มือจังหวัดระยองขับเคลื่อนเศรษฐกิจเชิงพื้นที่รับรองผลิตภัณฑ์

ไทยก้าวไกลสู่สากลสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ มุ่งรับรองผลิตภัณฑ์ไทยก้าวไกลสู่สากล พร้อมจับมือจังหวัดระยอง สนับสนุนผู้ประกอบการภาคการเกษตร/เกษตรแปรรูปอย่างครบวงจร ด้วยกลไกด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม ภายใต้การดำเนินงานแผนพัฒนาจังหวัด ตามนโยบายรัฐบาลในเขตพื้นที่ EECI ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (วันที่ 23 พฤษภาคม 2562 ณ ห้อง Sea Horse โรงแรมแคนทารี เบย์ ระยอง)

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวในโอกาสเป็นประธานเปิดการเสวนาเรื่อง “การรับรองผลิตภัณฑ์ไทยก้าวไกลสู่สากล” และ “วว. กับแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากร่วมกับภาครัฐและเอกชน รวมทั้งภาคประชาชนในพื้นที่จังหวัดระยอง” ว่าการดำเนินงานของ วว. มุ่งเป็นหุ้นส่วนความสำเร็จ (Partner for Your Success) ให้แก่ ผู้ประกอบการ SMEs OTOP และประชาชน โดยมุ่งนโยบายให้ความสำคัญในการใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.)

เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาประเทศตามนโยบาย Thailand 4.0 และยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ซึ่งเน้นการขับเคลื่อนประเทศโดยการนำความเชี่ยวชาญและโครงสร้างพื้นฐาน วทน. ไปสร้างประโยชน์อย่างครบวงจร (Total Solution Provider) พัฒนาเทคโนโลยีที่สนองตามบริบทของผู้ใช้ประโยชน์ (Appropriate technology) และสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากที่ตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนและประชาชนเชิงพื้นที่ (Area based) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มต่อเศรษฐกิจและสังคม

“…ในการดำเนินงานของ วว. ดังกล่าว มีกลไกสำคัญคือ โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างธุรกิจใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการ อาทิ ศูนย์นวัตกรรมการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรม โรงงานนำร่องมาตรฐานสายการผลิตเครื่องดื่มและสายการผลิตผลไม้อบแห้ง (Food Innovation & Service Plant: FISP) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านสาหร่าย วว. ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีรมควันลำไยเพื่อการส่งออก จังหวัดลำพูน ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีอาหารแปรรูป จังหวัดแพร่ สถานีวิจัยลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา

โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยี โรงคัดบรรจุสับปะรด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นอกจากนั้น วว. ยังมีการยกระดับผลิตภัณฑ์ด้วย วทน. ให้แก่ผู้ประกอบการด้านการพัฒนาวัตถุดิบต้นน้ำ พัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม ออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ พัฒนากระบวนการผลิต พัฒนาเครื่องจักรและยกระดับมาตรฐาน โดยมีผู้ประกอบการประมาณ 5,000 ราย ต่อปี ที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้าน วทน. และมีผู้ประกอบการประมาณ 1,500 รายที่ได้รับการพัฒนาและบริการด้าน วทน. ในการผนึกกำลังกับจังหวัดระยองครั้งนี้ เป็นการต่อยอดบูรณาการดำเนินงานร่วมกันให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น เพื่อนำมาซึ่งความยั่งยืนของเศรษฐกิจประเทศต่อไปด้วยพลังขับเคลื่อนของภาครัฐ เอกชนและประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม…” ผู้ว่าการ วว. กล่าว

ทั้งนี้ แผนพัฒนาจังหวัดระยอง ณ ปัจจุบัน มุ่งเน้นการขับเคลื่อน ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม รวมทั้งภาคบริการในพื้นที่จังหวัดระยอง ซึ่งจังหวัดระยองเป็นฐานเศรษฐกิจสำคัญจากมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัวของประชากรอยู่ลำดับที่ 1 ของประเทศ (GDP) เป็นฐานอุตสาหกรรม ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ อีกทั้งภาคการเกษตรก็นับว่าเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ของผลผลิตทางการเกษตร การประมง เป็นพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่ และผัก ผลไม้ ที่สำคัญ เช่น สับปะรด ทุเรียน เป็นระดับต้นๆ ของประเทศ อีกทั้งภาคเอกชนในพื้นที่จังหวัดระยองเอง

