ล้านตัน ทั้งนี้ในแต่ละปีประเทศไทยทิ้งขยะลงทะเลในปริมาณ 1.03 ล้านตัน ตัวเลขที่ไม่คิดรวมจากแม่น้ำสายอื่น จะเห็นว่าปริมาณขยะหลุดรอดไหลลงทะเล คำนวณได้ประมาณ 28 เปอร์เซ็นต์ ของขยะทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ

เป็นที่น่าดีใจที่มีการขยับตัวของหน่วยงานต่างๆ ของรัฐที่หันมาให้ความสนใจเรื่องขยะในแม่น้ำเจ้าพระยากันแล้ว โดยมีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ในโครงการกำจัดขยะลอยน้ำด้วยทุ่นตักขยะในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณที่ไหลผ่านตำบลบางน้ำผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ ระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมเจ้าท่า การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และองค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง จึงนับเป็นนิมิตหมายที่ดี

แต่ขอแนะนำเพิ่มเติมว่า หากต้องการให้โครงการสัมฤทธิผล จำเป็นต้องหาแนวร่วมในทุกมิติ และขอให้ทำงานกันอย่างจริงจังและต่อเนื่อง อย่าทำประเภทผักชีโรยหน้าก็แล้วกัน และผมจะตามไปดู

เมื่อเร็วๆ นี้ ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี (BIC) ภายใต้ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดปฐมนิเทศและเปิดโครงการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี ปี 2562 (SUCCESS 2019) รุ่นที่ 17 แก่ผู้ประกอบกิจการซอฟต์แวร์และไอที รวมถึงผู้ประกอบการด้านนาโนเทคโนโลยี ไบโอเทคโนโลยี และสตาร์ทอัพ ที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ SUCCESS โดยมีรายใหม่ จำนวน 27 ราย และรายต่อเนื่อง

จำนวน 16 ราย รวมเป็น 43 รายในปีนี้ เพื่อรับโอกาสในการบ่มเพาะตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจ จัดโครงสร้างองค์กรอย่างเป็นระบบ และเพิ่มศักยภาพให้เติบโตอย่างยั่งยืนด้วยกลไกและกิจกรรมต่างๆ ในโครงการ พร้อมการเชื่อมโยงพันธมิตร และขยายเครือข่ายออกสู่ตลาดใหม่ทั้งในและต่างประเทศ โดยมี นางศันสนีย์ ฮวบสมบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี สวทช. เป็นประธานเปิดงาน ร่วมด้วย นายพนัส วัฒนชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด ผู้สนับสนุนโครงการในปีนี้

นางศันสนีย์ ฮวบสมบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี สวทช. เปิดเผยว่า โครงการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี ปี 2562 หรือ SUCCESS 2019 เป็นโครงการที่ดำเนินต่อเนื่องเป็นรุ่นที่ 17 สำหรับผู้บริหารกิจการ ผู้ประกอบกิจการซอฟต์แวร์ ไอที และผู้ประกอบการนาโนเทคโนโลยี ไบโอเทคโนโลยี และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ต้องการเรียนรู้และบ่มเพาะใน กระบวนการต่างๆ สำหรับการทำธุรกิจ เช่น การเจรจาต่อรอง เทคนิคการขาย ทักษะการนำเสนอ การสร้างภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

อีกทั้งยังได้พบที่ปรึกษาที่ทรงคุณวุฒิด้านการตลาด เพื่อให้คำแนะนำและศึกษาความเป็นไปของผลิตภัณฑ์ก่อนออกตลาด การคิดต้นทุนผลิตภัณฑ์ และบริหารการจัดการ พร้อมกันนี้ ยังมีการเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรภาครัฐและภาคธุรกิจต่างๆ เพื่อความร่วมมือในการส่งเสริมการทำธุรกิจ อาทิ การออกงานแสดงสินค้า การเข้าประกวดในเวทีต่างๆ และการเชื่อมโยงแหล่งสนับสนุนเงินทุนหรือร่วมลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศสำหรับบริษัทที่ต้องการขยายการลงทุนด้วย ซึ่งผู้ประกอบการที่มีความพร้อมจะได้รับการบ่มเพาะเพื่อรับการ