ก็มีความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการสนับสนุนภาครัฐในการพัฒนาพื้นที่จังหวัดระยอง โดยจังหวัดระยองจำเป็นจะต้องพยายามยกระดับขีดความสามารถประชาชน แรงงาน รวมทั้งผู้ประกอบการให้มีความสามารถเพิ่มขึ้นเพื่อทันกับการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่หรือบริบทของจังหวัดระยองในอนาคต ในการรองรับ 10 อุตสาหกรรมใหม่ของประเทศ (New S curve)

จากความสำคัญดังกล่าว จำเป็นต้องมีพันธมิตรนอกพื้นที่ เช่น หน่วยงานวิจัยและพัฒนาด้าน วทน. หน่วยงานการศึกษาที่สอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรมและการลงทุนในพื้นที่จังหวัดระยอง เพื่อเข้ามาสนับสนุนและยกระดับผู้ประกอบการ การศึกษา และประชาชนให้มีศักยภาพ เปลี่ยนจาก labor intensive เป็น Technology intensive ภาคการผลิตและการบริการ ก็ต้องรองรับมาตรฐานสากล ที่พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ซึ่ง วว. ได้เข้าไปทำงานในพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานของจังหวัดและภาคเอกชนของจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นโครงการร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด และพัฒนาชุมชนจังหวัดระยอง บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด สมาคมเพื่อนชุมชน ซึ่งจะมีการทำงานต่อเนื่องและต่อยอดให้กับผู้ประกอบการให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นบนพื้นที่จังหวัดระยอง

อนึ่ง ในการจัดเสวนาครั้งนี้ วว. นำความเชี่ยวชาญด้านงานวิจัยพัฒนาบริการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีมาให้การบริการให้แก่ผู้ประกอบการ ด้านเกษตรอินทรีย์ และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับและสร้างความเข้าใจ เห็นความสำคัญของการงานด้านมาตรฐานสู่สากล อีกทั้งเป็นการแสดงพลังประชารัฐอย่างแท้จริงระหว่างภาคเอกชนในพื้นที่ หน่วยงานภาครัฐ

โดยจังหวัดระยอง และภาคประชาชน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนผู้ประกอบการและศักยภาพของจังหวัดระยองประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้ 1. การบรรยายเรื่องความสำคัญผลิตภัณฑ์ไทยก้าวไกลสู่สากล เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับผู้ประกอบการถึงบทบาทของ วว. กับการพัฒนาผู้ประกอบการของประเทศ ด้วยกลไกด้าน วทน. 2. เสวนา “การรับรองผลิตภัณฑ์ไทยก้าวไกลสู่สากล” เพื่อสร้างความเข้าใจด้านการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้านเกษตรอินทรีย์ การท่องเที่ยวชุมชน รวมทั้งงานด้านสิ่งแวดล้อม และ 3. เสวนา “แนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากร่วมกับภาครัฐและเอกชนในพื้นที่จังหวัดระยอง” เพื่อแสดงพลังประชารัฐในการร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากจังหวัดระยอง

ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี เปิดตัว “ต้นแบบระบบสุขาปลอดเชื้อแห่งแรกในประเทศไทย” หรือ SCG Reinvented Toilet ห้องน้ำพร้อมระบบบำบัดกากของเสียที่สามารถฆ่าเชื้อโรคและแบคทีเรียแบบครบวงจร สามารถแยกน้ำและกากของเสียออกจากกันได้ 100% โดยไม่มีของเสียที่ปนเปื้อนออกสู่ระบบระบายน้ำและแม่น้ำลำคลอง จึงช่วยลดโอกาสการเกิดโรคติดต่อ สามารถหมุนเวียนน้ำที่ใช้ในระบบกลับมาใช้ได้อีก และยังนำกากของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ในลักษณะสารปรับปรุงดิน ซึ่งต้นแบบระบบสุขาปลอดเชื้อนี้ เกิดจากความร่วมมือระหว่าง ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี และ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย หรือ เอไอที เพื่อสร้างสุขอนามัยขั้นพื้นฐานที่ดีขึ้นให้กับชุมชนและเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน โดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนาในช่วงต้นจากมูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์ ล่าสุดได้นำร่องติดตั้งเป็นห้องน้ำสาธารณะที่ชุมชนคลองพลับพลา พระราม 9

นายชลณัฐ ญาณารณพ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี เปิดเผยว่า ต้นแบบระบบสุขาปลอดเชื้อแห่งแรกในประเทศไทย หรือ SCG Reinvented Toilet เป็นความร่วมมือระหว่างธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (เอไอที) ถือเป็นหนึ่งในนวัตกรรมเพื่อสังคมที่เอสซีจีได้พัฒนาและต่อยอดจนเกิดเป็น “ต้นแบบระบบสุขาปลอดเชื้อแห่งแรกในประเทศไทย” ถือเป็นโซลูชั่นที่ดีในการยกระดับสุขอนามัยที่ยั่งยืนเพื่อประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนที่ห่างไกล และในพื้นที่สาธารณะที่ประสบปัญหาด้านสุขอนามัยจากการ

ขาดแคลนห้องน้ำและระบบบำบัดที่เหมาะสม จุดเด่นอยู่ที่ระบบบำบัดกากของเสียที่สามารถฆ่าเชื้อโรคและแบคทีเรียแบบครบวงจร แยกน้ำและกากของเสียออกจากกันได้ 100% โดยไม่ปล่อยของเสียออกสู่ระบบระบายน้ำและแม่น้ำลำคลอง จึงช่วยลดโอกาสการเกิดโรคติดต่อ สามารถหมุนเวียนน้ำที่ใช้ในระบบกลับมาใช้ได้อีก และยังนำกากของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ในการเกษตรได้ นอกจากนี้ เอสซีจียังได้นำ Bio Scrubber Technology นวัตกรรมกำจัดกลิ่นและสารระเหยอินทรีย์ (VOCs) ด้วยจุลินทรีย์ธรรมชาติมาใช้ควบคู่ไปกับระบบบำบัดฯ จึงมั่นใจว่าระบบสุขาปลอดเชื้อจะไม่ส่งกลิ่นรบกวนและยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ เอสซีจี ได้นำร่องติดตั้ง “ต้นแบบระบบสุขาปลอดเชื้อแห่งแรกในประเทศไทย” ที่ชุมชนคลองพลับพลา พระราม 9 ในบริเวณพื้นที่สาธารณะของชุมชน ซึ่งขาดแคลนระบบสาธารณูปโภคห้องน้ำส่วนกลาง โดยพื้นที่ดังกล่าวอยู่ติดกับคลองพลับพลาซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการขับถ่ายของเสียลงในลำคลอง จึงเป็นการแก้ไขปัญหาสุขอนามัยที่ต้นทาง

Dr. Doulaye Kone (ดูลาย โคเน่), Deputy Director – Water, Sanitation & Hygiene at the Bill & Melinda Gates Foundation กล่าวว่า ต้นแบบระบบสุขาปลอดเชื้อที่ไม่ต้องอาศัยระบบไฟฟ้านี้ มีศักยภาพในการปฏิวัติระบบสุขาภิบาลให้แก่ผู้คนและเมืองต่างๆ ให้มีความยืดหยุ่น ปลอดภัย และสะดวกกว่าเดิม ระบบสุขานี้จะช่วยนำประชากรราว 4,500 ล้านคนทั่วโลกที่ยังขาดแคลนระบบสุขาภิบาลที่สะอาดปลอดภัยในปัจจุบันให้รุดหน้าจากเดิมไปหลายสิบปีและพร้อมก้าวสู่อนาคต นำมาซึ่งการเกิดระบบสุขาภิบาลที่สะอาดปลอดภัยและสร้างมาตรฐานใหม่สำหรับศตวรรษที่ 21 เราหวังว่าเอสซีจีจะนำนวัตกรรมนี้ไปสู่เครือข่ายและพันธมิตร เพื่อให้เกิดการนำไปใช้จริงอย่างแพร่หลายในชุมชนต่างๆ ทั่วโลก