สนับสนุนต่อด้วยโครงการ Startup Voucher ที่ให้ทุนกิจกรรมการตลาดทุนละ 800,000 บาท ซึ่งใน SUCCESS 2018 ที่ผ่านมามีผู้ประกอบการ เช่น Kids Up Smart School โดยบริษัท อาร์ติคูลัส จำกัด ได้รับการบ่มเพาะด้านทำธุรกิจ จนสามารถผ่านการคัดเลือกและได้รับทุน Startup Voucher ในปี 2019 นี้ ซึ่งกลไกและกิจกรรมต่างๆ ในโครงการ SUCCESS 2019 เหล่านี้ จะช่วยตอบโจทย์และสนับสนุนผู้ประกอบการในโครงการให้สามารถทำธุรกิจได้อย่างยั่งยืน เข้มแข็ง และมีคุณภาพ

นอกจากนี้ ในปี 2019 ยังมี บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด โดย คุณพนัส วัฒนชัย ซึ่งได้มีความร่วมมือกับศูนย์บ่มเพาะ ธุรกิจเทคโนโลยี สวทช. ดำเนินจัดประกวด Panus Thailand LogTech Award 2017 – 2019 ต่อเนื่องมา 3 ปีแล้ว ได้มอบทุนสนับสนุนให้โครงการ SUCCESS 2019 เป็นมูลค่าจำนวน 300,000 บาท เพื่อในช่วงท้ายโครงการที่จะมีกิจกรรมพิชชิ่ง (Pitching) สำหรับมอบทุนต่อยอดธุรกิจให้กับผู้ประกอบการในโครงการโดยเฉพาะ ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งในกิจกรรมที่ช่วยผู้ประกอบการได้รับประสบการณ์และเติบโตขึ้นในด้านทำธุรกิจ

สำหรับตัวอย่างกลุ่มผู้ประกอบการรายใหม่ในโครงการ SUCCESS 2019 มีด้วยกันจำนวน 27 ราย เช่น บริษัท Knockdoor จำกัด เจ้าของแพลตฟอร์ม knockdoor.net บริการแม่บ้าน ออนไลน์ ผู้ช่วยในการทำความสะอาดบ้านยุค 4.0, บริษัท วันดี 168 จำกัด เจ้าของกาแฟสกัดเย็นออร์แกนิคพร้อม ดื่มยี่ห้อ Cloudy Cold Brew, บริษัท เพอเฟคบิวตี จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์ THER – เซรั่มทาผิวหน้าเพื่อลดฝ้า สารสกัดจากธรรมชาติ 100%, บริษัท อาเดลี จำกัด เจ้าของ Adely Tour แพลตฟอร์มการท่องเที่ยวสาหรับวัยเก๋าและผู้สนใจที่อยากพาผู้สูงวัยไปเดินทางท่องเที่ยว, บริษัท ช่อคูน เรมีดี้ จำกัด ที่มีผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ (Natural/Organic Personal Care) ที่มีนวัตกรรมด้านการผลิตจากวัตถุดิบจากธรรมชาติ และบริษัทอื่นๆ อีกมากมาย

ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกอบการหรือสตาร์ทอัพที่ได้รับเข้าร่วมโครงการ SUCCESS2019 จะได้รับ ประกอบด้วย 5Cs ACCESS ซึ่งเป็นบริการของโครงการที่มอบให้ผู้ประกอบการ ตามขั้นตอนที่เหมาะสม

Customer – จัด Matching กับลูกค้า และจัดหา Exhibition ให้ทั้งในและต่างประเทศเพื่อให้ผู้ประกอบการได้ขยายฐานลูกค้าได้มากขึ้น
2. Coaching – มี ONE on ONE Coaching & Consulting โดยที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญแบบตัวต่อตัว โดยผู้ประกอบการสามารถนาประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการทำธุรกิจมาพบที่ปรึกษาเพื่อรับฟังแนวคิดและแนวทางแก้ไขให้สามารถพัฒนาธุรกิจต่อไปได้

3. Chance – โอกาสในการพบนักลงทุน (Investors) หรือหุ้นส่วน (Partners) และร่วมเข้าประกวดในงาน Award ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ (ตามความเหมาะสมของผู้ประกอบการ)

4. Capital – สิทธิ์ในการรับทุนสนับสนุนไปออกงาน Exhibition และประกวดในงาน Award ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ และสิทธิ์ในการ Pitching เพื่อรับทุนต่อยอดการตลาดและธุรกิจเฉพาะสตาร์ทอัพในโครงการเท่านั้น
Community – ร่วมกลุ่มเพื่อแชร์ประสบการณ์กัน และส่งต่องานกัน

บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ร่วมกับ กรมการข้าว สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ขอเชิญเกษตรกรทั่วประเทศ ผู้เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรกรรม และประชาชนทั่วไป ร่วมงานสัมมนา “Agri Forum 2019 เกษตรปลอดการเผา” ภายใต้แนวคิด The World of Unburnt Farm เวทีระดมความรู้และแนวทางส่งเสริมเกษตรกรไทยทำเกษตรปลอดการเผา โดยวิทยากรจากทุกภาคส่วนมาร่วมถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมจัดแสดงนิทรรศการที่น่าสนใจ ในวันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2562 ณ ฮอลล์ 5 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ตั้งแต่เวลา 8.30-15.00 น. ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนผ่าน Facebook: Siam Kubota Club หรือโทร. (089) 206-1840

ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นประธานเปิดงานโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “การพัฒนาสมรรถนะด้านบริหารสำหรับพนักงานระดับอำนวยการสูงและระดับอำนวยการต้น” รุ่นที่ 1 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-26 กรกฎาคม 2562 ณ โรงแรมริเวอร์ไรน์ เพลส จังหวัดนนทบุรี และบรรยายพิเศษ เรื่อง “นโยบายและทิศทางการปฏิบัติงาน” โดยกล่าวว่า สภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นองค์กรที่มีพันธกิจในการเพิ่มประสิทธิภาพ/ศักยภาพพนักงาน สมาชิกสภาเกษตรกร และคณะผู้ปฏิบัติงานในการใช้เทคโนโลยี

เครื่องมืออุปกรณ์สำรวจ/จัดเก็บข้อมูลปัญหา ความต้องการพัฒนาแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร และสื่อสารคำแนะนำแนวทางแก้ไขปัญหา การวิเคราะห์/สังเคราะห์ข้อมูลด้านการเกษตร หรือการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม รวมทั้งวิธีการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายหรือวิธีการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมที่มีคุณภาพ ประสานกับหน่วยงานต่างๆ ในการขับเคลื่อนงาน/โครงการที่ได้จากการจัดทำแผนไปสู่การปฏิบัติ

ส่งเสริมสนับสนุนองค์ความรู้ด้านการจัดการฟาร์มแก่เกษตรกรต้นแบบ รวมทั้งการกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาและพัฒนาการเกษตร ส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรรวมตัวเป็นกลุ่ม/องค์กรเกษตรกรรายสินค้าดำเนินการผลิต และประสานหน่วยงานพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการธุรกิจของกลุ่ม/องค์กรเกษตรกรรายสินค้าที่มุ่งผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปเพิ่มมูลค่า ภายใต้วิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ว่า “สภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นสถาบันแกนหลักประสานการพัฒนาภาคเกษตรกรรมมุ่งให้เกษตรกร และองค์กรเกษตรกรมีความเข้มแข็งในอาชีพ”

“การที่วิสัยทัศน์ของสภาเกษตรกรแห่งชาติจะบรรลุผลตามที่กำหนดไว้ได้นั้น การพัฒนาบุคลากรในองค์การมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากบุคลากรของสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นผู้ที่ มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาด้านการเกษตรที่สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกรและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น บุคลากรของสำนักงานสภาเกษตรแห่งชาติ จึงต้องมีความรู้ ความเข้าใจและมีสมรรถนะที่ตอบสนองต่อบทบาท ภาระหน้าที่ของตนเองที่เป็นตัวขับเคลื่อนการดำเนินงานของสภาเกษตรกรแห่งชาติ สภาเกษตรกรจังหวัด สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ และสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดให้บรรลุเป้าหมาย เช่น การ วิเคราะห์สถานการณ์และข้อมูลต่างๆ การกำหนดกลยุทธ์ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ การบริหารทรัพยากร เป็นต้น และที่สำคัญต้องมีทัศนคติที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลง พร้อมรับและสร้างการเปลี่ยนแปลงกับองค์กรที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งจะเป็นกลไกพื้นฐานที่สำคัญต่อการผลักดันความสำเร็จขององค์กรให้ยั่งยืน และมีเสถียรภาพต่อไป” ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล่าว

โดยผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นพนักงานของสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติระดับอำนวยการสูงและระดับอำนวยการต้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการรองรับหน้าที่ ความรับผิดชอบ และภารกิจในการบริหารงานที่สูงขึ้น สร้างความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนเองและความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งมีผลกระทบต่อตนเอง ทีมงาน และองค์การ สามารถนำการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของตนเองและองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการอบรมในโครงการดังกล่าวจัดขึ้น 2 รุ่น คือ ระหว่างวันที่ 20-26 กรกฎาคม 2562 และ ระหว่างวันที่ 13-19 สิงหาคม 2562

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงโครงการ “ศึกษาวิจัยต้นทุนการผลิตยางของเกษตรกรไทย ปี 2562” ซึ่ง สศก. ได้ร่วมมือกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ในการสำรวจข้อมูลด้านปริมาณการผลิตและต้นทุนการผลิตยางพาราของเกษตรกรไทย ทั่วประเทศ โดยกำหนดเป้าหมายพื้นที่สำรวจตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ รวม 77 จังหวัดทั่วประเทศ

การดำเนินการโครงการดังกล่าว สศก. จะเป็นผู้สนับสนุนงานด้านวิชาการ อาทิ การจัดทำกรอบบัญชีตัวอย่างเพื่อการสำรวจ กำหนดระเบียบวิธีการสำรวจ ตลอดจนการประมวลผลปริมาณการผลิตและต้นทุนการผลิต ในขณะที่ กยท. จะสนับสนุนงานด้านกำลังพล เพื่อลงพื้นที่ โดยการสำรวจทาง กยท. จะรับผิดชอบพื้นที่ 45 จังหวัด (ตามพื้นที่ตั้งสาขาของการยางแห่งประเทศไทย) เพื่อสำรวจปริมาณการผลิต 10,944 ครัวเรือนตัวอย่าง (1,824 หมู่บ้าน) และสำรวจต้นทุนการผลิตยางพารา จำนวน 5,460 ครัวเรือนตัวอย่าง และ สศก. จะลงพื้นที่รับผิดชอบพื้นที่ 32 จังหวัด ในการสำรวจปริมาณการผลิต 8,946 ครัวเรือนตัวอย่าง (1,491 หมู่บ้าน)

อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมการลงพื้นที่ สศก. ได้เตรียมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการรวม 7 ครั้ง (ครั้งละ 3 วัน) ให้แก่เจ้าหน้าที่ของ สศก. และ กยท. รวมประมาณ 300 คน เพื่อซักซ้อมความเข้าใจก่อนการสำรวจข้อมูลปริมาณการผลิตและต้นทุนการผลิตยางพารา โดยกำหนดแผนการอบรมตั้งแต่เดือนกรกฎาคม – สิงหาคม 2562 ณ สำนักงานการยางแห่งประเทศไทยสาขาต่างๆ ได้แก่ จังหวัดตรัง สงขลา สุราษฎร์ธานี พิษณุโลก ระยอง อุดรธานี และ บุรีรัมย์

ทั้งนี้ ภายหลังการสำรวจเสร็จสิ้น สศก. จะดำเนินการวิเคราะห์และประมวลข้อมูลตามหลักวิชาการทางสถิติและเศรษฐศาสตร์ เพื่อให้ได้ข้อมูลปริมาณการผลิตและต้นทุนการผลิตยางพาราที่ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2562 และจะนำข้อมูลดังกล่าวเสนอต่อคณะทำงานจัดทำต้นทุนการผลิตยางฯ และผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต่อไป ซึ่งข้อมูลที่ได้จาการสำรวจร่วมกันในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบาย รวมถึงมาตรการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราของไทย เช่น การกำหนดราคารับซื้อยางพาราที่เป็นธรรมและสอดคล้องกับต้นทุนการผลิต และการช่วยเหลือเยียวยาต่างๆ เป็นต้น

โอกาสนี้ สศก. จึงขอความร่วมมือพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่ให้ความร่วมมือในการสำรวจครั้งนี้ด้วย และหากเกษตรกรหรือผู้สนใจรายละเอียดของการดำเนินโครงการ หรือข้อมูลสถานการณ์ การผลิต และราคา สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนสารสนเทศการผลิตพืชสวน ศูนย์สารสนเทศการเกษตร โทรศัพท์ (02) 940-5407 หรือ อี-เมล