นายประลอง ดำรงค์ไทย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ปัญหามลพิษทางน้ำเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุดปัญหาหนึ่ง ประเทศไทยมีน้ำเสียที่เกิดจากชุมชนเฉลี่ยประมาณวันละ 10 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งถูกรวบรวมไปบำบัดยังระบบบำบัดน้ำเสียรวมเพียง 20% เทียบเป็น 1 ใน 5 เท่านั้น ทำให้ของเสียจากอาคารบ้านเรือนริมแม่น้ำทั่วไปยังคงระบายลงสู่แม่น้ำลำคลอง ซึ่งมีการบำบัดน้ำเสียเบื้องต้นด้วยระบบบำบัดน้ำเสียแบบติดกับที่ หรือ Onsite treatment system อย่างไรก็ดี ปัจจุบันภาครัฐได้จัดทำร่างมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์ถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปจากอาคารบ้านอยู่อาศัยแล้ว ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาต้นแบบระบบสุขาปลอดเชื้อแห่งแรกในประเทศไทยจากเอสซีจี ที่เป็นนวัตกรรมโดยตอบโจทย์ทั้งเรื่องสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม หากสามารถขยายผลไปยังชุมชนอื่นๆ รวมถึงห้องน้ำสาธารณะในพื้นที่ต่างๆ เช่น อุทยานแห่งชาติในประเทศไทย เชื่อมั่นว่าจะช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืนได้

ดร. สุรชา อุดมศักดิ์ Chief Technology Officer ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี กล่าวเพิ่มเติมว่า ทีมวิจัยและพัฒนาได้ออกแบบรูปทรงและองศาของระบบสุขาปลอดเชื้อให้เหมาะกับการไหลทำให้เกิดความเร็วที่เหมาะสมในการหมุนเหวี่ยงของน้ำ และเกิดประสิทธิภาพในการแยกน้ำเสียและกากของเสียจากกัน ของเหลวจะถูกบำบัดด้วยกระบวนการทางชีวภาพ ผ่านตัวกรองต่างๆ มีการเติมอากาศและระบบหมุนเวียนน้ำในระบบบำบัดของเสีย ตลอดจนผ่านการฆ่าเชื้อโรคด้วยกระบวนการไฟฟ้าเคมี (Electro-Chemical) ซึ่งน้ำที่ผ่านการบำบัดสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ สำหรับกากของเสียจะถูกบำบัดและฆ่าเชื้อโรคด้วยการใช้ความร้อนสูงถึง 100-120 องศาเซลเซียส และกลายเป็นสารปรับปรุงดินเพื่อใช้งานต่อไป

นอกจากนี้ ในส่วนของห้องน้ำที่ผลิตจากวัสดุพอลิเมอร์ เอสซีจีได้รับความร่วมมือจาก บริษัท ธรรมสรณ์ จำกัด พันธมิตรคู่ค้าผู้เชี่ยวชาญด้านการแปรรูปพลาสติก ในการออกแบบให้ติดตั้งได้ง่าย ขนย้ายสะดวก ไม่ต้องใช้อุปกรณ์พิเศษ จึงสามารถติดตั้งได้ภายใน 30 นาที โดยออกแบบหลังคาให้รองรับการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์แบบหมุนรับแสงได้รอบทิศทาง

นางสาวปิยาพัชร สุขสงวน รองประธานชุมชนคลองพลับพลา กล่าวว่า รู้สึกยินดีมากที่ชุมชนคลองพลับพลาได้เป็นโครงการนำร่องติดตั้งต้นแบบระบบสุขาปลอดเชื้อแห่งแรกในประเทศไทย โดยก่อนหน้านี้ชาวบ้านขับถ่ายตามลำคลอง ไม่มีการรักษาสุขอนามัยของตัวเองเท่าที่ควร หลังจากที่เอสซีจีได้ติดตั้งห้องน้ำพร้อมระบบสุขาปลอดเชื้อในพื้นที่สาธารณะของชุมชนซึ่งอยู่ใกล้คลองพลับพลา ทำให้คนในชุมชนมีห้องน้ำใช้ที่ถูกสุขลักษณะ ช่วยยกระดับสุขอนามัยของชุมชนเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ชุมชนยังได้นำน้ำที่ผ่านการบำบัดกลับมาหมุนเวียนใช้รดน้ำต้นไม้ และแปลงเกษตรชุมชน ทำให้พืชผักมีสีเขียวสวยและออกดอกออกผลดีขึ้น ซึ่งส่วนที่เหลือจากการบริโภคภายในครอบครัว สามารถนำไปขายสร้างรายได้และนำมาบำรุงรักษาห้องน้ำต่อไป

นางสาวจริยา สุทธิไชยา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงสถานการณ์สินค้าเกษตรช่วงครึ่งปีหลังว่า ตั้งแต่เดือนมิถุนายน-ธันวาคม 2562 นับเป็นช่วงที่จะมีผลผลิตสินค้าเกษตรหลายชนิดออกมาในปริมาณมากกว่าช่วงครึ่งปีแรก คิดเป็นสัดส่วน จีดีพี เกษตร ในครึ่งปีหลัง อยู่ที่ 50% โดยสินค้าที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา สับปะรดโรงงาน ลำไย สุกร และกุ้ง

สำหรับข้าวนาปี ปี 2562/63 ผลผลิตในช่วงครึ่งปีหลัง คาดว่าจะมีปริมาณ 24.58 ล้านตันข้าวเปลือก โดยผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในเดือนพฤศจิกายน ประมาณ 16.02 ล้านตันข้าวเปลือก หรือ 62.08% ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าจะมีผลผลิต 4.22 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 4.16 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา ซึ่งผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากและกระจุกตัวในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน ประมาณ 3.29 ล้านตัน คิดเป็น 64.33% ของผลผลิตรวมทั้งประเทศ ยางพารา เนื่องจากช่วงครึ่งปีหลังเป็นช่วงเปิดกรีดยางทำให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดมากประมาณ 3.51 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วน 71.21% ของผลผลิตรวมทั้งประเทศ เพิ่มขึ้นจาก 3.36 ล้านตัน ในปี 2561

สับปะรดโรงงาน ผลผลิตออกสู่ตลาดมากช่วงแรกคือเดือนเมษายน-มิถุนายน ประมาณ 571,798 ตัน และช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม ประมาณ 519,154 ตัน ลำไย คาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาด 776,260 ตัน โดยจะออกมากสุดในเดือนสิงหาคม ปริมาณ 249,220 ตัน หรือคิดเป็น 23.33% ของผลผลิตทั้งหมด

สุกร คาดว่าจะมีผลผลิตสุกรประมาณ 11.64 ล้านตัว ลดลงจาก 13.69 ล้านตัว ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยผลผลิตสุกรมีผลผลิตออกสู่ตลาดใกล้เคียงกันตลอดทั้งปี กุ้งในช่วงครึ่งปีหลังมีปริมาณ 187,588 ตัน คิดเป็น 58.81% ของผลผลิตกุ้งทั้งหมด ซึ่งผลผลิตเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 14.88%

สินค้าที่มีแนวโน้มราคาดีในช่วงครึ่งปีหลัง ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคาที่เกษตรกรขายได้ (ม.ค.-เม.ย.) ณ ความชื้น 14.5% เฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 8.33 บาท จึงคาดว่าช่วงครึ่งปีหลังราคายังคงอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศเพิ่มขึ้น สับปะรดโรงงาน เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง ขณะที่ตลาดมีความต้องการเพิ่มขึ้น ประกอบกับสถานการณ์ตลาดต่างประเทศจะปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ราคาส่งออกช่วงครึ่งปีหลังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คาดว่าราคาที่เกษตรกรขายได้จะอยู่ในเกณฑ์กิโลกรัมละ 5-6 บาท เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรกที่ขายได้กิโลกรัมละ 4.39 บาท

ทั้งนี้ สศก. คาดว่าแนวโน้ม จีดีพี เกษตร ในปี 2562 อาจจะลดลงจากที่คาดการณ์ไว้เมื่อช่วงต้นปี อยู่ที่ 2.5 – 3.5% เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้อุณหภูมิค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าค่าปกติ ปริมาณน้ำฝนต่ำกว่าปีที่ผ่านมา และหากมีฝนทิ้งช่วง จะยิ่งส่งผลต่อแผนการผลิตหรือปฏิทินการเพาะปลูกของเกษตรกรได้ ตลอดจนปัจจัยภายนอก เศรษฐกิจโลกชะลอตัว สงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ราคาน้ำมันดิบผันผวน อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ทั้งหมดเป็นปัจจัยต่อผลผลิตสินค้าเกษตรและมูลค่า จีพีดี เกษตร ในภาพรวมทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตาม ขอให้เกษตรกรติดตามข้อมูลสภาพอากาศ วางแผนการผลิตพืชให้สอดคล้องกับน้ำต้นทุน โดยเฉพาะเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี สามารถเข้าร่วมโครงการประกันภัยข้าวนาปี กับ ธ.ก.ส. เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้น

อดีตพนักงานจัดสวน และยังเป็นเจ้าของสวนยางพารา อาศัยอยู่ที่อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา หัวใสนำกาบมะพร้าวเหลือใช้มาทำดินคุณภาพสูงขาย ใช้ชื่อแบรนด์ว่า “ดินนาหม่อม” ขายดิบขายดี ต้องสั่งจองล่วงหน้า นอกจากนั้นยังปลูกผักสวนครัวในวัสดุเหลือใช้ อย่างเช่น ตะกร้า กระสอบปุ๋ย รางน้ำเก่า สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย ถูกจริตคนกรุงแห่มาขอซื้อ เพราะสวยงามและกินได้ อนาคตต่อยอดเปิดร้านอาหารเพื่อสุขภาพ

คุณอมร ตรีรัญเพ็ชร ปัจจุบัน อายุ 55 ปี บอกกับเราว่า ในอดีตประกอบอาชีพมาแล้วหลายอาชีพ ล่าสุดหันมาทำสวนยางพารา 10 กว่าไร่ ที่ตำบลนาหม่อม อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา จากการสังเกตเห็นว่า แถวบ้านมีกาบมะพร้าวเหลือใช้เยอะมาก ชาวบ้านส่วนใหญ่มักเลือกที่จะเผาทิ้ง เลยคิดนำมาใช้ประโยชน์ นั่นเป็นที่มาของการทำดินขาย

“ผมเห็นแถวบ้านมีกาบมะพร้าวแห้งเหลือใช้เยอะมาก เลยคิดว่าจะนำมาใช้ประโยชน์ด้วยการทำดินปลูกต้นไม้ ส่วนผสมมี กาบมะพร้าวแห้งสับ ขุยมะพร้าว หน้าดิน ขี้เถ้าแกลบ ขี้ไก่แกลบ น้ำหมักชีวภาพ นำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้ากัน กลายเป็นดินใช้ปลูกต้นไม้ได้ทุกชนิด อาทิ ไม้ดอก ไม้ผล ไม้ประดับ”
สำหรับน้ำหมักชีวภาพ คุณอมร ผสมเอง มีขี้ปลา หัวปลา กากน้ำตาล และเชื้อ พด.1 และ พด.2

จุดเด่นของดินที่ผสมขุยมะพร้าว สามารถเก็บความชื้นได้ดี มีแร่ธาตุอาหาร และจุลินทรีย์ที่เหมาะสมกับต้นไม้ทุกชนิด ไม่มีสารเคมี และสารพิษปนเปื้อน ขายส่งกระสอบละ 25 บาท (12 กิโลกรัม)

นอกจากจำหน่ายดินแล้ว คุณอมร ยังปลูกผักสวนครัวในกระสอบปุ๋ย ในตะกร้า และในรางน้ำเก่า 20 ชนิด อาทิ มะเขือเทศ มะเขือพวง พริก แตงกวา ผักชี ขึ้นฉ่าย ใบบัวบก ผักสลัด ผักชีฝรั่ง

“ผมอยากพิสูจน์ให้ลูกค้าเห็นว่า ดินที่ทำขึ้นมานั้นมีคุณภาพสูง และปลูกต้นไม้ได้จริง เมื่อปลายปีที่แล้วทดลองปลูกผักสวนครัว ปลอดสารพิษ โดยใช้ภาชนะเหลือใช้ เช่น ตะกร้า กระสอบปุ๋ย รางน้ำเก่า ปรากฏเพื่อนบ้านเห็น ต่างชื่นชอบและขอซื้อ ตั้งแต่นั้นเลยทำขายเป็นเรื่องเป็นราว ซึ่งเฉพาะรายได้จากการขายผัก เฉลี่ยวันละ 200-300 บาท”

23 พฤษภาคม 2562 นางสาวนงนุช เมธียนต์พิริยะ ผู้อำนวยการกองผลิตภัณฑ์อาหารและวัสดุสัมผัสอาหาร เป็นประธานเปิดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การประยุกต์ใช้การทดสอบทางประสาทสัมผัสในการพัฒนานวัตกรรมอาหาร” เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการอาหารมีการพัฒนานวัตกรรมอาหารที่มีรสชาติ เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค และเสริมสร้างองค์ความรู้เทคโนโลยีชั้นสูงในการประเมินคุณภาพอาหาร เพื่อประยุกต์ใช้พัฒนาสินค้านวัตกรรม โดยมี นางจิราภรณ์ บุราคร นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ เป็นวิทยากร ซี่งมีผู้เข้าอบรมจำนวน 30 คน ระหว่างวันที่ 23-24 พฤษภาคม 2562 ประกอบด้วย ผู้ประกอบการอาหาร หน่วยงานราชการ มหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง ณ ห้อง 519 ชั้น 5 อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

นางสาวนงนุช กล่าวว่า การพัฒนานวัตกรรมอาหารเพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดโลก จำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคของกลุ่มเป้าหมาย การที่ลูกค้าตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารขึ้นกับปัจจัยหลายด้าน เช่น รสชาติ ราคา รูปลักษณ์ เป็นต้น โดยการรับรู้รสชาติอาหารของผู้บริโภคแต่ละคนมีความแตกต่างกัน เช่น อายุ เพศ ภูมิกำเนิด ประสบการณ์ ฯลฯ จะเห็นได้ว่าผู้บริโภคชาวไทยจะชอบรสชาติจัดจ้าน เผ็ด ร้อน แต่ผู้บริโภคชาวตะวันตกจะชอบรสชาติอ่อนๆ ดังนั้น การศึกษาพฤติกรรม ทัศนคติ ของลูกค้าด้านการรับรู้รสชาติของอาหารจึงมีความสำคัญ ผู้ประกอบการอาหารจึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคด้านรสชาติอาหาร ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการอาหารสามารถพัฒนานวัตกรรมอาหารให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคได้ ดังนั้นจำเป็นต้องมีการประยุกต์ใช้การทดสอบผู้บริโภคทางประสาทสัมผัสในขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารชนิดใหม่ เช่น การทดสอบความชอบและการยอมรับผลิตภัณฑ์ การทดสอบบรรยายเชิงพรรณนา เป็นต้น

กรมวิทยาศาสตร์บริการ มีห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพอาหารทางประสาทสัมผัส และบุคลากรที่ผ่านการอบรม ฝึกฝนทางประสาทสัมผัส ร่วมกับภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้จัดทำหลักสูตรการอบรมดังกล่าวขึ้น การอบรมจะมีภาคทฤษฎีและปฏิบัติในหัวข้อต่างๆ อาทิ การทดสอบความชอบและการยอมรับผลิตภัณฑ์อาหารของผู้บริโภค ด้วยเทคนิค 9-Point hedonic scale, Acceptance และ Just about right หัวข้อการใช้ข้อมูลจากการทดสอบผู้บริโภคควบคู่กับการทดสอบทางประสาทสัมผัสเชิงพรรณนา(Descriptive analysis) เป็นต้น เพื่อให้ความรู้และทักษะการทดสอบทางประสาทสัมผัสและการปฏิบัติ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เสริมสร้างความเข้มแข็งธุรกิจอาหารของประเทศต่อไป

บริษัท โฟร์ ฟูดส์ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารคุณภาพสูงให้กับอุตสาหกรรมอาหารทั้งในและต่างประเทศ เจ้าของแบรนด์ “ไทเชฟ” ผู้นำด้านผงโรยอาหารของเมืองไทย ขอเชิญชวนผู้สนใจธุรกิจอาหารเข้าร่วมงาน THAIFEX-World of Food Asia 2019 งานแสดงสินค้าและนวัตกรรมอาหารแห่งเอเชีย เพื่อเสริมไอเดียต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจอาหารแบบไม่รู้จบ ผ่านผลิตภัณฑ์ ไทเชฟ และพบกับสินค้าใหม่ล่าสุด “ซอสผงสำเร็จรูปรสไข่เค็ม” ที่ให้รสชาติเนื้อไข่เค็มเข้มข้นแบบจุใจ นอกจากนี้ยังจัดโปรโมชั่นอีกมากมายในงาน เยี่ยมชมพร้อมลิ้มชิมรสความอร่อยจาก ผลิตภัณฑ์ไทเชฟ ได้ที่บู๊ธ SS11-52 โซนอาหาร ระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน 2562 น. ณ ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค อารีนา เมืองทองธานี